งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน
บทที่ 3 การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน

2 การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน
ทบทวนความรู้ก่อนเรียน การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหาต้องดำเนินการก่อนวางแผนการแก้ปัญหา การออกแบบวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้รหัสลำลองหรือผังงานเพื่อทำให้เข้าใจได้ง่ายในการนำไปปฏิบัติ การดำเนินการแก้ปัญหา เป็นการนำวิธีแก้ปัญหาที่ได้ออกแบบไว้มาดำเนินการ โดยอาจพัฒนาเป็นโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา

3 การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน
ลองทำดู ออกแบบรหัสลำลองหรือผังงานในการคำนวณหาพื้นที่รูป สี่เหลี่ยมคางหมู

4 รู้จักไพทอน ไพทอนเป็นภาษาที่ง่ายต่อการเริ่มต้นเรียนรู้การเขียนโปรแกรม มีโครงสร้างคำสั่งที่ไม่ซับซ้อน มีชุดคำสั่งที่ทำงานทางด้านกราฟิกให้เลือกใช้งานได้สะดวก สามารถทดสอบการทำงานตามคำสั่ง และตรวจสอบผลลัพธ์ได้ทันที นักเรียนสามารถนำภาษาไพทอนไปใช้ในการเขียนโปรแกรมที่ซับซ้อนเพื่อการทำงานจริงได้

5 เครื่องมือพัฒนาโปรแกรม
การเขียนโปรแกรมไพทอนจะใช้เครื่องมือช่วยในการพัฒนาโปรแกรมที่เรียกว่า ไอดีอี (Integrated Development Environment: IDE) ซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือแก้ไขโปรแกรมต้นฉบับ (source code editor) เครื่องมือแก้ไขจุดบกพร่องของโปรแกรม (debugger) และเครื่องมือช่วยให้โปรแกรมทำงาน หรือรันโปรแกรม (run) ไพทอนไอดีอีโดยทั่วไปจะทำงานตามคำสั่งได้ใน 2 โหมด คือ 1. โหมดโต้ตอบหรือโหมดอิมมีเดียท (immediate mode) 2. โหมดสคริปต์ (script mode)

6 เครื่องมือพัฒนาโปรแกรม
2. โหมดสคริปต์ (script mode) 2. โหมดสคริปต์ (script mode) ผู้ใช้ต้องพิมพ์คำสั่งไพทอนหลายคำสั่งประกอบกันให้เป็นโปรแกรมที่สมบูรณ์ แล้วบันทึกเป็นไฟล์ไว้ก่อน เพื่อที่จะสั่งให้ตัวแปลภาษาไพทอนทำงานตามคำสั่งทั้งหมดในโปรแกรมตั้งแต่คำสั่งแรก จนถึงคำสั่งสุดท้ายต่อเนื่องกันไป ถ้าหากต้องการตรวจสอบความถูกต้องของคำสั่งสามารถใช้โหมดอิมมีเดียทในการทดสอบได้ 1.หมวดโต้ตอบหรือโหมดอิมมีเดียท ผู้ใช้จะพิมพ์คำสั่งภาษาไพทอนลงในส่วนที่เรียกว่า เชลล์ (shell) หรือคอนโซล (console) ทีละคำสั่ง และตัวแปลภาษาไพทอน (python interpreter) จะแปลคำสั่ง หากไม่มีข้อผิดพลาดจะทำงานคำสั่งดังกล่าว พร้อมแสดงผลลัพธ์ทันที แต่หากคำสั่งมีข้อผิดพลาดก็จะแสดงข้อผิดพลาด (error message) 1.หมวดโต้ตอบหรือโหมดอิมมีเดียท (immediate mode)

7 เครื่องมือพัฒนาโปรแกรม
เกร็ดน่ารู้ การเขียนโปรแกรมไพทอนออนไลน์ หากคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต นักเรียนสามารถฝึกฝนการเขียนโปรแกรมภาษาไพทอนแบบออนไลน์ได้จากเว็บไซต์ที่ให้บริการตัวแปลภาษาไพทอน ซึ่งมีอยู่หลายเว็บไซต์ โดยไม่ต้องติดตั้งตัวแปลภาษาไพทอน หรือไพทอนไอดีอี เช่น

8 เริ่มต้นเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน
ตัวอย่างที่ 3.1 คำสั่งแสดงผลในโปรแกรมภาษาไพทอน print() เป็นคำสั่งชนิดฟังก์ชัน (function) ทำหน้าที่แสดงสิ่งที่อยู่ภายในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) ออกทางจอภาพ ให้สังเกตผลลัพธ์ที่ได้ว่าไม่มีเครื่องหมาย ""

9 กิจกรรมที่ 3.1 ให้นักเรียนพิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ลงในคอนโซลแล้วสังเกตผลลัพธ์ที่ได้ว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร และเพราะเหตุใด print("3+5") print(3+5)

10 ตัวอย่างที่ 3.2 คำสั่งรับข้อมูลเข้า ทดลองพิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ในคอนโซล แล้วกด แป้น Enter กำหนดให้ตัวแปร name มีค่าเป็น "Ying name = "Ying" print(name) แสดงค่าในตัวแปร name ออกมาทางจอภาพ ซึ่งก็คือคำว่า Ying จะได้ผลลัพธ์คือ Ying

11 ชวนคิด Ying เป็นข้อมูลชนิดใด เพราะเหตุใด
ถ้าเปลี่ยนบรรทัดแรกเป็น name = 2 ผลจากการใช้คำสั่ง print(name) เป็นอย่างไร

12 ใบกิจกรรมที่ 4.1 เครื่องมือพัฒนาโปรแกรม
ให้เปิดโปรแกรม PyCharm Edu แล้วสร้างโปรเจคและไฟล์เพื่อใช้เขียนโปรแกรมภาษาไพทอน ทดสอบการเขียนโปรแกรมด้วยคำสั่งต่อไปนี้ทั้งในโหมดอิมมิเดียทและโหมดสคริปต์ แล้วรันโปรแกรม สังเกตผลลัพธ์ที่ได้ ใช้โหมดอิมมิเดียทหาผลลัพธ์ของคำสั่งต่อไปนี้ แล้วคำถาม สร้างไฟล์ไพทอนใหม่แล้วเขียนคำสั่งแสดงชื่อตนเอง และอายุที่คำนวณจากปีเกิด

13 ตัวแปร ถ้าต้องการนำชื่อ-นามสกุลมาแสดงผลหลายครั้ง และบางครั้งรูปแบบเหมือนกันควรทำอย่างไร ตัวอย่างการแสดงผล เช่น ชื่อ อรุณ สามารถ ชื่อ อรุณ นามสกุล สามารถ คุณ อรุณ สามารถ และถ้ามีการแก้ไขหรือเปลี่ยนชื่อจะมีปัญหาอะไรบ้าง

14 name = "somchai" c = 16 ตัวแปร (variable)

15 ชวนคิด ถ้าต้องการใช้คำสั่งเพื่อแสดงค่า c และ name ที่หน้าจอภาพ จะพิมพ์คำสั่งอย่างไร ถ้าต้องการกำหนดให้ตัวแปร price มีค่าเท่ากับ 10 จะพิมพ์คำสั่งอย่างไร

16 กิจกรรมที่ 3.2 ให้นักเรียนพิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ แล้วสังเกตผลลัพธ์ที่ได้ และอธิบาย ว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น year = Age _name = 123 totalPrice =_name 1stname = 10 nickName = "Aor" age = 13

17 ใบกิจกรรมที่ 4.2 เรื่องตัวแปร
1. สร้างโปรเจคและไฟล์ไพทอนขึ้นมาใหม่พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้แล้วสั่งรันโปรแกรม name = "อรุณ สามารถ" # 1 #print(name) # 2 print("คุณ",name) # 3 # # 4 name = "อริสา" # 5 name = name+" "+"มันตรา" # 6 print("คุณ",name) # 7

18 ตัวอย่างที่ 3.3 การเปลี่ยนค่าของตัวแปร พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ในคอนโซล
c = 16 print(c) d = c print(d) d = 15 คำสั่งกำหนดให้ตัวแปร c ชี้ไปที่จำนวนเต็ม 16 เมื่อแสดงผลด้วยคำสั่ง print(c) จึงเห็นผลลัพธ์เป็น 16 >>> c = 16 >>> print(c) >>> d = c >>> print(d) >>> d = 15 คำสั่งสร้างตัวแปร d แล้วชี้ไปที่เดียวกับที่ตัวแปร c ชี้อยู่ จึงทำให้ตัวแปร d ชี้ไปยังจำนวนเต็ม 16 เมื่อพิมพ์ด้วยคำสั่ง print(d) จึงได้ผลลัพธ์เป็น 16 16 16 คำสั่งกำหนดให้ตัวแปร d ชี้ไปที่จำนวนเต็ม 15 เมื่อแสดงผลด้วยคำสั่ง print(d) จึงเห็นผลลัพธ์เป็นค่า 15 15

19 การเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปร c และ d ที่เกิดขึ้นตามคำสั่งในตัวอย่างที่ 3

20 ชวนคิด จากตัวอย่างที่ 3.3 นักเรียนสามารถใช้คำสั่ง d = "Ying" ต่อจากคำสั่งสุดท้ายได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

21 ชนิดข้อมูลพื้นฐาน โปรแกรมภาษาไพทอนมีการแบ่งประเภท ของข้อมูลออกเป็นหลายประเภท โดยมีประเภท ข้อมูลพื้นฐาน คือ ข้อมูลประเภทข้อความ (string data type) ข้อมูลประเภทจำนวน (numerical data type)

22 ข้อมูลประเภทข้อความ หรือสตริง
การกำหนดข้อมูลที่เป็นข้อความหรือสตริงให้ใช้ เครื่องหมายอัญประกาศครอบข้อความที่ต้องการกำหนด โดย เลือกใช้ได้ทั้งอัญประกาศเดี่ยว (') หรือคู่ (") ตามความเหมาะสม หรือ กรณีที่่มีข้อความยาวหลายบรรทัด ต้องใช้เครื่องหมาย " หรือ ' ติดต่อกัน 3 ตัว ครอบหน้าและหลังข้อความ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

23 การกำหนดข้อมูลชนิดข้อความ พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ในคอนโซล
ตัวอย่างที่ 3.4 การกำหนดข้อมูลชนิดข้อความ พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ในคอนโซล >>> organization = '"สสวท"'                             #บรรทัดที่ 1 >>> address = "924 ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110"    #บรรทัดที่ 2 >>>print(organization)                 #บรรทัดที่ 3 >>>print(address)                      #บรรทัดที่ 4 >>> address = '''"สสวท."                                #บรรทัดที่ 5  ...: 921 ถนนสุขุมวิท  ...: เขตคลองเตย กรุงเทพฯ  ...: 10110''' >>> print(address)             #บรรทัดที่ 6

24 ผลลัพธ์ดังนี้ "สสวท" 921 ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 "สสวท."
>>> organization = '"สสวท"'       #บรรทัดที่ 1 >>> address = "924 ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110"    #บรรทัดที่ 2 >>>print(organization)                  #บรรทัดที่ 3 "สสวท" >>>print(address)                       #บรรทัดที่ 4 921 ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 >>> address = '''"สสวท."                                #บรรทัดที่ 5 ถนนสุขุมวิท ... เขตคลองเตย กรุงเทพฯ ''' >>>print(address)                      #บรรทัดที่ 6 "สสวท." 924 ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

25 2) ข้อมูลจำนวน ภาษาไพทอนมีข้อมูลจำนวนที่สามารถนำไปคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายชนิดในที่นี้จะแนะนำ 2 ชนิด คือ จำนวนเต็มแบบมีเครื่องหมาย (signed integer) หรือเรียกว่า จำนวนเต็ม (integer หรือ int) สามารถเก็บค่าจำนวนเต็มบวกและจำนวนเต็มลบ จำนวนจริง (floating point number หรือ float) สามารถเก็บค่าทั้งจำนวนจริงบวกและจำนวนจริงลบ ที่อยู่ในรูปทศนิยมได้

26 ตัวอย่างที่ 3.5 การกำหนดข้อมูลจำนวนและการคำนวณพื้นฐาน
พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ใน คอนโซล base = #บรรทัดที่ 1 height = 15 #บรรทัดที่ 2 area = (1/2)* base * height #บรรทัดที่ 3 print ("base =", base) #บรรทัดที่ 4 print ("height =", height) #บรรทัดที่ 5 print ("area =", area) #บรรทัดที่ 6

27 ผลลัพธ์ที่ได้คือ >>> base = 10 >>> height = 15
>>> area = (1/2)* base * height >>> print ("base =", base) base = 10 >>> print ("height =", height) height = 15 >>> print ("area =", area) area = 75.0

28 ชวนคิด หลังจากจบคำสั่งในบรรทัดที่ 6 หากต้องการตรวจสอบชนิดข้อมูล ของตัวแปรทั้งสามตัว จะทำได้อย่างไร และได้ผลเป็นอย่างไร 1 และ 2 เป็นข้อมูลชนิดจำนวนเต็ม แล้ว 1 / 2 เป็นข้อมูลชนิดใด

29 เกร็ดน่ารู้ ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์
เกร็ดน่ารู้  ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์          ตัวดำเนินการสำหรับการบวก ลบ คูณ หาร ในไพทอน จะใช้เครื่องหมาย +, -, * และ / ตามลำดับ นอกจากนี้ยัง มีเครื่องหมายเพิ่มเติม ** หมายถึง ยกกำลัง ตัวอย่างคือ 4**3 หมายถึง 43 // หมายถึง หารปัดเศษทิ้ง ตัวอย่างคือ 7 // 3 ได้ผลลัพธ์ เป็นจำนวนเต็ม 2 %  หมายถึง เศษที่ได้จากการหาร ตัวอย่างคือ 7 % 3 ได้ ผลลัพธ์เป็นจำนวนเต็ม 1 โดยที่สามารถใช้เครื่องหมาย ( ) ล้อมรอบนิพจน์ที่ต้องการให้ ดำเนินการก่อน เช่นเดียวกับการเขียนนิพจน์ทางคณิตศาสตร์

30 ตัวอย่างที่ 3.6 ทอนเท่าไร
นักเรียนซื้อแฟลช์ไดรฟ์ ขนาด 32 GB ราคา 117 บาท ที่ร้านสะดวกซื้อ โดยจ่ายเงินด้วยธนบัตรหนึ่งร้อยบาท 2 ใบ ในลิ้นชักเก็บเงินของร้าน มีแต่ธนบัตร 20 บาท และเหรียญหนึ่งบาท พนักงานจะต้องทอนเงินเป็นธนบัตร 20 บาทจำนวนกี่ใบ และเหรียญหนึ่งบาทจำนวนกี่เหรียญ ให้ใช้คำสั่งไพทอนแสดงวิธีหาคำตอบทีละลำดับ แนวคิดการแก้ปัญหา คำนวณจำนวนเงินทอน คำนวณจำนวนธนบัตรยี่สิบบาทที่ได้รับ จากจำนวนเงินทอน หารด้วย 20 โดยปัดเศษทิ้ง คำนวณจำนวนเหรียญบาทที่ได้รับ จากจำนวนเงินทอน หารด้วย 20 แบบเอาเศษ

31 ตัวอย่างที่ 3.6 ทอนเท่าไร
พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ในคอนโซล change = note20 = change // 20 coin1 = change % 20 print("เงินทอนทั้งหมด", change ,"บาท") print(" เป็นธนบัตรยี่สิบบาท จำนวน", note20, "ใบ") print(" เป็นเหรียญหนึ่งบาท จำนวน", coin1, "เหรียญ")

32 ตัวอย่างที่ 3.6 ทอนเท่าไร
จะได้ผลลัพธ์ดังนี้ >>> change = >>> note20 = change // 20 >>> coin1 = change % 20 >>> print("เงินทอนทั้งหมด", change ,"บาท") เงินทอนทั้งหมด 83 บาท >>> print(" เป็นธนบัตรยี่สิบบาท จำนวน", note20, "ใบ") เป็นธนบัตรยี่สิบบาท 4 ใบ >>> print(" เป็นเหรียญหนึ่งบาท จำนวน", coin1, "เหรียญ") เป็นเหรียญหนึ่งบาท 3 เหรียญ

33 การแปลงชนิดข้อมูล width = input("ป้อนความกว้างของสี่เหลี่ยม ")
  นักเรียนคิดว่าคำสั่งต่อไปนี้ ทำงานได้หรือไม่    width = input("ป้อนความกว้างของสี่เหลี่ยม ")    length = input("ป้อนความยาวของสี่เหลี่ยม ")    area = width * length    print("พื้นที่สี่เหลี่ยม คือ", area, "ตารางหน่วย")

34 การแปลงข้อมูลสตริงให้เป็นข้อมูลชนิดจำนวน
ตัวอย่างที่ 3.7 การแปลงข้อมูลสตริงให้เป็นข้อมูลชนิดจำนวน พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ในคอนโซล val = input("ป้อนค่าจำนวนเต็มค่าหนึ่ง ") #บรรทัดที่ 1 type(val) #บรรทัดที่ 2 intVal = int(val) #บรรทัดที่ 3 type(intVal) #บรรทัดที่ 4

35 การแปลงข้อมูลสตริงให้เป็นข้อมูลชนิดจำนวน
ตัวอย่างที่ 3.7 การแปลงข้อมูลสตริงให้เป็นข้อมูลชนิดจำนวน จะได้ผลลัพธ์ดังนี้ >>> val = input("ป้อนค่าจำนวนเต็มค่าหนึ่ง ") ป้อนค่าจำนวนเต็มค่าหนึ่ง >? 4 >>> type(val) str >>> intVal = int(val) >>> type(intVal) int

36 กิจกรรมที่ 3.3 ทำตามลำดับคำสั่งในตัวอย่างที่ 3.7 อีกครั้งหนึ่ง แต่เปลี่ยนให้ แปลงค่าสตริงที่รับจากผู้ใช้ ให้เป็นจำนวนจริงด้วยฟังก์ชัน float() แทนการใช้ฟังก์ชัน int() ปรับปรุงชุดคำสั่งที่ใช้หาพื้นที่สี่เหลี่ยมข้างต้น ให้ทำงานได้ ถูกต้อง

37 เริ่มต้นเขียนโปรแกรมภาษาไพทอน
input()เป็นคำสั่งชนิดฟังก์ชัน (function) ทำหน้าที่รับข้อมูล เข้าที่ผู้ใช้ป้อนผ่านคีย์บอร์ด แล้วส่งคืนสิ่งที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามาเป็น ข้อมูลชนิดสตริง ให้กับตัวแปรที่กำหนดไว้หน้าเครื่องหมาย =  ใน ที่นี้ คือตัวแปร name หลังจากนั้นบรรทัดที่ 2จะแสดงค่าในตัวแปร name ออกมาทางจอภาพ ซึ่งก็คือคำว่า Prayut name = input("Please enter your name:") # บรรทัดที่ 1 print(name) # บรรทัดที่ 2

38 ตัวอย่างที่ 3.2 ผลลัพธ์คือ
คำสั่งรับข้อมูลเข้า ทดลองพิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ในคอนโซล แล้วกด แป้น Enter พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ แล้วกดแป้น Enter name = input("Please enter your name:") # บรรทัดที่ 1 print(name) # บรรทัดที่ 2 ผลลัพธ์คือ Please enter your name: >?_ # เครื่องหมาย >? เป็นเครื่องหมายแสดงการรอให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูลของ PyCharm Edu

39 ข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนให้กับโปรแกรม
ตัวอย่างที่ 3.2 คำสั่งรับข้อมูลเข้า ทดลองพิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ในคอนโซล แล้วกด แป้น Enter จากนั้นให้ผู้ใช้ป้อนชื่อตนเอง เช่น ป้อนชื่อว่า Prayut ดังข้อความที่ขีดเส้นใต้ ต่อไปนี้ Please enter your name: >?   >>> print (name) ข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนให้กับโปรแกรม Prayut Prayut

40 โปรแกรมที่มีการใช้ตัวแปรเก็บข้อมูลและแสดงผล
snack = 20 drink = 33 price = snack+drink print("ราคารวม = ",price) snack = input() snack = int(snack)

41 การตั้งชื่อตัวแปรในไพทอน
ชื่อตัวแปรจะประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข หรือเครื่องหมายขีดเส้นใต้เท่านั้น โดยต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษรหรือเครื่องหมายขีดเส้นใต้ นอกจากนี้ตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่จะถือว่าแตกต่างกัน ดังนั้น ตัวแปรชื่อ count และ Count จึงเป็นตัวแปรคนละตัวกัน

42 ชื่อตัวแปรที่ตั้งขึ้นจะต้องไม่ซ้ำกับคำหลัก (keyword)
ที่ไพทอนใช้เป็นคำสั่ง โดยคำหลักมีดังต่อไปนี้

43 ทำใบกิจกรรมที่ 4.2 ข้อที่ 3-4

44 การเขียนโปรแกรมที่มีตัวแปรและตัวดำเนินการ
ทำใบกิจกรรมที่ 4.3 การเขียนโปรแกรมที่มีตัวแปรและตัวดำเนินการ

45 ตัวอย่างที่ 3.8 ร่วมด้วยช่วยแชร์
ถ้านักเรียนไปรับประทานอาหารฉลองวันปิดเทอมกับเพื่อน และตกลงกันว่าจะจ่ายค่าอาหารคนละเท่า ๆ กัน นักเรียนแต่ละคนจะต้องจ่ายค่าอาหารคนละเท่าใด ให้ใช้คำสั่งไพทอนแสดงวิธีหาคำตอบทีละลำดับ แนวคิดการแก้ปัญหา totalPrice รับค่าอาหาทั้งหมด number รับจำนวนผู้รับประทานอาหาร avg ค่าอาหารทั้งหมด/จำนวนผู้รับประทานอาหาร    แสดงผล avg

46 ตัวอย่างที่ 3.8 ร่วมด้วยช่วยแชร์
พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ลงในคอนโซล totalPrice = int(input('ค่าอาหารทั้งหมด ')) number = int(input('จำนวนผู้รับประทานอาหาร ')) avg = totalPrice/number print ('จ่ายค่าอาหารคนละ', avg, 'บาท')

47 ตัวอย่างที่ 3.8 ร่วมด้วยช่วยแชร์
หากทดลองป้อนราคาอาหาร และจำนวนผู้รับประทานอาหาร เป็น 1,289 บาท และ 15 คน ตามลำดับ จะได้ผลลัพธ์ดังนี้ >>> totalPrice = int(input('ค่าอาหารทั้งหมด ')) ราคาอาหารทั้งหมด >? 1289 >>> number = int(input('จำนวนผู้รับประทานอาหาร ')) จำนวนผู้รับประทานอาหาร >? 15 >>> avg = totalPrice/number >>> print ('จ่ายค่าอาหารคนละ', avg, 'บาท') จ่ายค่าอาหารคนละ บาท

48 การเขียนโปรแกรมไพทอนในโหมดสคริปต์
ในโหมดสคริปต์ นักเรียนต้องเขียนชุดคำสั่งไพทอนที่ ต้องการทำงานให้ครบถ้วนทั้งหมดก่อน ซึ่งเรียกว่าโปรแกรม โดย จะต้องบันทึกไว้เป็นไฟล์ แล้วจึงสั่งโปรแกรมทำงานตามคำสั่ง ทั้งหมดตามลำดับ เรียกว่า การรันโปรแกรม  ข้อดีของการการ ทำงานโดยใช้โหมดสคริปต์ คือ ผู้ใช้สามารถบันทึกเก็บไว้เป็นไฟล์ ได้ เพื่อจะได้นำมาแก้ไขเพิ่มเติมได้ในภายหลัง และยังสามารถสั่ง รันโปรแกรมที่บันทึกไว้ได้หลายครั้ง

49 ตัวอย่างที่ 3.9 ร่วมด้วยช่วยแชร์ 2 Re-run
ให้นักเรียนสร้างโปรเจคและไฟล์โปรแกรมไพทอน แล้วตั้งชื่อ หลังจากนั้นป้อนคำสั่งไพทอนตามลำดับเหมือนในตัวอย่างที่ 3.8 พร้อมกับทดลองรันด้วยการคลิกปุ่ม Execute แล้วป้อนราคาอาหาร และจำนวนผู้รับประทานอาหารที่แตกต่างกัน

50 ตัวอย่างที่ 3.9 ร่วมด้วยช่วยแชร์ 2 Re-run
รูปต่อไปนี้แสดงผลที่ได้จากการรันหนึ่งครั้ง แล้วป้อนราคาอาหารเป็น 1,480 บาท และจำนวนผู้รับประทานอาหารเป็น 9 คน


ดาวน์โหลด ppt การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google