งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ วิชญ์ชัย ธรรมประดิษฐ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ วิชญ์ชัย ธรรมประดิษฐ์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ วิชญ์ชัย ธรรมประดิษฐ์
พระราชบัญญัติ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 วิชญ์ชัย ธรรมประดิษฐ์

2 ข้อความคิดในการทำความเข้าใจพระราชบัญญัติฉบับนี้
Ⅰ ข้อความคิดเรื่อง “ละเมิด” Ⅱ ข้อความคิด ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ก่อนใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ Ⅲ ข้อความคิด ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้

3 Ⅰ ข้อความคิดเรื่อง “ละเมิด”
1. เป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (เป็นความสัมพันธ์ตามกฎหมายเอกชน) 2. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล : นิติเหตุ

4 Ⅰ ข้อความคิดเรื่อง “ละเมิด” (ต่อ)
Ⅰ ข้อความคิดเรื่อง “ละเมิด” (ต่อ) นิติเหตุ : สาเหตุที่ก่อให้เกิด ความเคลื่อนไหวในทางกฎหมาย เกิดจากธรรมชาติ เกิดจากการกระทำของบุคคล การเกิด (ดูแผ่นต่อไป) การเจริญเติบโต การตาย

5 Ⅰ ข้อความคิดเรื่อง “ละเมิด” (ต่อ)
Ⅰ ข้อความคิดเรื่อง “ละเมิด” (ต่อ) เกิดจากการกระทำของบุคคล ผู้กระทำมุ่งให้เกิด ผู้กระทำไม่ได้ตั้งใจให้ผล ผลทางกฎหมาย ในทางกฎหมายเกิดขึ้น นิติกรรม : ละเมิด สัญญา

6 Ⅰ ข้อความคิดเรื่อง “ละเมิด” (ต่อ)
Ⅰ ข้อความคิดเรื่อง “ละเมิด” (ต่อ) ความรับผิดเพื่อการกระทำละเมิดจากการกระทำของตนเอง ป.พ.พ. มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่น โดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่า ผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น

7 หลักเกณฑ์การวินิจฉัย “การกระทำละเมิด”
1. มีการกระทำของบุคคลหนึ่งต่อบุคคลอื่น 2. ลักษณะของการกระทำ : เป็นการกระทำโดยจงใจหรือ ประมาทเลินเล่อ 3. กระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมาย 4. ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งของบุคคลอื่น 5. มีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลของการกระทำ ผล ผู้กระทำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

8 หลักเกณฑ์การวินิจฉัย ฯ (ต่อ)
1. มีการกระทำของบุคคลหนึ่งต่อบุคคลอื่น 1.1 มีบุคคลหนึ่งเป็นผู้กระทำ 1.2 มีการกระทำ 1.3 กระทำต่อบุคคลอื่น

9 หลักเกณฑ์การวินิจฉัย ฯ (ต่อ)
1.1 มีบุคคลหนึ่งเป็นผู้กระทำ บุคคลธรรมดา นิติบุคคล

10 หลักเกณฑ์การวินิจฉัย ฯ (ต่อ)
1.2 กระทำการ : การแสดงความรู้สึกนึกคิดภายในใจของตนให้ (การกระทำ) บุคคลทั่วไปทราบโดยการเคลื่อนไหวร่างกายไม่ว่า ทางใด โดยผู้แสดงนั้นรู้สำนึกการเคลื่อนไหว ของตน การงดเว้นการกระทำถือเป็นการกระทำเมื่อผู้นั้น มีหน้าที่ต้องกระทำ

11 หลักเกณฑ์การวินิจฉัย ฯ (ต่อ)
การงดเว้นการกระทำที่เป็นการกระทำ ต้องเป็นการงดเว้นการกระทำที่เกิดจาก 1. หน้าที่ตามกฎหมาย 2. หน้าที่ตามคำสั่ง/ระเบียบ 3. หน้าที่ตามสัญญา 4. หน้าที่ตามวิชาชีพ 5. หน้าที่ตามความสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดขึ้น

12 หลักเกณฑ์การวินิจฉัย ฯ (ต่อ)
2. ลักษณะของการกระทำ จงใจ ประมาทเลินเล่อ

13 หลักเกณฑ์การวินิจฉัย ฯ (ต่อ)
การกระทำโดยจงใจ : การกระทำด้วยความรู้สำนึกมุ่งหมาย ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น

14 หลักเกณฑ์การวินิจฉัย ฯ (ต่อ)
จงใจ ตั้งใจทำให้ รู้ว่าทำให้ คนอื่นเสียหาย คนอื่นเสียหาย

15 หลักเกณฑ์การวินิจฉัย ฯ (ต่อ)
ตัวอย่าง “จงใจ” 1. ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็น ผอ.โรงเรียนทราบว่าบ้านพักข้าราชการว่างและ มีสภาพสมบูรณ์แต่อนุมัติให้ ส. ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน ทั้งรู้ด้วยว่าการอนุมัติตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ 2539 – กันยายน 2541 เป็นการอนุมัติโดยผิดระเบียบการกระทำ ของ ผอ.โรงเรียนเป็นการกระทำโดยจงใจ (ศาลปกครองสูงสุด อ.37/2552) 2. กรมชลประทานผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้บุกรุกเข้าไปในที่ดินของผู้ฟ้องคดี เพื่อจัดทำโครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำพะเนียง โดยไม่มีอำนาจทั้งไม่ได้มีการดำเนินการเวนคืน หรือตกลงซื้อขาย การกระทำของกรมชลประทานเป็นการจงใจกระทำละเมิดผู้ฟ้องคดี (ศาลปกครองสูงสุด อ.474/2551)

16 หลักเกณฑ์การวินิจฉัย ฯ (ต่อ)
กระทำโดยประมาทเลินเล่อ : 1. มิใช่กระทำโดยจงใจ 2. เป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและ พฤติการณ์ 3. ผู้นั้นอาจใช้ความระมัดระวังได้ แต่หาได้ใช้ให้ เพียงพอไม่

17 หลักเกณฑ์การวินิจฉัย ฯ (ต่อ)
หลักที่ใช้ในการวินิจฉัย “ประมาทเลินเล่อ” “ผู้กระทำนั้นได้ใช้ความระมัดระวังตามวิสัย และพฤติการณ์ อย่างเพียงพอหรือไม่?” ความระมัดระวัง ตามวิสัย : สภาพภายในตัวผู้กระทำ เช่น เป็นเด็ก เพศ การศึกษา ข้าราชการชั้นผู้น้อย เป็นต้น ความระมัดระวัง ตามพฤติการณ์ : เหตุการณ์ภายนอกตัวผู้กระทำ เช่น สภาพการทำงาน สภาพถนน สภาพแวดล้อมในขณะกระทำ เป็นต้น

18 หลักเกณฑ์การวินิจฉัย ฯ (ต่อ)
การวินิจฉัยสภาพเกี่ยวกับตัวผู้กระทำ ต้องสมมุติบุคคลในทางนามธรรมขึ้นเปรียบเทียบ โดยบุคคลที่สมมุตินั้นต้องมีสภาพร่างกายอย่างเดียวกับผู้กระทำ แต่สภาพทางจิตใจถือในระดับทั่วไปของบุคคลที่สภาพร่างกายอย่างเดียวกัน ทั้งบุคคลที่สมมุติต้องอยู่ในพฤติการณ์ภายนอกเช่นเดียวกับผู้กระทำด้วย ถ้าบุคคลที่สมมุติจะไม่ทำเหมือนที่ผู้กระทำ ได้ทำไป ถือว่าผู้กระทำประมาทเลินเล่อ

19 หลักเกณฑ์การวินิจฉัย ฯ (ต่อ)
ตัวอย่าง ประมาทเลินเล่อ 1. เทศบาลขยายถนน ทำให้บ่อน้ำเข้ามาอยู่ในถนน เมื่อเปิดให้ใช้ถนนแต่ยังไม่ถมบ่อให้เรียบเป็นพื้นถนน และมิได้จัดให้ทำป้ายเตือนใดๆ เทศบาลประมาทเลินเล่อต้องชดใช้ค่าเสียหาย (ฎีกา 1201/2502) 2. จำเลยเป็นทหารสัญญาบัตร และเป็นกรรมการควบคุมดูแลเงินรายได้ แต่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ เป็นผลให้ทหารชั้นประทวนยักยอกเงินรายได้ไป จำเลยประมาทเลินเล่อ (ฎีกา 1702/2515)

20 หลักเกณฑ์การวินิจฉัย ฯ (ต่อ)
ตัวอย่าง ประมาทเลินเล่อ 3. การที่แพทย์ไม่ได้ตรวจอาการของผู้ป่วยตั้งแต่เข้ารับการรักษา ที่โรงพยาบาลด้วยตนเอง แต่วินิจฉัยโรคและสั่งการรักษาผู้ป่วย ตามรายงานทางโทรศัพท์จากพยาบาลแทน มิได้ตรวจสอบประวัติด้วยตนเอง ซึ่งมิใช่วิสัยของผู้มีวิชาชีพเป็นแพทย์พึงกระทำ เป็นการประมาทเลินเล่อ (ฎีกา 6092/2522) 4. อาจารย์พลศึกษาสั่งลงโทษเด็กให้ทำสก็อตจัมป์จำนวน 100 ครั้ง ทั้งทราบอยู่แล้วว่า นักเรียนป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา มีอาการเหนื่อยง่าย เป็นการลงโทษเกินกว่าเหตุ และเมื่อลงโทษแล้วไม่มาดูอาการของเด็ก นักเรียนคนนั้นหายใจไม่ออกและตายลง การกระทำของอาจารย์เป็นการประมาทเลินเล่อ (ฎีกา 3071/2547)

21 หลักเกณฑ์การวินิจฉัย ฯ (ต่อ)
3. กระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (unlawful act) : การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ที่กฎหมายให้ความสำคัญหรือให้ความคุ้มครอง ซึ่งรวมถึง - ที่กฎหมายกำหนดชัดแจ้งว่าเป็นความผิดกฎหมาย ไม่ว่ากฎหมายประเภทใดๆ - ไม่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยชัดแจ้ง แต่ทำให้เสียหายแก่สิทธิเด็ดขาด ตามมาตรา 420

22 หลักเกณฑ์การวินิจฉัย ฯ (ต่อ)
4. การกระทำนั้นก่อให้เกิดความเสียหาย 4.1 ความเสียหาย 4.2 ประเภทของความเสียหาย 4.3 การเกิดของความเสียหาย 4.4 ความเสียหายที่เยียวยาได้

23 หลักเกณฑ์การวินิจฉัย ฯ (ต่อ)
4.1 ความเสียหาย : การลดน้อยถอยลงทางทรัพย์สิน ที่เกิดจากเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงที่ฝ่าฝืน ประโยชน์ที่กฎหมายคุ้มครอง 4.2 ประเภทของความเสียหาย (1) ความเสียหายทางทรัพย์สิน (2) ความเสียหายทางจิตใจ (กฎหมายกำหนดให้เฉพาะบางกรณี)

24 หลักเกณฑ์การวินิจฉัย ฯ (ต่อ)
4.3 การเกิดของความเสียหาย (1) ความเสียหายเกิดขึ้นทันทีที่มีเหตุการณ์ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในตัวเอง (2) เกิดเมื่อเหตุการณ์นั้นทำให้ลดน้อยถอยลง ซึ่งทรัพย์สินของผู้เสียหาย

25 หลักเกณฑ์การวินิจฉัย ฯ (ต่อ)
4.4 ความเสียหายที่เยียวยาได้ (1) ต้องเป็นความเสียหายที่แน่นอน (2) ต้องเป็นความเสียหายตามกฎหมาย (3) ต้องเป็นความเสียหายต่อสิทธิของบุคคลอื่น

26 หลักเกณฑ์การวินิจฉัย ฯ (ต่อ)
4.5 มีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลของการกระทำ (1) หลัก : ผู้ที่ก่อความเสียหายให้แก่บุคคลอื่น ควรต้องรับผิดเฉพาะผลที่เกิดจากการกระทำของตนเท่านั้น (2) หลัก Causation รูปธรรม ผล การกระทำของคน ความเสียหาย

27 หลักเกณฑ์การวินิจฉัย ฯ (ต่อ)
(3) ทฤษฎีของหลัก Causation (3.1) ทฤษฎีเงื่อนไข/ความเท่าเทียมกัน แห่งเหตุ (3.2) ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสม

28 หลักเกณฑ์การวินิจฉัย ฯ (ต่อ)
(3.1) ทฤษฎีเงื่อนไข/ความเท่าเทียมกันแห่งเหตุ ทฤษฎีเงื่อนไข พิจารณาว่า ข้อเท็จจริงที่เกิดจาก คนนั้น ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ที่กฎหมายคุ้มครองหรือไม่ ถ้าใช่ แม้มีสาเหตุอื่นมาประกอบร่วมในการก่อความเสียหายก็ตาม คนที่กระทำนั้นต้องรับผิด เช่น ก. ทำร้าย ข. ล้มลงในถนน ค. ขับรถมาชน ข. จน ข. ต้องเข้าโรงพยาบาล ง. ทำถังอ๊อกซิเจนรั่ว ไฟคลอก ข. ตาย ทั้ง ก. ค. ง. รับผิดทุกคน

29 หลักเกณฑ์การวินิจฉัย ฯ (ต่อ)
(3.2) ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสม ทฤษฎีนี้ พิจารณาว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นสัดส่วนกับการกระทำหรือไม่ หากความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ได้สัดส่วน หรือเหมาะสมกับการกระทำ ผู้กระทำรับผิดเฉพาะความเสียหายที่เป็นสัดส่วนหรือเหมาะสมกับการกระทำเท่านั้น จากตัวอย่างแผ่นที่ 28 ก. รับผิดเฉพาะที่ทำให้ ข. บาดเจ็บส่วนแรก ค. รับผิดเฉพาะที่ทำให้ ข. บาดเจ็บเพิ่มขึ้น ส่วน ง. รับผิดในความตายของ ข.

30 หลักเกณฑ์การวินิจฉัย ฯ (ต่อ)
(3.3) ทฤษฎีผสม ใช้ทฤษฎีเงื่อนไขตอนต้น โดยพิจารณาว่า ความเสียหายต้องเกิดจากการกระทำหรือเป็นผลโดยตรงจากการกระทำ ใช้ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสม ในช่วงท้ายโดยพิจารณาว่าความเสียหายที่เกิดขึ้น ต้องได้สัดส่วนกับการกระทำ หากมีเหตุอื่นมาแทรก จนทำให้ผลหรือความเสียหายขยายออกมากขึ้น ผู้กระทำคงรับผิดเฉพาะความเสียหายที่ได้สัดส่วนกับการกระทำ

31 Ⅱข้อความคิดความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ก่อนใช้ พรบ. ฉบับนี้
1. ความรับผิดเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ : ถือทำนองเดียวกับความรับผิดของนายจ้างกับลูกจ้าง 2. ต้องรับผิดจนเต็มจำนวนตามความเสียหายที่เกิดขึ้นทุกกรณี

32 3. กรณีกระทำละเมิดร่วมกัน ต้องรับผิดอย่าง ลูกหนี้ร่วม
Ⅱข้อความคิดความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ก่อนใช้ พรบ. ฉบับนี้ (ต่อ) 3. กรณีกระทำละเมิดร่วมกัน ต้องรับผิดอย่าง ลูกหนี้ร่วม 4. หน่วยงานต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี ในเรื่องความรับผิดทางแพ่ง

33 วัตถุประสงค์ในการตรากฎหมายนี้
Ⅲข้อความคิดความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ตามพรบ. ฉบับนี้ วัตถุประสงค์ในการตรากฎหมายนี้ การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ มิได้เป็นไป เพื่อประโยชน์ส่วนตัวโดยเฉพาะ ก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ปฏิบัติหน้าที่ แล้วก่อให้เกิดละเมิดแก่หน่วยงาน หรือบุคคลภายนอก ก่อให้เกิดการบริหารงาน ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยทางอ้อม

34 หลักการสำคัญของกฎหมายฉบับนี้
วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความรับผิดชอบของ หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐในผล แห่งละเมิดที่เกิดขึ้นแก่หน่วยงานของรัฐ หรือบุคคลภายนอก หลักเกณฑ์ความรับผิดจากการทำละเมิดดังกล่าว ต้องเป็นความรับผิดจากการทำละเมิดอันเนื่องมาจาก การปฏิบัติหน้าที่เท่านั้น

35 หลักการสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ (ต่อ)
เจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว จากการกระทำละเมิดเมื่อการปฏิบัติหน้าที่นั้น เป็นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง บุคคลภายนอกจะฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นการ ส่วนตัวไม่ได้ ต้องฟ้องหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานของรัฐมีส่วนต้องรับผิดในความเสียหายนั้นด้วย

36 กรอบในการใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้
กรอบในแง่องค์การและองค์กร กรอบในแง่เวลา

37 1. กรอบในแง่องค์การและองค์กร
กฎหมายนี้ใช้บังคับแก่ - หน่วยงานของรัฐ * ที่กำหนดไว้ใน พรบ. * ที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา - เจ้าหน้าที่

38 จัดตั้งโดย พรบ. หรือโดย พรฎ.
หน่วยงานของรัฐ กำหนดไว้ใน พรบ. กำหนดไว้ใน พรฎ. กำหนดเป็น เฉพาะหน่วยงาน ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ กระทรวง ทบวง กรมฯ ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น จัดตั้งโดย พรบ. หรือโดย พรฎ.

39 เจ้าหน้าที่ ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง ผู้ปฏิบัติงาน ประเภทอื่น ไม่ว่าในฐานะ กรรมการหรือ ในฐานะอื่นใด

40 2. กรอบในแง่เวลา การกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ที่เกิดก่อน
ให้ใช้ พระราชบัญญัติฉบับนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2539 การกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ที่เกิดก่อน วันที่ 15 พฤศจิกายน 2539 ปฏิบัติเช่นใด

41 การกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่
กระทำต่อบุคคลภายนอก (เอกชน) กระทำต่อหน่วยงานของรัฐ -หน่วยงานที่ผู้นั้นสังกัด -กระทำต่อหน่วยงานอื่น -กระทำต่อหน่วยงานเดียว หรือหลายหน่วยงาน

42 ก. กรณีกระทำละเมิดต่อเอกชน (1)
: ต้องเป็นกรณีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดชอบโดยตรงจาก ผลละเมิดนั้น (มาตรา 5) ถ้าฟ้องผิดตัว ผู้ถูกฟ้องยื่นคำร้องต่อศาล ให้เรียกผู้ต้องรับผิดเข้ามาในคดีได้

43 ก. กรณีกระทำละเมิดต่อเอกชน (2)
: ต้องเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ เอกชนเรียกร้องสิทธิ์ได้ 2 วิธี ยื่นคำขอให้ชดใช้ค่าเสียหายต่อหน่วยงาน (ม.11) ฟ้องร้องต่อศาล (ศาลใดแล้วแต่กรณีละเมิด)

44 ก. กรณีกระทำละเมิดต่อเอกชน (3)
: ต้องเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ ผู้เสียหายฟ้องร้องต่อศาล กรณีฟ้องต่อศาลปกครอง กรณีฟ้องต่อศาลยุติธรรม ระยะเวลาการฟ้องคดี(ม.51 พรบ.จัดตั้งฯ) ระยะเวลาการฟ้องคดี(ม.448 ป.พ.พ.)

45 ก. กรณีกระทำละเมิดต่อเอกชน (4)
ถ้าไม่ใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ การพิจารณาความรับผิดของเจ้าหน้าที่ ใช้หลักเกณฑ์ตาม ป.พ.พ. ฟ้องต่อศาลยุติธรรม อายุความใช้ตาม ม. 488 ป.พ.พ.

46 กรณีละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ (1)
ข. กรณีกระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ (1) กระทำต่อหน่วยงานที่ผู้นั้นสังกัด กระทำต่อหน่วยงานอื่น กระทำต่อหน่วยงานเดียวหรือต่อหลายหน่วยงาน

47 ข. หลักเกณฑ์ในการพิจารณาการกระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ (2)
เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ เกิดจากมิใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับการกระทำละเมิดจากการปฏิบัติหน้าที่ต่อเอกชน บังคับตาม ป.พ.พ.

48 ข. กรณีกระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ (3)
อายุความที่จะเรียกค่าเสียหายจากเจ้าหน้าที่ไม่ว่าการ ละเมิดนั้นจะเป็นการละเมิดจากการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ หน่วยงานของรัฐต้องฟ้องเรียกร้องภายใน 2 ปี นับแต่ วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ ผู้จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่ถ้าหน่วยงานเห็นว่า เจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิด แต่กระทรวงการคลังยืนยันว่า ต้องรับผิดให้มีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่หน่วยงาน ของรัฐมีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง (มาตรา 10)

49 หลักเกณฑ์การพิจารณา กรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดชอบเป็นการส่วนตัว
1. การกระทำละเมิดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ที่ได้กระทำไปโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง 2. จำนวนค่าสินไหมให้คำนึงถึงระดับของ ความร้ายแรงของการกระทำและความเป็นธรรม 3. ถ้าหน่วยงานมีส่วนในการละเมิดด้วย ให้หน่วยงาน มีส่วนรับผิดด้วย 4. กรณีที่การกระทำละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคน มิได้นำหลักลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับ

50 ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง :
การกระทำโดยมิได้จงใจแต่เป็นการกระทำ ซึ่งบุคคลพึงคาดหมายได้ว่าอาจก่อให้เกิดความเสียหายแต่ไม่ตระหนักที่จะใช้ความระมัดระวัง ซึ่งหากใช้ความระมัดระวังเพียงเล็กน้อยก็อาจป้องกันความเสียหายได้

51 ตัวอย่าง ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
สรรพากรอำเภอมีหน้าที่ต้องลงนามในหนังสือนำส่งเงินภาษี ต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งต้องควบคุมดูแลเงินภาษีจำนวนมาก ในแต่ละวัน ซึ่งตามภาวะวิสัยเช่นนั้น ต้องระมัดระวังอย่างรอบคอบ เพื่อควบคุมเงินสดซึ่งไม่ยุ่งยากและตรวจสอบได้ในแต่ละวันประกอบกับ มิได้จัดให้มีการลงทะเบียนคุมเช็ค นั้น สามารถตรวจสอบการทุจริตใด เมื่อมิได้จัดทำสมุดเช็ค และมิได้ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติ ตามระเบียบ การปฏิบัติงานของสรรพากรอำเภอจึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง (ศาลปกครองสูงสุด อ.72/2550)

52 หลักเกณฑ์การคำนวณสัดส่วนแห่งความรับผิด
* จงใจ – ถือว่าร้ายแรงสุด – ชุดใช้ 100% * ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง – แบ่งเป็น 3 ระดับ 1. ฝ่าฝืน หลีกเลี่ยง ละเลย การใช้กฎหมายหรือระเบียบ ข้อบังคับ และมิได้แก้ไขหรือบรรเทาความเสียหาย – % 2. ฝ่าฝืน หลีกเลี่ยง ละเลย การใช้กฎหมายหรือระเบียบ ข้อบังคับ แต่ได้ช่วยแก้ไข หรือบรรเทาความเสียหาย – % 3. ขาดความระมัดระวังในลักษณะที่คาดเห็น หรือหากระมัดระวัง ก็จะคาดเห็นได้ – 65-80% * ส่วนที่หน่วยงานต้องร่วมรับผิด – หักได้ตามควรแก่กรณี – กระทรวงการคลังพิจารณาทบทวน (หนังสือกระทรวงการคลังที่ กค ว121 ลว. 26 ธันวาคม 45)

53 สรุปกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
แยกความรับผิดอันเกิดจาก “การปฏิบัติหน้าที่ & ไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่” แยกความรับผิดของหน่วยงานของรัฐ & เจ้าหน้าที่ สิทธิไล่เบี้ย (เฉพาะกรณีจงใจ-ประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง การไล่เบี้ย คำนึงถึงระดับความร้ายแรง-ความบกพร่องของหน่วยงาน ไม่นำหลัก “ลูกหนี้ร่วม” มาใช้บังคับ กำหนดเรื่อง “อายุความ” แตกต่างจาก ปพพ. หน่วยงานใช้ “มาตรการบังคับทางปกครอง” ได้เอง


ดาวน์โหลด ppt ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ วิชญ์ชัย ธรรมประดิษฐ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google