ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
มนุษยสัมพันธ์ในองค์กร
2
สมาชิกในกลุ่ม 1. นางสาวจันทิมันตุ์ ครองสถาน นางสาวชญานิสา คำโนนกอก นางสาวรุ่งนภา เครือพิมาย นางสาวอภิรดี สร้อยสูงเนิน นายปฎิภาณ คชรัตน์ นายสหรัฐ เกิดวุฒิชัย คบ.อังกฤษ ปี 4 หมู่ 3
3
ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations)
มุนษยสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการประพฤติปฏิบัติตนทั้งทางร่างกาย จิตใจ และการกระทำเพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในทำงาน และช่วยให้เป้าหมายของหน่วยงานบรรลุผลสำเร็จตามจุดประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
4
ความหมายขององค์การ (Organization)
องค์การ คือ หน่วยงานต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคม ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนหนึ่งที่มีการกำหนดสถานภาพและบทบาท เพื่อการทำงานร่วมกันมุ่งหวังให้เกิดผลสำเร็จตามจุดประสงค์ที่ต้องการ รวมทั้งได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน
5
ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ (Human Relations of Organization)
คำว่า “มนุษยสัมพันธ์ในองค์การ” หมายถึง ความสัมพันธ์ของบุคลากรที่อยู่ในรูปแบบขององค์การ ซึ่งมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลต่อบุคคล กลุ่มบุคคลต่อกลุ่มบุคคลด้วยกัน เพื่อให้มีความผูกพันเป็นไมตรีต่อกัน มีความสุขในการทำงานร่วมกันในองค์การ
6
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์
7
ทฤษฎีการจูงใจ การปฏิบัติภารกิจในชีวิตประจำวันให้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพมักจะต้องมีสิ่งกระตุ้นให้บุคคลเกิดความรู้สึกใน การทำงานนั้นให้บรรลุเป้าหมาย สิ่งนั้นคือ ความรู้สึกที่ทำให้ผู้ปฎิบัติอยากทำงานนั้นให้สำเร็จ ซึ่งเรียกว่า การจูงใจ
8
ทฤษฎี x ทฤษฎี y เป็นความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ ของ Douglas Megregor ว่า ลักษณะของ มนุษย์แบ่งเป็น 2 ประเภทตามทฤษฎี คือ ทฤษฎี x สรุปว่า คนส่วนมากไม่ชอบทำงาน ไม่ชอบการรับผิดชอบ ต้องการที่จะ ได้รับการควบคุมบังคับ มีขีดความสามารถในด้านการสร้างสรรค์เกี่ยวกับการแก้ปัญหาต่างๆในองค์การน้อย จะทำงานเพื่อสนองความต้องการทางด้านร่างกายและความปลอดภัยเท่านั้น และต้องการได้รับการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดและชอบที่จะให้ใช้อำนาจบังคับบ่อย
9
ทฤษฎี x ทฤษฎี y (ต่อ) ทฤษฎี y สรุปว่า การกระทำของมนุษย์ มิใช่ผลของการบังคับ แต่เป็นการกระทำที่เกิดจากความเต็มใจ ทุกคนมีความรับผิดชอบ รู้จักควบคุมตัวเอง ทุกคนมีความรู้สึกอยากสร้างสรรค์เกี่ยวกับปัญหาต่างในองค์การ ทุกคนจะทำงานเมื่อได้รับการยกย่องนับถือ มีความเชื่อในความสามารถของตน ทุกคนสามารถที่จะบังคับควบคุมตนเองได้ ถ้าหากได้รับการจูงใจที่เหมาะสม กฎทองคำการที่จะสร้างสัมพันธ์ที่เหมาะสม
10
กฎทองคำ (Golden) กฎทองคำ มีที่มาจากศาสนาคริสต์ ที่ได้บัญญัติว่า “จงปฏิบัติต่อคนอื่นเหมือนกับที่ท่านต้องการให้คนอื่นปฏิบัติต่อท่าน” ตามกฎนี้เชื่อว่ามีคนจำนวนมากที่มีความคิดเช่นนี้ โดยใช้ตนเองเป็นตัวกำหนดว่าตนเองต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติอย่างไรต่อตนก็ปฏิบัติอย่างนั้นกับผู้อื่นก่อน
11
กฎทองคำขาว (Platinum Rule)
กฎทองคำขาว มีใจความว่า “จงปฏิบัติต่อผู้อื่นตามที่เขาต้องการให้เราปฏิบัติ” จะเห็นว่า กฎทองคำขาวมีความคิดตรงข้ามกับกฎทองคำ เพราะกฎทองคำจะทำอะไรต้องยึดตัวเราเป็นหลัก แต่กฎทองคำขาวต้องพิจารณาความต้องการของคนที่เราเกี่ยวข้องด้วยเป็นหลัก จึงได้รับการยอมรับว่าเป็นกฎที่เป็นไปตามหลักจิตวิทยาที่ว่าด้วยความแตกต่างระหว่างบุคคลมากที่สุด
12
หลักธรรมของพระพุทธเจ้า
พรหมวิหาร 4 ประกอบด้วย เมตตา คือ ความมีน้ำใจกับเพื่อนร่วมงาน กรุณา คือ ความเอ็นดู สงสาร มุทิตา คือ ความยินดีเมื่อผู้ใต้บังคับบัญชาได้ดี อุเบกขา คือ การไว้วางใจ เป็นกลาง
13
หลักธรรมของพระพุทธเจ้า (ต่อ)
สังคหวัตถุ 4 เป็นคุณธรรมที่จะยึดเหนี่ยวจิตใจคน ได้แก่ ทาน การให้ การแบ่งปัน ปิยวาจา การเจรจาไพเราะอ่อนหวาน อัตถจริยา การประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ เกื้อกูลกัน สมานุตตา การวางตนเป็นผู้สม่ำเสมอและทำตัวของเราให้ เข้ากับผู้อื่นได้
14
หลักความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของโรเจอร์ (Carl R. Roger)
หลักความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของโรเจอร์นี้มีใจความว่าบุคคลที่จะสามารถสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดี จะต้องมีสิ่งสำคัญ 3 ประการต่อไปนี้ 1. ความจริงใจ 2. ความเข้าใจ 3. การยอมรับค่าของคน
15
ทฤษฎีลิง 3 ตัวของขงจื้อ
ซึ่งมีลักษณะเอามือปิดหู ปิดตา ปิดปาก ตัวที่ 1 ปิดหู หมายถึง การควบคุมการฟังการได้ยิน ตัวที่ 2 ปิดตา หมายถึง การควบคุมการดู การเห็น ตัวที่ 3 ปิดปาก หมายถึง การควบคุมการพูดและการแสดงออก กล่าวคือถ้าเราจะผูกมิตรเราต้องรู้จักปิดหู ไม่เป็นคนหูเบา อะไรควรเชื่อไม่ควรเชื่อ สิ่งใดที่ควรรู้ไม่ควรรู้ตัวเราควรกะให้เหมาะสมกับโอกาสและเวลา
16
ทฤษฎีความสมดุลของไฮเดอร์
ไฮเดอร์ ได้ให้หลักการเกี่ยวกับการสร้างมนุษยสัมพันธ์ไว้ว่า ถ้าบุคคล 2 คน มีทัศนคติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งเหมือนกันก็มีโอกาสที่จะมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน จากทฤษฎีของไฮเดอร์ เราจะพบว่ามีผู้ปฏิบัติกันโดยทั่วไป เช่น บางคนรู้ว่าคู่รักชอบหรือไม่ชอบสิ่งใดก็จะทำตัวให้ชอบหรือไม่ชอบสิ่งนั้นไปด้วย
17
คุณลักษณะของบุคคลที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
1. มีท่าทางทีดี (Handsome) 9. การสร้างสรรค์ (Constructive) 2. มีบุคลิกภาพดี (Personality) 10. มีอารมณ์ดี (Good Emotion) 3. มีความเป็นเพื่อน (Friendliness) 11. มีความกระตือรือร้น (Enthusiasm) 4. มีความอ่อนน้อม (Modesty) 12. มีความรับผิดชอบ (Responsibility) 5. มีน้ำใจช่วยเหลือ (Helpful) 13. มีความอดทน (Patient) 6. ให้ความร่วมมือ (Cooperation) 14. มีความขยัน (Diligent) 7. มีความกรุณา (Kindness) 15. มีความพยายาม (Attempt) 8. สร้างประโยชน์ (Contribution) 16. มีปฏิภาณ (Intelligence)
18
มนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน
ประเภทของผู้ร่วมงาน 1. ผู้บังคับบัญชา 2. ผู้ใต้บังคับบัญชา 3. เพื่อนร่วมงาน
19
การสร้างมนุษยสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา
20
วิธีการสร้างมนุษยสัมพันธ์ของเกรย์ ดัสเลอร์ (Gray Dessler)
1. ยึดหลักความจริง (Get the Facts) 2. อย่ากระทำการใดๆในเวลาโกรธ (Do not Act While Angry) 3. อย่าบั่นทอนศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของผู้ใต้บังคับบัญชา (Do not Rob Your Subordinate of His or Her Dignity) 4. ต้องเป็นผู้พิสูจน์ความจริง (The Burden of Proof is on you) 5. ควรมีการตักเตือนล่วงหน้า (Provide Adequate Warning)
21
วิธีการสร้างมนุษยสัมพันธ์ของเกรย์ ดัสเลอร์ (Gray Dessler)(ต่อ)
6. อย่าลงโทษรุนแรง (Do not Make the Punishment too Severe) 7. ควรใช้วินัยอย่างเสมอภาค (Make Sure the Disciplines Equitable) 8. พยายามมองปัญหาหลายแง่หลายมุม (Get the Other Side of the Story) 9. อย่าถอยถ้าเป็นฝ่ายถูก (Do not Back down When you are Right) 10. อย่าปล่อยให้วินัยกลายเป็นเรื่องส่วนตัว (Do not Let Discipline Become Personal)
22
การสร้างมนุษยสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาของ ชะลอ ธรรมศิริ
1. รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง 2. รู้วิธีส่งเสริมกำลังใจ 3. รู้จักให้รางวัล 4. ชี้แจงความเคลื่อนไหวของงานให้ทราบ 5. รักษาผลประโยชน์ของผู้ใต้บังคับบัญชา
23
การสร้างมนุษยสัมพันธ์ระหว่างผู้ใต้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา
24
เทคนิคการสร้างมนุษยสัมพันธ์ระหว่างผู้ใต้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาของ Dale Carnegie
หนังสือ “How to Win Friends and Influence People” ของ Dale Carnegie ได้นำหลักความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมาอธิบายไว้ สรุปได้ดังนี้ 1.อย่าวิพากษ์วิจารณ์เพื่อน (Do not Criticize) 2. ควรให้ความสนใจในตัวเพื่อนอย่างจริงใจ (Become Genuinely Interested in Other People) 3. จงยิ้มไว้เสมอ (Smile) 4. จำชื่อและหมั่นเรียกชื่อเพื่อนร่วมงานเสมอ (Remember the Person’s Name and Use It
25
เทคนิคการสร้างมนุษยสัมพันธ์ระหว่างผู้ใต้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาของ Dale Carnegie (ต่อ)
5. เป็นผู้ฟังที่ดีและกระตุ้นให้เพื่อนร่วมงานพูดถึงเรื่องของตนเองให้มากที่สุด (Be a Good Listener, Encourage Others to talk about themselves) 6. พูดในสิ่งที่เพื่อนสนใจ (Talk in Terms of the Other Person’s Interests) 7. ทำให้เพื่อนรู้สึกว่าเราให้ความสำคัญแก่เขาด้วยความจริงใจ (Make the Other Person Feel Important and Do It Sincerely)
26
เทคนิคการสร้างมนุษยสัมพันธ์ผู้ใต้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาของ ชลอ ธรรมศิริ
1. เปิดฉากการติดต่อทักทายก่อน 2. มีความจริงใจต่อเพื่อน 3. หลีกเลี่ยงการนินทา 4. หลีกเลี่ยงการทำตัวเหนือกว่า 5. อย่าซัดทอดความผิดให้เพื่อน
27
เทคนิคการสร้างมนุษยสัมพันธ์ผู้ใต้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาของ ชะลอ ธรรมศิริ (ต่อ)
6. ให้ความร่วมมือในการงานของเพื่อน 7. ฟังความคิดเห็นของเพื่อนบ้าง 8. มีความเสมอต้นเสมอปลาย 9. ใจกว้างกับเพื่อนพอประมาณ 10. พบปะสังสรรค์ตามสมควร
28
องค์ประกอบของมนุษยสัมพันธ์ในองค์กร
1. ความแตกต่างของมนุษย์ ซึ่งมีทั้งรูปร่าง เพศ ผิวพรรณทัศนคติ ค่านิยมอันเกิดจากการเรียนรู้และประสบการณ์ชีวิต ซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมในการทำงานร่วมกัน 2. แรงขับและแรงจูงใจ เป็นปัจจัยที่ผลักดันให้ คนแสดงพฤติกรรมเพื่อให้ได้รับการตอบสนองความต้องการของตน 3. องค์กรหรือกลุ่มเป็นศูนย์กลางของการตอบสนองความต้องการต่างๆ ของแต่ละบุคคล
29
วิธีสร้างมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
1. สร้างความคุ้นเคยให้เกิดความไว้วางใจ 2. แสดงความจริงใจและบริสุทธิ์ใจ 3. รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน 4. ศึกษาธรรมชาติของเพื่อนร่วมงาน 5. ยอมรับว่าเพื่อนร่วมงานมีทั้งข้อดีและข้อเสีย 6. ยกย่องชมเชยตามควรแก่โอกาส 7. ไม่วิพากษ์วิจารณ์และไม่ติฉินนินทา 8. ให้เกียรติและยอมรับในศักดิ์ศรีของเพื่อนร่วมงาน 9. มีอารมณ์ขันควรแก่กาลเทศะ
30
วิธีสร้างมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน (ต่อ)
10. เป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ 11. ให้ความร่วมมือในการทำงานด้วยความจริงใจ 12. ไม่ยกตนข่มเพื่อน 13. มีความสุขุม เยือกเย็น หนักแน่น เสมอต้นเสมอปลาย 14. อย่าซัดทอดความผิดให้เพื่อน 15. พบปะสังสรรค์กับเพื่อนตามสมควร 16. ให้ความช่วยเหลือแก่เพื่อนร่วมงาน 17. อาศัยหลักคุณธรรมในการติดต่อสัมพันธ์
31
ปรัชญาพื้นฐานของมนุษยสัมพันธ์
1. เป็นการสร้างสรรค์ความสามัคคีให้เกิดขึ้นใน หน่วยงานนั้น ๆ 2. เป็นการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายปฏิบัติและฝ่ายปฏิบัติกับฝ่ายปฏิบัติ 3. ในการติดต่อสัมพันธ์กับมนุษย์นั้นต้องยอมรับว่าทุกคนมีคุณค่าความเป็นคนเท่าเทียมกันทุกคนต้องการการยอมรับนับถือ การยกย่องสรรเสริญและการให้เกียรติซึ่งกันและกัน
32
ปรัชญาพื้นฐานของมนุษยสัมพันธ์ (ต่อ)
4. มนุษย์ต้องการการจูงใจ ได้แก่ ความต้องการทางกาย ความมั่นคง ปลอดภัยความรัก เกียรติยศชื่อเสียง และความตระหนักในตนความต้องการที่ได้รับการตอบสนองย่อมก่อให้เกิดมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพ 5. มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ ต้องพึ่งพาอาศัยกัน
33
ประโยชน์ของมนุษยสัมพันธ์
1. ทำให้เข้าใจความต้องการความแตกต่างพื้นฐานของมนุษย์ 2. ทำให้เกิดความราบรื่นในการคบหาสมาคมกับผู้อื่น 3. ทำให้ผู้บริหารเข้าถึงประชาชน 4. สร้างทักษะให้ผู้บริหารในการทำงานร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาและติดต่อกับกลุ่มชนรวมทั้งการประสานงานกับหน่วยงานอื่นได้ดี 5. ทำให้ได้รับความรักใคร่เชื่อถือศรัทธา จากบุคคลในครอบครัว องค์กร และสังคมได้
34
ประโยชน์ของมนุษยสัมพันธ์ (ต่อ)
6. ทำให้เกิดความร่วมมือในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้ 7. ลดปัญหาความขัดแย้งในการทำงานและอยู่ร่วมกัน 8. ทำให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน มีความสามัคคีมีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน 9. เป็นปัจจัยสำคัญในการประสานประโยชน์ของสังคม 10. ทำให้ตนเองและสังคมมีความสุข
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.