ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
รายวิชาเพิ่มเติม อาเซียนศึกษา
รายวิชาเพิ่มเติม อาเซียนศึกษา หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ประชาคมอาเซียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จำนวน 8 ชั่วโมง โดยนายธิปฏพณร์ ยิ้มประเสริฐ Friday, August 23, 2019
2
ประชาคมอาเซียน การจัดตั้งประชาคมอาเซียน เสาหลักประชาคมอาเซียน
บทบาทของไทย ในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน การประชุมสุดยอดอาเซียน Friday, August 23, 2019
3
การจัดตั้งประชาคมอาเซียน
- กำเนิดอย่างเป็นทางการจากการลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) เมื่อตุลาคม พ.ศ. 2546เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้นภายใน พ.ศ. 2563 - ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 12 เมื่อมกราคม 2550 ณ เซบู ฟิลิปปินส์ ได้ตกลงให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้เสร็จเร็วขึ้นอีกเป็นภายในปี พ.ศ. 2558 - ปัจจัยที่ผลักดันให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียน คือ > สภาพแวดล้อมทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมระหว่างประเทศมีการ เปลี่ยนแปลงไป ทำให้อาเซียนต้องเผชิญปัญหาต่างๆ > ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการไม่สามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจกับประเทศ อื่นๆ ได้ ต่อหน้าถัดไป Friday, August 23, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
4
การจัดตั้งประชาคมอาเซียน
แนวทางในการสร้างความรู้เพื่อเตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน 1. สร้างค่านิยมและแนวปฏิบัติร่วมกันของอาเซียนในด้านต่างๆ 2. เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการทหาร เพื่อสร้างความไว้วางใจและป้องกันความขัดแย้งที่รุนแรง 3. เสริมสร้างขีดความสามารถของอาเซียนในการเผชิญภัยคุกคามกับความมั่นคงบนพื้นฐานความมั่นคงของมนุษย์ ตลอดจนการประสานจัดทำข้อมูลกลางในเรื่องอาชญากรรมข้ามชาติในอาเซียน เพื่อใช้แก้ไขปัญหาการก่อการร้าย การค้ายาเสพติด การประพฤติผิดกำหมาย และอาชญากรรมข้ามชาติ 4. เตรียมความพร้อมสำหรับบุคลากรในสาขาต่างๆ อาทิ ภาษาอังกฤษและภาษาท้องถิ่น 5. ศึกษาข้อมูลต่างๆ โดยเฉพาะตัวบทกฎหมายของสมาชิกแต่ละประเทศ เนื่องจากมีความแตกต่างกัน เพื่อประโยชน์ในการสร้างความร่วมมือ และป้องกันความขัดแย้งระหว่างประเทศ 6. จัดตั้งสำนักงาน ส่วนงาน เพื่อดูแลงานรับผิดชอบด้านอาเซียนโดยเฉพาะ 7. ศึกษาวัฒนธรรมของสมาชิก โดยเฉพาะประเทศที่มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เพื่อสร้างความเข้าใจและการปฏิบัติต่อประชาชนอย่างถูกต้อง ต่อหน้าถัดไป Friday, August 23, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
5
การจัดตั้งประชาคมอาเซียน
กิจกรรม งานกลุ่ม ครูมอบหมายให้นักเรียน 4-5 คน หรือตามความเหมาะสม สืบค้นเรื่องภูมิหลังการจัดตั้งประชาคมอาเซียน เพิ่มเติมแล้วนำมาเสนอเพื่อนๆ ในชั้นเรียนในชั่วโมงถัดไป กิจกรรมในชั้นเรียน ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อย 7 กลุ่ม เพื่อวิเคราะห์และอภิปรายแนวทางในการสร้างความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมสู่อาเซียน เป็นเวลา 30 นาที สรุปผลแล้วออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนในท้ายคาบที่ 1 ของบทเรียนและ /หรือในคาบถัดไป กลุ่มละ นาที ในประเด็น ดังต่อไปนี้ 1. การสร้างค่านิยมและแนวปฏิบัติร่วมกัน 2. การเสริมสร้างเครือข่ายทางการทหาร 3. การเสริมสร้างขีดความสามารถในการเผชิญภัยคุกคามกับความมั่นคง 4. การเตรียมความพร้อมบุคลากรด้านภาษา 5. การศึกษาข้อมูลด้านกฎหมายของประเทศสมาชิก 6. การมีส่วนงานเพื่อดูแลงานรับผิดชอบด้านอาเซียนโดยเฉพาะ 7. การศึกษาวัฒนธรรมของสมาชิก Friday, August 23, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
6
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน - APSC
เสาหลัก ประชาคมอาเซียน ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน - APSC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนAEC ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน - ASCC Friday, August 23, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
7
เสาหลักประชาคมอาเซียน
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ ประเทศสมาชิกอาเซียนได้รับรองปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยแผนงานสำหรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียน โดยกำหนดให้มี 3 เสาหลัก เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายของการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ใน พ.ศ. 2558 3 เสาหลัก ได้แก่ - ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community - APSC) - ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community - AEC) - ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community - ASCC) Friday, August 23, 2019 เสาหลักอาเซียน หน้าหลัก หน้าแรก
8
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน - APSC
ภูมิหลัง จุดมุ่งหมายเพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข สามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้งในภูมิภาคได้โดยสันติวิธี โดยได้ร่วมกันจัดทำแผนงาน (Blueprint) โดยเน้นแผนงาน 3 ประการ คือ 1. การมีกฎเกณฑ์แบะค่านิยมร่วมกัน 2. การส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชน 3. การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก การดำเนินงานในประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน 1. การพัฒนาทางการเมืองและข้อตกลงต่างๆ ของอาเซียน 2. การป้องกันและแก้ไขความขัดแย้ง โดยวางกลไกที่สำคัญ คือ มาตรการการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน การจัดการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน การจดทะเบียนการซื้อขายอาวุธในอาเซียน และการพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้า ต่อหน้าถัดไป Friday, August 23, 2019 เสาหลักอาเซียน หน้าหลัก หน้าแรก
9
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน - APSC
อาเซียนกับความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้าย ได้มีการจัดทำปฏิญญาอาเซียนในเรื่องการต่อต้านการก่อการร้าย (ASEAN Declaration on Joint Action to Counter Terrorism) เมื่อปี พ.ศ เป็นเอกสารที่ระบุมาตรการความร่วมมือที่สำคัญ ดังนี้ 1. มีการเพิ่มบทบาทกลไกภายในประเทศเพื่อการต่อต้านการก่อการร้าย 2. พยายามลงนามและให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญาการต่อต้านการก่อการร้าย 12 ฉบับ 3. ให้มีความร่วมมือกันมากขึ้นระหว่างหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมาย 4. ให้มีการศึกษาข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย เพื่อปรับใช้กับกลไกอาเซียน 5. เพิ่มการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันมากขึ้น 6. เพิ่มความร่วมมือและประสานงาน โดยเฉพาะเรื่องกลไกการป้องกันอาชญากรรมข้ามชาติ 7. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับอาเซียน 8. เพิ่มความร่วมมือในระดับทวิภาคี ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ ต่อหน้าถัดไป Friday, August 23, 2019 เสาหลักอาเซียน หน้าหลัก หน้าแรก
10
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน - APSC
อาเซียนกับความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้าย มีผลให้เกิดความร่วมมือในความพยายามทำลายกลุ่มก่อการร้าย เครือข่ายเมาห์ อิสลามิยาห์ (Jemma Islamiyah-JI) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับเครือข่ายอัลกออิดะ (AI Qaeda) และยังมีปฏิญญาร่วมในการต่อต้านการก่อการร้ายกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา พัฒนาการในการสร้างความร่วมมือของอาเซียนในการต่อต้านการก่อการร้าย เช่น - สิงหาคม พ.ศ อาเซียนและสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อินเดีย รัสเซีย และออสเตรเลีย ได้จัดทำปฏิญญาความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้าย - อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ลงนามในข้อตกลงการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน ซึ่งต่อมาไทยและกัมพูชาได้ร่วมลงนามด้วย - พฤศจิกายน พ.ศ มีการประกาศปฏิญญาเกี่ยวกับการก่อการร้ายฉบับที่ 2 ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่พนมเปญ ประเทศกัมพูชา - พฤศจิกายน พ.ศ อาเซียนและจีนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในประเด็นปัญหาความมั่นคงและการต่อต้านการก่อการร้าย ต่อหน้าถัดไป Friday, August 23, 2019 เสาหลักอาเซียน หน้าหลัก หน้าแรก
11
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน - APSC
บทบาทของสหรัฐอเมริกา - เป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นหลักสำคัญในการผลักดันความร่วมมือเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย - ได้เพิ่มความร่วมมือทางทหารกับประเทศต่างๆ เช่น ฟิลิปปินส์ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย - ได้เสนอความคิดเกี่ยวกับการสร้างความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาคอาเซียน โดยเสนอส่งกองทัพเรือลาดตระเวนและปกป้องช่องแคบมะละกา แต่อินโดนีเซียและมาเลเซียปฏิเสธ - ต่อมาอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ได้จัดตั้งกองกำลังเพื่อป้องกันการก่อการร้ายใน ช่องแคบมะละกา และประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นประเทศที่ 4 Friday, August 23, 2019 เสาหลักอาเซียน หน้าหลัก หน้าแรก
12
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน - AEC
ภูมิหลัง - เป้าหมายเพื่อให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน และมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี - พ.ศ ได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินการด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน คือ 1. การตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี 2. การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน 3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค 4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการประสานนโยบายเศรษฐกิจอาเซียนกับประเทศอื่นๆ ที่ไม่ใช่สมาชิกเพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน ต่อหน้าถัดไป Friday, August 23, 2019 เสาหลักอาเซียน หน้าหลัก หน้าแรก
13
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน - AEC
ความคืบหน้าในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน - ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 16 ได้มีรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินมาตรการต่างๆ ที่ปรากฏในแผนการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในเรื่องต่างๆ ดังนี้ 1. การเปิดเสรีการค้าสินค้า มีความคืบหน้ามากที่สุด โดยอัตราภาษีของสินค้าลดลงอยู่ที่ 0-5% 2. การเกิดเสรีการค้าภาคบริการ สาขาที่มีความคืบหน้าในการเปิดเสรีภาคบริการ ได้แก่ สาขาการบริการทางธุรกิจ การบริการด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพ การขนส่งทางทะเล การจัดจำหน่ายสินค้า สาขาโทรคมนาคม การศึกษา และการท่องเที่ยว 3. การเปิดเสรีการค้าด้านการลงทุน มีการจัดทำข้อตกลงที่เรียกว่า ASEAN Comprehensive Investment Agreement ซึ่งเน้นเรื่องการป้องกันการลงทุน การมีกฎระเบียบด้านการลงทุนที่โปร่งใส การส่งเสริมอาเซียนให้เป็นเขตการลงทุนเดียว 4. การเปิดเสรีการไหลเวียนของเงินทุน มีมาตรการที่จะให้การไหลเวียนของเงินทุนมีเสรีมากขึ้น 5. การเปิดเสรีด้านแรงงาน มีการพยายามที่จะเปิดเสรีฝีมือแรงงานด้านต่างๆ เช่น แพทย์ พยาบาล วิศวกร นักบัญชี Friday, August 23, 2019 เสาหลักอาเซียน หน้าหลัก หน้าแรก
14
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน - ASCC
ภูมิหลัง - จุดมุ่งหมายเพื่อให้ประชาชนประเทศสมาชิกมีความกินดีอยู่ดี ปลอดภัย ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ และมีสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยแผนการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนประกอบด้วย 6 ด้าน ดงนี้ 1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เน้นที่การพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง 2. การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม เน้นด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน 3. ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อมที่สะอาด การปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรทางทะเล และการปรับปรุงคุณภาพของน้ำและอากาศ 4. การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน เน้นการสร้างความรู้สึกของการอยู่ร่วมกันของสมาชิก 5. ความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน มีการวางแผนเพื่อพัฒนาและส่งเสริมความยุติธรรมและสิทธิของประชาชน โดยเน้นการปกป้องผลประโยชน์ สิทธิ เสรีภาพ รวมทั้งการยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างเท่าเทียม 6. การลดช่องว่างทางการพัฒนา มีการวางแผนในการลดช่องว่างการพัฒนาประเทศระหว่างประเทศอาเซียน 6 ประเทศแรก ได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไนดารุสซาลาม กับ 4 ประเทศที่เข้ามาภายหลัง ได้แก่ ลาว กัมพูชา เมียนมา และเวียดนาม Friday, August 23, 2019 เสาหลักอาเซียน หน้าหลัก หน้าแรก
15
เสาหลักประชาคมอาเซียน
กิจกรรม งานกลุ่ม แบ่งนักเรียนเป็น 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มศึกษาและสืบค้นความรู้เกี่ยวกับบทบาทของไทยกับ 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน ดังนี้ กลุ่มที่ 1 บทบาทของไทยในประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน กลุ่มที่ 2 บทบาทของไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กลุ่มที่ 3 บทบาทของไทยในประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน บันทึกผลการสืบค้น และนำความรู้สรุปเป็นแผนที่ความคิดรายงานหน้าชั้นเรียน ในคาบถัดไป พร้อมจัดทำสรุปเป็นแผ่นพับส่งครูตามเวลาที่กำหนด Friday, August 23, 2019 เสาหลักอาเซียน หน้าหลัก หน้าแรก
16
บทบาทของไทยการจัดตั้งประชาคมอาเซียน
ภูมิหลังบทบาทไทยในอาเซียน - พ.ศ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อตั้งขึ้น ซึ่งไทยมีบทบาทสำคัญในการผลักดันความร่วมมือของอาเซียนให้มีความคืบหน้ามาตลอด โดย ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เดินทางไปร่วมเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างมาเลเซียและฟิลิปปินส์ เรื่องการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนซาบาห์และซาราวัก และการแยกตัวออกจากมาเลเซียของสิงคโปร์ โดยมีรัฐมนตรีอีก 4 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ร่วมกันหารือ จนนำไปสู่การลงนามในปฏิญญากรุงเทพ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 - พ.ศ อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศ ไทยจึงมีบทบาทเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงประเทศต่างๆ ในอาเซียนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน - พ.ศ การประชุมสุดยอดอาเซียนที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย มีการเสนอแนวคิดจัดตั้งประชาคมอาเซียน ซึ่งนำไปสู่การจัดทำกฎบัตรอาเซียน ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ โดยกฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ต่อหน้าถัดไป Friday, August 23, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
17
บทบาทของไทยการจัดตั้งประชาคมอาเซียน
ไทยกับการเป็นประธานอาเซียน - ไทยเข้าดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนต่อจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ ซึ่งการดำรงตำแหน่งในครั้งนี้มีความพิเศษหลายประการ ดังนี้ 1. เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของอาเซียนเนื่องจากเพิ่งมีการประกาศใช้กฎบัตรอาเซียน ทำให้ต้องมีการปรับโครงสร้างของอาเซียนเพื่อวางรากฐานการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน 2. กฎบัตรอาเซียนได้มีการปรับเปลี่ยนการเข้ารับตำแหน่งผู้นำอาเซียนจากเดือนกรกฎาคม เป็นเดือนมกราคมแทน ทำให้ประเทศไทยได้ระยะเวลาดำรงตำแหน่งนานขึ้นถึง 1 ปีครึ่ง คือ จาก กรกฎาคม 2551 ถึง ธันวาคม 2552 3. การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทยเป็นช่วงเวลาเดียวกับการเข้าดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ซึ่งทำให้การประสานงานด้านต่างๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ต่อหน้าถัดไป Friday, August 23, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
18
บทบาทของไทยการจัดตั้งประชาคมอาเซียน
ไทยกับการเป็นประธานอาเซียน - การดำรงตำแหน่งผู้นำอาเซียน ที่ประชุมคณะกรรมการได้วางเป้าหมายหลักในการดำรงตำแหน่งของไทยไว้ 3 ประการ คือ 1. ไทยต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎบัตรอาเซียน คือ การวางรากฐานในการจัดตั้งประชาคมอาเซียนตามที่ระบุในกฎบัตรให้แล้วเสร็จภายในวาระการดำรงตำแหน่ง เช่น > การจัดตั้งคณะมนตรีประจำประชาคมอาเซียน ทั้ง 3 เสาหลัก คือ การจัดตั้งคณะมนตรี ประสานงานอาเซียน การจัดตั้งคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียนที่กรุง จาการ์ตา การจัดตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอาเซียน 2. การฟื้นฟูอาเซียนให้เป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยส่งเสริมการตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างประชาคมอาเซียน 3. การเสริมสร้างพัฒนาการและความมั่นคงของมนุษย์ โดยการแก้ปัญหาที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนได้อย่างทันท่วงที Friday, August 23, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
19
การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14-19
กิจกรรม งานเดี่ยว ครูให้นักเรียนวิเคราะห์ทิศทางและแนวโน้มการจัดตั้งประชาคมอาเซียน และผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมถึงบทบาทของประเทศไทย เมื่อมีการรวมตัวเป็นประชาคม ในปี 2558 ความยาว 2-4 หน้ากระดาษ A4 และนำส่งครูในคาบเรียนถัดไป Friday, August 23, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
20
การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14-19
สถานที่ วันที่ สาระสำคัญ 14 ชะอำ-หัวหิน ประเทศไทย 28 ก.พ. – 1 มี.ค. 52 กฎบัตรอาเซียนเพื่อประชาคมอาเซียน เช่น การมุ่งสร้างชุมชนที่มีประสิทธิภาพ การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของภูมิภาค การเป็นศูนย์กลางการพัฒนาในภูมิภาค การลงนามในปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยแผนการจัดตั้งประชาคมอาเซียน 15 23-25 ต.ค. 52 เชื่อมโยงประชาคม สร้างเสริมประชาชน โดยให้ความสำคัญกับการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยไทยจะผลักดันในประเด็นเหล่านี้ 16 ฮานอย ประเทศเวียดนาม 8-9 เม.ย. 53 มุ่งสู่ประชาคมอาเซียน : จากวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติ ประเด็นสำคัญในกฎบัตรอาเซียน การเสริมสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงกันระหว่างภูมิภาค การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันระหว่างประเทศ ประเด็นที่มีผลกระทบต่อประชาชน Friday, August 23, 2019 ต่อหน้าถัดไป หน้าหลัก หน้าแรก
21
การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14-19
สถานที่ วันที่ สาระสำคัญ 17 ฮานอย ประเทศเวียดนาม 28 ต.ค. 53 การเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน การประกาศปฏิญญาฮานอย 18 จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย 7-8 พ.ค. 54 การบูรณาการทางยุทธศาสตร์ ความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน ข้อพิพาทเกี่ยวกับดินแดนในทะเลจีนใต้ การค้ามนุษย์ การเสนอชื่อติมอร์-เลสเตเข้าร่วมเป็นสมาชิก การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในการสร้างและใช้ผลประโยชน์จากประชาคมอาเซียน การขอเป็นเจ้าภาพการประชุมในปี พ.ศ ของเมียนมา 19 บาหลี 17 พ.ย. 54 การสร้างประชาคมอาเซียน ใน พ.ศ. 2558 การสร้างบทบาทของอาเซียนในเวทีโลก การร่วมลงนามในปฏิญญาบาหลีว่าด้วยประชาคมอาเซียนในประชาคมโลก Friday, August 23, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
22
การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14-19
กิจกรรม งานกลุ่ม แบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ 4-6 คน แต่ละกลุ่มหาภาพข่าวการประชุมสุดยอดอาเซียนตั้งแต่ครั้งที่ บรรยายใต้ภาพข่าวโดยสังเขป แล้วจัดทำเป็นสมุดภาพ ‘การประชุมสุดยอดอาเซียน’ นำเสนอหน้าชั้นเรียนในคาบเรียนถัดไป Friday, August 23, 2019 หน้าหลัก หน้าแรก
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.