งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ระดับ ปวส.1 แผนกวิชาการตลาด วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ โดยการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD ในรายวิชาการบริหารธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อม กัลยา ศิรินันทา วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่

2 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การจัดการแผนการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD ซึ่งเป็นการจัด กิจกรรมการเรียนการสอน ใช้วิธีแบบจัดกลุ่มผู้เรียน โดยแบ่งกลุ่มผู้เรียนประมาณ 4-5 กลุ่ม และในแต่ละกลุ่มจะต้องมีทั้งคนเก่ง ปานกลาง และคนอ่อน เพื่อจะได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวมทั้งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงการทำงานเป็นกลุ่ม เกิดความสามัคคี และยังเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่ทำให้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD มีประสิทธิภาพก็คือ รางวัลที่ได้จากการที่มีคะแนนสะสมของกลุ่มมากที่สุด

3 เป็นสิ่งที่ทำให้แต่ละกลุ่มเกิดการช่วยเหลือหรือมีความสามัคคีกันภายในกลุ่ม ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียนและยังเป็นการดูแลกัน เกิดความสัมพันธ์และมิตรภาพภายในกลุ่ม รวมถึงทำให้ผู้เรียนได้ความรู้ จากการช่วยเหลือของเพื่อนร่วมกลุ่ม ซึ่งการสอนกันเองของผู้เรียนทำให้เกิดความสบายใจ และรับรู้ได้อย่างรวดเร็ว เกิดประสิทธิภาพในการเรียนของผู้เรียน เพื่อนำไปได้ต่อไปในอนาคต จากการเรียนการสอนรายวิชาการบริหารธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อม จะต้องให้ความสำคัญในเรื่องการมีส่วนร่วมและสามารถทำงานร่วมกันผู้อื่นได้ เพราะถ้ากล่าวถึงอาชีพด้านการตลาด เป็นอาชีพที่ทำงานร่วมกันบุคคลอื่น

4 จากเหตุผลดังกล่าวทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD เข้ามาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดของผู้เรียน โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญและพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษา และสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาอื่นต่อไปอย่างประสิทธิภาพ

5 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาการบริหารธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อม โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนและหลังเรียน โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาการบริหารธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อม โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD 3. เพื่อศึกษาความความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนรายวิชาการบริหารธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อม โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD

6 การจัดการเรียนรู้ แบบกลุ่มร่วมมือ STAD
กรอบแนวคิดในการวิจัย การจัดการเรียนรู้ แบบกลุ่มร่วมมือ STAD ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ความพึงพอใจของนักศึกษา

7 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่นักศึกษาระดับชั้น ปวส. 1/3 แผนกวิชาการตลาด วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ ที่เรียนรายวิชาการบริหารธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 6 คน

8 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาการบริหารธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อม โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD แบบทดสอบวัดผลผลสัมฤทธิ์ การบริหารธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อม แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาการบริหารธุรกิจขนาดย่อม โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD

9 สรุปผลการวิจัย 1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาการบริหารธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมโดยใช้การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD มีประสิทธิภาพ 77.81/88.75 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2. ดัชนีประสิทธิของการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาการบริหารธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมโดยใช้การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD เท่ากับ หรือคิดเป็นร้อยละ 67.42

10 3. นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาการบริหารธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมโดยใช้การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน 4. นักศึกษาที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาการบริหารธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมโดยใช้การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD มีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด

11 ภาพหลักฐานประกอบการวิจัย

12 ข้อเสนอแนะจากการวิจัย
1. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้ศึกษาได้ค้นคว้าพัฒนาขึ้น ทำให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นและได้มีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้ศึกษาควรนำแผนการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาความรู้ทักษะวิชาชีพทางแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ไปใช้ กับนักศึกษาในระดับอื่นด้วย 2. ควรจัดกลุ่มนักศึกษาให้คละความสามารถอย่างชัดเจนตามเนื้อหาการเรียนรู้ที่สอน เพื่อให้สมาชิกเกิดพฤติกรรมกลุ่มร่วมมือในการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อ การเรียนการสอน

13 ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD ในการเรียนรู้ ในเนื้อหาอื่น หรือระดับชั้นอื่นๆ 2. ควรมีการเปรียบเทียบแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นไปสอน เปรียบเทียบกับวิธีสอนอื่นๆ ในเนื้อหาเดียวกันและชั้นเดียวกัน เพื่อจะได้เป็นการส่งเสริมและ หาแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและ เกิดประสิทธิผล ต่อไป 3. ควรมีการศึกษาค้นคว้าในเรื่องเดียวกันนี้ แต่ให้กลุ่มทดลองเปรียบเทียบกับ การทดลองสับเปลี่ยนกลุ่มศึกษากับกลุ่มใหม่ไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ได้ผลเปรียบเทียบกับการทดลอง กลุ่มเดิมว่ามีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นกว่าเดิมหรือไม่


ดาวน์โหลด ppt วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google