ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยAnne-Claire Rousseau ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
รหัสวิชา NUR 3236 รายวิชา การรักษาโรคเบื้องต้น Primary Medical Care
บทที่ 2 วิธีการรวบรวมข้อมูลสุขภาพ โดยการตรวจร่างกาย เพื่อการคัดกรอง วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ภาคการศึกษา ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ อ.สุกัญญา บุญวรสถิต B.N.S, M.N.S.(Community Health Nurse Practitioner)
2
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน นักศึกษาจะมีความรู้ความสามารถดังนี้
1. บอกถึงวิธีการรวบรวมข้อมูลสุขภาพ เพื่อ การคัดกรอง โดยการตรวจร่างกายได้ 1.1 บอกถึงหลักการตรวจร่างกายได้ 1.2 บอกถึงวิธีการตรวจร่างกายตามระบบได้ 2. บอกถึงการวินิจฉัยปัญหาสุขภาพเบื้องต้น จากผล การตรวจร่างกายที่ผิดปกติได้
3
หลักการตรวจร่างกายโดยทั่วไป
บอกผู้ป่วยทุกครั้งก่อนตรวจ สุภาพ อ่อนโยน นุ่มนวล เร็ว แม่นยำ มิดชิด เป็นส่วนตัว มีบุคคลที่สาม ตรวจทุกระบบ สังเกตสีหน้า ท่าทางของผู้ป่วย ขณะ ตรวจ ตรวจจุดที่ไม่เจ็บก่อน หลังตรวจ บอกผลการตรวจ มี 3 ระบบ : Head to toe assessment criteria, Body systems, Functional health pattern
4
การตรวจร่างกาย ควรเริ่มตั้งแต่การวัด v/s ก่อนตรวจร่างกาย ควรบอกให้ ผู้ป่วยทราบก่อนว่าจะตรวจอะไร อย่างไร เขาต้องทำอย่างไร เพื่อลดความวิตกกังวลและเป็นการให้เกียรติผู้ป่วย ถ้าตรวจ บุคคลที่เป็นเพศตรงข้ามควรมีบุคคลที่สามอยู่ด้วย การตรวจร่างกายประกอบด้วย - การดู - การคลำ - การเคาะ - การฟัง
5
การดู (Inspection) ต้องดูให้ทั่วและดูให้เป็นระบบจากด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลัง แยกสิ่งที่ผิดปกติจากสิ่งปกติ โดยการเปรียบเทียบลักษณะของโรคที่ปรากฏจากการดู เช่น ซีด บวม เหลือง การคลำ (Palpation) คลำตื้น คลำลึก การคลำโดยใช้สองมือ ควรคลำโดยไม่มีเสื้อผ้าคลุม ให้ส่วนที่ต้องการจะตรวจอยู่ในลักษณะคลายตัว สุภาพ นุ่มนวล การคลำควรใช้ทุกส่วนของมือที่ถนัด ค่อยๆทำ ควรคลำในส่วนที่ปกติก่อน ส่วนที่ผิดปกติ
6
การเคาะ (Percussion) - ดูขนาด ตำแหน่ง ความหนาแน่นของอวัยวะด้านล่าง ดูว่ามีอากาศ น้ำในช่องว่างนั้น หรือไม่ วิธีการเคาะมี 3 วิธี คือ 1. Indirect percussion เคาะโดยให้ปลายนิ้วชี้หรือนิ้วกลางข้าง ที่ถนัด สะบัดข้อแล้วให้กระทบบนข้อนิ้วกลางของข้างที่ไม่ ถนัด 2. Immediate percussion เคาะโดยใช้นิ้วชี้นิ้วเดียวในการเคาะ ตำแหน่งนั้น 3. Fist percussion เป็นการเคาะที่ใช้ในการเคาะเพื่อตรวจดูไต
7
การฟัง (Auscultation)
ควรบอกลักษณะของเสียงคือ ความสูงต่ำของเสียง (pitch) ความดัง (Intensity) ระยะเวลา (Duration) คุณลักษณะ (Quality)
8
ผิวหนัง Skin สีผิว : เหลือง Jaundice ซีด Anemia เขียว- ม่วง Cyanosis
ความชุ่มชื้น ความยืดหยุ่น Skin turgor ภาวะขาดน้ำ, ผิวสัมผัส : อ่อนนุ่ม หยาบ แข็ง , อุณหภูมิ, บวม, ผื่น
9
เล็บ - : Clubbing finger : proximal end ของเล็บกับ soft tissue ทำมุม º โรคหัวใจ - : Spoon nail : เว้ากลาง ปลายเล็บกระดกขึ้น โรคโลหิตจางที่ขาดธาตุเหล็ก
12
Spoon nail
13
ศีรษะ : ดู : เส้นผม หนังศีรษะ รูปร่างลักษณะกะโหลกศีรษะ ความสมมาตรของใบหน้า คิ้ว คลำ : ก้อน ตรงไหน ลักษณะอย่างไร ขอบเขต การเคลื่อนไหว เจ็บ หน้า : ดู : สมมาตร บวม สีผิว แผล ความมัน-ความแห้ง การสั่น การเกร็ง Butterfly wing ที่โหนกแก้มด้านข้างสันจมูกพบใน
14
Acromegaly : Growth Hormone ผิดปกติ
Nephrotic syndrome : บวมเริ่มที่ตา ซีด Cushing syndrome: มี Androgen สูง Moon Face มีหนวดเคราเหมือนผู้ชาย แก้มแดง
15
ตา : - แก้วตา (Lens) ขุ่นขาว พบได้ในต้อกระจก ในคนแก่ คนเป็น เบาหวาน
- ดูคิ้ว Conjunctiva Sclera Eyelid Eyelashes ตาโปน - แก้วตา (Lens) ขุ่นขาว พบได้ในต้อกระจก ในคนแก่ คนเป็น เบาหวาน - เยื่อตาขาวอักเสบ (Conjuncitivitis) พบในโรคติดเชื้อต่าง ๆ ตาโปน พบในต่อมธัยรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ - เลือดออกใต้เยื่อตาขาว (Subconjunctival Hemorrhage) พบ ได้ในเลือดออกในสมอง ไอกรน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ฯ - เยื่อตาขาวเป็นสีเหลือง แสดงถึงภาวะดีซ่าน (Jaundice) - กล้ามเนื้อลูกตามี 6 มัด ถ้ากล้ามเนื้อมัดใดเสีย จะทำให้การ เคลื่อนไหวของลูกตา 2 ข้างไม่เท่ากัน
17
ตาเข ตาเอก ตาส่อน Reflex : light reflex ส่องจากหางตามาหัวตา
ตาเข ตาเอก ตาส่อน Reflex : light reflex ส่องจากหางตามาหัวตา ตรวจวัดสายตา Visual acuity บันทึกผลตัวเลขเป็น เศษส่วน เลขเศษ หมายถึง ระยะทางที่คนสายตา ผิดปกติสามารถเห็นได้ชัดที่สุด เลขส่วน หมายถึง ระยะทางที่คนสายตาปกติสามารถเห็นได้ชัดที่สุด ตรวจลานสายตา Visual field Near of Convergence ตรวจการเคลื่อนไหวของลูก ตา ถ้าพบการเคลื่อนของลูกตาเข้าหากันไม่ดี
20
: คอพอก หู : ด้านนอก : ใบหู สิ่งผิดปกติ หนอง ปุ่มกระดูก (mastoid) บวมแดง กดเจ็บ, ในช่องหู : ผู้ใหญ่จับใบหูดึงขึ้น เฉียงไปด้านหลัง ใช้ Otoscope ดูเยื่อแก้วหู (Tympanic membrane) ปกติเป็น สามเหลี่ยม เล็กวาว , การได้ยิน
23
คอ : ดู : ไทรอยด์โดยให้กลืนน้ำลาย เส้นเลือดที่คอโป่งพอง ? คลำ : Trachea วางนิ้วชี้ที่ Supra sternal notch เคลื่อนขึ้น ข้างบนถ้าอยู่กลางคือปกติ, Thyroid , ต่อมน้ำเหลือง ใช้นิ้วชี้ และกลางคลึง ปกติขนาด 1-25 มม. Pre auricular, Posterior auricular Occipital, Tonsillar , Submaxillary or submandible , Submental , Superficial cervical, deep cervical chain, Posterior cervical chain, Supraclavicular
26
จมูก ดู ให้ผู้ป่วยเงยหน้า ใช้ไฟฉายส่อง ดูเยื่อบุช่องจมูก (Interior tuebinate) หากบวมแดง : หวัด หากบวมซีด : Allergic rhinitis , ผนังกั้นจมูก : ตรง คด เอียง แผล คลำ- เคาะ Sinus: frontal sinus และ maxillary sinus กด เจ็บหรือไม่ Confirm โดย x-ray ส่วน Ethmoid sinus และ sphenoid sinus เคาะไม่ได้
28
ทางเดินอาหาร ปาก : ริมฝีปาก เยื่อบุช่องปาก เหงือก ลิ้น(ลิ้นเลี่ยน พบใน?) เพดานปาก ฟัน คอ : tonsil บวมแดง? ลิ้นไก่ : ให้ร้องอา ถ้าลิ้นไก่ไม่เคลื่อนไหว ประสาท สมองคู่ 9, 11, 12 เสีย ท้อง ดู รูปร่างลักษณะหน้าท้อง, ฟัง Bowel sound ปกติ 5-35 ครั้ง/นาที (ตำราไทย 5-10 วินาที/ครั้ง) , คลำ ใช้ฝ่ามือและนิ้ว ไม่ใช้ปลายนิ้ว คลำเบา ก่อน แล้วจึงคลำลึก ก่อนคลำให้ผู้ป่วยชี้บอกตำแหน่งที่เจ็บก่อน คลำบริเวณ ที่เจ็บหลังสุด กดเจ็บ tenderness : มีพยาธิสภาพตรงที่กดเจ็บ Guarding เกร็งหน้าท้องเมื่อถูกกด : มีการอักเสบ Rebound tenderness เจ็บเมื่อผู้ตรวจเอามือกดแล้วยกขึ้นโดยเร็ว : acute appendicitis, peritonitis Rigidity กล้ามเนื้อแข็งเกร็งตลอดเวลา : rupture appendicitis
29
การตรวจเพื่อแยกโรค กดด้านซ้าย แต่เจ็บด้านขวา : Rovsing’s sign ใน acute appendicitis -Murphy’s sign ใช้ Dx. Acute Cholecystitis ให้ ผู้ป่วยหายใจเข้าเต็มที่ ผู้ตรวจใช้มือขวาเลื่อนเข้าไป ตามชายโครงข้างขวา ขณะผู้ป่วยหายใจออก จะเจ็บ จนต้องกลั้นหายใจชั่วขณะ บันทึกผล positive
30
Rovsing's sign/test an indication of acute appendicitis in which pressure on the left lower quadrant of the abdomen causes pain in the right lower quadrant
31
Murphy's sign A test for gallbladder disease in which the patient is asked to inhale while the examiner's fingers are hooked under the liver border at the bottom of the rib cage. The inspiration causes the gallbladder to descend onto the fingers, producing pain if the gallbladder is inflamed
32
คลำตับ :ยืนด้านขวาของผู้ป่วย คลำจากหน้าท้องเลื่อนขึ้นบน หาชาย โครง ขณะที่ผู้ป่วยหายใจเข้าเต็มที่ ให้ออกแรงกดที่ปลายนิ้ว แล้วช้อนมือขึ้น จึงจะคลำขอบตับได้ หรือตรวจโดยใช้สองมือ ใช้มือซ้ายหนุนหลังบริเวณ rib 11th -12th แล้วดันมือขึ้นมา จะ ช่วยคลำตับด้านหน้าได้ง่ายขึ้น หรือใช้วิธี Hooking technique ยืนหันหน้าไปปลายเท้าผู้ป่วย ใช้ปลายนิ้วของสอง มือกดช้อนขึ้น วิธีนี้ผู้ป่วยจะเจ็บ ตำแหน่งปกติ rib 5th-12th Rt. MCL ในคนปกติ ตับอาจคลำ ไม่ได้ หรือคลำได้ขนาด 1-2 cm. จากใต้ชายโครงขวา ผิวเรียบ ขอบบาง นุ่ม กดไม่เจ็บ
33
พยาธิสภาพของตับ ที่บอกได้จากการคลำ
ตับโต ผิวเรียบ ขอบคม แน่น กดไม่เจ็บ : ตับแข็ง ไขมันที่ตับ ตับโต ผิวเรียบ ขอบบางหรือมน นุ่มหรือแน่น กด เจ็บ : ตับอักเสบ ฝีที่ตับ เลือดคั่งในตับ มะเร็งตับ ตับโต ผิวขรุขระ ขอบคม แข็ง กดเจ็บ หรือไม่เจ็บ : มะเร็งตับ
34
การคลำม้าม ม้ามอยู่ใต้ชายโครงซ้ายระดับ rib 9th-11th การคลำให้ใช้มือ ซ้ายดันจากด้านหลังผู้ป่วยระดับชายโครงซ้าย มือขวาวาง บนหน้าท้องให้นิ้วตั้งฉากกับชายโครงด้านซ้ายคลำตั้งแต่ ด้านล่างขึ้นมาเรื่อย ถ้าคลำไม่ได้อาจให้ผู้ป่วยนอนตะแคง ขวา งอเข่าซ้าย และสะโพกเล็กน้อย ม้ามจะคลำได้เมื่อโตกว่าปกติ 2-3 เท่า ม้ามโตมากพบในธาลัสซีเมีย มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิด ไมอีโลไซต์ (chronic myelocytic leukemia)
35
เคาะ เสียง ที่เคาะได้ในสภาวะปกติของกระเพาะ ลำไส้ : โปร่ง มาก (Tympany)
ถ้ามีน้ำในช่องท้อง เมื่อนอนหงาย เคาะจะได้เสียงทึบทั้ง สองข้าง ด้านบนเป็นเสียงโปร่ง และเสียงเคาะจะเปลี่ยนไป เมื่อให้ผู้ป่วยเปลี่ยนจากนอนหงายเป็นนอนตะแคง ด้านบน เสียงโปร่ง ด้านล่างเสียงทึบ เรียก Shifting dullness Fluid thrill การกระเพื่อมของน้ำในช่องท้อง โดยวางสันมือ ไว้กลางลำตัว อีกข้างดันเบาๆ ที่สีข้าง ถ้ามีน้ำ จะรู้สึกมีน้ำ กระเพื่อมมาโดนฝ่ามือ
36
การคลำหน้าท้องที่โตผิดปกติ
สาเหตุของท้องที่โตผิดปกติ ได้แก่ มีน้ำในช่องท้อง (Ascites) ภายในจะมีน้ำอยู่ ต้องอาศัยการเคาะจะได้เสียงทึบ และเสียงเคาะจะเปลี่ยนไป เมื่อให้ผู้ป่วยเปลี่ยนจากนอนหงายเป็นนอนตะแคง (Shifting dullness) ร่วมกับคลำก้อนใต้ภายในช่องท้องได้ ให้นึกถึงการ แพร่กระจายของมะเร็งมายังเยื่อบุช่องท้องไว้ด้วย ซึ่งกลุ่มนี้ น้ำที่เจาะออกมาอาจเป็นสีเลือด แตกต่างกับในผู้ป่วยตับแข็ง
37
ระบบทางเดินปัสสาวะ เคาะตำแหน่ง CVA (Costro vertribra angle)
38
ระบบทางเดินหายใจ ดู ลักษณะทรวงอก ปกติ เส้นผ่าศูนย์กลางจากหน้าไปหลัง : ด้านหน้า(ซ้ายไปขวา) = 5:7 หรือ 1:2 Barrel shape : COPD, chronic emphysema, chronic bronchitis Pigeon chest เป็นแต่กำเนิด Funnel chest : โรคกระดูกอ่อน เป็นแต่กำเนิด ขนาดทรวงอก การเคลื่อนไหวของทรวงอก ข้างไหนน้อย :ปอด แฟบ (atelectasis) อัตราการหายใจ จังหวะ การเคลื่อนไหวของกระบังลม หรือใช้กล้ามเนื้อหน้าท้อง
39
ความผิดปกติของการเคลื่อนไหวของทรวงอก
Tachypnea เร็ว แต่ไม่เพิ่มความลึก Bradypnea Hyperpnea เร็ว ลึก Air hunger ช้า ลึก Cheyne-stokes respiration ผิดปกติทั้งอัตรา จังหวะ ความลึก มีช่วงการหยุดหายใจเกิดขึ้น
40
คลำหลอดลม ว่าตรง/เอียง โดยวางปลายนิ้วที่ Suprasternal notch ถ้าปอดแฟบ หลอดลมจะเอียงไปด้านที่ปอดแฟบ ถ้ามีของเหลวในช่องปอด หลอดลมเอียงฝั่งตรงข้าม Lung expansion (การขยายตัวของปอด) ผู้ป่วย นั่ง ผู้ตรวจใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างทาบแนบทรวงอก ให้นิ้วหัวแม่มือชนกันบริเวณกึ่งกลางทรวงอก ผู้ป่วยหายใจเข้าออกยาวๆ ถ้าข้างใดเคลื่อนไหว น้อยกว่า แสดงว่าข้างนั้นมีพยาธิสภาพที่ปอด หรือเยื่อหุ้มปอด
41
-Tactile fremitus ตรวจการสั่นสะเทือนที่ส่งผ่านจากปอดมา ผนังทรวงอก ขณะที่ผู้ป่วยพูด ว่าเท่ากันหรือไม่ โดย ใช้ความรู้สึกที่ฝ่ามือ คลำไล่ตั้งแต่ Clavical (Scapula) มาที่ Lung ปกติ จะเท่ากันทั้งสองข้าง ถ้าลดลงแสดงว่ามีน้ำ หรือลมกั้นระหว่างผนังทรวงอก,ของเหลวในช่องปอด, ลม ในช่องปอด, เยื่อหุ้มปอดหนาขึ้น ถ้าเพิ่มขึ้นแสดงว่าปอด แฟบ ปอดชื้น
42
เคาะ สภาวะปกติของปอด : เสียงโปร่ง (Resonance)
ผลการเคาะที่บ่งบอกถึงโรค หรือความปกติ ได้แก่ การเคาะ ลงบนปอดที่เสียงโปร่งมาก คล้ายกับที่เคาะลงบนกระเพาะ อาการ แสดงว่าปอดนั้นมีถุงลมใหญ่กว่าถุงลมในปอดปกติ อาจเกิดขึ้นในปอดเอง หรือคลุมอยู่บนปอด ถ้าเป็นภาวะถุง ลมของปอดโป่งพอง (Emphysema) พบในผู้ป่วยโรคหอบ หืดเรื้อรัง ถ้าเป็นภาวะมีถุงลมใหญ่คลุมปอดเกิดขึ้นในราย ถุงลมในปอดแตก (Pneumothorax) ทะลุออกมา ซึ่งอาจเกิด จากการถูกแทง หรือถูกยิงทะลุเข้าปอด ฯลฯ
43
ในทางตรงกันข้าม ถ้าเคาะลงบนปอดแล้วได้ ยินเสียงทึบ แสดงว่ามีน้ำ หรือหนองในถุง ลมปอด ซึ่งพบได้ในรายปอดบวม แต่ถ้าเสียง ที่ได้ทึบแน่นมาก แสดงว่ามีถุงน้ำใหญ่คลุม ปอดอยู่ ซึ่งพบในกรณีที่มีน้ำ หรือหนองขัง อยู่ในช่องปอด (Pleural effusion หรือ Emphyema)
44
เสียงที่เคาะได้ในสภาวะปกติบนอวัยวะต่าง ๆ
ปอด : โปร่ง (Resonance) กระเพาะ ลำไส้ : โปร่งมาก (Tympany) หัวใจ ตับ : ทึบ (Dullness) ต้นขา : ทึบมาก (Flatness)
45
ฟัง เสียงหายใจ เสียงหายใจปกติ Normal breath sound
- ที่บริเวณหลอดลม (Trachea) เรียก Bronchial breath sound เข้าสั้น-ออกยาว เป็นเสียงผ่านทางเดินหายใจ ขนาดใหญ่, - ที่ปอด เรียก Bronchoversicular breath sound เข้า-ออก เท่ากัน , - ที่บริเวณเนื้อปอดส่วนปลาย เรียก Versicular breath sound เข้ายาว-ออกสั้น
46
ฟัง (ต่อ) การได้ยินเสียงหายใจที่ผิดปกติ เรียกว่า Adventitious sound เช่น Stridor เป็นเสียงหายใจที่ดังฟี้ดๆ พบในรายมีการอุดตัน ของหลอดลมส่วนต้น(หลอดลมใหญ่) หรือจากมีสิ่ง แปลกปลอมอุดทางเดินหายใจ Wheezing เสียงลักษณะเดียวกับ Stridor แต่เบากว่า ได้ยิน ชัดตอนหายใจออก เนื่องจากเกิดการอุดตันในหลอดลมเล็กๆ ส่วนปลาย เช่น Asthma, Bronchitis
47
ฟัง (ต่อ) Rales เป็นเสียงฟองอากาศแตกเมื่อลมหายใจผ่านหลอดลม หรือถุงลมที่มีน้ำอยู่ภายใน หรือเยื่อบุหลอดลมบวมคั่งด้วย น้ำ พบได้ในรายมีหลอดลมอักเสบ (Bronchitis) ได้ยินตอน หายใจเข้า Crepitation เป็นเสียงลมที่ผ่านเข้าถุงลมของปอด (alveoli) ที่มีน้ำคั่งอยู่ภายใน และมีผนังถุงลมบางส่วนติดกัน เมื่อมีลม ผ่านเข้าไปทำให้ถุงลมแยกออกจากกัน จะเกิดเสียงคล้าย เสียงบี้ผม (กร๊อบแกร๊บ) พบได้ในผู้ป่วยปอดบวม
48
ระบบหัวใจ และหลอดเลือด
ดู : การเต้นที่ปลายหัวใจ มี Cyanosis หรือไม่ คลำ : Apical impulse, PMI at 5th ICS MCL , Thrill (ความ สั่นสะเทือน) ของ Heart จะเกิดคู่กับเสียง Murmur ฟัง : หัวใจปกติมี 2 เสียง เสียงที่หนึ่งดังกว่าเสียงที่สอง จะ ได้ยินเสียงดังเป็นคู่อย่างสม่ำเสมอ
49
ระบบประสาท 2 ระบบใหญ่ 1 . Central nervous system : Brain, Spinal cord
2 ระบบใหญ่ 1 . Central nervous system : Brain, Spinal cord 2. Peripheral nervous system : Spinal nerve 31 คู่, Cranial nerve 12 คู่ ตรวจอารมณ์และการพูด (ความคิด ความจำ สติปัญญา) ตรวจความรู้สึก: Alert Drowsiness Confusion Stupor Coma
50
ตรวจ Cranial nerve 12 คู่ CN 1 Olfactory nerve : รับกลิ่น หลับตาปิดรูจมูก ทีละข้าง CN 2 Optic : การมองเห็นแสง สี ภาพ ตรวจ VF VA CN 3, 4, 6 Oculomotor, Trochlear, Abducens : การเห็น ตรวจ Light reflex, Reaction to convergence
51
ตรวจ Cranial nerve 12 คู่ (ต่อ)
CN 5 Trigeminal : ควบคุมกล้ามเนื้อของขากรรไกร และรับ ความรู้สึกจากหน้า และศีรษะ แบ่งเป็น 3 ส่วน - ตรวจทั้งความรู้สึกและกำลังเคลื่อนไหว ตรวจความรู้สึก (Sensory function) : ให้หลับตา ใช้เข็มกลัดจิ้ม ที่ผิวหนัง ให้บอกว่าแหลมหรือทู่ สัมผัส ใช้ก้อนสำลีแตะ, Corneal reflex ใช้สำลีม้วนปลายแหลม แตะที่ Cornea ผู้ป่วย จะ กระพริบตาทันที ตรวจกำลังเคลื่อนไหว (Motor function) : ให้เคี้ยวเอื้อง ขบฟัน ดูความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
52
ตรวจ Cranial nerve 12 คู่ (ต่อ)
CN7 Facial : การแสดงสีหน้า ย่นหน้าผาก ยิงฟันเต็มที่ ทำปากจู๋ รับรส 2/3 ส่วนหน้าของลิ้น (Sensory& Motor) CN8 Auditory (Acoustic) : การฟังเสียง Whisper test, Weber test, Rinne test CN 9, 10 Glossopharyngeal, Vagus : คู่ 9 รับรส 1/3 โคน ลิ้น คู่ 10 ให้ออกเสียง “อา” ปกติลิ้นไก่จะกระตุกไปข้าง หลัง แต่ถ้าคู่ 10 เป็นอัมพาต ลิ้นไก่จะเบนไปข้างที่ปกติ
53
ตรวจ Cranial nerve 12 คู่ (ต่อ)
CN11 Spinal accessory : ควบคุม Sternomantoid และส่วนบนของ Trapezius muscle ให้ผู้ป่วยยัก ไหล่ หันหน้าไปซ้าย ขวา, ผู้ตรวจกดไหล่ผู้ป่วย พร้อมให้ผู้ป่วยยกไหล่สองข้างขึ้น เปรียบเทียบแรง CN12 Hypoglossy : กล้ามเนื้อลิ้น ให้แลบลิ้น ดูว่า มีลีบ แบน เอียงไปด้านใดหรือไม่
54
ตรวจ Co - ordination ตรวจการทำงานร่วมกันของระบบ Motor ซึ่งควบคุมโดย Cerebellum ร่วมกับ Extrapyramidal system และ Proprioceptive sensation Rapid rhythmic alternating movement ผู้ป่วยใช้ฝ่ามือตบคว่ำ หงายเร็วๆ ที่ฝ่ามืออีกข้างหรือต้นขา Point to point testing ปลายนิ้วชี้ผู้ป่วยแตะ ปลายนิ้วชี้ผู้ตรวจ แล้วเลื่อนไปแตะปลายจมูกตนเอง, - ตรวจขา ให้ใช้ฝ่าเท้า 2 ข้างแตะฝ่ามือผู้ตรวจเร็วเท่าที่ทำได้, -ใช้ส้นเท้าวางที่เข่าอีกข้างแล้วไล่ไปตามหน้าแข้งถึงหลังเท้า
55
Reflex (ต่อ) Reflex ของสมอง : Light, Corneal, Gag
DTR (Deep tendon reflex) : การตรวจใช้กำลังเฉพาะ ข้อมือ Biceps reflex : ให้ผู้ป่วยงอแขน ผู้ตรวจใช้นิ้วหัวแม่มือ วางบน Biceps tendon ใช้ไม้เคาะบนนิ้วผู้ตรวจ สังเกต การงอเข้าของข้อศอกและการหดตัวของกล้ามเนื้อ C5 Triceps reflex : ให้ผู้ป่วยงอศอกไปทางลำตัว เคาะที่ Triceps tendon เหนือข้อศอกประมาณ 2 นิ้ว ดูการหดตัว ของกล้ามเนื้อและการเหยียดออกของข้อศอก C 6-7
56
Reflex (ต่อ) Brachio-radialis reflex งอข้อศอกเป็นมุมฉาก คว่ำฝ่ามือ เคาะ styloid process อยู่เหนือข้อมือ 1-2 นิ้ว สังเกตการงอเข้าของแขน C5-6 Knee reflex เคาะที่เอ็นข้อเข่า ใต้กระดูกสะบ้า ดูการหดตัวของ กล้ามเนื้อ Quadricep และการเหยียดออกของข้อเข่า L2-3-4
57
Reflex (ต่อ) # Ankle reflex เคาะที่เอ็นร้อยหวาย S1-2 The plantar response : Babinski’s sign ใช้ของแข็ง ปลายแหลมพอควรขีดฝ่าเท้าจากส้นเท้า ขึ้นมา ด้านข้างทางนิ้วก้อย มานิ้วหัวแม่เท้า ปกติปลายนิ้วจะ งุ้มลง ถ้านิ้วหัวแม่เท้ากระดกขึ้นและนิ้วอื่นๆ กางออก แสดงว่ามีความผิดปกติ
58
การบันทึกผลการตรวจ Reflex
0 ไม่มีปฏิกิริยา 1 + มีปฏิกิริยาน้อย 2 + ปกติ 3+ ปฏิกิริยามากกว่าปกติไม่มาก อาจบ่งชี้ว่าเป็นโรคได้ 4+ ปฏิกิริยามากกว่าปกติมาก มักมีข้อบ่งชี้ว่าเป็นโรค บางครั้งพบร่วมกับ Clonus ( กระตุกเป็นจังหวะติดๆ กัน)
59
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
ดู :ลักษณะกระดูกสันหลัง Kyphosis หลังโกง หลังโกงแบบ โค้งพบในผู้สูงอายุ หลังโกงแบบมุมเกิดจากกระดูกสันหลังยุบ จาก TB, Osteoporosis , Lordosis หลังแอ่น พบในโรคกระดูก สะโพก, Scoliosis หลังคด ผิดปกติแต่กำเนิด คลำ : ปุ่มกระดูกและกล้ามเนื้อ การบวม การอักเสบ เคาะ : ใช้นิ้วกลางเคาะตามแนวประสาท เรียกว่า Tinel’s test จะมี อาการปวดเมื่อย โดยเฉพาะเส้นประสาทที่อักเสบ ฟัง : ตรวจข้อที่ขยับแล้วมีเสียง Crepitation เป็นเสียงที่ปลาย กระดูกถูกัน เช่นข้อเข่าเสื่อม
60
การตรวจกล้ามเนื้อ Motor power
Grade 0 ไม่มีการหดตัวของกล้ามเนื้อ Grade 1 กล้ามเนื้อหดตัวบ้าง มีการเปลี่ยนแปลงความตึง ตัวของกล้ามเนื้อ ทราบโดยการคลำ Grade 2 เคลื่อนไหวข้อได้ ในแนวราบ Grade 3 เคลื่อนไหวข้อได้ตามแรงโน้มถ่วงของโลก Grade 4 ต้านทานแรงได้บ้าง แต่ต้านแรงปกติไม่ได้ Grade 5 ต้านแรงปกติได้
61
การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ
Paraplegia / Paraparesis อัมพาตขา 2 ข้าง Hemiplegia / Hemiparesis อัมพาตของแขน และขาข้าง เดียวกัน Diplegia / Diparesis อัมพาตของแขนสองข้าง Monoplegia / Monoparesis อัมพาตของแขนหรือขาข้าง ใดข้างหนึ่ง Quadriplegia / Quadiparesis อัมพาตของแขน ขา ทั้งหมด
62
การตรวจอื่นๆ ที่จำเป็น
Mc Murray’s sign ตรวจวินิจฉัยการฉีกขาด ของ Meniscus (หมอนรองกระดูกเข่า) นอน หงาย งอเข่า 90º มือผู้ตรวจจับเข่า นิ้วอยู่ รอบข้อ มืออีกข้างจับส้นเท้า ให้ทำ External rotation ถ้าเจ็บ แสดงว่ามีการฉีกขาด
63
การตรวจรากประสาทส่วนเอว ถูกบีบกด
ใช้วิธี Straight Leg Raising Test (SLRT) ให้ผู้ป่วย นอนหงายเหยียดเข่าตรง ผู้ตรวจจับส้นเท้าผู้ป่วย ยกขึ้น มืออีกข้างจับด้านหน้าเข่าผู้ป่วย คนปกติยก ได้ถึง 80º และไม่มีอาการปวดหลัง ถ้ามีอาการปวด หลังและร้าวไปที่ขา แสดงว่ามีพยาธิสภาพที่ Sciatic Nerve
64
McBurney's point Coetaneous hyperesthesia
-A point above the anterior superior spine of the ilium, located on a straight line joining that process and the umbilicus, where pressure of the finger elicits tenderness in acute appendicitis Coetaneous hyperesthesia Gently pick up a fold of skin in abdominal wall and pain in RLQ suggests appendicitis
65
สวัสดี
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.