งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สารคดี.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สารคดี."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สารคดี

2 ลักษณะของหนังสือสารคดี
สารคดี (non-fiction) หมายถึง หนังสือที่มีเนื้อหาสาระและมีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ ความคิดแก่ผู้อ่าน ในขณะเดียวกันก็ให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่านด้วยความสามารถในการใช้ภาษาร้อยแก้วที่สละสลวยของผู้แต่ง

3 คำว่า สารคดี มาจากภาษาอังกฤษว่า non-fiction (เรื่องไม่สมมติ) ซึ่งตรงข้ามกับคำว่า บันเทิงคดี หรือ fiction (เรื่องสมมติ) ฉะนั้นสารคดีจึงแตกต่างจากบันเทิงคดีเพราะไม่ใช่เรื่องสมมติแต่ง แต่เป็นเรื่องจริง แสดงความถูกต้อง ให้ความรู้เป็นสำคัญ

4 ประวัติความเป็นมาของการเขียนสารคดีของไทย
การเขียนหนังสือในลักษณะสารคดีมีมานานแล้ว เช่น ตำนาน พงศาวดาร ตำรา คัมภีร์ ศาสนา จดหมายเหตุ ฯลฯ แต่สารคดีในลักษณะการเขียนแบบตะวันตก ได้รับความนิยมมากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สารคดีที่น่าอ่านและเป็นที่ติดใจของนักอ่านปัจจุบัน คือ พระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเข้าใจว่าเป็นหนังสือในรูปแบบจดหมายเป็นเรื่องแรก และมีลักษณะเป็นสารคดีท่องเที่ยวเป็นเรื่องแรกด้วย

5 การเขียนสารคดีเฟื่องฟูต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีสารคดีที่เป็นบทวิพากษ์วิจารณ์สังคม บ้านเมืองบ้าง นักเขียนฝีมืออมตะหลายคน เช่น แม่อนงค์ ศรีบูรพา น.ประภาสถิต ยาขอบ แห่งหนังสือพิมพ์สุภาพบุรุษ ฐานะของสารคดีในวงการเขียนและวงการอ่าน ก็ยังมีสภาพ “เหมือนลูกเมียน้อย” เพราะคนสนใจจะเขียนมีน้อย เพราะจะเขียนให้ดีจริงๆ นั้นยาก ต้องค้นหาข้อมูล ต้องมีความละเมียดละไม มีความสันทัดในเรื่องนั้น แต่รายได้จากการเขียนสารคดีในบ้านเราน้อยกว่าบันเทิงคดีนัก ในด้านผู้อ่านก็ให้ความสนใจน้อยเพราะเป็นเรื่องความรู้ อ่านแล้วหนักสมอง

6 ประเภทของสารคดี สารคดีแบ่งตามรูปแบบวิธีเสนอเรื่อง กลวิธีการเขียน ตลอดจนเนื้อหาสารัตถะของการเขียนนั้นได้หลายประเภทที่เด่นๆ ได้แก่ 1. สารคดีท่องเที่ยว 2. สารคดีชีวประวัติและอัตตชีวประวัติ 3. สารคดีวิชาการ 4. บทความ

7 1. สารคดีท่องเที่ยว สารคดีท่องเที่ยวเป็นสารคดีที่มีผู้นิยมอ่านมากที่สุด อาจจะเป็นเพราะสอดคล้องกับลักษณะนิสัยความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ ผู้อ่านจะได้รับความสนุกสนาน ความตื่นเต้น ความรู้ โดยเฉพาะผู้ไม่มีโอกาสได้เดินทางไปเที่ยวในสถานที่ที่ตนอยากไป จึงหาอ่านเอาจากที่ผู้อื่นเขียนขึ้น เป็นการชดเชยอารมณ์ความต้องการ

8 สารคดีท่องเที่ยวมีทั้งที่เขียนถึงสถานที่ในประเทศและต่างประเทศ การบันทึกการท่องเที่ยวในรูปของวรรณกรรมมีมานาน โดยสารคดีท่องเที่ยว ได้แก่ จดหมายเหตุคณะราชทูตไทยไปอังกฤษ ของหม่อมราโชทัย พระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

9 ลักษณะของสารคดีท่องเที่ยวที่ดี
1. ผู้เขียนต้องเขียนด้วยข้อมูลถูกต้องแท้จริง นักเขียนสารคดีท่องเที่ยวจึงต้องเดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่นั้นๆ ด้วยตนเอง 2. ผู้เขียนต้องให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่นั้นอย่างสมบูรณ์เท่าที่จะทำได้ ไม่ว่าเรื่องสภาพภูมิประเทศ ความเป็นอยู่ของผู้คน ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยมและวัฒนธรรม 3. ผู้เขียนต้องแทรกเกร็ด ตำนาน นิทาน ข้อขำขัน เกี่ยวกับสถานที่นั้นเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน 4. ผู้เขียนต้องให้ข้อสังเกตและแสดงทัศนะของตนต่อสิ่งที่พบเห็น

10 2. สารคดีชีวประวัติ สารคดีชีวประวัติมีผู้นิยมอ่านรองลงมาจากสารคดีท่องเที่ยว ซึ่งหนังสือประเภทชีวประวัติแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. ชีวประวัติที่เจ้าของเขียนเอง (อัตตชีวประวัติ) 2. หนังสือที่ผู้หนึ่งเขียนถึงชีวิตของผู้อื่น สารคดีชีวประวัติ มีความคาบเกี่ยวกับสารคดีประวัติศาสตร์และท่องเที่ยว หนังสือบางเล่ม ผู้อ่านจะได้รับความรู้เรื่องชีวิตของบุคคลและได้รับความรู้ทางประวัติศาสตร์ไปด้วยในตัว ขณะเดียวกันก็เหมือนได้ท่องเที่ยวไปยังท้องถิ่นต่างๆ ตามเจ้าของประวัติ หนังสืองานศพ หรือหนังสือที่แจกในงานฌาปนกิจศพ ซึ่งมีบุคคลหลายคนเขียนถึงประวัติชีวิตส่วนตัว การงาน ฯลฯ ของผู้ตายก็ถือเป็นสารคดีชีวประวัติ

11 ในการประเมินค่าสารคดีชีวประวัติ นอกจากความถูกต้องของเนื้อหาและกลวิธีการเสนอเรื่อง ผู้อ่านควรพิจารณาในเรื่องต่างๆ ต่อไปนี้ด้วย 1. เจ้าของชีวประวัติมีหลักการ มีอุดมคติในการดำเนินชีวิตอย่างไร มีคุณค่าในการเป็นบทเรียนหรือแบบอย่างแก่ผู้อ่านในด้านใดหรือไม่ 2. ศึกษาความสำเร็จและความล้มเหลวของบุคคลผู้นั้น เพื่อจะได้เข้าใจธรรมชาติของชีวิตและนำมาเป็นเครื่องสังวรณ์เตือนใจได้

12 3. สารคดีวิชาการ สารคดีวิชาการ มีลักษณะใกล้เคียงกับหนังสือตำราวิชาการอยู่มาก ส่วนสารคดีประวัติศาสตร์ จะเป็นตำราโดยตรงก็ได้ หรือเป็นเพียงหนังสืออ่านประกอบก็ได้ เช่น พม่าเสียเมือง ของ ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งเล่าเหตุการณ์ความเป็นไปในสมัยก่อนที่พม่าจะเสียเอกราชแก่อังกฤษ ในแผ่นดินพระเจ้าสีป่อและพระนางศุภยลัต

13 สารคดีทางภาษาและวรรณคดี เป็นหนังสือสารคดีที่นักศึกษาวิชาเอกภาษาไทยทุกคนต้องอ่าน เช่น บ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงค้นคว้าที่มาของเรื่องรามเกียรติ์ วิเคราะห์รสวรรณคดีไทย ของ ม.ล บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ให้ความรู้เรื่องการวิจารณ์วรรณคดีด้วยทฤษฎีการวิจารณ์แนวต่างๆ การศึกษาภาษาไทยตามแนวภาษาศาสตร์ ของ ร.ศ.ประสิทธิ์ กาพย์กลอน

14 4. บทความ บทความเป็นความเรียงที่เป็นเรื่องจริง บทความส่วนมากมีขนาดสั้น เพราะเขียนลงในหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารต่างๆ เช่น บทความวิชาการ มุ่งให้ความรู้ บทวิเคราะห์วิจารณ์ เช่น บทวิจารณ์หนังสือ วิจารณ์ภาพยนตร์

15 กวีนิพนธ์

16 ความหมายของกวีนิพนธ์
กวีนิพนธ์ หมายถึง คำประพันธ์ที่กวีแต่ง ส่วนพจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายไว้ว่า กวีนิพนธ์คือคำประพันธ์ที่กวี เรียบเรียงเพื่อใช้แสดงความคิด ความเข้าใจอันลึกซึ้งที่เกิดจากจินตนาการเกี่ยวกับโลก มนุษย์ และความสัมพันธ์ระหว่างโลกกับมนุษย์ด้วยทุกรูปแบบ การลำดับความ และภาษาวรรณศิลป์ในกวีนิพนธ์ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ

17 กวีนิพนธ์มีความหมายที่เกี่ยวข้องกับการประเมินค่าภาษาวรรณศิลป์ กวีนิพนธ์สมัยใหม่ หมายถึง ผลงานของกวีซึ่งแตกต่างกับกวีนิพนธ์แบบเดิมทั้งรูปแบบและเนื้อหา ทั้งรูปแบบและเนื้อหานี้เกิดจากการรับอิทธิพลตะวันตก ในการวิจักษณ์กวีนิพนธ์ ผู้อ่านต้องเข้าใจธรรมชาติของกวีนิพนธ์โดยเฉพาะภาษากวีนิพนธ์ที่แตกต่างกับภาษาในชีวิตประจำวัน กวีนิพนธ์ มีทั้งที่เป็นวรรณคดีโบราณที่เป็นเรื่องเล่าร้อยกรอง และกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่ กวีนิพนธ์ประเภทหลังส่วนใหญ่เป็นร้อยกรองขนาดสั้นจึงมีนัยลึกซึ้งและภาษาที่ “ใช้คำน้อย กินความมาก”

18 องค์ประกอบและกลวิธีนำเสนอของกวีนิพนธ์
1. รูปแบบ ในที่นี้หมายถึงฉันทลักษณ์ มาตรา และจังหวะในกวีนิพนธ์ไทย กวีนิพนธ์ที่เป็นร้อยกรองไทยมีแบบแผนฉันทลักษณ์กว้างๆ 5 ประเภทได้แก่ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ปัจจุบันความหลากหลายของรูปแบบยังได้ขยายตัวออกไปอีกมาก โดยเฉพาะในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่ที่มีการประดิษฐ์และการปรับแปลงฉันทลักษณ์ อย่างในกรณีโคลง ปัจจุบันมีโคลงสิบสุภาพ 2. ภาษาจินตภาพและภาพพจน์ จินตภาพ (image) หมายถึงภาพที่เกิดขึ้นในความรู้สึกนึกคิดของผู้อ่าน เช่น อุปมา อุปลักษณ์ อติพจน์ บุคลาธิษฐาน ฯลฯ

19 3. สัญลักษณ์ (Symbol) คือการกำหนดให้สิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตเป็นตัวแทนของสิ่งอื่น สัญลักษณ์หลายอย่างอาจจะพัฒนามาจากการใช้ภาพพจน์เปรียบเทียบ ดอกไม้งามเป็นสัญลักษณ์ของหญิงงาม น้ำค้างเป็นสัญลักษณ์แทนความบริสุทธิ์ โดยสัญลักษณ์ที่ดีจะต้องเป็นส่วนผสมอันลงตัวระหว่างความชัดเจนและความกำกวม เอื้อต่อการตีความ หากชัดเจนเกินไปจนไม่เหลืออะไรให้สงสัยเลยก็จะเป็นสัญลักษณ์ที่น่าเบื่อ ดอกไม้ในกวีนิพนธ์ของจิระนันท์ พิตรปรีชา หมายถึง อุดมการณ์และพลังของหนุ่มสาว “ที่นี่ และที่อื่นๆ ดอกไม้สดชื่น ยื่นให้มวลชน”

20 ดอกไม้ ดอกไม้จะบาน บริสุทธิ์กล้าหาญ จะบานในใจ สีขาว หนุ่มสาวจะใฝ่ แน่วแน่แก้ไข จุดไฟศรัทธา เรียนรู้ต่อสู้มายา ก้าวไปข้างหน้า เข้าหามวลชน ชีวิตอุทิศยอมตน ฝ่าความสับสน เพื่อผลประชา ดอกไม้บานให้คุณค่า จงบานช้าช้า แต่ว่ายั่งยืน ที่นี่และที่อื่นๆ ดอกไม้สดชื่น ยื่นให้มวลชน

21 4. น้ำเสียงและผู้พูด น้ำเสียง (tone) เป็นคำกว้าง มักใช้อธิบายอารมณ์หรือบรรยากาศของวรรณคดี น้ำเสียงเชื่อมโยงได้กับท่าทีของผู้เขียนที่ส่งผ่านมายังผู้อ่าน 5. ขนบวรรณศิลป์ หมายถึง แบบแผนของกลวิธีการประพันธ์เพื่อสร้างความงามทางวรรณศิลป์อันเป็นที่ยอมรับและสืบทอดกันโดยทั่วไป เช่น แบบแผนฉันทลักษณ์ การใช้ภาพพจน์และโวหาร ตลอดจนศิลปะการแต่ง เช่น บทประณามพจน์ บทชมธรรมชาติ บทอัตวิพากษ์ (การวิจารณ์ตนเองในทำนองถ่อมตน)

22 การวิจักษณ์กวีนิพนธ์ไทยจำเป็นต้องรู้จักขนบวรรณศิลป์ เพราะกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่เป็นประเภทวรรณคดีที่เติบโตอยู่บนฐานของวรรณคดีโบราณต่างกับวรรณคดีประเภทเรื่องเล่าร้อยแก้วที่รับมาจากตะวันตก ในกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่จึงมีการสืบทอดขนบและสร้างสรรค์ลักษณะอย่างใหม่บนฐานของขนบวรรณศิลป์ดั้งเดิมจำนวนมาก เช่น ขนบของวรรณคดีนิราศที่เป็นการเดินทางผ่านสถานที่หรือการเคลื่อนที่ของเวลาในกวีนิพนธ์ของอังคาร กัลยาณพงศ์ และไพวรินทร์ ขาวงาม

23

24 ตัวอย่างกวีนิพนธ์บทเสียเจ้าของอังคาร กัลยาณพงศ์
“เสียเจ้าราวร้าวมณีรุ้ง มุ่งปรารถนาอะไรในหล้า มิหวังกระทั่งฟากฟ้า ซบหน้าติดดินกินทราย จะเจ็บจำไปถึงปรโลก ฤๅรอยโศกรู้ร้างจางหาย จะเกิดกี่ฟ้ามาตรอมตาย อย่าหมายว่าจะให้หัวใจ ถ้าเจ้าอุบัติบนสรวงสวรรค์ ข้าขอลงโลกันต์หม่นไหม้ สูเป็นไฟเราเป็นไม้ ให้ทำลายสิ้นถึงวิญญาณ แม้แต่ธุลีมิอาลัย ลืมเจ้าไซร้ไปชั่วกัลปาวสาน ถ้าชาติไหนเกิดไปพบพาน จะทรมานควักทิ้งทั้งแก้วตา ตายไปอยู่ใต้รอยเท้า ให้เจ้าเหยียบเล่นเหมือนเส้นหญ้า เพื่อจดจำพิษซ้ำนานา ไปชั่วฟ้าชั่วดินสิ้นเอย”

25 CONCRETE POETRY ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ เรียกว่า กวีนิพนธ์รูปธรรม
กวีนิพนธ์แบบรูปธรรม นักปรัชญาในตะวันตกสมัยใหม่อธิบายว่า เป็นกวีนิพนธ์ที่ไม่ถือว่า ภาษา นอกจากจะมีเสียงแล้วยังมีรูป คือ รูปที่เขียนลงบนหน้ากระดาษหรือวัตถุใดก็ตามที่ใช้เขียน กลุ่มผู้ประพันธ์กลุ่มก้าวหน้าจึงหันมานิยมการเขียนร้อยกรองที่มีรูปแบบที่ช่วยให้เห็นภาพ และจากภาพนั้นให้เกิดความนึกคิดไปตามแนวใดแนวหนึ่งตามที่ผู้ประพันธ์จะคิด หรือผู้อ่านจะตีความ

26

27


ดาวน์โหลด ppt สารคดี.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google