งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา Self – Assessment Report

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา Self – Assessment Report"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา Self – Assessment Report
การจัดทำ รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา Self – Assessment Report (SAR) กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงาน กศน.

2 รายงานการประเมินตนเอง (SAR) คืออะไร
“เอกสารรายงานผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อให้สาธารณชนรับทราบประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามมาตรฐาน ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ที่กำหนด รวมถึงวิเคราะห์จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาและระบุ แนวทางการพัฒนา”

3 วัตถุประสงค์ของการเขียน SAR
1. เพื่อสรุปผลการจัดการศึกษาประจำปีการศึกษาให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบ ซึ่งเป็นการสรุปผลการดำเนินงานตามแผนการปฏิบัติงานประจำปีของสถานศึกษา รวมถึงการดำเนินงานที่สอดคล้องกับข้อเสนอแนะของ ผู้ประเมินภายในโดยต้นสังกัด/ภายนอก ในรอบ 1 ปี 2. เพื่อระบุทิศทางการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคต 3. เพื่อรายงานผลให้ต้นสังกัด และสาธารณชนได้ทราบถึงผล การดำเนินงานของสถานศึกษาในรอบปีที่ผ่านมา 4. เพื่อเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาในการรับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบต่อไป

4 รูปแบบการเขียนรายงาน
ควรเป็นไปตามแนวทางที่สำนักงาน กศน.กำหนด หรือสถานศึกษาสามารถออกแบบให้สอดคล้องกับรายงานการประเมินตนเองตามแผนงาน มาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่กำหนด การนำเสนอสาระควรกระชับ เข้าใจง่าย นำเสนอข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณ และคุณภาพที่สอดคล้องกัน และบรรลุตามเป้าหมายของแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา หลักฐานอ้างอิง ควรเป็นหลักฐานที่จำเป็น หลักฐานอื่นให้รวบรวมไว้ที่สถานศึกษา

5 บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ส่วนประกอบ เนื้อหา สาระของรูปเล่ม สรุปภาพรวมของผลการประเมินตนเอง บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา บทที่ 1 ทิศทางและผลการดำเนินงานของสถานศึกษา บทที่ 2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา บทที่ 3 สรุปผลการประเมินตนเอง และ แนวทางการพัฒนาสถานศึกษา บทที่ 4

6 บทสรุปผู้บริหาร - บริบทของสถานศึกษา
- ผลการประเมินตนเองในภาพรวม (ทุกมาตรฐาน ตัวบ่งชี้) - สรุปผลภาพรวมของการวิเคราะห์สถานศึกษาเพื่อการพัฒนา (จุดเด่นของสถานศึกษา จุดที่ควรพัฒนา โอกาส อุปสรรค และนวัตกรรม หรือวิธีปฏิบัติที่ดี) “เป็นการสรุปข้อมูลบริบท และศักยภาพของสถานศึกษา ผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานของสถานศึกษา รวมถึงการสรุปผลการประเมินตนเองเพื่อการพัฒนา คุณภาพการศึกษา ”

7 ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา
บทที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา 1.1 สภาพทั่วไปของสถานศึกษา 1.2 ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา (ประวัติ และสภาพของชุมชน) 1.3 จำนวนผู้เรียน ผู้รับบริการ และจำนวนผู้สอน (ปีปัจจุบัน) 1.4 จำนวนบุคลากร (ปีปัจจุบัน) 1.5 งบประมาณ 1.6 แหล่งเรียนรู้ และภาคีเครือข่าย 1.7 รางวัล เกียรติบัตร เกียรติยศ และผลงานดีเด่นของสถานศึกษา 1.8 ผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่ผ่านมา (โดยตนเอง และโดยต้นสังกัด) 1.9 ข้อเสนอแนะ และแนวทางการพัฒนา “เป็นการสรุปข้อมูลสภาพ บริบท และศักยภาพของสถานศึกษา รวมถึงข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาจากผลการประเมินที่ผ่านมา ทั้งจากการประเมินตนเองของสถานศึกษา โดยต้นสังกัด และภายนอก”

8 ทิศทางและผลการดำเนินงานของสถานศึกษา
บทที่ 2 ทิศทางและผลการดำเนินงานของสถานศึกษา ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจของสถานศึกษา เป้าประสงค์ และตัวชี้วัดความสำเร็จ กลยุทธ์ แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา (เฉพาะปีที่ทำ SAR) และแผนปฏิบัติการประจำปี เป้าหมายความสำเร็จตามรายมาตรฐานตัวบ่งชี้ ที่สถานศึกษาคาดหวังไว้ ผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริง ตามแผนปฏิบัติการประจำปี “เป็นการเขียนแสดงข้อมูลเกี่ยวกับทิศทาง และความต้องการในการดำเนินงานของสถานศึกษา เช่น แผนพัฒนาคุณภาพ แผนปฏิบัติการประจำปี และเป้าหมายที่สถานศึกษาคาดหวังไว้”

9 (จุดเด่น จุดควรพัฒนา ตัวอย่างที่ดี ต้นแบบ ข้อเสนอแนะในการพัฒนา)
บทที่ 3 ผลการประเมินตนเอง ผลการดำเนินงานเชิงคุณภาพ (เขียนอธิบายกระบวนการดำเนินงาน อย่างครอบคลุมและเป็นไปตามเกณฑ์การพิจารณาตามรายตัวบ่งชี้ (ประเด็นคำถาม 5 ข้อ) - มาตรฐานที่ (ตัวบ่งชี้ ) - มาตรฐานที่ (ตัวบ่งชี้ ) - มาตรฐานที่ (ตัวบ่งชี้ ) (จุดเด่น จุดควรพัฒนา ตัวอย่างที่ดี ต้นแบบ ข้อเสนอแนะในการพัฒนา) “เป็นการนำเสนอผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาที่เป็นไปตามรายมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ โดยเขียนแสดงให้เห็นรายละเอียดของการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริง และเป็นไปตามเกณฑ์การพิจารณา รวมถึงการแสดงรายละเอียดของจุดควรพัฒนา ตัวอย่างที่ดี ต้นแบบ และข้อเสนอแนะในการพัฒนา”

10 หลักในการเขียนข้อมูล บทที่ 3
เป็นส่วนสำคัญที่สุดใน SAR หลักในการเขียนข้อมูล บทที่ 3 1. เขียนเฉพาะผลการทำงานที่ได้ดำเนินการจริง ไม่ควรเขียนสิ่งที่ไม่ได้กระทำ 2. เขียนนำเสนอข้อมูลรายละเอียด ขั้นตอนกรทำงาน และผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้น โดยเขียนให้ครอบคลุมประเด็นคำถามที่ปรากฏอยู่ในเกณฑ์การพิจารณา ของแต่ละตัวบ่งชี้ 3. ในแต่ละ เกณฑ์การพิจารณา ต้องแสดงรายละเอียดโดยสรุปที่สำคัญ ที่ทำให้ทราบว่า เกณฑ์การพิจารณานั้น สถานศึกษาได้มีการดำเนินการอะไร/ อย่างไร และเกิดอะไรขึ้นบ้าง และมีประเด็นใดที่ต้องการพัฒนา/ปรับปรุง 4. ระบุ หรือกล่าวถึงข้อมูล หลักฐานอ้างอิง ร่องรอยที่น่าเชื่อถือ 5. ควรให้ผู้รับผิดชอบ/ ผู้ดำเนินงาน เข้ามามีส่วนร่วมในการสรุปและเขียนผลการดำเนินงาน

11 หลักในการเขียนข้อมูล บทที่ 3
เป็นส่วนสำคัญที่สุดใน SAR หลักในการเขียนข้อมูล บทที่ 3 6. มีการตัดสินว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของสถานศึกษาในแต่ละตัวบ่งชี้ เป็นไปตาม หรือไม่เป็น ไปตามเป้าหมายความสำเร็จ (ที่คาดหวังไว้ในบทที่ 2 ) เป็นไปตามเป้าหมาย เมื่อมีผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริงเป็นไปตามเป้าหมายความสำเร็จ (ที่คาดหวังไว้ในบทที่ 2) โดยสามารถอธิบายกระบวนการดำเนินงานและผลการดำเนินงานได้อย่างครอบคลุมเป็นไปตามเกณฑ์การพิจารณา ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เมื่อผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริงเป็นไม่เป็นไปตามเป้าหมายความสำเร็จ (ที่คาดหวังไว้ในบทที่ 2) มีกระบวนการดำเนินงานและผล การดำเนินงานไม่สอดคล้องตามเกณฑ์ที่กำหนด 7. ต้องประเมินตนเองด้วยความตรงมา ตรงไป เพื่อการพัฒนา

12 สรุปผลการประเมินตนเองและแนวทางการพัฒนาสถานศึกษา
บทที่ 4 สรุปผลการประเมินตนเองและแนวทางการพัฒนาสถานศึกษา สรุปผลการประเมิน ออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย สรุปผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (จำนวน 3 มาตรฐาน 20 ตัวบ่งชี้) สรุปผลการวิเคราะห์ตนเองของสถานศึกษาเพื่อการพัฒนา (จุดเด่นของสถานศึกษา จุดที่ควรพัฒนา โอกาส อุปสรรค นวัตกรรม หรือวิธีปฏิบัติที่ดี หรือเป็นต้นแบบที่เป็นแบบอย่างได้) แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษา “เป็นการสรุปคะแนนผลการประเมินตนเองโดยภาพรวมตามรายมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และสรุปผลจากการวิเคราะห์ตนเองของสถานศึกษาว่า ควรดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในเรื่องใดในอนาคต”

13 แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
จากจุดที่ควรพัฒนา จุดเด่น และโอกาสที่ดีของสถานศึกษา สถานศึกษาควรมุ่งเน้นจัดการศึกษาไปในทิศทางใด

14 กศน. เราจะร่วมสร้างคุณภาพ ไปด้วยกัน นะครับ/ค่ะ


ดาวน์โหลด ppt รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา Self – Assessment Report

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google