งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 งานอาชีพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 งานอาชีพ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 งานอาชีพ

2 เนื้อหาที่จะเรียนในบทนี้
แนวทางเข้าสู่อาชีพ การเลือกและเทคโนโลยีอย่างเหมาสมกับอาชีพ ประสบการณ์ในอาชีพ คุณลักษณะที่ดีต่ออาชีพ

3 แนวทางเข้าสู่อาชีพ อาชีพ (Occupation) หมายถึง การทำกิจกรรม การทำงาน การประกอบการใดๆ ที่ก่อให้เกิดผลผลิตและรายได้ เป็นงานที่สุจริต ไม่ผิดศีลธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคมโดยอาศัยแรงงาน ความรู้ ทักษะ อุปกรณ์ เครื่องมือ วิธีการต่าง ๆ กันไป ลักษณะอาชีพ อาชีพ จำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถเฉพาะด้านเรียกว่า วิชาชีพ เช่น วิศวกร แพทย์ พยาบาล ทนายความ อาชีพที่ถูกกฎหมายและศีลธรรม เรียกว่า สัมมาชีพ เช่น ค้าขาย ส่วนบางอาชีพที่ผิดกฎหมาย เรียกว่า มิจฉาชีพ เช่น โจร อาชีพอาจมีรายได้แตกต่างกันไป ลักษณะอาชีพที่เป็นลูกจ้างจะได้ค่าตอบแทนในรูปแบบเงินเดือน อาชีพค้าขายหรือประกอบกิจการส่วนตัว จะได้ค่าตอบแทนในรูปแบบ กำไร

4 ความสำคัญของอาชีพ การมีอาชีพเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในวิถีชีวิตและการดำรงชีพของบุคคล เพราะอาชีพสร้างรายได้เพื่อเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัว อาชีพจะส่งผลให้คุณภาพชีวิตของตนเองและครอบครัวดีขึ้น  เศรษฐกิจประเทศโดยรวมจะดีตามไปด้วย การสร้างอาชีพก่อให้เกิดตลาดแรงงาน อาชีพก่อให้เกิดผลผลิตและการบริการที่สนองตอบความต้องการของผู้บริโภคอาชีพมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศชาติ   ถือว่าเป็นฟันเฟืองสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิต  เศรษฐกิจชุมชน  ส่งผลถึงความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติ

5 1.1การเตรียมตัวหางานและพัฒนาบุคลิกภาพ )การเลือกอาชีพให้เหมาะสมกับตนเอง เป็นการเลือกอาชีพให้สอดคล้องกับบุคลิกภาพ ความถนัด ความสามารถ และความสนใจของตนเอง การเลือกอาชีพให้เหมาะสมกับตนเองมีหลักอยู่ 4 ประการ ดังนี้1.1)รู้จักตนเองเป็นอย่างดี )มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพต่างๆ )ติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจกิจลังคมโลก )มีความรู้ความเข้าใจถึงแนวโน้มของเศรษฐกิจในประเทศ )การพัฒนาบุคลิกภาพการที่คนเราจะมีบุคลิกภาพดีนั้น มิใช่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพียง ภายนอกด้วยการแต่งกาย หรือพฤติกรรมที่แสดงออกเท่านั้น หากจำเป็นต้องมี การปรับปรุงหรือพัฒนาบุคลิกภาพภายในเสียก่อนเป็นเบื้องต้น จึงจะทำให้ การพัฒนาบุคลิกภาพภายนอกประสบความสำเร็จได้ ในที่นี้จึงจะชี้ให้เห็นสาระสำคัญที่จะนำไปสู่ความสมบูรณ์ ในการพัฒนาบุคลิกภาพ โดยแยกลักษณะของการพัฒนาบุคลิกภาพออกเป็น 2 ลักษณะที่สำคัญ ดังนี้

6 1. การพัฒนาบุคลิกภาพภายใน (Internal Personality) เป็นความจำเป็นที่คนเรา จะต้องพัฒนาบุคลิกภาพภายในเสียก่อนเพื่อนำไปสู่การมีบุคลิกภาพภายนอกหรือการมีการประพฤติปฏิบัติในด้านต่าง ๆ อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับสถานภาพของตนเองสภาวการณ์แวดล้อม สาระสำคัญของบุคลิกภาพภายใน (Internal Personality) ที่เราจะต้องพัฒนามี ดังนี้ • การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง • ความกระตือรือร้น • ความรอบรู้ • ความคิดริเริ่ม • ความจริงใจ • ความรู้กาละเทศะ • ปฏิภาณไหวพริบ • ความรับผิดชอบ • ความจำ • อารมณ์ขัน • ความมีคุณธรรม

7 2. การพัฒนาบุคลิกภาพภายนอก (External Personality) เมื่อมีการพัฒนาบุคลิกภาพภายในดีแล้ว จะทำให้พฤติกรรม ท่าที การแสดงออกในด้านต่าง ๆ ของคนเรางดงาม เหมาะสม ทำให้ได้รับความชื่นชม การยอมรับ และศรัทธาจากบุคคลอื่นได้เป็นอย่างดี สำหรับบุคลิกภาพภายนอกที่จำเป็นต้องพัฒนา มีดังนี้ • รูปร่างหน้าตา • การแต่งกาย • การปรากฎตัว • กริยาท่าทาง • การสบสายตา • การใช้น้ำเสียง • การใช้ถ้อยคำภาษา • มีศิลปะการพูด

8 3)การเตรียมความพร้อมในการหางานทำ 3
3)การเตรียมความพร้อมในการหางานทำ )การค้นพบตัวเองให้ชัดเจนด้วยการวิเคราะห์ SWOT(ตัวอย่างอยู่ในหน้า ) 3.2)การติดตามข่าวสาร 3.3)มองหาแหล่งงาน

9 1.2ลักษณะความมั่นคงและความก้าวหน้า ลักษณะความมั่นคงและความก้าวหน้าในอาชีพ หมายถึง การทำงานที่มีรายได้สม่ำเสมอ มั่นคง และมีโอกาสเจริญก้าวหน้าในตำแหน่งเมื่อมีประสบการณ์มาขึ้น 1)เป้าหมายของการทำงานอาชีพหลักๆ 1.ทำงานเพื่อให้มีรายได้ 2.เพื่อสร้างความมั่นคงให้ชีวิต 2)แนวทางการสร้างความมั่นคงและความก้าวหน้าในการทำงานอาชีพ 1. ขอคำแนะนำจากมืออาชีพ 2. เรียนรู้การทำงานของหัวหน้า 3. อาสาช่วยเหลือในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ 4. รักษาสัมพันธภาพกับลูกค้าทุกคน 5. พัฒนาทักษะการพูดในที่สาธารณะ และทักษะการพรีเซนต์งาน

10 7. ยืนหยัดด้วยหลักเหตุและผล 8. รู้จักธุรกิจที่คุณทำให้ดีพอ
6. เป็นมิตรกับทุกคน 7. ยืนหยัดด้วยหลักเหตุและผล 8. รู้จักธุรกิจที่คุณทำให้ดีพอ 9. ยกย่องคนที่มีความพยายาม 10. รู้จัก รู้ใจหัวหน้า แต่อย่าถึงขั้นประจบประแจง 1.3 การสมัครงาน สำหรับการสมัครงานมีข้อควรพิจารณา ดังนี้ )วิธีการสมัครงาน )ขั้นตอนการสมัครงาน  การเตรียมตัวก่อนการสมัครงาน  2. การกรอกใบสมัคร  3. การเขียนประวัติย่อ (RESUME)  4. การเขียนจดหมายสมัครงาน  5. การสอบข้อเขียน หรือการทดสอบความสามารถ  6. การสัมภาษณ์  7. การติดตามผล

11

12 1.4การสัมภาษณ์ คือการคุยอย่างมีจุดมุ่งหมาย  ซึ่งนิยมใช้เป็นเครื่องมือวัดผลการศึกษาเกี่ยวกับคุณลักษณะด้านความรู้สึกเป็นส่วนใหญ่  เช่น  เกี่ยวกับบุคลิกภาพ  การปรับตัว  เจตคติ  ความสนใจ  รวมทั้งคุณลักษณะเกี่ยวกับการปฏิบัติในด้านวิธีการปฏิบัติ  การใช้การสัมภาษณ์เพื่อวัดความสามารถในด้านความรู้ความคิดทางสติปัญญาก็สามารถใช้ได้  แต่ต้องระมัดระวังในกรณีที่ผู้ถูกสัมภาษณ์มีหลายคน  และใช้คำถามคนละชนิดคนละเรื่อง  ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาในเรื่องการเปรียบเทียบคะแนน  1)องค์ประกอบของการสัมภาษณ์ ผู้สัมภาษณ์ 2.ผู้ให้สัมภาษณ์ 3.เรื่องที่จะสัมภาษณ์ 4.เป้าหมายการสัมภาษณ์ 5.วิธีการสัมภาษณ์ 2)การเตรียมตัวเพื่อสอบสัมภาษณ์เข้าทำงาน ในการตอบคำถามสัมภาษณ์ ควรตอบให้ตรงประเด็น กระชับ ได้ใจความ มีความคิดสร้างสรรค์รวมถึงยกตัวอย่างเพื่อให้คำตอบชัดเจนยิ่งขึ้น ที่สำคัญข้อมูลต้องถูกต้องและเป็นความจริง ซึ่งโดยทั่วไปการสัมภาษณ์ส่วนใหญ่จะใช้เวลาตั้งแต่ 20 นาทีถึง 1 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และตำแหน่งงานของผู้สมัคร นอกจากการเตรียมตัวตอบคำถาม ควรให้ความสำคัญเรื่องการแต่งกายและความตรงต่อเวลาด้วย

13 1.5หลักการทำงาน การครองตน ครองตน ท่านให้ปฏิบัติตามฆราวาสธรรม 4 ซึ่งเป็นหลักการครองชีวิตของคฤหัสถ์ ใช้ สำหรับเรา ๆ ท่าน ๆ ผู้มิใช่นักบวช ครองคน ท่านให้ปฏิบัติตามสัควัตถุธรรม 4 ซึ่งเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจคน หรือเครื่อง ประสานความสามัคคีในหมู่คน ครองงาน ท่านให้ปฏิบัติตามอิทธิบาท 4 ซึ่งเป็นเครื่องมือไปสู่ความสำเร็จ ได้ผลตามมุ่ง หมาย

14 แนวทางการเปลี่ยนงานให้ประสบความสำเร็จ
1.6การเปลี่ยนงาน สาเหตุที่เป็นปัจจัยทำให้คนเปลี่ยนงาน 1. แรงผลักดันจากที่ทำงานเดิมให้ลาออก 2. แรงดึงดูดจากองค์กรใหม่ ความก้าวหน้าในอาชีพการงาน แนวทางการเปลี่ยนงานให้ประสบความสำเร็จ 1. พ-พัฒนาตนเอง             ศึกษา จุดด้อย ข้อบกพร่อง จุดแข็ง ของตนเองอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบุคลิกลักษณะ พฤติกรรม หรือแม้แต่วิธีการทำงานของตนเอง สิ่งไหนที่มีดีอยู่แล้ว ต้องหมั่นต่อยอด พัฒนา ให้ดียิ่งขึ้น สิ่งไหนที่ เป็นจุดอ่อน จุดบกพร่องปรับปรุง 2. ล-หลากหลายทักษะ              ทุกองค์กร หรือบริษัทในปัจจุบัน ต้องการพนักงานที่มีความหลากหลายในทักษะการทำงาน (Multi-skills) เพื่อเข้ามาพัฒนา ปรับปรุงองค์กรให้ดีขึ้น เนื่องจากพนักงานที่มีความสามารถหลายอย่าง ย่อมไม่ปฏิเสธ หรือลีกเลี่ยงการทำงานที่มอบหมายให้ เพราะเป็นบุคคลที่สามารถ พัฒนาตนเอง เพื่อนร่วมงานอย่างต่อเนื่อง 3. อ-อดทน              พลังแห่งความสำเร็จในการทำงาน คือ การอดทน ต่อสถานการณ์ต่างๆ ในสถานที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของงานที่ได้รับมอบหมาย 5. ร-รักงานที่ทำ              เราไม่สามารถให้งานมารักได้ แต่เราสามารถรักงานที่ทำได้ ใตร่ตรอง และพิจารณาดูเสมอ ว่างานที่เราทำอยู่นั้น มีคุณค่ากับเรามากมายเพียงใด ให้อะไรกับเราบ้าง ทำใจให้รักงาน เพราะคำว่ารัก เป็นพื้นฐานของความสำเร็จทุกอย่าง และทำให้คุณมีความสุขกับมัน

15 การเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมกับการประกอบอาชีพ
2.1วิธีการเลือกใช้เทคโนโลยีในการประกอบอาชีพ เลือกใช้เครื่องมือเครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ให้เหมาะสมกับลักษณะอาชีพ นำเทคนิควิธีการใหม่ๆ เข้าไปปรับปรุงงาน หลักการเลือกใช้เทคโนโลยีในการประกอบอาชีพ มีความพอประมาณ 2.ความมีเหตุผล 3.มีความปลอดภัย 4.มีภูมิคุ้มกัน 5.ไม่ขัดต่อศีลธรรม2.3 ปัจจัยที่ต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการประกอบอาชีพ ด้านเศรษฐกิจ จากการแข่งขันทางธุรกิจที่มีการแข่งขันทางการตลาดสูง ด้านสังคม ประเทศที่มีเศรษฐกิจดีจะส่งผลให้สภาพของสังคมดีขึ้น ด้านเทคโนโลยี มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันกับความต้องการของมนุษย์ ด้านความต้องการ เป็นปัจจัยพื้นฐานในการประกอบอาชีพ

16 ประสบการณ์ในอาชีพ 3.1 การจำลองอาชีพ )การจัดนิทรรศการ 2)การแสดงบทบาทสมมติ กิจกรรมอาชีพ )การจัดทำโครงงานอาชีพ )การจัดตั้งบริษัทจำลอง )การจัดกิจกรรมฝึกทักษะอาชีพแบบทวิภาคี

17 คุณลักษณะที่ดีต่ออาชีพ
มีร่างกายแข็งแรง ตรงต่อเวลา ขยัน กระตือรือร้น แสวงหาความรู้อยู่เสมอ มีมนุษย์สัมพันธ์ดี 4.1คุณธรรม จริยธรรมในการประกอบอาชีพ คุณธรรม  หมายถึง  สภาพคุณงานมความดีและความถูกต้องในการแสดงออกทั้งกาย  วาจา  และใจของแต่ละบุคคลซึ่งยึดมั่นไว้เป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติจนเกิดเป็นนิสัย จริยธรรม  หมายถึง  กฎเกณฑ์ที่เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนในสิ่งที่ดีงาม  เหมาะสม  และเป็นที่นิยมชมชอบหรือยอมรับจากสังคม  เพื่อความสันติสุขแห่งตนเองและความสงบเรียบร้อยของสังคม

18 ความสำคัญของคุณธรรมจริยธรรม
ช่วยให้ชีวิตดำเนินไปด้วยความราบรื่นและสงบ ช่วยให้มีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา ช่วยสร้างความมีระเบียบวินัยให้แก่บุคคลในชาติ ช่วยควบคุมไม่ให้คนชั่วมีจำนวนมากขึ้น ช่วยให้มนุษย์นำความรู้และประสบการณ์มาสร้างสรรค์แต่สิ่งที่มีคุณค่า ช่วยควบคุมความเจริญทางด้านวัตถุและจิตใจของคนให้เจิญไปพร้อม ๆ กัน จริยธรรมในการทำงาน      จริยธรรมในการทำงาน  หมายถึง  กฎเกณฑ์ที่เป็นแนวทางปฏิบัติตนในการประกอบอาชีพที่ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีงาน  เหมาะสม  และยอมรับ 

19 คุณธรรมในการทำงาน ความมีสติสัมปชัญญะ  หมายถึง  การควบคุมตนเองให้พร้อม  มีสภาพตื่นตัวฉับไวในการรับรู้ทางประสาทสัมผัส  การใช้ปัญญาและเหตุผลในการตัดสินใจที่จะประพฤติปฏิบัติในเรื่องต่างๆ ได้อย่างรอบคอบ  เหมาะสม และถูกต้อง ความซื่อสัตย์สุจริต  หมายถึง  การประพฤติปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมาทั้งกาย  วาจา  และใจ  ไม่คิดคดทรยศ  ไม่คดโกง  และไม่หลอกลวงใคร ความขยันหมั่นเพียร  หมายถึง  ความพยายามในการทำงานหรือหน้าที่ของตนเองอย่างแข็งขัน ด้วยความมุ่งมั่นเอาใจใส่อย่างจริงจังพยายามทำเรื่อยไปจนกว่างานจะสำเร็จ ความมีระเบียบวินัย  หมายถึง  แบบแผนที่วางไว้เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติและดำเนินการให้ถูกลำดับ  ถูกที่  มีความเรียบร้อย  ถูกต้องเหมาะสมกับจรรยาบรรณ  ข้อบังคับ  ข้อตกลง  กฎหมาย  และศีลธรรม ความรับผิดชอบ  หมายถึง  ความเอาใจใส่มุ่งมั่นตั้งใจต่องาน  หน้าที่  ด้วยความผูกพัน  ความพากเพียร  เพื่อให้งานสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ความมีน้ำใจ  คือ  ปรารถนาดีมีไมตรืจิตต้องการช่วยเหลือให้ทุกคนประสบความสุข  และชาวยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ ความประหยัด  หมายถึง  การรู้จักใช้ รู้จักออม  รู้จักประหยัดเวลาตามความจำเป็น  เพื่อให้ได้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าที่สุด ความสามัคคี  หมายถึง  การที่ทุกคนมีความพร้อมทั้งกาย  จิตใจ  และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน  มีจุดมุ่งหมายที่จะปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จโดยไม่มีการเกี่ยงงอน

20 4.2ค่านิยมในการประกอบอาชีพ ค่านิยม หมายถึง ความเชื่อที่กลุ่มมีร่วมกันของบุคลากรทุกระดับในองค์กรว่าพฤติกรรมใดควรทำและพฤติกรรมใดไม่ควรทำ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จทั้งในระดับบุคคล หน่วยงาน องค์กร และผู้รับบริการ ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสีย 1)ค่านิยมในตัวงาน เป็นค่านิยมที่ให้คุณค่าในตัวงาน 2)ค่านิยมภายนอกตัวงาน เป็นการให้คุณค่าแก่สิ่งแวดล้อมอื่นนอกตัวงาน


ดาวน์โหลด ppt หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 งานอาชีพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google