งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจ และ หลักการประกอบธุรกิจสมัยใหม่ สัปดาห์ที่ 3 1.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจ และ หลักการประกอบธุรกิจสมัยใหม่ สัปดาห์ที่ 3 1."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจ และ หลักการประกอบธุรกิจสมัยใหม่
สัปดาห์ที่ 3 1

2 เนื้อหา ความหมายของหลักการประกอบธุรกิจสมัยใหม่
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประกอบธุรกิจ การเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ ปัจจัยในการเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ รูปแบบขององค์กรธุรกิจ ความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ 2

3 ความหมายของหลักการประกอบธุรกิจสมัยใหม่
การผลิตหรือซื้อขายสินค้า หรือบริการโดยหวังผลกำไร และรับผิดชอบต่อความเสี่ยง ความรับผิดชอบต่อสังคมและมีจริยธรรม 3

4 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประกอบธุรกิจ
        ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประกอบธุรกิจสามารถแยกได้ 2 ลักษณะคือ        1. ปัจจัยภายใน  หรือทรัพยากรของธุรกิจเป็นปัจจัยที่ธุรกิจ  สามารถสร้างขึ้นและสามารถควบคุมได้     (มีอธิบายเพิ่มเติม) 2.  ปัจจัยภายนอก  เป็นปัจจัยที่ธุรกิจไม่สามารถจะควบคุมกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงได้ ได้แก่  สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ  เช่น  ภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ กฎหมายการเมือง  คู่แข่ง  เทคโนโลยี ฯลฯ       4

5  1. ปัจจัยภายใน        1. ปัจจัยภายใน  โดยทั่วไปปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจมี 4 ประเภท ที่เรียกว่า 4 M ได้แก่           1.1  คน (Man) ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เพราะธุรกิจต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความคิดของคน มีคนเป็นผู้ดำเนินการหรือเป็นผู้จัดการ จึงจะทำให้เกิดกิจกรรมทางธุรกิจหลายรูปแบบ ซึ่งในวงจรธุรกิจมีคนหลายระดับ หลายรูปแบบ ทั้งระดับผู้บริหาร ผู้ใช้แรงงานร่วมกันดำเนินการ จึงจะทำให้ประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจ           1.2  เงิน (Money) เงินทุนเป็นปัจจัยในการดำเนินธุรกิจอีกชนิดหนึ่งที่ต้องนำมาใช้ในการลงทุนเพื่อให้เกิดการประกอบธุรกิจโดยธุรกิจแต่ละประเภทใช้ปริมาณเงินทุกที่แตกต่างกัน ธุรกิจขนาดใหญ่ย่อมใช้เงินทุนสูงกว่าธุรกิจขนาดเล็กกว่า ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจจึงต้องมีการวางแผนในการใช้เงินทุน และการจัดหาเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อทำให้การดำเนินธุรกิจไม่ประสบปัญหาด้านเงินทุน และก่อให้เกิดผลตอบแทนสูงสุดคุ้มกับเงินที่นำมาลงทุน 5

6  1. ปัจจัยภายใน (ต่อ)    วัสดุหรือวัตถุดิบ (Material) ในการผลิตสินค้าต้องอาศัยวัตถุดิบในการผลิตค่อนข้างมาก ผู้บริหารจึงต้องรู้จักการบริหารวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดต้นทุนด้านวัตถุดิบต่ำสุด อันจะส่งผลให้ธุรกิจมีผลกำไรสูงสุดตามมา           1.4  วิธีปฎิบัติงาน (Method) เป็นวิธีการในการปฎิบัติงานในแต่ละขั้นตอนของการดำเนินธุรกิจ ซึ่งต้องมีการวางแผนและควบคุม เพื่อให้การปฎิบัติงานมีประสิทธิภาพ เกิดความคล่องตัว สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกกิจการ 6

7 การเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ
การเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ หมายถึง การจัดหาหรือสรรหาสถานที่ สำหรับประกอบธุรกิจให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยคำนึงถึง กำไร ค่าใช้จ่าย พนักงาน ความสัมพันธ์กับลูกค้าความสะดวก ตลอดจนสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่ดีตลอดระยะเวลาที่ประกอบธุรกิจนั้น ความสำคัญในการเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ หากเลือกทำเลที่ไม่เหมาะสมจะทำให้องค์การธุรกิจประสบปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่นค่าขนส่งสูง ขาดแคลนแรงงานที่มีคุณภาพ ขาดแคลนวัตถุดิบ รวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการผลิต และการปฏิบัติงานขององค์การธุรกิจ สถานที่ประกอบกิจการย่อมแตกต่างกันในเรื่องของชนิดสินค้า ค่าใช้จ่าย และการลงทุน ดังนั้นการพิจารณาเลือกทำเลจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ หลาย ประการเพราะการเลือกทำเลที่ตั้ง มีความสำคัญต่อการ ดำเนินงานขององค์การธุรกิจต่าง ๆ เช่น การวางแผนระบบการผลิต การวางผังโรงงาน การลงทุน และรายได้ เป็นต้น 7

8 7 ปัจจัยในการเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ
แหล่งวัตถุดิบและทรัพยากรธรรมชาติ กำหนดรายละเอียดของสินค้าหรือวัตถุดิบที่ต้องการซื้อทั้งคุณภาพและปริมาณ สำรวจแหล่งขาย การสั่งซื้อ การรับสินค้าและวัตถุดิบ แหล่งแรงงาน แรงงานที่มีฝีมือ หรือแรงงานที่มีความชำนาญ (Skilled Labour) แรงงานไร้ฝีมือ หรือแรงงานทั่วไป (Unskilled Labour) 8

9 7 ปัจจัยในการเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ (ต่อ)
3. ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ค่าขนส่งวัตถุดิบไปยังโรงงานเพื่อทำการผลิต ค่าขนส่งสินค้าไปเก็บรักษา ค่าขนส่งสินค้าออกจำหน่าย 4. สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สาธารณูปโภค สถานพยาบาล 5. แหล่งลูกค้า 6. กฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับ เช่น แหล่งพื้นที่สีเขียวจะมีโรงงานอุตสาหกรรมไม่ได้ 7. แหล่งเงินทุน 9

10 รูปแบบขององค์กรธุรกิจ
รูปแบบขององค์กรธุรกิจที่ดำเนินอยู่ในวงการธุรกิจของประเทศไทย  จำแนกรูปแบบได้ดังต่อไปนี้ 1. กิจการเจ้าของคนเดียว 2. ห้างหุ้นส่วน      2.1 ห้างหุ้นส่วนสามัญ     2.2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด 3. บริษัทจำกัด 4. การสหกรณ์  แบ่งเป็น 6 ประเภท   5. รัฐวิสาหกิจ 6. บริษัทมหาชน 7. บริษัทข้ามชาติ 8. กิจการแฟรนไชส์ 9. ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) 10

11 การประกอบการโดยเจ้าของคนเดียว
การประกอบการโดยเจ้าของคนเดียว     คือธุรกิจที่มีบุคคลเพียงคนเดียวเป็นเจ้าของรับผิดชอบในการบริหารจัดการทุกด้านด้วยตนเอง จัดตั้งได้ง่ายและมักเป็นธุรกิจขนาดเล็ก เงินทุนในการดำเนินกิจการเป็นของตนเองหรือไม่ก็หยิบยืมมาจากญาติพี่น้องเพื่อนฝูง การดำเนินกิจการทุกอย่างขึ้นอยู่กับเจ้าของกิจการ     ข้อดี     -  จัดตั้งง่าย     -  มีอิสระในการตัดสินใจ     -  ผลตอบแทนหรือกำไรทั้งหมดเป็นของเจ้าของ     -  ระเบียบข้อบังคับของกฎหมายไม่เข้มงวด     -  ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการต่ำ     -  การเลิกกิจการสามารถทำได้ง่าย     ข้อเสีย     -  เจ้าของรับหนี้สินไม่จำกัดจำนวน     -  การจัดหาเงินทุนทำได้ยาก     -  ธุรกิจไม่ยืนยาวและต่อเนื่อง     -  เจ้าของขาดความสามารถในการบริหารจัดการ และขาดประสบการณ์     -  โอกาสก้าวหน้าของพนักงานมีน้อย  11

12 ประเภทกิจการห้างหุ้นส่วน
คือ การประกอบการที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปทำสัญญาร่วมกัน และกระทำกิจการเพื่อวัตถุประสงค์ในการแบ่งผลกำไรหรือผลตอบแทนระหว่างกันแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แบ่งห้างหุ้นส่วนออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้     -  ห้างหุ้นส่วนสามัญ (Ordinary Partnership) -  ห้างหุ้นส่วนจำกัด  (Limited Partnership) 12

13 ประเภทกิจการห้างหุ้นส่วน 1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
           ประเภทกิจการห้างหุ้นส่วน 1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ  ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ ห้างหุ้นส่วนที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดในหนี้สินทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน ดังนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจึงมีสิทธิดำเนินกิจการในนามห้างหุ้นส่วนได้ ซึ่งห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ จึงแบ่งห้างหุ้นส่วนสามัญได้เป็น2 ประเภท คือ              1.1 ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีสภาพเป็นนิติบุคคล จะต้องใช้คำว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลประกอบหน้าชื่อห้างเสมอ ห้างหุ้นส่วนประเภทนี้จะต้องระบุชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการไว้ชัดเจน ซึ่งจะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ และหุ้นส่วนผู้จัดการเท่านั้นที่มีสิทธิเข้าจัดการงานของห้างหุ้นส่วน และทำนิติกรรมต่าง ๆ ในนามห้างหุ้นส่วนได้              1.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน มีฐานะเป็นบุคคลธรรมดา ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาของห้างหุ้นส่วน กฎหมายให้ถือว่าผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิเข้าจัดการงานของห้างหุ้นส่วนได้ 13

14 ประเภทกิจการห้างหุ้นส่วน 2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด
ประเภทกิจการห้างหุ้นส่วน 2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ห้างหุ้นส่วนที่ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ห้างหุ้นส่วนประเภทนี้ต้องใช้คำว่า "ห้างหุ้นส่วนจำกัด" ประกอบหน้าชื่อของห้างหุ้นส่วนเสมอ ห้างหุ้นส่วนจำกัดประกอบด้วยผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ              2.1 หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ เป็นหุ้นส่วนประเภทที่จำกัดความรับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงทุนในห้างหุ้นส่วน หุ้นส่วนประเภทนี้ไม่มีสิทธิเข้าจัดการงานของห้างหุ้นส่วน มีสิทธิเพียงออกความเห็น รับเป็นที่ปรึกษาและทุนที่นำมาลงทุนต้องเป็นเงินหรือทรัพย์สินเท่านั้น จะเป็นแรงงานไม่ได้              2.2 หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ เป็นหุ้นส่วนประเภทที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน กฎหมายระบุว่าต้องมีหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดชอบอย่างน้อย 1 คน ในห้างหุ้นส่วนจำกัด หุ้นส่วนประเภทนี้มีสิทธิเข้าจัดการงานของห้างหุ้นส่วนและทุนที่นำมาลงทุนเป็นเงิน ทรัพย์สินหรือแรงงานก็ได้   14

15 ประเภทกิจการห้างหุ้นส่วน (ต่อ)
    ข้อดี     -  จัดตั้งง่าย     -  เป็นการระดมความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของหุ้นส่วน     -  สามารถระดมแหล่งเงินมาดำเนินงานได้     -  ข้อจำกัดของกฎหมายไม่ยุ่งยาก     -  การเลิกกิจการทำได้ง่าย     ข้อเสีย     -  รับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัด     -  การเจริญเติบโตของธุรกิจมีขอบเขตจำกัด     -  ความขัดแย้งของหุ้นส่วน     -  ถอนเงินทุนคืนยาก     -  มีข้อจำกัดในการโอนหุ้น 15

16 บริษัทจำกัด (Corporation)
คือ นิติบุคคลที่ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไรจากกิจการและนำกำไรนั้นมาแบ่งกัน การลงทุนแบ่งออกเป็นหุ้น มูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กัน มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 7 คน ขึ้นไป ข้อดี     -  ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบในหนี้สินจำกัด     -  สามารถหาทุนเพิ่มโดยการขายหุ้นได้     -  โอนหุ้นได้ง่าย     -  อายุของการดำเนินงานไม่จำกัด     -  สามารถดึงผู้ที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาบริหารจัดการได้     -  รูปแบบเหมาะสมกับธุรกิจทุกขนาด   ข้อเสีย     -  ขั้นตอนการจัดตั้งยุ่งยาก และต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล     -  มีข้อจำกัดทางกฎหมายและข้อบังคับมาก     -  สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสูง     -  ความลับของบริษัทเปิดเผยได้ง่าย     -  การบริหารสามารถใช้บุคคลภายนอกได้ ซึ่งอาจขาดความตั้งใจ เสียสละ ซื่อสัตย์ 16

17 สหกรณ์ คือ การกระทำร่วมกันของบุคคลตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอาชีพ การครองชีพของสมาชิกและของครอบครัวให้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การจัดประเภทสหกรณ์ตามกฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2516 กำหนดประเภทสหกรณ์ที่รับจดทะเบียนรวมมี 6 ประเภท ดังนี้ 1. สหกรณ์การเกษตร เช่น การจัดหาเงินทุน การจัดหาวัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆทางการเกษตรมาจำหน่ายให้สมาชิกในราคาถูก การรวบรวมผลิตผลออกจำหน่าย และการแปรรูปผลิตผลออกจำหน่ายให้ได้ราคาดี 2. สหกรณ์การประมง ส่งเสริมและประกอบอาชีพด้านการประมง จัดหาเงินทุนแลอุปกรณ์เกี่ยวกับการประมงจำหน่ายให้แก่สมาชิกในราคาถูก และการจัดการด้านการตลาดเพื่อให้สามารถจำหน่ายผลิตผลให้ได้ราคาดี                        17

18 สหกรณ์ (ต่อ) 3. สหกรณ์นิคม เป็นสหกรณ์ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหาหรือจัดสรรที่ดินให้แก่สมาชิกในการประกอบอาชีพ รวมถึงการจัดหาและอำนวยความสะดวกในการประกอบอาชีพให้แก่สมาชิก   4. สหกรณ์ร้านค้า เป็นสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการด้านการจัดหาสินค้าอุปโภคบริโภคจำหน่ายให้แก่สมาชิกในราคายุติธรรม  5. สหกรณ์บริการ เป็นสหกรณ์ที่ให้บริการแก่สมาชิกในด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น สหกรณ์ไฟฟ้า สหกรณ์แท็กซี่ รถรับจ้าง สหกรณ์การเคหสถาน เป็นต้น 6. สหกรณ์ออมทรัพย์หรือสหกรณ์ธนกิจ เป็นสหกรณ์ที่สมาชิกร่วมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการออมเงินในหมู่สมาชิก เพื่อให้สมาชิกได้กู้ยืมเงินในยามจำเป็นด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ ตลอดจนให้บริการทางการเงินแก่สมาชิก โดยมีเงินปันผลคืนตามส่วนให้ 18

19 รัฐวิสาหกิจ (State Enterprise)
คือ หน่วยงานหรือองค์กรทางธุรกิจที่รัฐจัดตั้งขึ้นหรือมีหุ้นอยู่เกินกว่าร้อยละ 50     วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ     -  กิจการบางอย่างเป็นกิจการสาธารณูปโภค หากให้เอกชนดำเนินการเองอาจให้บริการได้ไม่ทั่วถึง     -  เป็นกิจการที่ใช้เงินลงทุนสูง แต่ได้ผลตอบแทนต่ำ     -  กิจการบางประเภท อาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศได้     -  เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณของชาติ     -  เพื่อควบคุมการผลิตสินค้าบางประเภท     -  เพื่อเป็นแหล่งรายได้ของรัฐ เช่น สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล     -  เพื่อให้ความช่วยเหลือเอกชนเฉพาะด้าน 19

20 บริษัทมหาชน จำกัด ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ บริษัทมหาชนจำกัดมีโครงสร้าง เหมือนกับบริษัทจำกัด คือ มีผู้ลงทุนเรียกว่า ผู้ถือหุ้น รับผิดชอบจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังไม่ชำระมีคณะกรรมการเป็นผู้บริหาร แต่มีลักษณะบางประการที่แตกต่างจากบริษัทจำกัด คือ                     1.  มีกลุ่มผู้ก่อการเป็นบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป และมีกรรมการตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป                     2.  มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป โดยผู้ถือหุ้นคนหนึ่งถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 0.6 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายทั้งหมดรวมกัน และไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมด ส่วนหุ้นจำนวนที่เหลือบุคคลใดบุคคลหนึ่งจะถือไว้ได้รายละไม่เกินร้อยละ10                     3.  ต้องมีทุนที่ชำระด้วยตัวเงินไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท โดยมีมูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กันและจะต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 20 บาท และไม่เกินหุ้นละ 100บาท 20

21 บริษัทข้ามชาติ บริษัทข้ามชาติ หมายถึง องค์กรการผลิตอย่างหนึ่งที่มีทุนจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ซึ่งอาจก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสียต่อประเทศที่ได้รับการลงทุนจากการจัดตั้งบริษัทดังกล่าว จำแนกผลดังกล่าวออกได้ดังนี้                     1.  ผลดีของบริษัทข้ามชาติ  ทำให้ประเทศที่ได้รับการลงทุนมีเงินลงทุนเข้าประเทศมากขึ้นมีการจ้างแรงงานของประชาชนในประเทศเพิ่มขึ้นและได้รับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ทันสมัยนำมาใช้พัฒนาประเทศเพิ่มขึ้น                     2.  ผลเสียของบริษัทข้ามชาติ  ทรัพยากรของประเทศที่ได้รับการลงทุนลดลง เสียดุลการชำระเงินในระยะเวลายาว เนื่องจากประเทศที่ลงทุนจะนำเงินออกจากประเทศผู้รับลงทุน เมื่อการดำเนินงานมีผลกำไร 21

22 กิจการแฟรนไชส์ แฟรนไชส์ หมายถึง สัมปทาน ดังนั้น กิจการแฟรนไชส์ อาจเรียกอีกอย่างว่า ธุรกิจสัมปทาน คือธุรกิจที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่าบุคคล 2 กลุ่มขึ้นไปหรือมากกว่า ซึ่งมีบทบาทและหน้าที่รับผิดชอบต่างกัน แต่จะส่งเสริมซึ่งกันและกันในระบบธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์จะกระจายสินค้าหรือบริการไปสู่ผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ แฟรนไชส์ หมายถึง การประกอบธุรกิจในลักษณะของการให้สิทธิ์ทางการค้า โดยผู้ประกอบการตกลงทำสัญญากับบริษัทต้นแบบเรียกว่าบริษัทแม่ โดยผู้ซื้อสิทธิ์จะต้องจ่ายค่าสินค้าให้กับบริษัทเจ้าขอเพื่อเป็นค่าลิขสิทธิ์และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ โดยจะได้รับผลตอบแทนจากบริษัทต้นแบบ           22

23 ผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจแฟรนไชส์
ดังนั้น จากลักษณะของธุรกิจแฟรนไชส์จึงมีผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจประเภทนี้ 2 ฝ่าย คือ   1.  แฟรนไชซอร์ (Franchisors) หรือเจ้าของธุรกิจ คือผู้ให้สัมปทาน   2.  แฟรนไชซี (Franchisees) คือ ผู้ขอรับสัมปทาน ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย มีทั้งส่วนที่เป็นสาขาจากต่างประเทศ เช่น กิจการจำหน่ายสินค้าประเภทจานด่วน (Fast Food) ได้แก่ เคเอฟซี  แมคโดนัลด์  พิซซ่าฮัท ฯลฯ กิจการจำหน่ายสินค้าสะดวกซื้อ ได้แก่ เซเว่น-อีเลฟเว่น  ไทเกอร์มาร์ต  สตาร์ชอร์ป ฯลฯ ธุรกิจแฟรนไชส์ที่กำเนิดโดยคนไทยเอง เช่น เลมอนฟาร์ม ลูกชิ้นแชมป์ ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว ข้าวมันไก่โก๊ะตี๋ ฯลฯ 23

24 ประเภทของธุรกิจแฟรนไชส์
ธุรกิจแฟรนไชส์หรือธุรกิจแบบสัมปทานมี 2 ประเภท คือ                     1.  ธุรกิจแฟรนไชส์หรือแบบสัมปทานที่ใช้สินค้าและชื่อการค้า  เป็นรูปแบบธุรกิจที่ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย หรือผู้ให้สัมปทาน หรือแฟรนไชซอร์ให้สิทธิแก่ผู้รับสัมปทานหรือตัวแทนจำหน่ายหรือแฟรนไชซี ในการจำหน่ายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งของผู้ให้สัมปทาน โดยผู้รับสัมปทานจะได้รับชื่อสินค้า เครื่องหมายการค้า หรือสินค้าจากผู้ให้สัมปทาน โดยถือเสมือนว่าเป็นผู้จำหน่ายในสายผลิตภัณฑ์เดียวกับผู้ให้สัมปทาน เช่น ตัวแทนจำหน่ายน้ำอัดลมโคคา-โคลา สถานีบริการน้ำมันเซลล์ ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ฟอร์ด เป็นต้น                      24

25 ประเภทของธุรกิจแฟรนไชส์ (ต่อ)
2.  ธุรกิจแฟรนไชส์หรือแบบสัมปทานที่ใช้รูปแบบทางธุรกิจ  เป็นรูปแบบธุรกิจที่ผู้ให้สัมปทานให้สิทธิแก่ผู้รับสัมปทานในการขายสินค้าหรือบริการโดยใช้เครื่องหมายการค้าของผู้ให้สัมปทาน ถือว่าเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าร่วมกันในการดำเนินธุรกิจ มักจะเป็นระบบการดำเนินธุรกิจของผู้ให้สัมปทานที่ประสบความสำเร็จสูง เช่น พิซซ่าฮัท  เคเอฟซี  เซเว่น-อีเลฟเว่นโดยการดำเนินธุรกิจประเภทนี้จะถูกกำหนดลักษณะการดำเนินงานให้เป็นไปในแนวคิดเดียวกันระหว่างผู้ให้สัมปทานกับผู้รับสัมปทาน ทั้งด้านกลยุทธ์ แผนการตลาด มาตรฐานการปฏิบัติงานและการควบคุมคุณภาพ เป็นต้น 25

26 ธุรกิจแฟรนไชส์ (ต่อ) ข้อดี     -  โอกาสขาดทุนมีน้อย     -  ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในการบริหารจัดการมากนัก     -  สามารถซื้อวัตถุดิบได้ในราคาถูก     -  ลดค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์   ข้อเสีย     -  ขาดอิสระในการดำเนินงาน     -  การขยายกิจการทำได้ยาก     -  มีกฎเกณฑ์หลายประการจากบริษัทแม่ทำให้ไม่คล่องตัว     -  ขาดความคิดสร้างสรรค์            26

27 ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
ความหมายของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)         เป็นคำย่อมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า Small and Medium Enterprises หมายถึงการประกอบกิจการเพื่อรายได้ที่ใช้เงินทุนในการประกอบธุรกิจไม่มากนัก เป็นงานอิสระมีขอบเขตการดำเนินงานอยู่ในท้องถิ่นตลาดในการจำหน่ายและบริการไม่กว้างขวางนัก         ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ครอบคลุมกิจการ 3 ประเภท คือ 1   กิจการการผลิต (Production Sector)  ครอบคลุมการผลิตในภาคเกษตรกรรม (Agricultural   Processing)   ภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing) และเหมืองแร่ (Mining) 2   กิจการการค้า  (Trading Sector) ครอบคลุมการค้าส่ง (Wholesale) และการค้าปลีก(Retail) 3   กิจการบริการ  (Service Sector) 27

28 ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ต่อ)
ตารางแสดงการกำหนดขนาดของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตัวอย่างการค้นหาข้อมูล SME 28

29 บทบาทและความสำคัญของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  -  ช่วยประหยัดเงินตราจากการนำสินค้าเข้าจากต่างประเทศ -  ทำให้เกิดการจ้างงาน -  ทำให้บุคคลมีแนวโน้มที่จะทำธุรกิจของตนเองมากขึ้น -  เป็นแหล่งเสริมสร้างประสบการณ์และพัฒนาความสามารถของบุคคล -  เกิดการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจ -  ผลิตสินค้าและบริการนำเงินตราเข้าประเทศ -  เชื่อมโยงและช่วยส่งเสริมธุรกิจขนาดใหญ่ -  ช่วยในการกระจายความเจริญและพัฒนาด้านต่าง ๆ ออกสู่ภูมิภาคและท้องถิ่นลดปัญหาการกระจุกตัวของธุรกิจตามเมืองใหญ่ 29

30 ปัญหาและข้อจำกัดในการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
        1.  ขาดแคลนแหล่งเงินทุนเพื่อนำมาลงทุนและขยายกิจการ จึงขาดหลักทรัพย์ในการค้ำประกันเงินกู้         2.  ขาดความรู้ความสามารถเรื่องระบบการบริหารจัดการที่ดี การบริหารจัดการมักอาศัยประสบการณ์จากการเรียนรู้ การลองผิดลองถูก         3.  มีปัญหาในการว่าจ้างแรงงาน เมื่อแรงงานมีทักษะฝีมือและความชำนาญมากขึ้นมักจะย้ายออกไปทำงานกับธุรกิจขนาดใหญ่ขึ้นและผลตอบแทนสูงกว่า         4.  มีข้อจำกัดด้านเทคนิควิชาการและเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย         5.  มีข้อจำกัดในการได้รับการส่งเสริมของภาครัฐ         6.  มีปัญหาด้านการตลาดและการแข่งขันกับธุรกิจขนาดใหญ่  ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ให้ความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นอย่างมาก เนื่องจากธุรกิจโดยทั่วไปก่อนที่จะขยายตัวเติบโตเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ได้นั้น ส่วนใหญ่แล้วพัฒนามาจากการเป็นธุรกิจขนาดเล็กมาก่อนทั้งสิ้น ปัจจุบันรัฐบาลจึงได้ให้การสนับสนุนการประกอบธุรกิจประเภทนี้เป็นอย่างมาก 30

31 ความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ
ความหมาย : ความไม่แน่นอนของ การเกิดปรากฎการณ์ที่ทำให้ธุรกิจเกิด ความสูญเสีย ประเภทของความเสี่ยง มี 8 ประเภท 1. ความเสี่ยงที่แท้จริง เกิดแก่บุคคล เกิดแก่ทรัพย์สิน เกิดแก่ความรับผิดชอบ 2. ความเสี่ยงจากการคาดการณ์ - การจัดการ - การเมือง - นวัตกรรม 3. ความเสี่ยงพื้นฐาน - สภาวะทางเศรษฐกิจ - สภาวะทางการเงิน - ภัยธรรมชาติ - ภัยจากการสงคราม - ภัยจากการก่อการร้าย 4. ความเสี่ยงจำเพาะ - ไฟไหม้ - อุบัติเหตุ 31

32 6. ความเสี่ยงคงที่ - ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นแน่นอน - รสนิยมของลูกค้า
ความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ (ต่อ) 6. ความเสี่ยงคงที่ - ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นแน่นอน - รสนิยมของลูกค้า 5. ความเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงได้ การเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ทางการค้าของโลก การเปลี่ยนแปลงรสนิยมของผู้บริโภค 7. ความเสี่ยงที่เอาประกันได้ มีลักษณะสำคัญ อุบัติเหตุ คำนวณได้ ความสูญเสียที่แท้จริงระบุในสัญญาประกันภัย ไม่สูญเสียมากเกินไป 8. ความเสี่ยงที่เอาประกันภัยไม่ได้ ขาดสถิติ ภัยต่อสาธารณะ จากผลประโยชน์ มีความเสี่ยงมากเกินไป 32


ดาวน์โหลด ppt ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจ และ หลักการประกอบธุรกิจสมัยใหม่ สัปดาห์ที่ 3 1.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google