ระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์Operating System and

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์Operating System and"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์Operating System and
Chapter 4 Make Office your own ระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์Operating System and Application Software

2 วัตถุประสงค์ “Hello” slide
สามารถอธิบายความหมายและเข้าใจหน้าที่หลักต่างๆของระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ สามารถอธิบายการจัดการไฟล์และการจัดเก็บข้อมูลตามโครงสร้างของโฟลเดอร์ได้ สามารถอธิบายถึงกระบวนการจัดการฮาร์ดแวร์ของระบบปฏิบัติการได้ ทราบถึงความเป็นมา ความสามารถและลักษณะของระบบปฏิบัติการต่างๆที่นำมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละประเภท สามารถบอกนิยามของคำว่าโปรแกรมประยุกต์ได้ สามารถจำแนกประเภทของโปรแกรมประยุกต์ สามารถบอกวิธีการจัดหาโปรแกรมประยุกต์ได้ “Hello” slide Next

3 เนื้อหา “Hello” slide 4.1 บทนำ 4.2 วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ
4.3 ความหมายของระบบปฏิบัติการ 4.4 หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ 4.5 ประเภทของระบบปฏิบัติการ 4.6 ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ 4.7 ความหมายของโปรแกรมประยุกต์ 4.8 ประเภทของโปรแกรมประยุกต์ 4.9 ตัวอย่างโปรแกรมประยุกต์แยกตามกลุ่มงาน 4.10 วิธีการจัดหาโปรแกรมประยุกต์ “Hello” slide

4 4.1 บทนำ ระบบปฏิบัติการ คือ กลุ่มของโปรแกรมหรือคำสั่งที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วงและโปรแกรมต่างๆ ที่ทำงานในคอมพิวเตอร์ โดยมองในรูปแบบโครงสร้างการทำงานร่วมกับระบบคอมพิวเตอร์ 3 ระดับ คือ Hardware Operating System Application/User Program “Hello” slide

5 4.1 บทนำ (ต่อ) “Hello” slide
โดยระบบปฏิบัติการเป็นได้ทั้ง Hardware OS, Software OS และ Firmware OS เพื่อเชื่อมโยงการทำงานระบบคอมพิวเตอร์และอำนวยความสะดวกกับผู้ใช้งาน Hardware OS Software OS Firmware OS “Hello” slide

6 เปรียบเทียบความเร็ว Hardware OS > Firmware OS > Software OS
4.1 บทนำ (ต่อ) Hardware OS คือ ระบบปฏิบัติการที่อยู่ในรูปของอุปกรณ์ เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ Software OS คือ ระบบปฏิบัติการที่เป็นโปรแกรม เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้งานสะดวก ติดตั้งและง่ายแก่การแก้ไขระบบ Firmware OS คือ ระบบปฏิบัติการที่อยู่ในซอฟต์แวร์ที่ฝังอยู่ในฮาร์ดแวร์ ผู้ใช้สามารถอ่าน และเรียกใช้งานเฟิร์มแวร์ได้ แต่ไม่สามารถแก้ไข เขียน หรือลบเฟิร์มแวร์ได้ ตัวอย่างเฟิร์มแวร์ในระบบ โปรแกรมในรอม เป็นการเขียนเฟิร์มแวร์ฝังข้อมูลการทำงานของฮาร์ดแวร์ไว้ถาวร เปรียบเทียบความเร็ว Hardware OS > Firmware OS > Software OS “Hello” slide

7 4.1 บทนำ (ต่อ) อีกความหมายของ Firmware OS คือ โปรแกรมขนาดเล็กที่เขียนไว้ในชิปบนตัวอุปกรณ์ เพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ต่างๆ เช่น สมาร์ทโฟน แท็ปเล็ต

8 4.2 วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ
ยุคแรก (ค.ศ ) เป็นยุคคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีระบบปฏิบัติการ คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้หลอดสุญญากาศจำนวนมาก มีขนาดใหญ่มาก มีการป้อนงานแบบกลุ่มด้วยมือ (Manual Batch System) และประมวลผลแบบกลุ่มโดยอัตโนมัติ (Automatic Batch Processing) ยุคที่ 2 (ค.ศ ) เป็นยุคทรานซิสเตอร์ ซึ่งเป็นการรวมวงจรของหลอดสุญญากาศเข้ามาไว้ในแผงวงจร ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง และมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ได้แก่เครื่องเมนเฟรม ซึ่งมีการสร้างคอมพิวเตอร์ออกมาจำหน่ายมากขึ้น แต่เครื่องเมนเฟรมก็ยังถือว่ามีขนาดใหญ่ และการทำงานยังยุ่งยาก ดังนั้นจึงต้องมีเจ้าหน้าที่สำหรับดูแลเครื่องโดยเฉพาะ และต้องอยู่ในห้องปรับอากาศ และการที่มีราคาแพงทำให้มีใช้เฉพาะในหน่วยงานใหญ่อย่างเช่น มหาวิทยาลัย และหน่วยงานราชการเท่านั้น เริ่มมีการเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งงาน เช่นภาษา FORTRANและ COBOL ระบบปฏิบัติการในยุคนี้จะเป็นลักษณะ Batch Processing “Hello” slide

9 4.2 วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ (ต่อ)
“Hello” slide ยุคที่ 3 (ค.ศ ) ยุค IC (Integrated Circuit) เป็นวงจรไฟฟ้าที่รวมเอาทรานซิสเตอร์หลายๆ ตัวเข้ามาไว้ด้วยกัน ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง และมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำให้เริ่มมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ขั้นสูง เช่น COBOL และ PASCAL แม้จะมีข้อจำกัดด้าน มัลติโปรแกรมมิ่ง (Multiprogramming) และมัลติโปรเซสซิ่ง (Multiprocessing) แต่ก็เริ่มมีระบบเรียลไทม์ (Real-Time Systems), การแบ่งเวลา (Time Sharing) และระบบปฏิบัติการแบบ Virtual Storage Single-Mode ที่ใช้ในระบบ UNIX

10 4.2 วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ (ต่อ)
ยุคที่ 4 (ค.ศ ) เป็นยุคที่คอมพิวเตอร์มีการพัฒนารวดเร็วที่สุด อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง และมีประสิทธิภาพสูงมาก ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กและมีราคาถูก การพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์มีมากทำให้มีภาษาคอมพิวเตอร์ขั้นสูงมากมายข้อจำกัดต่างๆเริ่มมีน้อย ระบบปฏิบัติการในยุคนี้สามารถจัดการเกี่ยวกับทรัพยากรได้ดี ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งทรัพยากรกันใช้ การติดต่อสื่อสาร และการทำงานร่วมกันของอุปกรณ์หลายๆอย่างระบบปฏิบัติการยุคนี้ มี 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มทีใช้กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เช่น PC-DOS, MS-DOS, Mac OS 2. กลุ่มที่ใช้กับคอมพิวเตอร์แบบเครือข่าย เช่น UNIX, Linux Server, Windows Server “Hello” slide

11 4.1 วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ (ต่อ)
ยุคที่ 5 (ค.ศ ปัจจุบัน) เป็นยุคที่คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงมากจนเป็นอุปกรณ์ประมวลผลที่สามารถพกพาได้ (Portable Computer) ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถใช้งานแอปพลิเคชันได้ทุกประเภท สะดวก และมีประสิทธิภาพสูง มุ่งเน้นการประหยัดพลังงาน ลดความร้อน มีขนาดเล็ก พกพาสะดวก สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอยู่ตลอดเวลา ทำให้ผู้ใช้มีความสะดวกสบาย “Hello” slide

12 4.3 ความหมายของระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการ เป็นโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของโปรแกรมประยุกต์และทำหน้าที่เป็นส่วนติดต่อระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และ ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ตัวแปลภาษา (Translator) “Hello” slide

13 4.3 ความหมายของระบบปฏิบัติการ (ต่อ)
1. ระบบปฏิบัติการ (Operating System) คือ ระบบที่ทำการติดต่อระหว่างผู้ใช้งานกับฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และรับคำสั่งจากผู้ใช้งานไปประมวลผลเพื่อใช้งานกับโปรแกรมประยุกต์ “Hello” slide

14 4.3 ความหมายของระบบปฏิบัติการ (ต่อ)
2. ตัวแปลภาษา (Translator) คือ เป็นโปรแกรมที่แปลโปรแกรมภาษาต้นฉบับ (Source Code) หรือภาษาแอสเซมบลี/ภาษาระดับสูง ไปเป็นภาษาเครื่องหรือเลขฐานสองที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ “Hello” slide Translator Source Code Machine Language A+B

15 4.3 ความหมายของระบบปฏิบัติการ (ต่อ)
“Hello” slide ตัวอย่างตัวแปลภาษา 1. แอสเซมเบลอร์ (Assembler) จะทำการแปลรหัสสัญลักษณ์ของโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีเป็นคำสั่งภาษาเครื่อง

16 4.3 ความหมายของระบบปฏิบัติการ (ต่อ)
ตัวอย่างตัวแปลภาษา 2. อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) จะทำการแปลภาษาระดับสูงเป็นภาษาเครื่อง โดยใช้หลักการแปลพร้อมทำงานตามคำสั่งทีละบรรทัด “Hello” slide

17 4.3 ความหมายของระบบปฏิบัติการ (ต่อ)
ตัวอย่างตัวแปลภาษา 3. คอมไพเลอร์ (Compiler) จะทำการแปลภาษาระดับสูงเป็นภาษาเครื่อง โดยใช้หลักการแปลทั้งโปรแกรมเป็น Object Code ก่อนนำมาทำงาน “Hello” slide

18 “Hello” slide 4.4 หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
1. การติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface) ผู้ใช้สามารถติดต่อหรือควบคุมอุปกรณ์การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ได้ 2 ทางคือ Prompt และ GUI 1.1ควบคุมผ่านทาง Prompt คือ การเรียกใช้ Command Prompt เป็นการป้อนรูปแบบคำสั่งที่เป็นตัวหนังสือ (text) สั่งการลงไปทีละบรรทัดคำสั่ง จึงเรียกว่า คอมมานไลด์ (command line) “Hello” slide

19 “Hello” slide 4.4 หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ (ต่อ)
ติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface) (ต่อ) 1.2 การควบคุมผ่านทาง GUI (Graphic User Interface) ลักษณะของ GUI จะมีหน้าต่างขึ้นมาพร้อม Icon ต่าง ๆ ให้ผู้ใช้เรียกใช้งานโดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรู้คำสั่งต่าง ๆ เพียงแค่คลิกที่ Icon ก็จะสามารถควบคุมการทำงานของระบบได้ “Hello” slide

20 “Hello” slide 4.4 หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ (ต่อ)
2. ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Device Control) ระบบปฏิบัติการทำหน้าที่เป็นหน่วยควบคุมอุปกรณ์เพื่อให้อุปกรณ์ทำงานในอย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องทราบการทำงานของอุปกรณ์ดังกล่าว เช่น การหมุนของแผ่นซีดี การหมุนของฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น “Hello” slide

21 “Hello” slide 4.4 หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ (ต่อ)
3. จัดสรรทรัพยากรในระบบ (Resource Management) เพื่อเป็นการจัดสรรทรัพยากรในระบบ เช่น ข้อมูล ซีพียู หน่วยความจำ และอุปกรณ์ต่างๆ ให้การทำงานของระบบเป็นไปอย่างถูกต้องและสอดคล้องกัน แบ่งหน้าที่ในการจัดการทรัพยากรได้เป็น 4 กลุ่ม คือ 1. การจัดการกระบวนการ ( Process Management ) 2. การจัดการหน่วยความจำหลัก (Memory Management ) 3. การจัดการแฟ้มข้อมูล ( File Management ) 4. การจัดการอินพุตและเอาต์พุต ( I/O Management ) “Hello” slide

22 “Hello” slide 4.4 หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ (ต่อ)
การจัดการกระบวนการ ( Process Management ) เป็นการทำงานที่ เกี่ยวกับการจัดการกระบวนที่เกิดขึ้นภายในระบบ การจัดการหน่วยความจำหลัก (Memory Management )การทำงาน ที่เกี่ยวกับการจัดสรรเนื้อที่ของหน่วยความจำหลักให้กับโปรแกรม การจัดการแฟ้มข้อมูล ( File Management )เป็นการจัดการ แฟ้มข้อมูลที่ใช้งานภายในระบบเช่น การสร้าง การลบ การแก้ไข การจัดการอินพุตและเอาต์พุต ( I/O Management ) คือการ ทำงานที่เกี่ยวกับส่วนการนำเข้าและส่งออกข้อมูล “Hello” slide

23 “Hello” slide 4.5 ประเภทของระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการเมนเฟรม เช่น OS/390 OS/360 ระบบปฏิบัติการเซิร์ฟเวอร์ เช่น Linux, Windows Server , Unix ระบบปฏิบัติการมัลติโปรเซสเซอร์ เช่น Linux , Windows Server ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เช่น Windows, Mac ระบบปฏิบัติการแบบพกพา เช่น Symbian, Windows Mobile, iOS, Android ระบบปฏิบัติการแบบฝังตัว เช่น Embedded Linux, VxWorks , QNX ระบบปฏิบัติการบนโหนดเซ็นเซอร์ เช่น TinyOS, LiteOS, Contiki ระบบปฏิบัติการแบบเวลาจริง Hard Real-timeใช้ในการบิน การทหาร และ Soft Real-time แบบที่ใช้ทั่วๆ ไป เช่น LynxOS, RTLinux, Windows CE ระบบปฏิบัติการบนสมาร์ตการ์ด เช่น MULTOS “Hello” slide

24 “Hello” slide 4.5 ประเภทของระบบปฏิบัติการ 1. ระบบปฏิบัติการเมนเฟรม
ระบบปฏิบัติการเมนเฟรมจะถูกสร้างให้รองรับกับการประมวลผลได้หลายงานในเวลาเดียวกัน และงานส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการใช้อุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุตเป็นจำนวนมาก การประมวลผลบนระบบเมนเฟรม เช่น การประมวลผลแบบแบตช์ (Batch processing) การประมวลผลแบบรายการ (Transaction Processing) การประมวลผลแบบแบ่งเวลา (Time sharing) นอกจากนั้นเมนเฟรมยังเป็นการใช้งานของผู้ใช้หลายคน (Multi user and Multitasking) และการใช้หลายงาน ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น OS/390 OS/360 “Hello” slide

25 “Hello” slide 4.5 ประเภทของระบบปฏิบัติการ 2. ระบบปฏิบัติการเซิร์ฟเวอร์
เซิร์ฟเวอร์เป็นคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นแม่ข่ายเพื่อให้บริการต่างๆ กับลูกข่าย เซิร์ฟเวอร์มีหลายประเภทและมีความแตกต่างกันในการให้บริการ บริการบางอย่างถูกติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง (Computer Server) และบริการบางอย่างอาจจะถูกติดตั้งไว้ในอุปกรณ์ (Appliance Server) ตัวอย่างของเซิร์ฟเวอร์ในระบบเครือข่าย เช่น ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (File Server) แอปพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์ (Application Server) เน็ตเวิร์กเซิร์ฟเวอร์ (Network Server) อินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ (Internet Server) หรือคลาวด์เซิร์ฟเวอร์ (Cloud Server) ตัวอย่างของระบบปฏิบัติการบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เช่น Linux, Windows Server, และ UNIX เป็นต้น “Hello” slide

26 “Hello” slide 4.5 ประเภทของระบบปฏิบัติการ
3. ระบบปฏิบัติการมัลติโปรเซสเซอร์ คอมพิวเตอร์แบบมัลติโปรเซสเซอร์ ประกอบด้วยโปรเซสเซอร์จำนวน 2 ตัวหรือมากกว่า เพื่อประกอบเป็นคอมพิวเตอร์ระบบเดียว และโปรเซสเซอร์สามารถทำงานแบบขนานกันไปได้ในเวลาเดียวกัน ทำให้มีความซับซ้อนกว่าระบบโปรเซสเซอร์เดียว ในปัจจุบันส่วนมากเป็นแบบสมมาตร (Symmetric Multiprocessor) โดยแต่ละโปสเซสเซอร์ใช้ระบบปฏิบัติการเหมือนกัน คอมพิวเตอร์แบบมัลติโปรเซสเซอร์บางระบบสามารถมีโปรเซสเซอร์ได้สูงถึง 1,000 โปรเซสเซอร์ ตัวอย่างระบบปฏิบัติการที่มีการใช้งานกันมากก็คือ Linux และ Windows Server เป็นต้น “Hello” slide

27 “Hello” slide 4.5 ประเภทของระบบปฏิบัติการ
4. ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลประกอบด้วยไมโครคอมพิวเตอร์และคอมพิวเตอร์แล็ปท็อป เป็นระบบการใช้งานทีละหนึ่งคนและสามารถใช้ได้หลายงานในเวลาเดียวกัน การใช้งานในปัจจุบันส่วนมากเป็นแอปพลิเคชันประยุกต์ทั่วไป เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมการคำนวณ โปรแกรมเกม และโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต ตัวอย่างของระบบปฏิบัติการบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เช่น Windows, Mac และ Linux เป็นต้น “Hello” slide

28 “Hello” slide 4.5 ประเภทของระบบปฏิบัติการ 5. ระบบปฏิบัติการแบบพกพา
เป็นระบบปฏิบัติการแบบพกพาบนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก ในช่วงเริ่มต้นรู้จักกันในชื่อของเครื่อง PDA (Personal Digital Assistant) แต่ในปัจจุบันอุปกรณ์พกพาเหล่านี้ได้มีการพัฒนาให้มีความหลากหลายมากขึ้น ทำให้มีการนำอุปกรณ์เหล่านี้พกพาไปใช้ในการทำงานนอกสำนักงาน การติดต่อสื่อสารทั่วไปมากยิ่งขึ้น เช่น แท็บเล็ต สมาร์ตโฟน และอุปกรณ์พกพาขนาดเล็กอื่นๆ โดยตัวอย่างของระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพา เช่น Symbian, Windows Mobile, iOS และ Android เป็นต้น “Hello” slide

29 “Hello” slide 4.5 ประเภทของระบบปฏิบัติการ 6. ระบบปฏิบัติการแบบฝังตัว
เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกติดตั้งมาพร้อมกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ จึงเรียกว่าระบบปฏิบัติการแบบฝัง ซึ่งมีข้อดีก็คือเป็นระบบที่มีขนาดเล็กและใช้ทรัพยากรของเครื่องน้อย ระบบฝังตัว (Embedded Systems) จะทำงานบนคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ เช่น รถยนต์ เครื่องเล่น MP3 เครื่องเล่น DVD และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงต่างๆ เป็นต้น ตัวอย่างของระบบปฏิบัติการประเภทนี้ เช่น Embedded Linux, VxWorks และ QNX เป็นต้น “Hello” slide

30 “Hello” slide 4.5 ประเภทของระบบปฏิบัติการ
7. ระบบปฏิบัติการบนโหนดเซ็นเซอร์ โหนดเซ็นเซอร์ทำงานบนเครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สาย โดยระบบเครือข่ายประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นโหนดเซ็นเซอร์ (Sensor node) และโหนดสถานีฐาน (Base station node) โหนดเซ็นเซอร์ทำหน้าที่ในการส่งข้อมูลที่วัดจากเซ็นเซอร์ ไปยังโหนดสถานีฐานผ่านทางคลื่นวิทยุ ส่วนโหนดสถานีฐานจะทำหน้าที่ในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สายกับคอมพิวเตอร์ผ่านทางพอร์ตอนุกรม (Serial port) โหนดเซ็นเซอร์จะใช้พลังงานจากแบตเตอร์รี่ (ระบบงานประยุกต์บางอย่างใช้พลังงานจากไฟฟ้าในอาคาร) ตัวอย่างของระบบปฏิบัติการโหนดเซ็นเซอร์ เช่น TinyOS, LiteOS และ Contiki เป็นต้น “Hello” slide

31 “Hello” slide 4.5 ประเภทของระบบปฏิบัติการ 8. ระบบปฏิบัติการแบบเวลาจริง
ระบบคอมพิวเตอร์แบบเวลาจริงมีความสามารถทางด้านการติดต่อสื่อสารสูง ใช้กับงานที่ต้องการข้อมูลที่เป็นปัจจุบันตลอดเวลา และเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในระบบการเฝ้าดูและติดตามข้อมูล ระบบปฏิบัติการแบบเวลาจริงแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1. Hard Real-time system เป็นระบบปฏิบัติการแบบเวลาจริงที่ใช้ในอุตสาหกรรม การบิน และการทหาร 2. Soft Real-time system เป็นระบบปฏิบัติการแบบเวลาจริงที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานล่าช้า (delayed) ได้ โดยไม่มีผลกระทบใดๆ เช่น ระบบมัลติมิเดีย ระบบโทรศัพท์ดิจิทัล เป็นต้น โดยตัวอย่างระบบปฏิบัติการแบบเวลาจริง เช่น LynxOS, RTLinux และ Windows CE เป็นต้น “Hello” slide

32 “Hello” slide 4.5 ประเภทของระบบปฏิบัติการ
9. ระบบปฏิบัติการบนสมาร์ตการ์ด สมาร์ตการ์ดเป็นบัตรขนาดเล็กที่มีการรวมชิพหรือฝังชิพไว้ในตัวบัตร ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในชิพสามารถแสดงสิทธิในการประมวลผลค่าใช้จ่าย การระบุตัวตนของผูใช้บัตร และมีวิธีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเป็นอย่างดี ระบบปฏิบัติการบนบัตรสมาร์ตการ์ดมีขนาดเล็กและฝังอยู่ในชิพ มีหน้าที่หลักในการป้องกันความลับของข้อมูล ตัวอย่างของระบบปฏิบัติการสมาร์ตการ์ด เช่น MULTOS เป็นต้น “Hello” slide

33 “Hello” slide 4.6 ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องแม่ข่าย ระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์มือถือ “Hello” slide

34 “Hello” slide 4.6 ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ดอส (DOS) วินโดว์ (Windows) ระบบปฏิบัติการแม็คอินทอช (Mac OS) โอเอส/ทู (OS/2) ฟรีบีเอสดี (FreeBSD) “Hello” slide

35 “Hello” slide ดอส (DOS) พัฒนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1980 โดยบริษัทไมโครซอฟต์
ทำงานด้วย Text mode รับคำสั่งผ่าน Command Line ประกอบด้วย 2 รุ่นคือ พีซี - ดอส (PC-DOS) เอ็มเอส - ดอส (MS-DOS)

36 Windows 3.0 “Hello” slide พัฒนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ โดยบริษัทไมโครซอฟต์ ติดต่อกับผู้ใช้แบบ Graphical User Interface(GUI) ทำงานบนระบบปฏิบัติการ DOS

37 Windows 95 “Hello” slide พัฒนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ โดยบริษัทไมโครซอฟต์ เป็นระบบปฏิบัติการ 32 บิตรุ่นแรก แต่ยังไม่สมบูรณ์นัก ทำงานแบบ Multitasking สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์แบบ Plug and Play สนับสนุนการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่าย ตั้งชื่อ และนามสกุลของไฟล์รวมได้ถึง 255 ตัวอักษร

38 Windows 98 “Hello” slide พัฒนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ โดยบริษัทไมโครซอฟต์ เป็นระบบปฏิบัติการที่คนยอมรับกันทั่วโลก พัฒนา Port USB ระบบ FAT32 รองรับฮาร์ดดิสก์ได้มากกว่า 2 GB มี Hyperlink ของ Internet Explorer

39 Windows 2000 พัฒนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2000โดยบริษัทไมโครซอฟต์ เป็นรุ่นพัฒนาต่อจาก Windows NT มีการจัดการระบบแม่ขายแบบรวมศูนย์ “Hello” slide

40 Windows ME “Hello” slide พัฒนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2001โดยบริษัทไมโครซอฟต์
เพิ่มเติมเครื่องมือและความสามารถด้านมัลติมีเดีย พัฒนาการเชื่อมต่ออุปกรณ์แบบ Universal Plug and Play เพิ่ม System Restore เพื่อให้สามารถย้อนกลับได้เมื่อ Driver หรือ Application เกิดปัญหา เพิ่ม Automatic Updates เพื่อให้สามารถตรวจสอบการปรับปรุงระบบปฏิบัติการได้ตลอด 24 ช.ม.

41 Windows XP “Hello” slide พัฒนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2002โดยบริษัทไมโครซอฟต์
เป็นรุ่นพัฒนาต่อจาก Windows NT ปรับปรุงเครื่องมือและ GUI ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น “Hello” slide

42 Windows Vista “Hello” slide
พัฒนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2007โดยบริษัทไมโครซอฟต์ เป็นรุ่นพัฒนาต่อจาก Windows XP และ Windows 2003 ปรับปรุง GUI ให้มีสวยงามยิ่งขึ้น เช่น Windows Aero ปรับปรุงความปลอดภัยและระบบเครือข่ายให้ มีประสิทธิภาพมากขึ้น “Hello” slide

43 Windows 7 “Hello” slide พัฒนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2009โดยบริษัทไมโครซอฟต์
เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมสูงมาก มีกราฟิกที่สวยงาม วางตำแหน่ง Icon ให้ใช้งานได้สะดวก “Hello” slide

44 Windows 8.1 เป็นระบบปฏิบัติการ Windows ตัวที่ 8 ของสายตระกูล Windows เดิมชื่อว่า แบล็คโคมบ์ (Blackcomb) เปลี่ยนเป็น เวียนนา (Vienna) รองรับระบบ Multi-touch screen ปรับปรุงประสิทธิภาพให้ทำงานได้เร็วขึ้น “Hello” slide

45 Windows 10 เป็นระบบปฏิบัติการใหม่จากทางไมโครซอฟท์ (Microsoft)

46

47 ระบบปฏิบัติการรุ่นต่างๆ ของ Microsoft

48 Macintosh (MAC OS) “Hello” slide
พัฒนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1984โดยบริษัทแอปเปิล ใช้กับเครื่อง Apple Computer เท่านั้น เป็น OS ตัวแรกที่มีส่วนติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก และควบคุมด้วยเมาส์ เหมาะกับงานผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และมัลติมีเดีย มีความสามารถ Inter Application Communication (IAC) ทำให้ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง Application แบบ Real Time

49

50 OS/2 (Operating System 2)
“Hello” slide พัฒนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ โดยบริษัทไอบีเอ็ม แนวคิดในเชิงวิศวกรรมดี แต่กินทรัพยากรสูงกว่าเครื่องธรรมดาในสมัยนั้น ทำให้ไม่ได้รับความนิยม

51 “Hello” slide FreeBSD (Free Berkeley Software Distribution)
Open Source ใช้ได้โดยไม่มีค่าลิขสิทธ์ และร่วมกันพัฒนาได้ มีประสิทธิภาพและสเถียรภาพสูง เหมาะเป็นเครื่องแม่ข่าย “Hello” slide

52 “Hello” slide ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
โนเวลเน็ตแวร์ (Novell Netware) ยูนิกซ์ (Unix) ลีนุกซ์ (Linux) และ ลีนุกซ์ทะเล (Linux TLE) Windows NT, Windows 2003 Ubuntu “Hello” slide

53 Novell Netware “Hello” slide พัฒนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1983โดยทีม SuperSet
เป็นระบบปฏิบัติการที่ทำงานภายใต้ DOS “Hello” slide

54 UNIX “Hello” slide พัฒนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1970โดยทีม AT&T Bell Labs
เป็นระบบปฏิบัติการที่มีการทีมพัฒนาต่อเป็นจำนวนมาก เป็นต้นแบบของการพัฒนา OS หลายตัวเช่น FreeBSD และ Linux มีทั้งรุ่นจำหน่ายลิขสิทธ์และ Open Source เป็นระบบปฏิบัติการขนาดใหญ่ สำหรับเครื่องแม่ข่ายหรือเครื่องเมนเฟรม

55 Linux “Hello” slide พัฒนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1991โดยนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเฮซิงกิ ฟินแลนด์ เป็นระบบปฏิบัติการ Open Source เป็นต้นแบบของ Linux TLE และ อูบุนตู สามารถใช้เป็น OS ในเครื่อง PC เพราะใช้ทรัพยากรในเครื่องน้อยกว่า OS อื่น

56 “Hello” slide Linux TLE (Thai Language Extension)
พัฒนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1999โดยสถาบัน NECTEC สามารถใช้งานภาษาไทยได้ดี รุ่นปัจจุบันคือ Linux TLE 9.0 "หัวหิน"

57 Windows NT “Hello” slide
พัฒนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ โดยบริษัทไมโครซอฟต์ สามารถทำงานแบบ Multi Processing และMultithreading รองรับการทำงานด้านเครือข่าย เพิ่มระบบรักษาความปลอดภัย พัฒนาระบบไฟล์ขึ้นใหม่เป็น NTFS จากเดิมคือ FAT สนับสนุนเทคโนโลยี RAID

58 Windows Sever “Hello” slide Windows 2003 Server Windows 2008
ออกวางจำหน่ายเมื่อ 28 มีนาคม พ.ศ. 2547 เน้นความปลอดภัยเป็นหลัก Windows 2008 มีรหัสในการพัฒนาว่า Windows Server "Longhorn“ คุณสมบัติหลายอย่างมาจาก Windows Vista

59 อูบุนตู (Ubuntu) “Hello” slide
เป็น Linux Distribution สนับสนุนการพัฒนาโดยบริษัท Canonical Ubuntu แปลว่า"humanity towards others" หรือ “กรุณาต่อบุคคลอื่น” รูปแบบการติดตั้งแบบ Live CD และเป็น Open Source “Hello” slide

60 “Hello” slide ระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์มือถือ iOS Android
Windows Mobile Black Berry Symbian OS “Hello” slide

61 iOS “Hello” slide ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นมาโดย Apple Inc. หรือในชื่อเดิมคือ Apple Computer Inc เพื่อรองรับอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ เช่น iPhone , iPad, iPod เป็นต้น สามารถดาวน์โหลดได้จาก App Store

62 Android “Hello” slide ระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาโดย Android Inc. จากนั้นบริษัท Google ได้เข้าซื้อกิจการรวมทั้งบุคลากรทั้งหมด เพื่อนำมาพัฒนาต่อ เป็นระบบปฏิบัติการแบบ Open Source สามารถดาวน์โหลด Application ได้จาก Play Store

63 Windows Mobile “Hello” slide
ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท Microsoft ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับโทรศัพท์มือถือ สำหรับอุปกรณ์ Nokia, HTC

64 BlackBerry “Hello” slide
ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท RIM (Research In Motion) ซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสารภายใต้ยี่ห้อ BlackBerry (แต่ปัจจุบัน RIM ได้เปลี่ยนชื่อเป็น BlackBerry เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อแบรนด์ของสินค้าหลัก) ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึง Application Store ได้จาก BlackBerry App Word

65 Symbian OS “Hello” slide
ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท Symbian Ltd. และเป็นหนึ่งใน OS ที่บริษัท Nokia พัฒนาเพื่อนำมาใช้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ Nokia เอง โดยมีจุดเด่นคือเป็นระบบเปิด ผู้ใช้สามารถที่จะนำโปรแกรมอื่น ๆ ที่เขียนขึ้นมาเพื่อใช้งานรองรับ Symbian มาลงเพิ่มในเครื่องได้เอง ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึง Application Store ได้จาก Nokia Ovi Store

66 4.7 ความหมายของโปรแกรมประยุกต์
“Hello” slide คือ โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน โดยการทำงานของโปรแกรมประยุกต์จะต้องอยู่ภายใต้ซอฟท์แวร์ระบบ เช่น โปรแกรมประมวลคำ โปรแกรมจัดเก็บภาษี โปรแกรมสินค้าคงคลัง โปรแกรมตารางทำงาน โปรแกรมกราฟิก โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล เป็นต้น โปรแกรมประยุกต์แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ โปรแกรแกรมประยุกต์สำหรับงานเฉพาะด้านและโปรแกรมประยุกต์แบบสำเร็จรูป

67 4.8 ประเภทของโปรแกรมประยุกต์
1. โปรแกรมประยุกต์สำหรับงานเฉพาะด้าน (Special Purpose Software) / โปรแกรมเฉพาะงาน (Tailor Made Software) เป็นโปรแกรมที่ได้ออกแบบมาเฉพาะทางหรือเฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่งให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยโปรแกรมเฉพาะทางจะประกอบด้วยตัวโปรแกรม ฐานข้อมูล และคู่มือการใช้งาน ส่วนใหญ่จะมีราคาสูงกว่าโปรแกรมแบบทั่วไป เช่น - โปรแกรมทางบัญชี เช่น ระบบบัญชีเจ้าหนี้ - โปรแกรมระบบจัดจำหน่าย เช่น ระบบคลังสินค้า ระบบสั่งซื้อสินค้า - โปรแกรมอื่นๆ เช่น ระบบหอพัก ระบบเช่าซื้อ ระบบลงทะเบียน “Hello” slide

68 4.8 ประเภทของโปรแกรมประยุกต์ (ต่อ)
2. โปรแกรมประยุกต์สำหรับงานทั่วไป (General Purpose Software) / โปรแกรมสำเร็จรูป (Package Software) เป็นโปรแกรมที่ถูกนำมาผลิตและวางขายทั่วไป มีราคาไม่แพง ผู้ใช้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสมได้ เช่น โปรแกรมตารางวิเคราะห์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Spreadsheet) โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processing) โปรแกรมนำเสนองาน (Presentation Software) โปรแกรมด้านกราฟิก (Graphic Software) โปรแกรมฐานข้อมูล (Database) โปรแกรมด้านโทรคมนาคม (Telecommunication Software) “Hello” slide

69 4.9 ตัวอย่างโปรแกรมประยุกต์แยกตามกลุ่มงาน
1. ซอฟต์แวร์ตารางวิเคราะห์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Spreadsheet) คือ โปรแกรมที่ใช้ในการคำนวณข้อมูลต่างๆ แทนอุปกรณ์คำนวณ มีลักษณะเป็นตาราง 2 มิติเปรียบเสมือนโปรแกรมกระดาษทด ซึ่งเป็นโปรแกรมที่นิยมใช้ในการคำนวณ สามารถหาค่าเฉลี่ย หาผลรวมได้ทั้งในลักษณะแถวหรือคอลัมน์ นอกจากการคำนวณแล้วยังสามารถพิมพ์ผลข้อมูลออกมาในรูปแบบของตารางและกราฟต่าง ๆ เช่น กราฟแท่ง (Bar Charts), กราฟวงกลม (Pie Chart), กราฟเส้น (Line Graph) เป็นต้น ตัวอย่างโปรแกรมเช่น Lotus 1-2-3, Microsoft Excel เป็นต้น “Hello” slide

70 4.9 ตัวอย่างโปรแกรมประยุกต์แยกตามกลุ่มงาน (ต่อ)
1. ซอฟต์แวร์ตารางวิเคราะห์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Spreadsheet) สามารถสรุปการทำงานทั่วไปของโปรแกรมทางด้านการคำนวณได้ดังต่อไปนี้ พิมพ์ข้อมูลลงในเซลล์ จัดรูปแบบตัวอักษรและกำหนดขนาดตัวอักษร แก้ไข และลบข้อมูล ทำสำเนาคัดลอกและตัดข้อมูล ค้นหาข้อความ การแทนที่คำ สร้างไดอะแกรม ตัวอักษรกราฟิก ตรวจสอบความถูกต้องของตัวสะกด ไวยากรณ์ การเชื่อมโยงข้อความจากแผ่นงานฉบับหนึ่งไปยังแผ่นงานอีกฉบับหนึ่ง “Hello” slide

71 4.9 ตัวอย่างโปรแกรมประยุกต์แยกตามกลุ่มงาน (ต่อ)
“Hello” slide 2. ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Word Processing) คือซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการพิมพ์งานประเภทต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว แล้วแต่คุณสมบัติของแต่ละโปรแกรมในการจัดพิมพ์งาน เช่น การจัดพิมพ์ข้อความ การจัดหน้า การจัดคำ จัดจำนวนบรรทัดต่อหน้าย่อหน้าต่าง ๆ การเลือกรูปแบบตัวอักษร เช่น Microsoft Word, WordPad , Notepad เป็นต้น

72 4.9 ตัวอย่างโปรแกรมประยุกต์แยกตามกลุ่มงาน (ต่อ)
ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Word Processing) สามารถการทำงานของโปรแกรมทางด้านการประมวลผลคำได้ดังต่อไปนี้ พิมพ์ข้อมูล แก้ไข และลบข้อมูล ทำสำเนาคัดลอกและตัดข้อมูล ค้นหาข้อความ การแทนที่คำ จัดรูปแบบเอกสาร สร้างตาราง ไดอะแกรม ตัวอักษรกราฟิก แผนภูมิหรือกราฟ ตรวจสอบความถูกต้องของตัวสะกด ไวยากรณ์ สร้างจดหมายและเมลล์ การเชื่อมโยงข้อความจากเอกสารฉบับหนึ่งไปยังอีกฉบับหนึ่ง “Hello” slide

73 4.9 ตัวอย่างโปรแกรมประยุกต์แยกตามกลุ่มงาน (ต่อ)
“Hello” slide 3. ซอฟต์แวร์นำเสนอ (Presentation Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้การนำเสนองานต่าง ๆ เป็นที่น่าสนใจ ทำให้การนำเสนองานทำได้ง่ายขึ้น โดยในสไลด์ต่าง ๆ สามารถประกอบไปด้วย ตัวอักษร รูปภาพ กราฟแผนภูมิ ตาราง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และอื่น ๆ อีกทั้ง ยังสามารถแก้ไข และลบงานเดิมได้ง่าย ซอฟต์แวร์ที่เป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ Microsoft Power Point, Lotus Freelance, Harvard Graphic และซอฟต์แวร์นำเสนองานในชุดของซอฟต์แวร์ปลาดาว เป็นต้น

74 4.9 ตัวอย่างโปรแกรมประยุกต์แยกตามกลุ่มงาน (ต่อ)
“Hello” slide 4. ซอฟต์แวร์กราฟิกส์ (Graphic Software) คือซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถในด้านกราฟิกส์เช่น การตัดต่อภาพ การวาดภาพ การใส่สีภาพ การแก้ไขภาพในส่วนที่ไม่ต้องการ นอกจากนั้นยังสามารถเปลี่ยนลักษณะของภาพ ลักษณะของสี หรือแม้กระทั่งการสร้าง VDO การตัดต่อ VDO ด้วย ซอฟต์แวร์กราฟิกส์ที่เป็นที่นิยมเหล่านี้คือ Adobe Photoshop, Adobe Illustrator, Paint, Paint Brush, Paint Shop, Core Photo Paint เป็นต้น

75 4.9 ตัวอย่างโปรแกรมประยุกต์แยกตามกลุ่มงาน (ต่อ)
5. ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูล (Database) คือ โปรแกรมที่เก็บรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นหมวดหมู่โดยทำหน้าที่สร้างฐานข้อมูล และเป็นตัวคอยดูแลจัดการเรียกใช้และแก้ไขข้อมูลในฐานข้อมูลนั้น หน้าที่สำคัญของระบบการจัดฐานข้อมูล (DBMS) คือเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูลโดยผู้ใช้ไม่ต้องสนใจเกี่ยวกับโครงสร้างของข้อมูลที่จัดเก็บจริง เช่น Microsoft Access, Microsoft SQL Server , MySQL, Oracle เป็นต้น “Hello” slide

76 4.9 ตัวอย่างโปรแกรมประยุกต์แยกตามกลุ่มงาน (ต่อ)
“Hello” slide 5. ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูล (Database) สามารถการทำงานของโปรแกรมทางด้านฐานข้อมูลได้ดังต่อไปนี้ กำหนดความสัมพันธ์ข้อมูล ตาราง (table) ประกอบด้วย เรคคอร์ด (Record) และ ฟิลด์ (Field) การจัดเรียงลาดับข้อมูล การสอบถามข้อมูล (query) ฟอร์มรับข้อมูล(form) รายงาน(report)

77 4.9 ตัวอย่างโปรแกรมประยุกต์แยกตามกลุ่มงาน (ต่อ)
6. ซอฟต์แวร์โทรคมนาคม (Telecommunication Software) คือซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการสื่อสารกันในเครือข่ายทั้งในระยะใกล้และระยะไกล รวมถึงยังสามารถรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ฐานข้อมูลหากันได้ หรือแม้กระทั่งการโทรวีดีโอ หรือ VDO Call ได้ ซอฟต์แวร์โทรคมนาคมที่ใช้ในปัจจุบันเหล่านี้ได้แก่ Facebook, Line, Twister, Skype, Bee Talk, และซอฟต์แวร์บนเครือข่ายที่ใช้ในการรับส่ง ต่าง ๆ เป็นต้น “Hello” slide Copyright © Dr. KITTIPOL WISAENG

78 4.10 วิธีการจัดหาโปรแกรมประยุกต์
“Hello” slide 1.การจัดซื้อซอฟต์แวร์แบบสำเร็จรูป (Packaged or ready – made software) 2. แบบจ้างทำ (Customized or tailor made software) 3. ผู้ใช้ผลิตเอง (User make Software) 4. แบบทดลองใช้ (Share Ware) 5. แบบใช้งานฟรี (Free Ware) 6. แบบโอเพนซอร์ซ (Open Source) Copyright © Dr. KITTIPOL WISAENG

79 แบบฝึกหัด 1. จงอธิบายความหมายของระบบปฏิบัติการ 2. จงบอกหน้าที่ของระบบปฎิบัติการมา 3 อย่าง พร้อมยกตัวอย่างประกอบ 3. คุณลักษณะของระบบปฏิบัติการคืออะไร 4. ระบบปฏิบัติการ DOS ต่างกับ Windows อย่างไร 5. ข้อดีของระบบปฏิบัติการลีนุกซ์คืออะไร ตอบมา 3 ข้อ 6. ซอฟต์แวร์กลุ่มการใช้งานด้านธุรกิจประเภท Word Processing ที่นิสิตรู้จักมีอะไรบ้าง พร้อมจงยกตัวอย่างประกอบ 7. นิสิตคิดว่าความสำคัญระหว่างซอฟต์แวร์ระบบกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ อย่างใดมีความสำคัญ มากกว่ากัน เพราะเหตุใด

80 ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์ ลักษณะการใช้งาน / ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประยุกต์
8. ให้นิสิตอธิบายลักษณะการใช้งานและยกตัวอย่างซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่กำหนดให้ถูกต้อง ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์ ลักษณะการใช้งาน / ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ ซอฟต์แวร์ทำการคำนวณ ซอฟต์แวร์นำเสนอข้อมูล ซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟิก และมัลติมีเดีย

81 กรณีศึกษา จากกรณีศึกษา หน้า 4-25 ให้นิสิตตอบคำถามต่อไปนี้
ที่มา: จากกรณีศึกษา หน้า ให้นิสิตตอบคำถามต่อไปนี้ Cloud Service เหมาะกับธุรกิจประเภทใด อภิปรายเหตุผล และยกตัวอย่างประกอบ นอกจากบริษัทที่ยกตัวอย่างข้างต้น ให้นิสิตยกตัวอย่างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่นิสิตเคยใช้งานในรูปแบบ SaaS


ดาวน์โหลด ppt ระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์Operating System and

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google