ความหมายของครู. ความหมายของครู พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  ที่ได้พระราชทานแก่ครูอาวุโสในโอกาสที่เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานเข็มเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความหมายของครู. ความหมายของครู พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  ที่ได้พระราชทานแก่ครูอาวุโสในโอกาสที่เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานเข็มเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1

2 ความหมายของครู

3 พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  ที่ได้พระราชทานแก่ครูอาวุโสในโอกาสที่เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานเข็มเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ ที่เกี่ยวกับลักษณะของ ครูที่ดีไว้ตอนหนึ่งว่า "ครูที่แท้นั้น  ต้องเป็นผู้กระทำแต่ความดี  คือ ต้องหมั่นขยันและอุตสาหะพากเพียร ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ต้องหนักแน่น  อดกลั้นและอดทนต้องรักษาวินัย  สำรวมระวังความประพฤติของตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนอันดีงาม ต้องปลีกตัวปลีกใจออกจากความสบาย  และความสนุกรื่นเริงที่ไม่ควรแก่เกียรติภูมิ ต้องตั้งใจให้มั่นคงและแน่วแน่ ต้องซื่อสัตย์รักษาความจริงใจ ต้องเมตตาหวังดี ต้องวางใจเป็นกลาง  ไม่ปล่อยไปตามอำนาจคติ ต้องอบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้นทั้งในด้านวิทยาการและความรู้ในเหตุผล”

4 คำว่า ”ครู” เป็นที่เข้าใจของคนทุกชาติทุกศาสนา จึงได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลายลักษณะ การให้ความหมายของครูอาจพิจารณาได้ดังนี้ 1.ความหมายที่ได้จากการวิเคราะห์ศัพท์ 2.ความหมายตามพจนานุกรม 3.ความหมายตามแนวคิดของบุคคลต่างๆ 4.ความหมายตามกฎหมายบัญญัติ

5 1. ความหมายที่ได้จากการวิเคราะห์ศัพท์
1. ความหมายที่ได้จากการวิเคราะห์ศัพท์ คำว่า ครู ในภาษาไทยนั้น มีที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต ว่า”คุรุ” หรือ ครู ซึ่งแปลว่า น่าเคารพ สูง หนัก ใหญ่ ผู้สั่งสอนหรือถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ จากความหมายนี้ สามารถวิเคราะห์ได้ 3 ประเด็นคือ 1. ภาระหน้าที่ของครู 2. ความหนักแน่นของจิตใจครู 3. ครูจะต้องเป็นคนที่ทีความหนักแน่นทางจริยธรรม สามารถดำรงอยู่ในคุณความดีเอาชนะอำนาจใฝ่ต่ำได้

6 2. ความหมายตามพจนานุกรม. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ. ศ
2.ความหมายตามพจนานุกรม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ ได้ให้ความหมายของครูไว้ว่า “ครู หมายถึง หนัก สำคัญ ควรเคารพ มีค่าสูง”

7 3. ความหมายตามแนวคิดของบุคคลต่างๆ
3.ความหมายตามแนวคิดของบุคคลต่างๆ เปลื้อง ณ นคร ได้ให้ความหมายของครู ไว้ว่า “ครูคือผู้มีความหนักแน่น ผู้ควรแก่การเคารพของศิษย์ ผู้สั่งสอน” กู๊ด ( Good) นักการศึกษาชื่อดัง ให้ความหมายว่า ครูคือบุคคลที่ราชการจ้างไว้สอนนักเรียน มีประสบการณ์หรือมีการศึกษามาหรือดีเป็นพิเศษ สำเร็จหลักสูตรวิชาชีพจากสถาบันฝึกหัดครูและการฝึกอบรม และคอยสั่งสอนอบรมคนอื่นๆ”

8 พุทธทาสภิกขุ ครูเป็นผู้เปิดประตูวิญญาณ ให้ผู้เรียนมีคุณธรรมเบื้องสูง เป็นเรื่องทางจิตใจ มากกว่าเรื่องทางวัตถุ ประเวศ วะสี ให้ความหมายว่า ครู คือเมล็ดพันธุ์แห่งความดีงาม ตกไปอยู่ที่ใด ก็ทำให้ที่นั้นมีแต่ความดี ความเจริญ อุดมสมบูรณ์ สมบัติ ทีมทรัพย์ กล่าวถึงครูไว้ว่า “ครูเปรียบเสมือนวิศวกรสังคม” พิจิตร กุลละวณิชย์ บอกว่า ครูคือผู้ที่ได้รับความไว้วางใจจากพ่อแม่ ให้ดูแลบุคคลที่เขารัก

9 4. ความหมายตามกฎหมายบัญญัติ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ
4.ความหมายตามกฎหมายบัญญัติ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้นิยามความหมายของคำว่าผู้สอน ครูและคณาจารย์ไว้ว่า “ผู้สอน” หมายถึง ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่างๆ “ครู” หมายถึง บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ “คณาจารย์” หมายถึง บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการวิจัยในสถามศึกษา

10 พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ. ศ. 2546
พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ ได้ให้ความหมายของครูไว้ดังนี้ ได้ให้ความหมายของครูไว้ดังนี้ “ครู หมายความว่า บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนและ การส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน”

11 สมหวัง พิริยานุวัฒน์ ได้สรุปว่า
ครูในความหมายตามนัยทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังกล่าวมาแล้วนั้นเป็นที่เข้าใจของคนไทยว่า เป็นครูโดยอาชีพ กล่าวคือมีอาชีพสอนและส่งเสริม การเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งในระบบโรงเรียนและ นอกระบบโรงเรียน

12 ความหมายทั่วไป เช่น ครูคือ ปูชนียบุคคล
ครูคือ กระจกเงาและแบบอย่างแก่ศิษย์ ครูคือ แม่พิมพ์ของชาติ มัคคุเทศก์ทางวิญญาณ แพทย์ทางปัญญา ครูคือผู้ปลดปล่อยศิษย์จากความมืดบอด ตัวนำของการเปลี่ยนแปลง ครูคือวิศวกรสังคม ผู้ทำลายวัฎจักรความชั่วร้าย เป็นต้น

13 รุ่ง แก้วแดง จึงได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับคำว่า “ ครู ”ในอนาคตย่อมมีความหลากหลายแตกต่างกันไปมากกว่าในปัจจุบัน หากมีการแบ่งตามภารกิจที่ปฏิบัติ อาจจัดได้เป็น 5 ประเภทด้วยกันคือ ครูโดยวัฒนธรรม ครูโดยอาชีพ ครูโดยธรรมชาติ ครูโดยเทคโนโลยี ครูโดยตนเอง

14 สรุป “ครู” คือ ผู้ที่ทำหน้าที่หลักในการจัดการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ มีคุณธรรม ความดีและมีสติปัญญาดี อันจะนำไปใช้ในการดำรงชีวิตและพัฒนาสังคมต่อไป

15 ความสำคัญของครู

16 “ครู” นับเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมาก ในการให้การศึกษาเรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ ตลอดเป็นผู้มีความเสียสละ ดูแลเอาใจใส่ สั่งสอนอบรมให้เด็กได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา อันเป็นหนทางแห่งการประกอบ อาชีพเลี้ยงดูตนเอง รวมทั้งนำพาสังคมประเทศชาติ ก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง

17 “ครู” มีความสำคัญต่อสังคม ดังนี้
อบรมสั่งสอนความรู้แก่ศิษย์ ดูแลทุกข์สุขของศิษย์ ปกป้องศิษย์มิให้กระทำความชั่ว

18 “งานครู” เป็นงานสร้างสรรค์ที่บริสุทธิ์
เป็นงานวางรากฐานความรู้ ความดี และความสามารถให้แก่ศิษย์ ผู้ปกครอง ชุมชนและสังคม โดยไม่หวังผลตอบแทน “ครู”จึงได้รับการยกย่องว่า เป็นบิดามารดาคนที่ สองของศิษย์ เป็นปูชนียบุคคลของสังคม

19 งานของครูเป็นงานยาก ครู ต้องฝึกตนเองให้มีความรู้ความชำนาญในวิชาความรู้และวิธีสอน ครูต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นที่รักเป็นที่เคารพของทุกคน มีความเมตตากรุณา ซื่อสัตย์สุจริต สุภาพ มีความอดทนและเสียสละ ครูจะต้องมั่นคงในอุดมคติ โดยการปฎิบัติงาน ปฏิบัติตนให้เหมาะสมและต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ

20 ครูเป็นวิชาชีพชั้นสูงและเป็นศาสตร์สาขาหนึ่ง
องค์ประกอบของศาสตร์สาขาต่างๆ นั้นได้แก่ มีศัพท์เฉพาะวิชาของตน(Terminologies) มีการแบ่งระบบของศาสตร์ออกเป็นส่วนๆ(Taxonomy) มีวิธีการค้นคว้าหรือวิจัย(Mode 0f Inquiry)

21 ครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง องค์ประกอบของวิชาชีพชั้นสูง ได้แก่
ให้บริการแก่สังคมโดยไม่ซ้ำซ้อนกับวิชาชีพอื่น มีระยะเวลาให้การศึกษาแก่สมาชิกของอาชีพยาวนานพอสมควร มีเสรีภาพในการประกอบวิชาชีพ มีจรรยาบรรณ มีสถาบันหรือ สมาคมวิชาชีพ

22 อุดมการณ์และวิญญาณความเป็นครู

23 วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพที่ต้องอาศัย ความเชื่อ อุดมการณ์ หรือจิตวิญญาณของความเป็นครูค่อนข้างสูง เนื่องจากวิชาชีพครูมีค่าตอบแทนต่ำ รายได้น้อยเมื่อเทียบกับวิชาชีพอื่น ผู้ที่มาสมัครเรียนและประกอบวิชาชีพครูจึงถือได้ว่าเป็นผู้เสียสละ มีอุดมการณ์ที่แน่วแน่และอยากจะประกอบอาชีพครู

24 ความหมายของอุดมการณ์
ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายว่า “อุดมการณ์หมายถึงอุดมคติอันสูงส่งที่จูงใจมนุษย์ให้พยายามบรรลุถึง นั่นคือ ถ้าใครยึดถืออุดมการณ์ใดแล้วปฏิบัติได้ตามอุดมการณ์นั้นๆ ก็จะทำให้บุคคลนั้นดำเนินไปสู่จุดหมายปลายทางอย่างสมบูรณ์”

25 กู๊ด (Good) ได้ให้ความหมายของคำว่า
อุดมการณ์หมายถึงอุดมคติความเชื่อ หลักเกณฑ์ หรือเป็นผลรวมของอุดมคติ ความเชื่อ หรือหลักเกณฑ์ต่างๆซึ่งบุคคล กลุ่มบุคคล หรือสังคมได้ยืดถือปฏิบัติ

26 สรุปความหมายของอุดมการณ์
สรุปความหมายของอุดมการณ์ อุดมการณ์ คือ ระบบความเชื่อ ซึ่งนำมากำหนดไว้เป็นเกณฑ์เพื่อให้ทุกคนยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ ให้บรรลุเป้าหมาย หรือเพื่อความเจริญก้าวหน้าในชีวิตของตน

27 ความหมายของอุดมการณ์และความเป็นครู
ความหมายของอุดมการณ์และความเป็นครู หมายถึง “ความรู้สึกตัวที่กระตุ้นจิตสำนึกของครูให้กระทำในสิ่งที่ดีงามตามบทบาทหน้าที่และเกียรติแห่งวิชาชีพครู

28 อุดมการณ์ที่ดีของครู
อุดมการณ์ที่ดีของครู การที่ครูจะปฏิบัติหน้าของครูอย่างเต็มศักดิ์ศรีและเต็มความภาคภูมิได้นั้น ครูจำเป็นต้องมีหลักยึดเพื่อนำตนไปสู่สิ่งที่สูงสุดหรือเป็นอุดมคติของอาชีพ นั่นก็คือ การมีอุดมการณ์ครู อุดมการณ์ครู มีหลักการที่จะยึดไว้ประจำใจทุกขณะที่ประกอบภารกิจของครูมีอยู่ 5 ประการ คือเต็มรู้ เต็มใจ เต็มเวลา เต็มคน เต็มพลัง

29 1.เต็มรู้ คือ มีความรู้บริบูรณ์             อาชีพ ครูเป็นอาชีพที่ต้องถ่ายทอด อธิบายให้ความรู้แก่คน ดังนั้นครูทุกคนจะต้องเป็นผู้ที่ทำให้ตนเองนั้นบริบูรณ์ หรือเต็มไปด้วยความรู้ ประกอบด้วยความรู้ 3 ประการ คือ         1.1 ความรู้ด้านวิชาการและวิชาชีพครู ความรู้เรื่องโลก ความรู้เรื่องธรรมะ

30 2.เต็มใจ คือ ความมีใจเป็นครู             พุทธศาสนาถือว่า “ใจนั้นแหละเป็นใหญ่ ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดจากใจทั้งนั้น” ดังนั้น คนจะเป็นครูที่มีอุดมการณ์จำเป็นต้องสร้างใจ ให้เป็นใจที่เต็มบริบูรณ์ด้วยการ มีใจเป็นครู การทำใจให้เต็มนั้นมีความหมาย 2 ประการคือ                 2.1 รักอาชีพ             รักศิษย์

31 3.เต็มเวลา คือ การรับผิดชอบ การทุ่มเทเพื่อการสอน   ครูที่มีอุดมการณ์ จะต้องใช้ชีวิตครูอย่างเต็มเวลาทั้ง 3 ส่วน คือ             3.1 งานสอน             3.2 งานครู             3.3 งานนักศึกษา

32 4. เต็มคน คือ การพัฒนาตนเองให้มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
4.เต็มคน คือ การพัฒนาตนเองให้มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์             ครูเป็นผู้ที่คนในสังคมคาดหวังไว้สูง และมีอิทธิพลต่อผู้เรียนมาก ครูจึงจำเป็นที่ต้องมีความบริบูรณ์ในความเป็นมนุษย์ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคม โดยต้องมีความสำรวมกาย วาจา ใจ เป็นแบบอย่างที่ดีงามในการแสดงออกทั้งในและนอกห้องเรียน มีความคิดที่ถูกต้อง มีการพูดที่ดี มีการดำเนินชีวิตที่ดี หมั่นคิด พิจารณาตนเอง ปรับปรุงตนเองให้มีความบริบูรณ์อยู่เสมอ

33 5. เต็มพลัง คือ การทุ่มเทพลังสติปัญญาและความสามารถเพื่อการสอน
5.เต็มพลัง คือ การทุ่มเทพลังสติปัญญาและความสามารถเพื่อการสอน             ครู จะต้องใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ ทุ่มเทไปเพื่อการสอน เพื่อวิชาการ เพื่อศิษย์ ครูต้องอุทิศตนอย่างเต็มที่ ทำงานอย่างไม่คิดออมแรง เพื่อผลงานที่สมบูรณ์นั้นก็คือ การปั้นศิษย์ให้มีความรู้ความประพฤติงดงาม เป็นที่พึงประสงค์ของสังคม

34 ครูที่มีหลักยึดครบเต็ม 5 ประการดังกล่าว
ย่อมเป็นครูที่มีครุธรรม ที่พร้อมจะเป็นผู้ชี้ทาง แห่งปัญญา ชี้ทางแห่งชีวิต และชี้ทางแห่งสังคม ในอนาคตได้เป็นอย่างดี ดังนั้นครูควรสร้าง อุดมการณ์เพื่อความก้าวหน้าของสังคมไทย และการพัฒนาวิชาชีพครู

35 ความหมายของวิญญาณของความเป็นครู
ความรู้สำนึกในความเป็นครู คือ รู้ถึงบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของครูตลอดเวลาและได้ปฏิบัติหน้าที่ของครู โดยยึดถืออุดมการณ์ของครูเป็นแนวทางอยู่เสมอ

36 ความหมายของวิญญาณ ราชบัณฑิตยสถาน อธิบายไว้ว่า “วิญญาณหมายถึง สิ่งที่เชื่อกันว่า มีอยู่ในกายเมื่อมีชีวิต เมื่อตายจะออกจากกายล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่” และอีกความหมายหนึ่ง หมายถึง ความรับรู้เช่น จักษุวิญญาณ คือ ความรู้ทางตา โสตวิญญาณ คือ ความรู้ทางหูเป็นต้น”

37 กล่าวโดยสรุป วิญญาณ คือ ความรู้สึกตัวอันเป็นความรู้แจ้งในจิตใจของตนว่า อะไรดีอะไรชั่ว อะไรควรทำหรือไม่ควรทำ ซึ่งนับว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญยิ่งของความเป็นมนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวง คือความเป็นผู้มีจิตใจอันประเสริฐ วิญญาณของครูหมายถึง ความรู้สำนึกในความเป็นครู หมายความว่า รู้ถึงบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของครูตลอดเวลาและได้ปฏิบัติหน้าที่ของครูโดยยึดถืออุดมการณ์ของครูเป็นแนวทางอยู่เสมอ

38 หากรวมความหมายของคำว่า อุดมการณ์ และวิญญาณความเป็นครู แล้วก็จะได้ความหมายโดยรวมว่า
“ความเชื่อ ความรู้สึกตัวที่กระตุ้นจิตสำนึกของครูให้กระทำในสิ่งที่ดีงามตามบทบาทหน้าที่และเกียรติแห่งวิชาชีพครูของตน” ดังนั้นครูที่ดีต้องมีอุดมการณ์และวิญญาณความเป็นครู เช่น กรณีของครูจูหลิง ปงกันมูล เป็นต้น

39 ประโยชน์ของอุดมการณ์และวิญญาณความเป็นครู. 1
ประโยชน์ของอุดมการณ์และวิญญาณความเป็นครู 1.ช่วยให้ครูทุกคนมีแนวทางในการทำงานร่วมกัน 2.ช่วยในการยกฐานะอาชีพครุให้สูงขึ้น และเป็นที่ยอมรับเคารพนับถือของสังคมทั่วไป 3.ช่วยพัฒนาวิชาชีพครูให้มีความเจริญก้าวหน้าและมั่นคง

40 4. ช่วยให้ครูมีความสุขและความเจริญก้าวหน้าในการประกอบอาชีพ. 5
4.ช่วยให้ครูมีความสุขและความเจริญก้าวหน้าในการประกอบอาชีพ 5.ช่วยให้รับบริการคือเด็กๆ และสังคมได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ 6.ช่วยให้สังคมและประเทศแห่งชาติบังเกิดความเจริญก้าวหน้า

41 เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
ได้ร้อยกรองบทประพันธ์ ความหมายและความสำคัญของครู ว่า ใครคือครูครูคือใครในวันนี้ ใช่อยู่ที่ปริญญามหาศาล ใช่อยู่ที่เรียกว่าครูอาจารย์ ใช่อยู่นานสอนนานในโรงเรียน ครูเป็นผู้ชี้นำทางความคิด ให้รู้ถูกรู้ผิดคิดอ่านเขียน ให้รู้ทุกข์รู้ยากรู้พากเพียร ให้รู้เปลี่ยนแปลงสู้รู้สร้างงาน ครูเป็นผู้ยกระดับวิญญาณมนุษย์ ให้สูงสุดกว่าสัตว์เดรัจฉาน ครูคือผู้สั่งสมอุดมการณ์ ในดวงมาลย์เพื่อมวลชนใช่ตัวเอง ครูจึงเป็นนักสร้างผู้ใหญ่ยิ่ง สร้างคนจริงสร้างคนกล้าสร้างคนเก่ง สร้างคนให้เป็นตัวของตัวเอง ขอมอบเพลงนี้มาบูชาครู


ดาวน์โหลด ppt ความหมายของครู. ความหมายของครู พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  ที่ได้พระราชทานแก่ครูอาวุโสในโอกาสที่เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานเข็มเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google