การเรียนรู้วิทยาศาสตร์: เป้าหมาย และแนวปฏิบัติ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเรียนรู้วิทยาศาสตร์: เป้าหมาย และแนวปฏิบัติ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเรียนรู้วิทยาศาสตร์: เป้าหมาย และแนวปฏิบัติ

2 ทำไมนักเรียนทุกคนต้องเรียนวิทยาศาสตร์

3 โลกในสังคมปัจจุบัน เต็มไปด้วยข้อถกเถียงทางวิทยาศาสตร์

4 ทุกคนหลีกหนีข้อถกเถียงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เหล่านี้ไม่พ้น

5 นักเรียนจะใช้ชีวิตท่ามกลางข้อถกเถียงเหล่านี้ได้อย่างไร

6 การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนต้องช่วยให้นักเรียนสามารถมีส่วนร่วมและตัดสินใจเกี่ยวกับข้อถกเถียงเหล่านี้ได้อย่างเหมาะสม

7 นักเรียนต้องรู้จักนำความรู้ วิธีคิด และเหตุผลทางวิทยาศาสตร์มาเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจ

8 เราไม่ได้ต้องการให้พลเมืองตัดสินใจ โดยปราศจากฐานความคิดทางวิทยาศาสตร์

9 นักเรียนต้องสามารถประเมินได้ว่า ตนเองควรเชื่อหรือไม่เชื่อเรื่องใด บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์

10 การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์จึงไม่ใช่เพื่อ “การสอบ” แต่เพื่อให้นักเรียนใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างรู้เท่าทัน

11 “ (นักเรียน)ทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้ รู้วิทยาศาสตร์” (หน้าที่ 1)

12 คำว่า “รู้วิทยาศาสตร์” กลายเป็นคำสำคัญ

13 คำนี้มีจุดเริ่มมาจากอเมริกา หลังจากที่โซเวียตส่งสปุกนิคขึ้นไปดวงจันทร์ได้ก่อน

14 ด้วยความรู้สึกเสียหน้า อเมริกาจึงโหมนโยบายว่า พลเมืองทุกคนต้องรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นพื้นฐานของความก้าวหน้า ทางวิทยาศาสตร์ของประเทศ

15 นโยบายนี้แพร่หลายไปยังหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย
นโยบายนี้แพร่หลายไปยังหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย

16 การรู้วิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) กลายเป็นเป้าหมายของการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย

17 คำถามคือ การรู้วิทยาศาสตร์คืออะไร

18 คนแบบไหนที่เป็นผู้รู้วิทยาศาสตร์ คนแบบไหนที่ไม่รู้วิทยาศาสตร์

19 แต่ละประเทศคิดไม่เหมือนกันซะทีเดียว

20 ลองดูนิยามขององค์กรนานาชาติ

21 การรู้วิทยาศาสตร์ตามความหมายของ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD)

22

23

24 “เป้าหมายของการศึกษาวิทยาศาสตร์ไม่ใช่องค์ความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงและทฤษฎีต่างๆ แต่เป็น... แนวคิดสำคัญ (Big Ideas) ที่จะร่วมกันสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุการณ์และปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของนักเรียน ทั้งในช่วงเวลาที่นักเรียนอยู่ในระบบโรงเรียน และหลังจากที่นักเรียนจบการศึกษาไปแล้ว” (Harlen, 2010: 2)

25 Big Ideas ควรเป็นแนวคิดที่ ....
สามารถอธิบายวัตถุ เหตุการณ์ และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ ที่นักเรียนประสบในชีวิตประจำวันได้อย่างหลากหลาย ทั้งในช่วงเวลาที่นักเรียนอยู่ในระบบโรงเรียน และหลังจากที่นักเรียนจบการศึกษาไปแล้ว เป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจข้อถกเถียงต่างๆ ที่นักเรียนอาจต้องตัดสินใจ ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ทั้งนี้เพราะข้อถกเถียงเหล่านั้นเกี่ยวข้องกับสุขภาพ ความเป็นอยู่ และสิ่งแวดล้อมของนักเรียนและผู้อื่น สร้างความพอใจและตอบสนองต่อสิ่งที่นักเรียนและบุคคลทั่วไปอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ มีความสำคัญทางวัฒนธรรมต่อมนุษยชาติ ส่งผลต่อโลกทัศน์ของมนุษย์ และสะท้อนความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของมนุษย์ในการศึกษาและทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

26 ตัวอย่าง Big Ideas วัสดุทุกอย่างในเอกภพประกอบขึ้นจากอนุภาคขนาดเล็กมากๆ (ความเป็นอนุภาคของสสาร วัตถุใดๆ สามารถส่งผลต่อวัตถุอื่นๆ ได้จากระยะไกลโดยวัตถุเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องสัมผัสกัน (สนามต่างๆ เช่น สนามโน้มถ่วง สนามไฟฟ้า และสนามแม่เหล็ก) การเปลี่ยนแปลงสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุใดๆ ต้องมีแรงลัพธ์มากระทำกับวัตถุนั้น (ความสัมพันธ์ระหว่างแรงและการเคลื่อนที่) ปริมาณพลังงานในเอกภพมีค่าคงตัว แต่พลังงานสามารถเปลี่ยนรูปได้ (กฎการอนุรักษ์พลังงาน) องค์ประกอบ บรรยากาศ และกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลก ส่งผลต่อพื้นผิวและภูมิอากาศของโลก (กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก) ระบบสุริยะเป็นส่วนหนึ่งที่เล็กมากๆ ของหนึ่งในหลายล้านดาราจักรในเอกภพ (ความสัมพันธ์ระหว่างระบบสุริยะ ดาราจักร และเอกภพ) องค์ประกอบย่อยของสิ่งมีชีวิตอยู่และทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบในรูปแบบของเซลล์ (หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต) สิ่งมีชีวิตต้องการพลังงานและสสาร ซึ่งทำให้พวกมันต้องพึ่งพาหรือแข่งขันกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ (ระบบนิเวศ) ข้อมูลทางพันธุกรรมถูกส่งต่อจากสิ่งมีชีวิตรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง (พันธุศาสตร์) ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และที่สูญพันธุ์ไปแล้ว เป็นผลมาจากการวิวัฒนาการ (วิวัฒนาการ)

27 นักเรียนเรียนรู้เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดสำคัญใดๆ ที่ซับซ้อนที่มากขึ้นเรื่อยๆ ตามระดับการศึกษาที่สูงขึ้น จนกระทั่งนักเรียนเข้าใจแนวคิดสำคัญนั้นอย่างสมบูรณ์

28 ตัวอย่าง Spiral Curriculum
วิวัฒนาการ การเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดการคัดเลือกโดยธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตมีการต่อสู้ เพื่อแย่งทรัพยากรและมีชีวิตรอด ลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างอาจทำให้สิ่งมีชีวิตบางตัวได้เปรียบกว่าตัวอื่น ๆ สิ่งมีชีวิตมีการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและอาจมี mutation ซึ่งอาจก่อให้เกิดลักษณะทางพันธุกรรมใหม่ สิ่งมีชีวิตมีการปรับตัว ไปตามสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจทำให้เกิดการสูญพันธุ์ หากสิ่งมีชีวิตไม่สามารถปรับตัวได้ สิ่งมีชีวิตมีลักษณะที่เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมที่มันอาศัยอยู่ สิ่งมีชีวิตมีชนิดเดียวกันมีลักษณะคล้ายกัน สิ่งมีชีวิตต่างชนิดมีลักษณะต่างกัน สิ่งมีชีวิตมีหลายชนิด

29 รายละเอียดปลีกย่อยจะถูกกล่าวถึง
นักเรียนไม่สามารถเรียนรู้และเข้าใจรายละเอียดทุกอย่างได้ในเวลาจำกัด ดังนั้น จงจัดการเรียนการสอนที่เน้น Big ideas ซึ่งนักเรียนจะนำไปใช้ได้อย่างกว้างขวาง ไม่ใช่เนื้อหาที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อย รายละเอียดปลีกย่อยจะถูกกล่าวถึง หากมันช่วยให้นักเรียนเข้าใจแนวคิดหลักได้ง่ายขึ้น Avoid teaching a mile wide and an inch deep

30 “ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นการเชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการ” (หน้าที่ 1)

31 การเรียนการสอนควรเน้นให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่จะนำพาไปสู่การพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งในระหว่างนั้น นักเรียนจะได้พัฒนาเจตคติทางวิทยาศาสตร์ เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ และความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ด้วย

32 นักวิทยาศาสตร์สร้างความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาอย่างไร นักเรียนก็ควรสร้างความรู้ทางวิทยาศาสตร์เช่นนั้น

33 ครูต้องทำให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและพยายามตอบข้อสงสัยนั้น
การสอนวิทยาศาสตร์ “ที่ดี” ไม่ใช่การให้นักเรียนทำตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่ครูกำหนดไว้แล้ว เพื่อให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ครูต้องการ หากแต่มัน “ต้องทำให้นักเรียนมีพันธะผูกพันทางสติปัญญา และทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมอย่างลึกซึ้งกับเนื้อหาวิชาที่พวกเขากำลังเรียนอยู่ ... มันควรสร้างแรงขับและแรงจูงใจให้นักเรียนมุ่งไปยังความเข้าใจที่ลึกซึ้งมากขึ้น” (DeBoer, 2006: ) ครูต้องทำให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและพยายามตอบข้อสงสัยนั้น ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่การนำเนื้อหาไปบอกเด็กตรง ๆ

34 “สอนวิทยาศาสตร์อย่างที่วิทยาศาสตร์เป็น” (ผศ.ดร. พงษ์ประพันธ์ พงศ์โสภณ)
“สอนวิทยาศาสตร์อย่างที่วิทยาศาสตร์เป็น” (ผศ.ดร. พงษ์ประพันธ์ พงศ์โสภณ) “สอนวิทยาศาสตร์ให้เป็นวิทยาศาสตร์” Teach science scientifically

35 แล้ววิทยาศาสตร์เป็นอย่างไร

36 จงศึกษาประวัติการพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์เรื่องต่าง ๆ ต่อไปนี้ แล้วสรุปลักษณะสำคัญของวิทยาศาสตร์
เสียง การเผาไหม้ วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต การแปรสัญฐานของแผ่นธรณี อนุภาคมูลฐานในเอกภพ

37 นักปรัชญาวิทยาศาสตร์ก็พยายามตอบคำถามนี้ “อะไรทำให้วิทยาศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์”

38 ความเป็นวิทยาศาสตร์ Popper บอกว่า วิทยาศาสตร์ไม่ใช่การพิสูจน์ความเป็นจริง (Verification) แต่เป็นการพิสูจน์ความเป็นเท็จ (Falsification) Kuhn วิทยาศาสตร์ไม่เพิกเฉยต่อความเป็นเท็จ แต่มุ่งสร้างความกระจ่างว่า ความเท็จนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร และการไม่เพิกเฉยต่อความเป็นเท็จทำให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก้าวหน้ามากขึ้น Lakatos วิทยาศาสตร์ต้องสามารถพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ (ในระดับหนึ่ง) Thagard เมื่อเทียบกับวิทยาศาสตร์เทียมแล้ว วิทยาศาสตร์มีความก้าวหน้ามากกว่าและเร็วกว่า (เช่น ดาราศาสตร์ vs โหราศาสตร์)

39 การสอนวิทยาศาสตร์ “ที่เป็นวิทยาศาสตร์” ควร:
1. มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงความเป็นเท็จของคำกล่าวอ้างใดๆ 2. ส่งเสริมให้นักเรียนศึกษาความเป็นเท็จของคำกล่าวอ้างใดๆ อันจะนำพานักเรียนไปสู่การพัฒนาความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนั้นอย่างลึกซึ้ง 3. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้นำคำกล่าวอ้างใดๆ (ที่ผ่านการพิสูจน์ความเป็นเท็จในระดับหนึ่งแล้ว) ไปประยุกต์ใช้หรือทดสอบในสถานการณ์ใหม่ที่ตนเองไม่ได้คาดคิดมาก่อน 4. ประเมินและเปรียบเทียบคำกล่าวอ้างต่างๆ ที่อธิบายเรื่องเดียวกัน เพื่อตัดสินว่าคำกล่าวอ้างใดน่าเชื่อถือที่สุด

40 ลักษณะเด่น 6 ประการของวิทยาศาสตร์ (ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์: Nature of Science)

41 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ (NOS)
1. ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีพื้นฐานมาจากหลักฐาน แม้หลักฐานเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอในการพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Empirical NOS) 2. นักวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องตีความและลงข้อสรุปจากหลักฐาน ดังนั้น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ส่วนหนึ่งจึงเป็นผลจากการลงข้อสรุปจากหลักฐาน (Inferential NOS) 3. ความรู้ มุมมอง และประสบการณ์เดิมของนักวิทยาศาสตร์ มีอิทธิพลต่อการตีความและการลงข้อสรุปของนักวิทยาศาสตร์ ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์แต่ละคนอาจตีความและลงข้อสรุปหลักฐานชิ้นเดียวกันได้แตกต่างกัน (Subjective NOS) 4. นักวิทยาศาสตร์ใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในทุกขั้นตอนของการพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้น วิธีการทางวิทยาศาสตร์จึงมีได้หลากหลาย และอาจไม่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนที่แน่นอน (Imaginative and Creative NOS) 5. แม้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีความน่าเชื่อถือ แต่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งชั่วคราวที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อนักวิทยาศาสตร์มีหลักฐานใหม่ที่ขัดแย้งกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์เดิม และ/หรือ เมื่อนักวิทยาศาสตร์ตีความและลงข้อสรุปหลักฐานเดิมด้วยมุมมองหรือทฤษฎีใหม่ (Tentative NOS) 6. การพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์อยู่ภายใต้อิทธิพลของความคิด ความเชื่อ ค่านิยม และวัฒนธรรมของคนในสังคม และในทางกลับกัน ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก็สามารถมีอิทธิพลต่อความคิด ความเชื่อ ค่านิยม และวัฒนธรรมของคนในสังคมได้เช่นกัน (Sociocultural NOS)

42 ประวัติการพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่องวิวัฒนาการ

43 การได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์
นักวิทยาศาสตร์ สร้าง ให้ประสบการณ์ ความจริงเกี่ยวกับ กฎธรรมชาติ ปรากฏการณ์ ทางธรรมชาติ ข้อจำกัดทางกายภาพ เป็นตัวแทน ควบคุม กฎธรรมชาติ

44 การได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการ วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต นักวิทยาศาสตร์ ข้อจำกัดทางกายภาพ กระบวนการใช้และไม่ใช้อวัยวะ ให้ประสบการณ์ สร้าง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ และความคล้ายคลึงกันของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน เป็นตัวแทน ควบคุม กระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ

45 การได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์
กฎธรรมชาติ นักวิทยาศาสตร์ ข้อจำกัดทางกายภาพ แนวคิด ทางทฤษฎีต่างๆ ปรากฏต่อ สร้าง หลักฐาน เป็นตัวแทน ก่อให้เกิด ความสัมพันธ์ พิจารณา หลักฐานต่างๆ จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ตรวจสอบ

46 การได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการเผาไหม้ นักวิทยาศาสตร์ ข้อจำกัดทางกายภาพ ทฤษฎี โฟลจิสตัน ให้ประสบการณ์ สร้าง เป็นตัวแทน ทำให้ปรากฏ ออกซิเจน น้ำหนักของสารก่อนและหลังการเผาไหม้

47 การได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก ในอดีต นักวิทยาศาสตร์ ข้อจำกัดทางกายภาพ ทฤษฎี เย็นและยุบตัวของเปลือกโลก ให้ประสบการณ์ สร้าง - เทือกเขาใต้มหาสมุทร - โดเมนแม่เหล็กของหินกับสนามแม่เหล็กโลก - การหมุนวนของ ของไหลใต้เปลือกโลก เป็นตัวแทน ทำให้ปรากฏ การแผ่ขยายของพื้นสมุทร ทวีปเลื่อน ปรับ

48 การจัดการเรียนการสอนโดยการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry)

49 5Es Inquiry Cycle 1. ขั้นการมีส่วนร่วม (Engagement) ซึ่งครูทำให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับปรากฏการณ์ใด ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การตั้งคำถามกับนักเรียน การสาธิตเหตุการณ์ที่อาจขัดแย้งกับสามัญสำนึกของนักเรียน หรือการให้นักเรียนทำกิจกรรมสั้นๆ ที่ทำให้นักเรียนเกิดความสงสัยและต้องการหาคำตอบ 2. ขั้นการสำรวจ (Exploration) ซึ่งครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้สำรวจหรือศึกษาปรากฏการณ์นั้นด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลและหลักฐานเกี่ยวกับปรากฏการณ์นั้น 3. ขั้นการอธิบาย (Explanation) ซึ่งนักเรียนพยายามสร้างคำอธิบายที่ตอบข้อสงสัยหรือคำถามนั้นด้วยข้อมูลและหลักฐานที่ตนเองได้มาจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งครูมักใช้โอกาสนี้ในการนำเสนอแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ 4. ขั้นการต่อยอด (Elaboration) ซึ่งครูท้าทายให้นักเรียนได้นำแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ใหม่ไปอธิบายเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์อื่นๆ เพื่อให้นักเรียนได้ทำความเข้าใจแนวคิดทางวิทยาศาสตร์นั้นให้ลึกซึ้งและกว้างขวางมากยิ่งขึ้น 5. ขั้นการประเมิน (Evaluation) ซึ่งครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทบทวนและประเมินความเข้าใจของตนเองเกี่ยวกับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ใหม่ที่ตนเองเพิ่งได้เรียนรู้ไป

50 การนำเสนอปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
การนำเสนอความคิดหรือคำอธิบาย เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาตินั้น ความคิดที่ 1 ความคิดที่ 2 ความคิดที่ 3 การออกแบบการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ เพื่อทดสอบแต่ละความคิด ครูร่วมนำเสนอความคิด ของนักวิทยาศาสตร์ในอดีต การลงมือศึกษา ทางวิทยาศาสตร์ ครูนำเสนอแนวคิด การลงข้อสรุป ประเมิน และสร้างคำอธิบายจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์

51 ลักษณะสำคัญของการเรียนการสอน ด้วยการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์
1. นักเรียนต้องมีส่วนร่วมในความพยายามที่จะตอบคำถามทางวิทยาศาสตร์ 2. นักเรียนต้องให้ความสำคัญกับหลักฐานในการตอบคำถามทางวิทยาศาสตร์ 3. นักเรียนต้องสร้างคำอธิบายที่ตอบคำถามทางวิทยาศาสตร์นั้นด้วยหลักฐาน 4. นักเรียนต้องเชื่อมโยงคำอธิบายที่ตนเองสร้างขึ้นกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ 5. นักเรียนต้องสื่อสารและชี้แจงความน่าเชื่อถือของคำอธิบายนั้นกับผู้อื่น

52 ธรรมชาติของการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์
1. การสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์มีได้หลากหลายประเภท เช่น การทดสอบทางวิทยาศาสตร์ การสำรวจทางวิทยาศาสตร์ การหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร และการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้น การสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์จึงไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนที่แน่นอน 2. แม้การสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์มีได้หลากหลายประเภท แต่การสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเริ่มต้นด้วยคำถามทางวิทยาศาสตร์ 3. กระบวนการของการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์จะเป็นไปตามลักษณะของคำถามที่นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งขึ้น คำถามบางข้ออาจนำไปสู่การสำรวจทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเกิดขึ้นในบริบทจริงที่ปราศจากการจัดกระทำหรือควบคุมตัวแปรใดๆ ในขณะที่คำถามบางข้ออาจนำไปสู่การทดลองทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขของการจัดกระทำและควบคุมตัวแปรต่างๆ 4. แม้นักวิทยาศาสตร์ใช้กระบวนการเดียวกันในการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ แต่ผลของการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์อาจไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกรอบแนวคิดทางทฤษฎีของนักวิทยาศาสตร์แต่ละคน และวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์แต่ละคนใช้ในการจัดการกับข้อมูลแปลกปลอมที่เกิดขึ้น

53 ธรรมชาติของการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์
5. กระบวนการของการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ เช่น การกำหนดตัวแปร การวัดค่าตัวแปร การวิเคราะห์ข้อมูล และการตีความหมายของข้อมูล สามารถมีอิทธิพลต่อผลของการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ที่จะเกิดขึ้น 6. ไม่ว่าการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์จะเป็นประเภทใดและมีกระบวนการอย่างไรก็ตาม ผลของการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ต้องสอดคล้องกับข้อมูลที่นักวิทยาศาสตร์เก็บรวบรวมได้ 7. ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ไม่ใช่สิ่งเดียวกับหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์เก็บรวบรวมได้ทั้งหมด ในขณะที่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งนักวิทยาศาสตร์นำมาใช้ลงข้อสรุปและตอบคำถามทางวิทยาศาสตร์ 8. นักวิทยาศาสตร์สร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์บนพื้นฐานของหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่


ดาวน์โหลด ppt การเรียนรู้วิทยาศาสตร์: เป้าหมาย และแนวปฏิบัติ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google