งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ประวัติศาสตร์ ยุคปฏิรูปบ้านเมือง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ประวัติศาสตร์ ยุคปฏิรูปบ้านเมือง."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ประวัติศาสตร์ ยุคปฏิรูปบ้านเมือง

2 ภัยคุกคามจากลัทธิล่าอาณานิคม
ทุกด้าน ทำสัญญา 1. การผ่อนหนักเป็นเบา       2. การปฏิรูปบ้านเมืองให้ทันสมัย         3. การผูกมิตรกับประเทศมหาอำนาจในยุโรป เสียดินแดน คานอำนาจ

3 การผ่อนหนักเป็นเบา..    1.ยอมทำสนธิสัญญาเสียเปรียบ คือ สนธิสัญญาเบาริ่ง ทำกับประเทศอังกฤษในสมัย  รัชกาลที่ 4 แม้จะทรงทราบดีว่าเสียเปรียบ แต่ก็พยายามให้เสียเปรียบให้น้อยที่สุด

4 สนธิสัญญาเบาริ่ง 1 ยกเลิกค่าธรรมเนียมปากเรือและกำหนดอัตราภาษีขาเข้าและขาออกชัดเจน อัตราภาษีขาเข้าของสินค้าทุกชนิดกำหนดไว้ที่ร้อยละ 3 ยกเว้นฝิ่นที่ไม่ต้องเสียภาษี แต่ต้องขายให้กับเจ้าภาษี ส่วนเงินทองและข้าวของเครื่องใช้ของพ่อค้าไม่ต้องเสียภาษีเช่นกัน สินค้าส่งออกให้มีการเก็บภาษีชั้นเดียว โดยเลือกว่าจะเก็บภาษีชั้นใน (จังกอบ ภาษีป่า ภาษีปากเรือ) หรือภาษีส่งออก

5 พ่อค้าอังกฤษได้รับอนุญาตให้ซื้อขายโดยตรงได้กับเอกชนสยามโดยไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งขัดขวาง
รัฐบาลสยามสงวนสิทธิ์ในการห้ามส่งออกข้าว เกลือและปลา เมื่อสินค้าดังกล่าวมีทีท่าว่าจะขาดแคลนในประเทศ

6 ข้อเสียเปรียบอย่างยิ่งของไทยจากสนธิสัญญาเบาริง
ข้อเสียเปรียบอย่างยิ่งของไทยจากสนธิสัญญาเบาริง  ความเสียเปรียบที่ยิ่งใหญ่ 2 ประการ          1.ทำให้ไทยต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้แก่คนอังกฤษและคนในบังคับอังกฤษ             สิทธิสภาพนอกอาณาเขต คือ สิทธิที่ไม่ต้องขึ้นศาลไทย เมื่อคนอังกฤษหรือคนในบังคับอังกฤษ (ประเทศอาณานิคมของอังกฤษ) หรือคนชาติใดๆ ที่ขอจดทะเบียนเป็นคนในบังคับอังกฤษ ทำความผิดหรือมีคดีกับคนไทย ในประเทศไทย ให้ไปขึ้นศาลกงสุลอังกฤษ โดยอ้างว่า กฎหมายของไทยป่าเถื่อนและล้าหลัง          2.ทำให้อังกฤษเป็นชาติอภิสิทธิ์ คือ อังกฤษเป็นชาติที่มีสิทธิพิเศษ ไม่ว่าไทยจะทำสัญญากับประเทศอื่นใด ภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาริ่ง ก็ให้ถือว่าอังกฤษมีสิทธิเช่นเดียวกับชาตินั้นๆ โดยอัตโนมัติ 

7 การยอมเสียดินแดน  การเสียดินแดนของไทยเป็นการเสียให้แก่ชาติตะวันตกเพียง 2 ชาติ คือ ฝรั่งเศสและอังกฤษ รวมทั้งสิ้น 6 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นการเสียให้แก่ฝรั่งเศส ครั้งแรกเสียไปในตอนปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 หลังจากนั้นเป็นการเสียดินแดนในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 

8 ผล การเลิกค้าขายกับจีน
 ข้าวได้กลายมาเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญที่สุดของไทย  การค้าขายเจริญ รุ่งเรือง ผล ขยายพื้นที่ทำนา การผลิตเงินเหรียญ สร้างถนน  ราษฎรสามารถซื้อขายสินค้าได้โดยอิสระ เกิดโรงงาน เช่น โรงสีข้าว โรงงานน้ำตาลทราย อู่ต่อเรือ โรงเลื่อยไม้ 

9 พัฒนาการยุคปฏิรูปบ้านเมือง รัชกาลที่ 4

10 สาเหตุการปรับปรุงการปกครองสมัยรัชกาลที่ 4
สาเหตุการปรับปรุงการปกครองสมัยรัชกาลที่ 4  1. เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้า และเป็นพื้นฐานที่จะได้มีการเปลี่ยนแปลงในโอกาสต่อไป 2. เพื่อรักษาเอกราชของประเทศชาติจากประเทศตะวันตก ที่กำลังขยายอิทธิพลเข้ามาในประเทศไทยในขณะนั้น

11 ราชกิจจานุเบกษา ออกประกาศต่างๆ เรียกว่า ประกาศรัชกาลที่ 4 เพื่อให้ประชาชนได้รับข่าวสาร    ระเบียบแบบแผนการปฏิบัติของผู้คนในสังคมอย่างถูกต้อง ปรับปรุงกฎหมาย ทรงตราพระราชกำหนดกฎหมายใหม่ และออกประกาศข้อบังคับต่างๆ   ถือว่าเป็นกฎหมายเช่นเดียวกันรวมทั้งหมดประมาณ 500 ฉบับ โปรดให้จัดตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในพระบรมหาราชวัง มีชื่อเรียกว่า  “โรงอักษรพิมพการ”    เพื่อใช้พิมพ์ประกาศและกฎหมายต่างๆ เป็นหนังสือแถลงข่าวของทางราชการ เรียกว่า  ราชกิจจานุเบกษา

12 ราษฎรมีโอกาสถวายฎีการ้องทุกข์
ให้ราษฎรมีโอกาสได้ถวายฎีการ้องทุกข์ได้สะดวก พระองค์ทรงเปลี่ยน แปลงระเบียบวิธีการร้องทุกข์    โดยพระองค์จะเสด็จออกมารับฎีการ้องทุกข์ด้วยพระองค์เองทุกวันโกณ ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ เดือนละ 4 ครั้ง และโปรดเกล้าฯให้ตุลาการ ชำระความให้เสร็จโดยเร็ว    ทำให้ราษฎรได้รับความยุติธรรมมากขึ้นกว่าแต่ก่อน

13 จัดตั้งศาลกงสุล การปรับปรุงระบบการศาล ทรงเปลี่ยนแปลงประเพณีบางอย่างเกี่ยวกับระบบ การศาล ได้แก่    ทรงยกเลิกการพิจารณาคดีแบบจารีตนครบาล เริ่มมีการจัดตั้ง ศาลกงสุลเป็นครั้งแรก จารีตนครบาล คือ การพิจารณาคดีที่ถือว่า ผู้ใดถูกกล่าวหา ผู้นั้นต้องหาพยานหลักฐานมาแสดงให้เห็นได้ว่าตนบริสุทธิ์ และมีการทำทารุณกรรม เพื่อให้ผู้ต้องหารับสารภาพว่าทำผิด เช่น การตอกเล็บ บีบขมับ จนกว่าจะรับสารภาพ 

14 ทรงถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
ทรงเปลี่ยนแปลงพระราชพิธีการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา โดยพระองค์ทรงเสวย    น้ำพระพิพัฒน์สัตยาร่วมกับขุนนางข้าราชการ และทรงปฏิญาณนความซื่อสัตย์ของ    พระองค์ต่อข้าราชการทั้งปวงด้วย  ซึ่งแต่เดิม ขุนนางข้าราชการจะเป็นผู้ ถวาย สัตย์ปฏิญาณแต่เพียงฝ่ายเดียว    นับว่าพระองค์ทรงมีความคิดที่ทันสมัยมาก

15 การปฏิรูปทางเศรษฐกิจ
มีการตัดถนนสายต่างๆ ได้แก่ ถนนเจริญกรุง หรือถนนใหม่ บำรุงเมือง เฟื่องนคร สีลม และมีการขุดคลองผดุงกรุงเกษม คลองดำเนินสะดวก

16 เงินตรา ในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงกษาปณ์ขึ้นใน  พ.ศ.2403 ได้เปลี่ยนจากการใช้เงินพดด้วงเป็นเงินเหรียญ 

17 การศึกษา สมัย ร.3 แหม่มแมตตูน ภรรยามิชชันนารีอเมริกัน นิกายโปรเตสแตนส์ ได้ตั้งโรงเรียนขึ้นเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2395 โรงเรียนนี้รับนักเรียนชายล้วน อยู่ที่ตำบลสำเหร่ ชื่อว่า โรงเรียนสำเหร่บอยคริสเตียนไฮสกูล ต่อมาย้ายมาอยู่ที่ตำบลสีลม เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย” นับเป็นโรงเรียนราษฎร์แห่งแรกของไทย โรงเรียนสตรีแห่งแรกในประเทศไทย คือ โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง (วัฒนาวิทยาลัย) ตั้งโดย แหม่มเฮาส์

18 ร.4 ได้ส่งเสริมการศึกษา โดยเริ่มที่เชื้อพระวงศ์ และขุนนางก่อน ด้วยการ ว่าจ้างครูมาสอนภาษาอังกฤษ คือ แอนนา ลีโอโนเวนส์ (Anna Leonowens)

19 ด้านศาสนา รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดต่างๆ ได้แก่ วัดมกุฏกษัตริยาราม วัดโสมนัสวิหาร วัดปทุมวนาราม และวัดราชประดิษฐ์

20 ด้านประเพณี มีประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า
ให้ชาวตะวันตกที่อยู่ในกรุงเทพฯ เข้าเฝ้าขณะเสด็จออกมหาสมาคมพร้อมกับข้าราชการไทยให้ชาวต่างประเทศถวายคำนับและนั่งเก้าอี้เวลาเข้าเฝ้าได้ สำหรับข้าราชการฝ่ายในที่ไม่สมัครใจจะอยู่ในวังต่อไป ก็ทรงอนุญาตให้ลาออกจากราชการได้ ทรงริเริ่มให้สตรีในราชสำนักได้มีโอกาสเล่าเรียนวิชาภาษาอังกฤษจากสตรีในคณะมิชชันนารีอเมริกัน ทรงเริ่มใช้ชาวต่างประเทศเป็นข้าราชการในหน่วยงานต่างๆ เพื่อปรับปรุงประเทศเป็นแบบตะวันตกด้วย

21 วรรณกรรม และ นักประพันธ์
สมัย ร.4 หม่อมราโชทัย ได้แก่ จดหมายเหตุของหม่อมราโชทัย        นิราศลอนลอน

22 ศิลปกรรม  1) ด้านสถาปัตยกรรม เริ่มนิยมตามแบบตะวันตก เช่น พระราชวังสราญรมย์ สถาปัตยกรรมแบบไทย เช่น ปราสาทพระเทพบิดร เจดีย์สำคัญ เช่น พระปฐมเจดีย์ พระมหาเจดีย์ในวัดพระเชตุพนฯ พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง)  พระสมุทรเจดีย์ เป็นต้น   2) ด้านจิตรกรรม เช่น ภาพเขียนฝาผนังในพระอุโบสถและวิหารวัดบวรนิเวศวิหาร ภาพเหมือนพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝีมือขรัวอินโข่ง

23

24

25 พัฒนาการยุคปฏิรูปบ้านเมือง รัชกาลที่ 5

26 สาเหตุสำคัญในการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5
1.ปรับปรุงประเทศให้เจริญก้าวหน้าเพื่อป้องกันการคุกคามของประเทศ มหาอำนาจตะวันตก 2.การปกครองแบบเก่า อำนาจการปกครองบ้านเมืองตกอยู่กับขุนนาง ถ้า ปฏิรูปการปกครองใหม่ จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจ อย่างแท้จริง นาที่ จนถึงการเลิกทาส

27 ระยะแรก... จัดตั้งสภาที่ปรึกษาเพื่อช่วยในการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้ 1.การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State)ประกอบด้วย ข้าราชการที่มีบรรดาศักดิ์ชั้นพระยาจำนวน 12 คน ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งมีหน้าที่ ถวายคำปรึกษาในเรื่องเกี่ยวกับราชการแผ่นดินโดยทั่วไป พิจารณาร่างกฎหมายต่างๆ

28 2.องคมนตรีสภา (สภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์) (Privy Council) ประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการระดับต่างๆ จำนวน 49 คน ทำหน้าที่ถวาย คำปรึกษาข้อราชการและเสนอความคิดเห็นต่างๆ และมีหน้าที่ช่วยปฏิบัติราชการตามแต่จะมีพระบรมราชโองการ ปัจจุบันคือ คณะองคมนตรี ต่อมาภายหลัง 2 สภาถูกยกเลิกไปเพราะขุนนางไม่พอใจ คิดว่ากษัตริย์จะล้มล้างระบบขุนนาง จึงเกิดการ ต่อต้าน

29 ระยะที่ 2 การปฏิรูปการปกครองส่วนกลางของรัชกาลที่ 5
ระยะที่ 2 การปฏิรูปการปกครองส่วนกลางของรัชกาลที่ 5 มีการปฏิรูปการปกครองส่วนกลางโดยยกเลิก จตุสดมภ์ และใช้การบริหารงานแบบกระทรวงตามแบบอย่างของตะวันตก โดยจัดรวมกรมต่างๆ ที่มีลักษณะงาน คล้ายๆ กันมาเป็นกรมขนาดใหญ่ 12 กรม ต่อมา เปลี่ยนเป็น กระทรวง อยู่ในความดูแลของเสนาบดี มี 12 กระทรวง นาที การปฏิรูปส่วนกลาง

30 7. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ 8. กระทรวงยุทธนาธิการ 9. กระทรวงธรรมการ
1.กระทรวงมหาดไทย 2.กระทรวงกลาโหม 3.กระทรวงการต่างประเทศ 4.กระทรวงวัง 5.กระทรวงเมือง 6.กระทรวงเกษตราธิการ 7. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ  8. กระทรวงยุทธนาธิการ 9. กระทรวงธรรมการ 10. กระทรวงโยธาธิการ  11. กระทรวงยุติธรรม  12. กระทรวงมุรธาธิการ

31 การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค
ยกเลิกหัวเมือง เอก โท ตรี จัตวา และยกเลิกหัวเมืองประเทศราช จัดการ ปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล แบ่งเขตการปกครองเป็นมณฑล เมือง อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย เป็นการรวมอำนาจตามหัวเมืองเข้าสู่ราชธานี การปฏิรูปส่วนภูมิภาค เริ่ม นาทีแรก -5.00

32 1. มณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ดูแล แต่ละมณฑลแบ่งออกเป็น เมือง 2
  1. มณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ดูแล แต่ละมณฑลแบ่งออกเป็น เมือง     2. เมือง มีผู้ว่าราชการเป็นผู้ดูแล แต่ละเมืองแบ่งออกเป็นอำเภอ      3. อำเภอ มีนายอำเภอเป็นผู้ดูแล แต่ละอำเภอแบ่งออกเป็นตำบล      4. ตำบล มีกำนันเป็นผู้ดูแล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน      5. หมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ดูแล 

33 ทรงริเริ่มให้สิทธิแก่ราษฎรในการเลือกผู้ปกครองตนเองเป็นครั้งแรก โปรดเกล้าฯให้มีการทดลองเลือกตั้ง “ผู้ใหญ่บ้าน”ที่บางปะอินจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แทนการแต่งตั้งโดยเจ้าเมือง ต่อมาใน พ.ศ.2440 ทรงออกพระราชบัญญัติการปกครองท้องที่ ร.ศ.116    กำหนดการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน กำนัน โดยอาศัยเสียงข้างมากของราษฎร

34 การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น
โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก และสุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรก ที่ตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร

35  โดยมีคณะกรรมการ ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทำหน้าที่ บริหารงาน สุขาภิบาล มี รายได้จากภาษีโรงเรือน ในท้องถิ่น 

36 ผลของการปฏิรูปการปกครองของรัชกาลที่ 5
ผลของการปฏิรูปการปกครองของรัชกาลที่ 5 เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การบริหารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เกิดการต่อต้าน เช่น กบฏผู้มีบุญภาคอีสาน ร.ศ.121  กบฏเงี้ยวเมืองแพร่  ร. ศ.121 กบฏแขกเจ็ดหัวเมือง ร.ศ.121

37 ผลของการปฏิรูปการปกครองของรัชกาลที่ 5
ผลของการปฏิรูปการปกครองของรัชกาลที่ 5 1.ก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในราชอาณาจักร    โดยมีศูนย์ รวมอยู่ที่กรุงเทพมหานคร 2.รัฐบาลไทยที่กรุงเทพฯ สามารถขยายอำนาจเข้าควบคุมพื้นที่ภายใน ราชอาณาจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพทาง การเมือง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการหยุดยั้งการคุกคามจากประเทศมหาอำนาจ ตะวันตก ต่อประเทศไทย  3.ทำให้กลุ่มผู้เสียผลประโยชน์จากการปฏิรูปการปกครอง พากันก่อปฏิกิริยา ต่อรัฐบาลที่ เช่น กบฏผู้มีบุญภาคอีสาน ร.ศ.121  กบฏเงี้ยวเมืองแพร่   ร. ศ.121 กบฏแขกเจ็ดหัวเมือง ร.ศ.121

38 ปฏิรูปด้านกฎหมายและการพิจารณาคดี
1.จัดตั้งโรงเรียนสอนกฎหมาย(ภายหลังได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์โดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรี ดิเรกฤทธิ์ หรือพระนาม เดิมคือ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ เป็นผู้ทรงจัดตั้งภายหลังได้รับการยกย่องว่า เป็น พระบิดาแห่งกฎหมายและการศาลไทย 2.ตั้งคณะกรรมการตรวจชำระและร่างกฎหมายลักษณะอาญา ประกาศใช้ใน พ.ศ.2451 จัดเป็นกฎหมายแบบใหม่และทันสมัยที่สุดฉบับแรกของไทย

39 ยกเลิกกฎหมายตราสามดวง 
ให้มีศาลฎีกา ศาลสถิตยุติธรรมกรุงเทพฯ และศาลหัวเมือง จัดระบบศาลใหม่ ให้มีศาลในกระทรวงยุติธรรม 2 แผนก คือ    1.ศาลยุติธรรมกรุงเทพฯ ได้แก่ ศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ ศาลพระราชอาญา ศาลแพ่ง ศาลต่างประเทศ ศาลโปรีสภา    2.ศาลหัวเมือง ได้แก่ ศาลมณฑล ศาลเมือง และศาลแขวง


ดาวน์โหลด ppt ประวัติศาสตร์ ยุคปฏิรูปบ้านเมือง.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google