ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ชั้นประถมศึกษาปีที่1-4
การทดสอบการอ่านออกเขียนได้ ชั้นประถมศึกษาปีที่1-4 23-24 กุมภาพันธ์ 2560 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต1
2
23 กุมภาพันธ์ 2560 3 ชม. 30 นาที พัก30 นาที 30 นาที 30 นาที พัก30 นาที
40 นาที ฉบับที่ ๑ การอ่านออกเสียง ให้ดำเนินการสอบให้แล้วเสร็จภายในช่วงเช้าเท่านั้น
3
24 กุมภาพันธ์ 2560 3 ชม. 3 ชม. 45 นาที พัก 15 นาที 1 ชม. 1 ชม.
1ชม. 30 นาที ฉบับที่ ๑ การอ่านออกเสียง ให้ดำเนินการสอบให้แล้วเสร็จภายในช่วงเช้าเท่านั้น
4
หมายเหตุ ฉบับที่ 1 การอ่านออกเสียง ให้ดำเนินการสอบให้แล้วเสร็จภายในช่วงเช้าเท่านั้น โดยให้พิจารณาแต่งตั้ง กรรมการให้เหมาะสมกับจำนวนนักเรียนที่เข้าสอบ
5
การดำเนินการสอบ 1.ห้องสอบจัดห้องละไม่เกิน 35 คน กรรมการ 2 คนต่อห้อง
2.สลับกรรมการอย่างน้อย1คนจากต่างโรงเรียน 3.รายละเอียดกรรมการศึกษาจากเอกสารคู่มือการจัดสอบ
6
กล่องสติ๊กเกอร์สีขาว ป.๑
กล่องสติ๊กเกอร์สีเขียว ป.๒
7
กล่องสติ๊กเกอร์สีฟ้า ป.๔
กล่องสติ๊กเกอร์สีชมพู ป.๓
8
แบบทดสอบและเอกสารประกอบ สำนักทดสอบทางการศึกษาจัดพิมพ์ให้นักเรียนทุกคนโดยบรรจุ ข้อสอบลงกล่อง ตามจำนวนนักเรียนในแต่ละโรงเรียน แต่ละระดับชั้น ห้องสอบละ 35 ฉบับ (สนามสอบสามารถ เปิดวันสอบและบริหารตามจำนวนนักเรียนแต่ละห้องสอบได้ถ้านักเรียนแต่ละห้องไม่เกิน 35 คน) ภายในจะ ประกอบด้วย 1. ซองแบบทดสอบการอ่านออกเสียง 1 ซอง ภายในบรรจุแบบทดสอบ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ แบบทดสอบฉบับนักเรียน จำนวน 2 ชุด สำหรับให้นักเรียนอ่าน และแบบทดสอบฉบับกรรมการให้คะแนน จำนวน 35 ชุด
9
2.ซองแบบทดสอบการอ่านรู้เรื่อง 1 ซอง ภายในบรรจุแบบทดสอบการอ่านรู้เรื่อง 35 ชุด 3.ซองแบบทดสอบการเขียน 1 ซอง ภายในบรรจุแบบทดสอบฉบับนักเรียน จำนวน 35 ชุด และแบบทดสอบฉบับกรรมการ ในการอ่านคำให้นักเรียนเขียน 1ชุด 4.ซองสีน้ำตาลขยายข้าง A 4 จำนวน 1 ซอง (สำหรับสนามสอบบรรจุข้อสอบทั้ง 3 ฉบับ ที่ตรวจเรียบร้อยแล้วส่งให้กรรมการศูนย์เครือข่าย บันทึกคะแนน โดยให้ใส่ทั้ง ๓ ฉบับลงในซองเดียวกัน)
10
กล่องข้อสอบ/เอกสารประกอบการสอบ
11
5.คู่มือแบบทดสอบการอ่านออกเขียนได้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4ส่วนกลางจะพิมพ์ให้ตามจำนวน ห้องสอบ และเพิ่มเติมให้เขตพื้นที่การศึกษาละ 100 ชุด โดยจัดส่งคู่มือทั้งหมดให้เขตพร้อมกับแบบทดสอบ เพื่อให้ เขตบริหารจัดการ โดยการจัดประชุมชี้แจงหรือส่งคู่มือฯ ให้คณะกรรมการชุดต่างๆ ศึกษาก่อนวันสอบ 6. เฉลยข้อสอบ อ่านรู้เรื่อง และเกณฑ์การตรวจให้คะแนนการเขียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4ส่วนกลางจะพิมพ์ให้เขตพื้นที่การศึกษาละ 100 ชุด โดยจัดส่งให้เขตทั้งหมดสำหรับชี้แจงกรรมการตรวจให้คะแนน และใช้ประกอบในการตรวจให้คะแนน
12
การดำเนินการสอบ ในการดำเนินการสอบ ให้คณะกรรมการดำเนินการ ดังต่อไปนี้ 1. กรรมการกำกับการสอบรับแบบทดสอบก่อนการสอบไม่เกิน 30 นาที และดำเนินการสอบเปิดซอง แบบทดสอบ ตรวจสอบจำนวนแบบทดสอบให้ครบตามจำนวนนักเรียนในห้องสอบ 2. กรรมการกำกับการสอบศึกษาและทำความเข้าใจคำชี้แจง วิธีการสอบและเกณฑ์การให้คะแนน (โดยเฉพาะฉบับอ่านออกเสียงกรรมการต้องทำความเข้าใจเกณฑ์ให้คะแนนให้เข้าใจก่อนดำเนินการสอบ) 3. ให้กรรมการกำกับการสอบดำเนินการสอบแบบทดสอบแต่ละฉบับ โดยดำเนินการตามรายละเอียด ดังนี้
13
แบบทดสอบฉบับที่ ๑ การอ่านออกเสียง
ให้นักเรียนสอบอ่านออกเสียงเป็นรายบุคคล โดยให้กรรมการกำกับการสอบทั้ง ๒ ท่านจัดที่นั่งแยก ออกมาจากห้องสอบ และเรียกให้นักเรียนเข้ามาอ่านทีละ ๑ คน ๒) กรรมการกำกับการสอบ เขียนชื่อ สกุล โรงเรียน ห้องที่ เลขที่ ของนักเรียน ลงในแบบทดสอบการอ่านออก เสียงสำหรับกรรมการ สำหรับใช้ในการบันทึกผลการอ่านของนักเรียนแต่ละคน ๓) กรรมการแจกแบบทดสอบการอ่านออกเสียง (สำหรับนักเรียน) ให้นักเรียน พร้อมทั้งอธิบายคำชี้แจง ให้นักเรียนเข้าใจ ก่อนลงมืออ่านพร้อมกับจับเวลา
14
๔) กรรมการกำกับการสอบทั้ง ๒ ท่าน ร่วมกันฟังและพิจารณาใส่เครื่องหมาย / ในช่องคำที่นักเรียนอ่านถูก และใส่เครื่องหมาย × ในช่องคำที่นักเรียนอ่านผิด ๕) ให้เวลานักเรียนสอบอ่านออกเสียง สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๒ คนละไม่เกิน ๑๐ นาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓-๔ คนละไม่เกิน ๗ นาที เมื่อกรรมการดำเนินการสอบให้สัญญาณหมดเวลาแล้ว นักเรียนยัง อ่านไม่เสร็จ ให้นักเรียนหยุดอ่านทันที ๖) กรรมการดำเนินการสอบตรวจสอบความถูกต้องของคำที่นักเรียนอ่านทันที แล้วกรอกข้อมูลลงช่องบันทึก คะแนนอ่านออกเสียงของนักเรียนซึ่งจะอยู่ในส่วนท้ายของแบบทดสอบในแต่ละตอนตามเกณฑ์การให้คะแนน
15
๗) ให้นักเรียนคนถัดไปเข้ามาสอบอ่านต่อไป ๘) เมื่อสอบนักเรียนหมดทุกคนแล้ว ให้กรรมการเก็บรวบรวมแบบทดสอบเรียงตามลำดับเลขที่สอบ แล้ว นำบรรจุใส่ซองและนำส่งกรรมการบันทึกคะแนนต่อไป
16
แบบทดสอบฉบับที่ ๒ การอ่านรู้เรื่อง
กรรมการแจกแบบทดสอบให้นักเรียนทุกคน และให้นักเรียนเขียนข้อมูลส่วนบุคคล (ชื่อ สกุล โรงเรียน ห้องที่ เลขที่) ลงในแบบทดสอบ ๒) กรรมการอ่านคำชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจวิธีการทำข้อสอบใน แต่ละตอนก่อนลงมือสอบ (เฉพาะชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๒) สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ – ๔ ให้นักเรียนอ่านคำชี้แจงเอง
17
๓) เมื่อนักเรียนเข้าใจวิธีการทำข้อสอบแล้ว ให้นักเรียนลงมือทำในแบบทดสอบ กรรมการจับเวลา ๔) กรรมการบอกเวลา ๒ ครั้ง ครั้งที่ ๑ เมื่อเวลาสอบผ่านไปแล้วครึ่งหนึ่งของเวลาสอบ ครั้งที่ ๒ เมื่อ เหลือเวลาสอบ ๕ นาทีสุดท้าย ๕) เมื่อหมดเวลา ให้นักเรียนวางแบบทดสอบไว้บนโต๊ะ กรรมการเก็บรวบรวมแบบทดสอบเรียงตามลำดับ เลขที่สอบ แล้วนำบรรจุใส่ซองและนำส่งกรรมการตรวจให้คะแนนและบันทึกคะแนนต่อไป
18
แบบทดสอบฉบับที่ ๓ การเขียน
กรรมการแจกแบบทดสอบการเขียนสำหรับนักเรียนให้นักเรียนทุกคน และให้นักเรียนเขียนข้อมูลส่วน บุคคล (ชื่อ สกุล โรงเรียนห้องที่ เลขที่) ลงในแบบทดสอบ กรรมการอ่านคำชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจวิธีการทำข้อสอบในแต่ละตอนก่อนลงมือสอบ (เฉพาะชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๒) สำหรับชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๓ – ๔ ให้นักเรียนอ่านคำชี้แจงเอง
19
แบบทดสอบฉบับที่ ๓ การเขียน
เริ่มลงมือสอบ ตอนที่ ๑ การเขียนตามคำบอก ให้กรรมการเปิดแบบทดสอบการเขียนสำหรับกรรมการ อ่านคำที่กำหนดไว้ในแบบทดสอบ ให้นักเรียนเขียนพร้อมกัน โดยแต่ละคำให้กรรมการอ่านซ้ำ ๓ ครั้ง โดยให้มีระยะห่าง ของการอ่าน ๑๐-๑๕ วินาทีต่อครั้ง ให้เวลานักเรียนเขียนแต่ละคำ ไม่เกินคำละ ๑ นาที เมื่อสอบตอนที่ ๑ เสร็จแล้ว เริ่มจับเวลาสอบเมื่อให้นักเรียนลงมือสอบตอนที่ ๒ และตอนที่ ๓
20
๕) กรรมการบอกเวลา ๒ ครั้ง ครั้งที่ ๑ เมื่อเวลาสอบผ่านไปแล้วครึ่งหนึ่งของเวลาสอบ ครั้งที่ ๒ เมื่อเหลือเวลาสอบ ๕ นาทีสุดท้าย ๖) เมื่อหมดเวลา ให้นักเรียนวางแบบทดสอบบนโต๊ะ กรรมการเก็บรวบรวมแบบทดสอบเรียงตามลำดับ เลขที่สอบ แล้วนำบรรจุใส่ซองและนำส่งกรรมการตรวจให้คะแนนและบันทึกคะแนนต่อไป
21
การดำเนินการหลังสอบเสร็จ
3.กรรมการบันทึกคะแนนรับซองบรรจุแบบทดสอบ เพื่อนำมากรอกคะแนนในไฟล์Excel ที่สพฐ.จัดส่งให้ และนำไฟล์ที่กรอกคะแนนเรียบร้อยแล้วนำตรวจสอบความถูกต้องวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 สพป.แพร่ เขต1 4. วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 กรรมการบันทึกคะแนน ให้นำ 1)แบบทดสอบทั้งสามฉบับ2)คอมพิวเตอร์ 3)ปลั๊กไฟ มาด้วย
22
การดำเนินการหลังสอบเสร็จ
4. วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 กรรมการบันทึกคะแนน ให้นำ 1)แบบทดสอบทั้งสามฉบับ2)คอมพิวเตอร์ 3)ปลั๊กไฟ มาด้วย 5) สำนักทดสอบทางการศึกษาจะดำเนินการวิเคราะห์ประมวลผลระดับโรงเรียน ระดับสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา จังหวัด เขตตรวจราชการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยให้นักเรียน โรงเรียน และ เขตพื้นที่การศึกษา เข้าไปดูผลสอบได้ทางเว็บไซต์ ภายในวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๐
23
บทบาทหน้าที่ของศูนย์ประสานการสอบกลุ่มเครือข่าย
1.แต่งตั้งคณะกรรมการระดับกลุ่มเครือข่าย 2.ตรวจสอบการจัดห้องสอบของสนามสอบ 3.จัดเก็บและรับ-ส่งข้อสอบโดยยึดหลักความปลอดภัย ชัดเจน โปร่งใส
24
คำถาม 1.ข้อสอบสำรองไม่พอ ในวันสอบ ก่อนสอบไม่เกิน 60 นาที คณะกรรมการศูนย์ประสานการสอบย่อยกลุ่มเครือข่ายสามารถเปิดซองเอกสารข้อสอบสำรองและจัดทำสำเนาเพิ่มเติมให้กับนักเรียน 2.สนามสอบไม่มีข้อสอบสำรอง ในวันสอบก่อนสอบไม่เกิน 60 นาที คณะกรรมการศูนย์ประสานการสอบย่อยกลุ่มเครือข่ายสามารถเปิดซองข้อสอบและจัดทำสำเนาเพิ่มเติมให้กับนักเรียน
25
คำถาม 3.โรงเรียนสามารถเตรียมตารางกรอกคะแนนให้กับกรรมการในวันสอบกรอกได้หรือไม่ 4.นักเรียนลาออกหรือมาเข้าใหม่ โรงเรียนสามารถลบหรือกรอกข้อมูลเพิ่มเติมเข้าไปในไฟล์Excel ได้เลย 5.แบบทดสอบที่นักเรียนทำเสร็จแล้ว นำมาตรวจสอบที่เขตพื้นที่วันที่ 27 ก.พ.2560 (จากนั้นส่งคืนร.ร.)และให้นำชุดข้อสอบสำรองที่ไม่ได้ใช้ส่งคืนเขตพื้นที่การศึกษา ในวันที่27 ก.พ.2560
29
การตรวจให้คะแนนหรือ มีปัญหาใดๆให้ปรึกษา ศึกษานิเทศก์ ประจำกลุ่มเครือข่าย
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.