ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
Color Colour ทฤษฎีสี
2
“ทฤษฎี” ความจริงที่ได้พิสูจน์แล้วหรือ หลักวิชา
“ทฤษฎี” ความจริงที่ได้พิสูจน์แล้วหรือ หลักวิชา “สี” แสงที่ตกกระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้า ตา ทำให้เราเห็นเป็นสีต่าง ๆ และมีผล ทางด้านจิตวิทยาต่อผู้เห็น สี และความ เข้มของสีทำให้เกิดอารมณ์และความรู้สึก เมื่อใดที่เรามองเห็นสี สายตาจะส่ง ความรู้สึกไปยังสมองทำให้เกิดความรู้สึก ต่าง ๆ ตามอิทธิพลของสีนั้น ๆ เช่น รู้สึก สดชื่น ตื่นเต้น หรือโศกเศร้า “ทฤษฎีสี” หลักวิชาเกี่ยวกับสีที่สามารถ มองเห็นได้ด้วยสายตา
3
คำจำกัดความของสี 1. แสงที่มีความถี่ของคลื่นในขนาดที่ตา มนุษย์สามารถมองเห็นได้ 2. แม่สีที่เป็นวัตถุ ประกอบด้วย สีแดง สี เหลือง และสีน้ำเงิน 3. สีที่เกิดจากการผสมของแม่สี
4
คุณลักษณะของสี สีแท้ (HUE) คือ สีที่ยังไม่ถูกผสม เป็น ลักษณะของสีแท้ที่มีความสดใส เช่น สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน สีอ่อนหรือสีจาง (TINT) ใช้เรียกสีแท้ที่ ถูกผสมด้วยสีขาว เช่น สีเทา, สีชมพู สีแก่ (SHADE) ใช้เรียกสีแท้ที่ถูกผสม ด้วยสีดำ เช่น สีน้ำตาล
5
สี สามารถแยกออกเป็น 2 ประเภทคือ 1. สีธรรมชาติ 2. สีที่มนุษย์สร้างขึ้น
6
แม่สี คือ สีหลัก ซึ่ง สามารถนำมาผสมกันแล้วทำ ให้เกิดสีใหม่ และไม่สามารถ นำสีใด ๆ มาผสมขึ้นเป็นแม่สี ได้ แม่สีมีอยู่ 2 ชนิด คือ
7
แม่สีของแสง สีแบบบวก หรือระบบสี RGB เกิดจากการหักเหของแสงผ่านแท่งแก้วปริซึม มี 3 สี คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน
8
แม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีที่ได้มาจากธรรมชาติ และจากการสังเคราะห์โดยกระบวนการทางเคมี มี 3 สี คือ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน
12
สีเหลืองและสีม่วง เป็นได้ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น
13
หลักการใช้สีวรรณะเดียว
การใช้สีวรรณะเดียว มาจากการแบ่งกลุ่มสี วรรณะร้อน ประกอบด้วย สีเหลือง สีส้ม สีแดง สีม่วง สีเหล่านี้ให้อิทธิพล ต่อความรู้สึก ตื่นเต้น เร้าใจ กระฉับกระเฉง ถือว่าเป็นวรรณะร้อน วรรณะเย็น ประกอบด้วย สีเหลือง สีเขียว สีน้ำเงิน สี ม่วง สีเหล่านี้ดู เย็นตา ให้ความรู้สึก สงบ สดชื่น ดังนั้นในการใช้สีแต่ละครั้งควรใช้สีวรรณะเดียวใน ภาพทั้งหมด เพราะจะทำให้ภาพมีความเป็นเอกภาพ กลมกลืน สามารถสร้างแรงจูงใจได้ดี
14
หลักการใช้สีต่างวรรณะ
การใช้สีต่างวรรณะโดยทั่วไป ใช้ อัตราส่วน 80% ต่อ 20% ของวรรณะสี คือ ถ้าใช้สีวรรณะร้อน 80% สีวรรณะเย็นก็ 20% เป็นต้น ซึ่งการใช้แบบนี้สร้างจุด สนใจของผู้ดู ไม่ควรใช้อัตราส่วนที่เท่ากัน เพราะจะทำให้ไม่มีสีใดเด่น ไม่น่าสนใจ
15
หลักการใช้สีตรงกันข้าม
สีตรงข้าม สีตัดกัน หรือสีคู่ปฏิปักษ์ เป็นสีที่มีค่าความเข้มของสีตัดกันอย่าง รุนแรง ในทางปฏิบัติไม่นิยมนำมาใช้ ร่วมกันเพราะจะทำให้แต่ละสีไม่สดใส เท่าที่ควร แต่การใช้สีตรงข้ามจะสร้าง ความโดดเด่นและสามารถเร้าใจผู้ดูได้ มากแต่หากใช้ไม่ถูกหลัก ไม่เหมาะสม หรือใช้จำนวนสีมากสีจนเกินไปก็จะทำให้ ผู้ดูเกิดความรู้สึกลายตา ขัดแย้งแทน
16
หลักการใช้สีข้างเคียง
สีข้างเคียงใช้สีที่อยู่ข้างๆกันในวงจรสี ติดกันประมาณ 3-4 สี จึงเป็นสีที่มีความ เข้ากันได้สูงและให้ความรู้สึกสบายตา เลือกสีหนึ่งเพื่อให้เด่น,สีที่สองเพื่อ สนับสนุน และสีที่สามมักจะใช้กับสีดำ ,เทาหรือสีขาวเพื่อการเน้น
17
สรุป ในการศึกษาเรื่องทฤษฎีสี ทำให้เราได้ทราบถึง ความสำคัญของการใช้สี สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในงานศิลปะขั้นพื้นฐาน กราฟิก สื่อสิ่งพิมพ์ รวมถึง การสร้างสรรค์งานภาพถ่ายให้น่าสนใจ สามารถสื่อ ความหมายได้อย่างถูกต้อง จนถึงการประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวัน อาทิ การเลือกสีบ้าน ห้องนั่งเล่น ห้องนอน ห้องรับแขกให้ดูอบอุ่น นักศึกษาจึงควรศึกษาทฤษฎีสีและหลักการใช้สี อย่างถูกต้อง เพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนา และสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับงานของตนเองได้เป็น อย่างดี
18
แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน
1. จงอธิบายความหมายของ “แม่สีวัตถุธาตุ” และถูกนำมาใช้ในงานประเภทใด 2. จงอธิบายความหมายของ “แม่สีของแสง” และถูกนำมาใช้ในงานประเภทใด 3. “สีกลาง” ประกอบด้วยสีใดบ้าง และมีประโยชน์อย่างไร 4. สีสามารถแบ่งออกได้กี่วรรณะ และสีใดที่อยู่มากกว่าหนึ่งวรรณะ เพราะเหตุใด 5. จงอธิบายถึงลักษณะการใช้สีในลักษณะต่อไปนี้ และผลด้านจิตวิทยา การใช้สีวรรณะเดียว การใช้สีต่างวรรณะ การใช้สีตรงกันข้าม การใช้สีใกล้เคียง 6. การเรียนรู้เรื่องทฤษฎีสีสามารถนำไปใช้ประยุกต์ใช้กับการเรียนนิเทศศาสตร์ได้ อย่างไรบ้าง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.