ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ระบบการควบคุมตรวจสอบจริยธรรมกฎหมาย
วิชาชีพกฎหมายคืออะไร กระบวนการเข้าสู่วิชาชีพมีอย่างไรบ้าง ในสังคม มีระบบการควบคุมจริยธรรมกฎหมาย สำหรับนักกฎหมายทุกประเภทหรือไม่ อย่างไร มีการใช้กระบวนควบคุมตรวจสอบนี้อย่างไร และ ควบคุมได้จริงหรือไม่
2
แนวคิดของบทบาทหน้าที่ของนักกฎหมาย
หน้าที่ต่อตนเอง หน้าที่ต่อลูกความ/ หน้าที่ต่อตัวความ หน้าที่ต่อสังคม
3
หลักจริยธรรมกฎหมาย ความรู้ความสามารถ Competence
การรักษาความลับ Confidentiality การขัดกันของผลประโยชน์ Conflict of Interest ความรับผิดชอบ Accountability
4
ระเบียบว่าด้วยมารยาททนายความ
5
ทนายความ ต้องมีพฤติกรรมอย่างไร? ภายใต้ข้อกำหนด มารยาททนายความ
มรรยาทต่อศาลและในศาล มรรยาทต่อตัวความ มรรยาทต่อทนายความด้วยกัน ต่อประชาชนผู้มีอรรถคดี และ อื่น ๆ มรรยาทในการแต่งกาย มรรยาทในการปฏิบัติตามคำสั่งตามกฎหมายและข้อบังคับ
6
มรรยาทต่อศาลและในศาล
ข้อ 5 ไม่รับหน้าที่เมื่อผู้พิพากษาได้ขอแรงให้เป็นทนายความแก้ ต่างในคดีอาญา เว้นแต่จะมีข้อแก้ตัวโดยสมควร ข้อ 6 ไม่เคารพยำเกรงอำนาจศาล หรือกระทำการใดอันเป็น การดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในศาล หรือนอกศาล อันเป็นการทำ ให้เสื่อมเสียอำนาจศาลหรือผู้พิพากษา ข้อ 7 กล่าวความ หรือทำเอกสารหรือหลักฐานเท็จ หรือใช้กล อุบายลวงให้ศาลหลง หรือกระทำการใดเพื่อทราบคำสั่ง หรือคำ พิพากษาของศาลที่ยังไม่เปิดเผย ข้อ 8 สมรู้เป็นใจโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อทำ พยานหลักฐานเท็จ หรือเสี้ยมสอนพยานให้เบิกความเท็จ หรือโดย ปกปิดซ่อนงำอำพรางพยานหลักฐานใด ๆ ซึ่งควรนำมายื่นต่อศาล หรือสัญญาจะให้สินบนแก่เจ้าพนักงาน หรือสมรู้เป็นใจในการให้ สินบนแก่เจ้าพนักงาน
7
มรรยาทต่อตัวความ ข้อ 9 กระทำการใดอันเป็นการยุยงส่งเสริมให้มีการฟ้องร้องคดีกัน ในกรณีอันหามูลมิได้ ข้อ 10 ใช้อุบายอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวต่อไปนี้ เพื่อจูงใจให้ ผู้ใดมอบคดีให้ว่าต่าง หรือแก้ต่าง (1) หลอกลวงให้เขาหลงว่าคดีนั้นจะชนะ เมื่อตนรู้สึกแก่ใจ ว่าจะแพ้ (2) อวดอ้างว่าตนมีความรู้ยิ่งกว่าทนายความคนอื่น (3) อวดอ้างว่าเกี่ยวเป็นสมัครพรรคพวกรู้จักคุ้นเคยกับผู้ใด อันกระทำให้เขาหลงว่าตนสามารถจะทำให้เขาได้รับผลเป็นพิเศษ นอกจากทางว่าความ หรือหลอกลวงว่าจะชักนำจูงใจให้ผู้นั้น ช่วยเหลือคดีในทางใด ๆ ได้ หรือแอบอ้างขู่ว่าถ้าไม่ให้ตนว่าคดีนั้น จะหาหนทางให้ผู้นั้นระทำให้คดีของเขาเป็นแพ้
8
มรรยาทต่อตัวความ ข้อ 11 เปิดเผยความลับของลูกความที่ได้รู้ในหน้าที่ของทนายความ เว้น แต่จะได้รับอนุญาตจากลูกความนั้นแล้ว หรือโดยอำนาจศาล ข้อ 12 กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวต่อไปนี้ อันอาจทำให้ เสื่อมเสียประโยชน์ของลูกความ (1) จงใจขาดนัด หรือทอดทิ้งคดี (2) จงใจละเว้นหน้าที่ที่ควรกระทำอันเกี่ยวแก่การดำเนินคดีแห่ง ลูกความของตน หรือ ปิดบังข้อความที่ควรแจ้งให้ลูกความทราบ ข้อ 13 ได้รับปรึกษาหารือ หรือได้รู้เรื่องกรณีแห่งคดีใดโดยหน้าที่อัน เกี่ยวข้องกับคู่ความฝ่ายหนึ่งแล้วภายหลังไปรับเป็นทนายความหรือใช้ ความรู้ที่ได้มานั้นช่วยเหลือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นปรปักษ์อยู่ในกรณี เดียวกัน
9
มรรยาทต่อตัวความ ข้อ 14 ได้รับเป็นทนายความแล้ว ภายหลังใช้อุบายด้วประการ ใด ๆ โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร เพื่อจะให้ตนได้รับ ประโยชน์นอกเหนือจากที่ลูกความได้ตกลงสัญญาให้ ข้อ 15 กระทำการใดอันเป็นการฉ้อโกง ยักยอก หรือ ตระบัดสินลูกความ หรือครอบครอง หรือหน่วงเหนี่ยว เงินหรือ ทรัพย์สินของลูกความที่ตนได้รับมาโดยหน้าที่อันเกี่ยวข้องไว้ นานเกินกว่าเหตุ โดยมิได้รับความยินยอมจากลูกความ เว้นแต่ จะมีเหตุอันสมควร
10
มรรยาทต่อทนายความด้วยกัน ต่อประชาชนผู้มีอรรถคดี
มรรยาทต่อทนายความด้วยกัน ต่อประชาชนผู้มีอรรถคดี ข้อ 16 แย่ง หรือทำการใดในลักษณะประมูลคดีที่มีทนายความอื่น ว่าต่างแก้ต่างอยู่แล้วมาว่า หรือรับ หรือสัญญาว่าจะรับว่าต่าง แก้ ต่างในคดีที่รู้ว่ามีทนายความอื่นว่าอยู่แล้ว เว้นแต่ (1) ได้รับความยินยอมจากทนายความที่ว่าความอยู่ใน เรื่องนั้นแล้ว (2) มีเหตุผลอันควรเชื่อว่าตัวความได้ถอนทนายความคน ก่อนจากการเป็นทนายความของเขาแล้ว หรือ (3) ทนายความผู้ว่าความในเรื่องนั้นปฏิเสธ หรือแสดง ความไม่สมัครใจที่จะว่าความในคดีนั้นต่อไปแล้ว
11
มรรยาทต่อทนายความด้วยกัน ต่อประชาชนผู้มีอรรถคดี
มรรยาทต่อทนายความด้วยกัน ต่อประชาชนผู้มีอรรถคดี ข้อ 17 ประกาศโฆษณา หรือยอมให้ผู้อื่นประกาศโฆษณาใด ๆ ดังต่อไปนี้ (1) อัตราค่าจ้างว่าความ หรือแจ้งว่าไม่เรียกร้องค่าจ้าง ว่าความ เว้นแต่การประกาศโฆษณาของทนายความเกี่ยวกับ การช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายซึ่งดำเนินการโดยสภา ทนายความเองหรือโดยสถาบัน สมาคม องค์การ หรือส่วน ราชการใดที่เกี่ยวข้อง หรือ (2) ชื่อ คุณวุฒิ ตำแหน่ง ถิ่นที่อยู่ หรือสำนักงาน อัน เป็นไปในทางโอ้อวดเป็นเชิงชักชวน ให้ผู้มีอรรถคดีมาหาเพื่อเป็นทนายความว่าต่าง หรือแก้ต่างให้ เว้นแต่การแสดงชื่อ คุณวุฒิ หรืออื่น ๆดังกล่าวตามสมควรโดย สุภาพ
12
มรรยาทต่อทนายความด้วยกัน ต่อประชาชนผู้มีอรรถคดี
มรรยาทต่อทนายความด้วยกัน ต่อประชาชนผู้มีอรรถคดี ข้อ 18 ประกอบอาชีพ ดำเนินธุรกิจ หรือประพฤติตนอันเป็นการฝ่า ฝืนต่อศีลธรรมอันดี หรือเป็นการเสื่อมเสียต่อศักดิ์ศรีและเกียรติคุณ ของทนายความ ข้อ 19 ยินยอมตกลง หรือให้คำมั่นสัญญาว่าจะให้ค่านายหน้า หรือบำเหน็จรางวัลใด ๆ ด้วยทรัพย์สินหรือประโยชน์ใด ๆ แก่ผู้ที่หา คดีความหรือนำคดีความมาให้ หรือมีคนประจำสำนักงาน ดำเนินการจัดหาคดีความมาให้ว่า โดยทนายความผู้นั้นคิดค่า ส่วนลดของค่าจ้างให้ หรือให้เงินเดือน หรือเงินจำนวนหนึ่งจำนวน ใด หรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างใด ๆ แก่ผู้ที่หาคดีความมาให้ นั้น แม้บุคคลผู้หาคดีความมาให้โดยลักษณะดังกล่าวจะเป็นเสมียน หรือลูกจ้างประจำสำนักงานของทนายความผู้นั้นก็ตาม
13
มรรยาทในการแต่งกาย ข้อ 20 ในเวลาว่าความ ทนายความจะต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ (1) ทนายความชาย แต่งตามแบบสากลนิยม เป็นชุดสีขาว หรือสีอื่นที่ไม่ฉูดฉาด เชิ้ตขาวผ้าผูกคอสีดำหรือสีอื่นที่สุภาพไม่ ฉูดฉาดแบบเงื่อนกะลาสี หรือแต่งเสื้อชุดไทยแบบแขนสั้นหรือยาว สีสุภาพไม่มีลวดลายแทนเสื้อชุดสากลก็ได้ รองเท้าหุ้มส้นสีขาว น้ำตาลหรือดำ ถุงเท้าสีคล้ายคลึงกับรองเท้า (2) ทนายความหญิง แต่งตามแบบสากลนิยม กระโปรงและ เสื้อสีสุภาพไม่ฉูดฉาด รองเท้าหุ้มส้น (3) ทนายความที่มีสิทธิแต่งเครื่องแบบราชการ จะแต่ง เครื่องแบบราชการก็ได้ (4) ในขณะว่าความ ทนายความที่มีสิทธิสวมเสื้อครุยเนติ บัณฑิต ต้องสวมเสื้อครุยนั้นด้วย
14
มรรยาทในการปฏิบัติตามคำสั่ง ตามกฎหมายและข้อบังคับ
ข้อ 21 ทนายความจะต้องปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ เป็นไปตามคำสั่งของสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ คณะกรรมการสภาทนายความ และคณะกรรมการมรรยาท ทนายความ ตลอดจนบรรดาข้อบังคับหรือข้อกำหนดที่บุคคล หรือคณะบุคคลดังกล่าวได้สั่งหรือมีไว้ แล้วแต่กรณี ตาม อำนาจห้าที่ซึ่งมีอยู่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
15
การควบคุมการปฏิบัติตามมรรยาททนายความ
ข้อ 4 ทนายความผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับข้อใด ข้อหนึ่งดังจะกล่าวต่อไปนี้ ให้ถือว่าทนายความผู้นั้นประพฤติ ผิดมรรยาททนายความ
16
สถานะการเป็นข้าราชการ
มุมมองจากกฎหมายปกครอง – การให้บริการสาธารณะ ผู้ให้บริการ มีสถานะตามกฎหมาย (ไม่อยู่ภายใต้กฎหมายแรงงาน) การใช้อำนาจ/หน้าที่ตามกฎหมาย การมีคณะกรรมการพิจารณาเกี่ยวกับข้อร้องเรียนและความดี ความชอบ เกี่ยวกับบุคคลากร – สถานะบุคคลากรภาครัฐ 16 ประเภท
17
ประเภทของข้าราชการไทย
1 ข้าราชการพลเรือน 1.1 ข้าราชการพลเรือนสามัญ 1.2 ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ 2 ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา 3 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 4 ข้าราชการฝ่ายทหาร 5 ข้าราชการตำรวจ 6 ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม 7 ข้าราชการฝ่ายอัยการ 8 ข้าราชการรัฐสภา
18
ประเภทของข้าราชการไทย
9 ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง 10 ข้าราชการฝ่ายศาลรัฐธรรมนูญ 11 ข้าราชการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 12 ข้าราชการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน 13 ข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร 14 ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด 15 ข้าราชการส่วนท้องถิ่น 16 ข้าราชการการเมือง
19
ประมวลจริยธรรมของอัยการ
20
หมวด 2 อุดมการณ์ของข้าราชการฝ่ายอัยการ และบุคลากรของสำนักงานอัยการสูงสุด
ข้อ 2 ข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากรของสำนักงาน อัยการสูงสุดต้องยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรมและยืนหยัด ทำในสิ่งที่ถูกต้องและเป็นธรรมในการอำนวยความยุติธรรมแก่ ประชาชนโดยเสมอภาค รักษาผลประโยชน์ของรัฐและ คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยต้องปฏิบัติหน้าที่ อย่างมีจิตสำนึกที่ดี ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ถูกต้อง เที่ยง ธรรม รอบคอบ รวดเร็ว โปร่งใส และตรวจสอบได้ เพื่อให้เป็นที่ เชื่อถือศรัทธาแก่ประชาชน
21
หมวด 3 จริยธรรมข้าราชการฝ่ายอัยการ
ข้อ 3 ข้าราชการฝ่ายอัยการต้องยึดมั่นในการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ข้อ 4 ข้าราชการฝ่ายอัยการต้องยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม ข้อ 5 ข้าราชการฝ่ายอัยการต้องมีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์สุจริต และ รับผิดชอบ ข้อ 6 ข้าราชการฝ่ายอัยการต้องยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติ เหนือกว่า ประโยชน์ส่วนตนและไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ข้อ 7 ข้าราชการฝ่ายอัยการต้องยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็น ธรรมและถูกกฎหมาย ข้อ 8 ข้าราชการฝ่ายอัยการต้องให้บริการแก่ประชาชนด้วยความ รวดเร็วมีอัธยาศัย และไม่เลือกปฏิบัติ
22
หมวด 3 จริยธรรมข้าราชการฝ่ายอัยการ
ข้อ 9 ข้าราชการฝ่ายอัยการต้องให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่าง ครบถ้วนถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ ข้อ 10 ข้าราชการฝ่ายอัยการต้องมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ ข้อ 11 ข้าราชการฝ่ายอัยการต้องยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพของ องค์กร ข้อ 12 ข้าราชการฝ่ายอัยการต้องไม่รับทรัพย์สินของกำนัลหรือ ประโยชน์อื่นใดโดยมิชอบด้วยกฎหมาย อันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ และจะต้องดูแลให้บุคคลในครอบครัวปฏิบัติเช่นเดียวกันด้วยการรับ ทรัพย์สินของกำนัลหรือประโยชน์อื่นใดที่พึงให้กันตามอัธยาศัยและ ประเพณีต้องมีมูลค่าไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในระเบียบแบบแผนของทาง ราชการ
23
หมวด 3 จริยธรรมข้าราชการฝ่ายอัยการ
ข้อ 13 ข้าราชการฝ่ายอัยการจะต้องไม่ยินยอมให้บุคคลใน ครอบครัวก้าวก่ายการปฏิบัติหน้าที่ของตนหรือของผู้อื่น และ จะต้องไม่ยินยอมให้ผู้อื่นใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตนแสวงหา ประโยชน์อันมิชอบ ข้อ 14 ข้าราชการฝ่ายอัยการต้องรักษาความลับของทาง ราชการและไม่เปิดเผยความลับแก่บุคคลใดซึ่งไม่มีอำนาจ หน้าที่ตามกฎหมายที่จะล่วงรู้ความลับนั้น
24
หมวด 4 จริยธรรมข้าราชการอัยการ
ข้อ 15 ข้าราชการอัยการต้องรักษาไว้ซึ่งอุดมการณ์แห่ง วิชาชีพและจริยธรรมนี้อย่างเคร่งครัด ไม่กระทำการใด ๆ อัน อาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ ข้อ 16 ข้าราชการอัยการต้องพิจารณาสั่งคดีด้วยความมีอิสระ และปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม ข้อ 17 ข้าราชการอัยการต้องไม่ประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพ หรือกระทำกิจการใดอันเป็นการกระทบกระเทือนถึงการปฏิบัติ หน้าที่ หรือเสื่อมเสียถึงเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ราชการ
25
หมวด 5 จริยธรรมข้าราชการธุรการ
ข้อ 18 ข้าราชการธุรการต้องรักษาไว้ซึ่งอุดมการณ์แห่งวิชาชีพ และจริยธรรมนี้อย่างเคร่งครัด ไม่กระทำการใดๆ อันอาจนำมาซึ่ง ความเสื่อมเสียถึงเกียรติศักดิ์แห่งตำแหน่งหน้าที่ราชการ ข้อ 19 ข้าราชการธุรการต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ ข้อ 20 ข้าราชการธุรการต้องสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี และต้องช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการระหว่างข้าราชการ ด้วยกัน และผู้ร่วมปฏิบัติราชการ ข้อ 21 ข้าราชการธุรการต้องวางตัวเป็นกลาง ละเว้นการมีส่วนร่วม ทั้งทางตรงและทางอ้อมในการกระทำอันอาจก่อให้เกิดความ เสียหายในการปฏิบัติหน้าที่
26
หมวด 5 จริยธรรมข้าราชการธุรการ
ข้อ 22 ข้าราชการธุรการต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้ ข้อ 23 ข้าราชการธุรการต้องส่งเสริมและสนับสนุนงานของ ข้าราชการอัยการให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว รวมถึงให้ความร่วมมือในการปรับปรุง และพัฒนาระบบงาน เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจสำเร็จลุล่วงได้อย่างมี ประสิทธิภาพเกิดผลสัมฤทธิ์ของงาน
27
หมวด 6 จรรยาข้าราชการฝ่ายอัยการ
ข้อ 24 ข้าราชการฝ่ายอัยการพึงหลีกเลี่ยงและละเว้นจากอบายมุขทั้ง ปวงหรือกระทำการอื่นใด ที่อาจนำไปสู่ความเสื่อมเสียต่อตนเอง ครอบครัว และสำนักงานอัยการสูงสุด ข้อ 25 ข้าราชการฝ่ายอัยการพึงให้ความร่วมมือในการประสานงาน ระหว่างศาล ตำรวจ ทนายความ เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานอื่น และประชาชน โดยมีเป้าหมายเพื่ออำนวยความยุติธรรมให้เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์และ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน ข้อ 26 ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการฝ่ายอัยการทุกระดับพึงปฏิบัติตน เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาในการจรรโลงและรักษาจริยธรรม ของข้าราชการฝ่ายอัยการ และพึงใช้ความรอบรู้ และเที่ยงธรรมในการ บริหารงานบุคคลให้เป็นไปตามหลักคุณธรรมเสมอ หมั่นส่งเสริมให้ ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมและสร้างเสริมจิตสำนึกใน การพัฒนาคุณธรรม ตลอดจนความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ต่อสำนักงาน อัยการสูงสุด
28
หมวด 6 จรรยาข้าราชการฝ่ายอัยการ
ข้อ 27 ข้าราชการฝ่ายอัยการซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา พึงดูแลเอาใจใส่ ผู้ใต้บังคับบัญชา ทั้งในด้านการปฏิบัติงาน ขวัญกำลังใจ สวัสดิการ และ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา ตลอดจนปกครอง ผู้ใต้บังคับบัญชาในระบบคุณธรรมการรายงานความดีความชอบของ ผู้ใต้บังคับบัญชา การโยกย้าย การเลื่อนชั้นให้ใช้ระบบคุณธรรม โดย พิจารณาถึงความซื่อสัตย์สุจริต ความรู้ ความสามารถผลงานดีเด่น และ ระบบอาวุโส เป็นเกณฑ์พิจารณา และให้คำนึงถึงพฤติกรรมทาง จริยธรรมของบุคคลดังกล่าวด้วย ข้อ 28 ข้าราชการฝ่ายอัยการพึงวางตนให้เหมาะสม ครองตนอย่าง พอเพียงสมฐานานุรูป ข้อ 29 ข้าราชการฝ่ายอัยการพึงพัฒนาตนให้มีบุคลิกภาพที่ดีงามและ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เหมาะสม ทั้งในขณะปฏิบัติหน้าที่และในการเข้า สังคม
29
หมวด 6 จรรยาข้าราชการฝ่ายอัยการ
ข้อ 30 ข้าราชการฝ่ายอัยการพึงเป็นผู้มีวิสัยทัศน์และพึงรับฟัง ความคิดเห็นของผู้อื่น ข้อ 31 ข้าราชการฝ่ายอัยการพึงพิทักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งปกป้อง คุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ข้อ 32 ข้าราชการฝ่ายอัยการพึงเอาใจใส่ดูแลรักษาสถานที่ทำงาน สถานที่พักอาศัยของทางราชการ และบริเวณสถานที่ดังกล่าวให้ สง่างามข้าราชการฝ่ายอัยการพึงถนอมรักษาทรัพย์สินของทาง ราชการให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ตลอดเวลา ข้อ 33 ข้าราชการฝ่ายอัยการพึงใฝ่หาความรู้ เพิ่มพูนความรู้และ ทักษะในการทำงาน ตลอดจนติดตามการพัฒนาทางกฎหมายอย่าง สม่ำเสมอ
30
หมวด 7 การรักษาจริยธรรม จรรยา และการลงโทษ
ข้อ 34 ข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตาม จริยธรรมข้อใดข้อหนึ่งในประมวลจริยธรรมนี้ ให้ถือว่า ข้าราชการฝ่ายอัยการผู้นั้นประพฤติผิดวินัยการดำเนินการ ทางวินัยและการลงโทษผู้ประพฤติผิดวินัยตามวรรคแรกให้ เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ ข้อ 35 ข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามจรรยา ข้าราชการฝ่ายอัยการให้ผู้บังคับบัญชามีอำนาจตักเตือนด้วย วาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ข้าราชการฝ่ายอัยการผู้ใดได้รับการ ตักเตือนเป็นหนังสือจากผู้บังคับบัญชาตามวรรคแรกแล้ว ประพฤติผิดจรรยาข้าราชการฝ่ายอัยการซ้ำอีก ให้ ผู้บังคับบัญชามีอำนาจออกคำสั่งตามที่เห็นสมควร
31
หมวด 8 จริยธรรมและจรรยาของบุคลาก
ข้อ 36 ให้นำความใน หมวด 3 หมวด 5 หมวด 6 และหมวด 7 มาใช้บังคับกับบุคลากรโดยอนุโลม ข้อ 37 การทำสัญญาจ้างปฏิบัติงานสำหรับบุคลากรนั้นให้มี ข้อกำหนดเกี่ยวกับจริยธรรมและจรรยาไว้ในสัญญา และให้ถือ ว่าการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจริยธรรมและจรรยาที่กำหนด เป็นเหตุบอกเลิกสัญญาด้วยบุคลากรผู้ใดถูกวินิจฉัยว่ากระทำ ผิดจริยธรรมหรือจรรยา สำนักงานอัยการสูงสุดอาจถือเป็น เหตุไม่ทำสัญญาจ้างบุคลากรผู้นั้นปฏิบัติงานในคราวต่อไปอีก ได้
32
ประมวลจริยธรรมผู้พิพากษา
9_s152.pdf df
33
หมวด 1 อุดมการณ์ของผู้พิพากษา
ข้อ 1 หน้าที่สำคัญของผู้พิพากษา คือ การประสาทความ ยุติธรรมแก่ผู้มีอรรถคดีซึ่งจักต้องปฏิบัติด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงธรรม ถูกต้องตามกฎหมาย และนิติประเพณีทั้งจัก ต้องแสดงให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนด้วยว่าตนปฏิบัติ เช่นนี้อย่างเคร่งครัดครบถ้วน เพื่อการนี้ผู้พิพากษาจักต้องยึด มั่นในความเป็นอิสระของตนและเทิดทูนไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่ง สถาบันตุลาการ
34
หมวด 2 จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในทางอรรถคดี
ข้อ 2 ผู้พิพากษาพึงตรวจสำนวนความและตระเตรียมการดำเนินกระบวน พิจารณาไว้ให้พร้อม ออกนั่งพิจารณาตรงตามเวลาและไม่เลื่อนการ พิจารณาโดยไม่จำเป็น ข้อ 3 ในการนั่งพิจารณาคดี ผู้พิพากษาจักต้องวางตนเป็นกลางและ ปราศจากอคติทั้งพึงสำรวมตนให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ แต่งกาย เรียบร้อย ใช้วาจาสุภาพ ฟังความจากคู่ความและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย อย่างตั้งใจ ให้ความเสมอภาค และมีเมตตาธรรม ข้อ 4 ผู้พิพากษาจักต้องพิจารณาคดีโดยไตร่ตรอง สุขุม รอบคอบ และ ไม่ชักช้าพึงตัดการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่จำเป็นออกเพื่อให้การ พิจารณาคดีเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ข้อ 5 ผู้พิพากษาจักต้องควบคุมการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลให้ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยทั้งจักต้องมิให้ผู้ใดประพฤติตนไม่สมควรใน ศาลบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องละเมิดอำนาจศาล พึงใช้ด้วยความระมัดระวัง และไม่ลุแก่โทสะ
35
หมวด 2 จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในทางอรรถคดี
ข้อ 6 ผู้พิพากษาจักต้องละเว้นการกล่าวถึงข้อเท็จจริงในคดีที่อาจกระทบกระเทือนต่อ บุคคลใด ไม่วิจารณ์หรือให้ความเห็นแก่คู่ความหรือบุคคลภายนอกเกี่ยวกับคดีที่อยู่ ระหว่างการพิจารณาหรือ กำลังจะขึ้นสู่ศาล แต่ผู้พิพากษาผู้มีอำนาจอาจแถลงให้ ประชาชนเข้าใจถึงวิธีพิจารณาความของศาลเมื่อมีเหตุผลสมควร ข้อ 7 การถ่ายภาพ ภาพยนตร์ บันทึกภาพหรือเสียง หรือการกระทำอย่างอื่นในทำนอง เดียวกันในการนั่งพิจารณาและพิพากษาคดีของศาลจะกระทำมิได้ เว้นแต่ผู้พิพากษา ตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาภาค และอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นขึ้นไปเป็นผู้อนุญาต เฉพาะในกรณีจำเป็นอย่างยิ่ง แต่พึงระมัดระวังมิให้เป็นที่เสื่อมเสียหรือกระทบกระเทือน ต่อการพิจารณาคดี คู่ความ พยานหรือบุคคลอื่นใด ข้อ 8 การเปรียบเทียบหรือไกล่เกลี่ยคดีจักต้องกระทำในศาล ผู้พิพากษาพึงชี้แจงให้ คู่ความทุกฝ่ายตระหนักถึงผลดีผลเสียในการดำเนินคดีต่อไป ทั้งนี้ จักต้องไม่ให้คำมั่น หรือบีบบังคับให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทุกฝ่ายยอมรับข้อเสนอใด ๆ หรือให้จำเลย รับสารภาพโดยไม่สมัครใจ และจักต้องไม่ทำให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งระแวงว่าผู้ พิพากษาฝักใฝ่ช่วยเหลือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง
36
หมวด 2 จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในทางอรรถคดี
ข้อ 9 ผู้พิพากษาพึงระลึกว่าการนำพยานหลักฐานเข้าสืบและการซักถามพยานควร เป็นหน้าที่ของคู่ความและทนายความของแต่ละฝ่ายที่จะกระทำ ผู้พิพากษาพึงเรียก พยานหลักฐานหรือซักถามพยานด้วยตนเองก็ต่อเมื่อจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความ ยุติธรรมหรือมีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ศาลเป็นผู้กระทำเอง ข้อ 10 การบันทึกคำเบิกความ ผู้พิพากษาจักต้องบันทึกเฉพาะข้อความในประเด็นข้อ พิพาท หรือเกี่ยวเนื่องกับประเด็นข้อพิพาท และต้องได้สาระถูกต้องครบถ้วนตามคำ เบิกความการบันทึกคำแถลงและรายงานกระบวนพิจารณา จักต้องให้ได้ความชัดแจ้ง และตรงตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ข้อ 11 ในการปรึกษาคดี ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนจักต้องตระเตรียมคดีนั้นล่วงหน้า อย่างถี่ถ้วน และจักต้องชี้แจงข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายต่อองค์คณะอย่างถูกต้อง ครบถ้วนผู้พิพากษาที่เป็นองค์คณะจักต้องร่วมพิจารณาให้ข้อคิดเห็นและเหตุผล ประกอบเสมือนหนึ่งตนเป็น เจ้าของสำนวนคดีเรื่องนั้นเอง ผู้พิพากษาที่ร่วมกัน พิจารณาคดีพึงเคารพในความคิดเห็นและเหตุผลของกันและกันทั้งนี้เพื่อให้ได้คำ วินิจฉัยชี้ขาดที่ถูกต้องและเที่ยงธรรม
37
หมวด 2 จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในทางอรรถคดี
ข้อ 12 เมื่อจะพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีเรื่องใด ผู้พิพากษาจักต้องละวางอคติทั้งปวง เกี่ยวกับคู่ความหรือคดีความเรื่องนั้น ทั้งจักต้องวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า และไม่เห็นแก่ หน้าผู้ใดคำพิพากษาและคำสั่ง จักต้องมีคำวินิจฉัยที่ตรงตามประเด็นแห่งคดี ให้ เหตุผลแจ้งชัดและสามารถปฏิบัติตามนั้นได้ การเรียงคำพิพากษาและคำสั่งพึงใช้ ภาษาเขียนที่ดี ใช้ถ้อยคำในกฎหมายใช้โวหารที่รัดกุมเข้าใจง่าย และถูกต้องตาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานข้อความอื่นใดอันไม่เกี่ยวกับการวินิจฉัยประเด็น แห่งคดีโดยตรงหรือไม่ทำให้การวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวชัดแจ้งขึ้นไม่พึงปรากฏอยู่ใน คำพิพากษาหรือคำสั่ง ข้อ 13 ในการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ผู้พิพากษาจักต้องควบคุมให้การ ออกหมาย หรือคำบังคับ ตรงตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง และจักต้องออกโดยพลัน ข้อ 14 ผู้พิพากษาพึงถอนตัวจากการพิจารณาและพิพากษาคดี เมื่อมีเหตุที่ตนอาจถูก คัดค้านได้ตามกฎหมาย หรือเมื่อมีเหตุประการอื่นที่เกี่ยวกับตัวผู้พิพากษา อันอาจทำ ให้การพิจารณาพิพากษาคดีนั้นเสียความยุติธรรม และจักต้องไม่กระทำการใด ๆ อัน เป็นการจูงใจผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาพิพากษาคดีนั้นในภายหลังในประการที่อาจทำให้ เสียความยุติธรรมได้
38
หมวด 3 จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในทางธุรการ
ข้อ 15 เพื่อให้งานธุรการของศาลมีประสิทธิภาพ ผู้พิพากษาจัก ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และอย่างเต็ม ความสามารถ ทั้งจักต้องควบคุมให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติ หน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และอย่างเต็มความสามารถ เช่นเดียวกัน ข้อ 16 ผู้พิพากษาจักต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการตามคำสั่งอันชอบ ด้วยกฎหมายของผู้บังคับบัญชาและตามลำดับชั้นของการบังคับ บัญชา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้ข้ามลำดับชั้นได้ ข้อ 17 ผู้พิพากษาจักต้องปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาด้วยความ เที่ยงธรรม และควบคุมให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามวินัยและ จริยธรรมโดยเคร่งครัดการรายงานความดีความชอบของผู้อยู่ใต้ บังคับบัญชาจักต้องตรงตามความเป็นจริงและการให้ความเห็น เกี่ยวกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจักต้องปราศจากอคติ
39
หมวด 3 จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในทางธุรการ
ข้อ 18 ผู้พิพากษาพึงสนับสนุนส่งเสริมผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาที่ ซื่อสัตย์สุจริต มีผลงานดีเด่น มีความรู้ความสามารถ และขยัน ขันแข็ง ทั้งจักต้องให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาซึ่ง ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยชอบ ข้อ 19 เมื่อปรากฏว่ามีการกระทำความผิดทางวินัยของผู้อยู่ใต้ บังคับบัญชาขึ้นผู้พิพากษาจักต้องรายงานผู้บังคับบัญชาทันทีโดย รายงานตามความเป็นจริง ทั้งจักต้องไม่ปกปิดเรื่องใด ๆ ที่ควร รายงาน กรณีตามวรรคหนึ่ง หากเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตน ผู้ พิพากษาจักต้องดำเนินการไปตามอำนาจหน้าที่นั้นโดยพลันใน กรณีที่ปรากฏว่ามีการละเมิดจริยธรรมในข้อสำคัญอันควรรายงาน ผู้พิพากษาพึงรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ
40
หมวด 3 จริยธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในทางธุรการ
ข้อ 20 ผู้พิพากษาพึงเอาใจใส่ดูแล และอนุเคราะห์ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาตามควรแก่กรณี ข้อ 21 ผู้พิพากษาพึงส่งเสริมความสามัคคีในระหว่างผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาและในหมู่ ข้าราชการ ข้อ 22 ผู้พิพากษาพึงเปิดโอกาสให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการ ปฏิบัติหน้าที่ราชการ และรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวที่ชอบด้วยเหตุผล ข้อ 23 ผู้พิพากษาจักต้องสอดส่องดูแลให้คู่ความ ทนายความ พยาน และประชาชนที่มา ศาลได้รับความเป็นธรรม ความสะดวกและการปฏิบัติอย่างมีอัธยาศัย ข้อ 24 ผู้พิพากษาจักต้องเอาใจใส่ดูแลศาลและบริเวณศาลให้มีศรีสง่า สมกับเป็นสถานที่ ประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรม ควบคุมดูแลทรัพย์สินทั้งหลายของทางราชการไว้เพื่อใช้ใน ราชการ ทั้งจักต้องถนอมรักษาทรัพย์สินดังกล่าวให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ ตลอดเวลา ข้อ 25 ผู้พิพากษาจักต้องรักษาความลับของทางราชการมิให้รั่วไหล และจักต้องไม่เปิดเผย ความลับแก่บุคคลใดซึ่งไม่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่จะล่วงรู้ความลับนั้น
41
หมวด 4 จริยธรรมเกี่ยวกับกิจการอื่น
ข้อ 26 ผู้พิพากษาจักต้องไม่เป็นกรรมการ ผู้จัดการ ที่ปรึกษา หรือ ดำรงตำแหน่งอื่นใดในห้างหุ้นส่วน บริษัท ห้างร้านหรือธุรกิจของ เอกชน เว้นแต่จะเป็นกิจการที่มิได้แสวงหากำไรผู้พิพากษาจักต้อง ไม่ประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพ หรือกระทำกิจการใด อันจะ กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือเกียรติศักดิ์ของผู้ พิพากษา ข้อ 27 ในกรณีจำเป็นผู้พิพากษาอาจได้รับมอบหมายหรือแต่งตั้ง จากหน่วยราชการหรือหน่วยงานอื่นของรัฐให้ปฏิบัติหน้าที่อัน เกี่ยวกับหน่วยราชการ หรือหน่วยงานนั้นได้ในเมื่อการปฏิบัติหน้าที่ ดังกล่าวไม่กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือเกียรติศักดิ์ ของผู้พิพากษา ทั้งจักต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานศาลยุติธรรม แล้ว เว้นแต่จะมีบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ หรือมติ ของ ก.ต.ระบุไว้เป็นอย่างอื่น
42
หมวด 4 จริยธรรมเกี่ยวกับกิจการอื่น
ข้อ 28 ผู้พิพากษาไม่พึงแสดงปาฐกถา บรรยาย สอน หรือเข้าร่วม สัมมนาอภิปรายหรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต่อสาธารณชน ซึ่งอาจ กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือเกียรติศักดิ์ของผู้พิพากษา และจักต้องไม่กระทำการดังกล่าวเพื่อผลประโยชน์ในทางธุรกิจการให้ ข่าวหรือข้อเท็จจริงในทางราชการของศาลยุติธรรมและสำนักงานศาล ยุติธรรม หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับทางราชการของศาลยุติธรรมหรือ สำนักงานศาลยุติธรรม จะกระทำ ได้ต่อเมื่อเป็นผู้รับผิดชอบในการให้ ข่าวหรือข้อเท็จจริงตามที่คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม หรือสำนักงานศาลยุติธรรมกำหนด ข้อ 29 ผู้พิพากษาไม่พึงเป็นกรรมการ สมาชิก หรือเจ้าหน้าที่ของ สมาคม สโมสรชมรม หรือองค์การใดๆ หรือเข้าร่วมในกิจการใดๆ อัน จะกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือเกียรติศักดิ์ของผู้พิพากษา
43
หมวด 4 จริยธรรมเกี่ยวกับกิจการอื่น
ข้อ 30 ผู้พิพากษาไม่พึงรับเป็นผู้จัดการมรดก ผู้จัดการทรัพย์สิน หรือ ผู้ปกครองทรัพย์ เว้นแต่เป็นกรณีที่ตัวผู้พิพากษาเองคู่สมรส ผู้บุพการี ผู้สืบสันดานของตน หรือญาติสืบสายโลหิต หรือเกี่ยวพันทางแต่งงาน ซึ่งผู้ พิพากษาถือเป็นญาติสนิทมีส่วนได้เสียในมรดก หรือทรัพย์นั้นโดยตรง ข้อ 31 ผู้พิพากษาจักต้องไม่รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนในการดำเนินคดีหรือรับเป็น ผู้เรียง ผู้เขียน ผู้พิมพ์คำคู่ความ คำร้อง คำขอ หรือคำแถลงในคดีใดๆผู้ พิพากษาจักต้องไม่รับปรึกษาคดีความ หรือเรื่องซึ่งอาจจะเป็นคดีความขึ้นได้ และไม่รับเป็นผู้ร่าง ผู้เขียน ผู้พิมพ์ หรือพยานในพินัยกรรมหรือนิติกรรมอื่น ใด ไม่ว่าเพื่อสินจ้างรางวัลหรือไม่ เว้นแต่เป็นกรณีที่ตัวผู้พิพากษาเอง คู่สมรส ผู้บุพการี ผู้สืบสันดานของตน หรือญาติสืบสายโลหิตหรือเกี่ยวพันทาง แต่งงาน ซึ่งผู้พิพากษาถือเป็นญาติสนิทมีส่วนได้เสียในคดีหรือเรื่องนั้น โดยตรง ข้อ 32 ผู้พิพากษาไม่พึงรับเป็นอนุญาโตตุลาการ หรือผู้ประนอมข้อพิพาท
44
หมวด 4 จริยธรรมเกี่ยวกับกิจการอื่น
ข้อ 33 ผู้พิพากษาจักต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ ข้อ 34 ผู้พิพากษาจักต้องไม่เป็นกรรมการ สมาชิก หรือ เจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง หรือกลุ่มการเมือง และจักต้องไม่เข้าเป็นตัวกระทำการ ร่วมกระทำการสนับสนุนในการ โฆษณาหรือชักชวนใดๆ ในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาหรือผู้แทนทางการเมืองอื่นใด ทั้งไม่พึงกระทำการใดๆ อันเป็นการฝักฝ่ายพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองใด นอกจากการใช้สิทธิเลือกตั้ง ข้อ 34/1 ผู้พิพากษาจักต้องไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการกระทบกระเทือนต่อการ ปฏิบัติหน้าที่หรือเกียรติศักดิ์ของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม คณะกรรมการ บริหารศาลยุติธรรมคณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม คณะอนุกรรมการบริหาร ศาลยุติธรรม คณะกรรมการสอบสวน คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีหน้าที่รายงานความดีความชอบ ตลอดจนอนุกรรมการหรือบุคคลที่ ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่จากคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมหรือการปฏิบัติหน้าที่ราชการอื่นใดตามที่ได้รับ มอบหมาย ในประการที่อาจทำให้ขาดความเป็นอิสระ หรือเสียความยุติธรรมได้
45
หมวด 5 จริยธรรมเกี่ยวกับการดำรงตนและครอบครัว
ข้อ 35 ผู้พิพากษาจักต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายอย่าง เคร่งครัด อยู่ในกรอบของศีลธรรม และพึงมีความสันโดษ ครองตน อย่างเรียบง่าย สุภาพ สำรวมกิริยามารยาท มีอัธยาศัย ยึดถือ จริยธรรมและประเพณีอันดีงามของตุลาการ ทั้งพึงวางตนให้เป็นที่ เชื่อถือศรัทธาของบุคคลทั่วไป ข้อ 35/1 ผู้พิพากษาไม่พึงร้องเรียน กล่าวหา ฟ้องร้อง หรือ ดำเนินคดีแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร ทั้งไม่พึงใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นการ ร้องเรียน กล่าวหา ฟ้องร้อง หรือดำเนินคดีแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด โดยอาศัยประโยชน์จากตำแหน่งหน้าที่ของตนจะกระทำมิได้ ข้อ 36 ผู้พิพากษาพึงปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้นเป็นลำดับและพึง ขวนขวายศึกษาเพิ่มเติมทั้งในวิชาชีพตุลาการและความรู้รอบตัว
46
หมวด 5 จริยธรรมเกี่ยวกับการดำรงตนและครอบครัว
ข้อ 37 ผู้พิพากษาจักต้องไม่ก้าวก่ายแทรกแซงหรือแสวงหาประโยชน์โดยมิ ชอบจากการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาอื่นหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการ กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาอื่นในการพิจารณา พิพากษาคดี ข้อ 38 ผู้พิพากษาจักต้องไม่ยินยอมให้บุคคลในครอบครัวก้าวก่ายการปฏิบัติ หน้าที่ของตน หรือของผู้อื่น และจักต้องไม่ยินยอมให้ผู้อื่นใช้ตำแหน่งหน้าที่ ของตนแสวงหาประโยชน์อันมิชอบ ข้อ 39 ผู้พิพากษาพึงยึดมั่นในระบบคุณธรรม และจักต้องไม่แสวงหาตำแหน่ง ความดีความชอบ หรือประโยชน์อื่นใดโดยมิชอบจากผู้บังคับบัญชา หรือจาก บุคคลอื่นใด ข้อ 39/1 ผู้พิพากษาไม่พึงขอรับเงินสนับนุนหรือประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงาน หรือบุคคลภายนอก ในประการที่อาจทำให้กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ ของศาลยุติธรรม เว้นแต่จะเป็นการดำเนินการ ตามระเบียบ คำสั่ง หรือมติว่าด้วยการนั้น
47
หมวด 5 จริยธรรมเกี่ยวกับการดำรงตนและครอบครัว
ข้อ 40 ผู้พิพากษาจักต้องระมัดระวังมิให้การประกอบวิชาชีพ อาชีพ หรือการ งานอื่นใดของคู่สมรส ญาติสนิทหรือบุคคลซึ่งอยู่ในครัวเรือนของตนมีลักษณะ เป็นการกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือเกียรติศักดิ์ของผู้พิพากษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความเชื่อถือศรัทธาของบุคคลทั่วไปในการประสาท ความยุติธรรมของผู้พิพากษา ข้อ 41 ผู้พิพากษาและคู่สมรสจักต้องไม่รับทรัพย์สินหรือประโยชน์ใด ๆ จาก คู่ความหรือจากบุคคลอื่นใดอันเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา และจักต้องดูแลให้บุคคลในครอบครัวปฏิบัติเช่นเดียวกันด้วย ข้อ 42 ผู้พิพากษาและคู่สมรสจักต้องไม่รับของขวัญของกำนัล หรือประโยชน์ อื่นใดอันมีมูลค่าเกินกว่าที่พึงให้กันตามอัธยาศัยและประเพณีในสังคม และจัก ต้องดูแลให้บุคคลในครอบครัวปฏิบัติเช่นเดียวกันด้วย ข้อ 43 ผู้พิพากษาจักต้องละเว้นการคบหาสมาคมกับคู่ความ หรือบุคคลอื่น ซึ่ง มีส่วนได้เสีย หรือผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับคดีความ หรือบุคคลซึ่งมีความ ประพฤติ หรือมีชื่อเสียงในทางเสื่อมเสีย อันอาจจะกระทบกระเทือนต่อความ เชื่อถือศรัทธาของบุคคลทั่วไปในการประสาทความยุติธรรมของผู้พิพากษา
48
การควบคุมตรวจสอบนักกฎหมายแต่ละประเภท
นักกฎหมายที่ออกกฎหมาย – ออกกฎหมายที่เป็นธรรม การ ตรวจสอบโดยศาลรัฐธรรมนูญ Judicial Review นักกฎหมายที่เป็นข้าราชการ – ควบคุมความประพฤติของ ข้าราชการ วินัยข้าราชการ นักกฎหมายที่ประกอบวิชาชีพอิสระ ทนายความ – ใบอนุญาตว่า ความ (องค์กรวิชาชีพ) การร้องเรียนและการสอบสวนความ ประพฤติและการตักเตือน เพิกถอนใบอนุญาต
49
สรุปหลักการทางจริยธรรมทางกฎหมาย
นักกฎหมายมีหลายประเภท ทั้งออกกฎหมาย ใช้กฎหมาย และ บังคับใช้กฎหมาย ความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อสังคม และต่อกฎหมาย/ต่อความ ยุติธรรม หลักจริยธรรม ที่ต้องดำเนินการภายใต้บทบาทของนักกฎหมายแต่ ละประเภท (ความรู้ความสามารถ, ความเป็นกลาง/เพื่อประโยชน์ ของลูกความ, ผลประโยชน์ขัดกัน, ความเป็นอิสระ, ความซื่อสัตย์, การรักษาความลับ) ระบบการควบคุมตรวจสอบ การเข้าสู่วิชาชีพกฎหมาย – การสอบเข้า การคัดเลือก
50
จากตัวบทเหล่านี้ ในแต่ละกลุ่ม มีความเห็นอย่างไร เมื่อนำมาพิจารณาต่อ หลักการ และทางปฏิบัติในความเป็นจริง แยกเป็นกลุ่ม 3 กลุ่ม ได้แก่ 1 ทนายความ 2 อัยการ 3 ผู้พิพากษา
51
การบ้าน กลับไปค้นคว้า แล้วส่งเป็นรายบุคคล ส่งวันจันทร์ 24 กย ใน ห้องเรียน ไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ ค้นคว้าและเลือกมาเพียงข้อเท็จจริง กรณีเดียว ที่เกี่ยวข้องกับ วิชาชีพนักกฎหมายประเภทใดประเภทหนึ่ง เพียงอาชีพเดียว ระบุว่าเป็นกรณีที่เกี่ยวข้องกับบทบัญญัติในเรื่องใด ระบุว่าบทบัญญัติในเรื่องนั้น อยู่ภายใต้หลักจริยธรรมเรื่องใด ปล.คราวหน้ามีเก็บคะแนนในห้องด้วย
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.