ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยKjell Bergman ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
การดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ในศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 2 07 ก.ค. 62 การดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ในศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
2
ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 2
การดำเนินคดีต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ผ่านมา คำว่า " เจ้าหน้าที่ของรัฐ " 07 ก.ค. 62 - ข้าราชการการเมือง เช่น คณะรัฐมนตรี ผู้บริหารใน องค์กรส่วนท้องถิ่น - ข้าราชการประจำ เช่น ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการ ตำรวจ ข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น รวมทั้งพนักงานลูกจ้างในองค์กร ของรัฐและรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น กฎหมายแบ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐออกเป็นหลายระดับ ได้แก่ ก) ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรี ข) ผู้บริหารระดับสูง เช่น ผู้บัญชาการหน่วย ผู้บริหารสูงสุดของหน่วยราชการ ค) ข้าราชการทั่วไป เช่น ข้าราชการตำแหน่งสูงกว่า ผู้อำนวยการขึ้นไป หรือ ต่ำกว่าผู้อำนวยการ
3
ลักษณะความผิดเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 2 07 ก.ค. 62 ลักษณะความผิดเจ้าหน้าที่ของรัฐ ความผิดทางวินัย ๕ สถาน ความผิดวินัยไม่ ร้ายแรง ได้แก่ ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดเงินเดือน ความผิดวินัย ร้ายแรง ได้แก่ ปลดออก ไล่ออก ความผิดทางแพ่ง ได้แก่ การชำระหนี้ และ ชดใช้ค่าเสียหาย ความผิดทางอาญา ได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน
4
ความรับผิดทางอาญาเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 2 07 ก.ค. 62 ความรับผิดทางอาญาเจ้าหน้าที่ของรัฐ บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอัน กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิด และ กำหนดโทษไว้สำหรับการกระทำความผิดนั้น การดำเนินคดีอาญาต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นไปตามป.วิ.อ. ซึ่งเป็น ระบบกล่าวหาเริ่มจากผู้เสียหายดำเนินการร้องทุกข์ หรือมีผู้ กล่าวโทษเกี่ยวกับการกระทำความผิดต่อพนักงานสอบสวน เพื่อให้มีการสืบสวนสอบสวนการกระทำดังกล่าวก่อนเสนอ ความเห็นต่อพนักงานอัยการเพื่อพิจารณาว่าเห็นควรสั่งฟ้อง หรือไม่ หากเห็นควรสั่งฟ้องพนักงานอัยการจะเป็น ผู้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญา หรือ มิฉะนั้นผู้เสียหายอาจเป็น โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลด้วย ตนเองได้ เช่นเดียวกับการดำเนินคดีอาญาต่อบุคคลทั่วไป การดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ ภายใต้กฎหมายที่ผ่านมายัง ขาดประสิทธิภาพในการที่จะนำเจ้าพนักงานของรัฐที่กระทำผิด มาลงโทษตามกฎหมาย
5
การดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในปัจจุบัน
ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 2 07 ก.ค. 62 การดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในปัจจุบัน ยังคงหลักการที่ว่าบุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญา ต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้น บัญญัติเป็นความผิด และกำหนดโทษไว้สำหรับการ กระทำความผิดนั้น กฎหมายวิธีพิจารณาความซึ่งเดิมใช้บังคับตาม ป.วิ.อ. ได้เปลี่ยนไปใช้ พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีของผู้ ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ฯ และพ.ร.บ.ว่าด้วยวิธี พิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบฯ ซึ่งเป็นระบบไต่ สวน และศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา ได้แก่ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมือง และศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
6
ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 2
07 ก.ค. 62 เมื่อมีการยื่นเรื่องกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบต่อ คณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือคณะกรรมการ ป.ป.ท. เพื่อทำหน้าที่ไต่สวนและชี้มูลความผิด หากเห็นว่าคดีมีมูลจะเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุด หรือประธานกรรมการ ป.ป.ช. หรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือพนักงานอัยการ ฟ้องคดีต่อศาลฎีกา แผนคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ แล้วแต่กรณี
7
ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 2
07 ก.ค. 62 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ แบ่งเป็นศาล อาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง และศาลอาญา คดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค โดยศาลอาญาคดีทุจริต และประพฤติมิชอบกลาง ได้ยกฐานะแผนคดีทุจริตและ ประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐในศาลอาญาขึ้นเป็น ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ซึ่งเปิดทำ การตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ เป็นต้นมา ส่วน ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติ มิชอบภาค ภาค ๑ ถึง ภาค ๙ โดยศาลอาญาคดีทุจริตและ ประพฤติมิชอบภาค ๑ , ๓ , ๔ , ๕ , ๖ , ๘ และ ๙ เปิดทำการตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๐ และศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิ ชอบภาค ๒ และ ๗ เปิดทำการตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๐
8
ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 2
07 ก.ค. 62 ที่ตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง และภาค ศาล อาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง กรุงเทพมหานคร ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค ๑ จังหวัดสระบุรี ศาลอาญา คดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค ๒ จังหวัด ระยอง ศาลอาญาคดี ทุจริตและประพฤติมิชอบภาค ๓ จังหวัดสุรินทร์ ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค ๔ จังหวัดขอนแก่น ศาลอาญาคดีทุจริต และประพฤติมิชอบภาค ๕ จังหวัดเชียงใหม่ ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค ๖ จังหวัดพิษณุโลก ศาลอาญาคดีทุจริตและ ประพฤติมิชอบภาค ๗ จังหวัดสมุทรสงคราม ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค ๘ จังหวัดนครศรีธรรมราช ศาลอาญาคดีทุจริต และประพฤติมิชอบภาค ๙ จังหวัดสงขลา
9
ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 2
07 ก.ค. 62 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค ๒ มีเขตอำนาจครอบคลุมพื้นที่ ๘ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี และ จังหวัดสระแก้ว บรรดาคดีที่อยู่ในเขตอำนาจพิจารณาพิพากษา ของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค ๒ ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลอาญาคดีทุจริต และประพฤติมิชอบกลาง หรือศาลชั้นต้นใดใน วันเปิดทำการของศาลอาญาคดีทุจริตและ ประพฤติมิชอบภาค ๒ ให้ศาลอาญาคดีทุจริต และประพฤติมิชอบกลางหรือศาลชั้นต้นนั้น แล้วแต่กรณีพิจารณาพิพากษาคดีที่ค้างอยู่ต่อไป จนเสร็จ
10
ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 2
การดำเนินคดีทุจริตและประพฤติมิชอบต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ 07 ก.ค. 62 ๑. " คดีทุจริตและประพฤติมิชอบ " คดีทุจริตและประพฤติมิชอบ มี ๒ ส่วน ได้แก่ คดีส่วนอาญา เช่น ความผิดต่อ ตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือต่อตำแหน่ง หน้าที่ในการยุติธรรม หรือการทุจริตและ ประพฤติมิชอบต่อหน้าที่ เป็นต้น และคดีส่วนแพ่งคดีร้องขอให้ ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะเหตุ ร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ผิดปกติ สำหรับคดีส่วนอาญาผู้กระทำความผิดมีได้ทั้ง ที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และบุคคลทั่วไป ส่วนคดีส่วนแพ่งเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ เท่านั้น ไม่รวมถึงบุคคลทั่วไป
11
ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 2
07 ก.ค. 62 ๒. การฟ้องคดี (คดีส่วนอาญา) - อัยการสูงสุด ประธานกรรมการ ป.ป.ช. พนักงานอัยการ คณะกรรมการ ป.ป.ช. - ผู้เสียหาย (ผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรง และเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย) - คดีที่หน่วยงานเป็นโจทก์ฟ้องต้องมีตัวจำเลยมาศาลในวันยื่นฟ้อง - ในชั้นตรวจฟ้อง ศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขฟ้อง หรือสั่งไม่รับฟ้องไว้พิจารณาหรือสั่งประทับฟ้องไว้เพื่อพิจารณา หรือพิพากษายกฟ้อง
12
ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 2
07 ก.ค. 62 ๓.คำให้การจำเลย เมื่อศาลมีคำสั่งประทับฟ้องแล้ว ถือว่ามีฐานะ เป็นจำเลย จำเลยอาจถูกขังระหว่างพิจารณา หรือ ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ก่อนเริ่มพิจารณาศาลต้องสอบถามจำเลยเรื่อง ทนายความ จำเลยให้การรับสารภาพ จำเลยให้การปฏิเสธ
13
ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 2
07 ก.ค. 62 ๔.การตรวจพยานหลักฐาน เฉพาะกรณีจำเลยไม่ให้การ หรือให้การ ปฏิเสธ คู่ความต้องยื่นบัญชีระบุพยาน และเปิดเผย พยานหลักฐานต่อศาล ให้คู่ความตรวจสอบว่าจะโต้แย้งหรือไม่ โต้แย้งพยานหลักฐานใดบ้าง เฉพาะพยานหลักฐานที่มีการโต้แย้งเท่านั้นจึง จะต้องมีการสืบพยาน ศาลเป็นผู้กำหนดแนวทางการพิจารณาและ สืบพยาน
14
ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 2
07 ก.ค. 62 ๕.การพิจารณา และสืบพยาน การพิจารณาและสืบพยานต้องกระทำโดยเปิดเผยต่อหน้า จำเลย ศาลมีอำนาจพิจารณาและสืบพยานลับหลังจำเลยได้บางกรณี เช่น จำเลยป่วยเจ็บหรือ มี เหตุจำเป็นอื่นอันไม่อาจก้าวล่วงได้ และจำเลยมีทนายและ จำเลยได้รับอนุญาตจากศาล ไม่ต้องมาศาล หรือจำเลย หลบหนีศาลออกหมายจับจำเลยแล้วแต่ยังไม่ได้ตัวมาศาล เป็นต้น จำเลยที่หลบหนีมิให้นำระยะเวลาดังกล่าวมานับรวมในอายุ ความ จำเลยที่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวแต่หลบหนีต้องรับ โทษทางอาญา กระบวนพิจารณาใช้ระบบไต่สวน โดยศาลมีหน้าที่ค้นหา ความจริง ส่วนคู่ความมีหน้าที่เพียงช่วยเหลือศาลในการ ค้นหาความจริง ต้องยึดสำนวนการสอบสวนหรือสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริง เป็นหลักในการแสวงหา ความจริง
15
ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 2
07 ก.ค. 62 ๖ .คำพิพากษา หรือคำสั่ง ริบทรัพย์สินแม้โจทก์ไม่มีคำขอให้ริบได้ ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินนั้นใช้ไม่ได้แทน การริบทรัพย์สิน หรือกำหนดมูลค่าสิ่งที่ ศาลจะสั่งให้ริบเป็นจำนวนเงินแทนการริบ ทรัพย์สินก็ได้ กรณีจำเลยหลบหนีไม่มาฟังคำพิพากษามิ ให้นำระยะเวลาที่หลบหนีมานับรวมในอายุ ความล่วงเลยการลงโทษ
16
๗. อุทธรณ์ และการขออนุญาตฎีกาต่อศาลฎีกา
ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 2 07 ก.ค. 62 ๗. อุทธรณ์ และการขออนุญาตฎีกาต่อศาลฎีกา ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและ ประพฤติมิชอบ ภายใน กำหนด ๑ เดือน นับแต่วันฟังคำพิพากษาหรือคำสั่ง จำเลยซึ่งไม่ได้ถูกคุมขังเป็นผู้อุทธรณ์จะยื่น อุทธรณ์ได้ต่อเมื่อแสดงตนต่อเจ้าพนักงานศาล ในขณะยื่นอุทธรณ์ มิฉะนั้นศาลอุทธรณ์ฯ สั่ง ไม่รับอุทธรณ์ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและ ประพฤติมิชอบเป็นที่สุด หากประสงค์จะฎีกาต้องยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกา ต่อศาลฎีกาอ้างเหตุเป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฎีกา ควรวินิจฉัย
17
ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 2
07 ก.ค. 62 ๘. การบังคับคดี บังคับเอากับทรัพย์สินอื่นที่ต้องชำระตาม มูลค่าสิ่งที่ศาลสั่งให้ริบมีกำหนดอายุความ ๑๐ ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.