ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ประชากร
2
ประชากร (Population) กลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่เป็นชนิด (species) เดียวกัน อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่ (Habitat) อาศัยเดียวกัน ณ ช่วงเวลาเดียวกัน ใจความหลักคือ ต้องประกอบด้วย 1. สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน 2. สถานที่หรือแหล่งที่อยู่ 3. ระยะเวลา เช่น “ประชากรช้างป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี ใน พ.ศ. 2548” ประชากร = สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน + สถานที่ + เวลา
3
ประชากร (Population) ความหนาแน่นของประชากร (Population density)
เป็นคุณสมบัติที่เกี่ยวกับขนาดของประชากร หากไม่สมดุลกับสิ่งแวดล้อมจะก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาเป็นลูกโซ่ สามารถวัดความหนาแน่นประชากรได้ ดังนี้ ความหนาแน่นของประชากร (บนบก) = จำนวนสมาชิกของประชากร/พื้นที่ของแหล่งที่อยู่ ความหนาแน่นของประชากร (ในน้ำ) = จำนวนสมาชิกของประชากร/ปริมาตรของแหล่งที่อยู่
4
ประชากร (Population) การเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร
การเปลี่ยนแปลงจำนวนของประชากรในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในช่วงเวลาที่ระบุไว้ สิ่งที่มีผลต่อขนาดของประชากรมี 4 ปัจจัย ดังนี้ การเกิด (Natality)หมายถึง ความสามารถที่จะถ่ายทอดพันธุกรรมให้มีจำนวนมากขึ้น การตาย (Mortality) หมายถึง การตายของประชากรในประชากรกลุ่มหนึ่งๆ การอพยพเข้า (Immigration) หมายถึง การเคลื่อนย้ายเข้ามาอยู่ในกลุ่ม การอพยพออก (Emigration) หมายถึง การเคลื่อนย้ายออกไปจากกลุ่ม
5
ประชากร (Population) การอพยพ (Migration)
การออกไปจากกลุ่มของสัตว์บางชนิดอย่างชั่วคราวตามฤดูกาล และจะกลับเข้ามา เมื่อสิ่งแวดล้อมในถิ่นที่อยู่อาศัยของมันกลับคืนเข้าสู่ภาวะตามปกติ โดยมีสาเหตุของการอพยพ ดังนี้ 1. เพื่อหลีกเลี่ยงจากสภาพอากาศและฤดูกาลที่ไม่เหมาะสม 2. เพื่อหาแหล่งอาหารและแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ 3. เพื่อหาแหล่งสืบพันธุ์ ในการขยายเผ่าพันธุ์
6
ประชากร (Population) อัตราการเปลี่ยนแปลงของประชากร
อัตราการเพิ่มของประชากร = อัตราการเกิดมาก+อัตราการอพยพเข้ามาก อัตราการลดของประชากร = อัตราการตายมาก+อัตราการอพยพออกมาก
7
ประชากร (Population) ความหนาแน่นของประชากร (Population density)
8
ประชากร (Population) รูปแบบการเติบโตของประชากร
การเจริญเติบโตของประชากร หรืออัตราการเพิ่มของประชากรเป็นไปได้ 2 ลักษณะ คือ 1. การเติบโตของประชากรแบบเอ็กโพเนนเชียล (Exponential Growth) 2. การเติบโตของประชากรแบบลอจิสติก (Logistic Growth)
9
ประชากร (Population) รูปแบบการเติบโตของประชากร
1. การเติบโตของประชากรแบบเอ็กโพเนนเชียล (Exponential Growth) 2. การเติบโตของประชากรแบบลอจิสติก (Logistic Growth)
10
ประชากร (Population) 1. การเติบโตของประชากรแบบเอ็กโพเนนเชียล (Exponential Growth) เป็นการเติบโตของประชากรที่มีความสามารถในการสืบพันธุ์สูง และไม่ถูกจำกัดด้วยปัจจัย ลักษณะของกราฟเป็นรูปตัวเจ (J Shape) ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งเป็นภาวะเหตุการณ์ทางอุดมคติ และไม่เป็นจริง เพราะในธรรมชาติจะมีตัวต้านทานในสิ่งแวดล้อม (Environmental Resistance)
11
ประชากร (Population) 2. การเติบโตของประชากรแบบลอจิสติก (Logistic Growth) เป็นการเติบโตของประชากรตามสภาพเป็นจริงในธรรมชาติ ที่ถูกจำกัดด้วยปัจจัยต่างๆในระบบนิเวศ ทำให้มีลักษณะเป็นรูปตัว S ในการเพิ่มประชากรแบบลอจิสติกนี้ ตัวต้านทานในสิ่งแวดล้อมจะมีผลต่อประชากรมากขึ้นในระยะท้ายๆ จึงทำให้มีขีดจำกัดที่ทำให้สภาพแวดล้อมนั้นสามารถเลี้ยงดูประชากรได้ ระดับที่สภาพแวดล้อมสามารถเลี้ยงดูประชากรได้มากที่สุดเรียกว่า แคริอิงคาพาซิติ (Carrying Capacity)
12
ประชากร (Population) สิ่งมีชีวิตที่เป็น K-selected species และ r-selected species สิ่งมีชีวิตมีการปรับตัว ให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต รวมถึงการปรับตัวเพื่อให้มีวิธีการเพิ่มขนาดประชากรที่เหมาะสมด้วย สิ่งมีชีวิตบางชนิดมีประชากรหนาแน่นตลอดเวลาเป็นเหตุให้มีอัตราการแข่งขันสูง สิ่งมีชีวิตพวกนี้มักจะปรับตัวให้มีความสามารถในการอยู่รอดและสืบพันธุ์ได้ในสภาพแวดล้อมที่มีปัจจัยต่างๆจำกัด (K-selected species ) ส่วนในประชากรที่มีความหนาแน่นของประชากรต่ำ มักจะมีการปรับตัวให้มีความสามารถในการเพิ่มจำนวนของประชากรได้อย่างรวดเร็ว (r-selected species )
13
ลักษณะที่เปรียบเทียบ
ประชากร (Population) ลักษณะที่เปรียบเทียบ K-selected species r-selected species สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย มีความแปรผันต่ำ มีความแปรผันสูง การเจริญเติบโตจนเป็นตัวเต็มวัย ใช้เวลานาน ใช้เวลาสั้น อายุขัย ยาว สั้น อัตราการตาย ปกติจะต่ำ มักจะสูง จำนวนลูกที่ออกในแต่ละครั้ง น้อย มาก จำนวนครั้งที่ออกลูกตลอดชีวิต มักจะมีลูกหลายครั้ง ปกติเพียง 1 ครั้ง เวลาที่เริ่มมีลูกครั้งแรก เริ่มมีลูกครั้งแรกช้า เริ่มมีลูกครั้งแรกเร็ว ขนาดของลูกหรือไข่ ใหญ่ เล็ก การเลี้ยงดูจากพ่อแม่ มีการเลี้ยงดูมาก ไม่มี ตัวอย่างสิ่งมีชีวิต สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์ปีก แมลง
14
ประชากร (Population) แบบแผนการมีชีวิตอยู่รอดของประชากร
แบบแผนการมีชีวิตอยู่รอดของประชากร หมายถึง จำนวนประชากรในช่วงอายุต่างๆ ใช้สำหรับพยากรณ์จำนวนประชากรในอนาคต
15
ประชากร (Population) กราฟรูปแบบที่ 1 กราฟเส้นโค้งนูน (Type I: Convex survivorship curve) พบว่าสิ่งมีชีวิตมีอัตราการรอดชีวิตสูงในวัยอายุน้อย และค่อนข้างคงที่ตลอดชีวิต เมื่ออายุมากขึ้นอัตราการรอดชีวิตจะน้อย มีอัตราการตายพร้อมกันจำนวนมาก เช่น คน ช้าง ม้า สุนัข ดังนั้นประชากรในวัยอายุน้อยจึงมีขนาดใหญ่กว่าประชากรวัยสูงอายุ
16
ประชากร (Population) กราฟรูปแบบที่ 2 กราฟเส้นตรง (Type II: Constant survivorship curve) พบว่าสิ่งมีชีวิตมีอัตราการรอดชีวิตค่อนข้างสม่ำเสมอตลอดช่วงชีวิต เช่น ไฮดรา นกนางนวล เต่า เป็นต้น
17
ประชากร (Population) กราฟรูปแบบที่ 3 กราฟเส้นโค้งเว้า (Type III: Concave survivorship curve) พบว่าสิ่งมีชีวิตมีอัตราการรอดชีวิตต่ำในวัยอายุน้อย และค่อยๆ คงที่เมื่ออายุมากขึ้น เช่น หอยนางรม สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเล ปลากระดูกแข็ง สิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้เมื่อมีอายุมากขึ้น อัตราการตายจะลดลงและมีชีวิตรอดได้มากขึ้น
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.