ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยHadian Kusumo ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
การประชุมชี้แจงแนวทางการกรอกข้อมูล เกณฑ์ชี้วัดมาตรฐานบริการสาธารณะสำหรับกรุงเทพมหานคร
โดย คณะที่ปรึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยในเครือข่ายการวิจัย สนับสนุนโดย สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น—สกถ.) วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2559
2
รายนามคณะนักวิจัย 1. รองศาสตราจารย์ ดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ
หัวหน้าโครงการ 2. รองศาสตราจารย์ ตระกูล มีชัย นักวิจัยหลัก 3. อาจารย์ ดร.วีรชัย ตันพิพัฒน์ 4. อาจารย์ ดร.ฉมาวงศ์ สุริยจันทร์ 5. รองศาสตราจารย์ ดร. รัตนา สำโรงทอง 6. รองศาสตราจารย์ ดร.เกษมสันต์ มโนมัยพิบูลย์ 7. อาจารย์ดารินทร์ กำแพงเพชร 8. อาจารย์ภาวิณี ช่วยประคอง นักวิจัยผู้ช่วย 9. นายกีรพัฒน์ เขียนทองกุล 10. นายชนณุพงศ์ ปานพ่วงศรี 11. นางสาวอัญชลี ฉวาง เลขานุการโครงการ
3
ที่มาของโครงการ รัฐบาลได้ดำเนินการส่งเสริมการกระจายอำนาจมาราวทศวรรษเศษ จึงต้องการพัฒนาฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบันสำหรับติดตามการทำงานของ อปท. และสำหรับกำหนดนโยบายส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและการกระจายอำนาจของไทยต่อไปในอนาคต ข้อมูลเพื่อใช้ในการกำหนดภารกิจ และอำนาจหน้าที่สำหรับกรุงเทพมหานคร เพื่อใช้ประกอบการการตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องในอนาคตอันใกล้ ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณงานของ อปท. และรายจ่ายที่สำคัญของหน่วยงาน/โครงการ สำหรับใช้กำหนดสูตร-มาตรการจัดสรรภาษี/เงินอุดหนุนให้แก่ อปท. ที่เหมาะสมกับงาน ข้อมูลที่หน่วยงาน กทม. และหน่วยงานรัฐสามารถใช้สื่อสาร-แสดงต่อภาคประชาชน/ประชาสังคมเกี่ยวกับการจัดบริการสาธารณะของ กทม. ข้อมูลเกี่ยวกับผลงาน/ผลสัมฤทธิ์ทั้งของหน่วยงานโดยตรงและในเชิงเปรียบเทียบ (benchmarking)
4
ประโยชน์จากการจัดทำข้อมูลเกณฑ์ชี้วัดสำหรับ กทม.
ได้ข้อมูลผลการดำเนินงานบริการสาธารณะในภาพรวมของ กทม. และหน่วยงานในสังกัดสำหรับใช้สื่อสารในทางสาธารณะ ได้ข้อมูลสำหรับวางแผนการทำงานของกรุงเทพมหานครในภาพรวม และอาจใช้ประกอบการพิจารณาประสิทธิภาพประสิทธิผลของหน่วยงานในสังกัด เช่น การทำ Benchmarking เทียบระหว่างสำนักงานเขตต่าง ๆ ได้ข้อมูลสำหรับกำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพ-การขยายขอบเขตบริการสาธารณะ จัดทำแนวทางการพัฒนาการจัดบริการสาธารณะ หรือการทำ Training needs ให้กับ หน่วยงานในภาพรวม และจำแนกตามภารกิจและตามประเภท อปท. พัฒนาข้อเสนอแนะต่อ ก.ก.ถ./รัฐบาล ในการอำนวยความสะดวก-ลดข้อจำกัดในการจัดบริการสาธารณะของกรุงเทพมหานครและหน่วยงานในสังกัด
5
ขอบเขตของข้อมูล ข้อมูลการดำเนินงานจริงในปีงบประมาณ 2559 (ระหว่าง 1 ต.ค. 58 – 30 ก.ย. 59) ข้อมูลจากการดำเนินโครงการทั้งในและนอกข้อบัญญัติงบประมาณ อาทิ โครงการที่ใช้งบประมาณจากเงินสะสม เงินรายได้พิเศษ ฯลฯ ข้อมูลจากการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมทั้งหมดที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร ซึ่งอาจเป็นโครงการที่ ดำเนินการเองโดยกรุงเทพมหานครหรือหน่วยงานในสังกัด ดำเนินการว่าจ้าง/จ้างเหมาองค์กรเอกชน ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานรัฐ ส่วนราชการต่าง ๆ สถาบันการศึกษา หรือภาคประชาสังคม ข้อมูลรายจ่ายจริง เป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการบริการสาธารณะตามที่ระบุในเกณฑ์ชี้วัด ซึ่งประกอบไปด้วย รายจ่ายเพื่อการลงทุน และการบำรุงรักษา รายจ่ายค่าใช้สอย ค่าดำเนินงาน เงินเดือนค่าจ้าง หรือรายจ่ายเงินอุดหนุน ฯลฯ
6
ขอบเขตของข้อมูล (ต่อ)
ข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลเกี่ยวกับการจัดบริการสาธารณะ 8 ด้านหลัก พร้อมข้อมูลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการจัดบริการสาธารณะ (เท่าที่รวบรวมได้) โครงสร้างพื้นฐาน การผังเมือง การสาธารณสุข บริการทางสังคม และคุณภาพชีวิต การศึกษา การจัดระเบียบชุมชนและการรักษาความสงบเรียบร้อย การพัฒนาเศรษฐกิจ การส่งเสริมอาชีพ การลงทุน และการท่องเที่ยว การดูแลและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การทะนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้อมูลต่าง ๆ ขอให้กรอกตามความเป็นจริง มีความน่าเชื่อถือ และมีหลักฐานยืนยันได้
7
การจำแนกประเภทเกณฑ์ชี้วัดบริการสาธารณะ
8
ภาพรวมเกณฑ์ชี้วัดบริการสาธารณะของกรุงเทพมหานคร
8 ภาพรวมเกณฑ์ชี้วัดบริการสาธารณะของกรุงเทพมหานคร
9
9 แนวทางการกรอกข้อมูล พิจารณาเกณฑ์ชี้วัด ความหมายเฉพาะ(ถ้ามี) และหน่วยนับให้ตรงกัน หากหน่วยนับหรือชื่อเรียกไม่ตรงกัน ให้เขียนหน่วยนับที่ใช้จริงในแบบฟอร์ม ลักษณะของข้อมูลและวิธีการกรอก มีการดำเนินการ ให้กรอกข้อมูลผลงานจริงตามเกณฑ์ชี้วัด มีการดำเนินการ แต่ไม่มีข้อมูลผลงานตามเกณฑ์ชี้วัดรวบรวมไว้ ให้กรอก N.A. อย่าปล่อยให้แบบฟอร์มในข้อนั้น ๆ ว่างเปล่า ไม่มีการดำเนินการ ให้ทำเครื่องหมาย “” ในช่องที่จัดไว้ ข้อมูลภาพรวมของกรุงเทพมหานคร หน่วยงานกลางประสานรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ใช้ความหมายเดียวกัน และมีหน่วยนับที่ตรงกัน คณะที่ปรึกษาจะอำนวยความสะดวกในการชี้แจงความหมาย/คำอธิบายของเกณฑ์ชี้วัด
10
ขอบคุณครับ/คะ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม นายชนณุพงศ์ ปานพ่วงศรี
10 ขอบคุณครับ/คะ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม นายชนณุพงศ์ ปานพ่วงศรี ผู้ประสานงานโครงการ โทรศัพท์มือถือ ที่อยู่ในการจัดส่งข้อมูล รองศาสตราจารย์ ดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เลขที่ 46 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์: หรือ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.