ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่กำหนดไว้ ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๙/๒๕๖๐ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
2
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด (ต่อ)
๑. ตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ ๑๙/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๐ เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดให้ศึกษาธิการจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยสรุป ดังนี้ ๑.๑) เป็นกรรมการและเลขานุการของ กศจ. (ข้อ ๗) ๑.๒) เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ อกศจ. (ข้อ ๙) ๑.๓) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ข้อ ๑๒) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด (ต่อ)
๑.๔)รับผิดชอบการดำเนินงานของ สนง.ศึกษาธิการจังหวัด (ข้อ ๑๒) ๑.๕) มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เฉพาะงานที่เกี่ยวกับ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา (ข้อ ๑๒) ๑.๖) เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดหรือกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา ๕๓ (๓) และ (๔) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยความเห็นชอบของ กศจ. (ข้อ ๑๓) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
4
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด (ต่อ)
๑.๗) เป็นผู้ปฏิบัติราชการตามที่เลขาธิการ กพฐ. เลขาธิการ กอศ.เลขาธิการ กกอ. เลขาธิการ ก.ค.ศ. เลขาธิการ กศน. และเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนการมอบอำนาจเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล เพื่อประโยชน์ในการบริหารงาน กำกับดูแล และบูรณาการการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ ในจังหวัดหรือกรุงเทพมหานคร (ข้อ ๑๔) (ถ้าหากมี) ๑.๘) เป็นผู้ปฏิบัติราชการตามที่เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนมอบอำนาจในการปฏิบัติราชการตามกฎหมาย ว่าด้วย โรงเรียนเอกชนให้ศึกษาธิการจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการแทน (ข้อ ๑๔) (ถ้าหากมี) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
5
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด (ต่อ)
๒. ตามข้อ ๑๒ ของคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๑๙/๒๕๖๐ มีผลให้ศึกษาธิการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานบุคคลตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ดังนี้ ๒.๑) มีอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้บังคับบัญชาข้าราชการครู ฯ ในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด เช่น ๒.๑.๑) มีอำนาจในการประเมินผลการปฏิบัติงาน (ตามมาตรา ๗๓) ๒.๑.๒) เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่มีหน้าที่ในการส่งเสริมสนับสนุนผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาโดยการให้ไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติงานวิจัยและพัฒนาตามระเบียบที่ ก.ค.ศ. กำหนด (มาตรา ๘๑) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
6
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด (ต่อ)
๒.๑.๓) เป็นผู้มีอำนาจสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัย ไม่ร้ายแรง แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ตามมาตรา ๙๘ วรรคหนึ่ง) ๒.๒) ศึกษาธิการจังหวัด เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด แต่มิใช่เป็นผู้มีอำนาจ สั่งบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
7
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด (ต่อ)
๒.๓) มีอำนาจหน้าที่ ตามที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษากำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เฉพาะงานที่เกี่ยวกับ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา เช่น ๒.๓.๑) เสนอแนะการบรรจุและแต่งตั้ง และการบริหารงาน บุคคลในเรื่องอื่นที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา (กศจ.) (มาตรา ๒๔(๒)) ๒.๓.๒) ประเมินคุณภาพการบริหารงานบุคคลและจัดทำ รายงานการบริหารงานบุคคลเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาเพื่อเสนอ ก.ค.ศ. ต่อไป (มาตรา ๒๔(๒)) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
8
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด (ต่อ)
๒.๔) มีอำนาจสั่งการตามมติ กศจ. แก่ข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา เช่น - ออกคำสั่งย้ายข้าราชกาครูและบุคลากรทางการศึกษา (ตามมาตรา ๕๙ วรรคหนึ่ง) - ออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน (ตามมาตรา ๗๓ วรรคห้า) - ออกคำสั่งลงโทษปลดออก ไล่ออกจากราชการ (ตามมาตรา ๑๐๔ วรรคสาม) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
9
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด (ต่อ)
๓. ตามข้อ ๑๓ ของคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๑๙/๒๕๖๐ กำหนดให้ศึกษาธิการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดหรือกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา ๕๓ (๓) และ (๔) โดยความเห็นชอบของ กศจ. มีผลให้ศึกษามีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
10
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด (ต่อ)
๓.๑) มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (๓) สั่งบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา ให้ดำรง ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามมาตรา ๓๘ ข.(๕) ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามาตรา ๓๘ ค.(๒) ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
11
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด (ต่อ)
ตำแหน่งซึ่งมีวิทยฐานะชำนาญการ ตำแหน่งซึ่งมีวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งซึ่งมีวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ๓.๒) มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (๔) สั่งบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้ดำรงตำแหน่งในสถานศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ตำแหน่งครู ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามาตรา ๓๘ ค.(๒) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
12
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด (ต่อ)
๓.๒) พิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ ตามที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
13
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ ข้อ 13 คำสั่ง หน.คสช.ที่ ๑๙/๒๕๖๐ การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัด หรือกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา ๕๓ (๓) และ (๔) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ให้ศึกษาธิการจังหวัด โดยความเห็นชอบของ กศจ เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
14
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ) ศึกษาธิการจังหวัดในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
15
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ) ๑. สั่งให้ผู้ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามมาตรา ๔๕ วรรคหนึ่ง มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๔ มาตรา ๖๕ มาตรา ๖๖ และมาตรา ๖๗ ซึ่งภายหลังปรากฏว่าขาดคุณสมบัติทั่วไป หรือขาดคุณสมบัติตามมาตรฐานตำแหน่งตามมาตรา ๔๒ หรือขาดคุณสมบัติพิเศษตามมาตรา ๔๘ อยู่ก่อน หรือมีกรณีต้องหาอยู่ก่อนและภายหลังปรากฏว่าเป็นผู้ขาดคุณสมบัติเนื่องจากกรณีต้องหานั้น ออกจากราชการโดยพลัน (มาตรา ๔๙) ๒. สั่งบรรจุและแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความรู้ความสามารถ มีความชำนาญหรือเชี่ยวชาญระดับสูงเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (มาตรา ๕๑) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
16
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ) ๓.สั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รอง ผอ.สถานศึกษา ตำแหน่ง ผอ. สถานศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามมาตรา ๓๘ ข. (๕) ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา ๓๘ ค. (๒) ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตำแหน่งซึ่งมีวิทยฐานะชำนาญการ ตำแหน่งซึ่งมีวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ และตำแหน่งซึ่งมีวิทยฐานะเชี่ยวชาญ โดยอนุมัติ กศจ. (มาตรา ๕๓ (๓)) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
17
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ) ๔. สั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย ตำแหน่งครู และตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา ๓๘ ค. (๒)ในสถานศึกษา (มาตรา ๕๓ (๔)) ๕. สั่งให้ผู้ที่ไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับที่กำหนดออกจากราชการ ตามมาตรา ๑๑๐ (๖) (มาตรา 55 (3)) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
18
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ) ๖. สั่งให้ผู้ที่อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือ เตรียมความพร้อมฯ ที่มีความประพฤติไม่ดี หรือไม่มีความรู้ หรือไม่มีความเหมาะสม หรือมีผลการประเมินทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือเตรียมความพร้อมฯอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. กำหนด โดยไม่ควรให้รับราชการต่อไปออกจากราชการได้ไม่ว่าจะครบกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มหรือไม่ก็ตาม (มาตรา 56 วรรคสอง) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
19
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ ๗. สั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่พ้นกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือเตรียมความพร้อม ฯ แล้ว และควรให้รับราชการต่อไป ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง หรือวิทยฐานะที่จะได้รับแต่งตั้งต่อไป และรายงาน กศจ (มาตรา 56 วรรคสอง) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
20
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ) ๘. เปลี่ยนแปลงคำสั่งที่สั่งให้ผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือเตรียมความพร้อม ฯ ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามมาตรา ๖๖ และต่อมาปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีจะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคสอง (มีผลการประเมินทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือเตรียมความพร้อมฯ ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ.กำหนด)หรือตามมาตราอื่น เป็นให้ออกจากราชการ ตามวรรคสอง หรือมาตราอื่นนั้น (มาตรา 56 วรรคสาม) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
21
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ) ๙. สั่งลงโทษผู้อยู่ในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือเตรียมความพร้อม ฯ ที่มีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญา หรือกระทำผิดวินัย หรือสั่งให้ออกจากราชการเมื่อมีกรณีที่บุคคลดังกล่าวจะต้องออกจากราชการตามวรรคสอง (มีผลการประเมินทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือเตรียมความพร้อมฯ ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. กำหนด) หรือวรรคสามหรือตามมาตราอื่น แล้วแต่กรณี (มาตรา 56 วรรคห้า) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
22
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ) ๑๐. สั่งบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ กศจ. พิจารณาอนุมัติย้ายแล้วไปดำรงตำแหน่งในหน่วยงานการศึกษาภายในเขตพื้นที่การศึกษาหรือต่างเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัด (มาตรา 59 วรรคหนึ่ง) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
23
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ) ๑๑. สั่งให้ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เลื่อนตำแหน่ง หรือเลื่อนวิทยฐานะ โดยไม่เข้าเกณฑ์มาตรฐานตำแหน่ง หรือมาตรฐานวิทยฐานะ หรือไม่ผ่านกระบวนการเลื่อนตำแหน่งหรือเลื่อนวิทยฐานะ ตามกฎหมาย หลักเกณฑ์และวิธีการ ที่ ก.ค.ศ. กำหนด หรือผู้สั่งสั่งไม่ถูกต้องหรือไม่มีอำนาจ สั่งกลับไปดำรงตำแหน่งหรือวิทยฐานะเดิมโดยพลัน (มาตรา 63 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
24
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ) ๑๒. สั่งบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครู ฯ ที่ออกจากราชการไปแล้ว และมิใช่เป็นการออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ซึ่งสมัครเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครู ฯ และทางราชการประสงค์จะรับผู้นั้นโดยให้มีตำแหน่ง วิทยฐานะ และรับเงินเดือน ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการ ที่ ก.ค.ศ. กำหนด (มาตรา 64) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
25
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ) ๑๓. สั่งบรรจุและแต่งตั้งผู้ที่ได้รับอนุมัติจาก ครม.ให้ออกจากราชการไปปฏิบัติงานและให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเป็นเวลาราชการตามกฎหมาย ว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครู ฯ ภายในกำหนดเวลา ที่ ครม. อนุมัติแต่ไม่เกินสี่ปีนับแต่วันไปปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว โดยให้มีตำแหน่ง วิทยฐานะ และรับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด (มาตรา ๖๕) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
26
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ) ๑๔. สั่งบรรจุและแต่งตั้งผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไป รับราชการทหาร เมื่อผู้นั้นพ้นจากราชการทหารโดยมิได้กระทำการในระหว่างรับราชการทหารอันเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง หรือได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง และไม่เป็นผู้ขาดคุณสมบัติตาม ม. ๓๐ไม่ได้ถูกสั่งเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นให้ออกฯ ตามมาตราอื่น ที่ประสงค์จะกลับเข้ารับราชการในหน่วยงานการศึกษาเดิมและยื่นขอ ฯ ภายในกำหนด ๑๘๐ วันนับแต่วัน พ้นจากราชการทหาร โดยให้มีตำแหน่ง วิทยฐานะ และรับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด (มาตรา 66)
27
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ) ๑๕ เสนอให้ ก.ค.ศ. หรือผู้ที่ ก.ค.ศ. มอบหมาย พิจารณาอนุมัติรับพนักงานส่วนท้องถิ่นที่ไม่ใช่พนักงานวิสามัญ หรือไม่ใช่ข้าราชการหรือพนักงานซึ่งออกจากงานในระหว่างทดลองปฏิบัติงานหรือข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและไม่ใช่ข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ หรือข้าราชการซึ่งออกจากราชการในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ที่ออกจากงานหรือออกจากราชการไปแล้ว เข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (มาตรา 67 วรรคหนึ่ง) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
28
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ) ๑๖. สั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษารักษาการในตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ว่างลง หรือผู้ดำรงตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ (มาตรา 68 วรรคหนึ่ง) ๑๗. สั่งเลื่อนเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา ตามมติ กศจ. (มาตรา 73 วรรคห้า) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
29
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ) ๑๘. เป็นผู้มีอำนาจสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาที่มีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง (มาตรา 98 วรรคสอง) ๑๙. เป็นผู้มีอำนาจสั่งลงโทษวินัยร้ายแรงตามมติ กศจ. หรือ ก.ค.ศ. (มาตรา ๑๐๔) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
30
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ) ๒๐. ดำเนินการสืบสวน หรือพิจารณาตาม ม.๙๕ และดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการครู ฯ ผู้มีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำหรือละเว้นกระทำการที่พึงเห็นได้ว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง และเป็นการกล่าวหาเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือต่อผู้มีหน้าที่สืบสวน สอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ หรือเป็นการกล่าวหาเป็นหนังสือโดยผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นหรือมีกรณี ถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา เว้นแต่ ความผิด ที่ได้กระทำโดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการ หรือความผิดลหุโทษ แม้ภายหลังผู้นั้นจะออกจากราชการไปแล้ว เว้นแต่ ออกจากราชการ เพราะตาย ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ (มาตรา ๑๐๒)
31
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ) ๒๑. สั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนแก่ ผู้ถูกสั่งตั้งแต่งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง หรือ ถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ เพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาได้ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
32
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ) แต่ถ้าภายหลังปรากฏผลการสอบสวนพิจารณาว่า ผู้นั้นมิได้กระทำผิดหรือกระทำผิดไม่ถึงกับจะถูกลงโทษ ปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ และไม่มีกรณีที่จะต้อง ออกจากราชการด้วยเหตุอื่น ก็มีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นกลับเข้า รับราชการในตำแหน่งและวิทยฐานะเดิม หรือตำแหน่งเดียวกับที่ผู้นั้นมีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งและวิทยฐานะนั้น สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
33
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ) ๒๒. ดำเนินการสืบสวน หรือพิจารณาตามมาตรา ๙๕ และแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๙๘ วรรคสอง ตลอดจนดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ถูกสั่งพักราชการหรือออก จากราชการไว้ก่อนตามวรรคหนึ่งแล้ว ภายหลังปรากฏว่า ผู้นั้นมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในกรณีอื่นอีกต่อไปได้ (มาตรา ๑๐๓) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
34
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ) ๒๓. พิจารณาอนุญาตการลาออกจากราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ประสงค์จะลาออกจากราชการ ที่ได้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชา และพิจารณายับยั้งการอนุญาตให้ลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินเก้าสิบวันนับตั้งแต่วันขอลาออกก็ได้ ในกรณีที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่ราชการ แต่ต้องแจ้งการยับยั้งการอนุญาตให้ลาออกพร้อมทั้งเหตุผลให้ ผู้ขอลาออกทราบ (มาตรา ๑๐๘) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
35
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ) ๒๔. เป็นผู้มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ แล้วภายในกำหนดเวลาสามสิบวันตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง หน่วยงานการศึกษาไม่มีตำแหน่งที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพว่างหรือตำแหน่งที่สามารถย้ายไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งได้ หรือ กศจ. หรือ ก.ค.ศ. แล้วแต่กรณี ไม่อนุมัติให้ออกจากราชการโดยพลัน ทั้งนี้ ตามระเบียบว่าด้วยการออกจากราชการ (มาตรา ๑๐๙) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
36
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ) ๒๕. เป็นผู้มีอำนาจสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีกรณีถูกกล่าวหา หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ บกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ ที่เห็นว่ากรณีมีมูล ถ้าให้ผู้นั้นรับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ และเป็นผู้มีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการในกรณี ที่ ก.ค.ศ. หรือ กศจ. มีมติให้ผู้นั้นออกจากราชการ (มาตรา ๑๑๑) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
37
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ) ๒๖. สั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญในกรณีถูกตั้งกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๙๘ วรรคสอง และกรรมการสอบสวนหรือผู้มีอำนาจตามมาตรา ๙๘ วรรคสอง วรรคสี่หรือวรรคห้า หรือมาตรา ๑๐๔ (๑) แล้วแต่กรณี เห็นว่ากรณีมีเหตุอันควรสงสัยอย่างยิ่งว่าผู้นั้นได้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่การสอบสวนไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะสั่งให้ลงโทษวินัยอย่างร้ายแรง ถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ และ ก.ค.ศ. หรือ กศจ. แล้วแต่กรณี พิจารณาแล้วมีมติให้ผู้นั้นออกจากราชการเพราะมีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน (มาตรา ๑๑๒) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
38
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ) ๒๗. เป็นผู้มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของศาลหรือต้องรับโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิด ลหุโทษ ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออก หรือไล่ออก ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (มาตรา ๑๑๓ ) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
39
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ) ๒๘. เป็นผู้มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ไปรับราชการทหาร ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารออกจากราชการ แล้วต่อมาปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตราอื่นอยู่ก่อนไปรับราชการทหาร ก็มีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งให้ออกจากราชการ ตามวรรคหนึ่ง เป็นให้ออกจากราชการตามมาตราอื่นนั้นได้ (มาตรา ๑๑๗) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
40
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ) ๒๙. เป็นผู้มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาซึ่งโอนมาจากพนักงานส่วนท้องถิ่น หรือข้าราชการตามมาตรา ๕๘ ผู้มีกรณีที่สมควรให้ออกจากงานหรือออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคล ส่วนท้องถิ่น หรือกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ของข้าราชการนั้นอยู่ก่อนวันโอนมาบรรจุ (มาตรา ๑๑๘) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
41
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ)
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด ในฐานะผู้มีอำนาจตามมาตรา ๕๓ (ต่อ) ๓๐. เป็นผู้มีอำนาจสั่งหรือปฏิบัติตามมติในการพิจารณาอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ ของ กศจ. หรือ ก.ค.ศ.แล้วแต่กรณี (มาตรา ๑๒๔ วรรคสอง) ๓๑. เป็นผู้มีหน้าที่ดำเนินการแก้ไขคำสั่งให้เป็นไปตาม คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลปกครอง ในกรณีที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาฟ้องร้อง คำวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือร้องทุกข์ตามมาตรา ๑๒๑ หรือมาตรา ๑๒๒ ของ กศจ. ต่อศาลปกครอง (มาตรา ๑๒๕) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
42
อำนาจหน้าที่ของศึกษาธิการจังหวัด
สวัสดี ค่ะ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.