ความสำคัญอำนาจอธิปไตย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความสำคัญอำนาจอธิปไตย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หลักการประชาธิปไตย : แนวคิดเรื่องอำนาจอธิปไตยหลักการทั่วไปของรัฐธรรมนูญและการแบ่งแยกอำนาจ

2 ความสำคัญอำนาจอธิปไตย
อำนาจอธิปไตย หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการปกครองของรัฐ ที่มีอิสระ เสรีภาพ และมีความเป็นเอกราช มีอำนาจในการบริหารราชการ ทั้งกิจการภายในและนอกประเทศได้อย่างเต็มที่ โดยทั่วไปอำนาจอธิปไตยแยกใช้เป็น 3 ลักษณะ คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และ อำนาจตุลาการ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ระบุว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็น ประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้

3

4 หลักการทั่วไปของรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายสูงสุดของรัฐ เป็นกฎหมายแม่บทของกฎหมายทั้งหลายในรัฐ กฎหมายใดที่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญต้อง ถือเป็นโมฆะ กฎหมายทั้งหมดในรัฐจำเป็นต้องเป็นไปตามแนวทางของกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายรัฐธรรมนูญโดยทั่วไปบัญญัติว่าด้วย รูปของรัฐ การแย่งแยกอำนาจอธิปไตย สิทธิและหน้าที่ของประชาชน รูปของ รัฐบาลระเบียบแบบแผนของการปกครอง ฯลฯ วัตถุประสงค์ของความจำเป็นที่ต้องมีรัฐธรรมนูญ ก็คือ การปกครองรัฐต้องเป็นไปโดย กฎหมายมิใช่โดยผู้มีอำนาจ รัฐธรรมนูญของแต่ละรัฐย่อมมีลักษณะผิดแผกแตกต่างกันไป ซึ่งพอจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1.รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร (Written Constitution) 2.รัฐธรรมนูญจารีตประเพณี (Unwritten Constitution) 3.รัฐธรรมนูญเดี่ยว และรัฐธรรมนูญรัฐรวม (Unitary Constitution and Federal Constitution) 4.รัฐธรรมนูญสาธารณรัฐ และรัฐธรรมนูญกษัตริย์ (Republican Constitution and Monarchical Constitution)

5

6 การแบ่งแยกอำนาจอำนาจอธิไตย
ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยพระมหากษัตริย์มิได้ทรงใช้ อำนาจในการปกครองประเทศเหมือนในอดีต แต่พระองค์จะทรงใช้อำนาจอธิปไตย หรืออำนาจในการปกครองประเทศตามที่ กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ คือพระองค์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติเพื่อออกกฎหมายบังคับใช้แก่ประชาชนผ่านทางรัฐสภา และทรงใช้ อำนาจบริหารในการปกครองประเทศผ่านทางคณะรัฐมนตรี โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐมนตรี รวมทั้งทรงใช้ อำนาจตุลาการอันเป็นอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีต่าง ๆ ผ่านทางศาล อำนาจอธิปไตยสามารถแบ่งออกเป็นอำนาจย่อย 3 อำนาจ ดังนี้ 1.อำนาจนิติบัญญัติ 2.อำนาจตุลาการ 3.อำนาจบริหาร

7 1. อำนาจนิติบัญญัติเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ ได้กำหนดให้รัฐสภา ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาโดยรัฐสภาเป็นตัวแทนของประชาชนชาวไทย กฎหมายที่จะออกมาจากรัฐสภาต้อง ผ่านความเห็นชอบทั้งจากสภาผู้แทนราษฎรและจากวุฒิสภาจึงจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ให้พระมหากษัตริย์ทรงลง พระปรมาภิไธย ดังนั้น อำนาจหน้าที่ของรัฐสภาของไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขจึงมีอำนาจ หน้าที่โดยทั่วไป ดังนี้ 1. อำนาจหน้าที่ในการออกกฎหมาย 2. เสนอชื่อบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรี 3. ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล

8   2.  อำนาจบริหารใช้ผ่านทางคณะรัฐมนตรี  ซึ่งเป็นคณะบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารประเทศ  โดยรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ. 2550  ได้กำหนดไว้เป็นการเฉพาะว่า  "นายกรัฐมนตรีจะต้องมาจากบุคคลที่เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้นเท่านั้น"  ส่วนรัฐมนตรีไม่มีข้อห้ามจึงสามารถแต่งตั้งจากบุคคลใดก็ได้     อำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550บัญญัติไว้คือ           1.  กำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน           2.  รักษากฎหมายและความสงบเรียบร้อย เพื่อให้ประชาชนดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข           3.  ควบคุมข้าราชการประจำให้นำนโยบายไปปฏิบัติให้บังเกิดผล           4.  ประสานงานกับกระทรวงต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้องไปในทางเดียวกัน           5.  ออกมติต่าง ๆ เพื่อให้กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ถือปฏิบัติ  คณะรัฐมนตรีตาม รัฐธรรมนูญฉบับ ปัจจุบัน ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี 1 คน และ คณะรัฐมนตรีอีกไม่เกิน 35 คน

9  3.อำนาจตุลาการเป็นอำนาจของศาลทุกประเภทที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550  ซึ่ง ศาลทุกประเภทมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีความต่างๆตามอำนาจของศาลนั้นๆ เพื่อให้ความยุติธรรมแก่ ประชาชนภายใต้พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ และเพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนในชาติเช่น ศาลปกครอง ศาล อาญา เป็นต้น ด้วยเหตุนี้อำนาจตุลาการต้องเป็นอิสระปราศจากการแทรกแซง


ดาวน์โหลด ppt ความสำคัญอำนาจอธิปไตย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google