การปฏิรูประเทศสมัยรัชกาลที่ 5

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การปฏิรูประเทศสมัยรัชกาลที่ 5"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การปฏิรูประเทศสมัยรัชกาลที่ 5
ระยะที่ 1 พ.ศ เช่น 1. พ.ร.บ. หอรัษฎากรพิพัฒน์ 2. พ.ร.บ. รัฐมนตรีสภาและองคมนตรีสภา 3. พ.ร.บ. การจัดการพระคลังทั้งปวง 4. พ.ร.บ. ตระลาการศาลรับสั่ง 5. พ.ร.บ. พิกัดกระเษียรอายุลูกทาษลูกไทย

2 การปฏิรูประเทศสมัยรัชกาลที่ 5 (ต่อ)
ระยะที่ 2 พ.ศ – 2453 1. การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง ได้แก่ -จัดตั้งกรมทั้งหมด 12 กรม และต่อมายกฐานะเป็นกระทรวง 2. การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค ได้แก่ -การจัดตั้งระบบเทศาภิบาล มีลักษณะการรวมอำนาจเข้าสู่ ศูนย์กลาง -จัดระบบเทศาภิบาลแบบใหม่ตามลำดับได้แก่ มณฑล เมือง (จังหวัด) อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน

3 พ.ศ จัดตั้งมณฑล 18 มณฑล โดยรวมจากเมืองอย่างน้อย 2 เมือง ขึ้นไปเป็น 1 มณฑล ดังนี้ มณฑลลาวเฉียงหรือมณฑลพลพายัพ มีเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง มณฑลลาวพวนหรือมณฑลอุดร มีศูนย์กลางอยู่ที่หนองคาย มณฑลลาวกาวหรือมณฑลอีสาน มีศูนย์กลางอยู่ที่จำปาศักดิ์ มณฑลเขมร หรือมณฑลบูรพา มีศูนย์กลางอยู่ที่พระตะบอง มณฑลลาวกลางหรือมณฑลราชสีมา มีศูนย์กลางอยู่ที่ นครราชสีมา มณฑลภูเก็ต มีศูนย์กลางอยู่ที่ภูเก็ต มณฑลพิษณุโลก มีศูนย์กลางอยู่ที่พิษณุโลก มณฑลปราจีนบุรี มีศูนย์กลางอยู่ที่ปราจีนบุรี

4 พ.ศ. 2449 จัดตั้งมณฑล 18 มณฑล (ต่อ)
9. มณฑลราชบุรี มีศูนย์กลางอยู่ที่ราชบุรี 10. มณฑลนครชัยศรี มีศูนย์กลางอยู่ที่นครปฐม 11. มณฑลนครสวรรค์ มีศูนย์กลางอยู่ที่นครสวรรค์ 12. มณฑลกรุงเก่า มีศูนย์กลางอยู่ที่อยุธยา 13. มณฑลนครศรีธรรมราช มีศูนย์กลางอยู่ที่นครศรีธรรมราช 14. มณฑลไทรบุรี มีศูนย์กลางอยู่ที่ไทรบุรี 15. มณฑลจันทบุรีมีศูนย์กลางอยู่ที่จันทบุรี 16. มณฑลปัตตานี มีศูนย์กลางอยู่ที่ปัตตานี 17. มณฑลชุมพร มีศูนย์กลางอยู่ที่ชุมพร 18. มณฑลกรุงเทพฯ มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงเทพมหานคร

5 แผนผังข้าราชการประจำหน่วยงานสมัยรัชกาลที่ 5
องค์กร ผู้บังคับบัญชา กระทรวง เสนาบดี มณฑลเทศาภิบาล ข้าหลวงเทศาภิบาลหรือ สมุหเทศาภิบาล เมือง      ผู้ว่าราชการเมือง  แขวง (อำเภอ)    หมื่น (นายอำเภอ)  ตำบล     พัน (กำนัน)  หมู่บ้าน ทนาย (ผู้ใหญ่บ้าน)

6 การปรับปรุงการศาลในสมัยรัชกาลที่ 5
1. ศาลในกรุง ให้ตั้งศาลโปริสภา สำหรับทำหน้าที่ เปรียบเทียบคดีความวิวาทของราษฎรที่เกิดขึ้นในท้องที่ และเป็นคดีที่มีโทษขนาดเบา ต่อมาศาลโปริสภาได้ เปลี่ยนเป็นศาลแขวง เมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ ศาลหัวเมือง หน้าที่สำคัญ 2 ประการคือ 2.1 จัดตั้งศาลยุตธรรมสำหรับพิจารณาคดีขึ้นตามหัวเมือง ทั้งปวงเสียใหม่ 2.2 ชำระสะสางคดีความที่ค้างอยู่ในศาลตามหัวเมืองต่าง ๆ ให้หมดสิ้นไป

7 การปรับปรุงการศาลในสมัยรัชกาลที่ 5
3. จัดแบ่งชั้นของศาล เพื่อให้ระเบียบการศาลยุติธรรมมี ความเป็นระเบียบเรียบร้อยเป็นหลักฐานมั่งคงยิ่งขึ้น ให้ ตราพระธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ขึ้นเมื่อ 1 มิถุนายนพ.ศ โดยแบ่งศาลออกเป็น 3 แผนก คือ 3.1 ศาลฎีกา 3.2 ศาลสถิตย์ยุติธรรมกรุงเทพฯ 3.3 ศาลหัวเมือง

8 รัชกาลที่ 5 ทรงปรับปรุงแก้ไขทางด้านกฎหมาย มีดังนี้
รัชกาลที่ 5 ทรงปรับปรุงแก้ไขทางด้านกฎหมาย มีดังนี้ 1.ได้จ้างชาวต่างประเทศที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายเข้ามารับ ราชการเป็นที่ปรึกษา เช่นดร.โรแลง ยัคมินส์ชาวเบลเยี่ยม ต่อมาได้รับการโปรด เกล้าฯ เป็นเจ้าพระยาอภัยราชาสยามมานุกูลกิจนายโตกีจิ มาซาโอะชาวญี่ปุ่น ต่อมาได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็นพระยามหิธรรมนู 2.ได้โปรดฯให้ตั้งกองร่างกฎหมายสำหรับทำหน้าที่ตรวจสอบชำระบรรดาพระราช กำหนดกฎหมายต่าง ๆ เพื่อให้ได้ตัวบทกฎหมายที่ทันสมัยตามแบบอารยประเทศ โดยมีกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์เป็นประธาน 3. ตั้งโรงเรียนสอนวิชากฎหมายขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ โดยมีกรม หลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้อำนวยการ ด้วยเหตุนี้ กรม หลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์จึงได้รับการว่าเป็นพระบิดาแห่งกฎหมายและการศาลไทย

9 รัชกาลที่ 5 ทรงปรับปรุงแก้ไขทางด้านกฎหมาย
4. ยกเลิกการลงโทษแบบจารีตนครบาล จากผลการปฏิรูปการศาลและการ ชำระกฎหมายให้ทันสมัย ทำให้การพิจารณาคดีแบบจารีตและวิธีลงโทษแบบ ป่าเถื่อนทารุณต่าง ๆ ได้ถูกยกเลิกไปโดยสิ้นเชิง

10 รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปการทหาร ดังนี้
ทรงเริ่มการฝึกทหารตามแบบยุโรป และปรับปรุงกองทัพดังนี้ 1. ปรับปรุงหน่วยทหารในกองทัพใหม่ จัดแบ่งออกเป็น กรม กอง เหล่า หมวด หมู่ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย พร้อมจัดอัตราเงินเดือนให้สอดคล้องกันและปรับปรุง อาวุธยุทธภัณฑ์ วิธีการฝึกตลอดจนเครื่องแบบให้ทันสมัยกำเนิดสถาบันกองทัพ 2. ตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารบก ตั้งกรมเสนาธิการทหารบกตั้งโรงเรียนแผนที่ตั้ง โรงเรียนนายเรือ 3. ส่งนักเรียนไปศึกษาวิชาการทหารในทวีปยุโรป อาทิ จอมพล สมเด็จพระ เจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครชัยศรีสุรเดช จบจากอังกฤษ เป็นเสนาธิการ ทหารบกคนแรกของไทย และพลเรือเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวง ชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จบจากอังกฤษ เป็นนักเรียน นายเรือพระองค์แรกของไทยและ เป็นพระบิดาแห่งกองทัพเรือไทย

11 รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปการทหาร (ต่อ)
4 . ตราพระราชบัญญัติการเกณฑ์ทหาร ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ 29 สิงหาคม พ.ศ สร้างเรือรบ อาทิ เรือพระที่นั่งจักรีเรือพาลีรั้งทวีป เรือสุครีพครองเมือง 6. สร้างป้อมพระจุลจอมเกล้า ป้อมปู่เจ้าสมิงพราย เพื่อป้องกันข้าศึกทาง ทะเล

12 ภาพชุดทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์รัชกาลที่ 5
ที่มา : สิงหาคม 2553

13 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

14 รัชกาลที่ 5 ทรงขยายกิจการตำรวจ
1. ขยายกิจการตำรวจนครบาล ให้มีจำนวนมากขึ้น เพื่อรักษาความสงบ เรียบร้อยภายในพระนคร ตั้งกรมตำรวจภูธรขึ้น เพื่อปราบปรามโจรผู้ร้ายและ ดูแลทุกข์สุข ของราษฎรในส่วนภูมิภาคตั้งกรมตำรวจภูบาลขึ้น เพื่อช่วยเหลือ ตำรวจภูธร 2. ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรขึ้น ณ จังหวัดนครราชสีมา ต่อมาย้ายมา ตั้งอยู่ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ จังหวัดนครปฐม

15 ผลการปฏิรูปประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5
1. ก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในราชอาณาจักร เป็นผลจากการปกครองส่วนภูมิภาคในรูปมณฑลเทศาภิบาล โดยมีศูนย์รวมอยู่ที่กรุงเทพฯ 2. รัฐบาลไทยที่กรุงเทพฯ สามารถขยายอำนาจเข้าควบคุมพื้นที่ ภายในพระราชอาณาจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 3. ทำให้กลุ่มผู้สูญเสียผลประโยชน์จากการปฏิรูปการปกครองพา กันก่อปฏิกิริยาต่อต้านรัฐบาลดังจะเห็นได้จากกบฏผู้มีบุญทาง ภาคอีสาน ร.ศ.121 กบฏเงี้ยวเมืองแพร่ ร.ศ.121 และกบฏแขก เจ็ดหัวเมือง แต่รัฐบาลก็สามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้

16 แบบทดสอบเก็บคะแนน 10 ข้อ 10 คะแนน
1. ข้อใดเป็นสาเหตุให้รัชกาลที่ 5 ต้องเร่งปฏิรูปการปกครองภายในประเทศ ก. การคุกคามของชาติมหาอำนาจตะวันตก ข. การกระตุ้นของขุนนางไทยในราชสำนัก ค. ความยากจนของราษฎรเพิ่มมากขึ้น ง. การเสด็จประพาสยุโรปถึง 2 ครั้ง 2. ข้อใดคือแนวพระราชดำริการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 ก. การกระจายอำนาจออกสู่ภูมิภาค ข.การให้อำนาจแก่เจ้าเมืองต่าง ๆ ให้มากขึ้น ค. การรวมอำนาจการปกครองเข้าสู่ส่วนกลาง ง.การให้เสนาบดีมีอำนาจตัดสินปัญหาแทนพระองค์

17 3. การปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีผลดีต่อประเทศ ไทยอย่างไร ก.ชาติตะวันตกไม่สามารถอ้างได้ว่าไทยล้าหลัง ข. ทำให้การเลิกทาสทำได้รวดเร็วขึ้น ค. กบฏตามหัวเมืองลดน้อยลง ง. คนไทยสามัคคีกันมากขึ้น 4. ข้อใดคือสภาแผ่นดินที่ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ทำหน้าที่เหมือน องคมนตรีในปัจจุบัน ก. รัฐสภา ข. รัฐมนตรีสภา ค. องคมนตรีสภา ง. อภิรัฐมนตรีสภา

18 5. ผู้ปกครองมณฑลในสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกว่าอะไร ก. ข้าหลวงราชมณฑล ข
5. ผู้ปกครองมณฑลในสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกว่าอะไร ก. ข้าหลวงราชมณฑล ข. เทศาภิบาลมณฑล ค. สมุหเทศาภิบาล ง. สมุหมณฑล 6. ข้อใดคือตำแหน่งเจ้ากระทรวงในสมัยรัชกาลที่ 5 ก. อัครมหาเสนาบดี ข. เสนาบดี ค. เจ้ากรม ง. อธิบดี

19 7. ผู้มีบทบาทในการปฏิรูปการศาลไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 คือใคร ก
7. ผู้มีบทบาทในการปฏิรูปการศาลไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 คือใคร ก. กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ข. กรมพระยาเทวะวงศ์ปโรวการ ค. กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ง. กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 8. ในสมัยรัชกาลที่ 5 รัฐบาลได้จ้างชาวเบลเยี่ยมคนใดมาเป็นที่ปรึกษา ทางกฏหมาย ก. เฮนรี่อาล บาสเตอร์ ข. มองสิเออร์ยอร์ชปาคู ค. ดร.โรแลง ยัคแมงส์ ง. โตกีจี มาเซา

20 9. มณฑลบูรพา หมายถึงดินแดนส่วนใด ก
9. มณฑลบูรพา หมายถึงดินแดนส่วนใด ก. ฝั่งขวาแม่น้ำโขงในส่วนตรงข้ามกับหลวงพระบาง ข. เขมรส่วนใน (พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ) ค. ฝั่งขวาแม่น้ำโขงในส่วนตรงข้ามกับจำปาศักดิ์ ง. ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (ประเทศลาว) 10. ข้อใดเรียงลำดับยศของขุนนางไทยไม่ถูกต้อง ก. หลวง/พระ/พระยา/เจ้าพระยา ข. ขุน /หมื่น /พัน / ทนาย ค. หลวง /ขุน/หมื่น /พัน ง. ทนาย/ พัน / หมื่น / หลวง


ดาวน์โหลด ppt การปฏิรูประเทศสมัยรัชกาลที่ 5

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google