ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยΘεόφιλος Παπαγεωργίου ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
บทที่ 2 ความสำคัญและการคำนวณรายได้ประชาชาติ
2
หัวข้อ 2.1 ความหมายและความสำคัญของรายได้ประชาชาติ 2.2 การคำนวณรายได้ประชาชาติ 2.3 money GDP และ Real GDP 2.4 ข้อยุ่งยากในการคำนวณหาตัวเลขรายได้ประชาชาติ
3
ความหมายของรายได้ประชาชาติ
1. มูลค่าสินค้าและบริการที่ระบบเศรษฐกิจผลิตขึ้นมาในรอบระยะเวลาใดเวลา หนึ่ง (ด้านผลผลิตมวลรวม) 2. ผลรวมของรายได้ประเภทต่างๆที่บุคคลต่างๆในระบบเศรษฐกิจได้รับในรอบ ระยะเวลาหนึ่ง ในฐานะที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตที่ใช้ในการผลิตสินค้าและ บริการ (ด้านรายได้มวลรวม) 3.ผลรวมของค่าใช้จ่ายต่างๆที่บุคคลต่างๆในระบบเศรษฐกิจได้ใช้จ่ายไปในการ ซื้อสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง (ด้านรายจ่ายมวลรวม)
4
2.1 ความหมายและความสำคัญของรายได้ประชาชาติ
-ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น (Gross Domestic Product : GDP) -ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น (Gross National Product : GNP) โดย GNP = GDP + F เมื่อ F = net income from abroad (รายได้สุทธิจากต่างประเทศ) -ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิ (Net National Product : NNP) โดย NNP = GNP - ค่าใช้จ่ายกินทุน เมื่อ ค่าใช้จ่ายกินทุน (Capital Consumption Allowances) ประกอบด้วย ค่าเสื่อมราคา ค่าเครื่องใช้เครื่องมือในการผลิต ที่ชำรุดสึกหรอหรือล้าสมัย และค่าทรัพย์สินสูญหาย
5
-รายได้ประชาชาติ(National Income : NI) หมายถึง มูลค่ารวมของสินค้าและบริการประชาชาติผลิตขึ้นมาได้ในรอบระยะเวลาหนึ่ง โดยหักค่าใช้จ่ายกินทุนและภาษีทางอ้อมออกแล้ว (Indirect Tax) ออกแล้ว โดย NI = NNP - ภาษีทางอ้อม เมื่อภาษีทางอ้อมเป็นภาษีที่ผู้ผลิตสินค้ามีหน้าที่ที่จะต้องเสียให้รัฐบาล เช่น ภาษีสรรพสามิ ภาษีศุลกากร เป็นต้น -รายได้ส่วนบุคคล (Personal Income :PI) โดย PI = NI - กำไรที่ธุรกิจกันไว้ขยายกิจการ - ภาษีเงินได้นิติบุคคล + เงินโอน -รายได้ส่วนบุคคลสุทธิ (Disposable Personal Income : DPI) โดย DPI = PI - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
6
ความสัมพันธ์ของรายได้ประชาชาติประเภทต่าง ๆ
1. ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น (Gross Domestic Product : GDP) = เป็นมูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ที่ผลิตขึ้นภายในประเทศในรอบระยะเวลาหนึ่ง 2. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น (GNP) = GDP + F 3. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิ (NNP) = GNP – ค่าใช้จ่ายกินทุน 4. รายได้ประชาชาติ (NI) = NNP – ภาษีทางอ้อม 5. รายได้ส่วนบุคคล (PI) = NI –กำไรที่ธุรกิจกันไว้ขยายกิจการ – ภาษีเงินได้นิติบุคคล + เงินโอน 6. รายได้ส่วนบุคคลสุทธิ (DPI) = PI - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
7
ความสำคัญของรายได้ประชาชาติ
1.) ในด้านศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ 2.) ในด้านวิเคราะห์เศรษฐกิจของประเทศ 3.) ในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ 4.) เป็นเครื่องมือวางนโยบายจัดเก็บภาษีอากร 5.) เทียบเคียงฐานะทางเศรษฐกิจกับประเทศอื่น 6.) ในการวางแผนการผลิตและการลงทุนของเอกชน
8
(Expenditure Approach) (Production Approach)
2.2 การคำนวณรายได้ประชาชาติ การคำนวณ GDP ด้านรายจ่าย (Expenditure Approach) ด้านผลผลิต (Production Approach) ด้านรายได้ (Income Approach)
9
1) วิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติด้านการผลิต หรือด้านผลผลิต (Production Approach)
(1) คำนวณจากผลิตผลขั้นสุดท้าย เป็นผลรวมของมูลค่าของสินค้าและบริการเฉพาะที่เป็นสินค้าขั้นสุดท้าย (Final Product) ที่ผลิตขึ้นในประเทศหรือที่ประเทศได้มาในรอบระยะเวลาหนึ่ง เช่น 1 ปี -(2) คำนวณจากมูลค่าเพิ่ม (Value added) ซึ่งเป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้นจากการผลิตในแต่ละขั้นตอน โดยคิดเพียงมูลค่าที่เพิ่มขึ้นจากการผลิตแต่ละขั้น เพื่อขจัดปัญหาการนับซ้ำ มูลค่าเพิ่ม = มูลค่าของสินค้าและบริการ(ที่ขาย) - (ต้นทุน)สินค้าและบริการที่ใช้ในการผลิตสินค้า
10
สินค้าขั้นกลางหมายถึง สินค้าที่นำไปใช้ในการผลิตสินค้าขั้นสุดท้าย
หรือ หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ผู้ซื้อ ซื้อไปขายต่อ หรือใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อผลิต หรือแปรรูปเป็นสินค้าอื่น ซึ่งอาจเป็นสินค้าแปรรูป หรือเป็นสินค้าที่ ต้องผ่านกระบวนการแปรรูปต่อไปอีกก็ได้ การนำสินค้าขั้นกลางมานับด้วย จะเกิดเป็นปัญหาที่เรียกว่า “double counting” หรือการนับซ้ำ
11
ตารางที่ 2.1 แสดงตัวอย่างการคำนวณมูลค่าเพิ่ม
ตารางที่ แสดงตัวอย่างการคำนวณมูลค่าเพิ่ม ขั้นการผลิต มูลค่าที่ขายได้ มูลค่าของสินค้าระหว่างการผลิต มูลค่าเพิ่ม ผู้ผลิตข้าว 10,000 โรงงานทำแป้ง 15,000 5,000 โรงงานทำขนม(สินค้าสำเร็จรูป) 20,000 รวม 45,000 25,000
12
ตัวอย่าง : ข้าวเปลือก 10 ถัง มูลค่า 100 บาท ข้าวเปลือก 5 ถังนำไปสีเป็นข้าว สารมูลค่า 150 บาท และครึ่งหนึ่งของข้าวสารนำมาบดเป็นแป้ง มีมูลค่า 90 บาท ส่วนข้าวสารที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งถูกนำไปบริโภค ข้าวเปลือกที่ เหลือ 5 ถัง นำไปเลี้ยงสัตว์ได้เนื้อสัตว์มีมูลค่า 200 บาท จงหามูลค่าเพิ่ม ของสินค้า
13
ด้านผลผลิต(Production Approach)
ภาพที่ 2.2 แสดงส่วนประกอบของรายได้ประชาชาติด้านการผลิต ด้านผลผลิต(Production Approach) 1.) เกษตรกรรม ) ค้าส่งและค้าปลีก 2.) เหมืองแร่และย่อยหิน ) การธนาคาร ประกันภัยและธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ 3.) อุตสาหกรรมการ ) ที่อยู่อาศัย 4.) ก่อสร้าง ) การบริหารและการป้องกันประเทศ 5.) การไฟฟ้าและการประปา 11.) การบริการ 6.) การคมนาคมและการขนส่ง
14
2540 2541 2542 2543 2544p 1 ภาคการเกษตร(1) 514 564.9 502.8 511 532.1 2 -พืชผล 287.8 326.9 263 267.2 283.6 3 -ปศุสัตว์ 43.9 49.7 41.5 53.9 4 -ประมง 95.2 108 103.5 109.5 104.5 5 -ป่าไม้ 7 6.2 5.6 5.3 6 -บริการทางการเกษตร 13.2 13.6 13.7 12.3 13.1 -การแปรรูปสินค้าเกษตรอย่างง่าย 66.8 66.3 67.3 75.3 71.5 8 นอกภาคการเกษตร 4,218.6 4,061.6 4,134.3 4,405.5 4,591.3 9 เหมืองแร่ และย่อยหิน(2) 82.4 84.3 87.4 116.7 126.2 10 อุตสาหกรรม(3) 1,360.8 1,362.0 1,446.7 1,576.9 1,638.8 11 การก่อสร้าง(4) 271.8 178.7 166.3 150.1 152.4 12 ไฟฟ้า และประปา(5) 119 142.3 130.4 146.1 166.5 13 การคมนาคม และขนส่ง(6) 369.9 360.9 376.1 397.5 429.9 14 การค้าส่ง และค้าปลีก(7) 763 732.2 742.8 787.3 792.1 15 สถาบันการเงิน และธุกิจอสังหาริมทรัพย์(8) 322.7 243.1 164.1 155.4 159.8 16 ที่อยู่อาศัย(9) 115.1 120.1 123.1 125 125.9 17 บริหารราชการแผ่นดิน และการป้องกันประเทศ(10) 181.1 195.3 204.2 211.2 222.4 18 ภาคบริการ(11) 632.7 642.6 693.3 739.4 777.4 19 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(12)=(1)+…+(11) 4,732.6 4,626.4 4,637.1 4,916.5 5,123.4
15
2540 2541 2542 2543 2544p 20 รวม : รายได้สุทธิจากต่างประเทศ(13) -123.4 -160 -126.4 -76.9 -85.1 21 ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ(14)=(12)+(13) 4,609.2 4,466.4 4,510.6 4,839.6 5,038.3 22 หัก : ภาษีทางอ้อมหักเงินอุดหนุน(15) 540.7 476.2 471.9 482.7 490 23 ค่าเสื่อมราคา(16) 630.8 679.1 703.9 728.3 759.3 24 รายได้ประชาชาติ(17)=(14)-(15)-(16) 3,437.7 3,311.0 3,334.8 3,628.7 3,789.1 25 รายได้ประชาชาติต่อคน (บาท)(18) 76,057 72,979 72,981 77,551 80,083 26 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อคน (บาท) (19) 78,093 75,594 75,026 78,783 81,435
16
2) วิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติด้านรายได้ (Income Approach)
เอารายได้ของฝ่ายต่าง ๆ ทั้งของเอกชนและรัฐบาลอันเกิดจากการผลิตสินค้าและบริการทั้งหมดในประเทศเข้ามารวมกันในรอบระยะเวลาหนึ่ง เช่น 1 ปี ก. รายได้ของเอกชน ประกอบด้วย ค่าจ้าง + ค่าเช่า + ดอกเบี้ย + กำไร ข. รายได้ของรัฐบาล ส่วนมากเป็นรายได้จากเงินค่าภาษีอากร รายได้จากทรัพย์สินและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ยกเว้น รายได้ที่ไม่นำมารวมเป็นรายได้ประชาชาติ เป็นรายได้ที่ไม่ก่อให้เกิดผลผลิต เช่น เงินโอน รายได้ที่ได้มาโดยบังเอิญ รายได้ที่ผิดกฎหมาย
17
ด้านรายได้ (Income Approach) ค่าจ้าง (wages) กำไร (profits) ค่าเช่า (rent) ดอกเบี้ย (interest)
18
2538 2539 2540 2541p 1. ค่าตอบแทนแรงงานของลูกจ้าง 1,210,481 1,343,678 1,415,644 1,384,753 2. ผลตอบแทนจากทิ่ดิน ทุน และการประกอบการ 2,004,663 2,120,362 2,095,650 1,993,199 2.1 รายได้จากการประกอบการที่มิใช่นิติบุคคล 982,274 997,465 1,050,258 1,131,123 2.1.1 การเกษตร 281,872 301,159 315,450 362,830 2.1.2 อื่น ๆ 700,402 696,306 734,808 768,293 2.2 กำไรของนิติบุคคลที่จัดสรรก่อนหักภาษี และกำไรนำส่งรัฐ 519,240 531,789 437,766 206,139 2.2.1 เงินออมนิติบุคคล 322,340 312,572 214,434 80,476 2.2.2 ภาษีเงินได้นิติบุคคล 162,115 176,294 166,387 91,464 2.2.3 กำไรที่รัฐวิสาหกิจนำส่งรัฐ 34,785 42,923 56,945 34,199 2.3 รายได้จากทรัพย์สินของครัวเรือนรัฐบาล และเงินโอนนิติบุคคล 503,149 591,108 607,626 655,937 2.3.1 รายได้จากทรัพย์สินของครัวเรือน 475,408 552,980 567,416 601,436 2.3.2 รายได้จากทรัพย์สินของรัฐบาล 17,392 25,506 27,546 41,614 2.3.3 เงินโอนนิติบุคคล 10,349 12,622 12,664 12,887 หัก ดอกเบี้ยหนี้บริโภคของครัวเรือน 51,527 61,485 65,685 43,762 หัก ดอกเบี้ยหนี้สาธารณะ 14,244 9,429 12,859 18,976 3. รายได้ประชาชาติ 3,149,373 3,393,126 3,432,750 3,315,214
19
3) วิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติด้านรายจ่าย (Expenditure Approach)
GNE = C + I + G + (X-M) GNE = Gross national expenditure (=GDP)
20
C = การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคครัวเรือน
I = การใช้จ่ายเพื่อการลงทุนภาคเอกชน G = การใช้จ่ายภาครัฐ X = มูลค่าการส่งสินค้าออก M = มูลค่าการนำสินค้าเข้า
21
ตารางที่ 2.4 ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติด้านการใช้จ่าย ณ ราคาประจำปี 1/ 2/
(หน่วย : พันล้านบาท) 2540 2541 2542 2543 2544p 1 รายจ่ายเพื่อการอุปโภค(1) 3,063.70 3,017.00 3,128.20 3,310.30 3,506.30 2 -ภาคเอกชน 2,587.00 2,505.30 2,595.10 2,750.50 2,913.70 3 - ภาครัฐบาล 476.7 511.7 533 559.8 592.7 4 การสะสมทุนถาวรเบื้องต้น(2) 1,598.60 1,035.40 965.9 1,080.00 1,178.50 5 1,048.50 588.9 535.5 679.1 783.3 6 -การก่อสร้าง 293.4 163.9 125.6 144.4 161.8 7 -เครื่องมือ เครื่องจักร 755.1 424.9 409.9 534.7 621.4 8 ภาครัฐ(3) 550.2 446.6 430.4 400.8 395.2 9 431 353.4 338 273.4 273.7 10 -เครื่องมือ เครื่องจักร 119.1 93.2 92.3 127.5 121.6 11 การเปลี่ยนแปลงสต๊อกสินค้า(4) -5.5 -89.5 -15.3 37.6 46.7 12 รายจ่ายเพื่อการอุปโภคและรายจ่ายเพื่อการลงทุน(5)=(1)+…+(4) 4,656.80 3,963.00 4,078.80 4,427.90 4,731.60 13 รวม : การส่งออกสินค้า และบริการ(6) 2,272.10 2,724.00 2,703.30 3,287.30 3,386.10 14 รายจ่ายเพื่อสินค้าที่ผลิตในประเทศและสินค้านำเข้า(7)=(5)+(6) 6,928.90 6,686.90 6,782.10 7,715.20 8,117.70 15 หัก : การนำเข้าสินค้า และบริการ(8) 2,205.10 1,988.90 2,120.30 2,862.30 3,051.60 16 รายจ่ายเพื่อสินค้าที่ผลิตในประเทศ(9)=(7)-(8) 4,723.80 4,698.00 4,661.70 4,852.90 5,066.10 17 ความคลาดเคลื่อนทางสถิติ(10) 8.8 -71.6 -24.6 63.6 57.3 18 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(11)=(9)+(10) 4,732.60 4,626.40 4,637.10 4,916.50 5,123.40 19 รวม : รายได้สุทธิจากต่างประเทศ(12) -123.4 -160 -126.4 -76.9 -85.1 20 ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติด้านรายจ่าย ณ ราคาประจำปี(13)=(11)+(12) 4,609.20 4,466.40 4,510.60 4,839.60 5,038.30
22
รายได้ประชาชาติที่แท้จริง และรายได้ประชาชาติที่เป็นตัวเงิน
พิจารณาจากตารางต่อไปนี้ ปี P Q money GDP ดัชนีราคา Real GDP
23
Money GDP (รายได้ประชาชาติที่เป็นตัวเงิน) หมายถึง ยอดรวม
ของมูลค่ารายได้ประชาชาติที่วัดจากราคาตลาด (ราคาที่ซื้อขายในท้องตลาด ณ เวลานั้น) Real GDP (รายได้ที่ประชาชาติที่แท้จริง) หมายถึง การวัดรายได้ ประชาชาติ ณ ระดับราคาคงที่ ซึ่งเป็นราคาที่กำหนดให้ปีใดปีหนึ่งเป็นปีฐาน โดยมีสูตร real GDP = (money GDP / Price Index)* 100
24
2.4 ข้อยุ่งยากในการคำนวณหาตัวเลขรายได้ประชาชาติ
1.) การกระจายรายได้ 2.) สินค้าและบริการที่ผู้ผลิตบริโภคเอง (สินค้าและบริการที่ไม่ผ่านตลาด) 3) มิได้แสดงถึงคุณภาพของสินค้า หรือคุณประโยชน์ที่แท้จริง 4) มิได้คำนึงถึงคุณภาพชีวิต
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.