งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หุ้นส่วนและบริษัท การเป็นหุ้นส่วน คือ การทำสัญญาระหว่างบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อทำกิจการร่วมกัน โดยประสงค์จะแบ่งปันผลกำไรที่จะพึงได้จากกิจการนั้น.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หุ้นส่วนและบริษัท การเป็นหุ้นส่วน คือ การทำสัญญาระหว่างบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อทำกิจการร่วมกัน โดยประสงค์จะแบ่งปันผลกำไรที่จะพึงได้จากกิจการนั้น."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หุ้นส่วนและบริษัท การเป็นหุ้นส่วน คือ การทำสัญญาระหว่างบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อทำกิจการร่วมกัน โดยประสงค์จะแบ่งปันผลกำไรที่จะพึงได้จากกิจการนั้น

2 สัญญาจัดตั้งหุ้นส่วนมีดังนี้
๑. เป็นสัญญาระหว่างบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ๒. เป็นการตกลงเพื่อทำกิจการร่วมกัน การทำกิจการหมายถึง มีการตกลงได้เสียร่วมกัน โดยลงทุนด้วยกัน ซึ่งทุนที่นำมาลงนั้นอาจเป็นเงินหรือทรัพย์สินหรือแรงงานก็ได้ ๓. มีวัตถุประสงค์เพื่อนำกำไรจากกิจการนั้นมาแบ่งปันกัน

3 ประเภทของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
ตามกฎหมายแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท ๑. ห้างหุ้นส่วนสามัญ ๒.ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ๓. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ๔. บริษัทจำกัด ๕. บริษัทมหาชนจำกัด

4 ห้างหุ้นส่วนสามัญ ผู้ที่เข้าร่วมจัดตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดนไม่มีจำกัด กล่าวคือ ๑. ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดต่อบุคลภายนอกอย่าง ลูกหนี้ร่วม ในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนไม่ว่าจะโดยสัญญาหรือโดยละเมิดที่ทำไปในกิจการของห้าง ๒. ผู้เป็นหุ้นส่วนสามัญทุกคนต้องรับผิดในหนี้สินของห้างโดยไม่จำกัดจำนวน

5 การจัดการห้างหุ้นส่วนสามัญ
ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องจัดการร่วมกัน แต่ทั้งนี้อาจมีการแบ่งหน้าที่กันทำได้ การจัดการร่วมกันดังกล่าวอาจมีได้ ๒ ลักษณะ คือ ๑. การจัดการโดยตรง คือ หุ้นส่วนทุกคนเข้าบริหารงานเอง โดยแบ่งหน้าที่กันทำ ๒. การดูแลครอบงำ คือ กรณีที่ตั้งหุ้นส่วนคนใดเป็นผู้จัดการแล้ว อำนาจในการจัดการดูแลกิจการต่างๆของห้างย่อมเป็นของผู้จัดการนั้น แต่หุ้นส่วนที่ไม่ใช่ผู้จัดการย่อมมีสิทธิที่จะไต่ถามถึงการงานของห้างที่จัดการอยู่ได้ทุกเมื่อและมีสิทธิตรวจและคัดสำเนาสมุดบัญชีและเอกสารใดๆของห้างหุ้นส่วนนั้นด้วย

6 สิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน
๑. ห้ามประกอบกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดที่มีสภาพเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับห้างหุ้นส่วน ๒. ห้ามนำบุคคลอื่นเข้ามาเป็นหุ้นส่วนโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดทุกคน ๓. ขอให้งดใช้ชื่อ ถ้ามีการใช้ชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดมาตั้งเป็นชื่อห้าง เมื่อผู้นั้นออกจากห้างหุ้นส่วนไปแล้ว อาจขอให้งดใช้ชื่อตนเป็นชื่อของห้างต่อไปได้ ๔. ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการกับผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นให้นำกฎหมายว่าด้วยตัวแทนมาใช้บังคับ

7 ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกับบุคคลภายนอก
๑. สิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนกับบุคคลภายนอก ผู้เป็นหุ้นส่วนที่ไม่จดทะเบียนจะถือเอาสิทธิใดๆแก่บุคคลภายนอกในกิจการค้าขายซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนไม่ได้ ๒. ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนต่อบุคคลภายนอก ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องร่วมรับผิดต่อบุคคลภายนอกในการใดๆอันผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดได้จัดการทำไปในทางธรรมดาค้าขายของห้างนั้น รวมถึงความรับผิดในทางละเมิดด้วย

8 ข้อสังเกต ผู้เป็นหุ้นส่วนสามัญ ต้องรับผิดในหนี้ของห้างที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะเข้ามาเป็นหุ้นส่วน และเมื่อตนออกไปแล้ว ก็ยังคงต้องรับผิดในหนี้ที่ห้างได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะออกจากห้างหุ้นส่วนไป

9 การเลิกและการชำระหนี้ห้างหุ้นส่วนสามัญ
๑. การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนสามัญอาจเลิกกันได้ ๓ ทาง ๑. เลิกโดยผลของกฎหมาย ๒. เลิกโดยความประสงค์ของผู้เป็นหุ้นส่วน ๓. เลิกโดยคำสั่งศาล

10 ๑.๑ การเลิกโดยผลของกฎหมาย
(๑) ถ้าในสัญญากำหนดกรณีที่จะเลิกกันไว้ เมื่อเกิดกรณีนั้นห้างหุ้นส่วนสามัญเป็นอันเลิกกัน (๒) เมื่อถึงกำหนดเวลาที่สัญญาเป็นห้างหุ้นส่วนกัน เว้นแต่ว่าหุ้นส่วนทั้งหลายยังคงดำเนินกิจการต่อไปโดยไม่มีการชำระบัญชีกัน ก็ถือว่าหุ้นส่วนทั้งหลายตกลงเป็นหุ้นส่วนกันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา

11 (๓) ถ้าสัญญาทำไว้เฉพาะเพื่อกิจการใด เมื่อเสร็จกิจการนั้นแล้ว ห้างเป็นอันเลิกกัน
(๔) ในกรณีที่การเป็นหุ้นส่วนไม่ได้กำหนดเวลาไว้ เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดบอกเลิกสัญญาการเป็นหุ้นส่วนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๖ เดือน ก่อนสิ้นรอบปีในทางบัญชีของห้างหุ้นส่วน แต่ถ้าหุ้นส่วนอื่นยังไม่อยากเลิกโดยรับซื้อหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนที่ประสงค์จะออกไว้ ห้างหุ้นส่วนก็ไม่เลิกกัน (๕) เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดตาย ล้มละลาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ ห้างหุ้นส่วนต้องเลิกกัน เว้นแต่หุ้นส่วนคนอื่นจะรับซื้อหุ้นไว้ แล้วตกลงดำเนินกิจการต่อไป

12 ๑.๒ การเลิกโดยความประสงค์ของผู้เป็นหุ้นส่วน
ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดสามารถตกลงเลิกห้างหุ้นส่วนก่อนถึงกำหนดเวลาได้เมื่อตกลงเลิกกันแล้วความเป็นหุ้นส่วนก็สิ้นสุดลงทันที

13 ๑.๓ การเลิกโดยคำสั่งศาล เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนร้องขอต่อศาลศาลอาจสั่งให้ห้างหุ้นส่วนเลิกกันได้เมื่อมีเหตุต่อไปนี้ (๑) เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งนอกจากผู้ร้องนั้นล่วงละเมิดบทบังคับใดๆอันเป็นข้อสาระสำคัญซึ่งสัญญาหุ้นส่วนกำหนดไว้แก่ตน หรือจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

14 (๒) เมื่อกิจการของห้างหุ้นส่วนมีแต่จะขาดทุนและไม่มีหวังจะฟื้นตัวได้อีก
(๓) เมื่อมีเหตุอื่นที่ทำให้ห้างหุ้นส่วนนั้นเหลือวิสัยที่จะดำรงอยู่ต่อไปได้ เช่น ผู้เป็นหุ้นส่วนต่างกล่าวหาซึ่งกันและกัน เป็นคดีอาญา จนต่างถูกอัยการฟ้อง

15 การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญ
เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันแล้ว ผลคือต้องมีการรวบรวมบรรดาทรัพย์สินทั้งหลายของห้างหุ้นส่วน เพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายของห้าง ถ้ามีเหลือก็คืนทุนแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนและถ้ายังเหลืออีกก็นำมาแบ่งผลกำไรกัน ซึ่งเรียกว่า การชำระบัญชี - แต่ถ้าชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกและค่าใช้จ่ายอื่นๆแล้ว สินทรัพย์ที่เหลืออยู่ยังไม่พอจะคืนแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนได้ครบจำนวนที่ลงทุนเรียกว่า ขาดทุน ต้องเฉลี่ยการขาดทุนระหว่างหุ้นส่วนด้วยกัน

16 ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
ห้างหุ้นส่วนสามัญ กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องจดทะเบียนแต่ถ้าประสงค์จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็ย่อมทำได้ การขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นเป็นไปตามแบบที่กฎหมายกำหนดเมื่อจดทะเบียนแล้วต้องใช้คำว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” ประกอบด้วยชื่อเสมอมิฉะนั้นจะมีความผิด

17 ผลของการจดทะเบียน ๑. ห้างหุ้นส่วนมีสภาพเป็นนิติบุคคล
การเป็นนิติบุคคลทำให้มีสิทธิและหน้าที่แยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน ๒. การถือเอาประโยชน์ต่อบุคคลภายนอก ผู้เป็นหุ้นส่วนอาจถือเอาประโยชน์ต่อบุคคลภายนอกอันห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนนั้นได้มาแม้ในกิจการไม่ปรากฏชื่อของตนได้

18 ๓. การค้าขายแข่งขันกับกิจการของห้าง
ถ้าหุ้นส่วนคนใดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากหุ้นส่วนทั้งหมด ประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการของห้างนั้น ไม่ว่าจะทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัวหรือผู้อื่น หรือเข้าไปเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดกับห้างหุ้นส่วนอื่นซึ่งประกอบกิจการอันมีสภาพเป็นอย่างเดียวกันและแข่งขันกับกิจการของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนนั้น ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนสามารถเรียกเอาผลกำไรที่ผู้นั้นหามาได้ทั้งหมด หรือเรียกเอาค่าสินไหมทดแทน หรือเรียกร้องให้เลิกห้างด้วย

19 ๔. ความรับผิดในหนี้ของห้าง
ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดในหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวน แต่เจ้าหนี้ของห้างต้องเรียกร้องให้ห้างหุ้นส่วนเป็นผู้ชำระหนี้เสียก่อน สำหรับผู้เป็นหุ้นส่วนออกจากห้างไปแล้วก็ยังคงต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างก่อนที่ตนจะออกไปภายใน ๒ ปีนับแต่วันที่ตนออกจากห้างหุ้นส่วน

20 การเลิกห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลและการชำระบัญชี
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลอาจเลิกห้างได้ด้วยเหตุเดียวกันกับการเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียน คือ อาจเลิกโดยผลของกฎหมาย หรือเลิกโดยการตกลงกันของผู้เป็นหุ้นส่วน หรือโดยคำสั่งศาล เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเลิกกันแล้ว ต้องมีการชำระบัญชีเสมอ และผู้ชำระบัญชีต้องนำไปจดทะเบียนภายใน ๑๔ วันนับแต่วันที่เลิกกัน

21 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องประกอบด้วยหุ้นส่วน ๒ ประเภท
(๑) ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนนั้น (๒) ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นกฎหมายบังคับให้ต้องจดทะเบียนเสมอ

22 หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด
- มีความรับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ตนตกลงจะลงหุ้น - คุณสมบัติของผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทนี้ไม่ใช่สาระสำคัญเหมือนกับการเป็นหุ้นส่วนสามัญ จึงอาจโอนหุ้นของตนให้กับบุคคลอื่นได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากหุ้นส่วนอื่นๆ - แม้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดตาย ทายาทก็เข้าแทนที่ได้หรือล้มละลายก็ไม่เป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องเลิกกัน

23 สิทธิของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด
(๑) มีสิทธิออกความเห็น แนะนำ ออกเสียงลงคะแนนในการแต่งตั้งถอดถอนผู้จัดการ ตลอดจนตรวจสอบบัญชีและเอกสารของห้างได้ตามสมควร (๒) เป็นผู้ชำระบัญชีของห้างได้ (๓) มีสิทธิค้าขายแข่งกับห้างได้

24 ข้อจำกัดของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด
(๑) ห้ามเอาชื่อของหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดมาเรียกขานระคนกับชื่อห้าง ถ้ามีการนำมาใช้ระคนกับชื่อห้างหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเสมือนเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด (๒) หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจะลงหุ้นด้วยแรงงานไม่ได้ต้องลงเป็นเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่น

25 (๓) หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดไม่มีสิทธิจัดการงานของห้าง ถ้าสอดเข้าไปจัดการงานของห้าง เช่น ลงชื่อในการส่งสินค้าแทนผู้จัดการห้าง ต้องร่วมรับผิดกับห้างหุ้นส่วนจำกัดเช่นเดียวกับหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ หรือฟ้องคดีของห้าง (๔) ไม่มีส่วนรับเงินปันผลหรือดอกเบี้ย ถ้าห้างไม่มีกำไร

26 ความรับผิดของหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด
ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดจะรับผิดในหนี้ที่ห้างมีต่อบุคคลภายนอกก็ต่อเมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดได้เลิกกัน ตราบใดห้างยังไม่เลิก เจ้าหนีจะฟ้องให้รับผิดไม่ได้และเมื่อห้างเลิกกันแล้ว ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดคงรับผิดเพียง (๑) จำนวนลงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนเท่าที่ยังค้างแก่ห้างหุ้นส่วน (๒) จำนวนลงหุ้นเท่าที่ผู้เป็นหุ้นส่วนได้ถอนไปจากสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วน (๓) จำนวนเงินปันผลและดอกเบี้ยซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้รับไปแล้วโดยทุจริตและผิดกฎหมาย

27 หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด
ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดสามารถเป็นผู้จัดการห้างได้ ใช้ชื่อตนเองเป็นชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ ลงทุนด้วยแรงงานได้ ความเกี่ยวพันนั้นใช้บทบัญญัติสำหรับห้างหุ้นส่วนสามัญมาใช้บังคับ ส่วนความรับต่อบุคคลภายนอกผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดต้องร่วมรับผิดในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน

28 การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด
หลักการเดียวกันกับการเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล


ดาวน์โหลด ppt หุ้นส่วนและบริษัท การเป็นหุ้นส่วน คือ การทำสัญญาระหว่างบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อทำกิจการร่วมกัน โดยประสงค์จะแบ่งปันผลกำไรที่จะพึงได้จากกิจการนั้น.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google