งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เก็บตกวันวาน “สานพลังสร้างมาตรการองค์กร เพื่อความปลอดภัยทางถนน”

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เก็บตกวันวาน “สานพลังสร้างมาตรการองค์กร เพื่อความปลอดภัยทางถนน”"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เก็บตกวันวาน “สานพลังสร้างมาตรการองค์กร เพื่อความปลอดภัยทางถนน”
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2560 ณ โรงแรมแม่น้ำ รามาดา พลาซา กรุงเทพฯ

2 หลากคน หลากความคิด แต่มีเป้าหมายเดียวกัน “ร่วมสร้างความปลอดภัยทางถนน”
โดย นพ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ รองประธาน 2 สสส. เปิดงานสัมมนา…กล่าวต้อนรับ “สานพลังสร้างมาตรการองค์กร เพื่อความปลอดภัยทางถนน” หลากคน หลากความคิด แต่มีเป้าหมายเดียวกัน “ร่วมสร้างความปลอดภัยทางถนน” “ทุกชีวิตมีคุณค่า องค์กรควรรักษาไว้” “มาตรการองค์กรจำเป็นต้องบังคับใช้ จึงได้ผล” สร้างแรงจูงใจ ให้ได้ใจคน มาทำด้วยกัน

3 สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของโลก/ประเทศไทย และความสำคัญในการสร้างมาตรการองค์กร
ไทยติดอันดับ 2 ของโลก และติดอันดับ 1 ของเอเชีย สาเหตุหลักจากมอเตอร์ไซค์ ปัจจุบันมีนโยบายจากส่วนกลางมาหนุนเสริม ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง สอจร. เกิดจากการรวมตัวกันของสหสาขาวิชาชีพ และประสานความร่วมมือกับองค์กร หน่วยงาน โดยใช้หลักการ 5ส+5ช (เฟส 1 ทำ 58 จว. หมวก 100% = 152 แห่ง เฟส2ทำทุกจว.) มาตรการองค์กรต้องเริ่มจาก ตัวเรา คนในครอบครัว คนในองค์กร นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย ประธาน สอจร. “ความสำเร็จไม่ได้มีไว้สำหรับคนที่ “เดินเร็ว” เสมอไป แต่มีไว้สำหรับคนที่ “เดินไม่หยุด”

4 เสวนา “สานพลังมาตรการองค์กร เพื่อความปลอดภัยทางถนน”
ผู้ร่วมเสวนา 1. นพ.สุเทพ เพชรมาก รองอธิบดี กรมควบคุมโรค 2. รศ.สราวุธ สุธรรมาสา ม.สุโขทัยธรรมาธิราช 3. คุณอำนวย ภู่ระหงษ์ ผอ.กองความปลอดภัยแรงงาน 4. พล.ต.ต.ธีระพล ทิพย์เจริญ ผู้การฯ จ.ภูเก็ต ดำเนินรายการ โดย นพ.วิวัฒน์ ศีตมโนชญ์ รองประธาน สอจร.

5 สรุปประเด็นเสวนา ผู้เสวนา/วิทยากร ประเด็น สาระสำคัญ ข้อฝาก
รศ.สราวุธ สุธรรมาสา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มสธ. กฎหมายและบทบาทของจป.ด้านความปลอดภัย (จป.=จนท.ความปลอดัยในการทำงาน) จป.เป็นแกนหลักและกลไกสำคัญในการสร้างความปลอดภัยในโรงงาน (จป.เทคนิค,ขั้นสูง,วิชาชีพ(ป.ตรี) สถิติปี ลูกจ้างเสียชีวิตจากยานพาหนะร้อยละ 50 ต่อปี และทุพลภาพ 1 ใน 3 ก็มาจากยานพาหนะ คปอ.(คณะกรรมการความปลอดภัย) มีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยทั้งในงานและนอกงานให้มีความปลอดภัย (กม.ครอบคลุมทั้งในและนอกที่ทำงาน) นายจ้างมีหน้าที่ดูแลลูกจ้างและสร้างความเข้าใจกับผู้รับเหมาให้พึงระวังในการเรื่องความปลอดภัย(แม่ค้าโรงอาหารก็ถือว่าเป็นลูกจ้าง?) บทบาทและหน้าที่ จป.วิชาชีพ (ตามกฎหมาย) ตรวจสอบ แนะนำนายจ้าง/ วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย/ประเมินความเสี่ยง/วิเคราะห์ประเมินแผนงาน/อบรมแนะนำลูกจ้าง/ตรวจวัด ประเมิน ตรวจสอบหาสาเหตุ รวบรวมสถิติ วิเคราะห์ให้ข้อเสนอแนะ(ต้นทางถึงปลายทาง) การทำมาตรการองค์กรควรมีการสื่อสารให้ผู้บริหารเข้าใจถึงความสูญเสีย ทรัพยากร ผลกำไร ต้นทุน ทำ Safety ต้องมี Return (ชวนมองงานป้องกันอุบัติเหตุเป็นการ ประหยัดค่าใช้จ่าย คน เงิน)

6 สรุปประเด็นเสวนา ผู้เสวนา/วิทยากร ประเด็น สาระสำคัญ ข้อฝาก
คุณอำนวย ภู่ระหงษ์ ผอ.กองความปลอดภัยแรงงาน การสนับสนุนงานด้านความปลอดภัยทางถนน ก.แรงงาน มีกฎหมาย และ พรบ.ความปลอดภัยทางถนนคือ นายจ้างต้องให้ความปลอดภัยกับลูกจ้าง และมีการนำความปลอดภัยไปใช้ พรบ.ความปลอดภัยมีผลกับผู้ประกอบการโรงาน ราชการ ท้องถิ่น หากแต่ไม่มีบทลงโทษ ต้องให้ผู้บริหาร หน่วยงานเป็นผู้กำหนดบทลงโทษ ปฏิบัติในองค์กร ก.แรงงาน มีบทบาทติดตามประเมินผล เพื่อตรวจเช็คและกำกับติดตาม มีการทำงานใน 3 มิติ คือ การสร้างการรับรู้ ที่ต้องปฏิบัติและผลที่เกิดขึ้น การมีส่วนร่วม /ประชารัฐ การบังคับใช้กฎหมาย ในจังหวัดมีคณะอนุกรรมการฯ ทำงาน โดยมี ผู้ว่าฯ เป็นประธาน สามารถเข้าไปเชื่อมงาน ผลักดันให้เกิดมาตรการความปลอดภัยทางถนนได้ กรมฯ แรงงาน ได้เน้นการสร้างองค์กรต้นแบบกับผู้ประกอบการ ในเรื่องการความปลอดภัยทาง แต่สิ่งที่ยังด้อยอยู่คือ องค์กรในภาครัฐ ซึ่งจะต้องช่วยกันต่อไป(กำหนดบทลงโทษ ส่งเสริมสร้างแรงจูงใจ)

7 สรุปประเด็นเสวนา ผู้เสวนา/วิทยากร ประเด็น สาระสำคัญ ข้อฝาก
นพ.สุเทพ เพชรมาก (รองอธิบดี กรมควบคุมโรค) มาตรการองค์กรสาธารณสุข ความปลอดภัยทางถนนเป็นเรื่องป้องกันได้ มีประกาศ ก.สาธารณสุข เป้าหมายคือ เป็นองค์กรต้นแบบด้านความปลอดภัย เน้นใน 4 ประเด็น หมวก เมา เร็ว เข็มขัด ในกระทรวงได้มีการรณรงค์ สร้างกระแส ประสานความร่วมมือ สวมหมวก 100% ปี 59 เน้นการทำงานให้เกิดรูปธรรม 2 เรื่อง คือ รถพยาบาล รถยนต์ราชการ (ให้มีความปลอดภัย เกิดเหตุให้มีการสอบสวน มีการจัดเก็บข้อมูล ติดตามผล) ผล มี จนท.จปถ.สธ. 1,948 คน รถพยาบาลให้มีการติดตั้ง GPS /กล้องหน้ารถ/จำกัดความเร็ว 80 กม./ชม. และต้องทำประกันภัย อบรมพนักงาน การทำงานต้องมีทรัพยากร(คน เงิน) รัฐบาลจะมีงบลงกลุ่มจังหวัด (18 กลุ่ม / 2 แสนล้าน) มีการจัดทำแผนงานที่สำนักงานจังหวัด (ผู้ว่าฯ) ควรผลักดันและเชื่อมโยงงานด้านความปลอดภัยทางถนนเข้าไปด้วย

8 สรุปประเด็นเสวนา พล.ต.ต.ธีระพล ทิพย์เจริญ ผู้บังคับการฯ จ.ภูเก็ต
ผู้เสวนา/วิทยากร ประเด็น สาระสำคัญ ข้อฝาก พล.ต.ต.ธีระพล ทิพย์เจริญ ผู้บังคับการฯ จ.ภูเก็ต บทบาทตำรวจกับการเสริมสร้างมาตรการองค์กร การแก้ปัญหาอุบัติเหตุที่เร็วและดีที่สุดคือ การบังคับใช้กฎหมาย (แต่ ป.ไทย กม.ยังขาดประสิทธิภาพ) การทำงานควรมีตำรวจเข้ามาร่วมทีมขับเคลื่อนด้วย เพื่อช่วยกันสร้างมาตรการองค์กรที่สมบูรณ์แบบ การทำงานของตำรวจไทยมีข้อจำกัด ด้วยบุคลากรมีน้อย และได้รับแรงกดดันในหลายด้าน แต่ในความจริงตำรวจไทยน่ารัก ให้ชักชวนเข้ามาร่วมวงขับเคลื่อนงานสร้างความปลอดภัยทางถนนได้ “งานจราจรเป็นงานบูรณาการไม่มีใครทำคนเดียวสำเร็จ“ เป้าหมาย ลดอัตราการตาย คือการทำบุญ

9 แบ่งกลุ่ม รายภาค แลกเปลี่ยนบทเรียน/ เล่าสู่กันฟัง “ตัวอย่างการทำงาน และองค์กรที่สร้างมาตรการ องค์กรสำเร็จ” หาแนวทางการทำงานร่วมกัน

10 แนวทางการสร้างมาตรการองค์กร ด้านความปลอดภัยทางถนน
พี่เลี้ยง สอจร. องค์กรแห่งความปลอดภัย ผลักดันให้เกิดการจัดความปลอดภัยในองค์กร แนวทาง 10 ขั้นตอน เข้าพบผู้บริหารองค์กร สร้างความเข้าใจ ตั้งเป้าหมาย กำหนดทิศทางการทำงาน จัดตั้งคณะทำงานในองค์กร จัดเก็บข้อมูล พฤติกรรมเสี่ยงและจุดเสี่ยง กำหนดมาตรการองค์กรแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุ สื่อสารเผยแพร่ ปฏิบัติการ ตามข้อตกลง ติดตามประเมินผล สร้างแรงจูงใจ ขยายผล ต่อยอด ภาคีเครือข่าย ทีมแกนนำจังหวัด ทีมขับเคลื่อน วิธีการทำงานของทีมขับเคลื่อน ประชุมทีม วางแผนงาน คัดเลือกองค์กรเพื่อส่งเสริมสร้างมาตรการองค์กร ชักชวน หนุนเสริมการทำงานให้เกิดมาตรการ ติดตามให้กำลังใจ ทบทวน สรุปผลงาน สวมหมวกนิรภัย 100% ดื่มไม่ขับ ควบคุมความเร็ว คาดเข็มขัดนิรภัย


ดาวน์โหลด ppt เก็บตกวันวาน “สานพลังสร้างมาตรการองค์กร เพื่อความปลอดภัยทางถนน”

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google