งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๕ นางบุษบา โหระวงศ์ โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๕ นางบุษบา โหระวงศ์ โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๕ นางบุษบา โหระวงศ์ โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม
เรื่อง ธรรมชาติภาษา แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๕ นางบุษบา โหระวงศ์ โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

2 ธรรมชาติภาษา

3 ภาษาเป็นหัวใจของกิจกรรมการสื่อสารของมนุษย์ เป็นวิธีการที่มนุษย์แสดงออกเพื่อถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความเชื่อ คติธรรมและวัฒนธรรม ภาษาไม่ใช่สัญชาตญาณแต่เกิดจากการเรียนรู้และการฝึกฝน มนุษย์ยิ่งเจริญขึ้นเพียงใดภาษาที่ใช้ยิ่งมีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้นเพียงนั้น

4 ความหมายของภาษา ความหมายอย่างแคบ คือ ถ้อยคำที่มนุษย์ใช้พูดเพื่อสื่อความหมาย ความหมายอย่างกว้าง คือ การแสดงออก เพื่อสื่อความหมายอย่างเป็นระบบ สื่อความเข้าใจระหว่างสองฝ่าย จะเป็นวัจนภาษา หรืออวัจนภาษา

5 ธรรมชาติของภาษามีลักษณะร่วมกันดังนี้
๑. ภาษาใช้เสียงสื่อความหมาย ภาษาสื่อความหมายโดยใช้เสียงเป็นสำคัญ นักปราชญ์ทางภาษาจึงสรุปกำเนิดของคำในภาษา ดังนี้

6 (๑) ภาษาเกิดจากการเลียนเสียงธรรมชาติ เช่น แมว กา จั้ก ๆ เปรี้ยง หวูด กริ่ง ดังนั้น เสียงใน ภาษาบางคำจึงมีความสัมพันธ์กับความหมาย เช่น ขยำ ขย่ม ขยุกขยิก เข เก เป๋ เหล่ เป็นต้น (๒) ภาษาเกิดจากคำอุทาน เช่น อุ๊ย วุ้ยว้าย ต๊ายตาย แหม เฮฮา เป็นต้น

7 (๓) ภาษาเกิดจากเด็กทารก เช่น เสียงอ้อแอ้ เสียงร้อง เสียงเด็กหัดพูด เช่น พ่อ แม่ papa mama ป๊ะ ป๋า ม๊ะ ม้า เป็นต้น (๔) ภาษาเกิดจากมนุษย์สร้างคำขึ้นใหม่ โดยเป็นข้อตกลงในสังคมเดียวกันว่า คำใด เสียงใด มี ความหมายว่าอย่างไร ภาษาจึงเป็นสัญลักษณ์ คือ มีลักษณะที่รับรู้ร่วมกัน

8 ๒. ภาษาประกอบด้วยหน่วยที่เล็กซึ่งประกอบเป็นหน่วยใหญ่ขึ้น องค์ประกอบของภาษาเริ่มจากเสียง คำ และประโยค
คำ คือการนำหน่วยเสียงสระ หน่วยเสียงพยัญชนะ และหน่วยเสียงวรรณยุกต์ มาประกอบกันเป็นหน่วยคำ ฉะนั้นหน่วยคำจึงเป็นหน่วยเสียงที่เล็กที่สุดที่มีความหมายในภาษา

9 พยางค์ คือเสียงที่เปล่งออกมาจะมีความหมายหรือไม่มีก็ได้ เช่น
นา ประกอบด้วย น + อา + วรรณยุกต์ เป็น ๑ หน่วยคำ ๑ พยางค์ ๑ คำ นาวา ประกอบด้วย น + อา + ว + อา เป็น ๑ หน่วยคำ ๒ พยางค์ ๑ คำ

10 นาฬิกา ประกอบด้วย น + อา +ฬ + อิ + ก + อา เป็น ๑หน่วยคำ ๓ พยางค์ ๑ คำ คำที่ประกอบขึ้นอาจเป็นคำมูล คำประสม คำซ้ำ คำซ้อน คำคู่ แล้วแต่ชนิดของคำที่นำมาประกอบกัน

11 ประโยค เกิดจากการนำคำมาเรียงให้ได้ใจความสมบูรณ์ และสามารถขยายความให้ยาวออกไป เช่น ฉันไปทำงาน ฉันและน้องไปทำงาน ฉันและน้องไปทำงานแต่คุณแม่อยู่บ้าน ฉันและน้องไปทำงานแต่คุณแม่อยู่บ้านทำกับข้าว รอคุณพ่อกลับมาทานข้าว

12 อนึ่งกลุ่มคำและประโยคเหล่านี้เมื่อนำมาสลับที่กัน ก็จะเพิ่มกลุ่มคำ เพิ่มประโยคที่มีความหมายอีกจำนวนมาก เช่น แหวนน้องฉันซื้อให้ ฉันซื้อแหวนให้น้อง แหวนฉันน้องซื้อให้ น้องซื้อแหวนให้ฉัน ฉันให้น้องซื้อแหวน น้องให้ฉันซื้อแหวน น้องฉันซื้อแหวนให้ น้องแหวนซื้อให้ฉัน

13 ๓. การเปลี่ยนแปลงของภาษา ภาษาที่ใช้อยู่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ดังนี้
(๑) การเปลี่ยนแปลงเสียง ได้แก่ การกร่อนเสียง เช่น ฉันนั้น เป็น ฉะนั้น การกลมกลืนเสียง เช่น อย่างไร เป็น ยังไง

14 การเติมเสียง เช่น ท้วง เป็น ประท้วง
การตัดเสียง เช่น อนิจจา เป็น นิจจา การสูญหน่วยเสียง เช่น ปลา เป็น ปา (๒) การเปลี่ยนแปลงคำ ได้แก่ การตัดคำ เช่น รับประทาน เป็น ทาน สาธุ เป็น ธุ ข้าพเจ้า เป็น ข้า

15 (๓) การกลายความหมาย เช่น อาวุโส (บาลี) เดิมหมายถึง เพื่อน ผู้น้อย กลายเป็นผู้มีวัยเหนือกว่า
(๔) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประโยค จะมีการใช้โครงสร้างประโยคแบบภาษา ต่างประเทศ เช่น เขาถูกเชิญให้กล่าวอวยพร ควรเป็น เขาได้รับเชิญให้กล่าวอวยพร

16 สาเหตุที่ทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลง สรุปได้ดังนี้
-การพูดจากันในชีวิตประจำวัน เช่น การพูดออกเสียงที่ไม่ชัดเจน -ความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เช่น การมีงาน-ประดิษฐ์ใหม่ ๆ ความก้าวหน้าทางวิทยาการ

17 -อิทธิพลของภาษาอื่น เรายืมคำหรือประโยคของภาษาอื่นโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ทำให้มีเสียงเพิ่มขึ้น มีคำเพิ่มขึ้น มีรูปแบบประโยคมากขึ้น -การเรียนภาษาของเด็ก บางครั้งภาษาที่เด็กพูดไม่ชัดเจนในเรื่องเสียง หรือความเข้าใจในความหมายไม่ตรงกับผู้ใหญ่ เมื่อถ่ายทอดก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น โลงเลียน หม่ำข้าว ป้อ

18 ๔. ความเหมือนและความต่างกันของภาษา ทุกภาษาในโลกมีลักษณะที่เหมือนและต่างกัน ทั้งในด้านเสียง การเรียงคำเข้าประโยค หลายประการ (๑) ลักษณะที่เหมือนกัน - ใช้เสียงสื่อความหมายเหมือนกัน ทุกภาษามีเสียงสระ เสียงพยัญชนะ

19 - มีวิธีสร้างคำใหม่ได้หลายวิธี โดยเปลี่ยนคำศัพท์เดิม หรือนำคำอื่นมาประกอบ

20 - มีสำนวน คือ ใช้ถ้อยคำในความหมายแฝง เช่น สำนวนไทย “ย้อมแมวขาย” หมายความว่าหลอกลวง สำนวนอังกฤษ “cat and dog” หมายถึง ฝนตกไม่ลืมหูลืมตา

21 - มีคำชนิดต่าง ๆ เช่น คำนาม คำกริยา คำสรรพนาม เป็นต้น
- มีรูปประโยคแสดงความคล้ายกัน เช่น บอกเล่า ปฏิเสธ คำถาม และคำสั่ง - มีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา และสิ่งแวดล้อม

22 (๒) ลักษณะที่แตกต่างกัน
- เสียงต่างกัน เช่น ภาษาไทยมีเสียงวรรณยุกต์ แต่ภาษาอังกฤษไม่มี - ภาษาไทยมีลักษณะนาม แต่ภาษาอื่นไม่มี

23 ภาษาไทยเป็นภาษาเรียงคำ ถ้าสลับตำแหน่งคำ ความหมายจะเปลี่ยนไป แต่ภาษาอื่นถือ
ความสัมพันธ์ในด้านคำเป็นใหญ่ สับที่กันได้


ดาวน์โหลด ppt แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๕ นางบุษบา โหระวงศ์ โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google