ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
หลุยส์ ปาสเตอร์ Louis Pasteur
2
ประวัติ (Profile) หลุยส์ ปาสเตอร์(Louis Pasteur) เกิดเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ.1822 (พ.ศ.2365) ที่เมืองโดล ประเทศฝรั่งเศสเขาเป็นบุตรชายคนเดียวของ จัง โจเซฟ ปาสเตอร์(Jung Joseph Pasteur) ช่างฟอกหนัง เขาได้รับการเลี้ยงดูเป็นอย่างดีจากบิดา โดยเฉพาะในด้านการศึกษาจากโรงเรียนมีชื่อ และเมื่อเรียนจบวิชาสามัญ เขาก็ถูกส่งไปเรียนฝึกหัดครู ณ กรุงปารีส วิชาที่เขาสนใจมากที่สุดก็คือ เคมี วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เมื่อเรียนสำเร็จแทนที่เขาจะโดดไปเป็นครู เขากลับไปเป็นผู้ช่วยนักเคมีในห้องทดลอง เพื่อทำปริญญาดุษฎีบัณฑิตทางวิชาเคมีและฟิสิกส์ แล้วเขาก็ทำสำเร็จในปี ค.ศ.1847 (พ.ศ.2390)
3
ในปี ค.ศ. 1888 ปาสเตอร์ได้ก่อตั้งสถาบันปาสเตอร์
(Pasteur Institute) ขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จากนั้นสถาบันปาสเตอร์ก็ได้ก่อตั้งขึ้นอีกหลายแห่งในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทยด้วย โดยในประเทศไทยใช้ชื่อว่า สถานเสาวภา สถาบันปาสเตอร์ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ทดลองค้นคว้าเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคติดต่อชนิดต่าง ๆ เช่นโรคพิษสุนัขบ้า เป็นต้นโดยมีจุดมุ่งหมายให้เป็นประโยชน์ในการค้นคว้าทางเคมีให้เจริญกว้างขวางออกไป
4
หลุยส์ ปาสเตอร์ ได้ชื่อว่าเป็นผู้ก่อกำเนิดวิชาจุชีววิทยา
เขาเป็นผู้ค้นพบจุลินทรีย์ทั้งที่เป็นภัยและเป็นประโยชน์ ส่วนที่เป็นภัยก็ได้แก่ เชื้อโรคต่างๆ ส่วนที่เป็นประโยชน์ก็คือเชื้อบูดที่เรียกว่า ยีสต์ ที่ทำให้ขนมปังฟู หรือทำเบียร์ทำเหล้า เกี่ยวกับเชื้อโรคต่างๆ หลุยส์ ปาสเตอร์ ได้จำแนกลักษณะการแพร่พันธ์ รูปร่างและพิษร้ายของมัน เช่น อหิวาตกโรค,วัณโรค,บาดทะยัก,โรคคอตีบ(มักเป็นกับเด็ก),โรคกลัวน้ำ(พิษสุนัขบ้า) นอกจากนี้ยังคิดหาวิธีป้องกันและรักษาโรคระบาดที่เกิดกับสัตว์เลี้ยง
5
ประวัติการทำงาน ค.ศ.1848 (พ.ศ.2391) ได้เป็นศาสตราจารย์สอนวิชาเคมีอยู่ ณ มหาวิทยาลัย ที่เมืองซอร์มอนน์ ค.ศ.1852 (พ.ศ.2395) ได้เป็นผู้อำนวยการสถาบันอีโคเลนนอร์มาล ที่กรุงปารีส ค.ศ.1867 (พ.ศ.2410) ได้เป็นศาสตราจารย์สอนอยู่ที่ซอร์บอนนี
6
ผลงาน(working) ผลงานของ ปาสเตอร์นับว่าเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงและเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์ทั้งนั้นผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้ ปาสเตอร์ มีอยู่ 3 อย่าง นั้นก็คือ 1. วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า: เป็นโรคที่ทำให้คนตายไปพอสมควรและจากการพบวัคซีนนี้ทำให้ค้นพบวัคซีนรักษาโรค อีกมากมายเช่น อหิวาตกโรค วัณโรค และโรคคอตีบ นับว่าเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์เป็นอย่างมาก
7
2.จุลินทรีย์เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเน่าเสีย
ลักษณะการเสื่อมเสียของอาหารเนื่องจากจุลินทรีย์ การเกิดกลิ่นรสผิดปกติ (off-flavour) เช่น เกิดสารระเหยที่มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวและรสเปรี้ยวจากกรดอินทรีย์ กลิ่นแอลกอฮอล์ กลิ่นเหม็นเน่าเหมือนอุจจาระจากสาร indole กลิ่นแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) เกิดฟองแก๊ส การเปลี่ยนสี แบคทีเรียบางพวกสร้างรงควัตถุ(pigment) ได้สารพวกแคโรทีนอยด์ (carotenoids) และแบคทิริโอคลอโรฟิลดล์ (bacteriochlorophyll) การเกิดเมือก (slime or rope formers) การเกิดเมือกที่ผิวเกิดจากแบคทีเรียที่มีแคปซูล (capsule) ซึ่งเป็นสารพอลิแซ็กคาไรด์ (polysaccharide) เมื่อแบคทีเรียเจริญเพิ่มจำนวนมากขึ้นในอาหาร ทำให้อาหารเกิดลักษณะเป็นเมือก (slime) เหนียวยืด
8
3. วิธีการพาสเจอร์ไรซ์ คือกระบวนการทำลายเชื้อแบคทีเรียบางชนิดเพื่อป้องกันการเจริญของเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่น สำหรับนมที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อนี้จะมีคุณค่าสารอาหารเกือบเท่ากับ น้ำนมก่อนผ่านการฆ่าเชื้อ
9
บรรณานุกรม http://personworld.exteen.com/20140920/louis-pasteur
10
จัดทำโดย ด.ญ.พรชนก ศิริชัย ชั้น ม.4.1 เลขที่ 26
ด.ญ.พรชนก ศิริชัย ชั้น ม.4.1 เลขที่ 26 Pornchanok Sirichai M.4.1 No.26
11
ขอบคุณค่ะ Thank you
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.