ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยРуслан Михальский ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
โครงการศึกษาการดำเนินการจัดการน้ำเสีย ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โครงการศึกษาการดำเนินการจัดการน้ำเสีย ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2
“น้ำ” ที่เราใช้อุปโภคบริโภค ใน มช. และรอบ ๆ มช
“น้ำ” ที่เราใช้อุปโภคบริโภค ใน มช. และรอบ ๆ มช. ของเรา เมื่อใช้เสร็จแล้วก็จะกลายเป็นน้ำเสีย สิ่งที่เป็นคำภามต่อมาก็คือน้ำเสียเหล่านี้จะถูกส่งต่อไปไหนต่อ ? การประปาหรือเปล่า คำตอบคือไม่ใช่ น้ำเสียจาก มช. หรือรอบๆ มช. จะถูกส่งต่อไปยัง โรงกำจัดน้ำเสียมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โรงกำจัดน้ำเสียมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีหน้าที่ในการบำบัดน้ำเสียที่มีต้นทางมาจากภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โรงพยาบาลประสาท โรงพยาบาลมหาราช ภายใต้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเลี้ยงตะกอน ประเภท Conventional Activated Sludge
3
การบำบัดน้ำเสีย หมายถึง การกำจัดหรือทำลายสิ่งปนเปื้อนในน้ำเสียให้หมดไป หรือเหลือน้อยที่สุดให้ได้มาตรฐานที่กำหนดและไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม น้ำเสียจากแหล่งต่างกันจะมีคุณสมบัติ ไม่เหมือนกันดังนั้นกระบวนการบำบัดน้ำจึงมีหลายวิธี
4
ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแอกทิเวเต็ตสลัดจ์ (Activated Sludge Process )
เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้แบคทีเรียเป็นตัวหนักในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย สามารถบำบัดได้ทั้งน้ำเสียจากทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคชุมชน แต่ระบบนี้มีความยุ่งยากซับซ้อนเนื่องจากต้องมีการควบคุมสภาวะแวดล้อมและลักษณะทางกายภาพเพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพในการบำบัดอย่างสูงสุด
5
ขั้นตอนการกำจัดน้ำเสีย
6
1.บ่อรวบรวมน้ำเสีย ทำหน้าที่ รวบรวมน้ำเสียทั้งหมดก่อนเข้าสู่ระบบบำบัด
2. บ่อตักทราย พร้อมมิเตอร์วัดปริมาณน้ำเสีย ทำหน้าที่ ดักตะกอนหนัก 3. บ่อเติมอากาศ ทำหน้าที่เติมอากาศบ่อเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์และย่อยสลายสารอินทรีย์ ลดความเข้มข้นของ BOD ในน้ำ
7
4. บ่อแบ่งเลน ทำหน้าที่ กระจายน้ำเชื้อจุลินทรีย์ไปยังบ่อตกตะกอน
6. บ่อเลน ทำหน้าที่ สูบตะกอนจุลินทรีย์ และส่งกลับไปยังบ่อเติมอากาศ 5.บ่อตะกอน ทำหน้าที่ แยกน้ำออกจากตกตะกอน
8
7.โรงจ่ายคลอรีน ทำหน้าที่ เป็นโรงเก็บถังคลอรีน และภายในห้องมีชุดจ่ายคลอรีนแก๊สเพื่อจ่ายคลอรีน
9.บ่อเลนข้น ทำหน้าที่ แยกน้ำกับตะกอนออก ให้ตะกอนมีความเข้มข้นเพื่อนสูบไปยังถังหมักหรือลานตากหรือเครื่องรีดตะกอน 10. ถังหมักเลน ทำหน้าที่ ย่อยตะกอนเลนให้มีปริมาณลดลง และแยกแก็สชีวภาพออกจากตะกอนก่อนปล่อยเข้าสู่ลานตากหรือเครื่องรีดตะกอน 8. บ่อคลอรีน ทำหน้าที่ ฆ่าเชื้อโรคด้วย ระบบแก็สคลอรีนก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ
9
11.ลานตากตะกอน ทำหน้าที่ ตากให้แห้งเพื่อความสะดวกก่อนการนำไปใช้เป็นปุ๋ย
10
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ. ศ
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ในการกำกับการระบายน้ำทิ้งจากอาคาร ระบบน้ำเสียที่ต้องจัดให้มีตามกฎกระทรวงฉบับที่ 44 และ 51 “น้ำเสีย” หมายความว่า ของเหลวที่ผ่านการใช้แล้วทุกชนิดทั้งที่มีกากและไม่มีกาก “ระบบบำบัดน้ำเสีย” หมายความว่า กระบวนการทำหรือการปรับปรุงน้ำเสียให้มีคุณภาพเป็นน้ำทิ้ง รวมทั้งการทำให้น้ำทิ้งพ้นไปจากอาคาร “น้ำทิ้ง” หมายความว่า น้ำจากอาคารที่ผ่านระบบบำบัดน้ำเสียแล้ว จนมีคุณภาพตามมาตรฐานน้ำทิ้งที่ กำหนดสำหรับการที่จะระบายลงแหล่งรองรับน้ำทิ้งได้ “แหล่งรองรับน้ำทิ้ง”หมายความว่า ท่อระบายน้ำสาธารณะ คูคลอง แม่น้ำ ทะเล และแหล่งน้ำสาธารณะ อาจจำเป็นต้องมีมากกว่าหนึ่งสไลด์
11
วิธีการที่ศูนย์บำบัดน้ำเสียของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ใช้ในการจัดการ คือ แบบบ่อเติมอากาศ
12
แหล่งกำเนิดมลพิษทางน้ำ
หน่วยงานต่างๆในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และไร่ฝึกแม่เหียะ เช่น 20 คณะ 1 วิทยาลัย,หอพักนักศึกษา,สำนักงานหอสมุด,โรงพยาบาลสวนดอก
13
ประโยชน์ของการจัดการน้ำเสีย
เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ นำน้ำทิ้งจากระบบบำบัดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด น้ำที่ทิ้งเมื่อเกิดการบำบัดจะมีไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นธาตุอาหารจำเป็นของพืช การใช้น้ำที่เกิดจากการบำบัดแล้วนั้น จะช่วยลดปริมาณการใช้สารเคมีและปุ๋ยได้ ทัศนียภาพสวยงามขึ้น ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชน ความสม่ำเสมอของปริมาณน้ำ เนื่องจากประชาชนมีการใช้น้ำและก่อให้เกิดน้ำทิ้ง น้ำเสียทุกวัน การนำน้ำทิ้งมาใช้ประโยชน์ จะช่วยลดการขาดน้ำในชุมชนได้
14
การมีอยู่ของโรงกำจัดน้ำเสียสะท้อนปัญหาในด้านใดบ้าง
15
“เหรียญมีสองด้านเสมอ การมีอยู่ของศูนย์บำบัดน้ำเสียมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ไม่ได้สะท้อนแค่ด้านดีอย่างเดียว ยังสะท้อนสิ่งที่เป็นปัญหาออกมา...”
16
ปัญหาในเรื่องความเหลื่อมล้ำทางสังคม
ปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม
17
ปัญหาในเรื่องความเหลื่อมล้ำทางสังคม
ประโยชน์จากการบำบัดนำเสียที่เราได้กล่าวมานั้น ไม่ได้เกิดประโยชน์กับทุกชุมชนเสมอไป เนื่องจากในแต่ละชุมชนนั้น ไม่ได้มีระบบการจัดการน้ำเสียอย่างทั่วถึง ส่งผลให้ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการน้ำเสียเกิดขึ้นกับเฉพาะกับคนบางกลุ่ม อย่างเช่น ในกรณีของโรงกำจัดน้ำเสียของมหาวิทยาลัย ที่มีระบบการจัดการน้ำเสียของมหาวิทยาลัยไว้โดยเฉพาะ ซึ่งทำให้ผู้ที่อยู่ภายใต้การจัดการน้ำของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีโอกาสได้รับคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าผู้ที่นอกการจัดการน้ำของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
18
ซึ่งนั่นเองสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาทางสังคม อันเป็นความเหลื่อมล้ำของสังคมอีกรูปแบบหนึ่ง เนื่องจากประชาชนพึงได้รับสิทธิในการมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีอย่างเท่าเทียมกันทุกคนเพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้โดยปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพหรือคุณภาพชีวิตของตน ตามมาตรา 5 พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550
19
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2560
สิทธิในการมีสิ่งแวดล้อมที่ดี “มาตรา 5 บุคคลมีสิทธิในการดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ”
20
ปัญหาในด้านสิ่งแวดล้อม
จากปัญหาในด้านความเหลื่อมล้ำในสังคม ถ้าหากชุมชนนั้นไม่มีการจัดการน้ำเสีย อย่างเช่น บางชุมชนที่อยู่นอกการจัดการน้ำของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลกระทบที่ตามมาคือปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มันมีอยู่แล้ว จะแผ่วงกว้างออกไปและอาจจะเกิดผลกระทบที่ร้ายแรงมากขึ้น
21
ปัญหาในด้านสิ่งแวดล้อม
น้ำที่ปนเปื้อนสารเคมีจากห้องปฏิบัติการ (LAB) สารเคมีที่ปนเปื้อนในน้ำจากการล้างห้องน้ำ ซักผ้า น้ำที่ถูกปล่อยมาจากโรงพยาบาล
22
น้ำทิ้งที่ถูกปล่อยออกมาจากทั้ง 3 แหล่งข้างต้น เป็นน้ำเสียที่มีลักษณะพิเศษที่อาจก่อให้เกิดมลพิษต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม เนื่องจากมีความสกปรกและมีเชื้อโรค หากไม่มีการจัดการที่ถูกต้องและเหมาะสม ผลกระทบอาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วหรือมีการสะสมของสารมลพิษอยู่ในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะแหล่งน้ำธรรมชาติ จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำทั้งพืชและสัตว์
23
การมีอยู่ของศูนย์การจัดการน้ำของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สามารถทำการบำบัดน้ำเสียที่ถูกปล่อยออกมาจากทั้ง 3 แหล่งข้างต้น แต่มีการจำกัดพื้นที่เฉพาะบริเวณที่ศูนย์การจัดการน้ำมีหน้าที่เท่านั้น จึงเกิดคำถามต่อมาว่า แล้วในเขตที่ศูนย์การจัดการน้ำไม่มีหน้าที่รับน้ำเสียมาบำบัดจะเป็นอย่างไร
24
ตัวอย่างเช่น กรณีของโรงแรมแห่งหนึ่งในเชียงใหม่ ซึ่งท่านวิทยากรได้เล่าให้ฟังว่า โดยปกติโรงแรมทุกแห่งจะต้องมีจัดการน้ำเสียภายในโรงแรม โดยการจัดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียขึ้น แต่โรงแรมแห่งนี้มิได้มีการสร้างระบบบำบัดน้ำเสียภายในโรงแรม แต่ได้ลักลอบปล่อยน้ำเสียทิ้งลงสู่แม่น้ำและลำคลองบริเวณใกล้เคียง ซึ่งทำให้น้ำทิ้งดังกล่าวถูกปล่อยไปสู่ชุมชน เป็นผลให้ชุมชนได้รับผลกระทบในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นในด้านมลภาวะที่เกิดขึ้นในชุมชน เช่น กลิ่น ด้านคุณภาพน้ำ ที่ใช้ในการอุปโภคและบริโภค ด้านทัศนียภาพ ด้านการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต เป็นต้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมก็ยังดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องถึงแม้จะมีการพยายามที่จะแก้ไข แต่ประโยชน์หรือผลดีที่ได้ก็จะจำกัดอยู่แค่ในบางพื้นที่เท่านั้น
25
ขอบคุณค่ะ/ครับ
26
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 พระราชบัญญํติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.