ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยOscar Whitehead ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ
โดย ผศ.ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2
ความสัมพันธ์ของรัฐในประชาคมโลกเป็นอย่างไร
รัฐทุกรัฐมีความเท่าเทียมกันในระบบกฎหมายระหว่างประเทศ การจะบังคับให้รัฐใดรัฐหนึ่งกระทำการใดย่อมทำไม่ได้ รัฐจะผูกพันกับกฎหมายหรือเรื่องใด ก็ต่อเมื่อรัฐสมัครใจเข้าผูกพัน (Consent to be Bounded) ความยินยอมโดยสมัครใจของรัฐจึงเป็นสาระสำคัญ ความยินยอมนี้เองได้เป็นหลักการสำหรับการสร้างสนธิสัญญา แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ประชาคมโลกยอมรับและปฏิบัติร่วมกันมาจนเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ผูกพันรัฐได้ทันที
3
บ่อเกิด และที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ
บางเรื่องกระทบกระเทือนความมั่นคงและสันติภาพ จะอาศัยเพียงความยินยอมในการเข้าผูกพันของรัฐไม่ได้ ประชาคมโลกจึงต้องร่วมกันพัฒนาเรื่องสำคัญเหล่านั้นขึ้นมา เมื่อมีการยอมรับ และปฏิบัติสืบต่อกันมาจนเชื่อว่าสิ่งนั้นเป็นกฎหมาย เรื่องนั้นก็จะกลายเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ และบางเรื่องก็อาจมีการประมวลออกมาเป็นสนธิสัญญาเพื่อความชัดเจน บางเรื่องก็เกิดจากการพัฒนาของคำพิพากษาของศาลหรือองค์กรระดับโลก เช่น ศาลยุติธรรมโลก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
4
บ่อเกิดของกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
เรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับความมั่นคงและสันติภาพซึ่งรัฐทั้งหลายยอมรับกันเป็นกฎหมายจารีตประเพณี (ERGA OMNES) เช่น การประหัตประหาร การนำคนมาเป็นทาส ฯลฯ การยอมรับบางเรื่องว่าเป็นกฎหมาย (OPINIO JURIS) และมีการบังคับใช้หรือปฏิบัติตาม (STATE PRACTICE) จนเรื่องนั้นได้พัฒนาจนกลายเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น สิทธิในการแสดงเจตจำนงของประชาชนเพื่อกำหนดอนาคตของตนเอง การสร้างสนธิสัญญาภายใต้สหประชาชาติ เช่น อนุสัญญาสิทธิเด็ก ฯลฯ การสร้างสนธิสัญญาเฉพาะ - อนุสัญญาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อนุสัญญาผู้ลี้ภัย
5
อำนาจอธิปไตยของรัฐเป็นไปอย่างสมบูรณ์หรือไม่
ในอดีตรัฐเอกราชต่างๆจะยึดถืออำนาจอธิปไตยของรัฐอย่างสมบูรณ์ ห้ามใครเข้ามาก้าวก่ายกิจการภายใน และเลี่ยงการก้าวล่วงอำนาจอธิปไตยของรัฐอื่น อย่างเคร่งครัด ต่อมาปรากฏว่าการปล่อยให้รัฐดูแลประชาชนของตนเองตามอำเภอใจมักทำให้รัฐประหัตประหารประชาชนที่อยู่ภายใต้อาณัติของตน จึงต้องมีการพัฒนากฎหมาย และระบบการเยียวยาให้กับประชาชน ประชาคมโลกผ่านองค์การระหว่างประเทศจึงเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาที่ร้ายแรง เพื่อปกป้องประชาชนจากรัฐทรราช
6
ประชาคมโลกเข้ามาช่วยเหลือเหยื่ออย่างไร
ประชาคมโลกจะแสดงเจตนารมณ์ผ่านองค์การระหว่างประเทศในรูปแบบของมติโดยอิงหลักกฎหมาย เพื่อออกมาตรการแก้ไข มาตรการที่ออกมาแก้ไขก็จะมีหลายรูปแบบ ตั้งแต่ การประณาม การตัดความสัมพันธ์ การลงโทษทางเศรษฐกิจ การใช้กำลังทหาร มติที่มีผลบังคับใช้อย่างเข้มแข็งและมีผลผูกมัดทางกฎหมาย คือ มติของคณะมนตรีความมั่นคง มติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติแม้ผลผูกพันน้อย แต่ก็พัฒนาไปเป็นกฎหมายได้ในเวลาต่อมา
7
องค์การInt’แทรกแซงกิจการภายในของรัฐอื่นได้ไหม
ในอดีตแทบจะทำไม่ได้เลย ปัจจุบันกฎหมายระหว่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เปิดช่องให้ทำได้ แต่ต้องทำผ่านองค์การระหว่างประเทศเท่านั้น (SC) หลักการแทรกแซงเพื่อมนุษยธรรม (Humanitarian Intervention) หรือ หลักความรับผิดชอบในการปกป้อง (Responsibility to Protect) จะใช้หลักนี้เมื่อปรากฏว่ามีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ทำลายชาติ อาชญากรรมสงคราม หรืออาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ เขตอำนาจศาลสากล ปรากฏร่องรอยการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงเป็นระบบ ต่อเนื่อง
8
กระบวนทัศน์ในการเยียวยาสิทธิมนุษยชน
สาระสำคัญของสิทธิพลเมืองฯ กับ สิทธิทางเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรม มีความต่างกัน (positive & negative rights) วิธีการในการเยียวยาสิทธิสองประเภทจึงต่างกัน การเยียวยาสิทธิพลเมืองและการเมือง ต้องใช้กระบวนการทางกฎหมาย การสร้างหลักประกันมิให้มีการละเมิดสิทธิ และตรวจสอบ การเยียวยาสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ต้องใช้กระบวนการส่งเสริมสิทธิ คือ การเคารพ การปกป้อง และการเติมเต็ม ผ่านมาตรการและโครงการต่างๆ ที่มีสิทธิเป็นพื้นฐาน (Right-based Approach)
9
ระบบการเยียวยาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
องค์กรใหญ่ของสหประชาชาติ คือ คณะมนตรีความมั่นคง (SC ) สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ (GA) คณะมนตรีสิทธิมนุษยชน (HRC) องค์กรย่อยภายใต้สำนักงานเลขาธิการสหประชาชาติ คือ สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัย ฯลฯ คณะกรรมการภายใต้อนุสัญญาสิทธิมนุษยชนทั้ง 9 ฉบับ เช่น ICCPR, ICESCR, CEDAW, CRC, CATเป็นต้น หน่วยงานพิเศษที่เกี่ยวข้อง เช่น ILO FAO UNESCO UNICEF WHO WTO ฯลฯ
10
กลไกการเยียวยายาสิทธิมนุษยชน
การเยียวยาผ่านกลไกภายในรัฐให้หมดเสียก่อน อาจร้องเรียนต่อกลไกระหว่างประเทศทันที หากปรากฏการปฏิเสธความยุติธรรม ต้องดูเนื้อหาสาระของคดีว่ากระทบกระเทือนต่อสิทธิใด ดูว่ามีสิทธิดังกล่าวมีสนธิสัญญาเฉพาะหรือไม่ – 9 ฉบับ ดูว่ามีกลไกใดบ้างที่จะสามารร้องเรียนได้ - คณะกรรมการ ผู้ตรวจฯ ดูว่ากลไกเปิดโอกาสให้ปัจเจกชนร้องเรียนได้โดยตรงหรือไม่ –ภูมิภาค อาจใช้กลไกพิเศษของสหประชาชาติที่เปิดโอกาสให้ปัจเจกชนร้องได้
11
กลไกเยียวยาสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาค
ภูมิภาคยุโรป มีอนุสัญญาสิทธิมนุษยชน มีคณะกรรมการตรวจตราการบังคับใช้สิทธิ มีศาลสิทธิมนุษยชนที่ปัจเจกชนฟ้องโดยตรงได้ ภูมิภาคอเมริกา มีปฏิญญาสิทธิมนุษยชน มีคณะกรรมการตรวจตราการบังคับใช้สิทธิ มีศาลสิทธิมนุษยชนที่ปัจเจกชนฟ้องโดยตรงได้ ภูมิภาคอัฟริกา มีปฏิญญาสิทธิมนุษยชน มีคณะกรรมการตรวจตราการบังคับใช้สิทธิ กำลังตั้งศาลสิทธิมนุษยชนที่ปัจเจกชนฟ้องโดยตรงได้ ภูมิภาคเอเชียไม่มีระบบการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาค อาเซียนมีธรรมนูญอาเซียน คณะกรรมการฯ แต่ไม่มีอำนาจบีบบังคับรัฐ
12
กลไกเยียวยาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
องค์กรใหญ่ของสหประชาชาติ คือ คณะมนตรีความมั่นคง สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชน(ใหม่) องค์กรย่อยภายใต้สหประชาชาติ คือ สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัย กองทุนเด็ก ฯลฯ คณะกรรมการภายใต้อนุสัญญาสิทธิมนุษยชนทั้ง 9 ฉบับ (ไทย) เช่น สิทธิเด็ก สิทธิสตรีฯ เป็นต้น (ไทย8ฉบับ) ขาดสิทธิแรงงานอพยพ กลไกพิเศษที่เกี่ยวข้อง – 1235 กระบวนการเปิด ตั้งผู้ตรวจการพิเศษแก่กรณี/ประเทศ , 1503 ระบบลับร้องเรียนต่อคณะมนตรีสิทธิ
13
สนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนภายใต้สหประชาชาติ
ลิ้งค์สนธิสัญญาที่ไทยเข้าเป็นภาคี ลิ้งค์เอกสารอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการปฏิบัติตามสนธิสัญญา
14
ศาลอาญาระหว่างประเทศ ICC
ถ้ารัฐลงนามและให้สัตยาบันธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศแล้ว ปัจเจกชนยื่นเรื่องต่อศาลได้ทันที แต่ถ้าเกิดในกรณีที่ไม่มีจุดเกาะเกี่ยวกับรัฐที่มิได้เป็นภาคี เป็นดุลยพินิจของอัยการศาล ลงมติรับของคณะมนตรีความมั่นคง SC ความผิดที่เป็นฐานความผิดอาญาระหว่างประเทศ คือ อาชญากรรมสงคราม อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ รุกราน เขตอำนาจศาลสากล (UNIVERSAL Jurisdiction) รัฐขอให้ขอบเขตเงื่อนเวลาอายุความ ย้อนไปผูกพันตั้งแต่วันแรกที่มีศาล
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.