งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การประเมินประสิทธิภาพสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การประเมินประสิทธิภาพสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การประเมินประสิทธิภาพสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้

2 การประเมินสื่อที่ผ่านมา
The positivist or quantitative paradigm เชื่อบนพื้นฐานที่สามารถวัดได้ และพยายามที่จะอธิบายการเปลี่ยนแปลงในลักษณะของความจริงแท้แน่นอน (Reality) E1/E2 หรือการหาค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.)

3 กระบวนการออกแบบและพัฒนาสื่อที่มุ่งเน้นการปรับปรุงและพัฒนา
กระบวนทัศน์การประเมินที่เปลี่ยนแปลงจากสื่อเพื่อถ่ายทอดมาสู่สื่อหรือเทคโนโลยีทางปัญญา (cognitive technology) ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมกระบวนการรู้คิดหรือกระบวนการทางพุทธิปัญญา (cognitive process) การประเมินที่อาศัยข้อมูลเชิงปริมาณ ไม่เพียงพอ ที่จะนำมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในกระบวนการรู้คิดภายในสมอง

4 แนวทางการประเมินตามแนวคอนสตรัคติวิสต์
Baker and O’Neil (1994) การแก้ปัญหาที่ซับซ้อนที่ต้องใช้กระบวนการคิด อาจไม่สามารถอาศัยค่าคะแนนเชิงปริมาณเช่นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แต่จำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการคิด หรือกระบวนการทางพุทธิปัญญาเช่นความสามารถในการถ่ายโยง (transfer) Think aloud protocol or Depth interview จะช่วยให้สามารถนำมาปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพสื่อสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ได้มากกว่าการให้ความสำคัญกับค่าคะแนนเพียงอย่างเดียว

5 แนวทางการประเมินตามแนวคอนสตรัคติวิสต์
วิธีการประเมินตามสภาพจริง (Authentic assessment) จะประเมินเกี่ยวกับบริบทสภาพจริงที่ผู้เรียนได้มีโอกาสมีประสบการณ์ในชีวิตจริง ประเมินเกี่ยวกับการได้มาซึ่งความรู้ของผู้เรียน

6 วิธีการประเมินประสิทธิภาพของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้
สุมาลี ชัยเจริญ (2550) เรื่องการพัฒนาโมเดลต้นแบบสิ่งแวดล้อม ทางการเรียนรู้บนเครือข่ายที่ส่งเสริมการสร้างความรู้ตามแนวคอน สตรัคติวิสต์ ได้นำเสนอหลักการที่สำคัญที่ควรพิจารณา ประกอบด้วย 1) การประเมินด้านผลผลิต 4) การประเมินด้านความสามารถทางสติปัญญา 2) การประเมินบริบทการใช้ 5) การประเมินผลสัมฤทธิ์ 3) การประเมินความคิดเห็น

7 1 การประเมินด้านผลผลิต
เป็นการประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ โดยการตรวจสอบ คุณภาพด้านต่าง ๆ โดยผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ (1) ด้านเนื้อหา (2) ด้านสื่อ (3) ด้านการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์

8 ด้านเนื้อหา Khan, B.H, Vega R.(1997),Hanafin(1999)ได้เสนอหลักการสำคัญที่นำมาเป็นพื้นฐานในการพิจารณาดังนี้ ความถูกต้อง ความน่าสนใจ ความเหมาะสมกับสาระในสาขาวิชา มีความทันสมัย ความครอบคลุมเรื่องที่จะศึกษา มีความชัดเจน เอื้อต่อการศึกษาค้นคว้า หรือการสร้างความรู้ของผู้เรียน ภาษาที่ใช้สามารถสื่อได้ตรงกับ concept ในการเรียนรู้ มีความกะทัดรัดเป็นลำดับขั้นและง่ายต่อการทำความเข้าใจ

9 ด้านเนื้อหา ความเหมาะสมกับวิธีการหรือหลักการทฤษฎีที่นำมาใช้ ดังเช่น การออกแบบตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ได้แก่ ครอบคุลมและสามารถนำมาสู่การแก้ปัญหา และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหา ความพอเพียงของสารสนเทศ และสนับสนุนการสร้างความรู้และนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน รูปแบบการนำเสนอเนื้อหา การนำเสนอเนื้อหามีรูปแบบการนำเสนอที่น่าสนใจ เช่น การใช้ตัวหนังสือที่มีการเน้นด้วยสี ช่วยส่งเสริมการทำความเข้าใจได้ดี มีความกะทัดรัด เป็นลำดับขั้นที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ช่วยให้จำง่าย ประมวลสารสนเทศง่าย และช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี ความสอดคล้องของเนื้อหาภาพประกอบ และช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้

10 ด้านสื่อ : สื่อบนเครือข่าย
Khan, B.H, Vega R.(1997),Hanafin(1999)ได้เสนอหลักการพื้นฐานที่ใช้พิจารณาสื่อบนเครือข่าย ดังมีรายละเอียดดังนี้ การออกแบบเครื่องนำทาง(Navigator) ช่วยในการค้นหาหาสารสนเทศ การออกแบบเครื่องนำทางมีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกันและมีความคงที่ สัญลักษณ์ที่เป็นไอคอน (Icon) สามารถสื่อความหมายเกี่ยวกับแหล่งสารสนเทศต่างๆ การเชื่อมโยง (Link) ช่วยให้สามารถเข้าถึงสารสนเทศต่างๆ ประสิทธิภาพของ รูปแบบการสนทนา (post) ผ่านเครือข่าย (web) การออกแบบองค์'ประกอบทางศิลปะ(architecture)บน web มีความเหมาะสม สะดุดตาน่าสนใจ ภาพและขนาดของตัวอักษรที่ใช้มีความสอดคล้องกับเนื้อหาและล่งเสริมการเรียนรู้

11 ด้านสื่อ : ชุดสร้างความรู้
หลักการพื้นฐานที่ใช้ในการพิจารณาของ Khan, B.H, Vega R. (1997), Hannafin (1999) ดังมีรายละเอียด ต่อไปนี้ การนำเสนอเนื้อหาที่ดึงดูดความใส่ใจของผู้เรียนได้แก่ การใช้ตัวหนังสือที่มี การเน้น ด้วยสี การนำเสนอด้วยภาพนิ่ง การออกแบบองค์ประกอบทางศิลปะ มีความเหมาะสม สะดุดตา น่าสนใจ ภาพประกอบมีความสอดคล้องกับเนื้อหาและส่งเสริมการเรียนรู้ ขนาดของตัวอักษรที่ใช้มีความสอดคล้องกับเนื้อหา การใช้ขนาดตัวอักษรเหมาะกับผู้เรียน มีจุดดึงดูดความสนใจและอ่านง่าย ภาพกราฟิกที่ใช้ประกอบ มีความเหมาะสม สอดคล้องกับเนื้อหา และทำให้สามารถ เรียนรู้ได้ดีและง่ายมากยิ่งขึ้น การใช้สีมีความเหมาะสม กลมกลืน ดึงดูดความสนใจ

12 การออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้
เป็นการนำ ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ ที่อยู่ในลักษณะองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ สถานการณ์ปัญหา ธนาคารความรู้ ฐานการช่วยเหลือ การร่วมมือกันแก้ปัญหา ดังรายละเอียด ต่อไปนี้ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้โดยการปฏิบัติจริง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนควบคุมการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง (Learner control) สถานการณ์ปัญหากระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเสาะแสวงหาความรู้ หรือค้นหา ค้นพบ คำตอบด้วยตนเอง ระดับภาระ'กิจการเรียนรู้กระตุ้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถการคิดขั้นสูง

13 การออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้
ภาระกิจการเรียนรู้กระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ไตร่ตรองประเด็นปัญหาที่ต้องการค้นหา คำตอบ ธนาคารความรู้ (Resource) มีการออกแบบที่สนับสนุนข้อมูลให้ผู้เรียนสามารถค้นหาสารสนเทศ จากแหล่งต่างๆอย่างหลากหลาย เพื่อนำมาใช้ในการแก้สถานการณ์ปัญหาที่กำหนดให้ รวมทั้งช่วย สนับสนุนในการสร้างความรู้ของผู้เรียน เครื่องมือทางปัญญา (Cognitive tool) ในการเรียน กระตุ้นกระบวนการคิดของผู้เรียนและเกิด ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในการเรียน ฐานการช่วยเหลือ (scaffolding) ส่งเสริมให้ผู้เรียนในการใช้ความพยายามในการเรียนรู้ กรณีใกล้เคียง (Related case) ส่งเสริมให้ผู้เรียนเชื่อมโยงประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการแก้ปัญหาได้ ห้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีการออกแบบที่สนับสนุนให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยน ความคิดเห็น และแก้ปัญหาร่วมกัน การโค้ช (coaching) โดยครูผู้สอนทำการวิเคราะห์ผู้เรียน สามารถสื่อสารและสะท้อนผล เกี่ยวกับผู้เรียนในกระบวนการเรียนรู้ และกระตุ้นให้ผู้เรียนกระทำภารกิจการเรียนรู้อย่างตื่นตัว

14 2 การประเมินบริบทการใช้ในสภาพจริง
เป็นการนำไปทดลองใช้เพื่อหาบริบทที่เหมาะสมในการใช้สิ่งแวดล้อม ทางการเรียนรู้ของสื่ออย่างมีประสิทธิภาพในสภาพจริง (1) ศึกษาบริบทที่เหมาะสม เช่น จำนวนสมาชิกในกลุ่มที่เรียนแบบร่วมมือกันแก้ปัญหา จำนวนที่เหมาะสมคือเท่าไร? (2) ทดลองเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข โดยนำข้อคิดเห็นของผู้เรียนที่เรียนด้วยสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้นั้น มาเป็นพื้นฐานการปรับปรุง ซึ่งอาจจะใช้แบบสอบถาม แบบสำรวจ หรือสัมภาษณ์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ การออกแบบ การใช้ ฯลฯ

15 3 การประเมินด้านความคิดเห็นของผู้เรียน
ความคิดเห็นของผู้เรียนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ เป็นส่วน หนึ่งที่สะท้อนเกี่ยวกับประสิทธิภาพสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้นั้น และ ความคิดเห็นของนักเรียนก็สามารถนำมาเป็นฐานในการปรับปรุง สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น ซึ่งจะมีการประเมินอยู่ 3 ด้าน (1)ด้านคุณลักษณะของสื่อบนเครือข่าย (2)ด้านเนื้อหาในการเรียนรู้ (3)ด้านการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้

16 ด้านการออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (learning environment) ประเด็นสอบถามมีดังนี้
สถานการณ์ปัญหา (Problem base) ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียน ต้องการเข้าไปทำการ เรียนรู้ แหล่งข้อมูล (Data bank ช่วยสนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถค้นพบ คำตอบ (Discovery) หรือข้อความรู้ที่ใช้ในการแก้ปัญหา ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ช่วยสนับสนุนสารสนเทศ ให้ผู้เรียนเกิดแนวคิดที่ หลากหลาย กรณีที่เกี่ยวข้อง (Related case) ให้ผู้เรียนสามารถถ่ายโยง ความรู้หรอสามารถนำ ความรู้ที่ได้จากการศึกษาเป็นแนวทางในการ แก้ปัญหาในบริบทอื่นๆได้

17 ด้านการออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (learning environment) ประเด็นสอบถามมีดังนี้
เพื่อนทางปัญญา (Collaboration)ช่วยสนับสนุนกระบวนการ แก้ปัญหาและเกิด ความเข้าใจที่ลึกซึ้งในการเรียน ฐานความช่วยเหลือ (Scaffolding)ช่วยให้ผู้เรียนสามารถคิด แก้ปัญหาได้ มีการแนะนำเกี่ยวกับการแก้ปัญหาที่จะเป็นแนวทางใน การแก้ปัญหา รวมทั้งช่วย กระตุ้นให้ผู้เรียนได้ใช้ความพยายามในการ เรียนรู้อย่างรู้ตัว (Mindfulness) การโค้ช(Coaching) ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนคิด ค้นหาคำตอบ รวมถึงกระทำภารกิจ การเรียนรู้อย่างตื่นตัว

18 4 การประเมินด้านความสามารถ (Performance) ของผู้เรียน
ประเมินได้จาก กระบวนการทำงาน กระบวนการคิด (Cognitive process) โดยเฉพาะการคิดในระดับสูง (higher- order thinking) ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ การคิดวิพากษ์วิจารณ์ การ คิดแบบสร้างสรรค์ การคิดเชิงเหตุผล และ ทักษะทางการคิด (Thinking skill) นอกจากนี้เป็นการประเมินเกี่ยวกับกระบวนการ ทำงาน เช่น กระบวนการการแก้ปัญหา (อาจขึ้นอยู่กับตัวแปรที่ศึกษา) ประเมินโดยการสังเกต สัมภาษณ์ และดูจากผลงาน

19 5 การประเมินด้านผลสัมฤทธิ์
ประเมินด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหรอค่าคะแนนที่ได้จากประเมินได้จาก คะแนนจากการ ทดสอบหลังเรียนของผู้เรียนหลังจากการเรียนด้วย สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่พัฒนาตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ถือเป็นมิติหนึ่ง ของการประเมินลื่อโดยทั่วไป ที่ทุกท่านคุ้นเคย ได้แก่ ประสิทธิภาพของ กระบวนการ/ ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ หรอ E1/E2 หรือ ค่าดัชนี ประสิทธิผล (Effectiveness Index) ที่จะสะท้อนให้เห็น ประสิทธิภาพ ของสื่อ สามารถประเมินได้จากคะแนนจากการทดสอบหลังเรียนของผู้เรียนตาม เกณฑ์ที่กำหนด เช่น การผ่านเกณฑ์ของรายวิชาหรือการผ่านเกณฑ์ของ โรงเรียน เช่น กำหนดให้ผู้เรียนทุกคนต้อง ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 65 ของคะแนน เต็ม เป็นต้น

20 สรุป การประเมินประสิทธิภาพสื่อเป็นส่วนที่สำคัญที่นักออกแบบ ใช้เพื่อยืนยันคุณภาพสื่อที่สร้างขึ้น ซึ่งแต่เดิมพิจารณาเพียงด้านเดียว คือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มาสู่การพิจารณาเพิ่มเป็น 5 ด้าน คือ ประเมินผลผลิต ประเมินบริบทการใช้ ประเมินความคิดเห็นของ ผู้เรียน ประเมินความสามารถทางสติปัญญา และผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน ซึ่งจะให้ผลยืนยันทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ว่าสื่อที่สร้างมี คุณภาพ


ดาวน์โหลด ppt การประเมินประสิทธิภาพสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google