บทที่ 3 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 3 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 3 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ
ชีววิทยา เล่ม 1 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

2 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
เนื้อหาสาระ ลักษณะทางพันธุกรรม โครโมโซมและสารพันธุกรรม การแบ่งเซลล์ โครโมโซมกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม เทคโนโลยีทางชีวภาพ ความหลากหลายทางชีวภาพ คำถามท้ายบทที่ 3 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

3 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ผลการเรียนรู้ สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ อภิปราย และสรุปเกี่ยวกับลักษณะทางพันธุกรรม สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ อภิบาย และสรุปเกี่ยวกับโครโมโซมและสารพันธุกรรม สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ อภิปราย และสรุปเกี่ยวกับการแบ่งเซลล์ สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ อภิปราย และสรุปเกี่ยวกับโครโมโซมกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ อภิบาย และสรุปเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ อภิปราย และสรุปเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ อภิปราย และสรุปเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

4 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ อภิปราย และสรุปเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ คำถามท้ายบทที่ 3 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

5 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.1 ลักษณะทางพันธุกรรม นักเรียนเคยสังเกตพบว่า สัตว์เลี้ยงเช่น สุนัขหรือแมว เมื่อมีลูกแต่ละครอก ลูกแต่ละตัวมีลักษณะบางอย่างเหมือนแม่ ลักษณะอื่นบางอย่างเหมือนพ่อ และมีอีกบางลักษณะที่ปรากฏโดยที่ไม่พบในพ่อแม่ แต่อาจเหมือนรุ่นปู่ย่าตายาย ทั้งนี้เพราะลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตมีการถ่ายทอดได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

6 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กิจกรรมที่ 3.1 ลักาณะทางพันธุกรรมที่สังเกตได้ 1. สำรวจลักษณะบางประการที่ปรากฏในตัวนักเรียนและคนในครอบครัว เช่น ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ พี่น้อง ว่ามีลักษณะใดที่เหมือนกันบ้าง 2. ระบุว่าลักษณะที่เหมือนกันนั้นปรากฏในสมาชิกคนใดของครอบครัว บันทึกผลลงในตารางบันทึกผลการสำรวจที่นักเรียนออกแบบด้วยตนเอง 3. นำเสนอและอธิบายผลการสำรวจลักษณะทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดในครอบครัว ลักษณะทางพันธุกรรมที่ปรากฏของบุคคลในครอบครัวในคนๆ หนึ่งมีลักษณะเดียว หรือมากกว่าหนึ่งลักษณะ ลักษณะนั้นๆ ได้รับการถ่ายทอดมาจากรุ่นใดบ้าง ตอบ ลักษณะทางพันธุกรรมของบุคคลหนึ่งๆ มักมีหลายลักษณะ ลักษณะนั้นๆ อาจได้รับมาจากพ่อหรือแม่ หรือปู่ ย่า ตาและยายก็ได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

7 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
จากกิจกรรมนักเรียนคงเห็นแล้วว่า คนที่เป็นญาติสายเลือดเดียวกันมักมีความคล้ายคลึงกันหลายประการ แต่ก็ยังมีบางลักษณะที่ผิดแผกกันไปบ้าง เนื่องจากได้รับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่ต่างกัน ตัวอย่างของลักษณะทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดได้ ดังภาพที่ 3-2 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

8 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
นักเรียนทราบได้อย่างไรว่าลักษณะใดเป็นลักษณะทางพันธุกรรม ตอบ ลักษณะทางพันธุกรรมเป็นลักษณะเฉพาะของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ทราบได้โดยการสำรวจสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ในแต่ละรุ่น ถ้าพบว่ามีลักษณะดังกล่าวถ่ายทอดจากรุ่นพ่อแม่ไปยังรุ่นลูกหลานต่อๆ ไปได้หรือปรากฏในบางรุ่น แสดงว่าลักษณะดังกล่าวเป็นลักษณะทางพันธุกรรม ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.2 โครโมโซมและสารพันธุกรรม ภายในนิวเคลียสของเซลล์มีสารพันธุกรรม เรียกว่า ดีเอ็นเอ และโปรตีน หลายชนิดประกอบเป็นโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นสายยาว เรียกว่า โครมาทิน ระหว่างการแบ่งเซลล์โครมาทินจะขดตัวจนมีลักษณะเป็นท่อนๆ เรียกว่า โครโมโซม แต่ละโครโมโซมจะประกอบด้วย โครมาทิด 2 เส้นยึดติดกันที่ตำแหน่งเซนโทเมียร์ ดังภาพที่ 3-3 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

10 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
เซลล์สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีจำนวนโครโมโซมคงที่ เช่น เซลล์ร่างกายของคน 1 เซลล์ มี 46 โครโมโซม โดยเป็นโครโมโซมที่มีลักษณะเหมือนกันเป็นคู่ เรียกว่า ฮอมอโลกัสโครโมโซม ตารางที่ 3.1 แสดงจำนวนโครโมโซมในเซลล์สิ่งมีชีวิตต่างๆ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

11 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.3 การแบ่งเซลล์ การแบ่งเซลล์ของสิ่งมีชีวิตพวกยูคาริโอตประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ การแบ่งนิวเคลียส และการแบ่งไซโทพลาซึม การแบ่งนิวเคลียสสามารถแบ่งออกได้ 2 แบบ คือ การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิส และการแบ่งนิวเคลียสแบบไมโอซิส การแบ่งแบบไมโทซิสเป็นวิธีการแบ่งนิวเคลียสที่ทำให้มีจำนวนโครโมโซมคงที่ ส่วนการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสเป็นการแบ่งนิวเคลียสซึ่งก่อให้เกิดการลดจำนวนโครโมโซมลงครึ่งหนึ่ง เช่น 2n เป็น n หรือจาก 4n เป็น 2n เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

12 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.3.1 การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส การแบ่งเซลล์แบบนี้เป็นการแบ่งเซลล์ของเซลล์ร่างกาย เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ในขณะที่มีการเจริยเติบโต ในร่างกายของคนและสัตว์ เซลล์บางชนิดมีการแบ่งตัวตลอดเวลาเพื่อทดแทนเซลล์ที่ตายไป เช่น เซลล์ไขกระดูก และเซลล์ผิวหนัง เป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

13 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กิจกรรมที่ 3.2 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสของปลายรากหอม วัสดุอุปกรณ์ 1. ขวดปากว้าง หรือบีกเกอร์ขนาด 50 ลบ.ซม ที่มีน้ำบรรจุอยู่ 2. ใบมีดโกน 3. ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์ 4. กล้องจุลทรรศน์ 5. สไลด์ และกระจกปิด สไลด์ 6. หลอดหยด 7. ไม้หนีบ 8. ดินสอชนิดที่มียางลบ 9. กระดาษเยื่อ 10. กรดไฮโดรคลอริก ความเข้มข้น 10% 11. น้ำกลั่น 12. สีอะซีโทคาร์มีน ความเข้มข้น 0.5 % 13. หอมแดง หรือ หอมหัวใหญ่ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

14 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
วิธีการทดลอง 1. เพาะหอมแดงหรือหอมหัวใหญ่โดยวางบนปากขวดปากกว้าง หรือวางบนบีกเกอร์ ที่มีน้ำอยู่จนรากงอกประมาณ 1-2 cm 2. ตัดปลายรากหอมยาวประมาณ 0.5 cm นำมาวางบนสไลด์ แล้วหยดกรดไฮโดรคลอริกความเข้มข้น 10% ให้ท่วม ผ่านสไลด์ไปมาบนเปลวไฟ 3-4 ครั้ง ระวังอย่าให้กรดไฮโดรคลอริกแห้ง แล้วล้างกรดไฮโดรคลอริกออกโดยหยดน้ำกลั่นลงบนสไลด์และเทออก 2-3 ครั้ง 3. ซับน้ำให้แห้งแล้วหยดสีอะโทคาร์มีน ความเข้มข้น 0.5 % ผ่านสไลด์บนเปลวไฟ ระวังอย่าให้สีเดืดและแห้ง แล้วปิดด้วยกระจกปิดสไลด์ 4. ใช้ดินสอด้านที่มียางลบติดอยู่กดเบาๆ บนกระจกปิดสไลด์เพื่อให้เซลล์กระจายแล้วใช้กระดาษเยื่อซับบริเวณข้างๆ กระจกปิดสไลด์ 5. ตรวจดูเซลล์รากหอมที่อยู่บนสไลด์ด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยใช้เลนส์ใกล้วัจุที่มีกำลังขยายต่ำสุด เลือกบริเวณในสไลด์ที่เห็นนิวเคลียส ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

15 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ลักษณะต่างๆ กัน แล้วจึงใช้เลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายสูงจนเห็นภาพชัดเจน สังเกตความแตกต่างของแต่ละเซลล์ แล้วบันทึกภาพนำมาเปรียบเทียบกับภาพที่ 3-4 ซึ่งเป็นภาพแสดงนิวเคลียสแต่ละเซลล์ของรากหอมในระยะต่างๆ ของการแบ่งเซลล์ จากกิจกรรมที่ 3.2 นักเรียนคงพบว่านิวเคลียสของแต่ละเซลลืมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจึงพบโครโมโซมในแต่ละนิวเคลียสมีลักษณะแตกต่างกันตามระยะต่างๆ ของการแบ่งเซลล์ดังภาพที่ 3-4 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

16 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

17 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
นักเรียนจะเห็นได้ว่าการแบ่งเซลล์เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน ก่อนที่จะมีการแบ่งเซลล์ เซลล์จะมีการเตรียมตัวให้พร้อมก่อน ระยะเวลาที่เซลล์เตรียมความพร้อมก่อนการแบ่งจนถึงการแบ่งนิวเคลียสและไซโทรพลาซึมสิ้น เรียกว่า วัฏจักรของเซลล์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

18 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
เซลล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปทำหน้าที่เฉพาะอย่างไปแล้วสามารถเกิดการแบ่งเซลล์ได้อีกหรือไม่ ตอบ โดยปกติแล้วเซลล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่เฉพาะอย่างแล้วจะไม่แบ่งเซลล์อีก แต่ถ้าได้รับการกระตุ้นที่เหมาะสมจะสามารถแบ่งเซลล์ได้ เช่น ตับที่ได้รับการผ่าตัด เซลล์ตับจะสามารถแบ่งเพื่อทดแทน หรือซ่อมแซมใหม่ได้ วัฏจักรของเซลล์ประกอบด้วยขั้นตอนใหญ่ 2 ขั้นตอน คือ ระยะอินเตอร์เฟส และระยะที่มีการแบ่งแบบไมโทซิส ซึ่งในแต่ละขั้นตอนมีการเปลี่ยนแปลงของนิวเคลียสและไซโทพลาซึม แบ่งเป็นระยะต่างๆ ได้อีกดังนี้ ระยะอินเตอร์เฟส เป็นระยะที่เซลล์เตรียมพร้อมก่อนที่จะแบ่งนิวเคลียสและไซโทพลาซึม เซลล์ในระยะนี้มีนิวเคลียสขนาดใหญ่และเห็นนิวคลีโอลัสชัดเจนเมื่อย้อมสี ระยะอินเตอร์เฟสแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

19 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
1. ระยะก่อนสร้าง DNA หรือระยะจี 1 เป็นระยะที่เซลล์มีการเติบโตขนาดใหญ่ขึ้นมีการสังเคราะห์สารต่างๆ 2. ระยะสร้าง DNA หรือระยะเอส เป็นระยะที่เซลล์มีการสังเคราะห์ DNA เพิ่มอีกชุดหนึ่งเรียกระยะนี้ว่า การจำลองตัวของโครโมโซม สาย DNA ในระยะนี้ยังเป็นเส้นใยโครมาทินอยู่ในนิวเคลียส 3. ระยะหลังสร้าง DNA หรือระยะจี 2 เป็นระยะที่เซลล์มีการเตรียมพร้อมที่จะแบ่งเซลล์ มีการสร้างโปรตีนและออร์แกเนลล์ต่างๆ เพิ่มขึ้น ระยะอินเตอร์เฟส ใช้เวลาประมาณเท่าใดของวัฏจักร ตอบ ประมาณ ¾ ซึ่งเป็นระยะที่กินเวลามากที่สุด ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
M phase เป็นระยะที่มีการแบ่งนิวเคลียสเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ แล้วตามด้วย การแบ่งของไวโทพลาซึม การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิสอาจแบ่งได้เป็น 4 ระยะ ดังภาพที่ 3-4 และ ภาพที่ 3-5 1. ระยะโพรเฟส เป็นระยะที่เห็นนิวเคลียสได้ชัดเจนและนิวเคลียสยังมีเยื่อหุ้มอยู่นิวคลีโอลัสสลายตัวไป โครมาทินมีการขดตัวโดยการบิดเป็นเกลียว จึงทำให้มองเห็นโครโมโซมสั้นลงและมีขนาดใหญ่ขึ้น ในเส้นใยสร้างเส้นใยสปินเดิล ซึ่งเป็นเส้นใยโปรตีน ในเซลล์สัตว์เส้นใยสปินเดิลยึดติดกับเซนโทรโซม 2. ระยะเมทาเฟส เป็นระยะที่เยื่อหุ้มนิวเคลียสสลายตัว เส้นใยสปินเดิลเข้าไปจับกับโครโมโซม และทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของโครโมโซม โดยเส้นใยสปินเดิลจะยึดกับโครโมโซมที่ไคนีโทคอร์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

21 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3. ระยะแอนาเฟส เป็นระยะที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจึงสังเกตได้ยาก เกิดจากการแยกตัวของโครมาทิดจะถูกดึงให้แยกจากกันไปในทิศทางตรงกันข้าม 4. ระยะเทโลเฟส เมื่อโครโมโซมแต่ละชุดที่เกิดจากการแบ่งในระยะแอนาเฟสถูกนำมายังขั้วของเซลล์แต่ละขั้วแล้วก้จะหยุดการเคลื่อนที่ เมื่อใกล้สิ้นสุดระยะเทโลเฟสจะเกิดการแบ่งของไซโทพลาซึมขึ้น จึงได้เซลล์ใหม่เกิดขึ้น 2 เซลล์ ซึ่งมีการแตกต่างกันระหว่างเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ การแบ่งตัวของเซลล์รากหอมในระยะเทโลเฟส นักเรียนพบการเปลี่ยนแปลงใดเกิดขึ้นในไซโทพลาซึมของเซลล์นั้นบ้าง ตอบ ในตอนปลายของระยะเทโลเฟสมีการสร้างแผ่นกั้นเซลล์คั่นตรงกลางระหว่างนิวเคลียสใหม่ทั้งสอง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

22 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
เพราะเหตุใดจึงนิยมนับจำนวนโครโมโซมของเซลล์ในระยะเมทาเฟส ตอบ เพราะ ระยะนี้โครโมโซมมีการขดตัว มีขนาดใหญ่ที่สุด การแบ่งไซโทพลาซึมในเวลล์พืช มีการสร้างแผ่นกั้นเซลล์ คั่นตรงกลาง ระหว่างนิวเคลียสใหม่ทั้งสอง โดยเริ่มสร้างจากบริเวณตรงกลางแล้วจึงขยายไปสู่ผนังเซลล์เดิมทั้งสองด้าน ต่อมามีการสร้างสารเซลลูโลสสะสมที่แผ่นกั้นเซลล์เกิดเป็นผนังเซลลืใหม่กั้นเซลล์เดิมออกเป็น 2 เซลล์ ในการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส นิวเคลียสมีวิธีการอย่างไรจึงทำให้นิวเคลียสที่เกิดขึ้นใหม่ทั้ง 2 นิวเคลียสมีปริมาณของสารพันธุกรรมหรือจำนวนโครโมโซมเท่ากับเซลล์เดิม ตอบ มีการสร้าง DNA เป็น 2 เท่า ทำให้แต่ละโครโมโซมประกอบด้วย 2 โครมาทิด การขดตัวของโครโมโซมและการเรียงตัวอยู่ตรงกึ่งกลางเซลล์ในระยะเมทาเฟส ทำให้มีการแบ่งโครมาทิดเป็น 2 กลุ่มได้ง่ายขึ้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

23 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

24 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

25 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสในเซลล์รากหอมและเซลล์หนอนตัวกลมต่างกันอย่างไร ตอบ การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสในพืชจะแตกต่างจากในสัตว์คือ เซลล์พืชจะไม่มีเซนทริโอลแต่มีไมทติกสปินเดิลกระจายออกจากขั้วของเซลล์ทั้งสองข้างตรงข้ามกัน และในระยะเทโลเฟสเซลล์พืชจะมีแผ่นกั้นเซลล์เกิดขึ้นตรงกลางระหว่างโครโมโซมสองกลุ่มต่อมาจะกลายเป็นส่วนของผนังเซลล์ส่วนเซลล์สัตว์จะมีเซนทริโอลในระยะโพรเฟส มีการสร้าง ไมโทติกสปินเดิลจากเซนทริโอลไปยังโครโมโซมในระยะเทโลเฟส ไซโทพลาซึม ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

26 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ถ้าหากว่าเซลล์ของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งมีโครโมโซมอยู่ 4 โครโมโซมในระยะอินเตอร์เฟส นักเรียนคิดว่าภายหลังการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสจะได้เซลล์ใหม่กี่เซลล์ และในแต่ละเซลล์จะมีจำนวนโครโมโซมอยู่กี่โครโมโซม ตอบ 2 เซลล์ แต่ละเซลล์จะมี 4 โครโมโซม การจำลองโครโมโซมมีความสำคัญต่อการแบ่งเซลล์อย่างไร ตอบ ทำให้โครงสร้างของโครมาทิดของแต่ละโครโมโซมเหมือนกันทุกประการ เซลล์ใหม่ที่ได้จากการแบ่งจึงมีโครโมโซมที่มีโครงสร้างและองค์ประกอบเหมือนเซลล์เดิม ถ้าเส้นใยสปินเดิลไม่ดึงโครมาทิดแยกออกจากกัน จะเกิดอะไรขึ้น ตอบ เซลล์จะไม่สามารถแบ่งโครโมโซมให้มีจำนวนเท่ากันได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

27 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กิจกรรมที่ 3.3 แผนผังมโนทัศน์เรื่องไมโทซิส ให้นักเรียนทำกิจกรรมต่อไปนี้ 1. เขียนแผนผังมโนทัศน์ เรื่องการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

28 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
2. เขียนไดอะแกรมแสดงจำนวนโครโมโซมของเซลล์เดิม และเซลล์ใหม่ที่เกิดจากการแบ่งแบบไมโทซิส ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

29 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.3.2 การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส การแบ่งเซลล์แบบนี้ นิวเคลียสมีการเปลี่ยนแปลงโดยลดจำนวนโครโมโซมลงครึ่งหนึ่งเป็นการแบ่งเซลล์สืบพันธุ์ในสัตว์หรือสร้างสปอร์ในพืช การที่เซลล์มีโครโมโซมเป็นคู่เหมือนกันนี้เนื่องจาก ได้รับการถ่ายทอดมาจากไซโกตซึ่งเกิดจากการปฏิสนธิของเวลลืไข่และอสุจิจึงมีโครโมโซมเป็น 2 ชุด หรือ 2n เป็น เซลล์ดิพลอยด์ เมื่อย่างเข้าสู้วัยเจริญพันธุ์เซลล์ในอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ที่มีโครโมโซมในนิวเคลียสเพียง 1 ชุด หรือเมื่อมีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส โครโมโซมจะลดลงครึ่งหนึ่งได้ เซลล์แฮพอยด์ การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสนี้มีการแบ่งนิวเคลียส 2 ครั้ง นิยมใช้เลขโรมัน I หรือ II กำกับระยะต่างๆ เพื่อให้ทราบว่าเป็นการแบ่งครั้งใด ดังภาพที่ 3-9 และ 3-10 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

30 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

31 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

32 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กิจกรรมที่ 3.4 การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสในเวลล์พืช วัสดุอุปกรณ์ 1. ช่อดอกกุยช่าย 2. สไลด์และกระจกปิดสไลด์ 3. สารละลายอะซีโทออร์ซีน หรืออะซีโทคาร์มีนความเข้มข้น 0.5-2% 4. แท่งแก้วคนสาร 5. ชุดตะเกียงแอลกอฮอล์ 6. กระดาษเยื่อ 7. ไม้หนีบ 8. กล้องจุลทรรศน์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

33 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
วิธีการทดลอง 1. วางอับเรณูของดอกกุยช่าย 1-2 อัน ลงบนสไลด์ที่สะอาด 2. ใช้ปลายแท่งแก้วคนสารด้านทู่บดอับเรณูของดอกไม้ให้แตกให้เซลล์กระจายออกจากกัน 3. หยดสีอะซีโทออร์ซีน หรือ อะซีโทคาร์มีน ความเข้มข้น 0.5-2% 1 หยด บนอับเรณู 4. อุ่นสไลด์ให้ร้อนเหนือเปลวไฟของตะเกียงพอร้อนอย่าให้เดือด แล้วปิดด้วยกระจกปิดสไลด์ 5. วางสไลด์ระหว่างกระดาษเยื่อที่พับหนา 3-4 ชั้น จับขอบข้างหนึ่งของสไลด์ แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือกดบนกระจกปิดสไลด์ที่มีกระดาษเยื่อหุ้มอยู่ อย่าให้กระจกปิดสไลด์เลื่อน 6. เช็ดสีตามขอบกระจกปิดสไลด์ แล้วนำไปส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

34 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ระยะใดที่โครโมโซมขดสั้นที่สุดและระยะใดที่โครโมโซมลดจาก 2n เป็น n ตอบ metaphase I และ metaphase II เป็นระยะที่โครโมโซมขดสั้นที่สุด ส่วนระยะ anaphase I เป็นระยะที่โครโมโซมลดจาก 2n เป็น n เซลล์ที่ได้จากการแบ่งในระยะเทโลเฟส II จะเจริญเป็นอะไร ตอบ ไมโครสปอร์วึ่งต่อไปจะเจริญเป็นละอองเรณู จากภาพที่ 3-9 และ 3-10 และจากกิจกรรมที่ 3.4 นักเรียนจะได้ทราบรายละเอียดของการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส ดังต่อไปนี้ ระยะอินเตอร์เฟส ก่อนที่เซลล์จะแบ่งตัวแบบไมโอซิส เซลล์มีการเตรียมพร้อมเช่นเดียวกับการแบ่งแบบไมโทซิส ระยะไมโอซิส I เป็นการเปลี่ยนแปลงของนิวเคลียสและ ไซโทพลาซึม ประกอบด้วยระยะต่างๆ ดังนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

35 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ระยะโพรเฟส I มีการเปลี่ยนแปลงที่คล้ายกับการแบ่งแบบ ไมโอซิส คือ โครมาทินจะขดตัวสั้นลงและหนาขึ้น แต่มีปรากฎการณ์ที่แตกต่างจากไมโทซิสคือ โครโมโซมที่เป็นฮอมอโลกัสกันจะเรียงตัวอยู่เป็นคู่กัน แต่ละคู่ของฮอมอโลกัสโครโมโซมมี 4 โครมาทิด และอาจเกิดการไขว้กันของโครมาทิด เรียกว่า ครอสซิงโอเวอร์ ตำแหน่งที่ไขว้กันเรียกว่า ไคแอสมา ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

36 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ระยะเมทาเฟส I ในระยะนี้เส้นใยสปินเดิลที่ยึดเกาะกับฮอมอโลกัสดครโมโซมจะจัดให้โครโมโซมมาเรียงตัวอยู่เป็นคู่ๆ ตามแนวระนาบของเมทาเฟสเพลท ซึ่งอยู่บริเวณกึ่งกลางของเซลล์ โดยมี เซนโทรโซมอยู่ด้านตรงข้ามของเซลล์เชื่อมต่อกันด้วยเส้นใยสปินเดิล ปลายด้านหนึ่งของเส้นใยสปินเดิลเกาะที่ไคนีโทคอร์ซึ่งเป็นโปรตีนบริเวณเซนโทรเมียร์ของแต่ละโครโมโซม ระยะแอนาเฟส I เป็นระยะที่มีการแยกโครโมโซมออกจากกัน คล้ายกับการแบ่งแบบไมโทซิส แต่เป็นการแยกโครโมโซมที่คู่ออกจากกันไปด้านตรงข้ามของเซลล์โดยแจ่ละโครโมโซมประกอบด้วย 2 โครมาทิด ระยะเทโลเฟส I โครโมโซมในระยะนี้มีการสร้างเยื่อหุ้มนิวเคลียสขึ้นมาล้อมรอบ ได้นิวเคลียสใหม่ 2 นิวเคลียสและมีการสร้างนิวคลีโอลัสขึ้นมาใหม่ แต่ละโครโมโซมมี 2 โครมาทิด จำนวนโครโมโซมในระยะนี้ลดลงครึ่งหนึ่งหรือเท่ากับ n ถ้าเซลล์เริ่มต้นเป็น 2n ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

37 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ระยะไมโอซิส II เกิดขึ้นต่อเนื่องจากไมโอซิส I โดยไม่มีการจำลองโครโมโซม การแบ่งนิวเคลียสในไมโอซิส II ประกอบด้วยระยะต่างๆ ได้แก่ โพรเฟส II เมทาเฟส II แอนาเฟส II และเทโลเฟส II เมื่อสิ้นสุดการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสจึงได้เซลล์ใหม่ 4 เซลล์มีจำนวนโครโมโซมเท่ากับครึ่งหนึ่งของเซลล์เดิม การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสเป็นวัฏจักรหรือไม่ ตอบ ไม่เป็น เพราะ เซลล์ที่ได้จะเจริญต่อไปเป็นเซลล์สืบพันธุ์ และเซลล์สืบพันธุ์จะไม่แบ่งเซลล์อีก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

38 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ให้นักเรียนเขียนไดอะแกรมการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส เมื่อกำหนดให้เซลล์ตั้งต้นมีจำนวนโครโมโซม 2n = 16 ตอบ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

39 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
เพราะเหตุใดเซลล์ที่เกิดจากการแบ่งแบบไมโอซิสจึงมีจำนวนโครโมโซมแตกต่างจากเซลล์เดิม ตอบ เซลล์ที่เกิดจากการแบ่งแบบไมโอซิสจะมีจำนวนโครโมโซมเป็นครึ่งหนึ่งของเซลล์เดิม เพราะในการแบ่งเซลล์แบบนี้จะมีการแบ่งนิวเคลียส 2 ครั้ง ครั้งแรกแบ่งฮอมอโลกัสดครโมโซม ส่วนครึ่งที่สองแบ่งโครมาทิดของแต่ละโครโมโซม การแบ่งแบบนี้จะเป็นการแบ่งเซลล์เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ การที่เซลล์สืบพันธุ์มีจำนวนโครโมโซมเป็นครึ่งหนึ่งของเซลล์เริ่มต้นมีความสำคัญอย่างไร ตอบ มีความสำคัญดังนี้ ถ้าสิ่งมีชีวิตมีเซลล์เริ่มต้นที่มีโครโมโซม 2 ชุด เมื่อแบ่งแบบไมโอซิส เซลล์สืบพันธุ์จะมีโครโมโซมเหลือเพียงชุดเดียว เมื่อมีการปฏิสนธิเกิดขึ้นไวโกตที่ได้จะมีจำนวนโครโมโซมคงเดิม ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

40 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.4 โครโมโซมกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม จากการทดลองในแบคทีเรียและไวรัสพบว่า DNA เป็นสารพันธุกรรมที่บรรจุข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตไว้ ส่วนโปรตีนนั้นแม้จะไม่ใช่สารพันธุกรรมแต่ก็ทำหน้าที่สำคัญอย่างยิ่งในเชิงโครงสร้าง ดังนั้นโครโมโซมแต่ละแท่งจึงประกอบด้วยสาย DNAมีความยาวถึง 4.8 cm ในขณะที่ โครโมโซมแต่ละแท่งของคนมีความยาวเฉลี่ยเพียง 6 ไมโครเมตรเท่านั้น แต่จะต้องบรรจุสาย DNA ที่ยาวกว่าโครโมโซมถึง 8000 เท่าให้ได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

41 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

42 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
โครงสร้างพื้นฐานของ DNA DNA เป็นสารจำพวกกรดนิวคลิอิก ประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ มีโครงสร้างพื้นฐานประกอบด้วย 1. น้ำตาลใน DNA จะมีน้ำตาลชนิดดีออกซีไรโบสซึ่งมีคาร์บอน 5 อะตอม 2. ไนโตรจีนัสเบส ซึ่งมีอยู่ 4 ชนิด ได้แก่ อะดีนีน ไทมีน ไซโทซีน และกวานีน 3. หมู่ฟอสเฟต ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

43 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

44 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
DNA ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์หลายนิวคลีโอไทด์เรียงต่อกันเป็นสายยาวสองสายพันกันเป็นเกลียวคู่วนขวา ดังภาพที่ 3-14 ก. แต่ละนิวคลีโอไทด์ภายในสายเดียวกันจะเชื่อมต่อกันระหว่างหมู่ฟอสเฟตและน้ำตาล ส่วนระหว่างสายยาวสองสายจะยึดกันด้วยพันธะระหว่างหมู่เบสที่เหมาะสม คือ เบสอะดีนีนจับคู่กับเบสไทมีน(A-T) และเบสกวานีนจับคู่กับเบสไซโทซีน(C-G) เสมอ ดังภาพที่ 3-14 ข. ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

45 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

46 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
โครงสร้างของ DNA มีความสัมพันธ์กับหน้าที่สารพันธุกรรม กล่าวคือ 1. การจับคู่เบสใน DNA มีความจำเพาะเจาะจง เซลล์จึงสามารถจำลอง DNA ขึ้นมาใหม่โดยมีลักษณะเหมือน DNA ต้นแบบ ข้อมูลทางพันธุกรรมจึงถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นได้ 2. ลำดับนิวคลีโอไทด์ใน DNA สามารถควบคุมให้เซลล์สังเคราะห์โปรตีนและสารต่างๆ ได้เพื่อแสดงลักษณะทางพันธุกรรมให้ปรากฏ 3. ลำดับนิวคลีโอไทด์ใน DNA เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ทำให้เกิดลักษณะทางพันธุกรรมที่แตกต่างไปจากเดิม และส่งผลให้สิ่งมีชีวิตมีความหลากหลายทางพันธุกรรม ยีนที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมจะอยู่เป็นคู่ๆ ในตำแหน่งเดียวกันบนฮอมอโลกัสโครโมโซม แต่ละคู่จะควบคุมลักษณะเดียวกันซึ่งอาจมีหลายรูปแบบ มักจะเขียนแทนด้วยตัวอักษร เช่น A แทนยีนที่ควบคุมลักษณะเด่น หรือ a แทนยีนที่ควบคุมลักษณะด้อย เรียกยีนที่ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

47 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ควบคุมลักษณะเดียวกันแต่ให้รูปแบบของลักษณะต่างกันว่า แอลลีล ลักาณะทางพันธุกรรมที่ปรากฏจะขึ้นอยู่กับแอลลีลในแต่ละโครโมโซม เช่น ยีนที่ควบคุมลักษณะคางบุ๋มปรากฏอย่างน้อย 2 แบบ ให้ชื่อเรียกว่าแอลลีล N และ n ดังนั้นแบบของคู่ยีนที่ควบคุมลักษณะคางบุ๋มหรือ จีโนไทป์ ของลักษณะคางบุ๋มจึงมีได้ 3 แบบ คือ NN Nn และ nn ส่วนลักษณะที่แสดงออกเรียกว่า ฟีโนไทป์ ในกรณีนี้มีได้ 2 แบบ คือ ลักษณะคางบุ๋ม และลักาณะคางไม่บุ๋ม ดังภาพที่ 3-15 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

48 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

49 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ลักษณะทางพันธุกรรมถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกผ่านโครโมโซมได้ดังภาพที่ 3-16 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

50 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
เพราะเหตุใดฟีดนไทป์ของลักษณะคางบุ๋ม จึงมีได้ 2 แบบ ในขณะที่จีโนไทป์มีได้ 3 แบบ ตอบ เพราะ แอลลีล N ที่ควบคุมลักษณะคางบุ๋มเป็นแอลลีลเด่น สามารถบดบังผลของแอลลีล n ที่ควบคุมลักษณะคางไม่บุ๋มไว้ได้ ดังนั้นคนที่มีจีโนไทป์ Nn จึงมีลักษณะคางบุ๋มเหมือนคนที่มีจีโนไทปื NN ดังนั้น ลักษณะคางจีงมีฟีโนไทปืได้ 2 แบบ ขณะที่มีจีโนไทป์ 3 แบบ ลักษณะคางบุ๋มเป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะด้อย นักเรียนทราบได้อย่างไร ตอบ ลักษณะคางบุ๋มเป็นลักษณะเด่น เพราะบุคคลที่มีจีโนไทป์ Nn มีลักษณะคางบุ๋ม สิ่งใดกำหนดจีโนไทป์ของพ่อและแม่ ตอบ ยีนในเซลล์สืบพันธุ์ของปู่ย่า และตายาย ตามลำดับ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

51 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ฟีโนไทป์ของพ่อ แม่ และลูกในภาพที่ 3-16 เป็นอย่างไร ตอบ ฟีโนไทป์ของพ่อ คือ คางบุ๋ม (พันธุ์ทาง) ฟีโนไทป์ของแม่ คือ คางบุ๋ม (พันธุ์แท้) ฟีโนไทป์ของลูก คือ คางบุ๋ม (มีจีโนไทป์ 2 แบบ คือ NN 50% และ Nn 50 %) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

52 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.5 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม การศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมของคนทำได้โดยการสืบประวัติครอบครัวซึ่งมีลักษณะที่ต้องการศึกษาหลายๆชั่วอายุคน ดังที่นักเรียนได้ศึกษาในกิจกรรมที่ 3.1 จากนั้นนำข้อมูลมาเขียนแผนผังแสดงบุคคลที่ได้รับการถ่ายทอดลักษณะที่ศึกษาเรียกแผนผังดังกล่าวนี้ว่า เพดดีกรี ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

53 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

54 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กิจกรรมที่ 3.5 การเขียนเพดดีกรี ให้นักเรียนเขียดเพดดีกรีแสดงการถ่ายทอดลักษณะนิ้วเกินในครอบครัวต่อไปนี้ “ศรรามมีนิ้วมือ 12 นิ้ว แต่งงานกับสมใจซึ่งมีจำนวนนิ้วมือปกติ ได้ลูกชายคนแรกมีนิ้วเกินเหมือนพ่อ สมใจก้ได้แต่สงสารลูกที่ร่างกายไม่เหมือนคนอืน เมื่อลุกชายเติบโตขึ้นเป็นเด็กน่ารักแจ่มใสและหยิบจับทำกิจกรรมต่างๆได้ไม่ต่างจากคนอื่น สมใจจึงเห็นว่าความผิดปกตินี้ไม่ได้ส่งผลเสียต่อการดำรงชีวิตจึงได้ตัดสินใจมีลูกเพิ่มอีก และได้ลูกคนรองเป็นหยิงมีนิ้วมือ 10 นิ้วตามปกติและลูกคนเล็กก็เป็นหญิงอีกเช่นกัน แต่โชคไม่ดีที่มีนิ้วเกินเหมือนพี่ชายต่อมาลูกสาวทั้งคู่แต่งงาน ลูกสาวคนแรกมีลูกชาย 2 คน ต่างก็มีจำนวนนิ้วมือปกติ ส่วนลูกคนเล็กของศรรามและสมใจมีลูกสาว 1 คน ซึ่งมีจำนวนนิ้วมือ 12 นิ้ว แต่ก็ได้รับความรักความเอ็นดูเป็นอย่างมากจากตายายและลุงที่แต่งงานแต่ไม่มีบุตร” ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

55 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

56 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การบรรยายด้วยข้อความกับการเขียนเพดดีกรี แสดงแบบแผนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมได้ชัดเจนแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร ตอบ แตกต่างกัน การเขียนเพดดีกรีจะช่วยให้สังเกตการถ่ายทอดลักษณะในแต่ละรุ่นได้ชัดเจน และสามารถบอกได้ว่าลักษณะพันธุกรรมนั้นเป็นลักษณะเด่นหรือด้อย ควบคุมโดยยีนบนโครโมโซมร่างกาย หรือ โครโมโซมเพศ หากนักเรียนเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันุกรรมจะตัดสินใจมีบุตรหรือไม่ เพราะเหตุใด ตอบ มี เพราะถ้าเป็นโรคเหมือนกันทั้งฝ่ายหยิงและฝ่ายชายจะทำให้ลุกมีโอกาสเป็นโรคพันธุกรรมนั้นๆได้จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจว่าจะมีบุตรหรือไม่ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

57 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กิจกรรมที่ 3.6 การถ่ายทอดลักษณะของโรคธาลัสซีเมีย ให้นักเรียนศึกษาข้อมุลเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะของโรคธาลัสซีเมีย สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมียในประเทศไทย แล้วอภิปราย ผู้ที่มียีนธาลัสซีเมียทั้งที่เป็นโรคและเป็นพาหะ สามารถถ่ายทอดยีนที่ผิดปกติไปสู่ลูกหลานได้ดังนี้ ก. ในกรณีที่พ่อหรือแม่เป็นพาหะเพียงคนเดียวโดยอีกฝ่ายปกติ โอกาสในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจะเป็นดังนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

58 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ข. ในกรณีที่พ่อและแม่เป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียทั้งสองคน ดอกาสในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจะเป็นดังนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

59 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ค. เมื่อพ่อหรือแม่เป็นโรคเพียงคนเดียวและอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพาหะ โอกาสในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจะเป็นดังนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

60 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ให้นักเรียนอธิบายการถ่ายทอดลักษณะของโรคธาลัสซีเมียในแต่ละกรณี โดยระบุโอกาสเสี่ยงของการมีลูกเป็นโรคธาลัสซีเมียและเป็นพาหะ ของโรค ตอบ การถ่ายทอดยีนธาลัสซีเมียในแต่ละกรณีสามารถแสดงในรูป เพดดีกรี และโอกาสเสี่ยงของการมีลูกเป้นโรคธาลัสซีเมีย เป็นดังนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

61 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

62 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ค. ในกรณีที่พ่อหรือแม่เป็นโรคเพียงคนเดียว และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพาหะ โอกาสที่ลูกจะเป็นโรคเท่ากับ 2 ใน 4 (50%) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

63 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
นักเรียนคิดว่าจะสามารถป้องกันการเกิดโรคธาลัสซีเมียได้อย่างไรบ้าง ตอบ ทำได้โดยการตรวจสอบประวัติครอบครัวของคู่แต่งงานมีคนเป็นโรคธาลัสซีเมียหรือไม่ ถ้าพบว่ามีคนเป็นโรคธาลัสซีเมียในครอบครัวของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งย่อมมีโอกาสเสี่ยงที่คู่แต่งงานจะมีบุตรที่เป็นโรคได้ ปัจจุบันประเทศไทยมีผุ่ป่วยโรคธาลัสซีเมียจำนวนกี่คน คิดเป็นร้อยละเท่าใดของประชากรทั้งประเทศ ตอบ สถิติผู้ป่วยในปี พ.ศ จากภาคอีสานพาหะมี 23.86% ภาคเหนือ 30% ภาคใต้ 16% ภาคกลาง 20-25% ส่วนจังหวัดอุดรธานี 23.86% หนองคาย 19.23% หนองบัวลำภู 11.76% และเลย 29.63% ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

64 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
นักเรียนเคยเรียนรู้มาแล้วว่า คนมีโครโมโซมอยู่ 23 คู่ จัดเป็น ออโตโซม 22 คู่ และโครโมโซมเพศ 1 คู่ ออโตโซมแต่ละคู่จะมีขนาดและรูปร่างเหมือนกัน ส่วนโคโมโซมเพศมี 2 แบบ คือ โครโมโซม X และโครโมโซม Y เพศหญิงจะมีโครโมโซม X 1 คู่ ส่วนเพศชายจะมีทั้งโครโมโซม X และ Y ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

65 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กิจกรรมที่ 3.7 ทดสอบตาบอดสี ตอนที่ 1 คนที่ตาบอดสีจะมองเห็นสีผิดไปจากคนปกติ เช่น คนที่ตาบอดสีแดงและสีเขียว จะมีปัญหาในการแยกสีทั้งสองสี ให้นักเรียนทดสอบการมองเห็นจากสิ่งที่ปรากฏบนวงกลมทั้ง 3 ภาพ แล้วบอกว่ามองเห็นอะไรบ้าง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

66 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
สิ่งที่นักเรียนเห็นในภาพ 1 2 และ3 เหมือนหรือแตกต่างจากที่นักเรียนคนอื่นเห็น ตอบ ถ้านักเรียนที่มีตาปกติไม่บอดสีจะมองเห็นตัวเลขที่อยู่ในภาพที่ เป็นเลข 6,45 และ 8 ตามลำดับ ถ้านักเรียนที่มองภาพตัวเลขไม่เห็นในภาพหนึ่งแสดงว่านักเรียนอาจมีภาวะตาบอดสี แดงหรือสีเขียวเกิดขึ้น ตอนที่ 2 ให้นักเรียนศึกษาเพดดีกรี แสดงการถ่ายทอดลักษณะตาบอดสีของบุคคลในครอบครัวหนึ่งแล้วตอบคำถาม ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

67 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ลูกสาวของชายหญิงคู่นี้เป็นพาหะของลักษณะตาบอดสีหรือไม่ ตอบ ลูกสาวเป็นพาหะทั้ง 2 คน ส่วนลูกชายตาปกติ ในกรณีใดบ้างที่ครอบครัวจะมีลูกสาวตาบอดสีได้ ตอบ กรณีที่ผู้หญิงเป็นพาหะของลักษณะตาบอดสี หรือผู้หญิงตาบอดสีแต่งงานกับผู้ชายตาบอดสี มีโอกาสที่ลูกสาวจะตาบอดสีได้ เพราะเหตุใดลักษณะตาบอดสีส่วนใหญ่จะปรากฏในเพศชาย ตอบ เพราะผู้ชายมีโครโมโซม x แท่งเดียว และลักษณะตาบอดสีเป็นลักษณะที่ถูกควบคุมด้วยยีนด้อยบนโครโมโซม x นักเรียนคิดว่าจำเป็นต้องทดสอบภาวะตาบอดสีประกอบการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานในบางอาชีพหรือไม่ อย่างไร ตอบ จำเป็น เพราะคนที่ตาบอดสีมองเห็นสีผิดไปจากความจริง ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายตามมา ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

68 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ลักษณะตาบอดสี เป็นลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนด้อย กำหนดให้ c แทนแอลลีลที่ควบคุมลักษณะตาบอดสี และ C แทนแอลลีลที่ควบคุมลักษณะตาปกติ ยีนคู่นี้อยู่บนโครโมโซม X สำหรับจีโนไทป์และฟีโนไทป์ของลักษณะตาบอดสี แสดงในตารางที่ 3.2 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

69 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ภาวะพร่องเอนไซม์กลูโคส -6- ฟอสเฟต ดีไฮโดรจีเนส ควบคุมโดยยีนด้อยในโครโมโซม X เช่นเดียวกับภาวะตาบอดสี ผู้ที่ขาดเอนไซม์ดังกล่าวนี้จะมีอาการแพ้ยาและอาหารบางชนิดอย่างรุนแรง ลักษณะด้อยที่ควบคุมด้วยยีนที่อยู่บนโครโมโซม X จะพบได้ในเพศชายได้บ่อยกว่า ให้นักเรียนอธิบายการถ่ายทอดลักษณะด้อยที่ควบคุมด้วยยีนบนโครโมโซม X ในเพศหญิง ตอบ ในกรณีที่ผู้หญิงมีลักษณะด้อย ลักษณะด้อยนั้นจะถ่ายทอดไปยังลูกชายทุกคน แต่ลูกสาวจะไม่แสดงลักษณะด้อยเลยถ้าพ่อไม่มีลักษณะด้อยนั้นด้วย กรณีที่ผู้หญิงเป็นพาหะ ถ้าแต่งงานกับผู้ชายที่มีลักาณะด้อยโอกาสที่ลูก จะมีลักษณะด้อย 50% จะเห็นได้ว่าลักษณะด้อยที่ควบคุมด้วยยีนบนโครโมโซม X จะถ่ายทอดจากแม่ไปยังลูกชายเสมอ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

70 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ยีนที่กำหนดลักาณะหมู่เลือดระบบ ABO ของคนมี 3 แอลลีล คือ IA IB และ I ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการสังเคราะห์แอนติเจนบนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง หมู่เลือด ABO มีจีโนไทป์และฟีโนไทป์ ดังตารางที่ 3.3 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

71 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กิจกรรมที่ 3.8 หมู่เลือดระบบ ABO 1. เด็กชายปัญญามีเลือดหมู่ AB แม่ของเขามีเลือดหมู่ B ดังนั้นพ่อของขาจะมีเลือดหมู่ใด ตอบ เด็กชายปัญญามีเลือด AB แม่ของเขามีเลือดหมู่ B ดังนั้นพ่อของเขาอาจมีเลือดหมู่ A หรือ AB ก็ได้ 2. ให้นักเรียนเติมหมู่เลือดของลูกที่น่าจะเป็นไปได้ลงในตาราง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

72 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.6 การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม 3.6.1 มิวเทชัน มิวเทชันเป็นการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในระดับยีนหรือโครโมโซม ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ DNA โดย มิวเทชันที่เกิดในเซลลืสืบพันธุ์จะถ่ายทอดไปสู่รุ่นลุกหลานได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

73 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กิจกรรมที่ 3.9 มิวเทชันของสิ่งมีชีวิต ให้นักเรียนสืบค้น รวบรวมตัวอย่างและข้อมูลเกี่ยวกับมิวเทชันของสิ่งมีชีวิต แล้วนำเสนอ 1. มิวเทชันเกิดขึ้นได้อย่างไร ตอบ มิวเทชันเป็นการเปลี่ยนแปลงในดมเลกุล DNA หรือ การเปลี่ยนแปลงของโครโมโซม สามารถเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติด้วยอัตราการเกิดที่ต่ำมาก มิวเทชันที่เกิดขึ้นเองนี้เป็นผลจากความผิดพลาดโดยบังเอิญขระที่มีการจำลอง DNA ฟรือ ถูกรบกวนจากรังสีในธรรมชาติ อัตราการเกิดมิวเทชันจะสุงขึ้นถ้าไดรับการชักนำโดย สิ่งก่อการกลาย หรือมิวทาเจน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

74 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
2. ประโยชน์และโทษของมิวเทชัน ตอบ ส่วนใหญ่แล้วมิวเทชันที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมักทำให้ได้ลักษณะที่ ไม่ดี หรือเป็นผลเสียต่อสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะนั้นดนื่องจากเป็นลักษณะที่ไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม เช่นกระรอกเผทอก ปลาเผือก งูเผือก อย่างไรก็ตามมุษย์อาจพึงพอใจในลักษณะเผือกของสัตว์เหล่านี้ จึงมีการนำสัตว์เผือกมาเลี้ยงไว้ ทำให้มีโอกาสอยู่รอด และถ่ายทอดยีนต่อไปได้ โดยทั่วไปการเกิดมิวเทชันจะนำมาซึ่งลักษณะไม่พึงประสงค์ เช่นเป็นโรคมะเร็งหรือโรคทางพันธุกรรมต่างๆ เป็นต้น แต่การเกิดมิวเทชันบางลักษณะก็เป็นความแปลกใหม่ที่มนุษย์ชื่นชอบ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

75 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ใช้ประโยชน์จากรังสีเพื่อเร่งอัตรการเกิดมิวเทชัน โดยการนำส่วนต่างๆ ของพืชมาฉายรังสี เช่น การฉายรังสีแกมมากับเนื้อเยื่อจากหน่อหรือเหง้าของพุทธรักษา ทำให้ได้พุทธรักษาสายพันธุ์ใหม่หลายสายพันธุ์ ดังภาพที่ 3-19 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

76 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

77 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
มิวเทชันก่อให้เกิดลักษณะทางพันธุกรรมที่เป็นประโยชน์ ในขณะเดียวกันก็สามารถนำมาซึ่งลักษณะที่ไม่ต้องการได้ นักเรียนคิดว่าจะหลีกเลี่ยงลักษณะที่ไม่พึงประสงค์นี้ได้หรือไม่ อย่างไร ตอบ เนื่องจากอัตราการเกิดมิวเทชันสูงขึ้นโดยการชักนำของสารเคมีบางชนิดรังสี และไวรัสจึงควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดมิวเทชันเหล่านี้ เช่น ไม่ควรรับประทานอาหารที่ใช้ดินประสิวในการถนอมอาหารมากเหินไป ไม่รับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อรา หลีกเลี่ยงการได้รับรังสีต่างๆเป็นต้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

78 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.6.2 การคัดเลือกโดยธรรมชาติ ความแปรผันทางพันธุกรรมทำให้สิ่งมีชีวิตที่เกิดใหม่มีลักษณะแตกต่างกันไป ความแตกต่างระหว่างแต่ละสิ่งมีชีวิตนี้มีผลต่อการอยุ่รอด จึงพบว่าสิ่งมีชีวิตที่เกิดมาส่วนหนึ่งจะตายก่อนถึงวัยเจริญเติบโตเต็มที่ สำหรับสิ่งมีชีวิตที่สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้นั้นมักจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักาณะเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพและทางชีวภาพ ชาลส์ ดาร์วิน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษวึ่งเป็นผู่เสนอทฤษฎีวิวัฒนาการ เรียกสิ่งมีชีวิตที่อยู่รอดเหล่านี้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่ได้รับ การคัดเลือกโดยธรรมชาติ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

79 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ดาร์วินในขณะที่มีอายุ 22 ปี ได้ออกเดินทางไปกับเรือบีเกิล เพื่อสำรวจศึกษาธรรมชาติตามเส้นทางรอบทวีปอเมริกาใต้ ทวีปออสเตรเลีย ผ่านมหาสมุทรอินเดียและตอนใต้ของทวีปแอฟริกา รวมเป็นระยะเวลาประมาร 5 ปี สิ่งที่ดาร์วินได้พบเห็นระหว่างการเดินทางครั้งนั้นทำให้เขามีแนวคิดว่า สิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการผ่านกาลเวลานับล้านปี โดยสิ่งมีชีวิตแต่ละรุ่นจะมีลักษณะแตกต่างกัน กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมจะอยู่รอดและสืบทอดลุกหลานต่อไป ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

80 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

81 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กิจกรรมที่ 3.10 การคัดเลือกโดยธรรมชาติ ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับตัวอย่างการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ทั้งที่บันทึกไว้โดย ชาลล์ ดารืวิน และตัวอย่างอื่นๆ นอกเหนือจากในบทเรียน แล้วนำเสนอและอภิปรายร่วมกัน ประเด็นเสนอแนะสำหรับการอภิปราย 1. ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตที่นักเรียนรวบรวม มีอะไรบ้าง 2. สิ่งมีชีวิตในตัวอย่างมีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมจนมีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมอย่างไร 3. ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการอยู่รอดและเพิ่มจำนวนของสิ่งมีชีวิต ตอบ ทรัพยากร ผู้ล่า ปัจจัยทางกายภาพ 4. ยกตัวอย่างลักษณะทางพันธุกรรมที่เอื้อให้สิ่งมีชีวิตอยู่รอดและได้รับการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ตอบ สีขนในกระต่าย หมี สุนัขจิ้งจอก ที่อาศัยอยู่ในป่าส่วนใหญ่มีสีน้ำตาล ก็เพื่อให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

82 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

83 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ดาร์วินอธิบายความหลากหลายของนกฟินช์ชนิดต่างๆบนหมู่เกาะกาลาปากอสว่า เดิมเมื่อกลุ่มนกฟินช์กลุ่มแรกที่เข้ามาอาศัยบริเวณนี้อาจไม่ได้มีลักาณะหลากหลายดังเช่นที่เขาพบ ต่อมาเมื่อนกกลุ่มแรกนี้มีประชากรเพิ่มขึ้นส่งผลให้เกิดการขาดแคลนอาหารที่เคยกินเป็นประจำประชากรนกฟินช์บางกลุ่มที่มีลักษณะจะงอยปากแตกต่างไปจากนกกลุ่มแรก ซึ่งเคยเป็นกลุ่มประชากรส่วนน้อยสามารถกินอาหารอย่างอื่นแทน เช่น ผลไม้ ใบไม้อ่อน น้ำหวาน หรือแมลง เป็นต้น ก็สามารถขยายาพันธุ์จนมีประชากรเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ส่งผลให้ลัการะประชากรนกฟินช์เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป กระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติที่กล่าวมานี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดนกฟินช์ที่มีลักษณะจะงอยปากแบบต่างๆในเวลาต่อมา ดาร์วินได้นำแนวความคิดที่ได้จากประสบการณ์ในการสำรวจหมู่เกาะกาลาปากอสและหลักฐานที่เกี่ยวข้องเสนอเป็น ทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

84 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
นักเรียนเห็นด้วยกับแนวความคิดของชาลล์ ดาร์วินหรือไม่อย่างไร ตอบ ผู้ที่เห็นด้วย อาจให้เหตุผลว่าสิ่งมีชีวิตที่สามารถดำรงชีวิตรอดได้ภายใต้ความจำกัดของทรัพยากรที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต แสดงว่ามีความแข็งแรงมากกว่า สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ ความแข็งแรงนั้นอาจเป็นลักาณะทางพันธุกรรมที่สามารถถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นต่อไปได้ ส่วนผู่ที่ไม่เห็นด้วยอาจให้เหตุผลว่าสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีโอกาสอยู่รอดและสืบทอดลักษณะทางพันธุกรรมเท่าๆกัน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

85 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.6.3 การคัดเลือกพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์โดยมนุษย์ การคัดเลือกพันุ์ปลาทับทิม ปลาทับทิมได้รับการพัฒนาพันธุ์ด้วยการคัดเลือกสายพันธุ์ปลานิล จากทั่วโลก ที่มีลักษณะเด่นในด้านต่างๆ นำมาผสมข้ามพันธุ์แล้วคัดเลือกลักษณะที่ต้องการ ดังภาพที่ 3-22 ได้ปลาเนื้อที่มีลักษณะดี คือมีอัตราการเจริญเติบโตเร็ว ปริมาณเนื้อปลาที่บริโภคได้ต่อน้ำหนักของปลาที่ค่าสูงถึงร้อยละ 40 ส่วนหัวและโครงกระดูกเล็ก ก้างน้อย เส้นใยกล้ามเนื้อละเอียดแน่น จึงมีรสชาติดี ปราศจากกลิ่นที่เกิดจากไขมันในตัวปลา เลี้ยงได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็มในอัตราความแน่นสูง มีความต้านทานต่อโรคสัตว์น้ำต่างๆได้ดี ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

86 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

87 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การปรับปรุงพันธุ์ข้าว ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นข้าวเจ้าที่สามารถปลูกได้ทุกภาค ใช้ระยะเวลาปลูก 160 วัน มีความต้านทานต่อความแห้งแล้ง ทนทานดินเค็มและดินเปรี้ยว ต่อมาได้มีการปรับปรุงพันธุ์โดยใช้รังสีแกมมาชักนำให้เกิดมิวเทชัน เกิดเป็นพันธุ์ กข6 กข10 และ กข15 ได้ข้าวพันธุ์ใหม่มีลักาณะต่างๆ ดีขึ้นกว่าเดิม ดังนี้ ข้าวพันธุ์ กข6 เป็นข้าวเหนียวที่มีกลิ่นหอม มีรุปร่างเมล็ดเรียว ให้ผลผลิตสูง และทนสภาพแห้งแล้งได้ดี มีความต้านทานต่อโรคไหม้และโรคใบจุดสีน้ำตาล ข้าวพันธุ์ กข10 เป็นข้าวเหนียวที่ไม่ไวต่อแสง ปลุกได้ทั้งฤดูนาปีและนาปรัง เมล็ดเรียวยาวไม่ร่วงง่าย ต้านทานต่อโรคใบไหม้ปานกลางและให้ผลผลิตสูง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

88 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ข้าวพันธุ์ กข15 เป็นข้าวเจ้าพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเท่ากับพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 แต่มีอายุสั้นกว่าประมาณ 10 วัน ใช้ระยะเวลาปลูก 150 วัน เหมาะสมกับการปลูกในนาที่อาศัยน้ำฝน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

89 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กิจกกรรมที่ 3.11 การคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์โดยมนุษย์ ให้นักเรียนรวบรวมข้อมูลการคัดเลือก หรือการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตวืในท้องถิ่น หรือผลิตผลที่สำคัญของประเทศ แล้วนำเสนอและอภิปรายตามหัวข้อต่อไปนี้ 1. ชุมชนของนักเรียนใช้วิธีใดในการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ 2. การคัดเลือกพันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์เหมือนและต่างกัน อย่างไร 3. ข้อดีและข้อเสียของการคัดเลือกพันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์ 4. การคัดเลือกพันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์มีผลต่อความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตหรือไม่อย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

90 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.7 เทคโนโลยีชีวภาพ มนุษย์ได้มีการนำความรู้ด้านชีววิทยามาใช้ประโยชน์ต่างๆ มากมายตั้งแต่ในอดีตโดยสามารถนำเทคนิคต่างๆ มาใช้ในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงสิ่งมีชีวิตหรือชิ้นส่วนสิ่งมีชีวิตให้ได้ลักษณะและประโยชน์ตามที่ต้องการ เกิดเป็นศาสตร์ที่เรียกว่า เทคโนโลยีชีวภาพ การนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ตั้งแต่ในอดีตมีอะไรบ้าง และมีหลักการอย่างไร ยกตัวอย่างมา 2 ตัวอย่าง ตอบ 1. การถนอมอาหาร โดยใช้จุลินทรีย์ได้แก่ การหมักดอง 2. ทางการเกษตร โดยการปรับปรุงพันธุ์และผสมพันธุ์สัตว์เพื่อให้ได้ผลผลิหตตามที่ต้องการ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

91 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.7.1 พันธุวิศวกรรม พันธุวิศวกรรม คือ การตัดต่อยีนหรือ DNA จากสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งนำไปต่อเชื่อมกับยีนหรือ DNA ของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง เกิดเป็นยีนหรือ DNA สายผสม เนื่องจากนีนกำหนดชนิดของโปรตีนที่สังเคราะห์ภายในเซลล์ สิ่งมีชีวิตที่เป็นฝ่ายรับยีนจะสามารถสังเคราะห์โปรตีนชนิดที่ถูกกำหนดโดยยีนที่ได้รับมา ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วจะไม่สามารถสังเคราะห์ ได้เอง และเรียกสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากกระบวนการพันธุวิศวกรรมว่า สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม หรือ จีเอ็มโอ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

92 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

93 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ในชีวิตประจำวัน นักเรียนพบสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปรพันธุกรรมบ้างหรือไม่ ตอบ สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปรทางพันธุกรรมที่อาจพบในชีวิตประจำวัน เช่น มันฝรั่ง มะละกอ ฝ้าย นักเรียนคิดว่าการวิจัยพัฒนาและใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปรพันธุกรรมมีผลต่อสังคมด้านใดบ้าง อย่างไร ตอบ มีทั้งผลดีและผลเสียในด้านต่างๆ เช่น ผลดี : ด้านผลผลิต การปลูกพืชดัดแปรพันธุกรรมทำให้ ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นและสม่ำเสมอ เกาตรกรได้รับผลตอบแทนมากขึ้น ด้านเศรษฐกิจ การปลูกพืชดัดแปรพันธุกรรมที่มีความต้านทานต่อแมลงและวัชพืช ส่งผลให้การใช้สารเคมีเพื่อฆ่าแมลงและวัชพืชลดน้อยลง จึงประหยัดเงินที่สูญเสียไปในการซื้อสารเคมีจากต่างประเทศ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

94 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ด้านสังคม การผลิตสารหรือผลิตภัณฑ์โดยอาศัยสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมเป็นโรงงานผลิต ทำให้ได้ผลผลิตจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็วจึงเป็นการประหยัดทั้งเงินและเวลา ผลเสีย - การดัดแปรพันธุกรรมของพืชหรือสัตว์เพื่อประโยชน์ต่อมนุษย์ ส่งผลให้ความแปรผันทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ แคบลง - การปลูกพืชดัดแปรพันธุกรรมเป็นบริเวณกว้าง ทำให้พื้นที่เพาะปลูกมีพืชที่มีพันธุกรรมเพียงแบบเดียว - การสร้างพืชที่ต้านทานต่อสารฆ่าวัชพืชอาจเป็นการสนับสนุนให้วัชพืชสายพันธุ์ที่ต้านทานต่อสารฆ่าวัชพืชในธรรมชาติเพิ่มจำนวนขึ้น - ยีนที่ถ่ายฝากไว้ในสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม อาจเคลื่อนย้ายเข้าสู่สายพันธุ์อื่นในธรรมชาติโดยการผสมข้าม และอาจส่งผลกระทบที่คาดไม่ถึงจากการรวมกันของยีน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

95 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
- การยอมรับของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมยังเป็นเรื่องที่โต้เถียงกันอยู่ เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลในแง่ความปลอดภัย โดยพาะการนำยีนจากแบคทีเรีย ไวรัสย้ายฝากไปไว้ในพืชหรือสัตว์ที่เป็นอาหาร เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมได้ถูกนำมาใช้เปลี่ยนแปลงลักษณะของสิ่งมีชีวิตอย่างไรบ้างให้นักเรียนยกตัวอย่าง ตอบ - พันธุ์พืชต้านทานต่อสารกำจัดวัชพืช ทำให้สามารถใช้สารกำจัดวัชพืชได้โดยไม่ทำลายพืชปลูก - พันธุ์พืชต้านทานโรค โดยเฉพาะพันธุ์ที่ต้านทานโรคจากไวรัส โดยนำยีนที่กำหนดโปรตีนที่ห่อหุ้มไวรัสถ่ายฝากไว้ในพืช - พันธุ์พืชที่ต้านทานต่อแมลง โดยการนำยีนที่สร้างโปรตีนที่เป็นพิษต่อแมลงถ่ายฝากไว้ในพืช ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

96 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
- พันธุ์ปลาที่มีอัตราการเติบโตขึ้น โดยการนำยีนที่ควบคุมการผลิตฮอร์โมนควบคุมการเติบโต ถ่ายฝากไว้ในปลา - การรักษาโรคโดยยีนบำบัด พันธุวิศวกรรมมีความสำคัญอย่างไรและการใช้เทคโนโลยีนี้จะมีผลต่อมนุษย์อย่างไร ตอบ เป็นขั้นตอนในการนำยีนจากสิ่งมีชีวิตต่างชนิดมาเชื่อมกันแล้วเพิ่มจำนวนตลอดจนทำให้มีการแสดงออกของยีน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

97 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.7.2 การโคลน ในทางชีววิทยา การโคลน หมายถึงการสร้างสิ่งมีชีวิตใหม่ ซึ่งมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนสิ่งมีชีวิตต้นแบบทุกประการ วิธีการโคลนวิธีหนึ่ง คือ การนำนิวเคลียสของเวลล์ร่างกายใส่เข้าไปในเซลล์ไข่ที่ดูดเอานิวเคลียสออกไปก่อนแล้ว ด้วยกระบวนการนี้เซลล์ไข่ที่มีนิวเคลียสใส่เข้าของเซลล์ร่างกายจะพัฒนาไปเป็นสิ่งมีชีวิตตัวใหม่โดยใช้ข้อมูลในสารพันธุกรรมจากนิวเคลียสของเซลล์ร่างกาย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

98 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เป็นวิธีการโคลนอย่างหนึ่งทำได้โดยการนำส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชมาเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ ซึ่งประกอบด้วยธาตุอาหาร น้ำตาล วิตามิน และออร์โมนพืช ในสภาพปลอดเชื้อและมีการควบคุมแสงสว่าง อุณหภูมิ และความชื้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

99 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.7.3 ลายพิมพ์ DNA นักเรียนอาจเคยได้รับรู้ข่าวเกี่ยวกับการตรวจ DNA เพื่อพิสูจน์ผู้ต้องสงสัย หรือหาความสัมพันธ์ทางสายเลือดสิ่งที่ถูกตรวจสอบในขั้นตอนเหล่านี้คือ ลายพิมพ์ DNA ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละบุคคลเช่นเดียวกับลายพิมพ์นิ้วมือ ลายพิมพ์ DNA ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้และไม่มีใครมีลายพิมพ์ DNA เหมือนกันยกเว้นแฝดร่วมไข่เท่านั้น เพราะเหตุใดลายพิมพ์ DNA จึงสามารถใช้พิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือดได้ ตอบ เนื่องจาก ลายพิมพ์ DNA เป็นอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละบุคคล บุคคลเกี่ยวพันกันทางสายเลือด จะต้องมีลายพิมพืแถบใดแถบหนึ่งเหมือนกัน และลายพิมพ์ DNA นี้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

100 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

101 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
จากภาพที่ 3-27 ให้นักเรียนหาว่าลายพิมพ์ DNA ของชายสองคน ที่กำหนดให้นี้ชายคนใดที่เป็นพ่อของเด็ก ตอบ ชายคนที่2 การตรวจลายพิมพ์ DNA สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านใดได้อีกบ้าง ตอบ - ตรวจพิสูจน์ บิดา มารดา และบุตร - ใช้ประโยชน์ในงานทางนิติเวชวิทยา - ในทางการแพทย์ ใช้ในการตรวจติดตามการปลูกถ่ายไขกระดูก - การตรวจเอกลักษณ์ทางพันธุกรรมของพันธุ์พืชและสัตว์ - การตรวจสอบความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชากร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

102 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ปัจจุบันความก้าวหน้าในด้านพันธุศาสตร์ที่อยู่ในความสนใจ คือ การทำแผนที่ยีน หรือ การทำแผนที่จีโนม และการหาลำดับเบสของจีโนม เพื่อให้รู้ว่ายีนต่างๆ หรือยีนทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตที่ศึกษาอยู่ที่ตำแหน่งไหนของโครโมโซมบ้าง ทำหน้าที่อะไรและอย่างไร ขณะนี้นักพันธุศาสตร์กำลังวิจัยศึกษาแผนที่และลำดับเบสของจีโนมของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เช่น ข้าว หนู แมลงหวี่ ยีสต์ และแบคทีเรีย เป็นต้น โดยเฉพาะจีโนมของมนุษย์ ซึ่งอาจนำไปสู่ความรู้ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

103 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.8 ความหลากหลายทางชีวภาพ โลกของเรามีไบโอมหรือระบบนิเวสที่หลากหลายที่แตกต่างกันทั้งไบโอมบนบกและไบดอมในน้ำ จัดเป็นความหลากหลายของระบบนิเวศ ในระบบนิเวศแต่ละแห่งต่างก็มีสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ ทั้งชนิดและจำนวนที่แตกต่างกันที่อาสัยอยุ่ร่วมกันในระบบนิเวสนั้นๆ และมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน นักวิทยาศาสตร์ได้ประมารการไว้ว่ามีสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ในโลกนี้อยู่ประมาณ ล้านชนิด จึงนับได้ว่ามีความหลากหลายของสปีชีส์ค่อนข้างมาก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

104 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กิจกรรมที่ 3.12 ความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น ให้นักเรียนสำรวจและสืบค้นข้อมูลความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่นของนักเรียน เพื่อร่วมกันอภิปรายในประเด็นต่อไปนี้ 1. ในท้องถิ่นของนักเรียนมีความหลากหลายของระบบนิเวศ ความหลากหลายของสปีชีส์และความหลากหลายทางพันธุกรรมอย่างไรบ้าง 2. มีสิ่งมีชีวิตใดบ้างที่พบได้เฉพาะในท้องถิ่นของนักเรียน นักเรียนคิดว่าเป้นเพราะเหตุใดจึงไม่พบสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นในที่อื่น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

105 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.8.1 สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต เนื่องจากสิ่งมีชีวิตมีความแตกต่างกันหลากหลาย นักวิทยาศาสตรืจึงมีการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อสะดวกในการศึกษา โดยแต่ละกลุ่มก็มีการจัดกลุ่มย่อยที่เล้กลงไปอีกกลุ่มย่อยพื้นฐานที่สุดในระบบการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตเรียกว่า สปีชีส์ สปีชีส์ คือ กลุ่มประชากรของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน ที่สามารถผสมพันธุ์แล้วได้ลูกหลานสืบทอดต่อเนื่องกันไป ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

106 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ให้ยกตัวอย่างสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์ที่ผสมพันธุ์กันแล้วได้ลูกที่เป็นหมันมาอย่างน้อย 2 ตัวอย่าง ตอบ ไลเกอร์ เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างสิงโตกับเสือ ล่อ เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างม้ากับปลา ซีบรูลา เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างม้ากับม้าลาย ลำตัวท่อนบนมีขนสีขาวเหมือนม้า สิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์จะมีลักษณะเด่นเฉพาะวึ่งแตกต่างไปจากสปีชีส์อื่น เช่น สปีชีส์เต่าไทย ดังภาพที่ 3-29 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

107 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

108 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
จากภาพเต่าที่นักเรียนเห็นนี้มีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างไรบ้าง ตอบ ลักษณะที่ต่างกัน คือ กระดองมีลายและสีที่ต่างกันและบางตัวขอบกระดองมีหนาม และบางตัวมีหางยาว แม้สิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกันจะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากสปีชีส์อื่น แต่ความหลากหลายภายในสปีชีส์เดียวกันก็ยังมีอยู่ เช่นความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์ ความแตกต่างระหว่างเพศผู้และเพศเมีย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

109 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
สิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ในภาพที่ มีความหลากหลายอย่างไร ตอบ เช่น สีสันของลำตัว ขนาดและรูปร่าง ไม่เท่ากัน สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกัน อาจมีความแตกต่างทางพฤติกรรมและทางพันธุกรรมมากจนจัดเป็นสปีชีส์เดีจวกันไม่ได้ ดังภาพที่ 3-33 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

110 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ตั๊กแตนใบไม้และตั๊กแตนชมพูพิสวาสในภาพที่ 3-34 ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของสิ่งมีชีวิตที่พบว่ามีลักษณะภายนอกที่คล้ายคลึงกันแต่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

111 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
การเกิดสปีชีส์ใหม่ สิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีสืมีความหลากหลายดังที่นักเรียนได้เรียนมาแล้ว อย่างไรก็ตามเมื่อใดที่สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะแตกต่างกันยังสามารถผสมพันธุ์กันและสืบลูกหลานต่อไปได้ถือว่าสิ่งมีชีวิตนั้นอยู่ในสปีชีส์เดียวกัน กรณีที่สมาชิกกลุ่มย่อยของสปีชีส์เดียวกัน มีสาเหตุได้หลายประการท เช่น มีสิ่งกีดขวางทางภูมิศาสตร์ซึ่งอาจเกิดจากแม่น้ำเปลี่ยนทิศทางแบ่งประชากรออกเป้น 2 ส่วนที่ไม่อาจข้ามไปมาได้ โลกของเรามีสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการระบุสปีชีส์แล้วมากกว่า 1 ล้าน 5 แสนสปีชีส์ โดยสิ่งมีชีวิตกลุ่มที่มีจำนวนสปีชีส์มากที่สุด คือ แมลง ซึ่งมีถึง สปีชีส์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

112 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

113 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.8.2 ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต นักชีววิทยาจัดจำแนกหมวดหมู่สิ่งมีชีวิต โดยพิจราณาจากข้อมูลหลายด้าน เช่น ความคล้ายคลึงในทางโครงสร้าง ออร์แกเนลล์ และสารเคมีภายในเซลล์ เป็นต้น สิ่งมีชีวิตที่มีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมมากจะมีความคล้ายคลึงกันมาก จนกระทั่งโปรตีนในร่างกายก็จะมีชนิดและลำดับของกรดอะมิโนใกล้เคียงกัน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

114 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

115 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กิจกรรมที่ 3.13 การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ 1. ให้นักเรียนรวบรวมข้อมูลและอภิปรายเกี่ยวกับความสำคัยของความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น 2. ร่วมกันจัดทำโครงการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในโรงเรียน ชุมชน หรือท้องถิ่น นักเรียนคิดว่าการที่ประเทศไทยเป็นแหล่งที่มีความกลากหลายทางชีวภาพ ทำให้เราได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง ตอบ 1. ด้านอาหาร ทำให้มีอาหารที่หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ไว้สำหรับบริโภค 2. ด้านยารักษาโรค พืชชนิดต่างๆหรือสัตว์บางชนิดสามารถนำส่วนประกอบบางอย่างมาใช้ในการรักษาโรค เป็นยาสมุนไพร 3. ด้านการแพทย์ สามารถนำสิ่งมีชีวิตบางชนิดมาใช้ได้ 4. ด้านการเกษตร 5. ด้านนันทนาการ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

116 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
มีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด ที่เราควรรักษาสภาพของความกลากหลายทางชีวภาพนี้ให้คงอยู่ได้นานๆ ตอบ มีความจำเป็นมาก เนื่องจากประโยชนืของความหลากหลายทางชีวภาพมีมากมายดังที่ทราบแล้ว ความหลากหลายทางชีวภาพยังทำให้โลกอยู่ในสมดุลด้วย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

117 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
คำถามท้ายบทที่ 3 1. ศึกษาแผนภาพนี้แล้วตอบคำถามข้อ 1.1 เซลล์ใดมีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสในระยะแอนาเฟส II ตอบ หมายเลข 2 เพราะมีการแบ่งโครมาทิดของแต่ละโครโมโซม 1.2 เซลล์ใดมาจากสิ่งมีชีวิต 2n=4 ตอบ หมายเลข 3 เพราะมีฮอมอโลกัสโครโมโซม 2 คู่ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

118 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
1.3 ถ้าเซลล์ร่างกายของตั๊กแตนมีโครโมโซม 12 คู่ เซลล์ในระยะเทโลเฟส I ของตั๊กแตนแต่ละเซลล์จะมีโครมาทิดจำนวนเท่าใด ตอบ 24 โครมาทิด เพราะระยะเทโลเฟส I โครโมโซมลดลงเหลือครึ่งหนึ่งคือ 12 โครโมโซม แต่ละโครโมโซมประกอบด้วย 2 โครมาทิด ดังนั้นระยะนี้มี 24 โครมาทิด 2. ศึกษาแผนภาพแล้วตอบคำถามข้อ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

119 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
2.1 ระยะใดใช้เวลานานที่สุด ตอบ ระยะ G1 2.2 ระยะใดเป็นระยะก่อนสร้าง DNA 2.3 ในช่วง S phase ของวัฏจักรเซลล์ตามแผนภาพนี้ จะมีปรากฎการณ์ใดเกิดขึ้น ตอบ มีการจำลอง DNA เพิ่มอีกเท่าตัว 3. เซลล์ในภาพใดกำลังแบ่งตัวแบบไมโอซิสในระยะแอนาเฟส I และ II ทราบได้อย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

120 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ตอบ เซลล์หมายเลข 1 อยู่ในระยะแอนาเฟส I เพราะมีการแยกโครโมโซมที่เป็นฮอมอโลกัสในแต่ละคู่ เซลล์หมายเลข 2 อยู่ในระยะแอนาเฟส II เพราะมีการแยกดครมาทิดของแต่ละโครโมโซม 4. จากการเกิดครอสซิงโอเวอร์ ดังภาพ มีผลทำให้ได้เซลล์สืบพันธุ์กี่แบบ แต่ละแบบมียีนอย่างไรบ้าง ตอบ ได้เซลล์สืบพันธุ์ 4 แบบ คือ MrsT MrsT mRSt และ mRst ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

121 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
5. การศึกษาการเจริยเติบโตของแมลงเต่าทอง 4 พันุ์ได้ข้อมุลดังนี้ จากข้อมูลนี้แมลงเต่าทองสายพันธุ์ใดที่จะพบได้ทั่วไปในธรรมชาติและเพราะเหตุใด ตอบ B และ C เพราะทั้ง 2 ชนิดนี้สามารถอยู่รอดและสืบพันธุ์ให้ลุกหลานต่อไปได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

122 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
6. จากการศึกษาจำนวนของนกกินมดชนิดหนึ่งในสวนสาธารณะแห่งหนึ่งพบว่า จำนวนของนกแตกต่างกันตามความสูงของนกดังในภาพ และจากการศึกษาต่อมาพบว่านกที่มีขนาดเล็กหรือเตี้ยเกินไปจะตายเสียเป็นส่วนใหย่และนกที่มีขนาดใหญ่หรือสูงเกินไปก็จะตายเสียส่วนมาก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

123 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
6.1 จากข้อมูลนี้สอดคล้องกับประโยคว่า “สิ่งมีชีวิตที่อยู่รอดจะต้องมีความเหมาะสม” หรือไม่ เพราะเหตุใด ตอบ สอดคล้อง เนื่องจากนกที่มีขนาดไม่เหมาะสมจะมีโอกาสอยู่รอดในสิ่งแวดล้อมได้น้อย 6.2 จงอธิบายและให้เหตุผลว่าเหตุใดนกชนิดนี้จึงมีบางพวกเตี้ยและบางพวกมความสูงเกินไป ตอบ ความสูงของนกน่าจะถูกควบคุมด้วยยีน นกที่เตี้ยอาจมียีนเตี้ยเป็นลักษณะเด่น และนกที่สูงอาจมียีนสูงเป็นลักษณะเด่น 7. จากการที่นำสาร A ไปกำจัดหนู โดยให้หนูกินอาหารที่ผสมสารนี้พบว่าจำนวนหนูจะลดลงใน ระยะหนึ่งและจะค่อยๆ เพิ่มจำนวนขึ้นทั้งที่ยังใช้สาร A กำจัดหนูอยู่ จากข้อมูลนี้นักเรียนจงใช้เหตุผลอธิบายว่า เพราะเหตุใดจำนวนหนูจึงยังคงเพิ่มมากขึ้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

124 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ตอบ หนูบางกลุ่มอาจเกิดมิวเทชันหรือการแปรผันทางพันธุกรรมทำให้เกิดก่รดื้อยา ดังนั้นในระยะต่อมาจำนวนหนูจึงเพิ่มมากขึ้น เพราะสารนี้ไม่สามารถใช้กำจัดหนูได้อีกต่อไป 8. ถ้านักเรียนพบสิ่งมีชีวิตกลุ่มหนึ่งในบริเวณเดียวกัน โดยสิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีลักษณะโดยรวมคล้ายคลึงกัน นักเรียนจะทราบได้อย่างไรสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นจัดอยู่ในสปีชีส์เดียวกันหรือไม่ ตอบ อาจศึกษาและตรวจสอบได้จาก 1. การเปรียบเทียบลักษณะการดำรงชีวิตและการสืบพันธืว่าเหมือนหรือแตกต่างกันหรือไม่ 2. ศึกษาจำนวนโครโมโซมว่าเท่ากันหรือไม่ 3. ศึกษาว่าเมื่อผสมพันธุ์กันแล้วมีลูกเป็นหมันหรือไม่ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

125 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
9.ถ้าหากในโลกนี้ไม่มีความหลากหลายทางชีวภาพ นักเรียนคิดว่าโลกของเราจะเป็นอย่างไร และจะมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ตอบ 1. ขาดแคลนอาหาร 2. เกิดโรคระบาด 3. การอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตเฉพาะกลุ่มกลายเป็น monospecies ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

126 จัดทำโดย นางสาว บุษบาบัณ บุญเอก เลขที่ 26 นางสาว สุชาวดี สว่างเมฆ เลขที่ 35 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 เสนอ คุณครู ฐิติรัตน์ กันนะ


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 3 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google