ขอต้อนรับนักศึกษา หลักสูตรปลัดอำเภอ ที่เคารพรักทุกท่าน เข้าสู่การบรรยายในหัวข้อ “กฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน ฯ ” สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ขอต้อนรับนักศึกษา หลักสูตรปลัดอำเภอ ที่เคารพรักทุกท่าน เข้าสู่การบรรยายในหัวข้อ “กฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน ฯ ” สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ขอต้อนรับนักศึกษา หลักสูตรปลัดอำเภอ ที่เคารพรักทุกท่าน เข้าสู่การบรรยายในหัวข้อ “กฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน ฯ ” สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง

2 2. ความเบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืนฯ
เค้าโครงการบรรยาย มีดังนี้ 1. แนะนำหน่วยงาน 2. ความเบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืนฯ 3. งานทะเบียนตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 4. สรุปส่งท้าย กา

3 1.แนะนำหน่วยงาน

4 สำนักการสอบสวนและนิติการ
กรมการปกครอง สำนักการสอบสวนและนิติการ ฝ่ายบริหารทั่วไป ส่วนอำนวยความเป็นธรรม ส่วนรักษาความสงบเรียบร้อย 1 ส่วนการสอบสวนคดีอาญา ส่วนรักษาความสงบเรียบร้อย 2 ส่วนงานนิติการ ศูนย์บริการประชาชน กรมการปกครอง ส่วนรักษาความสงบเรียบร้อย 3 ส่วนกำกับและตรวจสอบ

5 2. ความเบื้องต้นเกี่ยวกับ กฎหมายว่าด้วยอาวุธปืนฯ

6 ความเป็นมาของ พ.ร.บ. อาวุธปืน (จากอดีต ถึง ปัจจุบัน)
พ.ร.บ. อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน รัตนโกสินทร์ศก 131 (พ.ศ.2455) พ.ร.บ. อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน และ ดอกไม้เพลิง พ.ศ.2477 พ.ร.บ. อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ.2490

7 การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการ

8

9 ความหมายของอาวุธปืน มาตรา 4
อาวุธปืน หมายความรวมตลอดถึงอาวุธทุกชนิด ซึ่งใช้เครื่อง กระสุนปืน โดยวิธีระเบิด หรือกำลังดันของแก๊สหรือลม หรือเครื่อง กลไกอย่างใด ซึ่งต้องอาศัยอำนาจของพลังงานและส่วนใดส่วนหนึ่ง ของอาวุธนั้น ๆ ซึ่งรัฐมนตรีเห็นว่าสำคัญ และได้ระบุไว้ในกฎกระทรวง

10 กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 ข้อ 1 ส่วนของอาวุธปืนที่ให้ถือว่าเป็นอาวุธปืน ประกอบด้วย - ลำกล้อง - เครื่องลูกเลื่อน - เครื่องลั่นไก - เครื่องส่งกระสุน - ซองกระสุน หรือส่วนประกอบสำคัญฯ

11 ความหมายของเครื่องกระสุนปืน
เครื่องกระสุนปืน หมายความรวมตลอดถึงกระสุนโดด กระสุนปราย กระสุนแตก ลูกระเบิด ตอร์ปิโด ทุ่นระเบิดและจรวด ทั้งชนิดที่มีหรือไม่มีกรดแก๊ส เชื้อเพลิง เชื้อโรค ไอพิษ หมอกหรือควัน หรือกระสุน ลูกระเบิด ตอร์ปิโด ทุ่นระเบิดและจรวด ที่มีคุณสมบัติล้ายคลึงกัน หรือเครื่องหรือสิ่งสำหรับอัดหรือทำ หรือใช้ประกอบเครื่องกระสุนปืน

12 ความหมายของวัตถุระเบิด
วัตถุระเบิด คือ วัตถุที่สามารถส่งกำลังดัน อย่างแรงต่อสิ่งห้อมล้อมโดยฉับพลันในเมื่อระเบิดขึ้น โดยมีสิ่งเหมาะมาทำให้เกิดกำลังดัน หรือโดยการสลายตัวของวัตถุระเบิดนั้นทำให้มีแรงทำลายหรือแรงประหาร กับหมายความรวมตลอดถึงเชื้อประทุต่างๆ หรือวัตถุอื่นใดอันมีสภาพคล้ายคลึงกันซึ่งใช้ หรือทำขึ้นเพื่อให้เกิดการระเบิดซึ่งรัฐมนตรีจะได้ประกาศระบุไว้ในราชกิจจานุเบกษา

13 ความหมายของดอกไม้เพลิง
ดอกไม้เพลิง หมายความรวมตลอดถึง พลุ ประทัดไฟ ประทัดลม และวัตถุอื่นใด อันมีสภาพคล้ายคลึงกัน

14 ความหมายของสิ่งเทียมอาวุธปืน
สิ่งเทียมอาวุธปืน หมายความว่า สิ่งซึ่งมีรูป และลักษณะอันน่าจะทำให้หลงเชื่อว่าเป็นอาวุธปืน

15 ประกาศ มท. เรื่องแต่งตั้งนายทะเบียน เจ้าพนักงาน และเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ พ.ศ ลงวันที่ 4 ม.ค. 2548 นายทะเบียน กรุงเทพมหานคร - อปค. ส่วนภูมิภาค - ผู้ว่าราชการจังหวัด ในเขตจังหวัด - นายอำเภอ / ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ

16 (ต่อ) กทม. - ปลัดกระทรวงมหาดไทย จังหวัดอื่น - ผวจ.
เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจอนุมัติ ออกหนังสืออนุญาตพิเศษตาม มาตรา 14 กทม ปลัดกระทรวงมหาดไทย จังหวัดอื่น ผวจ. เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจออกหนังสือ อนุญาตตาม มาตรา 70 กทม ปลัดกระทรวงมหาดไทย จังหวัดอื่น ผวจ.

17 เจ้าหน้าที่ตรวจร้านค้าและร้านประกอบ ซ่อมแซม
(ต่อ) เจ้าหน้าที่ตรวจร้านค้าและร้านประกอบ ซ่อมแซม กทม. - อปค. หรือ ผู้ซึ่ง อปค. แต่งตั้ง ส่วนภูมิภาค - ผวจ. ในเขตจังหวัด - นายอำเภอ / ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ และปลัดอำเภอแห่งท้องที่ ในเขตอำเภอ หรือ เขต กิ่งอำเภอ

18 ประกาศ มท. เรื่องแต่งตั้งเจ้าพนักงานออกหนังสืออนุญาตให้ย้ายวัตถุระเบิด ตามพ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ศ ลงวันที่ 4 ม.ค. 2548 ปลัดกระทรวงมหาดไทย ระหว่างจังหวัด อปค ในเขต กทม. ผวจ ในเขตจังหวัด นายอำเภอ ในเขตอำเภอ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ในเขตกิ่งอำเภอ

19 คำสั่ง มท. ที่ 15/2548 เรื่อง มอบอำนาจให้ ปมท. และ ผวจ ปฏิบัติราชการแทน รมว.มท. ลงวันที่ 27 ม.ค. 2548 1. ปมท. - อนุมัติให้นายทะเบียนท้องที่ออกใบอนุญาตให้ซื้อ มี ใช้ สั่ง นำเข้า ค้า หรือจำหน่าย ด้วยประการใดๆ ซึ่งวัตถุระเบิดตามมาตรา 38 - อนุมัติให้นายทะเบียนท้องที่ กทม. ต่ออายุใบอนุญาตทำ ประกอบ ซ่อมแซม เปลี่ยน ลักษณะ มี หรือจำหน่ายอาวุธปืน หรือเครื่องกระสุนปืน สำหรับการค้า ตามมาตรา 25 2. ผวจ. - อนุมัติให้นายทะเบียนท้องที่ต่ออายุใบอนุญาตทำ ประกอบ ซ่อมแซม เปลี่ยน ลักษณะ มี หรือจำหน่ายอาวุธปืน หรือเครื่องกระสุนปืนสำหรับการค้า ตามมาตรา 25

20 ข้อยกเว้น พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 มิให้ใช้บังคับแก่
(เว้นแต่มาตรา 8 ทวิ เรื่อง การพาอาวุธปืนติดตัว ยังใช้บังคับอยู่) 1. อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนของ ก. ราชการทหาร และตำรวจที่มีหรือใช้ในราชการ ข. หน่วยราชการที่มีหรือใช้เพื่อป้องกันประเทศ หรือรักษาความสงบ เรียบร้อยของประชาชน (21 หน่วยงาน เป็นไปตามกฎกระทรวง) ค. หน่วยราชการ หรือรัฐวิสาหกิจที่มีและใช้ในการป้องกันและรักษาทรัพย์สิน อันสำคัญของรัฐ (12 หน่วยงาน เป็นไปตามกฎกระทรวง) ง. หน่วยงานตาม ก. และ ข. ที่มอบให้ประชาชนมีและใช้เพื่อช่วยเหลือราชการ

21 (ต่อ) ข้อยกเว้น 2. อาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืนประจำเรือเดินทะเล รถไฟและอากาศยานตามปกติ ซึ่งได้แสดงและให้พนักงานศุลกากรตรวจตามกฎหมายแล้ว 3. ดอกไม้เพลิงสัญญาณประจำเรือเดินทะเล อากาศยาน และสนามบินตามปกติ

22 3. งานทะเบียน ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490

23 ขั้นตอนการขออนุญาตมี และใช้อาวุธปืน
คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตต้องชอบ (ตามหลักคนชอบ) 1. มีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 13 2. ให้พิจารณาถึงสภาพความเป็นอยู่ หรือ สิ่งแวดล้อมประกอบ ตามคำสั่ง มท ที่ 674/2490 ลงวันที่ 10 ต.ค ข้อ 12

24 วัตถุประสงค์ ในการขออนุญาตต้องชอบ (ตามหลักเหตุผลชอบ)
วัตถุประสงค์ ในการขออนุญาตต้องชอบ (ตามหลักเหตุผลชอบ) 1. ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนฯ ให้ออกให้แก่บุคคลสำหรับ ใช้ในการป้องกันตัวหรือทรัพย์สิน หรือในการกีฬา หรือ ยิงสัตว์ (มาตรา 9) 2. ใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนไว้เพื่อเก็บ ให้ออกได้สำหรับ อาวุธปืนที่เห็นว่าชำรุดใช้ยิงไม่ได้ หรืออาวุธปืนแบบพ้นสมัย หรืออาวุธปืนซึ่งได้รับเป็นรางวัลจากการแข่งขันยิงปืน ในราชการ และห้ามยิง ห้ามมีเครื่องกระสุนปืน (มาตรา 11 และ 12)

25 อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน ที่ขออนุญาตต้องชอบ
(ตามหลักวัตถุชอบ) อาวุธปืนที่นายทะเบียนท้องที่ออกใบอนุญาต ให้ได้ (กฎกระทรวง ฉบับที่ 11 ข้อ 2 ) 1. ลำกล้องมีเกลียว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ปากลำกล้องไม่เกิน มม. 2. ลำกล้องไม่มีเกลียว (ก.) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางปากลำกล้องไม่ถึง 20 มม. (ข.) ปืนบรรจุปาก ปืนลูกซอง และปืนพลุสัญญาณ

26 (ต่อ) 3. ชนิดที่มีเครื่องกลไก สำหรับบรรจุกระสุนเองให้สามารถยิงซ้ำได้
(ก.) ขนาดความยาวลำกล้องไม่ถึง 160 มม. (ข.) ปืนลูกซอง (ค.) ปืนลูกกรด ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางปากลำกล้อง ไม่เกิน 5.6 มม. 4. ไม่มีเครื่องบังคับเสียงให้เบาผิดปกติ 5. ไม่ใช้กระสุนที่บรรจุวัตถุเคมีที่ทำให้เกิดอันตราย หรือเป็นพิษ หรือไม่ใช้เครื่องกระสุนปืนที่บรรจุเชื้อโรค เชื้อเพลิง หรือ วัตถุกัมมันตภาพรังสี

27 (กฎกระทรวงฯ ฉบับที่ 11 ข้อ 3)
เครื่องกระสุนปืนที่จะออกใบอนุญาตให้ได้ ต้องเป็น เครื่องกระสุนที่ใช้กับอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาต แต่ต้องไม่เป็นชนิดเจาะเกราะ หรือชนิดกระสุนเพลิง (กฎกระทรวงฯ ฉบับที่ 11 ข้อ 3) วัตถุระเบิดที่จะออกใบอนุญาตให้ได้ ต้องเป็นประเภท ชนิด และขนาดที่ใช้เฉพาะในกิจการก่อสร้าง หรือกิจการอุตสาหกรรม และได้รับอนุมัติจาก รมว.มท. แล้ว

28 เอกสารหลักฐานประกอบคำขออนุญาต
1) บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา หรือหนังสือสำคัญคนต่างด้าว 2) ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา 3) บัตรประจำตัว จนท.ของรัฐ หรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์กร หรือหน่วยงานของรัฐ 4) หลักฐานการประกอบอาชีพ รายได้ และหลักทรัพย์ พร้อมสำเนา 5) หลักฐานการเป็นนักกีฬายิงปืนฯ เป็นสมาชิกไม่น้อยกว่า 60 วัน กรณีขอเพื่อการกีฬา 6) หลักฐานการฝึกอบรมวิธีใช้อาวุธปืนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)

29 (ต่อ) 7.1 ทหาร ตำรวจ ต้องเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรง ชั้นยศพันเอก
7) หนังสือรับรองความประพฤติฯ ออกไว้ไม่เกิน 60 วัน โดย 7.1 ทหาร ตำรวจ ต้องเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรง ชั้นยศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก หรือ พันตำรวจเอก ขึ้นไป 7.2 ข้าราชการพลเรือน ต้องเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรง ตั้งแต่ ผอ.กอง หรือเทียบเท่าขึ้นไป และหัวหน้าส่วนราชการขึ้นไป ในส่วนภูมิภาค 7.3 ลูกจ้างที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการ รปภ.ฯ ต้องเป็นเจ้าของ กิจการ หรือกรรมการผู้จัดการที่ได้รับอนุญาต ให้ประกอบ กิจการฯ

30 (ต่อ) 7.4 บุคคลทั่วไป ใน กทม. ข้าราชการระดับ 6 /พ.ท. /พ.ต.ท. ขึ้นไป
7.4 บุคคลทั่วไป ใน กทม. ข้าราชการระดับ 6 /พ.ท. /พ.ต.ท. ขึ้นไป ภูมิภาค นายอำเภอ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำ กิ่งอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่ผู้ขออนุญาต มีภูมิลำเนา 7.5 บุคคล หรือ จนท.รัฐบาลต่างประเทศที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ ประจำประเทศไทย เอกอัครราชทูตหรือกงสุลใหญ่ หนังสือ รับรองต้องแปลเป็นภาษาไทย ที่รับรองโดยกระทรวงการ ต่างประเทศของไทย 8) สำเนาใบอนุญาตฯ (แบบ ป.4) กรณีเคยได้รับอนุญาตมาแล้ว

31 สิ่งแวดล้อม ตามคำสั่ง มท ที่ 674/2490 ลว. 10 ต.ค. 2490
การยื่นคำขอ 1. ยื่นตามแบบ ป.1 ต่อนายทะเบียนที่มีชื่ออยู่ในทะเทียนบ้าน พร้อม หลักฐานคำขอต้องระบุว่า จะซื้ออาวุธปืน ชนิด ขนาดใด พร้อม เครื่องกระสุนปืนจำนวนเท่าใด ซื้อจากที่ใด เพื่อวัตถุประสงค์ใด 2. จนท. ตรวจสอบเอกสารหลักฐานถูกต้อง ให้ผู้ขอรับรองสำเนา 3. จนท. สอบสวนคุณสมบัติ ตามแบบ ปค.14 ว่าต้องห้ามตาม มาตรา 13 หรือไม่ และสอบสวนสภาพความเป็นอยู่หรือ สิ่งแวดล้อม ตามคำสั่ง มท ที่ 674/2490 ลว. 10 ต.ค ข้อ12

32 (ต่อ) 4. จนท. พิมพ์ลายนิ้วมือผู้ขออนุญาต/ส่งผู้ขออนุญาตไปพิมพ์
ลายนิ้วมือที่ สภอ. หรือตรวจสอบประวัติการกระทำความผิด 5. ออกหลักฐานการรับเรื่องให้ผู้ขออนุญาตไว้เป็นหลักฐาน

33 ขั้นตอนการพิจารณา 1. ส่งลายพิมพ์นิ้วมือฯ ไปกองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงาน วิทยาการตำรวจ เพื่อตรวจสอบประวัติ 2. ตรวจสอบหลักฐานเอกสารข้อมูลฯ ว่าเคยได้รับอนุญาตให้มีและใช้ อาวุธปืนหรือไม่ 3. เอกสารครบถ้วน ทำความเห็นผ่านผู้บังคับบัญชา ถึงนายทะเบียน โดยต้องพิจารณาถึงฐานะ เหตุผลความจำเป็นของผู้ขออนุญาต เป็นราย ๆ ไปโดยคำนึงถึงหลักสำคัญ ดังนี้

34 (ต่อ) 3.1 ถ้ามีเพื่อป้องกันตัวและทรัพย์สิน ต้องเป็นผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง กับการปราบปราม ป้องกันประเทศ รักษาความสงบเรียบร้อย ของประชาชน หรือเพื่อช่วยเหลือราชการฯ หรือมีทรัพย์สิน พอสมควร 3.2 การมีเพื่อการกีฬา ต้องมีหลักฐานครบถ้วนว่าเป็นนักกีฬายิงปืน ชนิด และขนาดที่ขออนุญาต

35 (ต่อ) 3.3 การมีเพื่อยิงสัตว์ ควรอนุญาตปืนยาวชนิด และขนาดที่เหมาะสม
เช่น ปืนลูกซอง ปืนลูกกรด (ไม่มีสัตว์ขนาดใหญ่ให้ยิง) 3.4 อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่จะออกใบอนุญาตให้ได้ ต้องเป็น ชนิด และขนาดที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2522) 3.5 การอนุญาตให้ซื้อกระสุนปืน คำสั่ง มท ที่ 759/2494 ลว. 15 ธ.ค กำหนดอัตราไว้ ดังนี้

36 (ต่อ) (1) กระสุนโดดปืนยาวทุกชนิด ไม่เกินครั้งละ 15 นัด ปีละ 60 นัด
(2) กระสุนปืนพกทุกชนิด ไม่เกินครั้งละ 12 นัด ปีละ 36 นัด (3) กระสุนปืนลูกซอง ไม่เกินครั้งละ 25 นัด ปีละ 500 นัด (4) กระสุนปืนลูกกรด ไม่เกินครั้งละ 200 นัด ปีละ 1,000 นัด (5) กระสุนอัดลม ไม่เกินครั้งละ 1,000 นัด

37 (ต่อ) 3.6 ตามปกติ ควรมีได้เพียง 2 กระบอก สั้น 1 ยาว 1 แต่ในการอนุญาต
3.6 ตามปกติ ควรมีได้เพียง 2 กระบอก สั้น 1 ยาว 1 แต่ในการอนุญาต มากน้อยเพียงใดแล้วแต่หลักฐานความจำเป็นของแต่ละบุคคล อย่าให้มากเกินความจำเป็นและซ้ำขนาด ให้ประทับตรายางสีแดง ถึงวัตถุประสงค์การมีและใช้อาวุธปืนใน ป.4 ให้ชัดเจน 3.7 เสนอนายทะเบียนพิจารณาสั่งอนุญาต/ไม่อนุญาต 3.8 กรณีอนุญาต แจ้งผู้ขอทราบ และออกใบอนุญาตให้ซื้ออาวุธปืน (แบบ ป.3) มอบแบบ ป.3 ตอนที่ 3 ให้ผู้ขออนุญาต และส่งแบบ ป.3 ตอนที่ 2 ไปยังนายทะเบียนท้องที่ที่ร้านค้าตั้งอยู่ ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

38 (ต่อ) ถ้าอนุโลมให้ผู้ขออนุญาตถือไปเอง ต้องบันทึกและแจ้งการผ่อนผัน
ไปให้นายทะเบียนท้องที่ที่ร้านค้าตั้งอยู่ทราบทุกครั้ง 3.9 กรณีพิจารณาแล้วถ้าจะไม่อนุญาต ต้องให้โอกาสผู้ขออนุญาตทราบ ข้อเท็จจริง และโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานก่อนตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ หากยืนยัน ไม่อนุญาตให้มีหนังสือแจ้งปฏิเสธไม่อนุญาตฯ โดยต้องอ้าง ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอันเป็นสาระสำคัญในการปฏิบัติตาม มาตรา 37 ประกอบกับมาตรา 40 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครอง พ.ศ พร้อมแจ้งสิทธิ ตามมาตรา 63 แห่งพ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ศ (ภายใน 30 วัน)

39 การออกใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน
1. ผู้ขออนุญาตนำแบบ ป.3 ตอนที่ 3 ไปซื้ออาวุธปืนจากร้านค้าในท้องที่ ที่กำหนด แล้วนำอาวุธปืนและ ป.3 ตอนที่ 3 ไปพบนายทะเบียน ท้องที่ที่ร้านค้าอาวุธปืนตั้งอยู่ 2. นายทะเบียนฯ ที่ร้านค้าตั้งอยู่ ตรวจสอบ ป.3 และอาวุธปืน หากถูกต้อง ออกใบคู่มือประจำปืนให้ผู้ขออนุญาต เก็บ ป. 3 ไว้เป็นหลักฐาน 3. ผู้ขออนุญาตนำอาวุธปืนพร้อมใบคู่มือฯ ไปพบนายทะเบียนฯ ที่ยื่นคำขอภายใน 15 วัน

40 (ต่อ) 4. นายทะเบียนท้องที่ที่ออก ป.3 ตรวจสอบอาวุธปืนและใบคู่มือ
ประจำปืน หากถูกต้อง ออก ป.4 ถ้าไม่ถูกต้องก็งดออกใบอนุญาต ส่งให้แก้ไข / จำหน่ายแก่บุคคลอื่น กรณีขอออก ป.4 เกิน 15 วัน ถ้าไม่ถูกจับกุมดำเนินคดีในระหว่างนั้น ก็อนุโลมให้ออก ป.4 ได้ 5. ค่าธรรมเนียม ปืนยาวประจุปาก ปืนอัดลม บาท ปืนอื่น ๆ บาท ยกเว้นค่าธรรมเนียม สำหรับการขอมีและใช้อาวุธปืนกระบอกแรกของผู้ได้รับเหรียญชัยสมรภูมิ

41 (ต่อ) 6. อาวุธปืนที่นำมาขอรับใบอนุญาต แบบ ป.4 ยังไม่มีเครื่องหมาย
ทะเบียน ให้นายทะเบียนท้องที่ทำเครื่องหมายให้ ซึ่งเครื่องหมาย มีลักษณะ คือ อักษรย่อนามจังหวัด ตามด้วยเลขลำดับอำเภอฯ แล้วทับ (/) ด้วยเลขลำดับอาวุธปืนที่ทำเครื่องหมาย (คำสั่ง มท ที่ 674/2490 ลว. 10 ต.ค ข้อ 19 และ หนังสือ มท ที่ มท 0302/ ว 3518 ลว. 17 ธ.ค.2536) 7. คัดรายการจากต้นขั้ว ป.4 ลงในทะเบียนอาวุธปืนประจำตำบล แล้วรวบรวมข้อมูลรายงาน มท.

42 การขอรับโอนอาวุธปืนระหว่างบุคคล
หลักฐานเช่นเดียวกับการขอซื้อฯ จากร้านค้า โดยเพิ่มเติม - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้านของผู้โอน พร้อมสำเนาใบ ป.4 ของอาวุธปืนที่จะโอน - หลังจากได้รับอนุญาต ผู้โอน กับผู้ขอรับโอนต้องบันทึกคำยินยอม ต่อหน้านายทะเบียนไว้หลังใบอนุญาต ป.4 พร้อมลงนาม ไว้เป็นหลักฐาน

43 การขอรับโอนมรดกอาวุธปืน
1. ผู้ที่มีอาวุธปืนหรือ ป.4 อยู่ในครอบครองแจ้งการตาย ต่อนายทะเบียนท้องที่ภายใน 30 วัน ตามมาตรา 64 2. ผู้ขอรับโอนปืนมรดก นำหลักฐาน เช่นเดียวกับการขอรับโอน อาวุธปืนระหว่างบุคคลยื่นต่อนายทะเบียน พร้อมด้วย ใบมรณะบัตร/สำเนา สำเนาคำสั่งศาลกรณีตั้งผู้จัดการมรดก ถ้าไม่มีผู้จัดการมรดกทายาททั้งหมดต้องยินยอม 3. นำอาวุธปืนมรดกไปให้ จนท. ตรวจสอบ

44 เมื่อย้ายที่อยู่ให้แจ้งย้ายอาวุธปืนต่อ
การแจ้งย้ายอาวุธปืน เมื่อย้ายที่อยู่ให้แจ้งย้ายอาวุธปืนต่อ นายทะเบียนท้องที่ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ ย้ายออกและย้ายไปถึง (มาตรา 62 ) ดังนี้ 1. ผู้รับใบอนุญาต ฯ ยื่นคำขอตามแบบ ป.1 พร้อม ป.4 2. บัตรประจำตัว ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา 3. นำอาวุธปืนให้ จนท. ตรวจสอบ 4. บันทึกการย้ายในแบบ ป.4 5. บันทึกการจำหน่าย ในทะเบียน ฯ ประจำตำบล

45 การออกใบแทนหรือคัดสำเนาใบอนุญาตฯ ป.4
1. ยื่นคำขอตามแบบ ป.1 ถ้าใบอนุญาตเดิมชำรุดให้แสดงส่วนที่เหลือ ถ้าสูญหายต้องแจ้งความ ณ สถานีตำรวจท้องที่ที่หาย แล้วนำใบแจ้งความ พร้อมสำเนามายื่น 2. บัตรประจำตัว ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา 3. นำอาวุธปืนให้ จนท. ตรวจสอบ 4. ถ้าอาวุธปืนขึ้นทะเบียนไว้ท้องที่อื่น ให้ขอสำเนาต้นขั้วมาประกอบ 5. นายทะเบียนท้องที่ ออกใบแทนโดยใช้แบบพิมพ์ ป.4 แยกเล่ม เขียนด้วย หมึกสีแดงด้านบนว่า “ใบแทน” หมายเหตุว่า “ออกใบแทนตามใบอนุญาต ฉบับเดิม ที่.....ลงวันที่.....เดือน พ.ศ ”

46 การขอให้ผู้อื่นมีและใช้อาวุธปืนรักษาทรัพย์สินของตน (มาตรา 14)
1. ผู้ประสงค์ให้ผู้อื่นมีและใช้อาวุธปืน สำหรับรักษาทรัพย์สินของตน ยื่นคำขอตามแบบ ป.1 2. ผู้รับมอบอาวุธปืน ต้องไม่เป็นผู้ต้องห้ามตามมาตรา 13 3. นายทะเบียน ตรวจสอบหลักฐาน คุณสมบัติของผู้ที่จะใช้อาวุธปืน เสนอ ผวจ./ปมท. พิจารณา 4. กรณี ผวจ. /ปมท. อนุมัติ นายทะเบียนท้องที่ออกหนังสืออนุญาตพิเศษ ตามแนบท้าย คำสั่ง มท ที่ 674/2490 ลว. 10 ต.ค (ไม่เสียค่าธรรมเนียม)

47 การขออนุญาตมีอาวุธปืนติดตัว (ม.22)
ขอได้ 2 กรณี คือ ภายในเขตจังหวัด และทั่วราชอาณาจักร หลักการ หนี่งคนหนึ่งกระบอก และเฉพาะปืนสั้น ไม่มีการต่ออายุ (ต้องยื่นใหม่เมื่อหมดอายุ) คำสั่ง มท. จำกัดการออก ป.12 โดยให้ ผบ.ตร. ขออนุมัติ รมว. มท. ก่อน จึงจะออก ป.12 ได้ (เดิมเคยมี แต่ปัจจุบันยังไม่มีการออกคำสั่งนี้) จว. ถือปฏิบัติตามหนังสือ มท ที่ มท 0302/ว 1777 ลว. 31 ก.ค กทม. และทั่วราชอาณาจักร ถือปฏิบัติตามหนังสือ สตช ที่ /2474 ลว. 12 มี.ค และคำสั่งตามข้อ 3

48 การขออนุญาตมีอาวุธปืนติดตัว
(ต่อ) การขออนุญาตมีอาวุธปืนติดตัว ผวจ. อนุญาตในเขต จว. ผบ.ตร. อนุญาตในเขต กทม. และ ทั่วราชอาณาจักร เมื่อได้รับอนุมัติจาก รมว.มท. ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท

49 การขออนุญาต ทำการค้า จำหน่าย ประกอบ ซ่อมแซม เปลี่ยนลักษณะอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน (คำสั่ง มท ที่ 109/2535 ลว. 10 ก.พ. 2535) ยื่นคำขอตามแบบ ป.1 พร้อมหลักฐาน คุณสมบัติไม่ต้องห้ามตามมาตรา 26 นายทะเบีนท้องที่ ตรวจสอบคุณสมบัติ สถานที่ ประวัติบุคคล หลักทรัพย์ บัญชีตามแบบ ป.8 กับสมุดเทียบสั่ง เสนอ จว. จว. ตรวจสอบ เสนอ รมว.มท. รมว.มท. พิจารณาอนุมัติ นายทะเบียนท้องที่ออกใบอนุญาต ฯ (แบบ ป. 5 และ แบบ ป. 3)

50 การขออนุญาต ทำการค้า จำหน่าย ประกอบ ซ่อมแซม เปลี่ยนลักษณะอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน (คำสั่ง มท ที่ 109/2535 ลว. 10 ก.พ. 2535) ยื่นคำขอตามแบบ ป.1 พร้อมหลักฐาน คุณสมบัติไม่ต้องห้ามตามมาตรา 26 นายทะเบีนท้องที่ ตรวจสอบคุณสมบัติ สถานที่ ประวัติบุคคล หลักทรัพย์ บัญชีตามแบบ ป.8 กับสมุดเทียบสั่ง เสนอ จว. จว. ตรวจสอบ เสนอ รมว.มท. รมว.มท. พิจารณาอนุมัติ นายทะเบียนท้องที่ออกใบอนุญาตฯ (แบบ ป. 5 และแบบ ป. 3)

51 (ต่อ) การขอต่อใบอนุญาต ทำการค้า จำหน่าย ประกอบ ซ่อมแซม เปลี่ยนลักษณะอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน และวัตถุระเบิด ดำเนินการเช่นเดียวกับการขออนุญาตทำการค้าอาวุธปืน โดยต้อง ยื่นคำขอตามแบบ ป.1 ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วัน ไม่เกิน 90 วัน ใบอนุญาตสิ้นอายุก่อน ให้ระงับการออกใบอนุญาตสั่ง ซื้อ ซ่อม หรือรับโอนอาวุธปืน ฯ และวัตถุระเบิดชั่วคราว แต่ไม่ห้ามจำหน่ายสิ่งที่มีอยู่ ปล่อยให้ใบอนุญาตสิ้นอายุให้ระงับการต่ออายุ ประพฤติไม่ดีงาม ผูกขาดการค้า ให้พิจารณาเสนอระงับการต่ออายุ ค้าอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน ให้ถือใบอนุญาตได้เพียงรายละหนึ่งใบอนุญาต

52 คำสั่ง มท ที่ 109 /2535 ลว. 10 ก.พ. 2535 จำกัดจำนวนร้านค้าอาวุธปืน ฯ มิให้เพิ่มจำนวนขึ้น ลดจำนวนลงได้ จำกัดจำนวนอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน แต่ละใบอนุญาต ดังนี้ (1) ปืนยาว ไม่เกิน 50 กระบอก/ปี (2) ปืนสั้น ไม่เกิน 30 กระบอก/ปี (3) กระสุนปืนลูกโดดทุกชนิด ไม่เกิน 2,000 นัด/ปี (4) กระสุนปืนลูกซองทุกชนิด ไม่เกิน 7,500 นัด/ปี (5) กระสุนปืนลูกกรดทุกชนิด ไม่เกิน 10,000 นัด/ปี (6) กระสุนปืนอัดลมทุกชนิด ไม่เกิน 30,000 นัด/ปี

53 คุณสมบัติของผู้ขออนุญาต
การขออนุญาต ทำ ซื้อ มี ใช้ สั่ง นำเข้า ค้า หรือ จำหน่าย ด้วยประการใด ๆ ซึ่งเป็นวัตถุระเบิด คุณสมบัติของผู้ขออนุญาต ต้องมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตามมาตรา 13 และ มาตรา 26 เอกสารประกอบคำขออนุญาต บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา ทะเบียนการค้า ฯ หลักฐานที่แสดงว่ามีความจำเป็นต้องใช้วัตถุระเบิด เช่น ประทานบัตร ฯ แผนที่สถานที่เก็บวัตถุระเบิด หรือหนังสือรับฝาก ฯ ใบอนุญาต ตามแบบ ป.5 และบัญชีรายการยอดวัตถุระเบิด ตามแบบ ป.13 ป.14 (ถ้ามี)

54 การยื่นคำขอ/พิจารณา ยื่นตามแบบ ป.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ จนท. สอบสวนคุณสมบัติ ตามแบบ ปค. 14 และความจำเป็นต้องใช้วัตถุระเบิด สถานที่เก็บ ฯ ถูกต้องตามคำสั่ง มท ที่ 436/ ลว. 27 เม.ย. 2498 พิมพ์ลายนิ้วมือ ตรวจสอบประวัติ นายทะเบียนท้องที่ทำความเห็นเสนอผ่านจังหวัด ถึง มท.

55 การยื่นคำขอ/พิจารณา มท. แจ้งผลการพิจารณา อนุญาต/ไม่อนุญาต
(ต่อ) การยื่นคำขอ/พิจารณา มท. แจ้งผลการพิจารณา อนุญาต/ไม่อนุญาต นายทะเบียนท้องที่ออกใบอนุญาต หากไม่อนุญาต ฯ แจ้งผู้ขออนุญาตเป็นหนังสือ พร้อมสิทธิในการอุทธรณ์ ดำเนินการตาม น.มท. ที่ มท 0307/ว. 10 ลว. 4 ม.ค. 2548

56 การขออนุญาตทำ สั่ง นำเข้า หรือ ค้าดอกไม้เพลิง
การขออนุญาตทำ สั่ง นำเข้า หรือ ค้าดอกไม้เพลิง คุณสมบัติผู้ขออนุญาต - มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้ขออนุญาตจำหน่ายอาวุธปืน เอกสารประกอบคำขอ - ใบอนุญาตเดิม (แบบ ป.2 หรือ ป.5) - บัตรประจำตัว ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา - ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา ของสถานที่ตั้งทำการ - หนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่ตั้งทำการค้า - ทะเบียนการค้า

57 การยื่นคำขอ/พิจารณา ยื่นตามแบบ ป.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่จะดำเนินการกิจการ จนท. สอบสวนคุณสมบัติ ตามแบบ ปค. 14 ตรวจสถานที่ ฯ พิมพ์ลายนิ้วมือ ตรวจสอบประวัติ นายทะเบียนท้องที่พิจารณา อนุญาตออกใบอนุญาตให้ทำ ค้า ตามแบบ ป.5 อนุญาตให้สั่ง นำเข้า ตามแบบ ป.2 ไม่อนุญาตแจ้งเป็นหนังสือพร้อมสิทธิอุทธรณ์ การขออนุญาต ทำ สั่ง นำเข้า หรือค้าดอกไม้เพลิง ชนิดประทัดไฟ ต้องขอความเห็นชอบจาก มท. ก่อน ดอกไม้เพลิงที่มีส่วนผสมของสารเคมีที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ ต้องได้รับอนุญาตให้มียุทธภัณฑ์ก่อน

58 การขออนุญาตสั่ง นำเข้า หรือค้าสิ่งเทียมอาวุธปืน
การสั่งนำเข้าส่วนตัว ดำเนินการดังนี้ 1. ยื่นคำขอตามแบบ ป.1 พร้อมหลักฐาน บัตรประจำตัว ทะเบียนบ้าน หลักฐานการประกอบอาชีพ รายได้ หลักทรัพย์ รูปแบบสิ่งเทียม ฯ ที่จะขอสั่ง นำเข้า พร้อมสำเนา 2. จนท.บันทึกถ้อยคำผู้ขอสั่ง นำเข้า เพื่อทราบถึงวัตถุประสงค์ จำนวนที่ขอสั่งนำเข้า 3. นายทะเบียนท้องที่พิจารณา หากอนุญาตออกใบอนุญาต ฯ ตามแบบ ป.2 ไม่อนุญาตแจ้งผู้ขอเป็นหนังสือพร้อมเหตุผล

59 การขออนุญาตสั่ง นำเข้า หรือค้าสิ่งเทียมอาวุธปืน
การสั่งนำเข้าเพื่อการค้า ดำเนินการดังนี้ 1. ยื่นคำขอเหมือนการนำเข้าส่วนตัว โดยเพิ่มหลักฐาน ทะเบียนบ้านของที่ตั้งร้านค้า หนังสืออนุญาตให้ใช้ที่ตั้งทำการค้า และทะเบียนการค้า 2. จนท.บันทึกถ้อยคำผู้ขอสั่ง นำเข้า เพื่อทราบถึงวัตถุประสงค์จำนวน ที่ขอสั่ง นำเข้า 3. เจ้าพนักงานตรวจสถานที่ทำการค้า 4. นายทะเบียนท้องที่พิจาณา หากอนุญาตออกใบอนุญาตค้า ซึ่งสิ่งเทียม อาวุธปืนตามแบบ ป.5 หากไม่อนุญาตแจ้งผู้ขอ เป็นหนังสือ พร้อมเหตุผล

60 การขออนุญาตสั่ง นำเข้า หรือค้าสิ่งเทียมอาวุธปืน
(ต่อ) การขออนุญาตสั่ง นำเข้า หรือค้าสิ่งเทียมอาวุธปืน 5. เมื่อผู้ขอได้รับอนุญาตให้ค้าแล้ว นำแบบ ป.5 มายื่นขอสั่ง นำเข้า สิ่งเทียมอาวุธปืน อีกครั้ง โดยยื่นเอกสาร แบบ ป.5 หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล รูปแบบสิ่งเทียม อาวุธปืน จำนวน รายละเอียดที่จะสั่ง นำเข้า นายทะเบียนท้องที่พิจารณาออกใบอนุญาตตามแบบ ป.2

61 การอุทธรณ์ นายทะเบียนปฏิเสธการออกใบอนุญาต ผู้ยื่นคำขอ อาจอุทธรณ์ได้
ยื่นต่อ รมว.มท. ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการปฏิเสธ ยื่นอุทธรณ์ผ่ายนายทะเบียนท้องที่ นายทะเบียนเสนอ รมว.มท. โดยมิชักช้า คำวินิจฉัยของ รมว.มท. ให้เป็นที่สุด

62 มาตรการควบคุม ม.65 , 66 นายทะเบียนท้องที่หรือ รมว.มท. สั่ง
เพิกถอนใบอนุญาต และส่งมอบอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดและใบอนุญาต: หากพบว่าผู้รับใบอนุญาตรายใด ตกเป็นผู้ซึ่งจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ม.68 นายทะเบียนท้องที่สั่ง เรียกประกันหรือทัณฑ์บน : หากพบว่าผู้รับใบอนุญาตรายใด ไม่มีอาชีพ ไม่มีรายได้ ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง

63 4.1 ปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานอาวุธปืน
4. สรุปส่งท้าย 4.1 ปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานอาวุธปืน การปลอมแปลงเอกสาร และสวมอาวุธปืน

64 ตัวอย่าง ใบอนุญาต ฯ (แบบป.4) ปลอม

65 ตัวอย่าง การสลักหลังแบบ ป.4 ปลอม

66 4.2 กฎหมาย ระเบียบ ข้อสั่งการ และการตอบข้อหารือที่สำคัญ

67 สิ่งที่ควรให้ความสนใจเพิ่มเติม
1. กฎกระทรวงการมีและใช้อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนของหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจฯ พ.ศ.2553 2. กฎกระทรวง ฉบับที่ 18 (พ.ศ.2552) 3. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพาและใช้ อาวุธปืนของพนักงานฝ่ายปกครอง(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2552 (คนไม่มีหน้าที่ฯ ไม่มีสิทธิรับใบพาปืน)

68 4.การพิจารณาอนุญาตให้บุคคลมีและใช้อาวุธปืนเฉพาะผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในท้องที่ตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนราษฎรติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน เท่านั้น ไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น (ม.13 วรรคสอง) 5. ผู้รักษาราชการแทน นอ. มีอำนาจพิจารณาอนุญาตและลงนามในใบอนุญาต เฉพาะเรื่องการแจ้งย้ายทะเบียนอาวุธปืน ตาม ม.62 และการออกใบแทนใบอนุญาตฯ ตาม ม.69 เท่านั้น ไม่มีอำนาจลงนามออกใบอนุญาตฯ (ป.4)

69 6. การอนุญาตและลงนามสลักหลังตัดโอน ป
6. การอนุญาตและลงนามสลักหลังตัดโอน ป.4 หนังสือแจ้งการจำหน่ายทะเบียนอาวุธปืน (แบบ ก) และหนังสือแจ้งการรับขึ้นทะเบียนอาวุธปืน (แบบ ข) ให้ผู้รักษาราชการแทน นอ. เฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอ (จพง.ปค.7) ขึ้นไปเท่านั้น มีอำนาจลงนามในเอกสารดังกล่าว 7. ขอออก ป.3 ท้องที่หนึ่ง แต่ยังไม่ได้ออก ป.4 แล้วย้ายไปอยู่อีกท้องที่หนึ่ง ท้องที่ที่ย้ายไปอยู่ใหม่สามารถออก ป.4 ให้ได้ 8. ออก ป.3 แล้ว ตัดโอนปืนแล้ว แต่ยังไม่ได้ออก ป.4 เวลาล่วงพ้นเกิน 6 เดือน สามารถออก ป.4 ให้ได้

70 9. อาวุธปืนโครงการสวัสดิการที่มีเงื่อนไข “ห้ามโอน เว้นแต่ตกทอดทางมรดก” หรือ “ห้ามโอนภายใน 5 ปี เว้นแต่ตกทอดทางมรดก” ให้ประทับตรายางข้อความดังกล่าวด้วยหมึกสีแดง ลงในต้นขั้ว ป.4 และ ป ที่ออกให้ผู้รับอนุญาตทุกราย 10.การลงรายการในแบบ ป.4 โดยเฉพาะเลขหมายประจำปืนและชื่อผู้ผลิต ให้เขียนคำอ่านภาษาไทย

71 11. ออก ป. 3 ให้ และผู้รับใบอนุญาตได้รับอาวุธปืนแล้ว แต่ยังไม่ได้ออก ป
11. ออก ป.3 ให้ และผู้รับใบอนุญาตได้รับอาวุธปืนแล้ว แต่ยังไม่ได้ออก ป.4 ปรากฏว่าระหว่างนั้นอาวุธปืนสูญหาย แนวทางปฏิบัติ คือ ให้นำ ป.3 ไปแจ้งต่อ นายทะเบียนท้องที่ และมอบ ป.3 ให้นายทะเบียนฯ โดยนายทะเบียนฯ ไม่ต้องออก ป.4 ให้แต่อย่างใด (เพราะไม่มีอาวุธปืนแล้ว) หมายเหตุ : (ข้อแนะนำเป็นการส่วนตัว) ก่อนมีหนังสือหารือ ปค. ควรโทรศัพท์ประสานสอบถามเป็นการภายในเสียก่อน เพื่อป้องกันข้อผิดพลาด/พันตัว

72 กฎแห่งความปลอดภัย (ด้วยความห่วงใย) 1
กฎแห่งความปลอดภัย (ด้วยความห่วงใย) 1. จงคิดว่าปืนทุกกระบอกมีกระสุนบรรจุอยู่เสมอ 2. อย่าเอานิ้วเข้าไปในโกร่งไกเด็ดขาด ถ้าไม่ประสงค์จะยิง 3. อย่าเล็งปืนไปยังสิ่งมีชีวิตเด็ดขาด ถ้าไม่คิดจะฆ่าหรือทำร้าย 4. อย่าใช้ปืนหยอกล้อ ล้อเล่นกันเด็ดขาด เพราะชีวิตเป็นสิ่งมีค่า 5. พึงรักษาความไม่ประมาทเสมอชีวิต “มีปืนดุจมีมิตร หากใช้ผิดคือศัตรู”

73 ขอได้รับความขอบคุณจากวิทยากร พิษณุ ประภาธนานันท์
ขอได้รับความขอบคุณจากวิทยากร พิษณุ ประภาธนานันท์ ส่วนการรักษาความสงบเรียบร้อย 1 สำนักการสอบสวนและนิติการ


ดาวน์โหลด ppt ขอต้อนรับนักศึกษา หลักสูตรปลัดอำเภอ ที่เคารพรักทุกท่าน เข้าสู่การบรรยายในหัวข้อ “กฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน ฯ ” สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google