ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยПолина Варыпаева ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
คณะทำงานเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนระหว่างบริษัทประกันภัย
เงื่อนไขและความคุ้มครอง กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ที่เกี่ยวข้อง กับงานเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน นายยงวิทย์ กาญจนพบู คณะทำงานเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนระหว่างบริษัทประกันภัย
2
ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับ งานเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 พรบ.การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 เงื่อนไขความคุ้มครองและข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัยภาคสมัครใจ ประกาศ คำสั่ง และกฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง สัญญาและบันทึกข้อตกลงของสมาคมประกันวินาศภัยไทย การตรวจสอบการอนุมัติซ่อม ความรู้เกี่ยวกับอะไหล่ และการจัดซ่อม
3
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวข้อง
บรรพ 2 (หนี้) ลักษณะ 5 ละเมิด มาตรา เหตุละเมิด , ความรับผิดนายจ้างลูกจ้าง, ร่วมกันก่อละเมิด, ความรับผิดของผู้ดูแลสัตว์, ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด, อายุความละเมิด บรรพ 3 (เอกเทศสัญญา) ลักษณะ 20 ประกันภัย หมวด 2 ประกันวินาศภัย มาตรา 869 – 888 การประกันภัยหลายราย, หน้าที่ของผู้รับประกันภัย, ข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัย, รับช่วงสิทธิ, อายุความเรียกร้องประกันภัย, ประกันภัยค้ำจุน
4
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535
พรบ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 คืออะไร ? ทำไมกฎหมายถึงต้องบังคับให้ทำ พรบ. ความคุ้มครองเป็นอย่างไร ?
5
ประเภทการจ่ายค่าสินไหมทดแทนในส่วน พรบ. (ภาคบังคับ)
ค่าเสียหายเบื้องต้น จ่ายให้แก่ผู้ประสบภัย ที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความรับผิดให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับการร้องขอและเอกสารสมบูรณ์ โดยผู้ประสบภัยต้องติดต่อร้องขอค่าเสียหายภายใน 180 วันนับแต่วันที่มีความเสียหายเกิดขึ้น ค่าเสียหายส่วนเกินเบื้องต้น จ่ายเพิ่มเติมให้แก่ผู้ประสบภัย ที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ตามวงเงินความคุ้มครองส่วนเกิน ภายหลังมีผลคดีพิสูจน์ถูกผิด หรือมีความเห็นของพนักงานสอบสวน ภายใน 7 วัน
6
การสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน และค่าปลงศพ
การสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทน และค่าปลงศพ หลักสำรองจ่าย เกิดอุบัติเหตุ รถเอาประกันภัย และรถคู่กรณี มีการทำประกันภัยภาคบังคับทั้งคู่ ไม่มีฝ่ายใดยอมรับผิดในเหตุที่เกิดขึ้น สำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 80,000 บาท สำรองจ่ายค่าสินไหมทดแทนหรือค่าปลงศพ 300,000 บาท จ่ายให้แก่ผู้ประสบภัย / ทายาทผู้ประสบภัย ซึ่งโดยสารมาในรถ หรือกำลังขึ้น หรือกำลังรถจากรถที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัทไปก่อน
7
ผู้ประสบภัยที่มีสิทธิได้รับค่าเสียหาย
ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร บุคคลภายนอก ทายาท บุคคลซึ่งศาลสั่งให้มีอำนาจจัดการแทน หมายเหตุ : หากในกรณีที่ผลคดียังไม่อาจพิสูจน์ถูกผิดได้ โดยผู้โดยสาร หรือบุคคลภายนอก ได้เสียชีวิตลง ทายาทจะมีสิทธิได้รับค่าเสียหายเต็มจำนวนวงเงินความคุ้มครองโดยไม่ต้องรอ ผลพิสูจน์ถูกผิด ซึ่งหากภายหลังสามารถพิสูจน์ถูกผิดได้ ให้ฝ่ายถูกเรียกมีสิทธิเรียกคืนค่าเสียหาย ที่ได้สำรองจ่ายไปคืนได้ ตามหลักสำรองจ่าย
8
วงเงินความคุ้มครอง พรบ.
ประเภท ค่ารักษาพยาบาล เสียชีวิต/ทุพลภาพถาวร สูญเสียอวัยวะ เบื้องต้น 30,000 35,000 ส่วนเกิน 50,000 265,000 ตามเงื่อนไขที่กำหนด เงื่อนไขความคุ้มครองสูญเสียอวัยวะ 1. สูญเสียมือตั้งแต่ข้อมือ หรือแขน หรือเท้าตั้งแต่ข้อเท้า หรือขา หรือ ตาบอด อย่างใดอย่างหนึ่งรวมกัน ตั้งแต่ 2 กรณีขึ้นไป ,000 บาท 2. สูญเสียมือตั้งแต่ข้อมือ หรือแขน หรือเท้าตั้งแต่ข้อเท้า หรือขา หรือสายตา(ตาบอด) หรือ หูหนวกเป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูดหรือลิ้นขาด สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถในการสืบพันธุ์ จิตพิการอย่างติดตัว หรือเสียอวัยวะอื่นใด ,000 บาท 3.สูญเสียนิ้วตั้งแต่ข้อนิ้วขึ้นไป ไม่ว่านิ้วเดียว หรือ หลายนิ้ว ,000 บาท ค่าชดเชยนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลผู้ป่วยใน 200บาท/วัน สูงสุดไม่เกิน 20วัน จำนวนเงินคุ้มครองสูงสุดรวมกันต้องไม่เกิน 304,000 บาท หมายเหตุ: ค่าชดเชยรายวันจะติดต่อขอรับได้ต่อเมื่อสามารถพิสูจน์ถูกผิดได้ หมายเหตุ : ผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายต้องรับผิดจะได้รับความคุ้มครองเฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น
9
สัญญาประกันภัย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 861 หลักเกณฑ์
- สัญญาซึ่งฝ่ายหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หากเกิดเหตุวินาศภัยขึ้น หรือ เหตุอย่างอื่นในอนาคต ตามที่ระบุไว้ในสัญญา บุคคลอีกฝ่ายตกลงจะส่งเงินให้ตอบแทน เรียกว่า เบี้ยประกันภัย
10
การประกันภัยหลายราย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 870
ประกันภัยหลายรายมีหลักเกณฑ์ดังนี้ ผู้เอาประกันในสัญญาประกันแต่ละรายต้องเป็นบุคคลเดียวกัน ภัยที่รับเสี่ยงเป็นภัยเดียวกัน เอาทรัพย์อันเดียวกันทำสัญญาประกันภัยกับผู้รับประกันภัยคนละราย สัญญาประกันภัยทุกรายต้องมีผลบังคับในเวลาเกิดภัย คืออยู่ในระหว่างอายุการรับประกัน ถ้าลงวันเดียวกัน ให้ถือว่าได้ทำพร้อมกัน ผู้รับประกันภัยรายแรกต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนก่อน หากไม่พบกับความเสียหายที่แท้จริงผู้รับประกันภัยถัดไปจึงจะรับผิดตามลำดับ สรุป - บริษัทประกันภัยใดรับประกันภัยก่อน ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนก่อนตามลำดับ
11
การประกันภัยหลายราย แต่ คำสั่งนายทะเบียนที่ 27/2554 เรื่อง แก้ไขแบบ ข้อความ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ โดยในวรรคท้ายของกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ หมวดความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ข้อ1.1 ในกรณีที่บุคคลภายนอกมีสิทธิได้รับการชดใช้จากกรมธรรม์ประกันภัยมากกว่า 1 กรมธรรม์ประกันภัย บริษัทจะร่วมเฉลี่ยจ่ายเท่าๆกัน โดยไม่เกินความรับผิดตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย
12
การประกันภัยภาคบังคับหลายราย
1. การจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล เป็นการจ่ายตามหลักความเสียหายที่แท้จริง ไม่ใช่เป็นการจ่ายตามจำนวนเงินที่ตกลงไว้ กรมธรรม์ทั้งสองฉบับจะต้อง เฉลี่ยรับผิด ตามความเสียที่แท้จริงไม่เกินยอดคุ้มครอง 2. การจ่ายเงินค่าเสียหายต่อร่างกาย หรืออนามัย (ตาบอด,หูหนวก,เป็นใบ้,สูญเสียอวัยวะ ฯลฯ) เป็นการจ่ายเงินจำนวนเงินแน่นอนที่ตกลงไว้ แต่ไม่ใช่การจ่ายตามหลักความเสียหายที่แท้จริง กรมธรรม์ทั้งสองฉบับจะต้อง รับผิดร่วมกัน ในยอดความคุ้มครองที่ระบุไว้ตามกรมธรรม์ การจ่ายเงินค่าเสียหายต่อชีวิต เป็นการจ่ายเงินเต็มความคุ้มครองกรณีเข้าเงื่อนไขเสียชีวิต จึงเป็นการจ่ายเงินแน่นอนที่ตกลงไว้
13
รับช่วงสิทธิ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880
รับช่วงสิทธิ มีหลักดังนี้ เกิดวินาศภัย โดยการกระทำของบุคคลภายนอก ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว รับช่วงสิทธิได้ไม่เกินจำนวนที่ได้ชดใช้ไป
14
อายุความรับช่วงสิทธิ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 กรณีเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน - ห้ามมิให้ฟ้องคดี เมื่อพ้นกำหนดเวลาภายใน 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย กรณีเรียกให้ใช้หรือให้คืนเบี้ยประกันภัย - ห้ามมิให้ฟ้องคดี เมื่อพ้นกำหนดเวลาภายใน 2 ปี นับแต่วันซึ่งสิทธิจะเรียกให้ใช้หรือคืนเบี้ยประกันภัยถึงกำหนด
15
อายุความละเมิด ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 กรณีเรียกให้ชดใช้ค่าเสียหายจากเหตุละเมิด - ขาดอายุความเมื่อพ้น 1ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือ 10ปี นับแต่วันทำละเมิด
16
ประกันภัยค้ำจุน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 หลักเกณฑ์
ผู้รับประกันภัย ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน ในนาม ของผู้เอาประกันภัย เพื่อความวินาศภัยที่เกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง ซึ่งผู้เอาประกัยจะต้องรับผิดชอบ ค่าสินไหมทดแทนจะไม่เกินไปกว่าจำนวนความรับผิดที่ผู้รับประกันภัยจะต้องชดใช้ตามความรับผิดที่ระบุไว้ในสัญญาประกันภัย กรณีเป็นคดี ให้ผู้เสียหายเรียกตัวผู้เอาประกันภัย เข้ามาในคดีด้วย ความรับผิดของผู้รับประกันภัยยังไม่หลุดพ้นต่อผู้เสียหาย แม้จะส่งค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้ว เว้นแต่ผู้รับประกันภัยจะพิสูจน์ได้ว่าผู้เอาประกันภัยได้นำค่าสินไหมทดแทนนั้น ไปใช้ให้แก่ผู้เสียหายแล้ว
17
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
ประเภทความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ TYPE OWN DAMAGE TPPD TPBI THIEF FIRE 1 2 3 5 * 5 * หมายเหตุ: คุ้มครองเฉพาะชนกับยานพาหนะทางบก เท่านั้น
18
การสละสิทธิในการไล่เบี้ย
หมวดการคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ ข้อ 6. การสละสิทธิ กรณีที่มีความเสียหายต่อรถยนต์เมื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ใชรถยนต์ โดยได้รับความยินยอม จากผู้เอาประกันภัย บริษัทจะสละสิทธิในการไล่เบี้ยจากผู้ใช้รถยนต์นั้น เว้นแต่ การใช้โดยบุคคลของสถานให้บริการเกี่ยวกับ การซ่อมแซมรถ การทำความสะอาด การบำรุงรักษารถ การติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม เมื่อรถยนต์ได้ส่งมอบให้ เพื่อรับบริการนั้น
19
ข้อยกเว้นความคุ้มครองกรมธรรม์ภาคสมัครใจ
ประเภทข้อยกเว้น OWN DAMAGE TPPD TPBI ยกเว้นโดยการใช้งาน/ สภาพการใช้งาน ข้อ 7 ยกเว้นโดยการขับขี่/ควบคุมของตัวผู้ขับขี่ ข้อ 8, 9 ข้อ 7 ( ) * ข้อ 7 (7.6) * ข้อ 7 ( ) ยกเว้นโดยความสัมพันธ์ ข้อ1.2 (1) ข้อ 1.1 ยกเว้นในสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ ข้อ 1.2 (2-4) หมายเหตุ: มีข้อ8 (ข้อสัญญาพิเศษ) พิจารณาประกอบเพิ่มเติม
20
ข้อยกเว้นความคุ้มครองรถประกัน
หมวดการคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ ข้อ 7. การยกเว้นความเสียหายต่อรถยนต์ 7.1 การเสื่อมราคา หรือการสึกหรอของรถยนต์ 7.2 การแตกหักของเครื่องจักรกลไก/เครื่องไฟฟ้าของรถยนต์อันมิได้เกิดอุบัติเหตุ 7.3 ความเสียหายโดยตรงต่อรถยนต์ อันเกิดจากการบรรทุกน้ำหนัก อันมิได้เกิดอุบัติเหตุ 7.4 ความเสียหายต่อยางรถยนต์ อันเกิดจากการฉีกขาดหรือ การระเบิด เว้นแต่มีความเสียหายอื่นของรถยนต์ในเวลาเดียวกัน 7.5 ความเสียหายอันเกิดจากการขาดการใช้รถยนต์ (ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ)
21
ข้อยกเว้นความคุ้มครองรถประกัน
ข้อ 8. การยกเว้นการใช้ การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครอง 8.1 การใช้รถยนต์นอกอาณาเขตที่คุ้มครอง 8.2 การใช้รถยนต์ไปในทางที่ผิดกฎหมาย 8.3 การใช้ในการแข่งขันความเร็ว ข้อ 9. การยกเว้นการใช้อื่นๆการประกันภัยนี้ไม่คุ้มครอง* 9.1 การใช้ลากจูง หรือผลักดัน เว้นแต่รถที่ถูกลากจูงได้ประกันภัยไว้กับบริษัทด้วย หรือเป็นรถลากจูงโดยสภาพ หรือรถที่มีระบบห้ามล้อเชื่อมโยงถึงกัน 9.2 การใช้รถยนต์นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในตารางขณะเกิดอุบัติเหตุ (ใช้รถผิดประเภท) 9.3 การขับขี่โดยบุคคลซึ่งมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเส้นเลือดไม่น้อยกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์ 9.4 การขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่ใดๆ หรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมาย หรือใช้ใบขับขี่รถจักรยานต์ไปขับขี่รถยนต์ หมายเหตุ : การยกเว้นตามข้อ 9.1 – 9.4 จะไม่นำมาบังคับใช้ กรณีไม่ได้เกิดจากความประมาทของผู้ขับขี่รถยนต์ การยกเว้นตามข้อ 9.4 จะไม่นำมาใช้บังคับ หากผู้ขับขี่ในขณะเกิดความเสียหายเป็นผู้ขับขี่ที่ถูกระบุชื่อในกรมธรรม์ประกันภัย
22
ข้อยกเว้นความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
ข้อ 1.1 ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย 1. ผู้ขับขี่ฝ่ายที่ต้องรับผิดตามกฎหมาย 2. ลูกจ้างในทางการที่จ้าง 3. คู่สมรส 4. บิดา มารดา บุตร ของผู้ขับขี่ หมายเหตุ : ดูที่ความสัมพันธ์ของ ผู้ขับขี่ กับ บุคคลภายอก ข้อ 1.2 ความเสียหายต่อทรัพย์สิน 1. ทรัพย์สินที่ ผู้เอาประกันภัย/ผู้ขับขี่ที่ต้องรับผิด/คู่สมรส/บิดา-มารดา/บุตรของผู้เอาประกันภัยหรือผู้ขับขี่นั้น เป็นเจ้าของ หรือเป็น ผู้เก็บรักษา ควบคุม หรือครอบครอง 2. เครื่องชั่ง สะพานรถ สะพานรถไฟ ถนน ทางวิ่ง ทางเดิน สนาม อันเกิดจากการสั่นสะเทือนหรือจากน้ำหนักรถยนต์หรือน้ำหนักบรรทุกของรถยนต์ 3.สัมภาระหรือทรัพย์สินอื่นใดที่ติดตัวขึ้น/บรรทุก/กำลังยกขึ้น-ยกลง บนรถยนต์ หรือทรัพย์สินที่รถยนต์กำลังยกจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง 4. ทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายจากการรั่วไหลจากสารเคมี หรือวัตถุอันตรายที่บรรทุกอยู่ในรถยนต์ เว้นแต่การรั่วไหลนั้นเกิดจากอุบัติเหตุของรถยนต์หรือเชื้อเพลิงเพื่อการเดินเครื่องของรถยนต์
23
ข้อยกเว้นความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
ข้อ 7. การยกเว้นทั่วไป 7.1 การใช้รถยนต์นอกอาณาเขตคุ้มครอง 7.2 การใช้รถยนต์ในทางผิดกฎหมาย 7.3 การใช้ในการแข่งขันความเร็ว 7.4 การใช้ลากจูง หรือผลักดัน เว้นแต่รถที่ถูกลากจูงได้ประกันภัยไว้กับบริษัทด้วย หรือเป็นรถลากจูงโดยสภาพ หรือรถที่มีระบบห้ามล้อเชื่อมโยงถึงกัน 7.5 ความรับผิดซึ่งเกิดจากสัญญาที่ผู้ขับขี่ทำขึ้น ซึ่งถ้าไม่มีสัญญานั้นแล้วความรับผิดของผู้ขับขี่จะไม่เกิดขึ้น 7.6 การขับขี่โดยบุคคลซึ่งในขณะขับขี่มีปริมาณในแอลกอฮอล์ในเส้นเลือดไม่น้อยกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ข้อ 8. ข้อสัญญาพิเศษ ภายใต้จำนวนเงินความรับผิดที่ระบุไว้ในตาราง บริษัทจะไม่ยกเอาความไม่สมบูรณ์แห่งกรมธรรม์ประกันภัย หรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัย หรือข้อ 7.1 – 7.5 หรือเงื่อนไขทั่วไป เว้นแต่ข้อ 3. ของหมวดเงื่อนทั่วไปเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก เพื่อปฏิเสธความรับผิดตาม 1.1ในหมวดนี้ (ความเสียหายต่อชีวิต/ร่างกาย/อนามัย) ส่วนเงื่อนไขข้อ 7.6 บริษัทจะไม่นำมาเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก เพื่อปฏิเสธความรับผิดตามข้อ 1.1 และข้อ 1.2 ในหมวดนี้ (ความเสียหายต่อชีวิต/ร่างกาย/อนามัย และความเสียหายต่อทรัพย์สิน) ในกรณีที่บริษัทไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย หรือรับผิดตามกรมธรรม์นี้ต่อผู้เอาประกันภัย แต่บริษัทได้ชดใช้ค่าสินไหมไปแล้วตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ในความรับที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกไปแล้ว ผู้เอาประกันภัยต้องใช้จำนวนเงินที่บริษัทได้จ่ายไปนั้น คืนให้บริษัทภายใน 7 วัน นับแต่ได้รับหนังสือเรียกร้องจากบริษัท
24
ข้อยกเว้นความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
คำถาม กรณีผู้ขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุไม่ใช่คนเดียวกับผู้เอาประกันภัย บริษัทฯต้องเรียกคืนจาก ผู้ขับขี่หรือ ผู้เอาประกันภัย ?
25
ข้อยกเว้นความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
คำตอบ หมวดความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ข้อ 4 บุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์ โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยให้ถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นผู้เอาประกันภัยเอง หมวดความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ข้อ7.6 ไม่คุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ในส่วน ทรัพย์สิน และชีวิต ร่างกาย อนามัย หมวดความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ข้อ 8 เงื่อนไขข้อ 7.6 บริษัทฯจะไม่ยกต่อสู้ ปฏิเสธความรับผิดในส่วน ทรัพย์สิน และชีวิต ร่างกาย อนามัย ประกอบคู่มือตีความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ หน้า 74 ผู้เอาประกันภัยที่จะถูกเรียกค่าสินไหมทดแทนคืนนั้น หมายถึง ผู้เอาประกันภัยที่เป็นผู้ทำละเมิดต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น อาจมิใช่ผู้เอาประกันภัยที่ระบุชื่อในตารางกรมธรรม์ก็ได้
26
เอกสารแนบท้ายความคุ้มครองเพิ่มเติมกรมธรรม์ประกันภัยภาคสมัครใจ
Type เสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพลภาพ ค่ารักษาพยาบาล ประกันตัว ร.ย.01 ร.ย.02 ร.ย.03
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.