ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ระบบทรัพย์สินทางปัญญาในโลกดิจิทัล
โดย ผศ.ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2
กฎหมาย กับ เทคโนโลยี นิยาม และขอบเขตในการศึกษากฎหมาย กับ วัฒนธรรม
อิทธิพลระหว่างเทคโนโลยี กับ กฎหมาย(รัฐ) ความเปลี่ยนแปลงของสังคม ผลกระทบต่อเทคโนโลยี กับ กฎหมาย การส่งเสริมวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในระบบกฎหมาย เทคโนโลยี กับ จริยศาสตร์ ในระบบกฎหมาย เทคโนโลยี กับ กฎหมาย – วิทยาศาสตร์เพื่อมนุษยชาติ กับ กฎหมาย เทคโนโลยี กับ กฎหมาย – ทรัพย์สินทางปัญญา กับ สิทธิมนุษยชน ความท้าทายของเทคโนโลยีกับกฎหมายในโลกหลังสมัยใหม่
3
นิยาม และขอบเขต กฎหมาย กับ เทคโนโลยี
กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ ของสังคม ฝ่าฝืน มีความผิด มีผลร้าย เทคโนโลยี คือ การพัฒนาเพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้มนุษย์ ทำได้ – สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ได้-สูญเสียคุณภาพชีวิต เป็นนวัตกรรมเช่นเดียวกัน (คนสร้าง) เครื่องมือจัดเพิ่มความสัมพันธ์มนุษย์ กับ ผู้อื่นหรือทรัพยากรในชุมชน เครื่องมือกำหนดอำนาจของคนในสังคม พลเมือง-ลูกบ้าน ผลของการกระทำ งดเว้นการกระทำ มีความเข้มข้นหรือผลต่างกัน เทคโนโลยีอาศัยกลไกของวิทยาศาสตร์ กฎหมายอาศัยกลไกรัฐ
4
การเปลี่ยนแปลงวิทยาศาสตร์และผลต่อกฎหมาย
ยุควิทยาศาสตร์ของนักปรัชญา - นักคิดอิสระ ความรู้เป็นของสาธารณะ - นักคิดของผู้ปกครอง ยุควิทยาศาสตร์เป็นสิ่งต้องห้าม - ยุคมืด ศาสนจักรเป็นใหญ่ - คัมภีร์ และการตีความของนักบวช ศาลศาสนาเป็นจริง - นักวิทยาศาสตร์คิดต่างไม่ได้ต้อองทดสอบศรัทธา - แม่มดมีภูมิปัญญาดึงความนิยมไปจากศาสนาต้องตาย
5
การเปลี่ยนแปลงวิทยาศาสตร์และผลต่อกฎหมาย
ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ - จิตวิญญาณ กับ สิ่งที่ ชั่ง ตวง วัด ได้ในเชิงประจักษ์ - การเข้าถึงความรู้ด้วย กระบวนการ เหตุ-ผล สมมติฐาน-ทดลอง - เสรีภาพของมนุษย์ในการพัฒนา ยุควิทยาศาสตร์จะกลายเป็นพระเจ้า - เทคโนโลยี คือ ทุน - เทคโนโลยีต้องเพิ่มอำนาจให้มนุษย์ผู้เป็นเจ้าของ - เทคโนโลยีควบคุมธรรมชาติ
6
การส่งเสริมวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในระบบกฎหมาย
ปฏิวัติมนุษยนิยม - เสรีภาพในการพัฒนาตนเอง - เสรีภาพในทางวิชาการ และแสดงความคิดเห็น - เสรีภาพในการเข้าถึง และแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ การคุ้มครองภูมิปัญญาด้วยระบบกฎหมายทรัพย์สิน - ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร การแลกเปลี่ยนวิทยาการเพื่อการพัฒนา - การเปิดโอกาสให้เข้าถึงเพื่อวิจัย พัฒนา และการถ่ายทอดเทคโนโลยี
7
จริยศาสตร์ กับ เทคโนโลยี
การแสวงหาผลประโยชน์จากเทคโนโลยี - การคุ้มครองสิทธิให้นวัตกรรม - การคุ้มครองลิขสิทธิ์เหนือความรู้ - การเข้าถึงทรัพยากรส่วนรวมเพื่อวิจัย พัฒนา - การแบ่งปันผลประโยชน์ของ เจ้าของฐานข้อมูล กับ ผู้คิดค้น - การถ่ายทอดเทคโนโลยี - ลิขสิทธิ์ กับ การหวงกันองค์ความรู้
8
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อมนุษยชาติ
องค์ความรู้เป็นของใคร - ผู้คิด - เจ้าของทุน - มนุษยชาติ นวัตกรรมเป็นของใคร ระยะเวลาเท่าใด - มนุษยชาติ ตั้งแต่ต้น - ผู้คิด เจ้าของทุน ตลอดกาล - ผู้คิด ทุน ระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นเป็นของมนุษยชาติ
9
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อมนุษยชาติ
การดัดแปลงเพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยี - ประยุกต์เพื่อใช้งาน เกิดมูลค่าเพิ่ม - สิทธิเป็นของเจ้าของความรู้เดิม เทคโนโลยีเดิม - สิทธิเป็นของผู้คิดค้นดัดแปลง หรือ เท่าที่มีเงื่อนไขตรงกับเจ้าของเดิม การลอกเลียนแบบเทคโนโลยีทำได้หรือไม่ - การโจรกรรมความคิด และเทคโนโลยี - การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการดูดซับเทคโนโลยี - การบังคับใช้สิทธิเพื่อมนุษยธรรม CL-Compulsory License
10
ทรัพย์สินทางปัญญา กับ สิทธิมนุษยชน
ห้ามเลือกประติบัติ – สร้าง ทำลาย กกีดกัน การเข้าถึงเทคโนโลยี - สิทธิตามธรรมชาติ หรือ สิทธิตามนิติกรรม - ทรัพย์สินสาธารณะ การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ในฐานะมรดกร่วมที่ทุกคนมีสิทธิ - สิทธิชุมชน - สิทธิของเจ้าของเงินทุน - สิทธิของนักปรับปรุงพันธุ์ ภูมิปัญญาชาวบ้าน
11
วัตถุแห่งสิทธิในปัญญาและอุตสาหกรรมคืออะไร
นวัตกรรมสมัยใหม่ทำให้กฎหมายต้องคิดค้นระบบคุ้มครองสิทธิ สิทธิในลิขสิทธิ์ คือ สิทธิในงานที่มีลักษณะเป็นการประพันธ์ ต้องแสดงออกความคิด งานที่กฎหมายยอมรับ โดยตนเอง ไม่ขัดต่อกม. ห้ามผู้อื่น ทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณะ ให้เช่า สำเนา ใช้ประโยชน์จะลิขสิทธิ์ หรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์ ตลอดชีวิต+50 สิทธิบัตร คือ งานสร้างสรรค์ทางเทคโนโลยีทั้งผลิตภัณฑ์ และกรรมวิธี ต้องเป็นการประดิษฐ์ใหม่ ต่อยอด ประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม อายุ20ปี มีบางอย่างที่อาจเว้นได้ เช่น CLยา จุลชีพ สิ่งมีชีวิต
12
Copyrights Vs. Copyleft
เงื่อนไขว่าต้องยังคงรักษาเสรีภาพเดียวกันนี้ในงานที่ดัดแปลงแก้ไขมา เจ้าของสามารถกำหนดข้อจำกัดหรือเงื่อนไขทางด้านลิขสิทธิ์บางอย่าง แทนที่เจ้าของลิขสิทธิ์จะปล่อยงานของเขาออกมาภายในพื้นที่สาธารณะโดยสมบูรณ์ เรียกว่า สัญญาอนุญาตต่างตอบแทน (reciprocal licenses) สัญลักษณ์ของ copyleft เป็นตัวอักษร c หันหลังกลับ
13
Copyrights Vs. Creative Commons
สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ เป็นสัญญาอนุญาตทางลิขสิทธิ์ แบ่งสัญญาออกเป็นเป็น 4 ประเภท แสดงที่มา (Attribution - by) : อนุญาตให้ผู้อื่นทำซ้ำ แจกจ่าย หรือแสดงและนำเสนอชิ้นงานดังกล่าว และสร้างงานดัดแปลงจากชิ้นงานดังกล่าว ได้เฉพาะกรณีที่ผู้นั้นได้แสดงเครดิตของผู้เขียนหรือผู้ให้อนุญาตตามที่ระบุไว้ ไม่ใช้เพื่อการค้า (Noncommercial - nc) : อนุญาตให้ผู้อื่นทำซ้ำ แจกจ่าย หรือแสดงและนำเสนอชิ้นงานดังกล่าว และสร้างงานดัดแปลงจากชิ้นงานดังกล่าว ได้เฉพาะกรณีที่ไม่นำไปใช้ในทางการค้า
14
Copyrights Vs. Creative Commons
ไม่ดัดแปลง (No Derivative Works - nd) : อนุญาตให้ผู้อื่นทำซ้ำ แจกจ่าย หรือแสดงและนำเสนอชิ้นงานดังกล่าวในรูปแบบที่ไม่ถูกดัดแปลงเท่านั้น อนุญาตแบบเดียวกัน (Share Alike - sa) : อนุญาตให้ผู้อื่นแจกจ่ายงานดัดแปลง ได้เฉพาะกรณีที่ชิ้นงานดัดแปลงนั้นเผยแพร่ด้วยสัญญาอนุญาตที่เหมือนกันทุกประการกับงานต้นฉบับ(ดู Copyleft) ผู้อื่นสามารถนำผลงานไปใช้ต่อได้โดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงแต่ต้องทำตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ หากจะใช้ลักษณะอื่นต้องขออนุญาตก่อน
15
UGC – User Generated Content
ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตสร้างสรรค์หรือผลิตเนื้อหาของตนเอง มีการเผยแพร่และเปิดโอกาสให้ทุกคนในโลกอินเตอร์เน็ตสามารถมีส่วนร่วมในเนื้อหานั้นและผู้ใช้เป็นผู้ขับเคลื่อนเนื้อหา (User driven content) UGC เกิดจากผู้ใช้สร้างเนื้อหาจากงานของผู้อื่น (User- derived content) ทำให้เกิดปรากฎการณ์ที่เกิดการขัดแย้งกันในเรื่องสิทธิและผลประโยชน์ระหว่าง เจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้สร้างสรรค์ผลงานขึ้นใหม่ และ ประโยชน์สาธารณะ
16
กรณีศึกษาเกี่ยวกับ UGC
การสร้างเนื้อหาโดยผู้ใช้และเป็นการสร้างเนื้อหาจากงานของผู้อื่นซึ่งมีลิขสิทธิ์คุ้มครองอยู่มีหลากหลายประเภท เช่น Mashup, Virtual world, Anime แต่ที่แพร่หลายมากในอินเตอร์เน็ต คือ Fanvid เป็นการนำเนื้อหาประเภทวีดิโอ หรือ รูปภาพ ที่คัดสรรมาจากสื่อ ภาพยนตร์ ทีวีโชว์ หรือการ์ตูนที่ได้รับความนิยม นำมาเรียบเรียงใหม่ โดยนำมาใส่เสียงเพลงประกอบ หรือ ตัดต่อให้เป็นเนื้อเรื่องใหม่ ซึ่งเป็นการผสมผสานกันระหว่างภาพและเสียง ซึ่งผู้สร้างสรรค์ fanvid นำมาสร้างเป็นเนื้อหาใหม่
17
ข้อถกเถียงสำคัญของ UGC
การจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกสร้างสรรค์ต่อยอดความคิด แนวคิด fair use ในเนื้อหา User- generated content สิทธิเด็ดขาดของเจ้าของลิขสิทธิ์ Vs. ข้อยกเว้นสิทธิเด็ดขาดของเจ้าของลิขสิทธิ์
18
แนวคิดในเรื่องการคุ้มครองสิทธิเจ้าของอย่างเด็ดขาด
เจ้าของผลงานล้วนต้องใช้สติปัญญาและระยะเวลาในการสร้างสรรค์ผลงาน ป้องกันมิให้ผู้อื่นมาใช้ประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนโดยมิได้รับอนุญาต 2. การสร้างสรรค์โดยปกติจะต้องมีการลงทุนไม่ว่าจะเป็นทุนที่มีมูลค่า 3. งานที่มีการบ่มเพาะทางวัฒนธรรม ในภายหน้าอาจกลายเป็นประโยชน์สาธารณะได้ 4. การเผยแพร่งานต่อสาธารณชน ทำให้เกิดความเชื่อมโยง หล่อหลอม ความรู้ของคนในสังคม ทุกฐาน เพศ อายุ การให้ความคุ้มครองจึงแก่ให้เกิดความมั่นคงเป็นปึกแผ่นของสังคม
19
ข้อยกเว้นในเรื่องสิทธิเด็ดขาด
อนุสัญญาเบิร์น ข้อ 10 ซึ่งสอดคล้องกับข้อตกลง Trips ข้อ 13 หลักการ fair use ใช้บังคับได้เมื่อเข้าองค์ประกอบ 3 ประการดังนี้ คือ 1. มีการกำหนดไว้เป็นกรณีพิเศษเฉพาะบางกรณีเท่านั้น 2. ต้องไม่ขัดกับการแสวงหาผลประโยชน์ตามปกติของงาน 3. ต้องไม่ก่อให้เกิดผลเสียเกินสมควรต่อประโยชน์อันชอบธรรมของผู้สร้างสรรค์ มาตรา 32 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537
20
ความท้าทายของเทคโนโลยีกับกฎหมายสมัยใหม่
ทัศนคติในการออกกฎหมาย มนุษย์ คือ ผู้สร้าง หรือผู้ทำลาย การรุกคืบของมนุษย์เข้าสู่การสร้างชีวิต การผูกขาดเทคโนโลยีเพื่อพาณิชย์ การผูกขาดเทคโนโลยีในการใช้ทรัพยากรของส่วนรวม ความรู้สาธารณะ ระบบกฎหมายจะเปิดโอกาสให้สาธารณะเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างไร องค์ความรู้หวงกันโดยกฎหมายได้หรือไม่ อดีตไม่ได้ การพัฒนารัฐ – เลียนแบบ ดัดแปลง นวัตกรรม องค์ความรู้ ระบบกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาทางเลือก
21
ลู่ทางในการพัฒนากฎหมายกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า
การรับรองสิทธิของมนุษย์ในการสร้างศิลปะวิทยาการระดับไหน การปรับกฎหมายให้ยืดหยุ่นรองรับนวัตกรรมทางเทคโนโลยี การป้องกันการเลือกประติบัติโดยอาศัยเทคโนโลยี การประกันสิทธิของมนุษย์ในการเข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อชีวิต ระบบป้องกันการโจรกรรมทรัพยากรร่วม และหวงกันเทคโนโลยี การแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างเจ้าของทรัพยากรร่วมกับผู้คิดค้น การสร้างสมดุลในเสรีภาพทางวิชาการและการพัฒนา ระหว่าง ประชาชน ผู้คิดค้น บรรษัท รัฐ สาธารณะ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.