ว่าความ การถามพยาน.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ว่าความ การถามพยาน."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ว่าความ การถามพยาน

2 ถามพยานเพื่ออะไร ? “ความจริงที่ได้มาอย่างถูกต้องตามกระบวนการทางกฎหมาย เป็นวัตถุดิบที่ศาลนำมาใช้ชี้ขาดตัดสินคดี”

3 คำถาม หากความจริงนั้นได้มาโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง ตามกระบวนการทางกฎหมายศาลจะรับฟังหรือไม่ ?

4 ที่มาข้อเท็จจริง (๑) พยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ พยานผู้เชี่ยวชาญ (๒) การตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ (๓) ข้อสันนิษฐานทางกฎหมาย (๔) ข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป (๕) ข้อเท็จจริงที่ไม่อาจโต้แย้งได้ (๖) ข้อเท็จจริงที่คู่ความรับหรือถือว่ารับกันแล้วในศาล

5 ข้อเท็จจริงที่ศาลนำไปวินิจฉัยคดี (คดีแพ่ง)
(๑) ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้องกับประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี (๒) ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรูปคดีโดยภาพรวม

6 ข้อเท็จจริงที่ศาลนำไปวินิจฉัยคดี (คดีอาญา)
(๑) ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิด (๒) ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุยกเว้นความผิด ยกเว้นโทษ หรือลดโทษ (๓) ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมูลเหตุชักจูงใจในการกระทำความผิด

7 การถามพยานแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท
(๑) ซักถาม (๒) ถามค้าน (๓) ถามติง

8 หลักสำคัญของการถามพยาน
“พยานต้องเบิกความตามความจริง”

9 ทำไมต้องให้พยานเบิกความตามความเป็นจริง
(๑) การเบิกความเท็จเป็นความผิดอาญา (๒) หากข้อเท็จจริงใดที่ขัดต่อเหตุผลธรรมดาสามัญ ขัดกับข้อเท็จจริงที่พยานอื่นเบิกความ หรือขัดต่อข้อเท็จจริงที่ถูกบันทึกอยู่ในเอกสารหรือสิ่งอื่นใด หรือขัดต่อหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ หรือขัดต่อหลักการทางวิชาชีพอื่น ๆ ย่อมมีน้ำหนักให้รับฟังน้อย และอาจส่งผลให้ข้อเท็จจริงอื่น ๆ ที่พยานเบิกความตามความเป็นจริง น่าเชื่อถือน้อยลงไปด้วย

10 ข้อเท็จจริง “ขณะนั้นเวลาประมาณ ๒๒ นาฬิกา พยานยืนอยู่หน้าบ้าน ห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ ๕๐ เมตร บริเวณดังกล่าว มีแสงไฟสว่างจากไฟทาง พยานเห็น นาย ก. เอามีดฟันนาย ข. ที่ศีรษะหนึ่งครั้ง ในลักษณะที่นาย ก. หันหลังให้พยาน แต่เหตุที่พยานยืนยันว่า คือนาย ก. เนื่องจาก รู้จักนาย ก. มานานกว่า ๒๐ ปี และอาศัยอยู่หมู่บ้านเดียวกัน ”

11 คำถาม หากทนายความหรือพนักงานอัยการ เตรียมให้พยานเบิกความยืนยันว่า พยานเห็นนาย ก. ฟันศีรษะอย่างชัดเจน นักศึกษามีความเห็นว่า ข้อเท็จจริงดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือมาน้อยเพียงใด และส่งผลดีหรือผลเสียต่อรูปคดีอย่างไร ?

12 ซักถามพยาน “การซักถามพยาน มีความมุ่งหมายเพื่อให้พยานตอบข้อซักถามให้สมประโยชน์แก่คดีของตน”

13 หลักการเบื้องต้นในการซักถามพยาน
(๑) ต้องซักถามให้ได้ความว่า พยานเป็นใคร (๒) ต้องซักถามให้ได้ความว่า พยานเข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีได้อย่างไร (๓) ต้องซักถามให้ได้ความว่า พยานเกี่ยวข้องในส่วนใดของคดี

14 หลักการซักถามพยาน(ในคดีแพ่ง)
(๑) ต้องซักถามให้ได้ความ ตามคำฟ้อง คำให้การ หรือคำคู่ความอื่น ๆ ของฝ่ายตน (๒) ต้องซักถามให้ได้ความ สอดคล้องกับข้อความที่มีการบันทึกไว้ในเอกสารหรือหลักฐานอื่น ๆ

15 หลักการซักถามพยานในคดีอาญา (ฝ่ายโจทก์)
(๑) ต้องซักถามให้ได้ความว่า พยานอยู่ในฐานะใดในคดี (๒) ต้องซักถามให้ได้ความว่า เหตุใดพยานถึงรู้เห็นเหตุการณ์หรือเข้ามาเกี่ยวข้องในคดี (๓) ต้องซักถามให้ได้ความว่า พยานรู้เห็นเหตุการณ์ด้วยตนเองหรือจากการรับฟังคำบอกเล่าของผู้อื่น

16 หลักการซักถามพยานในคดีอาญา (ฝ่ายโจทก์)
(๔) หากพยานที่เบิกความเป็นประจักษ์พยาน ต้องซักถามให้ได้ความว่า เพราะเหตุใดพยานถึงเห็นเหตุการณ์และเพราะเหตุใดพยานจึงยืนยันว่าจำเลยคือผู้กระทำความผิด โดยอาศัยข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้เป็นตัวบ่งชี้ (๔.๑) ระยะห่างในการมองเห็นเหตุการณ์ (๔.๒) แสงสว่างในที่เกิดเหตุและที่มาของแสงสว่าง (๔.๓) สภาพสถานที่เกิดเหตุ (๔.๔) ระยะเวลาในการเห็นเหตุการณ์ (๔.๕) ความสัมพันธ์ระหว่างพยานกับจำเลย (๔.๖) สติสัมปชัญญะของพยาน

17 หลักการซักถามพยานในคดีอาญา (ฝ่ายโจทก์)
(๔.๖) หากขณะเกิดเหตุพยานไม่เห็นใบหน้าจำเลยแต่พยานยืนยันว่าจำเลยคือผู้กระทำความผิด ต้องซักถามพยานให้ได้ความว่า เพราะเหตุใดจึงยืนยันเช่นนั้น โดยอาศัยข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้บ่งชี้ (๔.๖.๑) ความสัมพันธ์ระหว่างพยานกับจำเลย (๔.๖.๒) ลักษณะทางกายภาพพิเศษของจำเลย (๔.๖.๓) เสียงของจำเลย (๔.๖.๔) วัตถุหรือสิ่งของที่เป็นของจำเลย

18 หลักการซักถามพยานในคดีอาญา (ฝ่ายโจทก์)
(๕) ต้องซักถามให้ได้ความว่า หลังเกิดเหตุ พยานได้นำข้อเท็จจริงที่พยานรู้เห็นให้ไปบอกเล่าแก่บุคคลใดหรือไม่ (๖) หากพยานเป็นผู้เสียหาย ต้องซักถามให้ได้ความว่า จำเลยมีมูลเหตุชักจูงใจอย่างไรในการกระทำความผิด

19 หลักการซักถามพยานในคดีอาญา (ฝ่ายจำเลย)
(๑) ต้องซักถามให้ได้ความว่า จำเลยกับผู้เสียหายมาความสัมพันธ์กันอย่างไร ผู้เสียหายกับจำเลยมีสาเหตุโกรธเคืองกันหรือไม่อย่างไร (๒) ต้องซักถามให้ได้ความว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยอยู่ในสถานที่เกิดเหตุหรือไม่ (๓) ต้องซักถามให้ได้ความว่า เมื่อจำเลยไม่ได้กระทำความผิดเพราะเหตุใดจำเลยจึงถูกดำเนินคดี

20 หลักการซักถามพยานในคดีอาญา (ฝ่ายจำเลย)
(๔) หากจำเลยถูกดำเนินคดีโดยรัฐ ต้องซักถามให้ได้ความว่า ในชั้นจับกุม ในชั้นสอบสวน จำเลยให้การอย่างไร (๔.๑) หากจำเลยให้การรับสารภาพเพราะเหตุใดจึงให้การไปเช่นนั้น (๔.๒) หากข้อเท็จจริงที่ถูกบันทึกไว้ในคำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวนไม่ตรงกับความเป็นจริง ต้องซักถามให้ได้ความว่า (๔.๒.๑) จำเลยให้การต่อพนักงานสอบสวนอย่างไร (๔.๒.๒) ขณะให้การจำเลยถูกกดดันหรือข่มขู่หรือไม่

21 หลักการซักถามพยานในคดีอาญา (ฝ่ายจำเลย)
(๔.๓) ขณะให้การจำเลยถูกจูงใจจากบุคคลใดหรือด้วยผลประโยชน์ใดหรือไม่ (๔.๔) พนักงานสอบสวนได้อ่านบันทึกคำให้การหรือให้จำเลยอ่านบันทึกคำให้การก่อนที่จำเลยจะลงลายมือชื่อหรือไม่ (๔.๕) เจ้าพนักงานตำรวจหรือเจ้าหน้าที่รัฐมีความเป็นกลางในการดำเนินคดีหรือไม่ (๕) หากขณะเกิดเหตุจำเลยมิได้อยู่ในสถานที่เกิดเหตุ ต้องซักถามให้ได้ความว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยอยู่ ณ สถานที่ใด และมีพยานหลักฐานใดมายืนยันว่าจำเลยอยู่ ณ สถานที่เกิดเหตุจริง

22 หลักการซักถามพยานในคดีอาญา (ฝ่ายจำเลย)
(๖) หากขณะเกิดเหตุจำเลยอยู่ในสถานที่เกิดเหตุ แต่มิได้เป็นผู้กระทำความผิด ต้องซักถามให้ได้ความว่า (๖.๑) ขณะเกิดเหตุจำเลยอยู่ ณ จุดใดของสถานที่เกิดเหตุ (๖.๒) ขณะเกิดเหตุจำเลยกระทำการใดอยู่ (๖.๓) จำเลยมีความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้องกับผู้ก่อเหตุหรือไม่อย่างไร (๖.๔) เหตุการณ์ภายหลังเกิดเหตุเป็นอย่างไร

23 เทคนิคการซักถาม (๑) ต้องซักถามตามลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แบ่งช่วงเวลาของเหตุการณ์ให้พยานเบิกความตามช่วงเวลา (๒) หากพยานเบิกความขาดรายละเอียดทั้งที่พยานรู้เห็น ต้องซักถามเพิ่มเติมให้พยานเบิกความโดยละเอียด (๓) หากข้อเท็จจริงที่พยานจะเบิกความ ถูกบันทึกอยู่ในเอกสาร ต้องอ้างส่งเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานประกอบด้วย

24 เทคนิคการซักถาม (๔.๑) อาจขออนุญาตศาลใช้คำถามนำ หรือ
(๔) หากข้อเท็จจริงที่พยานจะเบิกความเป็นข้อเท็จจริงที่มีรายละเอียดค่อนข้างมากยากที่พยานจะจดจำได้ครบถ้วน (๔.๑) อาจขออนุญาตศาลใช้คำถามนำ หรือ (๔.๒) หากข้อเท็จจริงดังกล่าวถูกบันทึกอยู่ในเอกสาร ภาพถ่ายหรือพยานหลักฐานอื่นใด ให้ซักถามพยานโดยอ้างอิงจากเอกสาร ภาพถ่าย หรือพยานหลักฐานดังกล่าว

25 เทคนิคการซักถาม (๕) หากพยานมิใช่พยานผู้เชี่ยวชาญไม่ควรตั้งคำถามในลักษณะที่ให้พยานให้ความเห็น เนื่องจากหากพยานให้ความเห็นไปในทางใดทางหนึ่งอาจส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของพยาน

26 ถามค้าน “การถามค้านไม่ใช่การหลอกถามพยาน แต่การถามเพื่อทำลายน้ำหนักคำพยาน”

27 เหตุที่ทำให้คำพยานมีน้ำหนักน้อยลง/ไม่น่าเชื่อถือ
(๑) พยานเบิกความถึงข้อเท็จจริงที่ขัดกับเหตุผลธรรมดาสามัญ (๒) พยานเบิกความถึงข้อเท็จจริงที่ขัดกับข้อเท็จจริงที่ถูกบันทึกลงในเอกสารหรือวัตถุอื่นใด (๓) พยานเบิกความถึงข้อเท็จจริงที่ขัดต่อหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ (๔) พยานเบิกความถึงข้อเท็จจริงที่ขัดต่อหลักการทางวิชาชีพ

28 เหตุที่ทำให้คำพยานมีน้ำหนักน้อยลง/ไม่น่าเชื่อถือ
(๕) พยานเบิกความถึงข้อเท็จจริงที่ได้จากการรับฟังคำบอกเล่าของบุคคลอื่นหรือจากอ่านเอกสาร มิได้รู้เห็นด้วยตนเอง (พยานบอกเล่า) (๖) พยานที่เบิกความอยู่ในฐานะผู้ร่วมกระทำความผิด (พยานซัดทอด) (๗) พยานที่เบิกความมีผลประโยชน์หรือมีความสัมพันธ์ในทางใดเป็นพิเศษกับคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง (๗) พยานที่เบิกความมีสาเหตุโกรธเคืองกับคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

29 เหตุที่ทำให้คำพยานมีน้ำหนักน้อยลง/ไม่น่าเชื่อถือ
(๘) ข้อจำกัดในการรับรู้ของพยาน (๘.๑) ระยะการมองเห็นเหตุการณ์หรือความสามารถในการมองเห็นของพยาน (๘.๒) ช่วงเวลาการมองเห็นเหตุการณ์ (๘.๓) แสดงสว่างในที่เกิดเหตุ (๘.๔) อายุของพยาน

30 เหตุที่ทำให้คำพยานมีน้ำหนักน้อยลง/ไม่น่าเชื่อถือ
(๘.๕) ความพิการทางกายของพยาน (๘.๖) สติสัมปชัญญะของพยานในขณะเกิดเหตุ

31 เทคนิคถามค้านพยาน (๑) ต้องถามค้านพยานโดยใช้ “คำถามนำ” กล่าวคือ ตั้งคำถามให้พยานตอบเพียงว่า “ใช่หรือไม่ใช่” ห้ามตั้งคำถามค้านในลักษณะที่ให้พยานอธิบายความ (๒) ต้องถามค้านพยานเฉพาะข้อเท็จจริงที่ผู้ถามรู้ว่าพยานเบิกความเท็จหรือเบิกความบิดเบือนข้อเท็จจริงหรือปกปิดข้อเท็จจริง กล่าวอีกนัยหนึ่ง ถามค้านเฉพาะคำถามที่รู้ว่าพยานจะตอบคำถามว่าอะไรเท่านั้น

32 เทคนิคถามค้านพยาน (๓) การถามค้านห้ามตั้งคำถามให้พยานตอบในลักษณะที่ขัดกับคำเบิกความตอบข้อซักถามของพยานโดยตรง เช่น “พยานเบิกความว่า พยานเห็นจำเลยยิงผู้เสียหาย” การตั้งคำถามค้านว่า พยานไม่เห็นจำเลยใช่หรือไม่ เป็นคำถามค้านที่ไม่ถูกต้อง ควรตั้งคำถามถึงข้อเท็จจริงแวดล้อมที่บ่งชี้ได้ว่า พยานไม่น่าจะเห็นจำเลย เช่น ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืนใช่หรือไม่ ขณะเกิดเหตุพยานอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุค่อนข้างมาใช่หรือไม่ ขณะเกิดเหตุพยานไม่เห็นอาวุธใช่หรือไม่ ขณะเกิดเหตุพยานตกใจกลัวใช่หรือไม่ ฯลฯ

33 เทคนิคถามค้านพยาน (๔) หากพยานเบิกความตอบข้อซักถามขัดแย้งกับข้อเท็จจริงที่ถูกบันทึกลงในเอกสารหรือวัตถุอื่นใด หรือขัดกับความเห็นของพยานผู้เชี่ยวชาญ หรือขัดต่อความเห็นของหลักวิชาชีพอื่น ๆ หรือขัดต่อพยานปากอื่นของฝ่ายตน ไม่ควรหยิบยกประเด็นดังกล่าวมาถามค้านพยานอีก มิฉะนั้นพยานจะมีโอกาสอธิบายความอีก

34 ถามติง “การถามติงคือการถามพยานให้อธิบายความถึงข้อเท็จจริงที่พยานเบิกความตอบคำถามค้านไปให้ชัดเจนขึ้นหรือมูลเหตุที่เบิกความตอบคำถามค้านไปเช่นนั้น โดยมีวัตถุประสงค์ให้คำพยานกลับมามีน้ำหนักเช่นเดิมหลังจากถูกถามค้านไปแล้ว”


ดาวน์โหลด ppt ว่าความ การถามพยาน.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google