นิติบุคคลมหาชน(ชุดที่4)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "นิติบุคคลมหาชน(ชุดที่4)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 นิติบุคคลมหาชน(ชุดที่4)
อาจารย์ศรุต จุ๋ยมณี กฎหมายปกครอง1

2 บุคคล

3 นิติบุคคลมหาชนและนิติบุคคลเอกชน

4 1. แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดสถานะทางกฎหมายของนิติบุคคลและนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน
1.1 ทฤษฎีว่าด้วยนิติบุคคล ทฤษฎีที่ถือว่า นิติบุคคลเป็นสิ่งสมมติ แนวความคิดที่เกี่ยวกับสภาพความเป็นนิติบุคคลในปัจจุบัน ทฤษฎีที่ถือว่านิติบุคคลมีสภาพเป็นอยู่อย่างแท้จริง

5 1.2 ในส่วนของวิวัฒนาการทางสังคม
แต่ในทางทฤษฎีได้มีการแบ่งนิติบุคคลของประเทศไทยออกเป็น 2 ประเภทคือ (1) นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน (2) นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน

6 (1) นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน
นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนของไทยนั้นเกิดขึ้นได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย ดังจะเห็นได้จากมาตรา 65 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คำว่า “นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น” กล่าวได้ว่า การจัดตั้งนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) ทั้งนี้เพราะต้องการความแน่นอนเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกที่จะเข้าทำนิติกรรมสัญญากับนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนนั้นๆ ซึ่งนิติบุคคลเอกชนอาจไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร เช่น มูลนิธิหรืออาจมีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไรก็ได้ เช่น บริษัทจำกัด เป็นต้น

7 2. ความหมายและลักษณะของนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนต่างประเทศ
ฝรั่งเศส เยอรมัน

8 2.1ความหมายและลักษณะของนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนของประเทศฝรั่งเศส
Guy Braibantกรรมการร่างกฎหมายและผู้พิพากษาศาลปกครองสูงสุด (Conseiller d’ Etat) ในสภาที่ปรึกษาแห่งรัฐ (Conseil d’ Etat) ได้อธิบายองค์ประกอบของนิติบุคคลไว้ดังนี้ 1)เป็นที่รวม คือเป็นกลุ่มบุคคล กลุ่มบุคคลนี้อาจเป็นกลุ่มปัจเจกชนรวมกันเป็นสมาคม บริษัท ฯลฯ หรือเป็นกลุ่มนิติบุคคลรวมกันเกิดเป็นนิติบุคคลใหม่หรืออาจจะเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มทรัพย์สินที่มีเพื่อประโยชน์แห่งจุดมุ่งหมายที่แน่นอน 2)เป็นที่รวมที่มีการจัดระเบียบเพื่อจุดมุ่งหมายบางประการ และเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่กล่าวอ้าง นิติบุคคลย่อมต้องมีองค์กรที่ทำหน้าที่ทั้งในแง่ของการกำหนดทิศทางหรืออำนาจจัดการนิติบุคคลนั้น ซึ่งถือเป็นเรื่องการบริหารภายในและทำหน้าที่ในแง่ของการเป็นผู้แทนนิติบุคคลต่อบุคคลภายนอกพร้อมๆ กัน ประกอบกับต้องมีปัจจัยและมีบุคลากรในการดำเนินงาน ซึ่งนิติบุคคลย่อมสามารถได้มาซึ่งสิทธิต่างๆ หรือก่อให้เกิดหนี้ได้

9 กล่าวโดยสรุปคือ ความหมายของนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนของฝรั่งเศสไม่ได้มีการบัญญัติไว้อย่างชัดแจ้ง แต่สามารถกำหนดได้จากการพิจารณาบทบาทหน้าที่ขององค์กร(ที่มีสถานะทางกฎหมายเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน) นิติบุคคลเหมือนกับบุคคลธรรมดาในแง่ที่ว่าเป็นวัตถุแห่งกฎหมายที่ได้รับการยอมรับและคุ้มครอง ซึ่งนิติบุคคลจะมีลักษณะเป็นนิติบุคคลประเภทใด ย่อมขึ้นอยู่กับนิติบุคคลนั้นกำเนิดมาจากกฎหมายประเภทใด ตัวอย่างเช่น โดยหลักแล้วหากกำเนิดมาจากกฎหมายมหาชนนิติบุคคลนั้นย่อมมีสถานะทางกฎหมายเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน เป็นต้น

10 ประเภทของนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนของประเทศฝรั่งเศส ประกอบด้วย
1.รัฐ การคลัง รัฐ การปกครอง กฎหมาย

11 ประเภทของนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนของประเทศฝรั่งเศส ประกอบด้วย
2)นิติบุคคลมหาชนอื่นนอกจากรัฐ เกิดจากหลักการกระจายอำนาจของประเทศฝรั่งเศส แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ 2.การกระจายอำนาจทางบริการ 1.การกระจายอำนาจทางพื้นที่

12 1)องค์การกระจายอำนาจทางพื้นที่ ซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนนั้น มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1.1)หลักทั่วไปขององค์การกระจายอำนาจทางพื้นที่ต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ เป็นนิติบุคคล มีเขตพื้นที่ มีอำนาจหน้าที่จัดทำบริการสาธารณะทั่วไปอาจเป็นในทางเศรษฐกิจ การสร้างและบำรุงรักษาถนนหนทาง การคมนาคม การทางผังเมือง ฯลฯ

13 สถานะขององค์การกระจายอำนาจทางพื้นที่จะถูกกำหนดโดยกฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติและจะมีลักษณะ 3 ประการ คือ
มีองค์กรบริหาร (นิติบัญญัติและบริหาร) มาจากการเลือกตั้งของราษฎรในเขตพื้นที่ มีความเป็นอิสระทางการคลังและการบริหาร อยู่ภายใต้การควบคุมกำกับของรัฐ

14 ประเภทขององค์การกระจายอำนาจทางพื้นที่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.องค์การกระจายอำนาจทางพื้นที่ 1.1แบบทั่วไป ได้แก่ คอมมูน (หรือเปรียบเทียบกับประเทศไทยคือตำบล) เดปาร์เตอมองต์ (หรือจังหวัด) เรชีออง (หรือภาค)

15 1.2องค์การกระจายอำนาจทางพื้นที่แบบพิเศษ
ได้แก่ ปารีสและภาคปารีส เดปาร์เตอมองต์ และดินแดนโพ้นทะเล และเกาะกอร์ส

16 2.ในส่วนที่เกี่ยวกับองค์การมหาชนหรือองค์การกระจายอำนาจทางบริการ (les establissment publics
ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญของประเทศฝรั่งเศส(ค.ศ.1958) รัฐธรรมนูญได้จำกัดขอบเขตในการตราพระราชบัญญัติของฝ่ายนิติบัญญัติลง เพื่อให้ฝ่ายบริหารเข้มแข็งขึ้นโดยสามารถออกกฎของฝ่ายบริหารได้ในสิ่งที่นอกเหนือจากส่วนที่เป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ เมื่อรัฐธรรมนูญมาตรา 34 บัญญัติว่า อำนาจในการกำหนดประเภทขององค์การมหาชนเป็นของฝ่ายนิติบัญญัติ จึงตีความได้ว่า พระราชบัญญัติเพียงแต่กำหนดประเภทขององค์การมหาชน จากนั้นฝ่ายบริหารก็อาจจัดตั้งองค์การมหาชนต่างๆ ได้ ดังนั้น องค์การมหาชนซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนจึงอาจจัดตั้งได้โดยรัฐบาล(ระดับชาติ) โดยเดปาร์เตอมองต์(ระดับจังหวัด)หรือโดยคอมมูน(ระดับตำบล)ได้

17 กล่าวโดยสรุปได้ว่า นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนของประเทศฝรั่งเศสมีดังต่อไปนี้ (1) รัฐ (2) องค์การกระจายอำนาจทางพื้นที่ ได้แก่ คอมมูน(ตำบล) เดปาร์เตอมองต์(จังหวัด) และเรซีออง(ภาค) และ (3) องค์การกระจายอำนาจทางบริการหรือองค์การมหาชน

18 ความหมายและลักษณะของนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนของประเทศเยอรมัน
ประเทศเยอรมันได้ให้คำจำกัดความของคำว่า นิติบุคคล หมายถึง บุคคลผู้มีความสามารถทรงสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายซึ่งกฎหมายสมมติให้มีขึ้น ในระบบกฎหมายเยอรมันมีนิติบุคคล 2 ประเภท คือ 1) นิติบุคคลมหาชน(Juristische Person des OffentlichenRechts) และ 2) นิติบุคคลเอกชน (Juristische Person des Privatrechts) โดยให้ความหมายของคำว่า นิติบุคคลมหาชน คือ นิติบุคคลที่เกิดขึ้นหรือมีรากฐานการเกิดมาจากกฎหมายมหาชน ส่วนนิติบุคคลเอกชนนั้น เกิดขึ้นหรือมีรากฐานมาจากระบบกฎหมายเอกชน

19 ระบบกฎหมายเยอรมันถือว่า รัฐ เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน รัฐจึงเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมาย เป็นผู้ทรงอำนาจปกครองดั้งเดิม รัฐเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจแห่งรัฐอันเป็นอำนาจมหาชนที่ไม่ได้รับจากผู้ใด ตามระบบรัฐธรรมนูญเยอรมันทั้งสหพันธ์และมลรัฐทั้งหลายทั้งปวงต่างก็เป็นรัฐ ดังนั้น สหพันธ์และมลรัฐจึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนเพียงแต่อำนาจรัฐของมลรัฐ มีอยู่อย่างจำกัดเท่านั้น

20 ประเภทของนิติบุคคลมหาชนในระบบกฎหมายเยอรมัน
ในส่วนนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนในระบบกฎหมายเยอรมันมีอยู่ 3 ประเภท คือ องค์การหมู่คณะมหาชน องค์การบริการมหาชนและ มูลนิธิมหาชน

21 หลักเกณฑ์การแบ่งประเภทของนิติบุคคลมหาชนและนิติบุคคล
กฎหมายที่จัดตั้ง นิติบุคคล วัตถุประสงค์ที่นิติบุคคลนั้นดำเนินการ ในแง่ของความสัมพันธ์กับนิติบุคคลอื่น

22 นิติบุคคลมหาชนในระบบกฎหมายไทย
จากการศึกษาความหมายของนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนของประเทศฝรั่งเศสและประเทศเยอรมัน อาจกล่าวโดยสรุปความหมายของนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนของประเทศไทยได้ว่า นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน คือบุคคลที่มีความสามารถทรงสิทธิและหน้าที่ มีอำนาจตามที่กฎหมายกำหนด โดยกฎหมายที่ให้อำนาจนิติบุคคลจะต้องมีรากฐานมาจากกฎหมายมหาชนและการดำเนินการของนิติบุคคลจะต้องเป็นไปเพื่อสาธารณประโยชน์ตามความประสงค์ของรัฐ อันจะส่งผลทำให้นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนมีฐานะไม่เท่าเทียมกับคู่กรณีและมีเอกสิทธิ์ในการใช้อำนาจทางปกครองได้ เอกสิทธิ์หรืออำนาจเหนือของนิติบุคคลมหาชนในการใช้อำนาจปกครอง

23 ประเภทของนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน
องค์กรทางการเมือง(ส่วนราชการ) 1องค์กรในระบบบริหารราชการส่วนกลาง องค์กรในระบบบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบไปด้วย กระทรวง ทบวง กรม โดยมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 และบรรพ 2 ในปี พ.ศ.2468 กำหนดให้กระทรวง ทบวง กรม มีฐานะเป็นนิติบุคคล ในมาตรา 72 ซึ่งบัญญัติว่า จำพวกที่กล่าวต่อไปนี้ ย่อมเป็นนิติบุคคล คือ 1)ทบวงการเมือง และมาตรา 73 ได้ขยายความว่า ทบวงการเมืองในที่นี้หมายถึง กระทรวงและกรมในรัฐบาล เทศาภิบาลปกครองท้องถิ่นและประชาบาลทั้งหลาย

24 อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ.2535 ได้ปรับปรุงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใหม่และได้ยกเลิกบทบัญญัติที่กำหนดให้กระทรวง ทบวง กรม มีฐานะเป็นนิติบุคคลเสีย สันนิษฐานได้ว่า ผู้ร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ประสงค์จะให้มีการแยกนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนออกจากนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน กระทรวง ทบวง กรม ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่เกิดจากแนวคิดกฎหมายมหาชนจึงไม่ควรบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นกฎหมายที่อยู่ภายใต้แนวคิดกฎหมายเอกชน

25 ปัจจุบันตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ. ศ
ปัจจุบันตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 ประเทศไทยมีกระทรวง และทบวงที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนทั้งสิ้น 20 หน่วยงาน ได้แก่1) สำนักนายกรัฐมนตรี 2) กระทรวงกลาโหม 3) กระทรวงการคลัง 4) กระทรวงการต่างประเทศ 5) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 6) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 7) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 8) กระทรวงคมนาคม 9) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 10) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 11) กระทรวงพลังงาน 12) กระทรวงพาณิชย์ 13) กระทรวงมหาดไทย14) กระทรวงยุติธรรม 15) กระทรวงแรงงาน 16) กระทรวงวัฒนธรรม 17) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 18) กระทรวงศึกษาธิการ 19) กระทรวงสาธารณสุข20) กระทรวงอุตสาหกรรมนอกจากนี้ยังมีกรมที่เป็นส่วนราชการสังกัดกระทรวงต่างๆ เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนอีกด้วย

26 องค์กรในระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
องค์กรในระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด จังหวัดนั้นเป็นราชการส่วนภูมิภาคที่ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยขึ้นตรงกับกระทรวงมหาดไทย โดยสภาพแล้วจังหวัดไม่ควรมีฐานะเป็นนิติบุคคล เนื่องจากมิได้บัญญัติให้จังหวัดแยกออกเป็นนิติบุคคลต่างหากจากราชการบริหารส่วนกลาง

27 อย่างไรก็ตาม จังหวัดเริ่มเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนในปี พ. ศ
อย่างไรก็ตาม จังหวัดเริ่มเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนในปี พ.ศ.2495 ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 การที่บัญญัติให้จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล ทั้งที่ถือว่าเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคย่อมไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมายปกครอง เพราะราชการบริหารส่วนภูมิภาคเป็นเพียงสาขาของราชการบริหารส่วนกลาง ดังนั้น ตามทฤษฎีกฎหมายปกครองจึงไม่สามารถแยกเป็นอิสระต่างหากจากราชการบริหารส่วนกลางได้ แต่ในทางปฏิบัติได้มีการให้อิสระแก่จังหวัด โดยให้มีสถานะทางกฎหมายเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนก็เพื่อความสะดวกในการจัดทำนิติกรรม การมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและการดำเนินคดีในศาลในนามของจังหวัดได้ อาจกล่าวได้ว่า จังหวัดมีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนเนื่องจากกฎหมายประสงค์จะให้อิสระแก่ระบบราชการของจังหวัดโดยแยกออกจากฝ่ายการเมือง

28 ข้อสังเกต แม้ว่าส่วนราชการของประเทศไทย(กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด)จะมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน ซึ่งแตกต่างจากหลักกฎหมายปกครองของต่างประเทศที่ส่วนราชการบริหารส่วนกลางและส่วนราชการบริหารส่วนภูมิภาคไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลก็ตาม แต่ก็ไม่ก่อให้เกิดความสับสนใดๆ เนื่องจากเมื่อพิจารณากฎหมายต่างๆ ให้ดีแล้วจะพบว่าส่วนราชการบริหารส่วนกลางและส่วนราชการบริหารส่วนภูมิภาคที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลนั้นไม่ได้มีอิสระอย่างนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนอื่นอย่างเช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์การมหาชน

29 2.องค์กรที่อยู่ภายใต้การควบคุมกำกับของรัฐ
สามารถจำแนกศึกษาประเภทขององค์กรที่อยู่ภายใต้การควบคุมลำดับของรัฐได้ดังนี้ 1) ประเภทองค์กรกระจายอำนาจทางพื้นที่ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) ประเภทองค์กรกระจายอำนาจทางบริการ ได้แก่รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน ซึ่งจะศึกษาถึงสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและกองทุนต่างๆ ประกอบและประเภทหน่วยงานอิสระและหน่วยธุรการขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

30 ประเภทองค์การกระจายอำนาจทางพื้นที่ ได้แก่
1)องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรที่มีความเป็นอิสระจากรัฐตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ ได้แก่ องค์การแห่งราชการบริหารส่วนท้องถิ่น อันประกอบด้วย 1.1)กรุงเทพมหานคร มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 1.2)เมืองพัทยา มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 1.3)เทศบาล มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ.2496 1.4)องค์การบริหารส่วนจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัดพ.ศ. 2540 1.5)องค์การบริหารส่วนตำบล มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ. 2537

31 ประเภทองค์การกระจายอำนาจทางบริการ ได้แก่ 1)รัฐวิสาหกิจ
รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งเป็นองค์การของรัฐบาล องค์การของรัฐบาล หมายถึง หน่วยงานในทางกฎหมายซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา หรือพระบรมราชโองการและกำหนดให้มีหน้าที่ดำเนินกิจการงานซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของชาติ องค์การของรัฐแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ องค์การของรัฐบาลซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา เช่น องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ เป็นต้น และองค์การของรัฐบาลซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ เช่น การท่าเรือแห่งประเทศไทยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น

32 รัฐวิสาหกิจที่เป็นหน่วยงานธุรกิจที่รัฐหรือรัฐบาลเป็นเจ้าของ

33 รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งเป็นบริษัทจำกัด

34 องค์การมหาชน องค์การมหาชนนั้นมีการแบ่งออกเป็นสองประเภท
ได้แก่ องค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งประเภทหนึ่งและองค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ.2542 ซึ่งเป็นกฎหมายกลางอีกประเภทหนึ่ง

35 สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาบันอุดมศึกษาของรัฐแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ ประเภทแรกมหาวิทยาลัย (หรือสถาบันอุดมศึกษา) ที่เป็นนิติบุคคลในสายการบังคับบัญชา (ในระบบราชการ) และ ประเภทที่สอง คือ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (ประเภทในกำกับของรัฐ)

36 ปัญหาว่า กองทุนต่างๆ ซึ่งมีกฎหมายรองรับและกฎหมายได้กำหนดให้กองทุนมีสถานะทางกฎหมายเป็นนิติบุคคล มีตัวอย่างดังต่อไปนี้ กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสานยาง พ.ศ.2530 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 เป็นต้น

37 4) ประเภทหน่วยงานอิสระ
4.1) หน่วยธุรการขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญโดยองค์กรตามรัฐธรรมนูญนั้นแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ (1)องค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตย (2)องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และ (3)องค์กรที่ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งหน่วยงานธุรการขององค์กรเหล่านี้มีความเป็นอิสระ สามารถมีอำนาจจัดการในเรื่องที่เกี่ยวกับภารกิจและบุคลากรได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้เพื่อความเป็นอิสระปราศจากการแทรกแซงจากฝ่ายบริหาร จึงมีสถานะทางกฎหมายเป็นนิติบุคคลประเภทนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนตัวอย่างเช่น สำนักงานศาลปกครอง สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เป็นต้น

38 สภาวิชาชีพ

39 วัด วัดในพระพุทธศาสนาจัดว่าเป็นนิติบุคคลมหาชนเพราะมีพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ซึ่งเป็นกฎหมายมหาชนวางระเบียบการจัดการวัดไว้ และถือว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของรัฐและถือเอากิจการเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเป็นราชการอย่างหนึ่งซึ่งอยู่ในหน้าที่ของกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม (เดิมอยู่ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาในปีพ.ศ.2545 ได้มีการจัดตั้งกระทรวงวัฒนธรรมและได้กำหนดให้กรมการศาสนาเป็นกรมในกระทรวงวัฒนธรรม

40 วัดตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ. ศ
วัดตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มี 2 ประเภท คือ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา (วิสุงคามสีมา คือ เขตพื้นที่ดินที่ได้มีประกาศพระบรมราชโองการพระราชทานให้แก่วัด สำหรับใช้เป็นที่ตั้งพระอุโบสถหรือโบสถ์ อันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับประกอบสังฆกรรม) กับสำนักสงฆ์ (คือ วัดที่ยังมิได้รับการพระราชทานวิสุงคามสีมา) วัดที่จะมีฐานะเป็นนิติบุคคลก็เฉพาะวัดที่ได้มีการประกาศตั้งวัดด้วยประกาศกระทรวงศึกษาธิการตามกฎกระทรวงที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ฉะนั้นวัดที่ยังไม่มีประกาศโดยกระทรวงศึกษาธิการให้จัดตั้งเป็นวัด จึงยังไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล

41 มีข้อสังเกตว่า วัดในศาสนาอื่นอาจเป็นนิติบุคคลเอกชนได้ หากมีกฎหมายบัญญัติให้วัดนั้นๆ เป็นนิติบุคคล เช่น มัสยิดในศาสนาอิสลาม มีพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ.2490 มาตรา 5 กำหนดว่ามัสยิดซึ่งได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วเป็นนิติบุคคล เป็นต้น

42 4. รัฐกับการเป็นนิติบุคคลมหาชน
4. รัฐกับการเป็นนิติบุคคลมหาชน   รัฐแต่ละรัฐในกฎหมายระหว่างประเทศนั้นย่อมมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ โดยมีรัฐบาลของรัฐนั้นเป็นผู้แทนนิติบุคคล แต่รัฐตามกฎหมายภายในของแต่ละประเทศจะเป็นนิติบุคคลหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาตามกฎหมายภายในของรัฐนั้นๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแต่ละรัฐ เช่น ประเทศฝรั่งเศส รัฐตามกฎหมายภายในเป็นนิติบุคคล กระทรวง ทบวง กรม ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ส่วนในประเทศอังกฤษนั้น รัฐไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล เพราะถือว่ากษัตริย์ในฐานะเจ้าแผ่นดินมีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นต้น

43 สำหรับประเทศไทยนั้น ตามกฎหมายภายในไม่ถือว่ารัฐเป็นนิติบุคคล ดังนั้นจึงไม่อาจฟ้องรัฐเป็นจำเลยได้ แต่ส่วนราชการในรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล ทั้งนี้ เพราะไม่มีกฎหมายภายในของประเทศ ฉบับใดบัญญัติให้รัฐเป็นนิติบุคคล ปัญหาว่ารัฐไทยเป็นนิติบุคคลที่จะถูกฟ้องได้หรือไม่ มีเรื่องที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐาน คือ คำพิพากษาฎีกาที่ 724/2490 คดีนี้พระยาปรีดานฤเบศร์เป็นโจทก์ฟ้องรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยอธิบดีกรมอัยการและพนักงานอัยการประจำกรมอัยการผู้ดำเนินคดีแทน (พระสารการประสิทธิ์) จำเลย เป็นคดีละเมิดเรียกราคาทรัพย์สินหรือค่าทดแทนโดยฟ้องโจทก์มีสาระสำคัญสรุปได้ว่า การที่รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ต่อมาอังกฤษและสหรัฐอเมริกาได้มาทิ้งระเบิดตกถูกเคหสถานบ้านเรือนของโจทก์ ทั้งเครื่องใช้ต่างๆ ได้รับความเสียหายเป็นเงินไม่น้อยกว่า 500,000 บาท การกระทำของรัฐบาลดังกล่าวข้างต้นเป็นเหตุที่ก่อขึ้นโดยตรงและใกล้ชิดให้อังกฤษและสหรัฐอเมริกาเข้ามาทำลายทรัพย์สมบัติของโจทก์โดยไม่ชอบ การกระทำของรัฐบาลเช่นนี้เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ศาลแพ่งพิเคราะห์คำฟ้องนี้แล้วจดแจ้งไว้ที่หน้าคำฟ้องว่า “ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(11) คู่ความต้องเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 73 ทบวงการเมืองที่เป็นนิติบุคคลนั้น คือ กระทรวงและกรมในรัฐบาลที่โจทก์ขอให้เรียกรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นจำเลยนั้น รัฐบาลหาใช่นิติบุคคลตามกฎหมายไม่ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องที่จะรับไว้ จึงให้ยกเสีย ค่าธรรมเนียมให้เป็นพับเว้นแต่ค่าบังคับ”

44 ปัญหาการที่ระบบกฎหมายภายในของประเทศไทยไม่ยอมรับความเป็นนิติบุคคลของรัฐ
1)ปัญหากรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้กระทรวง ทบวง กรม ใดมีอำนาจหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งๆ ที่อำนาจหน้าที่นั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐ 2)ปัญหากรณีมีการฟ้องร้องระหว่างส่วนราชการด้วยกันเอง กล่าวคือ เมื่อถือว่ากระทรวง ทบวง กรม เป็นนิติบุคคล หน่วยงานดังกล่าวจึงเป็นโจทก์หรือจำเลยในคดีได้ และในกรณีที่มีหน่วยราชการอื่นที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลก่อให้เกิดความเสียหายแก่อีกหน่วยราชการหนึ่งซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคลเช่นเดียวกัน ว่ากันตามกฎหมายแล้ว หน่วยราชการทั้งสองหน่วยสามารถฟ้องร้องกันได้

45 โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ผู้ที่จะฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นจำเลยในโรงศาลนั้น จะต้องเป็นบุคคลทั้งในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1 (11) ก็ยังได้บัญญัติยืนยันไว้ว่า หมายถึงบุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล คือบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลแต่จะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายได้ มาตรา 68 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ได้บัญญัติบังคับไว้ว่า “อันว่านิติบุคคลนั้นจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งบทบัญญัติทั้งหลายของประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น”ในมาตรา 72 ได้กล่าวถึงทบวงการเมืองไว้จำพวกหนึ่งว่าย่อมเป็นนิติบุคคล แต่คำว่าทบวงการเมืองนี้เป็นเพียงสมุหนามซึ่งใช้เรียกนิติบุคคลจำพวกหนึ่งเท่านั้น มาตรา73จึงบัญญัติไว้โดยชัดเจนอีกว่า ทบวงการเมืองนั้นคือกระทรวงและกรมในรัฐบาล เทศาภิบาลปกครองท้องที่ และประชาบาลทั้งหลาย

46 แนวทางการแก้ปัญหา แก้ไขกฎหมายภายในของประเทศไทย ให้รัฐเป็นนิติบุคคล และยกเลิกการเป็นนิติบุคคลของส่วนราชการอื่นในราชการบริหารส่วนกลางละราชการบริหารส่วนภูมิภาค เว้นแต่ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นที่ยังให้คงมีสถานะเป็นนิติบุคคลอยู่


ดาวน์โหลด ppt นิติบุคคลมหาชน(ชุดที่4)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google