ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยJussi Turunen ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
ส่วนที่ 2 (2) ประวัติศาสตร์กฎหมายตะวันตก : ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์
ส่วนที่ 2 (2) ประวัติศาสตร์กฎหมายตะวันตก : ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ Common Law System
4
ประวัติราชวงศ์นอร์แมน
2257s ประวัติศาสตร์อังกฤษ 127s ประวัติราชวงศ์นอร์แมน 65s
7
เค้าโครงการศึกษาระบบคอมมอนลอว์หรือกฎหมายอังกฤษ
วิวัฒนาการ ยุคแองโกล-แซกซอน ยุคกำเนิดคอมมอน ลอว์ ยุคกำเนิดเอคควิตี้ ยุคปัจจุบัน
8
ความรู้เบื้องต้น ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ = ระบบกฎหมายอังกฤษ
คอมมอนลอว์ ประกอบด้วยคำ 2 คำ ได้แก่ คำว่า “common” และคำว่า “law” หมายถึง กฎหมายที่ใช้ร่วมกัน หรือที่ใช้กันทั่วไป หรืออาจกล่าว ได้ว่ากฎหมายจากส่วนกลางเข้าไปแทนที่กฎหมายจารีต ประเพณี
9
เดิมอังกฤษใช้กฎหมายจารีตประเพณีท้องถิ่น
ต่อมากษัตริย์อังกฤษได้ก่อตั้งศาลหลวง (Royal Court) ขึ้นในเมือง หลวง โดยมี Westminster เป็นศูนย์กลางในการพิจารณาคดี นอกจากนี้ กษัตริย์ยังได้ส่งผู้พิพากษา ณ ศาลหลวงไปชำระคดี ในท้องถิ่นต่าง ๆ ทั่วเกาะอังกฤษอีกด้วย จนในที่สุด กฎหมายของศาลหลวงจึงเข้ามาแทนที่กฎหมาย ท้องถิ่น จนเกิดเป็นกฎหมายอันเดียวกันทั้งประเทศ (Common law)
10
Common law จึงเป็นกฎหมายที่เกิดจากจารีตประเพณีเดิม และเป็นกฎหมายที่เกิดจากคำพิพากษาของศาล
judge-made-law ส่วนหลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับในสังคมสมัยใหม่ มักออกโดยรัฐสภา หรือเป็นเรื่องที่ common law ไปไม่ถึง
11
วิวัฒนาการของกฎหมายอังกฤษ
12
1. ยุคแองโกล-แซกซอน (ราว ค.ศ. 600 – 1066)
การปกครอง ส่วนท้องถิ่น Shires Hundreds Township / Vill ส่วนกลาง – สภาวิตัน (Witon) การศาล Shire Court Hundred Court Private Court
13
ชนเผ่าแองโกล แซกซอนรุกรานอังกฤษ
เฉพาะที่เป็นประเทศอังกฤษเท่านั้น ส่วนสก็อตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์ ไม่ได้ถูกชนเผ่าแองโกล แซกซอนรุกราน ทำให้ประเทศเหล่านี้ ยังคงรักษา ประเพณีเดิมของชนพื้นเมือง ซึ่งได้แก่พวก Britans และ Celtic
14
ก่อนถูกรุกราน อังกฤษใช้กฎหมายโรมัน
ต่อมา ชนเผ่าแองโกล-แซกซอน ที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่แถบ คาบสมุทรสแกนดิเนเวียร์ รุกรานอังกฤษราวศตวรรษที่ 6 และ ทำลายหลักฐานของกฎหมายโรมันที่มีอยู่เกือบทั้งหมด ชนเผ่าแองโกล แซกซอนยึดครองอังกฤษอยู่ราว 5 ศตวรรษ ก็ พ่ายแพ้ให้กับเผ่านอร์แมน
15
Anglo-Saxon migration
16
กฎหมายยุคแองโกล แซกซอนถือเป็นกฎหมายที่เก่าแก่ที่สุดของ อังกฤษ
ส่วนใหญ่เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ในสังคม โดยมี ความพยายามในการจำกัดการแก้แค้นกันเองของคนในสังคม มีการลงโทษโดยการตัดมือ และจมูก และให้มีการชดใช้ค่าเสียหายแก่กันเป็นเงินตรา หากมีการก่อ ความเสียหายแก่กัน เช่น ค่าเสียหายสำหรับนิ้วหัวแม่มือเป็นเงิน 20 ชิลลิง / นิ้วกลาง 9 ชิลลิง /นิ้วนาง 6 ชิลลิง / นิ้วก้อย 5 ชิลลิง เป็นต้น
17
มีการแบ่งการปกครองออกเป็นส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่น
การปกครองและการศาล มีการแบ่งการปกครองออกเป็นส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่น การปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย ชายร์ Shires ฮันเดร็ด Hundreds ทาวน์ชิพหรือวิล Township / Vill สถาบันศาลและการปกครองรวมอยู่ในองค์กรเดียวกัน คือ ศาล แต่ละชายร์ และฮันเดร็ดจะมีศาลของตนเอง
18
ศาลชายร์ (Shire Court)
ต่อมาในสมัยนอร์แมนเรียกว่า ศาลเคาว์ตี County Court ผู้ พิจารณาคดีในศาลชายร์ เรียกว่า ซุทเตอร์ Suitor โดยมีผู้ดูแลที่ส่งมาจากกษัตริย์ ได้แก่ เอลเดอร์แมน เอิร์ล บิช็อป และเชอรีฟ (ต่อมาเหลือเพียงเชอรีฟตำแหน่งเดียว) ศาลฮันเดร็ด (Hundred Court) อยู่ในความดูแลของเชอรีฟ ทั้งสองศาลอาศัยจารีตประเพณีในการตัดสินคดี
19
กฎหมายและการบังคับ กฎหมายที่ใช้บังคับในยุคแองโกล แซกซอน ได้แก่ กฎหมาย จารีตประเพณี ที่มีพื้นฐานมาจากกฎหมายโรมันดั้งเดิม กษัตริย์และประชาชนอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน กษัตริย์ไม่มีอำนาจบัญญัติกฎหมาย เป็นเพียงผู้ถ่ายทอด กฎหมายให้ประชาชนรับทราบเท่านั้น โดยมีที่ปรึกษาที่เรียกว่า สภาวิตัน คอยให้คำแนะนำเรื่องต่างๆให้แก่กษัตริย์ ศาลในสมัยนี้มีอำนาจพิจารณาคดีเฉพาะที่คู่ความทั้งสองฝ่าย ยินยอมเท่านั้น (อนุญาโตตุลาการ) เพื่อเป็นทางเลือกแทนการแก้ แค้นกันเอง
20
การพิจารณาคดีและการพิสูจน์ข้อเท็จจริง
อาศัยหลักจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นหลัก ส่วนปัญหาข้อเท็จจริงหากทั้งสองฝ่ายยังโต้แย้งกันอยู่ ศาลก็จะ ให้มีการพิสูจน์ข้อเท็จจริง โดยซุทเตอร์จะเป็นผู้กำหนดว่าฝ่าย ใดมีภาระการพิสูจน์และจะพิสูจน์โดยวิธีใด รวมถึงผลที่จะได้รับ หากคู่ความฝ่ายนั้นไม่สามารถพิสูจน์ได้ โดยถือว่าผู้ทีผ่านการทดสอบได้ถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ โดย ถือว่าเป็นพิธีกรรมทางศาสนาอย่างหนึ่งจึงต้องอาศัยพระใน คริสต์ศาสนาเป็นผู้ควบคุม
21
วิธีพิสูจน์โดยมีบุคคลช่วยสาบาน (oath helpers or compurgators)
คู่ความฝ่ายที่ต้องมีภาระการพิสูจน์ต้องหาบุคคลจำนวนหนึ่ง ประมาณ 12 คน มาทำพิธีสาบานยืนยันว่าคำสาบานของตนที่ได้ กระทำต่อศาลเป็นความจริง วิธีนี้เรียกว่า wager of law โดยหาก หาคนมาครบถือว่าฝ่ายนั้นได้พิสูจน์ข้อเท็จจริงแล้ว
22
ในคดีอุกฉกรรจ์ จะใช้วิธีการทดสอบที่รุนแรง เช่น
การทดสอบด้วยไฟ โดยใช้มือเปล่าถือเหล็กที่ลนไฟจนร้อนเดิน ประมาณ 9 ฟุต จากนั้นใช้ผ้าพันมือไว้เป็นเวลา 3 วัน แล้วจึงเอา ผ้าออก หากมีบาดแผลอยู่ก็ถือว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิด การทดสอบด้วยน้ำร้อน ใช้มือจุ่มในน้ำต้มเดือด หากว่ามีแผล ถือว่ามีความผิด การทดสอบด้วยน้ำ โดยการนำจำเลยมามัดตัวแล้วนำไปจุ่มลง ในน้ำ หากจำเลยจมลงไปถึงระดับน้ำที่กำหนด หากไม่เป็นอะไร ก็จะถือว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์
23
ฐานความผิดในคดีอาญา เช่น ฆ่าคนตาย ลักทรัพย์ ทำร้าย ร่างกาย กบฏ หมิ่นประมาท เป็นต้น
ส่วนการลงโทษในคดีอาญา ไม่นิยมโทษจำคุก หากเป็นคดีร้ายแรง จะลงโทษประหารชีวิต หรือ เอาตัวลงเป็น ทาส แต่สามารถจ่ายเงินชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ได้รับบาดเจ็บได้ โดย ขึ้นอยู่กับสถานะของผู้เสียหายว่าเป็นคนมีชื่อเสียง คนธรรมดา หรือทาส โดยสามารถใช้ในคดีฆาตกรรมได้ด้วย
24
ศาลเอกชน (Private Courts)
เป็นศาลที่มีพัฒนาการเคียงคู่กับศาลชายร์และศาลฮันเดร็ด (ศาลของผู้ปกครองแต่ละท้องที่) เป็นศาลที่ผู้เป็นเจ้าของที่ดินรายใหญ่เป็นผู้ทำการพิจารณา ตัดสินข้อพิพาทที่เกิดขึ้นภายในเขตที่ดินของตนเอง
25
2. ยุคกำเนิดคอมมอน ลอว์ (ยุคนอร์แมน)
2. ยุคกำเนิดคอมมอน ลอว์ (ยุคนอร์แมน) การปกครอง ส่วนกลาง – คิวเรีย รีจีส ส่วนท้องถิ่น ชายร์ ฮันเดร็ด ระบบฟิวดัลริซึม ความรับผิดของสังคมร่วมกัน Frankpledge Murder Fine
26
การศาล ศาลเค้าท์ตี้ ศาลฮันเดร็ด ศาลฟิวดัล ศาลฟรานไชส์ ศาลคิวเรีย รีจิส
27
ยุคนอร์แมน ราว ค.ศ – 1485 โดยกองทัพของพระเจ้าวิลเลียม (William the Conqueror) พระเจ้าวิลเลียมได้จัดตั้งสภาที่ปรึกษาหรือ สถาบันบริหาร ราชการแผ่นดิน เรียกว่า คิวเรีย (คิวรีอา) รีจีส “Curia Regis” สำหรับตัดสินคดีความที่สำคัญ ๆ
28
ระบบศาลท้องถิ่น ศาลชายร์และศาลฮันเดร็ด ยังคงเปิดทำการตามปกติ มีความพยายามแยกศาสนจักรออกจากอาณาจักร โดยให้ศาสนจักรมีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการตัดสินคดีที่ เกี่ยวกับพระ คือ มีการแยกคดีเกี่ยวกับพระออกจากศาลฮันเดร็ด
29
การพิจารณาคดี ใช้วิธีพิจารณาโดยใช้จารีตประเพณีแบบเดิม คือ การกำหนดค่า ปรับ และ วิธีการพิสูจน์ข้อเท็จจริง แต่มีการเพิ่มเติม วิธีการพิสูจน์ความจริงโดยการต่อสู้ Trail by battle ซึ่งเป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวนอร์แมน การพิสูจน์ความจริงโดยการต่อสู้ เป็นการให้พระผู้เป็นเจ้าตัดสิน โดยถือว่าพระผู้เป็นเจ้าย่อมเข้าข้างฝ่ายที่ถูก
30
ในคดีแพ่ง ระยะแรก คู่ความจะต้องต่อสู้กันด้วยตนเอง (เว้นแต่ เป็นผู้ที่ต่อสู้ไม่ได้โดยชัดแจ้ง เช่น เด็ก สตรี เป็นต้น) แต่ต่อมา ยอมให้มีการจ้างนักต่อสู้อาชีพเป็นผู้ต่อสู้แทนก็ได้ โดยจะต่อสู้กันในสนามสี่เหลี่ยมยาวด้านละ 60 ฟุต โจทก์จะอยู่ ด้านทิศตะวันออก ส่วนจำเลยจะอยู่ด้านทิศตะวันตก ส่วนในคดีอาญา คู่กรณีจะต้องต่อสู้ด้วยตนเอง จะจ้างนักต่อสู้ มาต่อสู้แทนตนไม่ได้
31
กว้างxยาว = 60x 60 ฟุต จำเลย โจทย์
32
การพิสูจน์ความผิดด้วยไฟหรือน้ำ
ใช้ในคดีอุกฉกรรจ์ ตัวอย่างเช่น การใช้เหล็กร้อน ให้จำเลยถือแล้วเดินหรือวิ่งเป็นระยะทาง 9 ฟุต แล้วใช้ผ้าพันมือที่ถือเหล็กไว้เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน ถ้าแกะ ผ้าพันแผลแล้วมือจำเลยไม่มีบาดแผล ถือว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์
33
หรือ การให้จำเลยจุ่มมือลงในกระทะน้ำเดือดเพื่อหยิบหินที่อยู่ ก้นกระทะ หากผ่านไป 3 วัน จำเลยไม่มีร่องรอยการถูกน้ำร้อน ลวกถือว่าบริสุทธิ์ หรือ การให้กลืนขนมปัง ถ้าขนมปังติดคอ – มีความผิด / ถ้า กลืนได้ – บริสุทธิ์ เป็นต้น
34
การนำตัวผู้กระทำความผิดมาฟ้องร้องต่อศาล
เดิม การนำตัวผู้กระทำความผิดมาฟ้องร้องต่อศาล เป็นหน้าที่ ของผู้เสียหายหรือญาติของผู้เสียหายโดยเฉพาะ แต่ในสมัยนอร์แมน ชาวนอร์แมนมีจำนวนไม่มากนัก พระเจ้าวิ ลเลียมจึงได้นำระบบ ความรับผิดของสังคมร่วมกันมาใช้สำหรับ ความผิดอาญาที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น
35
ระบบความรับผิดของสังคมร่วมกัน
Murder fine ในกรณีที่มีคนถูกฆ่าตายโดยไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ตาย เป็นชาวอังกฤษหรือไม่ ให้ถือว่าเป็นชาวนอร์แมน และ ประชาชนทุกคนที่อยู่ในฮันเดร็ดนั้น จะต้องที่พบศพจะต้องร่วม รับผิดโดยเสียค่าปรับจำนวนหนึ่ง
36
Frankpledge ระบบแฟรงค์เพลดจ์ ซึ่งเป็นระบบตำรวจมาใช้ โดย กำหนดให้บุคคลทุกคนที่ไม่มีทรัพย์สินหรือฐานะทางสังคม เข้าชื่อกันเป็นกลุ่มๆละ 10 คน (ทิตติง) มีหน้าที่ดูแลซึ่งกันและ กัน เพื่อไม่ให้ผู้อื่นไปกระทำผิด หากมีสมาชิกในกลุ่มกระทำผิด สมาชิกที่เหลือในกลุ่มต้องนำตัวผู้กระทำความผิดมาที่ศาล และต้องเสียค่าปรับ รวมทั้งต้องชดใช้ค่าเสียหายแทนผู้กระทำผิดด้วย (ถ้ามีก.ม. กำหนดให้ต้องใช้ค่าเสียหาย)
37
ระบบฟิวดัล เป็นระบบการถือครองที่ดิน โดยเจ้าของที่ดิน (ลอร์ด) มีหน้าที่ ป้องกันและให้ความปลอดภัยแก่ผู้อาศัย และผู้อาศัยมีหน้าที่ใน การให้บริการแก่ลอร์ดในด้านต่างๆ ถือว่าที่ดินทั่งหมดเป็นของกษัตริย์ บุคคลผู้ถือครองเป็นเพียงผู้ เช่า ผู้เช่าที่ได้รับที่ดินจากกษัตริย์ มีสิทธินำที่ดินไปให้ผู้อื่นเช่าต่อได้ ต่อไปเรื่อยๆ เป็นการครอบครองที่ดินจริงๆ
38
ศาลฟิวดัล นอกจากลอร์ด มีหน้าที่ให้ความคุ้มครอง และความปลอดภัยแก่ ผู้เช่าแล้ว ยังมีสิทธิและหน้าที่ในการจัดตั้งศาล เพื่อพิจารณา คดีพิพาทระหว่างผู้เช่าด้วยกันด้วย เรียกว่า ศาลซิกนอเรียล Seignorial Court ซึ่งมี 3 ระดับคือ 1. ศาลบารอนนิส หรือออนเนอร์ Court of Their baronies of honours 2. ศาลบารอน ออฟ ซิงเกิลแมนนอร์ Court Baron of single manor 3. ศาลคัสตอมมารี Court Customary
39
ศาลฟรานไชส์ Franchise Court
เป็นศาลที่มีสิทธิในการพิจารณาคดีอาญาที่เกิดขึ้นในเขตของตน หรือในที่ดินใกล้เคียง
40
ศาลคิวเรียรีจิส อังกฤษมีศาลต่างๆมากมาย เช่น ศาลชายร์ ศาลฮันเดร็ด ศาล ออนเนอร์ ศาลแมนเนอร์ ศาลฟรานไชส์ นอกจากนี้ กฎหมายที่ใช้ก็เป็นกฎหมายจารีตประเพณีของแต่ละ ทั้งถิ่น ทำให้เกิดความแตกต่างการทั้งการศาลและกฎหมายในแต่ละ ท้องที่
41
เมื่อมีการเปลี่ยนจากยุคแองโกล แซกซอนมาเป็นยุคนอร์แมน พระเจ้าวิลเลี่ยมได้ตั้งสภาที่ปรึกษาของพระองค์ เป็นการ พยายามรวบรวมอำนาจมาที่กษัตริย์ โดยทำหน้าที่เป็นศาลสูงสุดในระบบฟิวดัล มีอำนาจในการพิจารณาคดีพิพาทระหว่างทีเนนท์อินซีฟ (รัฐมนตรี) ด้วยกัน หรือกับกษัตริย์
42
การพิจารณาคดีในศาลคิวเรีย รีจิส
เป็นการออกหมายเรียกจากกษัตริย์ ไปถึงคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งที่ มีคำสั่งให้มาปรากฏตัวต่อศาล และใช้วิธีพิจารณาความโดยไต่สวนจากบุคคลที่รู้เห็น เหตุการณ์ ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้ประชาชนนิยมนำคดีมาฟ้องที่ศาลนี้ เพราะเห็นว่าเป็นธรรมมากกว่า ในที่สุดศาลคิวเรีย รีจีส จึงได้นำหลักการนี้ไปใช้ทั่วประเทศ จน กลายเป็นรากฐานของกฎหมายคอมมอนลอว์
43
ในสมัยต่อมา คิวเรียร์ รีจิส ทำหน้าที่ตัดสินในฐานะที่เป็นศาล หลวง
กษัตริย์องค์ต่อมา พระเจ้าวิลเลียมที่ 2 ได้แต่งตั้งหัวหน้าศาลขึ้น เพื่อดูและงานแทนกษัตริย์ โดยมี เอ็คเช็คเกอร์ Exchequer เป็นศูนย์กลางในการส่งผู้ พิพากษาในท้องถิ่นต่างๆ
44
ศาลหลวง (Royal Court) แบ่งเป็น 3 ศาล
ศาลเอกซ์เช็คเกอร์ พิจารณาคดีเกี่ยวกับภาษีอากรและการคลัง ระหว่างกษัตริย์กับประชาชน เช่น การชำระภาษีถูกต้องหรือไม่ รวมถึงการออกหมายเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ให้แก่ผู้ที่ต้องเสีย ภาษีก่อน และยังสามารถฟ้องร้องเรียกหนี้สินให้กับพวกพ่อค้า ด้วย ศาลนี้ถูกยกเลิกใน ค.ศ. 1875
45
ศาลคอมมอนพลีซ์ เป็นศาลที่มีคดีมากที่สุด มีอำนาจพิจารณา คดีดังนี้
คดีระหว่างประชาชนด้วยกัน ในเรื่องที่ดิน และคดีแพ่งอื่นๆ มีอำนาจตรวจตราเหนือศาลท้องถิ่น ตรวจสอบความผิดพลาดของ ศาลฟิวดัล คดีที่เจ้าหน้าที่เป็นคู่ความ ไม่ว่าโจทก์ หรือจำเลย
46
ศาลคิงส์เบนซ์ เป็นศาลที่แยกออกจากสภาคิวเรียร์รีจิส มีการ ตั้งหัวหน้าศาลเป็นผู้แทนกษัตริย์ แทนการที่กษัตริย์เป็นผู้นั่ง พิจารณาเอง มีอำนาจในการพิจารณาคดีอาญาแผ่นดินที่ราษฎรฟ้องร้องกัน คดีแพ่งทั่วไปที่กษัตริย์มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง
47
โดยสรุป ศาลหลวง หรือศาลคอมมอนลอว์ มีการแยกศาล ออกเป็น 3 ศาล ได้แก่
ศาลคอมมอน พลีซ์ มีอำนาจพิจารณาคดีแพ่ง ศาลเอกซ์เช็คเกอร์ มีอำนาจพิจารณาคดีภาษีอากร ศาลคิงส์ เบนซ์ มีอำนาจพิจารณาคดีอาญา
49
ระบบลูกขุน หรือ Jury ศาลหลวงได้นำวิธีพิจารณาคดีแบบใหม่มาใช้โดยให้มีคณะ ลูกขุน Jury (ภาษาฝรั่งเศส) แปลว่า สาบานตนแล้ว เริ่มมีในสมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 2 มีต้นกำเนิดจากยุโรปตะวันตก แผ่ ขยายไปในฝรั่งเศส แต่กลับมานิยมใช้ในอังกฤษ ระบบลูกขุนเกิดจากความตกต่ำของการพิสูจน์ความจริงโดยการ ต่อสู้ การหาผู้มาช่วยสาบาน
50
ลูกขุนประกอบด้วย บุคคลจำนวน 12 คน (อายุระหว่าง 18-70 ปี)
โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมโดยตรงในกระบวนการ ยุติธรรมทางอาญา ใช้เฉพาะในคดีอาญา ปัจจุบัน คดีที่มีลูกขุนต้องเป็นคดีอุกฉกรรจ์ Indictable offences ที่ พิจารณาในศาลคราว คอร์ท เช่น คดีฆ่าคนตายโดยเจตนา ปล้น ทรัพย์ ข่มขืนกระทำชำเรา ส่วนคดีเล็กๆน้อยๆ ไม่มีลูกขุน
51
คณะลูกขุนมีอำนาจพิจารณาเฉพาะปัญหาข้อเท็จจริงเท่านั้น
ในการพิจารณา ลูกขุนจะนั่งฟังการพิจารณาตั้งแต่ต้นจนจบ ผู้พิพากษาจะเป็นผู้ควบคุมให้คู่ความทั้งสองฝ่ายนำพยานหลักฐานเข้า สืบ เมื่อพิจารณาคดีเสร็จ ศาลจะสรุปผลของคดีให้คณะลูกขุนฟัง จากนั้น ลูกขุนก็ออกจากห้องพิจารณาไปเพื่อประชุมหารือกันเพื่อลงมติ ในห้องประชุมลูกขุน เมื่อลงมติได้แล้วคณะลูกขุนจะกลับมาห้องพิจารณา เพื่อรายงานต่อ ศาลว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ guilty or not guilty
52
ถ้าผิดจะเอ่ยคำว่า guilty
ถ้าไม่ผิดจะเอ่ยคำว่า not guilty หลังจากนั้นการกำหนดโทษให้แก่จำเลยเป็นหน้าที่ของผู้ พิพากษา คุณสมบัติของลูกขุน ต้องเป็นราษฎรที่เป็นไท ไม่ใช่คนต่างด้าว รวมทั้งต้องเป็นผู้ที่มีทรัพย์สินด้วยเพื่อป้องกันการรับสินบน
53
แมคนา คาตาร์ (Magna Carta)
15 มิถุนายน 1215 พระเจ้าจอห์น ยอมลงนามในกฎบัตร ที่ถือเป็นรัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของอังกฤษ ที่รับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และจำกัดอำนาจของ กษัตริย์ หลักการสำคัญ เช่น ไม่มีภาษีถ้าไม่มีผู้แทน (ข้อ 12) (no tax without representation) – การเก็บภาษีต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาก่อน หลักการได้รับการพิจารณาจากบุคคลที่เสมอภาคกัน และตามกฎหมาย (ข้อ 39) หลักการพิจารณาคดีอย่างเสมอภาค โดยไม่คำนึงถึงฐานะของบุคคล (ข้อ 40) Bkk6BhCc2OrLNx2xRcLxpXe
55
3. ยุคก่อกำเนิดเอคควิตี้ (Equity)
เริ่มต้นราว ศตวรรษที่ ประมาณ ค.ศ – 1832 เกิดจาก การที่ศาลหลวงใช้จารีตประเพณีในการพิจารณาคดี ทำให้ กลายเป็นกฎเกณฑ์ ที่ตายตัวไม่ยืดหยุ่น ปรับปรุงแก้ไขลำบาก ไม่ สอดคล้องกับสังคม ทำให้คู่ความไม่ได้รับความเป็นธรรม ประกอบกับ ศาลที่มีไม่ได้ครอบคลุม คดีทุกประเภท
56
ตัวอย่างคดีที่ไม่เป็นธรรม
คดีฟ้องผิดสัญญาจ้าง ผู้รับเหมาก่อสร้างไม่ยอมก่อสร้างให้แล้วเสร็จตาม สัญญา ศาลพิพากษาให้ผู้รับเหมาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่ตรงกับความต้องการของผู้ว่าจ้าง ที่ต้องการให้ก่อสร้างให้แล้วเสร็จ ตามสัญญา เป็นต้น เหล่านี้ ทำให้ประชาชนได้รับความเดือนร้อนเป็นอย่างมาก จึงพยายาม หาหนทางในการเยียวยาความเสียหาย
57
ดังนั้น ราษฎรที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ไม่ได้รับการเยียวยาตามที่ควรจาก ศาลหลวง หรือ ไม่พอใจต่อคำพิพากษาของศาลหลวง ก็ทูลเกล้าถวาย ฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณ โดย ดำเนินการผ่านราชเลขาธิการ ที่เรียกว่า ชานเซอเลอร์ เมื่อพิจารณา แล้วจึงส่งฎีกาไปยังพระมหากษัตริย์ โดยทรงนำเข้าไปพิจารณาในคณะ องคมนตรี
58
ต่อมา ชานเซอเลอร์ ได้ร่วมกับคณะองคมนตรีในการพิจารณาคดี ซึ่งคำ ตัดสินเหล่านี้ต่อมากลายเป็นกฎหมาย เรียกว่า The Equity of the case ที่อาศัยหลักความเป็นธรรมและศีลธรรมเป็นเกณฑ์การตัดสินคดี ชานเซอเรอร์ ต่อมากลายเป็น ศาลชานเซอร์รี่ (Chancery Court) หลักกฎหมายที่ศาลชานเซอร์รี่นำมาใช้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขความไม่ เหมาะสมหรือความไม่เป็นธรรมที่เกิดจากคอมมอนลอว์ คือ ความยุติธรรม (Equity) ซึ่งเรียกว่า หลักความยุติธรรมในสังคม หรือ ประโยชน์สุขของสังคม
59
กล่าวคือ ศาลชานเซอร์รี่ จะเป็นศาลที่อุดช่องว่าง ตอบสนอง ความต้องการของประชาชนได้อย่างตรงตามความต้องการ เช่น เรียกให้ปฏิบัติตามสัญญาได้
60
เอคควิตี้ มีวิวัฒนาการมาจากศาล ชานเซอร์รี่
ใช้กฎหมายเอคควิตี้ ในวิธีพิจารณาความของกฎหมาย คริสต์ ประกอบกับกฎหมายโรมัน ผู้พิพากษามีอิสระในการตัดสินคดี ศาลชานเซอร์รี่สามารถบังคับให้ กระทำการได้ (การชำระหนี้โดย เฉพาะเจาะจง) ตามที่ระบุในสัญญา คอมมอนลอว์ มีวิวัฒนาการมา จากศาลหลวง ที่เวสต์มินเตอร์ ใช้กฎหมายคอมมอนลอว์ (จารีต) ใช้วิธีพิจารณาความโดยคณะ ลูกขุน ผู้พิพากษาไม่มีอิสระในการ ตัดสินคดี ต้องตัดสินตามจารีต ประเพณี เยียวยาได้เฉพาะการชำระ ค่าเสียหายเท่านั้น
61
การมีทั้งศาล คอมมอนลอว์ และศาลชานเซอร์รี่ ทำให้คู่ความ สามารถเลือกไว้ว่าต้องการขึ้นศาลใด (ศตวรรษที่ 17) ปัจจุบัน นำหลักนี้มาใช้ในศาลสูง High Court of Justic คือ สามารถใช้ทั้ง common law and Equity หากขัดกัน ให้ยึด Equity เป็นหลัก จึงกลายเป็น ระบบกฎหมายคู่ ของกฎหมายอังกฤษ อังกฤษ จึงมีระบบกฎหมายคู่มานับแต่นั้น
62
รัฐสภาของอังกฤษ ราวปี ค.ศ รัฐสภาของอังกฤษได้ตรากฎหมายที่เรียกว่า The Petition of Rights ที่ห้ามไม่ให้กษัตริย์ จำขังบุคคลใดโดย ปราศจากคำพิพากษาของศาล ซึ่งถือเป็นกฎหมายฉบับแรกที่ มีการคุ้มครอง และประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน ค.ศ ได้ตรา The Habeas Corpus Act ที่กำหนดว่า หากชาวอังกฤษคนใดถูกขังในเรือนจำโดยปราศจากคำพิพากษา ของศาล เขาหรือบุคคลอื่น สามารถยื่นคำร้องขอต่อศาล ยุติธรรมได้
63
4. ยุคปัจจุบัน ราวศตวรรษที่ 19 มีการปฏิรูปการศาลครั้งใหญ่
โดยเฉพาะกฎหมายวิธีพิจารณาความ มีการยกเลิกศาลคอมมอนลอว์ และศาลชานเซอร์รี่ (ที่แยกการ พิจารณา) กล่าวคือ ศาลทั้งหมดของอังกฤษสามารถใช้ทั้ง คอมมอนลอว์ และเอคควิตี้ได้
64
ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญา
ศาลฎีกา (The Supreme Court) ประกอบด้วย ผู้พิพากษา 12 คน ศาลสูงชั้นกลาง ได้แก่ ศาลอุทธรณ์แผนกคดีอาญา ศาลคราวคอร์ท ศาลไฮคอร์ท แผนกควีนเบนซ์ ศาลชั้นต้น ได้แก่ ศาลมาจีสเตอร์คอร์ท
65
ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีแพ่ง
ศาลฎีกา ศาลสูงชั้นกลาง ได้แก่ The Supreme Court of Judicature The High Court of Justice ศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นล่าง ได้แก่ ศาลเคาน์ตีคอร์ท ศาลมาจีสเตรทส์
68
ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ โดยไม่มีกฎหมาย
Nullum crimen, nulla poena, sine lege
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.