ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
รายวิชา งานไฟฟ้าเบื้องต้นสำหรับครูอุตสาหกรรมศิลป์
รายวิชา งานไฟฟ้าเบื้องต้นสำหรับครูอุตสาหกรรมศิลป์ อ.โสภณ มหาเจริญ บทที่ 6 เรื่อง การต่อสายไฟฟ้าแบบต่าง ๆ
2
วัตถุประสงค์ 6.1 เข้าใจการปอกสาย 6.2 เข้าใจการต่อสายไฟฟ้าแบบต่าง ๆ 6.3 เข้าใจการต่อสายไฟฟ้าด้วยไวร์นัท (Wire nut) 6.4 เข้าใจการใช้เทปพันสาย วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 1. อธิบายการปอกสาย 2. อธฺบายการต่อสายไฟฟ้าแบบต่าง ๆ 3. อธิบายการต่อสายไฟฟ้าด้วยไวร์นัท (Wire nut) 4. อธิบายการใช้เทปพันสาย
3
การต่อสายไฟฟ้าแบบต่าง ๆ
การต่อสายไฟฟ้าแบบต่าง ๆ ในการเดินสายไฟฟ้าและติดตั้งระบบไฟฟ้าโดยทั่วไปแล้วจะมีการตัดสายไฟฟ้าให้สั้นลงถ้าหากว่าสายนั้นยาวเกินความจำเป็นในทางกลับกันจะต้องต่อสายไฟฟ้าเข้าด้วยกัน ถ้าหากว่าสายนั้นสั้นเกินไป หรืออีกกรณีหนึ่งคือเป็นการต่อแยกออกจากสายเมนที่พบเห็นทั่วไปคือการต่อสายเมนที่เสาไฟฟ้าบริเวณหน้าบ้านนั่นเอง
4
ข้อควรคำนึงในการต่อสายไฟฟ้า
ข้อควรคำนึงในการต่อสายไฟฟ้า 1. ความแข็งแรงของรอยต่อ รอยต่อจะต้องมั่นคง แข็งแรงไม่หลุดออกจากกันอย่างง่าย ๆ ถ้าหากรอยต่อหลวมจะเกิดอาร์กเป็นประกายไฟและอาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ 2. ความต่อเนื่องทางไฟฟ้า จะต้องทำให้ตัวนำสัมผัสกันมากที่สุด เพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลได้สะดวกที่สุด 3. จะต้องทำให้รอยต่อเป็นฉนวนไฟฟ้า โดยทั่วไปจะพันปิดทับไว้ด้วยวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้า ซึ่งก็คือเทปพันสายนั่นเอง ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ที่มาสัมผัสหรือ อาจจะก่อให้เกิดการลัดวงจรในบริเวณรอยต่อก็เป็นได้
5
การปอกสาย ก่อนที่จะต่อสายไฟฟ้าเข้าด้วยกัน จะต้องปอกเอาฉนวนที่หุ้มตัวนำออกให้หมด โดยใช้คัทเตอร์ มีดปลอกสาย คีมหรือคีม สำหรับปอกสายโดยเฉพาะ ถ้าหากเป็นขดลวดอาบน้ำยา ควรขดฉนวนออกก่อน เมื่อต่อเสร็จแล้วจึงทำการบัดกรีด้วยหัวแร้ง จะทำให้รอยต่อนั้นคงแข็งแรงมากขึ้น
6
4.2 การต่อสายไฟฟ้าแบบต่าง ๆ
4.2 การต่อสายไฟฟ้าแบบต่าง ๆ การต่อสายไฟฟ้ามีด้วยกันหลายแบบ แต่ละแบบจะมีข้อดีแตกต่างกันในที่นี้จะกล่าวเฉพาะวิธีนิยมต่อใช้งานกันทั่วไป ดังนี้ 4.2.1 การต่อแบบหางเปีย ใช้สำหรับสายขนาดเล็กและปานลาง นิยมต่อในกล่องต่อสวิตช์ ปลั๊ก เนื่องจากไม่ต้องรับแรงดึงใด ๆ
7
4.2 การต่อสายไฟฟ้าแบบต่าง ๆ
4.2 การต่อสายไฟฟ้าแบบต่าง ๆ 4.2.2 การต่อแบบแยกทางเดียว ให้สำหรับต่อแยกออกจากสายเมนและไม่ต้องการแรงดึง มากนัก
8
4.2 การต่อสายไฟฟ้าแบบต่าง ๆ
4.2 การต่อสายไฟฟ้าแบบต่าง ๆ 4.2.3 การต่อแบบแยกสองทาง เป็นการต่อแยกออกจากสายเมน จำนวน 2 เส้น หรือมากกว่าขึ้นอยู่กับความต้องการ
9
4.2 การต่อสายไฟฟ้าแบบต่าง ๆ
4.2 การต่อสายไฟฟ้าแบบต่าง ๆ 4.2.4 การต่อแบบ่อตรง การต่อแบบนี้สามารถรับแรงดึงได้มากขึ้นเนื่องจากปลายสายแต่ละด้านจะพันแนบแน่นไว้ที่ปลายทั้งสองด้าน
10
4.2 การต่อสายไฟฟ้าแบบต่าง ๆ
4.2 การต่อสายไฟฟ้าแบบต่าง ๆ 4.2.5 การต่อสายพีวีซีคู่ เป็นการต่อสายพีวีซี คู่หุ้มฉนวนที่ใช้งานตามบ้านเรือนทั่วไป โดยที่แต่ละเส้นจะต่อเข้าด้วยกันแบบต่อตรง ดังรูป ทั้งนี้จะต้องให้รอยต่อเยื้องกันเล็กน้อย เพื่อป้องกันการลัดวงจร
11
4.2 การต่อสายไฟฟ้าแบบต่าง ๆ
4.2 การต่อสายไฟฟ้าแบบต่าง ๆ 4.2.6 การต่อสายอ่อนกับสายแข็ง เพื่อป้องกันสายหลุดออกจากกัน จะต้องพันสายอ่อนหลายๆ รอบ จากนั้นจึงงอสายแข็งทับสายอ่อนไว้ไม่ให้คลายตัวออก
12
4.2 การต่อสายไฟฟ้าแบบต่าง ๆ
4.2 การต่อสายไฟฟ้าแบบต่าง ๆ 4.2.7 การต่อสายตีเกลียวแบบต่อตรง เนื่องจากสายตีเกลียวหรือสายสแตรน จะมีตัวนำจำนวนหลาย ๆ เส้น ดังนั้นก่อนที่จะต่อเข้าด้วยกันจะต้องแยกตีเกลียวออกจากกัน จากนั้นจึงนำสอดประสานกัน และเริ่มพันทีละเส้นจนครบ ถ้าหากใช้ตะกั่วบัดกรี จะทำให้รอยต่อแข็งแรงมากยิ่งขึ้น การต่อสายวิธีนี้จะสามารถรับแรงดึงได้มาก
13
4.2 การต่อสายไฟฟ้าแบบต่าง ๆ
4.2 การต่อสายไฟฟ้าแบบต่าง ๆ 4.2.8 การต่อสายตีเกลียวแบบต่อแยก ทำได้โดยการแบ่งสายตัวนำ (ที่จะนำมาต่อแยก) ออกเป็นสองส่วนจากนั้นนำไปสอดเข้ากับสายเมน พร้อมกับพันไปรอบ ๆ สายเมน โดยพันให้มีทิศทางสลับกัน
14
4.3 การต่อสายไฟฟ้าด้วยไวร์นัท (Wire nut)
การต่อสายด้วยไวร์นัท จะใช้วิธีหมุนเพื่อให้ไวร์นัทรัดสายให้แนบชิดกัน เมื่อต่อเสร็จเรียบร้อยแล้วไม่ต้องใช้เทปพันสาย เนื่องจากปลอกของไวร์นัทเป็นฉนวนอยู่แล้ว แต่มีข้อควรระวังคือ อย่าปอกสายยาวเกินไป จะทำให้ตัวนำทองแดงโผล่ออกมาจากใต้โคนของไวร์นัท ซึ่งจะทำให้จุดต่อสายดังกล่าวลงกราวด์ได้ การต่อสายไฟฟ้าด้วยไวร์นัทจะนิยมต่อในกล่องต่อสาย (Junction box) โดยเฉพาะการเดินสายในท่อร้อยสายจะนิยมใช้กันมาก
15
4.4 การใช้เทปพันสาย เทปพันสายเป็นวัสดุฉนวนไฟฟ้าที่นิยมใช้ พันปิดทับรอยต่อต่าง ๆ โดยเริ่มจากพันเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งจนสุดรอยต่อจากนั้นจึงพันวกกลับมาที่จุดเริ่มต้น ปฏิบัติเช่นนี้จนกระทั่งแน่ใจว่ามีความปลอดภัยแต่จะต้องไม่หนาจนเกินไป จนเป็นการสิ้นเปลืองเทปพันสายโดยใช่เหตุข้อควรคำนึงคือ ในขณะที่พันจะต้องดึงเทปพันสายให้ยืดออกเล็กน้อย เพื่อให้เทปรัดรอยต่อแน่มากยิ่งขึ้น
16
สรุปประจำบท ข้อสำคัญในเรื่องของการต่อสายไฟก็คือ
เมื่อต่อสายไฟแล้ว จุดต่อนั้นจะต้องมีความแน่นหนาไม่มีอาการหลวม เพราะหากการต่อสายไฟหลวมแล้วจะทำให้เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านจะทำให้มีความร้อนสะสมเกิดความเสียหายได้ การต่อสายไฟโดยเฉพาะสายไฟที่มีขนาดใหญ่จะมีความแข็งเพิ่มขึ้นตามขนาดของสายไฟทำให้การต่อนั้นทำได้ยากมากขึ้นหากไม่ศึกษาวิธีการต่อสายไฟให้ถูกต้องเสียก่อน
17
แบบฝึกหัด ให้ผู้เรียนต่อสายไฟฟ้าตัวอย่างมาคนละ 2 แบบดังต่อไปนี้
การต่อสายด้วยไวร์นัท การต่อแบบแยกทางเดียว ต่อสายตีเกลียวแบบต่อแยก ต่อแบบแยกสองทาง ต่อสายตีเกลียวแบบต่อตรง ต่อแบบ่อตรง ต่อสายอ่อนกับสายแข็ง ต่อสายพีวีซีคู่
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.