งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ศาสนาคืออะไร ?. ศาสนาคืออะไร ? ความหมายของศาสนาในทัศนะพุทธทาสภิกขุ “ศาสนา คือ ระบบแห่งการสังเกตและปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความผูกพันกันระหว่างพระผู้เป็นเจ้ากับมนุษย์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ศาสนาคืออะไร ?. ศาสนาคืออะไร ? ความหมายของศาสนาในทัศนะพุทธทาสภิกขุ “ศาสนา คือ ระบบแห่งการสังเกตและปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความผูกพันกันระหว่างพระผู้เป็นเจ้ากับมนุษย์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1

2 ศาสนาคืออะไร ?

3 ความหมายของศาสนาในทัศนะพุทธทาสภิกขุ “ศาสนา คือ ระบบแห่งการสังเกตและปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความผูกพันกันระหว่างพระผู้เป็นเจ้ากับมนุษย์ การสังเกตนั้นคือปัญญา การปฏิบัตินั้นคือการกระทำหรือกรรม”

4 ความหมายของศาสนาในทัศนะอ
ความหมายของศาสนาในทัศนะอ.สุชีพ ปุญญานุภาพ 1) ศาสนาคือที่รวมแห่งความเคารพนับถืออันสูงส่งของมนุษย์ 2) ศาสนาคือที่พึ่งทางจิตใจ "มนุษย์ส่วนมากย่อมเลือกที่จะยึดเหนี่ยวตาม ความพอใจและตามความเหมาะสมแก่เหตุแวดล้อมของตน" 3) ศาสนาคือคำสั่งสอน "อันว่าด้วยศีลธรรมและอุดมคติสูงสุดในชีวิตของ บุคคล รวมทั้งแนวความเชื่อถือและแนวการปฏิบัติต่างๆกันตามคติของ แต่ละศาสนา"

5 ความหมายของศาสนาในทัศนะ อ.เดือน คำดี
"ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลักคือ แสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลกเป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้น ๆ"

6 ทำไมต้องมีศาสนา ?

7 1. ในการดำเนินชีวิตประจำวัน มนุษย์มีความจำเป็นต้องมีเกณฑ์ตัดสิน ที่จะวัดหรือจำแนกแยกแยะว่าอะไรดีอะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด อะไรควร อะไรไม่ควร 2. มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มิได้มีความต้องการทางด้านวัตถุแต่เพียงอย่าง เดียว แต่มนุษย์ยังมีความคิดและจิตใจที่จำเป็นจะต้องได้รับการ สนองตอบความต้องการอีกด้วย

8 3. ยิ่งมนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคมใหญ่เท่าใด มนุษย์ก็ยิ่งมีความต้องการ ศาสนามากขึ้นเท่านั้น 4. มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องการที่พึ่งพิงทางจิตใจและต้องการหลักประกัน ในการกระทำของตนเอง 5. ที่สำคัญที่สุดก็คือ ศาสนาเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์

9 เหตุเกิดศาสนา

10 การ ปฏิบัติทั้ง ส่วนตัว และ ส่วนรวม คนสัมผัส กับโลก ภายนอก
การ ยอมรับ และ ความ เชื่อ อารมณ์ ความ คิด กลุ่ม หนึ่ง การ คิด สถาบัน ศาสนา เหตุผล

11 สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง
1. การเกิดความคิดใหม่ๆ ของมนุษย์ 2. การนำความคิดใหม่ๆ มาปรับปรุง เพิ่มเติม และ ผสมผสาน เข้ากับความคิดเดิม 3. อิทธิพลของความรู้ใหม่ๆ ที่สามารถลบล้างความเชื่อแบบเดิมๆได้

12 วิวัฒนาการของศาสนา

13 1. การนับถือธรรมชาติ (Animatism)
สาเหตุที่ทำให้คิดว่าศาสนาบูชาธรรมชาติโดยตรง น่าจะเป็น ศาสนาเบื้องต้นของมนุษย์ก็เพราะว่า มนุษย์ในระยะเริ่มแรกยังไม่เจริญด้วย สติปัญญา ไม่สามารถจะคิดอะไรได้ลึกซึ้ง ดังนั้น ศาสนาของเขาจึงต้องมี ลักษณะง่ายๆ

14 2. การนับถือผีสางเทวดา (Animism)
วิวัฒนาการมาจากการนับถือธรรมชาติ เพราะมนุษย์เชื่อว่า ธรรมชาติเหล่านั้นที่เกิดการแปรผันไปได้ต่างๆในตัวของธรรมชาติเอง เกิดจากอำนาจอะไรอย่างหนึ่งสิงสถิตอยู่ อำนาจที่สามารถบันดาลให้เป็นไปได้นั้น เรียกว่า วิญญาณ (Spirit)

15 3. การบูชาบรรพบุรุษ (Ancestor Worship)
การที่มนุษย์มีการนับถือกราบไหว้บรรพบุรุษ ได้กลายเป็นมูลเหตุให้เกิดเทพเจ้าหรือพระเจ้าประจำตระกูล และพระเจ้าประจำครอบครัวขึ้นอีกประเภทหนึ่ง เทพเจ้าเหล่านั้น คือ ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษนั่นเอง

16 4. การนับถือเทพเจ้าหลายองค์ (Polytheism)
วิวัฒนาการของศาสนาในระดับพหุเทวนิยม ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์แห่งศาสนา เพราะเหตุผล 4 ประการ 4.1 เป็นขั้นที่ความเชื่อของมนุษย์ได้กลายเป็นศาสนาตามความหมายของคำว่า religion อย่างแท้จริง เพราะมีการเคารพบูชาเทพเจ้าอย่างเต็มที่ 4.2 ศาสนาประเภทพหุนิยมเคยเป็นศาสนาที่ครองโลกทั้งโลกมาแล้วในยุคหนึ่ง 4.3 สำหรับพุทธศาสนานั้น โดยหลักการแล้วเป็นศาสนาประเภท อเทวนิยม แต่ในทางปฏิบัติจริงๆก็มีองค์ประกอบทางพหุเทวนิยมผสมอยู่ 4.4 คริสต์ศาสนาเป็นเอกเทวนิยมโดยหลักการ แต่ในทางปฏิบัติ ชาวคริสต์บางนิกายก็ยังเคารพบูชาแม่พระและนักบุญต่างๆอีกด้วย

17 5. การนับถือพระเจ้าองค์หนึ่งของชนกลุ่มหนึ่ง (Henotheism) เมื่อมนุษย์เริ่มรวมกันเป็นพวก มีหัวหน้าควบคุม มนุษย์แต่ละหมู่แต่ละกลุ่มก็แบ่งหน้าที่ของเทพเจ้าออกไป ให้ควบคุมมนุษย์ไปแต่ละกลุ่ม ให้เป็นที่เคารพกราบไหว้ของมนุษย์แต่ละหมู่โดยเฉพาะ ไม่ปะปนกัน โดยกำหนดเอาฐานะของเทพเจ้าประจำกลุ่มนั้นๆ

18 6. การนับถือพระเจ้าองค์เดียว (Monotheism) นักปราชญ์ส่วนใหญ่เห็นว่า ศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ก็พัฒนามาจากศาสนาประเภทปัจเจกเทวนิยมนั้นเอง แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า เทพประจำเผ่าหรือประจำชาติทุกองค์จะต้องกลายเป็นพระเจ้าสากลทุกองค์ไป

19 เอกเทวนิยม 3 แบบ 1. เอกเทวนิยมแบบยิว มักจะมองพระเจ้าในแง่ของจริยธรรมเป็นหลัก สำคัญ 2. เอกเทวนิยมแบบกรีก มักจะมองพระเจ้าในฐานะเป็นแหล่งกำเนิด เป็นคำอธิบาย เป็นคู่ เป็นระเบียบ หรือเป็นความสมเหตุสมผลของโลก 3. เอกเทวนิยมแบบอินเดีย มองพระเจ้าในฐานะเป็นความจริงแท้เพียง หนึ่ง ทุกสิ่งรวมกันเป็นหนึ่งนั้นคือพระเจ้า ส่วนโลกและปรากฏการณ์ ทั้งปวงเป็นเพียงภาพมายาซึ่งไม่มีอยู่จริง

20 7. การนับถือศาสนาขั้นอเทวนิยม (Atheism) ศาสนาอเทวนิยมเป็นสาขาใหญ่อีกสาขาหนึ่งของศาสนาคู่กับศาสนาเทวนิยม ศาสนาอเทวนิยมก็คือ ศาสนาที่ไม่มีแนวคิด เรื่องพระเข้าผู้ยิ่งใหญ่สูงสุดองค์เดียว ซึ่งเป็นผู้สร้างและควบคุมชะตากรรมของเอกภพและมนุษย์ ศาสนาที่ยังมีอยู่ในปัจจุบันที่พอจะจัดเป็นอเทวนิยมได้ ก็คือ ศาสนาเชนกับพุทธศาสนา

21 ศาสนาอเทวนิยม 2 ประเภท ศาสนาฝ่ายอเทวนิยมที่มีคนนับถืออยู่ฝนปัจจุบันนี้มี 3 ศาสนา คือ ศาสนาเชน ศาสนาพุทธ และศาสนาขงจื้อ แต่ถ้าจะจัดเป็นประเภทใหญ่ๆก็มี 2 ประเภท คือ

22 1. ศาสนาอเทวนิยมเน้นจริยธรรมและปรัชญา หมายถึง ศาสนาที่เน้นความสำคัญของมนุษย์ เชื่อว่ามนุษย์พึ่งตนเองได้ สามารถนำตนไปสู้เป้าหมายระดับต่างๆได้ด้วยความพากเพียรพยายามของตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยการช่วยเหลือของพระเจ้า ศาสนาประเภทนี้มี 2 ศาสนา คือ พุทธศาสนาและศาสนาเชน

23 2. ศาสนาอเทวนิยมเน้นจริยธรรมอย่างเดียว ในปัจจุบันหมายถึง ศาสนาขงจื้อ เพราะ ศาสนาขงจื้อเน้นหนักในเรื่องจริยธรรมอย่างเดียว เช่น เรื่องการทำตนให้เหมาะสม ความจริงใจ ความซื่อสัตย์ ความรัก เราจะเห็นได้ว่า คุณธรรมต่างๆเหล่านี้ คือคุณธรรมพื้นๆที่มีสอนอยู่ในศาสนาทุกๆศาสนานั่นเอง

24 ศาสนาปัจจุบัน

25 ศาสนาในโลกมีมากมาย มีทั้งศาสนาที่ตายแล้วและศาสนาที่ยังเป็นอยู่ กล่าวคือ ศาสนาใดที่ไม่มีอิทธิพลต่อความเชื่อและการดำเนินชีวิตของคนก็จะเรียกว่า ศาสนาที่ตายแล้ว ส่วนศาสนาใดที่มีลักษณะตรงกันข้ามก็เรียกว่าศาสนาเป็นหรือศาสนาที่ยังมีชีวิตอยู่

26 ศาสนาที่ยังมีชีวิตอยู่ มีทั้งหมด 12 ศาสนา เรียงตามลำดับอายุกาลก่อน-หลัง ดังนี้ ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ศาสนายุดาหรือยิว ศาสนาปาร์ซีหรือโซโรอัสเตอร์ ศาสนาชินโต ศาสนาเต๋า ศาสนาเชน ศาสนาพุทธ ศาสนาขงจื้อ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาสิข และศาสนาบาไฮ

27 จะเห็นได้ว่าศาสนาพราหมณ์มีอายุมากที่สุด เกิดมาแล้วประมาณ 3500 ปี คือ เกิดเมื่อประมาณ ก่อน พ.ศ. ส่วนศาสนาบาไฮก็เป็นน้องใหม่ล่าสุด เกิดมายังไม่ถึง 200 ปี คือ เกิดเมื่อ พ.ศ เป็นที่น่าสังเกตว่า ศาสนาที่ชาวโลกทุกทวีปนับถือกันในปัจจุบันล้วนแต่เป็นศาสนาที่มีแหล่งกำเนิดในทวีปเอเชียทั้งสิ้น

28 กล่าวคือ ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ศาสนาเชน ศาสนาพุทธ และศาสนาสิข เกิดในประเทศอินเดีย ศาสนายูดาและศาสนาคริสต์เกิดในปาเลสไตน์และประเทศอิสราเอล ศาสนาอิสลามเกิดในประเทศซาอุดิอารเบีย ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาบาไฮเกิดในประเทศอิหร่าน ศาสนาเต๋าและศาสนาขงจื้อเกิดในประเทศจีน ส่วนศาสนาชินโตก็เกิดในประเทศญี่ปุ่น เรื่องนี้แสดงว่าในทวีปเอเชียมีความเจริญทางจิตใจมากก่อนทวีปอื่นๆ

29 ศาสนาที่ชาวโลกนับถือกันอยู่มี 12 ศาสนา ซึ่งแต่ละศาสนาก็มีจุดหมายเดียวกันคือ เพื่อพัฒนาจิตใจให้สูงส่ง เป็นคนดีมีคุณธรรม ก็ในบรรดาศาสนาทั้ง 12 ศาสนานั้น หากเราพิจารณาให้ดีก็จะเห็นได้ว่ามีความสัมพันธ์กันหมด ยิ่งกว่านั้นหากสืบสาวเข้าไปหาต้นตอก็จะพบว่าเป็นศาสนาเดียวกันบ้าง มีแหล่งกำเนิดเดียวกันบ้าง มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดบ้าง

30 อย่างเช่น ศาสนาพราหมณ์กับศาสนาโซโรอัสเตอร์ก็เคยเป็นศาสนาเดียวกัน เพราะเป็นศาสนาของพวกอารยันด้วยกัน ดังนั้นชื่อเทพเจ้า คัมภีร์และพิธีกรรมจึงตรงกันบ้าง คล้ายกันบ้าง เหตที่ไม่ตรงกันทั้งหมก็เพราะเมื่อไปอยู่ในประเทศต่างกัน ในสิ่งแวดล้อมต่างกัน เมื่อกาลผ่านไปนานๆก็เป็นธรรมดาที่จะต้องมีอะไรที่แผกแตกต่างกันไปบ้าง แต่ก็มีร่องรอยพอให้สืบค้นได้ว่ามาจากศาสนาเดียวกัน

31 ศาสนาในอนาคต

32 ลัทธิหรือศาสนาที่จะเกิดขึ้น
จะมีผู้คนจำนวนมหาศาล ที่ดูฉลาดและประสบความสำเร็จอย่างสูงในชีวิตแต่ ปล่อยให้ตนเองถูกกลืนเข้าไปในลัทธิศาสนาใหม่ๆ อย่างที่เคยมี ปรากฏ ราวปี ค.ศ จิม โจนส์ ผู้นำลัทธิศาสนาใหม่ ชื่อ People Temple นำคนอเมริกันอพยพไปอยู่ในอเมริกากลาง นำสาวกดื่มยาตายพร้อมๆกัน ทั้งหมู่บ้าน

33 นับตั้งแต่ วินาทีนี้ ไปจนถึงอนาคต เหล่า ลัทธิศาสนาใหม่ๆ เหล่านี้จะยังเกิดขึ้นตลอดเวลา ไม่ขาดสาย และมีอำนาจมากเสียด้วย ในปัจจุบัน จากการประมาณอย่างคร่าวๆ มีคนอเมริกาประมาณ 3 ล้านคน เข้าร่วมเป็นสมาชิกของลัทธิศาสนาใหม่กว่า พันกลุ่ม เช่น กลุ่มสหศาสนา (Unification Church) ภารกิจแห่งสวรรค์ (Divine Light Mission) กลุ่มฮาเรกริชนา ลูกพระกฤษณะ (Hare Krishana) และ กลุ่มเส้นทาง (the Way)

34 สาเหตุของ การเกิดลัทธิใหม่

35 1.) สำหรับคนเหงา ลัทธิศาสนาใหม่ จะพยายามสร้างมิตรภาพอันไม่มีขีดขั้นในหมู่สาวก บางลัทธิกล่าวว่า ถ้าคนเราเหงา โบสถ์จะเป็นเพื่อนให้กับเขา ให้การต้อนรับอย่างไมตรีจิต ลัทธิบางแห่งต้องมีการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน การได้รับรางวัลเช่นนี้จากลัทธิทำให้สมาชิกยินดี สละการติดต่อกับครอบครัวและเพื่อนเก่าๆ เพื่อบริจาคชีวิตให้กับนิกายใหม่ ซึ่งบางทีอาจจะนำไปสู่การใช้สารเสพติด หรือ แม้แต่การปฏิบัติทางเพศ

36 2.) ลัทธิใหม่นอกจากให้ที่ ชุมนุมแล้ว ยังเสนอหลักยึดเหนี่ยวอื่นๆ ที่จำเป็น เช่น มีการออกกฎเข้มงวดควบคุมความประพฤติ บางลัทธิ มีบทลงโทษชัดเจน ถึงขั้น เฆี่ยนตี ทรมานและกักขัง ผู้ที่รอดตายจากการฆ่าตัวตายหมู่ของพวก People Temple ได้เคยให้คำสัมภาษณ์ ไว้ว่า สังคมของเรามีอิสระและเสรีมากจนผู้คนมีทางเลือกมากเสียจนเขาเหล่านั้นไม่รู้จะเลือกอะไรดี เขาเลยต้องการให้ผู้อื่นตัดสินใจแทน และเขายินดีจะทำตาม

37 3.) สิ่งสุดท้ายที่ลัทธิเหล่านี้ใช้ล่อใจสาวก คือ ความหมายแห่งชีวิต แต่ละลัทธิจะเน้นจุดสำคัญเกี่ยวกับสัจธรรมทางศาสนา ทางการเมือง หรือทางวัฒนธรรม จุดใดจุดหนึ่ง ลัทธิเป็นเจ้าของสัจธรรมนั้น และคนภายนอกที่ไม่เข้าใจจะถือว่าเป็นพวกหลงผิด หรือ ปีศาจ สาวกใหม่จะถูกพร่ำสอนตลอดวัน ตลอดคืน จะมีการเทศนาแบบไม่หยุดหยั้ง จนกระทั่งสาวกซาบซึ้งในคำสอนเหล่านั้น

38 Credit By

39 Chatchawan Chingchai

40 Sakda Hitasiri

41 Oragarn Siltrakul

42 Siripon Ketsanoi

43


ดาวน์โหลด ppt ศาสนาคืออะไร ?. ศาสนาคืออะไร ? ความหมายของศาสนาในทัศนะพุทธทาสภิกขุ “ศาสนา คือ ระบบแห่งการสังเกตและปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความผูกพันกันระหว่างพระผู้เป็นเจ้ากับมนุษย์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google