ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
กระบวนการยุติธรรมอาญาทางเลือก
โดย ผศ.ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
2
การปรับทรรศนะในการระงับข้อพิพาททางอาญา
ข้อพิพาทเกิดขึ้นกับ เหยื่อ – ผู้กระทำผิด – ผู้สนับสนุนทั้งสองฝ่าย – ครอบครัว – ชุมชน – รัฐ ต้องทำให้ข้อพิพาทยุติ ฟื้นฟูความสัมพันธ์ให้กับทุกฝ่าย ความยุติธรรมต้องมีอยู่ตลอดเวลา และทุกสถานที่ ขจัดข้อจำกัดจากรูปแบบของกระบวนการยุติธรรม จากความรับผิดชอบของ “รัฐ” สู่ “ชุมชน”
3
ปรัชญากระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์
ไม่มี “แพ้” ไม่มี “ชนะ” ไม่มี “เหนือกว่า” ไม่มี “ไม่มีด้อยกว่า” ไม่มี “ครอบงำ” ไม่มี “ถูกครอบงำ” เน้นการประสานความสัมพันธ์เกิดความเป็นหนึ่งเดียว ลดการผูกขาดกระบวนการยุติธรรมโดยรัฐ สู่ชุมชน เยียวยาเหยื่อ และผู้เสียหาย รวมถึงสังคม
4
การมองอาชญากรรมของ “เชิงสมานฉันท์”
อาชญากรรมไม่ใช่แค่ฝ่าฝืนกฎหมาย แต่เกิดความเสียหาย ไม่เน้นเพียง “ลงโทษ” แต่ ฟื้นฟูความเสียหายให้ทุกฝ่าย รัฐไม่ควรผูกขาดการดำเนินการทั้งหมด เหยื่อ ผู้กระทำผิด และชุมชน มีโอกาสหาทางออก ให้มีการ “ชดใช้” – “แก้ไขฟื้นฟู” – “กลับสู่สังคม” เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่ได้รับผลกระทบ
5
รูปแบบของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์
กระบวนการที่ทำให้เกิดความสมานฉันท์ - ควรเป็นกระบวนการที่ไม่เป็นทางการ - ส่งเสริมให้ผู้กระทำผิดสำนึก ชดใช้ ชุมชนเข้ามาร่วม - สร้างความปรองดองให้กับทุกฝ่าย ผลลัพธ์ที่ก่อ “ความสมานฉันท์” - “สำนึก” – “ปรับพฤติกรรม” – “ชดใช้ ชดเชย”
6
ข้อถกเถียงต่อกระบวนการยุติธรรมสมานฉันท์
ไม่ได้เอื้อประโยชน์ต่อเหยื่อ ไม่ได้ลดอัตราการเกิดอาชญากรรม เหยื่อกลัวถูกกระทำซ้ำ เหยื่อร่วมในการฟื้นฟูผู้กระทำผิดน้อย การตอกย้ำตราบาปต่อเหยื่อ ไม่เหมาะกับบางวัฒนธรรม การใช้แรงกดดันจากสังคมอาจเป็นอำนาจ ขยายเครือข่ายของรัฐ ไม่แก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ผู้ด้อยโอกาสเสี่ยงต่อการเสียสิทธิ มีการก้าวก่ายอำนาจอธิปไตยของสามฝ่าย ละเมิดสิทธิบุคคล ขาดแนวทางชัดเจน ทำให้ตรวจสอบในบางขั้นตอนได้ยาก
7
นำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้ตอนไหน
ชั้นตำรวจ ชั้นอัยการ - ช่วงรวบรวม (ชะลอการฟ้อง) - ช่วงดุลยพินิจ (ระงับฟ้อง หรือเลือกกระบวนการอื่น) ชั้นศาล หลังมีคำพิพากษา
8
กระบวนการยุติธรรมสมานฉันท์ใช้กับความผิดประเภทใด
ความผิดที่เด็กเป็นผู้กระทำ ความผิดจากความรุนแรงในครอบครัว ความผิดที่กระทำโดยประมาท ความผิดเล็กๆน้อยๆเพื่อหลีกเลี่ยงการจำคุกระยะสั้น ความผิดที่ยอมความกันได้ ความผิดร้ายแรง – สากลมีบ้าง เช่น ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา เป็นกระบวนการเสริม มิใช่ การทดแทนกระบวนการเดิม
9
ความสะดวกใจในการใช้กับประเทศไทย
การนำมาเสริมกระบวนการหลัก ให้หลากหลายขึ้น มิใช่การนำมาใช้แทนกระบวนการยุติธรรมเดิมทั้งหมด มิใช่เรื่องของฝรั่งที่เรา “ลอก” มาใช้กับไทย มิใช่เรื่องใหม่ แต่มีปรากฏอยู่ในอารยธรรมไทยอยู่แล้ว ไม่ใช่เรื่องทฤษฎีอย่างเดียว แต่พัฒนามาจากการปฏิบัติ การปรับให้สอดคล้องกับสังคม วัฒนธรรมท้องถิ่น
10
สาเหตุที่ต้องนำมาใช้เสริมกระบวนการยุติธรรม “เดิม”
ความล้มเหลวของกระบวนการเชิงแก้แค้นทดแทน “เดิม” - คดีล้นคุก ลงโทษแต่ละเลยเหยื่อ ใช้อำนาจคุม แตกร้าว กระบวนการยุติธรรมสมานฉันท์ได้รับความสำเร็จชัด นโยบายที่ต้องอิงหลักประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม การเปิดโอกาสให้สังคม และชุมชนมีส่วนร่วม มีตัวอย่างความสำเร็จใน การไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาท
11
ข้อสังเกตต่อการใช้กระบวนการยุติธรรมสมานฉันท์
วังวนความรุนแรง “แก้แค้นทดแทน” สังคมไทยมีการให้อภัยต่อคนบางกลุ่ม – เด็ก “เสรีนิยม” ทำให้ควบคุมความประพฤติคนได้ยาก สังคมอำนาจนิยม มีการใช้เส้นสายส่วนบุคคล ต้องการ “ชุมชนหน้าที่” แต่มีเพียง “ชุมชนพื้นที่” ความพร้อมของ “ทรัพยากร” ในการจัดการ
12
วิธีการระงับข้อพิพาทแบบสมานฉันท์
การประนีประนอมข้อพิพาทระหว่างคู่กรณี - ผู้ไกล่เกลี่ย การประชุมปรึกษาหารือในชุมชน - กลุ่มครอบครัว การระงับข้อพิพาทโดยการประชุมโต๊ะกลม การชดใช้ความเสียหาย การทำงานบำเพ็ญประโยชน์ * ไม่ตัดสิทธิในการใช้กระบวนการยุติธรรมแบบเดิม
13
กระบวนการยุติธรรมชุมชน
มาตรการหรือกระบวนการที่ทำในชุมชนระดับรากหญ้า ชุมชนมีส่วนร่วมหรือเป็นหุ้นส่วนสำคัญ ป้องกันและควบคุมความไร้ระเบียบของชุมชน แก้ไขความขัดแย้ง เยียวยาความรุนแรง คืนผู้กระทำผิดสู่ชุมชน โดยชุมชน - ลดการพึ่งพิงสถาบันรัฐ กิจกรรมเชิงรุกมากกว่าตั้งรับปัญหา สร้างความยุติธรรม เข้มแข็งแก่สังคม พัฒนาคุณภาพชีวิต
14
ทฤษฎี เครื่องมือ และวัฒนธรรมในการควบคุม
ทฤษฎีการควบคุมอาชญากรรมสังคมวิทยาอาชญากรรม บรรทัดฐาน – วิถีประชา จารีต ศีลธรรม กฎหมาย การควบคุม (การขัดเกลาสมาชิกให้ปฏิบัติตาม) - วิธีการ – วิธีเชิงบวก , วิธีเชิงลบ - ระดับ – ปัจเจกชน , องค์การ, สังคม - รูปแบบ – แบบเป็นทางการ , แบบไม่เป็นทางการ
15
ทฤษฎี เครื่องมือ และวัฒนธรรมในการควบคุม
ทฤษฎีว่าด้วยยุติธรรมชุมชน การเสริมพลังและการมีส่วนร่วมของชุมชน ทฤษฎีหน้าต่างชำรุด – การลุกลามจากเล็กไปใหญ่ ทฤษฎีแก้ปัญหา - สร้าง “หุ้นส่วน” ในการแก้ปัญหา , พยามแก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้นที่เงื่อนไขของปัญหา ให้ความสำคัญกับสภาพทางภูมิศาสตร์ - ชุมชนแทนคุก
16
ทฤษฎี เครื่องมือ และวัฒนธรรมในการควบคุม
ทฤษฎีนโยบายภาครัฐและการบริหารจัดการ การถ่ายโอนภารกิจความรับผิดชอบจากภาครัฐสู่เอกชน แนวคิดชุมชนนิยม เปลี่ยนบทบาทจากรัฐสวัสดิการสู่รัฐจัดระเบียบ แปลงความขัดแย้งให้เป็นทรัพย์สิน - เปิดโอกาสให้เหยื่อเข้ามีส่วนร่วมในชีวิตมากขึ้น
17
ทฤษฎี เครื่องมือ และวัฒนธรรมในการควบคุม
ทฤษฎีการไกล่เกลี่ยของคู่ความ 2 แบบ คือ ทฤษฎีการแข่งขัน – ผู้เจรจาหรือจัดการที่มีประสิทธิภาพทำให้เกิดการแบ่งปันทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทฤษฎีการแก้ปัญหา – แยกสัมพันธ์ส่วนตัวออกจากปัญหาภาพรวมแล้วแก้แต่ละปัญหา เน้นการผสานประโยชน์ของคู่กรณี คิดหาหลากหลายวิธีในการแก้ปัญหา แสวงหาทางเลือกที่ดีที่สุดในการเจรจาตกลง
18
แนวคิดยุติธรรมชุมชนในสังคมไทย
การเลือกผู้ปกครองจากผู้มีคุณธรรมสูงสุด ผู้ปกครองต้องมี “ศีล5” และต้องตัดสินคดี “ตามเทศกาลบ้านเมือง” กฎ หรือกฎหมาย ที่ใช้ ต้องมีความศักดิ์สิทธิ์ การยอมรับความเชื่อ ผี มาเป็นอำนาจในการออกกฎหมาย นำไสยศาสตร์มาเป็นเครื่องมือในการแก้ไขความขัดแย้ง การป้องกัน ปราบปรามอาชญากรรมเป็นหน้าที่ทุกคน
19
แนวคิดยุติธรรมชุมชนในสังคมไทย
การใช้หลักเมตตาธรรมต่อผู้กระทำความผิด การปรับใช้กฎหมายต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมตามธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงความคิดด้านกระบวนการยุติธรรมมาสู่ปัจจุบัน ทุนทางสังคมไทยเกี่ยวกับยุติธรรมชุมชนไทย - รัฐ – ผูกโยง รัฐ ชุมชน กฎธรรมชาติกับกระบวนการยุติธรรม เป็นหน้าที่ของทุกคน ผูกโยงกับกฎหมายบ้านเมือง - ท้องถิ่น ขึ้นกับวัฒนธรรมแต่ละถิ่น แต่ละชนเผ่า เชื้อชาติ
20
การประยุกต์แนวคิดยุติธรรมชุมชนในไทย
ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ – ความรู้ บริการ ประชาสัมพันธ์ อบรม อัยการ – คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ การประนอมข้อพิพาทหมู่บ้าน ศาลยุติธรรม – ศูนย์ระงับข้อพิพาท/การให้ผู้นำชุมชนไกล่เกลี่ย ศาลเยาวชนและครอบครัว – ผู้พิพากษาสมทบ กรมพินิจเด็กฯ กรมคุมประพฤติ – อาสาสมัครคุมประพฤติ เครือข่ายชุมชนฟื้นฟูผู้กระทำความผิด 3จว.ชายแดนใต้ เครือข่ายยาเสพติด กรมคุ้มครองสิทธิฯ – อาสาสมัคร ระงับข้อพิพาท เครือข่ายฯ
21
ปัจจัยความสำเร็จของยุติธรรมชุมชนในสังคมไทย
ทิศทางพัฒนากิจการยุติธรรมในอนาคตเน้นเยียวยา ฟื้นฟู การบริหารจัดการกิจการยุติธรรมโดยมีแผนแม่บทชัดเจน สร้างปัจจัยเงื่อนไขส่งเสริม ยุติธรรมชุมชน – แบบจำลอง ความร่วมมือ ตัวกลาง ภารกิจชุมชน คุณลักษณะของชุมชน – จิตสำนึก เครือข่าย คุณค่า กฎหมาย – ส่งเสริมและรองรับ สนับสนุนท้องถิ่น
22
กระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน
Pablo de Greiff and Roger Duthie, Transitional Justice and Development: Making Connection, (New York: Social Science Research Council, 2009. การสร้างความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านจำเป็นต้องอาศัยปัจจัย 5 ประการ ได้แก่ การแสวงหาความจริง การดำเนินคดี การชดเชยและเยียวยา การปฏิรูปสถาบัน การปรองดอง
23
1. การแสวงหาความจริง (Truth seeking)
การแสวงหาความจริง (Truth seeking) ทั้งในด้านของรัฐและด้านของประชาชน เพื่อให้เกิดการวิเคราะห์และตัดสินเชิงคุณค่าเกี่ยวกับการกระทำของฝ่ายต่างๆ ได้ และยังเป็นพื้นที่ให้แต่ละฝ่ายได้บอกกล่าว (Speaking out) เพื่อลดความคับข้องใจด้วย และที่สำคัญคือ ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดนั้น ความจริงต้องปรากฏเสียก่อน
24
2. การดำเนินคดี (Prosecution)
25
3. การชดเชยและเยียวยา (Reparation)
26
4. การปฏิรูปสถาบัน (Institutional reform)
27
5. การปรองดอง (Reconciliation)
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.