ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ความผิดเกี่ยวกับการดูหมิ่น
ความผิดต่อเจ้าพนักงาน ความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม ความผิดลหุโทษ ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ม.136 ดูหมิ่นผู้พิพากษาหรือศาลม.198 ดูหมิ่นซึ่งหน้า ม.393 ดูหมิ่น เจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือ เพราะได้กระทำการตามหน้าที่ โดยเจตนา ศาล หรือผู้พิพากษา ในการพิจารณา หรือพิพากษาคดี ผู้อื่น ซึ่งหน้า หรือด้วยการโฆษณา
2
ความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ม.136
1. องค์ประกอบความผิดในส่วนการกระทำได้แก่ การดูหมิ่น ซึ่งหมายถึง การดูถูก เหยียดหยาม ทำให้อับอาย การสบประมาท หรือด่า -เป็นการทำให้ผู้ถูกดูหมิ่นรู้สึกลดคุณค่าของตนเอง อันต่างจากการหมิ่น ประมาทซึ่งเป็นการทำให้บุคคลอื่นลดคุณค่าของผู้ถูกหมิ่นประมาท
3
ดูหมิ่น หมิ่นประมาท ผู้ถูกดูหมิ่นรู้สึกลดคุณค่าของตนเอง
เป็นเรื่องที่เป็นไปได้หรือไม่ก็ได้ เช่น เป็นคนเจ้าชู้,เป็นผีปอบ ประกอบไปด้วยบุคคลอย่างน้อย 2 ฝ่าย บุคคลอื่นลดคุณค่าของผู้ถูกหมิ่นประมาท ต้องเป็นเรื่องเป็นไปได้ เท่านั้น เช่น เป็นคนเจ้าชู้,ขี้โกง, ประกอบไปด้วยบุคคลอย่างน้อย 3 ฝ่าย
4
-การดูหมิ่นจะกระทำด้วยวิธีใดก็ได้ เช่น กริยา ท่าทาง คำพูด ตัวอักษร
คำพิพากษาฎีกาที่ 352/2465 ให้ของลับตำรวจผู้จับการพนัน คำพิพากษาฎีกาที่ 1519/2500 ว่าตำรวจว่า “ผมผิดแค่นี้ใครๆก็ผิดได้ ทำไมมาว่าผม อย่างคุณจะเอาผมไป คุณถอดเครื่องแบบมาชกกับผมตัวต่อตัวดีกว่า” กริยาและถ้อยคำที่กล่าว ท้าทายเจ้าพนักงานมาชกกัน แม้ไม่มีคำด่าก็เป็นการดูหมิ่น
5
-ลำพังคำพูดที่หยาบช้า ไม่ถูกหูผู้ฟัง ไม่สุภาพ ไม่มีลักษณะเป็นการดูหมิ่น
คำพิพากษาฎีกาที่ 4327/2540 ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวต่อ ข. เจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่ว่า “แน่จริงมึงถอดเสื้อมาต่อยกับกูเลย” เป็นการกล่าวท้าทายให้ ข. ออกมาต่อสู้กับจำเลย เป็นเพียงคำกล่าวไม่สุภาพและไม่สมควรเท่านั้น คำพิพากษาฎีกาที่ 415/2528 จำเลยว่า “ถ้าแน่จริงให้ถอดปืนที่เอวมาต่อยกันตัวต่อตัว” และ “ถ้าแน่จริงมายิงกันคนละนัดก็ได้ ไม่ต้องใช้กำปั้นใช้ปืนดีกว่า” แม้ขณะที่กล่าวจำเลยได้ถอดกางเกงขายาวที่จำเลยสวมอยู่ออกเหลือแต่กางเกงชั้นในก็มิได้เป็นการทำให้ผู้เสียหายถูกดูหมิ่น
6
-คำพูดที่แสดงการปรารภปรับทุกข์ หรือเพียงคำโต้เถียง คำกล่าวติชม ตามปกติวิสัยยังไม่ถือว่าเป็นการดูหมิ่น คำพิพากษาฎีกาที่ 501/2537 เมื่อผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลย จำเลยกล่าวกับผู้เสียหายว่า เป็นนายจับอย่างไรก็ได้และเรียกทำเย็ดแม่ ดังนี้ ที่จำเลยกล่าวว่าเป็นนายจับอย่างไรก็ได้ เป็นเพียงคำกล่าวในทำนองตัดพ้อต่อว่า ไม่ได้กล่าวหาว่าผู้เสียหายกลั่นแกล้ง จึงไม่เป็นการดูหมิ่นเสียหาย แต่ที่จำเลยกล่าวว่า “เรียกทำเย็ดแม่” เป็นคำด่าอันเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายแล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่ตาม ป.อ. ม. 136
7
-คำกล่าวในบางลักษณะที่แม้จะเป็นคำกล่าวที่สุภาพไม่หยาบคาย แต่หากมีความหมายในทำนองที่เป็นการดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ก็เป็นการดูหมิ่นได้เช่น คำกล่าวหาว่าเจ้าพนักงาน ลำเอียงไม่ยุติธรรม คำพิพากษาฎีกาที่ 1711/2509 จำเลยเสพสุราจนเป็นเหตุให้ตนเมาครองสติไม่ได้ขณะอยู่ในถนนสาธารณะ เจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุม จำเลยพูดว่า “คุณแกล้งจับผม” คำกล่าวของจำเลยในลักษณะนี้ เป็นการดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ คำพิพากษาฎีกาที่ 1735/2506 จำเลยกล่าวต่อเจ้าพนักงานตำรวจจราจร ขณะกระทำตามหน้าที่จับรถยนต์จำเลยฐานกีดขวางทางจราจรว่า “ลื้อชุ่ยมาก” เป็นความผิดตามมาตรา 136 แล้ว
8
2. การดูหมิ่นเจ้าพนักงานอันจะเป็นความผิดตามมาตรานี้จะต้องเป็นการดูหมิ่น
เจ้าพนักงาน ในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้ ก. ดูหมิ่นเจ้าพนักงานในขณะกระทำหน้าที่ หมายถึง การดูหมิ่นเจ้าพนักงานเกิดขึ้นขณะที่เจ้าพนักงานกำลังกระทำการตามหน้าที่ การดูหมิ่นในกรณีนี้เรื่องที่ดูหมิ่นจะมีมูลเหตุเกี่ยวกับ การทำตามหน้าที่ของเจ้าพนักงานหรือไม่ก็ได้ คำพิพากษาฎีกาที่ 352/2465 ตำรวจจับผู้ต้องหาลักเล่นการพนันโดยมีหมายจับ หมายค้น แม้ผู้นั้นไม่ได้กระทำผิด ตำรวจก็ยังกระทำการตามตำแหน่งหน้าที่ ถ้าถูกด่า ผู้ด่ามีความผิดตามมาตรานี้
9
ข. ดูหมิ่นเจ้าพนักงานเพราะได้กระทำตามหน้าที่ หมายถึง การดูหมิ่นเกิด
ขึ้นภายหลังจากที่เจ้าพนักงานกระทำตามหน้าที่เสร็จสิ้นแล้ว ต่อมาผู้กระทำจึงดูหมิ่นเจ้าพนัก งาน มูลเหตุของการดูหมิ่น จะต้องเนื่องมาจากการกระทำ การตามหน้าที่ของเจ้าพนักงาน -การดูหมิ่นเจ้าพนักงานในภายหลังในขณะที่ดูหมิ่นเจ้าพนักงานจะต้อง ยังมีฐานะการเป็นเจ้าพนักงาน หากไม่มีฐานะเป็นเจ้าพนักงาน เช่น เกษียณอายุ หรือ ลาออก การดูหมิ่นไม่เป็น ความผิดมาตรานี้
10
3. การดูหมิ่นอันจะเป็นความผิดตามมาตรานี้ บุคคลที่ถูกดูหมิ่นจะต้องมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานและจะต้องได้กระทำการตามหน้าที่อันชอบด้วยกฎหมาย คำพิพากษาฎีกาที่ 2256/2537 ผู้เสียหายที่ 2 เป็นเจ้าพนักงาน ตำรวจมีหน้าที่ปราบปรามสืบสวนและจับกุมผู้กระทำผิดทางอาญา หาได้เกี่ยวกับ กรณีที่มีบุคคลพิพาทกันในทางแพ่งไม่ ดังนี้ ในระหว่างที่เจ้าพนักงานตำรวจไกล่ เกลี่ยเพื่อประนีประนอมข้อพิพาทในทางแพ่งระหว่างจำเลยที่ 1 จำเลยได้กล่าว คำว่า“มันก็เข้าข้างกัน” ไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตาม หน้าที่
11
คำพิพากษาฎีกาที่ 2113/2516 การที่กำนันใช้ให้บุคคลอื่นไปตามบุตรสาวจำเลยมาไกล่เกลี่ยแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา มิใช่เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ของกำนัน ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องถิ่น จำเลยกล่าววาจาดูหมิ่นกำนัน ไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงาน
12
หมายเหตุ การดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ไม่จำเป็นต้องดูหมิ่นต่อหน้า
4. ความผิดตามมาตรานี้ผู้กระทำจะต้องกระทำโดยเจตนา กล่าวคือ รู้ว่าผู้ถูกดูหมิ่นนั้นเป็นเจ้าพนักงาน หมายเหตุ การดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ไม่จำเป็นต้องดูหมิ่นต่อหน้า เจ้าพนักงานจะดูหมิ่นลับหลังก็ได้
13
ความผิดฐานดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษา ม.198
1. ความผิดมาตรานี้องค์ประกอบในส่วนการกระทำ ทำได้โดยการดูหมิ่น 2. ผู้ถูกดูหมิ่นตามมาตรานี้ได้แก่ ศาล หมายถึง ศาลหนึ่งศาลใดในราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นศาล ยุติธรรม หรือศาลอื่นๆ เช่น ศาลทหาร ศาลปกครอง ศาลอุทธรณ์ ฯลฯ ผู้พิพากษา หมายถึง ผู้มีอำนาจพิจารณาคดีในศาล รวมทั้งดะโต๊ะ ยุติธรรมด้วย(ฎีกาที่ 1575/2518)
14
3. การจะเป็นความผิดตามมาตรานี้ จะต้องเป็นการดูหมิ่นศาล หรือผู้พิพากษา ในการพิจารณาพิพากษาคดี
การพิจารณาพิพากษาคดี หมายถึง กระบวนพิจารณาที่กระทำโดยศาลทั้งหมด เช่น การสั่งคำร้องคำขอ การตรวจคำฟ้อง การสืบพยานการอ่านคำพิพากษา 4. การดูหมิ่นศาล หรือผู้พิพากษา ไม่จำเป็นต้องกระทำในขณะพิจารณาพิพากษาคดีเท่านั้น จะกระทำภายหลังก็ได้
15
5. การดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษา อันจะเป็นความผิดตามมาตรานี้ จะต้องมีการกล่าวหรือพาดพิงถึงการพิจารณาพิพากษาคดี การดูหมิ่น หากมิได้มีการกล่าวหรือพาดพิง ถึงการพิจารณาพิพากษาคดี แม้ว่าจะได้ดูหมิ่นในขณะพิจารณาพิพากษาคดี หรือแม้จะมีมูลเหตุจูงใจในการดูหมิ่น จากการพิจารณาพิพากษาคดี หากมิได้กล่าวหรือพาดพิงถึงการพิจารณาพิพากษาคดี ก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้เช่นเดียวกัน แต่การดูหมิ่นลักษณะทั้งสองประการข้างต้น ผู้ดูหมิ่นอาจมีความผิดตามมาตรา 136
16
ฎีกาที่ 573/2475,1650/2514 จำเลยกล่าวในเวลาศาลพิจารณาคดี
ว่า ศาลทำไม่ชอบ ไม่ยุติธรรม พิจารณารวบหัวรวบหางจะเอาจำเลยเข้าคุก อย่างเดียว เป็นความผิดฐานนี้ ฎีกาที่ 1124/2507 ร้องเรียนเท็จต่อปลัดกระทรวงยุติธรรมว่าผู้พิพากษาที่ตัดสินให้ตนแพ้คดีกินเลี้ยงกับโจทก์ในคดีนั้นที่ร้านอาหารข้างศาลในเย็นวันตัดสิน แสดงว่าตัดสินความโดยไม่สุจริต เป็นความผิดมาตรานี้ 6. ความผิดมาตรานี้ผู้กระทำจะต้องกระทำโดยเจตนา
17
ความผิดเกี่ยวกับการแจ้งความเท็จ
18
ความผิดเกี่ยวกับการแจ้งความเท็จ
ความผิดต่อเจ้าพนักงาน (ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง) ความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม (ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม) ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร -ความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ม.137 -ความผิดฐานแจ้งความเท็จอันเกี่ยวกับความผิดอาญา ม.172 -ความผิดฐานแจ้งความเท็จว่ามีความผิดอาญาเกิดขึ้น ม.173 -ความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการ ม.267
19
ความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ม.137
องค์ประกอบ 1. แจ้งข้อความอันเป็นเท็จ 2. แก่เจ้าพนักงาน 3. ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่น หรือประชาชนเสียหาย 4. โดยเจตนา
20
องค์ประกอบความผิดในส่วนการกระทำ ได้แก่ การแจ้ง ซึ่งหมายถึง การทำให้เจ้าพนักงานได้ทราบ ไม่ว่าจะได้กระทำโดยวิธีใดๆ -การแจ้ง จะกระทำด้วยวิธีใดๆก็ได้ เช่น การพูด ลายลักษณ์อักษรกริยาอาการ เช่น การยื่น หรือส่งให้ -การนิ่ง ไม่ยอมพูด หรือตอบคำถามที่เจ้าพนักงานซักถามจึงไม่เป็นการแจ้งเพราะไม่มีการทำให้เจ้าพนักงานได้ทราบ แต่อาจจะเป็นความผิดตาม ป.อ. ม.169,171,367
21
2. การแจ้งอันจะเป็นความผิดมาตรานี้ จะต้องเป็นการแจ้ง
“ข้อความอันเป็นเท็จ” หมายถึง ผู้กระทำแจ้งข้อความในสิ่งที่ตนมิได้รู้มิได้เห็นแต่ไปแจ้งว่ารู้ว่าเห็น หรือกลับกัน โดยไม่พิจารณาว่าข้อความที่ผู้กระทำแจ้งนั้นจะตรงกับความจริงที่เกิดขึ้นหรือไม่ -ข้อความที่มีลักษณะเป็นข้อความเท็จนั้น อาจจะเป็นข้อความจริงบ้าง เท็จบ้างก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเท็จทั้งหมด แต่การที่จะเป็นข้อความเท็จนั้น ส่วนที่เป็นเท็จนั้นจะต้องเป็นส่วนที่สำคัญ มิใช่เป็นเรื่องรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ(เท็จบางส่วนก็ได้)
22
คำพิพากษาฎีกาที่ 1275/2519 จำเลยฝ่ายเดียวเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย แล้วไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าผู้เสียหายใช้มีดแทงพยายามชิงทรัพย์จำเลย โดยผู้เสียหายมิได้กระทำผิดจำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าและผิดฐานแจ้งความเท็จอีกกระทงหนึ่ง
23
-ว่าข้อความเท็จแสดงโดยนัยว่าจะต้องมีข้อเท็จจริงในอดีต
หรือปัจจุบันอยู่ แล้วผู้แจ้งได้แจ้งไม่ตรงกับที่ข้อเท็จจริงนั้น -การคาดการในอนาคต คำมั่นสัญญา การแสดงความคิดเห็น หรือไม่ยืนยันว่าจะเป็นจริงหรือไม่ จึงไม่ถือว่าเป็นการแจ้งข้อความอัน เป็นเท็จ
24
3. ความผิดมาตรานี้ เป็นความผิดที่ไม่ต้องการผล กล่าวคือ เจ้าพนักงานจะหลงเชื่อ ข้อความที่มีการแจ้งหรือไม่ก็ได้ -องค์ประกอบที่ว่า “ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่น หรือประชาชนเสียหาย” นั้นเป็นเพียงพฤติการณ์ประกอบการกระทำ มิใช่ผลที่ต้องเกิด กล่าวคือ การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จนั้น เพียงแค่อาจจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือประชาชน ก็เป็นความผิดแล้ว 4. ความผิดมาตรานี้ ผู้กระทำจะต้องกระทำโดยเจตนา กล่าวคือ รู้ว่าข้อความที่ตนแจ้ง เป็นข้อความอันเป็นเท็จ
25
ความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา มาตรา 172
องค์ประกอบ 1. แจ้งข้อความอันเป็นเท็จ 2. เกี่ยวกับความผิดอาญา 3. แก่ 3.1 พนักงานอัยการ 3.2 ผู้ว่าคดี 3.3 พนักงานสอบสวน 3.4 เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา 5. ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่น หรือประชาชนเสียหาย 6. โดยเจตนา
26
1. ความผิดตามมาตรานี้องค์ประกอบในส่วนการกระทำ ได้แก่ การแจ้งความอันเป็นเท็จ
2. ความผิดตามมาตรานี้ จำกัดเรื่องที่แจ้งให้แคบลงมาเฉพาะที่เกี่ยวกับความผิดอาญาเท่านั้น -ข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา หมายถึง การแจ้งข้อความอันเกี่ยวกับการกระทำที่เป็นความผิด และกฎหมายกำหนดโทษไว้ ไม่ว่าจะเป็นความผิดที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา หรือกฎหมายที่มีโทษทางอาญาฉบับอื่น
27
-ข้อความอันเป็นเท็จ หมายถึง เอาความรู้ไม่รู้ข้อเท็จจริงของผู้แจ้งเป็นสำคัญว่า รู้หรือไม่ว่าข้อความที่แจ้งเป็นเท็จ แม้ว่าข้อความที่แจ้งนั้นจะตรงกับความจริงที่เกิดขึ้น หากผู้แจ้งรู้ว่าเป็นเท็จ ก็เป็นความผิดตามมาตรานี้ เช่น นายแดงแจ้งว่าเห็นนายดำฆ่านายขาวโดยการใช้ปืนยิง ซึ่งในความเป็นจริงนายแดงไม่ได้เห็นเช่นนั้น แม้ว่าข้อความที่นายแดงแจ้งจะตรงกับความจริงกล่าวคือนายดำได้ใช้ปืนยิงนายขาวตายก็ตาม ก็ถือว่านายแดงแจ้งความเท็จ เพราะว่านายแดงเอาสิ่งที่ไม่รู้ไปแจ้งแก่เจ้าพนักงานว่าตนรู้ ซึ่งเป็นความเท็จ
28
คำพิพากษาฎีกาที่ 919/2504 จำเลยไปแจ้งความต่อตำรวจว่า รถจักรยานถูกลักไป ไม่รู้ว่าใครเป็นคนร้าย ต่อมาจำเลยให้การต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์เป็นคนร้าย โดยตนเห็น และได้ไล่ติดตามโจทก์ในคืนเกิดเหตุด้วยซึ่งความจริงจำเลย มิได้รู้ว่าใครเป็นคนร้าย ดังนี้ จำเลยย่อมมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ คำพิพากษาฎีกาที่ 3702/2526 ความสำคัญของคดีแจ้งความเท็จอยู่ที่ว่าจำเลยเห็นเหตุการณ์การกระทำผิดของ อ. กับพวกตามที่ให้การต่อเจ้าพนักงานสอบสวนหรือไม่ ไม่ได้อยู่ที่ว่า อ. กับพวกกระทำผิดหรือไม่ เพราะแม้ อ. กับพวกกระทำความผิดจริงแต่ถ้าจำเลยไม่เห็นการกระทำผิดแล้วบังอาจให้การว่าเห็นก็มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ
29
-การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา ในที่นี้หมายถึง การแจ้งข้อความเท็จในส่วนของข้อเท็จจริงเท่านั้น ไม่พิจารณาถึงข้อกฎหมาย คำพิพากษาฎีกาที่ 5600/2541 จำเลยนำความไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า โจทก์ขับรถยนต์เฉี่ยวชนจำเลยได้รับบาดเจ็บ เป็นการแจ้งความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ส่วนการกระทำของโจทก์จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยแจ้งหรือไม่ ไม่ใช่สาระสำคัญ
30
คำพิพากษาฎีกาที่ 1173/2539 ข้อความที่จำเลยที่ 3 แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตรงกับสภาพที่จำเลยที่ 2 พบเห็นมา จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 แจ้งข้อความตรงตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ส่วนการกระทำของโจทก์จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยที่ 3 แจ้งหรือไม่ ไม่สำคัญเพราะการแจ้งข้อความหมายถึงแจ้งข้อเท็จจริง ไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย จึงไม่ผิดฐานแจ้งความเท็จ
31
3. ความผิดตามมาตรานี้กำหนดตัวเจ้าพนักงานผู้รับแจ้งไว้ 4 ประเภท คือ
1. พนักงานอัยการ 2. ผู้ว่าคดี 3. พนักงานสอบสวน 4. เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา
32
เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
เจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจหน้าที่รักษา ความสงบเรียบร้อย เจ้าพนักงานอื่นๆที่มีอำนาจ หน้าที่เกี่ยวกับการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย
33
เจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจหน้าที่รักษา
ความสงบเรียบร้อย เจ้าพนักงานปกครอง เจ้าพนักงานตำรวจ -ปลัดกระทรวงมหาดไทย -นายอำเภอ -ปลัดอำเภอ -กำนัน -ผู้ใหญ่บ้าน -นายพลตำรวจ -พลตำรวจ
34
เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
เจ้าพนักงานอื่นๆที่มีอำนาจ หน้าที่เกี่ยวกับการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย เจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจหน้าที่รักษา ความสงบเรียบร้อย ปกครอง ตำรวจ เจ้าพนักงานป่าไม้,สรรพสามิต,ศุลกากร กรมเจ้าท่า,เจ้าพนักงานตรวจคนเข้า,พัศดี ฯลฯ
35
พนักงานสอบสวน กรุงเทพฯ ต่างจังหวัด ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศ ตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรี หรือเทียบเท่าขึ้นไป -พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ชั้นผู้ใหญ่ - ปลัดอำเภอ - ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศ ตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรี หรือเทียบเท่าขึ้นไป
36
4. การแจ้งความเท็จตามมาตรานี้ หากผู้แจ้งอยู่ในฐานะของผู้ต้องหา
ผู้แจ้งไม่มีความผิดตามมาตรานี้ เพราะบุคคลย่อมมีสิทธิไม่ให้ถ้อยคำเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเองอันอาจทำให้ตนถูกฟ้องคดีอาญา ( ร.ธ.น. มาตรา 243 ว.1 ) คำพิพากษาฎีกาที่ 225/2508 เมื่อถูกจับเล่นการพนันกินรวบ จึงแจ้งต่อตำรวจผู้ค้นว่ากระดาษที่ค้นได้นั้น เป็นสลากกินรวบที่ซื้อมาจากชายคนหนึ่งเป็นการแจ้งในฐานะเป็นผู้ต้องหาแล้ว ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 172 -การเป็นผู้ต้องหาเริ่มขึ้นเมื่อใด? 1. เมื่อถูกแจ้งข้อหา จากพนักงานสอบสวน ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 134 2. เมื่อถูกจับ
37
-แต่ การจะได้รับความคุ้มครองในฐานะผู้ต้องหานั้น จำกัดเฉพาะการแจ้งข้อความในเรื่องที่ตกเป็นผู้ต้องหาเท่านั้น หากข้อความที่แจ้งมิได้เกี่ยวกับการตกเป็นผู้ต้องหา ถ้าเป็นความเท็จก็เป็นความผิดตามมาตรานี้ได้ คำพิพากษาฎีกาที่ 481/2484 จำเลยจะถูกจับฐานทำร้ายร่างกาย จำเลยกลับแจ้งว่า ด. ลักมะม่วงของตนด้วยซึ่งเป็นเท็จ ถือว่าเป็นการแจ้งข้อความเท็จในเรื่องอื่น ไม่ใช่เป็นการให้การต่อสู้คดีในข้อที่จำเลยถูกกล่าวหา ถือว่าไม่ใช่ให้การในฐานะผู้ต้องหา จำเลยมีความผิดได้
38
5. ความผิดมาตรานี้ ผู้กระทำจะต้องกระทำโดยเจตนา กล่าวคือ รู้ว่าข้อความที่ตนแจ้งนั้นเป็นเท็จ
คำพิพากษาฎีกาที่ 4669/2530 จำเลยทราบจากผู้ใต้บังคับบัญชาว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ช่วยเกษตรจังหวัดได้ไปรื้อค้นสำนักงานและโต๊ะทำงานของจำเลยขณะจำเลยไม่อยู่ ปรากฏว่าเงินที่จำเลยเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำงานสูญ-หายไป จำเลยย่อมมีเหตุที่จะสงสัยว่าโจทก์อาจเป็นคนร้ายลักเงินไป จึงไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์บุกรุกสำนักงานและลักทรัพย์โดยแจ้งรายละเอียดและพฤติการณ์ของโจทก์ พร้อมทั้งระบุด้วยว่าจำเลยทราบเรื่องจากผู้ใด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม ม.172
39
6. การแจ้งความเท็จตามมาตรานี้เป็นการกระทำในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ผู้กระทำจะต้องรับโทษหนักขึ้น ตามมาตรา 174 1. เพื่อแกล้งให้บุคคลใดต้องรับโทษ แจ้งข้อความเท็จ โดยพาดพิงถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งว่าเป็ผู้กระทำ 2. เพื่อแกล้งให้บุคคลใดต้องรับโทษหนักขึ้น 3. เพื่อแกล้งให้บุคคลใดต้องถูกบังคับตามวิธีการเพื่อ ความปลอดภัย ม
40
7. ถ้าการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเพื่อแกล้งบุคคลใด ตาม ม
7. ถ้าการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเพื่อแกล้งบุคคลใด ตาม ม. 174 เป็นการแจ้งในกรณีแห่งข้อหาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 181 ผู้กระทำจะต้องรับโทษหนักยิ่งขึ้น
41
ความผิดฐานแจ้งความว่ามีการกระทำผิดอาญาเกิดขึ้นอันเป็นเท็จมาตรา 173
องค์ประกอบ 1. รู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น 2. แจ้งข้อความแก่ ก. พนักงานสอบสวน ข. เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา 3. ว่าได้มีการกระทำความผิด 4. โดยเจตนา
42
1. ความผิดตามมาตรานี้เป็นการแจ้งข้อความเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาเช่นเดียวกับมาตรา 172
แต่ความผิดตามมาตรา 173 นี้แตกต่างกับมาตรา 172 ในข้อสำคัญคือ การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับคดีอาญาตาม ม. 172 เป็นการแจ้งความเท็จในเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว ส่วนการแจ้งความเท็จตาม ม. 173 เป็นการแจ้งความเท็จในเรื่องที่มิได้เกิดขึ้น
43
เช่น แดงแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า มีผู้ลักรถจักรยานยนต์ซึ่งตนเช่าซื้อ และยังชำระราคาไม่หมด เพื่อที่จะไม่ต้องชำระราคาที่เหลือซึ่งในความเป็นจริง แดงนำรถไปขาย นำเงินมาใช้จนหมดแล้ว เช่นนี้ เป็นการแจ้งความเท็จตาม ม. 173 เพราะในความเป็นจริงไม่มี ลักรถเกิดขึ้น แต่หากข้อเท็จจริงเปลี่ยนไปว่า มีผู้ลักรถจักรยานยนต์ไปจริงโดยแดงไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้ลักไป แต่แดงไปแจ้งต่อตำรวจว่า เห็นดำเป็นผู้ลักไป เช่นนี้เป็นการแจ้งความเท็จตาม ม. 172
44
คำพิพากษาฎีกาที่ 5449/2540 จำเลยเป็นพนักงานเก็บเงินบริษัทผู้เสียหาย เก็บเงินจากลูกค้าแล้วยักยอกไป โดยจำเลยได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่ามีคนร้ายใช้อาวุธปืนและมีดจี้บังคับปล้นเอาเงินของผู้เสียหายและของจำเลยไปโดยไม่มีการปล้นทรัพย์เกิดขึ้น แต่จำเลยทำพยานหลักฐานเท็จด้วยการใช้ท่อนไม้ทุบรถจักรยานยนต์ของจำเลย และแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่พนักงานสอบสวนว่าได้มีการปล้นทรัพย์ จำเลยจึงมีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาว่าได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ
45
2. ความผิดตามมาตรานี้องค์ประกอบในส่วนการกระทำ ได้แก่“การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ” อันมีความหมายและลักษณะเช่นเดียวกับความผิดตามมาตรา 137,172 3. ความผิดตามมาตรานี้ผู้กระทำจะต้องกระทำโดยเจตนาตามมาตรา 59 คือ รู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น 4. การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จตามมาตรานี้ ถ้าเป็นผู้แจ้งอยู่ในฐานะผู้ต้องหา ผู้แจ้งไม่มีความผิดตามมาตรานี้
46
5. การกระทำผิดมาตรานี้ ถ้าผู้แจ้งมีเจตนาพิเศษ เพื่อแกล้งให้บุคคลใดต้องถูกบังคับตามวิธีการเพื่อความปลอดภัย หรือแกล้งให้บุคคลใดต้องรับโทษ หรือรับโทษหนักขึ้น ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักขึ้น ตามประมวลกฎหมายอาญา ม. 174 และ ม.181
47
ความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชน
หรือเอกสารราชการ มาตรา 267 องค์ประกอบ 1. แจ้งให้เจ้าพนักงาน ผู้กระทำการตามหน้าที่ 2. จดข้อความอันเป็นเท็จ 3. ลงในเอกสารมหาชน หรือเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์ สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน 4. โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่ผู้อื่นหรือประชาชน 5. โดยเจตนา
48
1. องค์ประกอบความผิดในส่วนการกระทำ ได้แก่ การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ป
1. องค์ประกอบความผิดในส่วนการกระทำ ได้แก่ การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ป.อ. มาตรา 137 2. การแจ้งนั้นผู้กระทำต้องกระทำโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อความที่แจ้งนั้นเป็นพยานหลักฐาน ว่ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้นตามที่แจ้งนั้นจริง(แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นความจริง) 3. การจะเป็นความผิดตามมาตรานี้ เจ้าพนักงานที่รับแจ้งจะต้องเป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่จดข้อความในเอกสารมหาชน หรือเอกสารราชการ
49
- -เอกสารมหาชน หมายถึง เอกสารที่พนักงานเจ้าหน้าที่ ทำขึ้น
-เอกสารมหาชน หมายถึง เอกสารที่พนักงานเจ้าหน้าที่ ทำขึ้น ตามหน้าที่ เพื่อให้ประชาชนตรวจดูและอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานได้ -เอกสารราชการมีความหมายตาม ป.อ.มาตรา 1 อนุ 8 หมายความว่า เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้น หรือรับรองในหน้าที่ และให้หมายความรวม ถึงสำเนาเอกสารนั้นๆที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ด้วย -
50
4. เอกสารมหาชน หรือเอกสารราชการนั้น ต้องมีวัตถุประสงค์สำหรับ
ใช้เป็นพยานหลักฐานว่ามีสิ่งหนึ่งใดเกิดขึ้นตามที่แจ้งนั้น อาทิเช่น การแจ้งเกิด หรือแจ้งตาย ก็เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้มีบุคคลใดเกิด หรือตายหรือไม่ 5. การจะเป็นความผิดตามมาตรานี้ การแจ้งในประการดังกล่าวต้องกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือประชาชน ซึ่งเป็นพฤติการณ์ประกอบการกระทำ
51
คำพิพากษาฎีกาที่ 2696/2521 มารดาคลอดบุตรโดยมิได้สมรสกับบิดา มารดาแจ้งต่อนายทะเบียนท้องถิ่นว่า เกิดเด็กหญิง ก. นามสกุลมารดา บิดาไปแจ้งต่อนายทะเบียนอีกทางหนึ่งว่าเกิดเด็กหญิง ก. นามสกุลบิดา การไปแจ้งไม่น่าจะเกิดความเสียหาย เพราะการให้ใช้นามสกุลเป็นประโยชน์แก่ตัวเด็ก ไม่ครบองค์ประกอบ ไม่ผิดมาตรา 6. ความผิดตามมาตรานี้ผู้กระทำต้องกระทำโดยเจตนา กล่าวคือรู้ว่าข้อความที่ตนแจ้งนั้นเป็นเท็จ
52
7. ผู้ใช้ หรืออ้างเอกสาร ตามมาตรานี้ ในประการที่น่าจะเกิดความ
เสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ผู้นั้นมีความผิดฐานใช้หรืออ้างเอกสารอัน เป็นเท็จมีโทษเช่นเดียวกับผู้แจ้งให้เจ้าจดข้อความอันเป็นเท็จ ตาม ป.อ. ม.268 ว.1 8. ถ้าผู้ใช้ หรืออ้างเอกสารตามมาตรานี้ เป็นผู้แจ้งให้เจ้าพนักงาน จดข้อความนั้นเอง เช่นนี่ ผู้นั้นมีความผิดทั้งฐานแจ้งข้อความฯ ตาม ม.267 และใช้เอกสาร ตาม ม.268 ว.1 แต่กฎหมายให้ลงโทษฐานใช้เอกสารฯ เพียงกระทงเดียว ตาม ม.268 ว.2
53
ความผิดเกี่ยวกับการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน
54
ความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน มาตรา 138
วรรคแรก 1. ต่อสู้ ขัดขวาง 2. เจ้าพนักงาน หรือ 3. ผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามหน้าที่ 4. ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ 5. โดยเจตนา วรรคสอง การต่อสู้ หรือขัดขวางนั้นได้กระทำโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ผู้กระทำต้องระวางโทษ หนักขึ้น
55
1. องค์ประกอบความผิดในส่วนการกระทำ ได้แก่
ต่อสู้ หมายถึง การต่อต้านไม่ให้การกระทำของเจ้าพนักงาน หรือผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานสำเร็จผล ขัดขวาง หมายถึง การกระทำให้เกิดอุปสรรคแก่การกระทำของเจ้าพนักงาน หรือผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงาน เช่น การยิงปืนขึ้นฟ้าเพื่อข่มขู่เจ้าพนักงานติดตามจับกุมการโรยตะปู บนพื้นถนน เพื่อไม่ให้เจ้าพนักงานติดตาม
56
2. การต่อสู้ขัดขวางผู้กระทำจะกระทำด้วยวิธีใดๆก็ได้ เช่น กริยา คำพูด
2. การต่อสู้ขัดขวางผู้กระทำจะกระทำด้วยวิธีใดๆก็ได้ เช่น กริยา คำพูด คำพิพากษาฎีกาที่ 66/2459 แกล้งพูดว่าผู้ออกหมายไม่มีอำนาจ หรือออกหมายไม่ถูกต้อง เป็นการต่อสู้ขัดขวางแล้ว คำพิพากษาฎีกาที่ 352/2480 ตำรวจอ่านหมายค้นบ้านให้จำเลยฟัง จำเลยเอามือปัดหมาย ตำรวจจะจับกลับผลักอกตำรวจ
57
3. การกระทำใดเป็นการต่อสู้ หรือขัดขวาง จะต้องมีการกระทำที่แสดงออกมาให้เห็นว่าเป็นการต่อสู้ขัดขวาง
ดังนั้นการนิ่งเฉย หรือละเว้นไม่กระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงานไม่อาจถือว่ามีการกระทำอันที่เป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน คำพิพากษาฎีกาที่ 223/2531 ขับรถผ่านด่านตรวจเมื่อได้รับสัญญาณ จากเจ้าหน้าที่ตำรวจให้หยุด ไม่ยอมหยุด ไม่เป็นการต่อสู้ขัดขวาง
58
4. ความผิดมาตรานี้การต่อสู้ขัดขวาง ผู้กระทำได้กระทำต่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดดังต่อไปนี้
ก. เจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เจ้าพนักงานนั้นต้องมีอำนาจหน้าที่อันชอบด้วยกฎหมายในการ กระทำการนั้นๆได้ คำพิพากษาฎีกาที่ 3743/2525 เป็นเจ้าพนักงานสรรพสามิต และตำรวจจับสุราในบริเวณบ้าน แม้เจ้าของบ้านจะรับสารภาพก็ไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้า เมื่อจับโดยไม่มีหมายจับย่อมไม่ชอบ การต่อสู้ขัดขวางย่อมไม่เป็นความผิด
59
ข. ผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติการตามหน้าที่
-มีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดให้บุคคลนั้นๆ มีหน้าที่ต้องช่วยเจ้าพนักงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่กฎหมายบังคับให้บุคคลนั้นจักต้องช่วย มิใช่เกิดจากความสมัครใจ เช่น - พ.ร.บ ปกครองท้องที่ พ.ศ เกี่ยวกับการที่ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน กรมการอำเภอ เรียกให้ราษฎรช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ - ป.อ. มาตรา 383 - บุคคลซึ่งเจ้าพนักงานเรียกให้ช่วยตามหมายจับตาม ป.วิ. อาญา มาตรา 82
60
5. ความผิดตามมาตรานี้ เป็นความผิดสำเร็จทันทีที่มีการต่อสู้ขัดขวาง ไม่จำเป็นต้องเกิดผลที่เจ้าพนักงานหรือผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานไม่สามารถกระทำได้สำเร็จ 6. ความผิดตามมาตรานี้ผู้กระทำจะต้องกระทำโดยเจตนาตาม ป.อ. มาตรา 59 กล่าวคือ มีเจตนาต่อสู้ขัดขวาง ประกอบกับรู้ว่าบุคคลซึ่งตนต่อสู้ขัดขวางนั้นเป็นเจ้าพนักงาน หรือผู้ซึ่งต้องช่วยเหลือเจ้าพนักงาน
61
คำพิพากษาฎีกาที่ 148/2513 ตำรวจเข้าค้นจำเลยในที่เปลี่ยวโดยไม่ได้แต่งเครื่องแบบ หรือแสดงหลักฐานว่าเป็นตำรวจกระทำการตามหน้าที่ และต่างฝ่ายต่างก็ไม่รู้จักกัน แม้จำเลยจะต่อสู้ชกต่อยขัดขวาง ไม่ผิดฐานต่อสู้ขัดขวาง คำพิพากษาฎีกาที่ 1318/2506 การที่จำเลยดับไฟฟ้าขณะเจ้าพนักงานเข้าจับกุม จำเลยกับพวกเล่นการพนัน เพราะจำเลยกลัวถูกจับนั้น แม้จะทำให้เจ้าพนักงานเกิดความ ไม่สะดวกเพราะมืดก็ตาม การกระทำของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาขัดขวาง เจ้าพนักงาน
62
7. ถ้าการต่อสู้ขัดขวางได้กระทำโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ผู้กระทำจะต้องรับโทษหนักขึ้นตาม ป.อ. ม.138 วรรค 2 8. ถ้าการต่อสู้ขัดขวางได้กระทำโดยมีหรือใช้อาวุธหรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ต้องรับโทษตามมาตรา 140 วรรคแรก 9. ถ้าการต่อสู้ขัดขวางได้กระทำโดยอ้างอำนาจอั้งยี่หรือซ่องโจรผู้กระทำต้องรับโทษตามมาตรา 140 วรรคสอง
63
10. ถ้าการกระทำตามมาตรา 140 วรรคแรกและวรรคสอง ได้กระทำโดยมี หรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้ในสองวรรคดังกล่าวกึ่งหนึ่งตามมาตรา 140 วรรคท้าย
64
ความผิดฐานข่มขืนใจเจ้าพนักงาน มาตรา 139
องค์ประกอบ 1. ข่มขืนใจเจ้าพนักงาน 2. ให้ 2.1 ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ 2.2 ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ 3. โดย 3.1 ใช้กำลังประทุษร้าย หรือ 3.2 ขู่ว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย 4. โดยเจตนา
65
1. มาตรานี้องค์ประกอบความผิดในส่วนการกระทำได้แก่ การข่มขืนใจ
ซึ่งหมายความว่า บังคับใจ ฝ่าฝืนใจ การข่มขืนใจ ผู้กระทำจะต้องกระทำด้วยวิธีหนึ่งวิธีใดดังต่อไปนี้ -การใช้กำลังประทุษร้าย หมายถึง การทำให้เกิดอันตรายต่อกาย หรือจิตใจต่อเจ้าพนักงาน -การขู่ว่าจะใช่กำลังประทุษร้าย หมายถึง การทำให้กลัวว่าจะเกิด อันตรายต่อกาย หรือจิตใจ ของเจ้าพนักงาน
66
ดังนั้นถ้าการข่มขืนใจ มิได้กระทำโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่ว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ผู้กระทำไม่มีความผิดตามมาตรานี้ คำพิพากษาฎีกาที่ 920/2508 พนักงานสอบสวนไม่อนุญาตให้จำเลยประกันตัวผู้ต้องหาเพราะผิดระเบียบ จำเลยพูดขู่เข็ญว่า ถ้าไม่ให้ประกันจำเลยจะจัดการให้ถูกย้ายไปอยู่ที่อื่นเช่นที่เคยกระทำได้ผลมาแล้วแก่ผู้บังคับการคนหนึ่ง แต่เรื่องย้ายนั้นยังไม่แน่ใจ ฉะนั้นจึงจะเอาพนักงานสอบสวนลงหลุมฝังเสีย ดังนี้ เป็นการข่มขืนใจขู่เข็ญ เจ้าพนักงานให้ถึงแก่ชีวิตด้วยการใช้กำลังประทุษร้าย ตามความหมายของถ้อยคำเพื่อให้เจ้าพนักงานปฏิบัติการสั่งประกันเสียเองอันมิชอบด้วยหน้าที่ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 139
67
2. ความผิดตามมาตรานี้จะต้องมีผลเกิดขึ้นจากการข่มขืนใจ กล่าวคือ
-เจ้าพนักงานต้องได้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หมายถึง เจ้าพนักงากระทำไม่ถูกต้องตามหน้าที่ เช่น นาย ก. ไปขอให้เจ้าพนักงานออกโฉนดที่ดินให้ เจ้าพนักงานออกให้ไม่ได้ เนื่องจากเป็นที่สาธารณะประโยชน์ นาย ก. จึงข่มขืนใจให้เจ้าพนักงานให้ออกโฉนดที่ดินให้
68
-ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ หมายถึง เจ้าพนักงานไม่กระทำตามหน้าที่อันเจ้าพนักงานมีหน้าที่ต้องทำ
เช่น นาย ก. บุกรุกที่สาธารณะ เจ้าพนักงานจึงสั่งให้นาย ก.รื้อถอนโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดิน นาย ก. ไม่ยอมรื้อถอนเจ้าพนักงานจึงจะเข้ารื้อถอนเอง นายก. ถือไม้จะตีเจ้าพนักงาน ถ้าเข้ามาทำการรื้อถอน
69
3. ข่มขืนใจเพื่อให้เจ้าพนักงานปฏิบัติการอันชอบด้วยหน้าที่ ไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ แต่อาจจะเป็นความผิดบทอื่นเช่น ความผิดต่อเสรีภาพ มาตรา 309 “ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนในนั้นเอง หรือของผู้อื่น หรือโดยใช้กำลังประทุษ จนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำการนั้นไม่กระทำการนั้น หรือจำยอมต่อสิ่งนั้น ต้อง....”
70
4. การกระทำตามมาตรานี้ หากไม่เกิดผล เช่น เจ้าพนักงานไม่กลัว หรือไม่ยอมทำตามความประสงค์ของผู้กระทำ ผู้กระทำย่อมมีความผิดฐานพยายามข่มขืนใจ เท่านั้น 5. ความผิดตามมาตรานี้มีบทฉกรรจ์ที่ตาม ป.อ. ม. 140 6. ความผิดตามมาตรานี้เป็นความผิดต่อเสรีภาพอย่างหนึ่ง 7. ความผิดตามมาตรานี้ผู้กระทำจะต้องได้กระทำโดยเจตนา
71
มาตรา 189 ความผิดฐานช่วยผู้กระทำผิดเพื่อไม่ให้ต้องโทษ
องค์ประกอบ ช่วยผู้อื่น ซึ่งเป็นผู้กระทำผิด หรือผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดอันมิใช่ความผิดลหุโทษ โดยให้พำนักแก่ผู้นั้น โดยซ้อนเร้น หรือโดยช่วยผู้นั้นด้วยประการใดๆเพื่อไม่ให้ถูกจับกุม เพื่อมิให้ต้องรับโทษ โดยเจตนา
72
มาตรานี้องค์ประกอบความผิดในส่วนการกระทำได้แก่ “การช่วย” ผู้อื่น ซึ่งการช่วยนั้นจะกระทำโดยวิธีหนึ่งวิธีใดดังต่อไปนี้ก็ได้ โดยให้พำนักแก่ผู้นั้น หมายถึง ให้ที่พักอาศัย หรือช่วยจัดหาที่พักอาศัย ซึ่งรวมทั้งการให้อุปการะในการดูแลช่วยเหลือให้อาหารรับประทาน ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือเพียงชั่วคราว แต่จะต้องเป็นการให้ที่พำนักหลังจากที่บุคคลนั้นตกเป็นผู้กระทำความผิด หรือถูกกล่าวหา
73
โดยซ่อนเร้น หมายถึง ปกปิดมิให้เจ้าพนักงานตามหาพบ
ช่วยด้วยประการใดๆเพื่อมิให้บุคคลนั้นถูกจับกุม หมายถึง ช่วยด้วยประการอื่นนอกจากให้พำนัก หรือซ่อนเร้น เช่น ช่วยขัดขวางมิให้ผู้กระทำผิดถูกจับกุม ช่วยให้หลบหนีไปขณะจะถูกจับกุม หรือช่วยขัดขวางขู่เข็ญพยานผู้รู้เห็นมิให้ยืนยันว่ารู้เป็นการกระทำผิด หรือให้การเป็นพยานช่วยผู้นั้นเพื่อไม่ให้ถูกจับกุม ช่วยนำของกลางไปจำหน่าย
74
การจะเป็นความผิดตามมาตรานี้ผู้ถูกช่วยจะต้องมีฐานะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
เป็นผู้กระทำความผิด ซึ่งหมายถึง บุคคลผู้กระทำความผิดที่มีโทษทางอาญาไม่ว่าจะกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกฎหมายที่มีโทษทางอาญาอื่น เป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิด หมายถึง ผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งหมายถึง บุคคลซึ่งถูกหาว่าได้กระทำความผิดแต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล
75
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2512
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยนำข้อความอันเป็นเท็จไปแจ้งให้เจ้าพนักงานจดลงในเอกสารราชการ เพราะจำเลยมีเจตนาช่วยเหลือนายธงไม่ให้ถูกจับกุม ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137, 189, 267 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 189 นั้นบัญญัติถึงการกระทำเพื่อช่วยเหลือมิให้ผู้กระทำผิดต้องรับโทษโดยมิให้ถูกจับกุม เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่านายธงได้ถูกจับกุมในข้อหาว่าตั้งโรงสีใช้เครื่องจักรโดยมิได้รับอนุญาตไปแล้ว จำเลยแจ้งเรื่องย้ายโรงสีไปไว้ที่บ้านนายธงในภายหลังการกระทำของจำเลยจึงไม่ต้องด้วยความผิดตามบทมาตรานี้
76
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2517
ท.ถูกฟ้องว่าฆ่าผู้อื่น ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ครั้นเมื่อศาลนัดฟังคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ท.หลบหนี ศาลออกหมายจับ ท. จำเลยให้พำนักและซ่อนเร้น ท. และบอก ท. ให้รู้ตัวเมื่อตำรวจมาตามจับ จำเลยก็ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 189 เพราะตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาลสูงเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้น ก็ต้องถือว่า ท. ไม่ใช่ผู้กระทำผิดในข้อหาฆ่าผู้อื่น และการที่ศาลออกหมายจับนั้น ก็เพื่อให้ได้ตัวมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ไม่ใช่เพราะกระทำผิดฐานหลบหนีไม่ไปศาล
77
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2449/2522
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 บัญญัติถึงการกระทำ เพื่อช่วยเหลือมิให้ผู้กระทำความผิดต้องรับโทษโดยมิให้ถูกจับกุม เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยถีบรถจักรยานให้ บ.ซึ่งเป็นผู้กระทำผิดนั่งซ้อนท้ายพาออกจากที่เกิดเหตุไปในขณะที่ยังไม่มีผู้มีอำนาจจับกุมคนใดจะจับกุม บ. และยังได้ความอีกว่า จำเลยถีบรถจักรยาน พา บ.นั่งซ้อนท้ายไปบ้าน จึงส่อให้เห็นเจตนาว่าไม่ใช่เพื่อหลบหนีหรือเพื่อไม่ให้ถูกจับกุมอีกด้วย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามบทมาตราดังกล่าว
78
การจะเป็นความผิดมาตรานี้ ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อช่วยผู้กระทำผิด หรือผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดมิให้ต้องรับโทษ โดยการ ช่วยให้ที่พำนัก ช่วยซ่อนเร้น ช่วยด้วยประการใดๆเพื่อไม่ให้ถูกจับ(แสดงว่ายังไม่ถูกจับ) (เจตนาในการช่วยคือต้องการไม่ให้ถูกจับ เมื่อไม่ถูกจับก็ไม่ต้องรับโทษ) ฎ 3507/2546 การที่จำเลยรับ พ. ขึ้นรถแล้วขับรถไปส่งยังที่อื่นเพื่อไม่ให้ถูกจับกุม ก็เป็นการแสดงให้เห็นแล้วว่าจำเลยกระทำเพื่อไม่ให้ พ. ต้องรับโทษ
79
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2448/2521
เจ้าพนักงานตำรวจได้เข้าทำการจับกุมพวกลักลอบเล่นการพนันไฮโลว์โดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยร้องบอกพวกที่เล่นการพนันดังกล่าวว่า "ตำรวจมา ตำรวจมา" พวกที่เล่นการพนันบางคนหลบหนีการจับกุมของเจ้าพนักงานไปได้ พฤติการณ์ของจำเลยที่ร้องบอกพวกที่เล่นการพนันดังกล่าวก็ด้วยมีเจตนาที่จะให้ผู้เล่นการพนันรู้ตัวเพื่อจะหลบหนีไป การกระทำของจำเลยจึงเข้าลักษณะของการช่วยด้วยประการใดๆ แก่ผู้กระทำความผิดเพื่อไม่ให้ถูกจับกุมดังบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189
80
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 490/2519
ผ. แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนระบุว่า ถ. เป็นผู้ทำร้ายตน อันมิใช่ความผิดลหุโทษ ฐานะของ ถ. ขณะนั้นจึงเป็นผู้ต้องหาหรือผู้กระทำผิดแล้ว ต่อมาก่อน ถ. ถูกจับกุม จำเลยได้แจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่าตนเป็นผู้ทำร้าย ผ. เพื่อแสดงว่า ถ. ไม่ใช่เป็นผู้ทำร้าย ดังนี้ การกระทำของจำเลยดังกล่าวเพื่อไม่ให้ ถ. ต้องโทษ โดยช่วย ถ. ผู้กระทำผิดหรือต้องหาว่ากระทำผิด เพื่อไม่ให้ถูกจับกุมตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 แล้ว
81
การจะเป็นความผิดตามมาตรานี้ ผู้กระทำจะต้องรู้ว่าบุคคลที่ตนช่วยนั้นเป็นผู้กระทำความผิด หรือผู้ต้องหาว่ากระทำความผิด ซึ่งเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิด ถ้าไม่รู้ก็ไม่มีเจตนา แต่ผู้ที่ช่วยไม่จำเป็นต้องทราบว่า ผู้ที่ตัวเองช่วยนั้นกระทำความผิดฐานใด ซึ่งเป็นพฤติการณ์ประกอบการกระทำ
82
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1670/2522
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 นั้น เจ้าพนักงานผู้ติดตามจับกุมผู้กระทำผิดหาจำต้องแจ้งแก่ผู้ให้ที่พำนักซ่อนเร้นทราบว่าผู้กระทำความผิดหรือผู้ต้องหาว่า กระทำความผิดได้กระทำความผิดฐานใด เพียงแต่แจ้งให้ทราบว่าบุคคลที่ตนให้ที่พำนักซ่อนเร้นเป็นผู้กระทำผิดก็พอแล้ว ส่วนจะเป็นความผิดฐานใดนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องกล่าวในฟ้องและนำสืบ
83
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4922/2539
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกไม้แปรรูปแล้วถูกนายดาบตำรวจ ก. กับพวก ยึดรถยนต์บรรทุกไม้แปรรูปไม่ยอมให้ขับออกไป จำเลยที่ 2 ได้มาพูดกับนายดาบตำรวจ ก. กับพวกเป็นทำนองให้ปล่อยรถยนต์บรรทุกไม้แปรรูปและจำเลยที่ 1 เมื่อนายดาบตำรวจ ก. กับพวกไม่ยอม ต่อมาจำเลยที่ 2 ก็พาจำเลยที่ 1 ขึ้นรถยนต์ขับหนีไปแสดงว่าจำเลยที่ 2 รู้แล้วว่าได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น และมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิด อันมิใช่ความผิดลหุโทษจำเลยที่ 2 จึงต้องมีความผิดฐานช่วยผู้อื่นซึ่งเป็นผู้กระทำความผิด หรือเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิด อันมิใช่ความผิดลหุโทษเพื่อไม่ให้ต้องโทษ หรือไม่ให้ถูกจับกุมตาม ป.อ.มาตรา 189
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.