งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 3 รูปแบบของธุรกิจขนาดย่อม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 3 รูปแบบของธุรกิจขนาดย่อม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 3 รูปแบบของธุรกิจขนาดย่อม
ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

2

3 ปัจจัยในการเลือกรูปแบบของธุรกิจขนาดย่อม
ความรับผิดต่อกิจการ ความยากง่ายในการก่อตั้งและเลิกกิจการ เงินทุนที่ต้องการ ความมั่นคงและความต่อเนื่องของการดำเนินงาน ความรับผิดต่อหนี้สิน ความคล่องตัวของการปฏิบัติการ การรักษาความลับ วิธีจัดสรรผลประโยชน์และการแบ่งภาระทางธุรกิจ การควบคุมจากรัฐบาล ปัจจัยด้านภาษี

4 รูปแบบของธุรกิจขนาดย่อมตามกฎหมาย
รูปแบบธุรกิจที่ไม่เป็นนิติบุคคล รูปแบบธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล

5 รูปแบบธุรกิจ กิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนสามัญ
เป็นนิติบุคคล (จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย) ไม่เป็นนิติบุคคล (อาจต้องจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติ ทะเบียนพาณิชย์) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด กิจการเจ้าของคนเดียว บริษัท จำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญ บริษัทมหาชน จำกัด องค์การธุรกิจที่จัดตั้ง หรือ จดทะเบียนภายใต้กฎหมายเฉพาะ รูปแบบธุรกิจตามกฎหมาย

6 กิจการเจ้าของคนเดียว(Sole Proprietorship)
การประกอบธุรกิจที่มีการลงทุนโดยคนๆ เดียว ดังนั้น หากมีกำไรหรือขาดทุนจากกิจการนั้น ก็ได้รับหรือ รับผิดชอบคนเดียว

7 ข้อได้เปรียบ ข้อเสียเปรียบ
1. การจัดตั้งทำได้ง่าย เหมาะกับ กิจการขนาดเล็ก 2. เจ้าของมีอิสระในการบริหาร จึงรักษาความลับได้ดี 3. เจ้าของเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลกำไร และ ขาดทุนทั้งสิ้นแต่ผู้เดียว 4. ความพึงพอใจสูงสุด ข้อได้เปรียบทางด้านภาษี(ภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดา) 6. ข้อบังคับทางกฎหมายไม่เข้มงวด(มีน้อย) การเลิกกิจการทำได้ง่าย การเข้าถึงลูกค้าได้ดีกว่า 1. เจ้าของธุรกิจต้องรับผิดชอบในหนี้สิน ไม่จำกัดจำนวน 2. อายุกิจการไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับคนที่ เป็นเจ้าของกิจการ 3. การจัดหาเงินทุนเพิ่มขึ้นทำได้ยาก 4. เมื่อกิจการขยายตัวขึ้น เจ้าของต้อง รับภาระในการทำงานมากขึ้น 5. ลูกจ้างมีโอกาสก้าวหน้าได้ค่อนข้าง จำกัด

8 การจดทะเบียนพาณิชย์ 1. ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์ 2. กิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ 2.1 ผู้ประกอบกิจการโรงสีข้าวและโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร 2.2 ผู้ประกอบกิจการขายสินค้า 2.3 นายหน้าหรือตัวแทนค้าต่าง 2.4 ผู้ประกอบกิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรม 2.5 ผู้ประกอบกิจการขนส่งทางทะเล

9 การจดทะเบียนพาณิชย์ 3. กิจการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
3.1 การค้าเร่ การค้าแผงลอย 3.2 กิจการเพื่อการบำรุงศาสนา หรือเพื่อการกุศล 3.3 กิจการของนิติบุคคล 3.4 กิจการของกระทรวง ทบวง กรม 3.5 กิจการของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ 3.6 กิจการซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา 3.7 ประกาศกระทรวงพาณิชย์ 4. สถานที่จดทะเบียน 4.1 กรุงเทพมหานคร 4.2 จังหวัดอื่นๆนอกเขตกรุงเทพมหานคร

10 การจดทะเบียนพาณิชย์ 5. กำหนดระยะเวลาการจดทะเบียน
5.1 จดทะเบียนพาณิชย์ใหม่ การเปลี่ยนแปลงรายการ เลิกประกอบกิจการ ใบทะเบียนพาณิชย์สูญหาย 6. หน้าที่ของผู้ประกอบกิจการ 6.1 ต้องขอจดทะเบียน ต้องแสดงใบทะเบียนพาณิชย์ 6.3 ต้องจัดให้มีป้ายชื่อ ต้องไปให้ 6.5 ต้องอำนวยความสะดวก 7. บทกำหนดโทษ 7.1 ประกอบกิจการโดยไม่จดทะเบียน 7.2 ใบทะเบียนสูญหาย ไม่ยื่นคำร้องขอรับใบแทนหรือไม่แสดงในที่เห็นได้ง่าย 7.3 ผู้ประกอบกิจการกระทำการฉ้อโกงประชาชน 7.4 ผู้ประกอบกิจการที่ถูกสั่งถอนใบทะเบียนพาณิชย์แล้ว

11 ห้างหุ้นส่วน(Partnership)
ความหมาย การดำเนินธุรกิจโดยการร่วมกันของกลุ่มบุคคล ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงที่จะดำเนินธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์ที่ จะแบ่งผลกำไรจากการดำเนินงาน แยกลักษณะความสำคัญดังนี้ ต้องเป็นสัญญาระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ต้องเป็นการตกลงเข้าทุนกัน ต้องมีการทำกิจการร่วมกัน ต้องมีความประสงค์ที่จะแบ่งกำไรที่ได้จากกิจการที่ทำนั้น

12 ประเภทของห้างหุ้นส่วน
ห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด

13 ห้างหุ้นส่วนสามัญ บุคคล 2 คนทำสัญญาลงทุนร่วมกัน เพื่อแบ่งกำไรร่วมกัน
(ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล) หุ้นส่วนทุกคนมีอำนาจบริหารกิจการ เว้นแต่ หุ้นส่วนคนอื่นทักท้วง มีการตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการ ตกลงไว้เป็นอย่างอื่น ผลกำไรขาดทุนแบ่งกันตามข้อสัญญา หุ้นส่วนทุกคนรับผิดชอบโดยไม่จำกัดจำนวน

14 ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญซึ่งจดทะเบียน (มีฐานะเป็นนิติบุคคล) หุ้นส่วนทุกคนมีอำนาจบริหารกิจการ เว้นแต่ หุ้นส่วนคนอื่นทักท้วง มีการตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการ ตกลงไว้เป็นอย่างอื่น ผลกำไรขาดทุนแบ่งกันตามข้อสัญญา หุ้นส่วนรับผิดชอบในการกระทำของหุ้นส่วนที่อยู่ภายใต้วัตถุประสงค์ของห้าง โดยไม่จำกัดจำนวน แต่เจ้าหนี้ของห้างฯ ต้องเรียกจากห้างฯ ก่อน

15 ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ห้างหุ้นส่วนที่มีการจดทะเบียน และมีหุ้นส่วนอยู่ 2 ประเภท 1. หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด 2. หุ้นส่วนพวกไม่จำกัดความรับผิด หุ้นส่วนจำกัด ไม่มีอำนาจบริหารกิจการ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด มีอำนาจจัดการห้างได้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด รับผิดไม่เกินจำนวนที่ตนรับจะลงทุนในห้างฯ เว้นแต่ ได้เข้าจัดการงานของห้างฯ และยอมเอาชื่อตนเป็นชื่อของห้างฯ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด ต้องรับผิดโดยไม่จำกัดจำนวน

16 การจดทะเบียน ยื่นซองขอจองชื่อห้างหุ้นส่วน กรอกรายละเอียด
เสียค่าธรรมเนียม รับหนังสือรับรอง

17 สิทธิของความรับผิดของหุ้นส่วน
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด สามารถโอนหุ้นได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนอื่น ความตาย การล้มละลายหรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถของผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ทำให้ห้างเลิกกิจการ หากตายการเป็นหุ้นส่วนของผู้ตายเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาท จะต้องลงหุ้นเป็นเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเท่านั้นจะลงหุ้นด้วยแรงงานไม่ได้ ไม่ให้เป็นผู้จัดการของห้าง ความรับผิดตามจำนวนเงินที่ลงหุ้น ไม่สามารถโอนหุ้นได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนอื่น ความตาย การล้มละลายหรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถของผู้เป็นหุ้นส่วนทำให้ห้างเลิกกิจการ การเป็นหุ้นส่วนเป็นการเฉพาะตัว สามารถลงหุ้นเป็นเงินหรือทรัพย์สินหรือ ลงหุ้นด้วยแรงงานก็ได้ เป็นผู้จัดการของห้างได้ ความรับผิดไม่จำกัดจำนวนเงิน

18 ข้อได้เปรียบของการประกอบธุรกิจห้างหุ้นส่วน
ง่ายต่อการจัดตั้ง หาเงินทุนได้ดีกว่ากิจการเจ้าของคนเดียว การรวมตัวของผู้มีความรู้ความสามารถต่างๆกัน การกระจายความเสี่ยง ความได้เปรียบด้านการเสียภาษี

19 ข้อเสียเปรียบของการประกอบธุรกิจห้างหุ้นส่วน
รับผิดในหนี้สินไม่จำกัดจำนวน มีอายุการดำเนินงานไม่ต่อเนื่อง โอกาสที่จะเกิดปัญหาการขัดแย้งมีมาก ขาดความคล่องตัวในการบริหารงาน การถอนหุ้นหรือโอนหุ้นทำได้ยาก

20 บริษัทจำกัด (Limited Company)
การประกอบธุรกิจที่มีการลงทุนตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป ทุนแบ่งเป็นหุ้นๆ ละไม่ต่ำกว่า 5 บาท ดังนั้น หากมีกำไรหรือขาดทุนจากกิจการนั้น ก็ได้รับหรือรับผิดชอบตามส่วนที่ร่วมทุน

21 บริษัทจำกัด กรรมการ เป็นผู้แทนบริษัท มีอำนาจบริหารกิจการภายในกรอบอำนาจและวัตถุประสงค์ของบริษัท ผู้ถือหุ้น มีอำนาจควบคุม และสามารถตรวจสอบบริษัทได้ โดย มีสิทธิ์แต่งตั้งถอดถอนกรรมการ มีสิทธิ์ตรวจสอบเอกสารหลักฐานของบริษัท มีสิทธิ์เลือกผู้สอบบัญชี ผู้ถือหุ้นจะมีความรับผิดจำกัดแค่ค่าหุ้นที่ได้จ่ายไป หรือที่ยังจ่ายไม่ครบเท่านั้น กรรมการ ไม่ต้องมีความรับผิดชอบใดๆ เว้นแต่ - ได้กระทำนอกขอบวัตถุประสงค์ของบริษัท หรือนอกอำนาจของกรรมการ

22 บริษัทมหาชนจำกัด (Public Company)
การประกอบธุรกิจที่มีการลงทุนโดยคนตั้งแต่ 15 คนขึ้นไปเพื่อทำกิจการร่วมกัน จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และเสนอขายหุ้นต่อประชาชน ดังนั้น หากมีกำไรหรือขาดทุนจากกิจการนั้น ก็ได้รับหรือรับผิดชอบตามส่วนที่ร่วมทุน

23 การจดทะเบียนบริษัทจำกัด
ยื่นซองขอจองชื่อบริษัท จัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด

24 การจดทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด มีวิธีการดำเนินการได้ 3 วิธี
บริษัทมหาชนจำกัดขึ้นใหม่ มีขั้นตอนดังนี้ ยื่นซองขอจองชื่อบริษัท จัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด การยื่นขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด การแปรสภาพบริษัทจำกัดเป็นบริษัทมหาชนจำกัด การควบบริษัทจำกัดเป็นบริษัทมหาชนจำกัด

25 การควบคุมและการจัดการงานบริษัท
ผู้ถือหุ้น ที่ประชุมใหญ่ กรรมการ ฝ่ายจัดการ ฝ่ายจัดการ พนักงาน

26 ข้อได้เปรียบของการประกอบธุรกิจแบบบริษัทจำกัด
หาเงินทุนทำได้ง่าย การรับผิดในหนี้สินจำนวนจำกัด การมีอายุอย่างไม่จำกัด เจ้าของหุ้นโอนกรรมสิทธิ์ได้ง่าย การกระจายความเสี่ยงได้ดี การบริหารโดยนักบริหารมืออาชีพ การขยายกิจการได้ขอบเขตที่กว้าง

27 ข้อเสียเปรียบของการประกอบธุรกิจแบบบริษัทจำกัด
มีข้อบังคับทางกฎหมายควบคุมอยู่มาก การขาดความจงรักภักดีของฝ่ายจัดการต่อบริษัท การเปิดเผยข้อมูล การเสียภาษีซ้ำซ้อน

28 จบบทที่ 3 แล้วจ้า ขอขอบคุณที่สนใจฟัง...


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 3 รูปแบบของธุรกิจขนาดย่อม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google