ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
หลักการอิสลามว่าด้วยหะลาล-หะรอม
2
มารู้จัก “ฮาลาล” กันเถอะ
ฮาลาล (HALAL) “ถูกต้องตามบัญญัติของศาสนาอิสลาม อนุมัติให้บริโภคหรือใช้ประโยชน์ได้”
3
ฮาลาล & ฮารอม ฮาลาล หมายถึง สิ่งที่ศาสนาอิสลามอนุมัติให้ปฏิบัติได้ อันเนื่องจากไม่มีคุณลักษณะต้องห้ามใดๆ ตามบทบัญญัติ ฮารอม คือ สิ่งที่ศาสนาสั่งให้งดเว้นการปฏิบัติโดยเด็ดขาด โดยที่การฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษทัณฑ์ในปรโลกและอาจได้รับการลงโทษในโลกนี้ด้วย
4
หลักเบื้องต้นในการกำหนดว่าสิ่งใดฮาลาลหรือฮารอม
ถือว่าสถานภาพพื้นฐานของสิ่งต่างๆ นั้นเป็นที่อนุญาต ความเป็นอันตรายและก่อเกิดความเลวร้าย คือ เหตุผลที่นำสู่ฮารอม สิ่งที่เป็นตัวนำสู่ฮารอม ถือว่าฮารอมด้วย เจตนาดีไม่ช่วยให้ฮารอมกลายเป็นฮาลาลได้
5
หลักการบริโภคในอิสลาม
เลือกบริโภคเฉพาะสิ่งดีๆ (ฮาลาล + ตอยยีบัน) บริโภคแต่พอควร ความพอควรในการบริโภค นั้นได้รับการบอกเล่าจากบรมศาสดา ว่าไม่เกิน 1/3 ของกระเพาะอาหาร อีก 2 ส่วน มีไว้สำหรับ น้ำและการหายใจ บริโภคอาหารที่ได้จากน้ำพักน้ำแรงของตัวเอง
6
อาหารฮาลาล หมายถึง อาหารที่มีองค์ประกอบ ส่วนผสมการผลิต และการได้มาที่ถูกต้องตามบัญญัติศาสนาอิสลาม นั่นคือสะอาด ไม่น่าเกลียดน่าขยะแขยง ไม่เป็นอันตราย และมีประโยชน์ต่อร่างกายและจิตใจ
7
ความแตกต่างระหว่างอาหารฮาลาลกับมาตรฐานอุตสาหกรรมอาหารทั่วไป
มาตรฐานฮาลาลเป็นระบบเชิงบูรณาการโดยองค์ประกอบที่สำคัญคือ กระบวนการผลิตตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุด ตลอดสายโซ่การผลิต จะต้องฮาลาล คือถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม ปราศจากสิ่งฮารอม ซึ่งหมายถึงสิ่งต้องห้ามตามหลักศาสนาอิสลาม อาทิวัตถุดิบ ส่วนประกอบ สารปรุงแต่ง สารพิษ สิ่งปนเปื้อนต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์อาหารที่ดี ถูกสุขอนามัย มีคุณค่าทางอาหาร เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ
8
ความแตกต่างระหว่างอาหารฮาลาลกับมาตรฐานอุตสาหกรรมอาหารทั่วไป (ต่อ)
สอดคล้องกับระบบการจัดการความปลอดภัยในการผลิตอาหารระบบ GMP/HACCP ความแตกต่างที่สำคัญคือ มาตรฐานอาหารฮาลาลยึดถือความถูกต้องและคุณค่าตามหลักศาสนาอิสลาม ส่วนมาตรฐานสากลยึดถือคุณค่าทางอาหารโดยมิจำเป็นต้องถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม
9
อาหารที่ฮาลาล อาหารที่เป็นพืช ผัก และ ผลไม้ เมื่อไม่ใช่สิ่งที่เป็นพิษและอันตรายต่อผู้บริโภค รวมทั้งพืช ที่ก่อให้เกิดการอ่อนเปลี้ยเคลิบเคลิ้ม มึนเมา และเสพติด
10
สัตว์น้ำ อาหารที่ได้จากสัตว์ที่มีชีวิตอยู่ได้แต่ในน้ำเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นน้ำจืดหรือน้ำเค็ม จะมีชีวิตอยู่หรือตายแล้วก็ตาม ยกเว้นสัตว์ที่มีพิษ เช่น ปลาปักเป้า
11
ปลาปักเป้า ปลาปักเป้ามีพิษก็เพราะว่า กินอาหารตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นพืช หอยเม่น หอยทะเล หนอนทะเล ซึ่งมีเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ปลาปักเป้าเกิดการสร้างพิษสะสมในตับ ไข่ ต่อมเพศ หนัง กระเพาะ และลำไส้ เรียกว่าทั้งตัวเต็มไปด้วยพิษ แต่ปริมาณพิษจะรุนแรงสุดที่รังไข่และตับ กินเข้าไปจะรู้สึกชา และคันที่ริมฝีปาก ลิ้น ปลายนิ้วกระตุก ระคายคอ ปวดท้อง อ่อนเพลีย ชีพจรเต้นเบา และเสียชีวิตในที่สุด
12
ปลาหมึก
13
ปู เช่น ปูม้า ปูทะเล หอยต่างๆ เช่นหอยนางรม หอยแมงภู่ ฯลฯ
หอยชักตีน หอยหลอด
14
ตั๊กแตนบริโภคได้โดยไม่ต้องเชือด
15
สัตว์อื่นๆ ที่อนุมัติให้รับประทานได้โดยผ่านการเชือด
เช่น วัว ควาย อูฐ แพะ แกะ กวาง เก้ง กระต่าย ฯลฯ อาหารที่ได้จากสัตว์ปีก เช่น เป็ด ห่าน ไก่ป่า นกกระจอกเทศ นกกระทา นกพิราบ ที่ผ่านการเชือดอย่างถูกต้อง
16
อาหารหะรอม
17
สิ่งที่ศาสนาห้ามบริโภค (ฮารอม)
กรุอ่าน ระบุให้บริโภคสิ่งที่อนุมัติ (ฮาลาล) ที่ดีๆ มีประโยชน์ (ตอยยิบัน) และได้ระบุสิ่งที่ห้ามบริโภคไว้ คือ ซากสัตว์ หรือสัตว์ที่ตายเอง ทำไม? สัตว์ที่ตายเอง ..อาจตายเพราะโรคระบาด อาจเป็นอันตรายได้ ที่สำคัญคือ พระเจ้า ...มิทรงต้องการให้มนุษย์กินในสิ่งที่ไม่ได้ตั้งใจ...
18
อาหารที่ห้ามบริโภค (ฮารอม)
ประเภทซากสัตว์หรือสัตว์ที่ตายเอง....เช่น สัตว์ที่ตายเพราะถูกรัดหรือบีบคอ สัตว์ที่ตายเพราะถูกตีหรือขว้าง สัตว์ที่ตายเพราะตกจากที่สูง สัตว์ที่ตายเพราะโดนขวิด สัตว์ที่ตายเพราะถูกสัตว์อื่นกัดกินเนื้อบางส่วนไป สัตว์ที่ถูกเชือดโดยบุคคลที่ไม่ใช่มุสลิม
19
เลือด เนื้อสุกร สัตว์ที่ถูกเชือดโดยกล่าวนามอื่น นอกจากอัลเลาะห์ (ซบ.)
20
อาหารฮารอม (ต่อ) สัตว์บางชนิด ไม่อนุญาตให้บริโภค เช่น
1. สัตว์ที่มีเขี้ยว หรือกรงเล็บ ซึ่งโดยธรรมชาติมักดุร้าย และกินสัตว์ด้วยกันเป็นอาหาร เช่น เสือ สิงโต สุนัข เหยี่ยว เป็นต้น
21
อาหารฮารอม (ต่อ) 2. สัตว์ที่บุคคลทั่วไปรู้สึกรังเกียจ เช่น ลิง
3. สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น เต่า จรเข้ ฯลฯ 4. สัตว์ที่เป็นพิษต่อร่างกาย เช่น แมงป่อง งู 5. สัตว์ซึ่งเป็นที่ขยะแขยงของคนทั่วไป เช่น แมลงสาบ ไส้เดือน หนู กิ้งกือ
22
สัตว์ปีกต้องห้ามในศาสนา
เช่น นกแก้ว นกยูง นกหัวขวาน แร้ง อีกา เหยี่ยว ค้างคาว หรือนกที่มีกรงเล็บ
23
เครื่องดื่มหรือสิ่งมึนเมาทุกชนิด
ไม่ว่าจะเป็นเหล้า เบียร์ ไวน์ หรือ ยาเสพติดต่างๆ เช่น ฝิ่น กัญชา ยาบ้า ฯลฯ
24
การเชือดสัตว์ตามหลักศาสนาอิสลาม
25
การเชือดสัตว์ตามหลักศาสนาอิสลาม
ผู้เชือดต้องเป็นมุสลิมผู้ศรัทธาและอยู่ในแนวทางอิสลาม เชือดโดยการกล่าวนามอัลเลาะห์ (ซบ.) สัตว์ที่จะทำการเชือดจะต้องเป็นสัตว์ที่อนุมัติให้ใช้เป็นอาหารได้ตามที่อิสลามกำหนด สัตว์จะต้องมีชีวิตสมบูรณ์ (ก่อนทำการเชือด)
26
การเชือดสัตว์ตามหลักศาสนาอิสลาม
เครื่องมือหรือมีดที่ใช้เชือดจะต้องคม และไม่ควรยกขึ้นขณะทำการเชือด ลงมีดครั้งเดียว การเชือดควรจะตัดหลอดลม หลอดอาหาร เส้นเลือดแดงใหญ่ และเส้นเลือดดำบริเวณคอ ต้องอ่านคำว่า “บิสมิลลา” ขณะทำการเชือด ไม่ทรมานสัตว์ ผู้เชือดต้องผินหน้าไปทางทิศกิบลัต รอให้สัตว์ตายก่อนที่จะนำไปชำแหละ
27
การทำให้สัตว์สลบหรือหมดสติ (stunning)
แนวทางทั่วไป 1. วิธีการทำให้สัตว์สลบอาจใช้ได้สองวิธี คือ การใช้ไฟฟ้า และการใช้เครื่องกล 2. การใช้เครื่องมือทำให้สัตว์สลบควรมีจะมีหัวหน้างานที่เป็นมุสลิมควบคุมการใช้ตลอดเวลา หรือ อาจใช้พนักงานเชือดมุสลิมที่ได้รับการฝึกมาอย่างดี หรือ อาจใช้เจ้าหน้าที่รับรองฮาลาล 3. สัตว์จะต้องถูกทำให้สลบเป็นการชั่วคราวและควรฟื้นสู่ภาวะปกติดด้วยตนเองภายในเวลา 5 นาที ภายหลังที่ถูกทำให้สลบ 4. การทำให้สลบไม่ควรทำให้สัตว์ตาย หรือ ทำให้สัตว์เกิดการเจ็บ อย่างถาวร
28
การทำให้สลบชนิดไฟฟ้า
1. ความแรงของกระแสไฟฟ้าที่ใช้ควรมีเจ้าหน้าที่ชำนาญการควบคุม 2. เครื่องมือทำให้สัตว์สลบด้วยไฟฟ้า ควรเป็นชนิดที่หน่วยงานรัฐบาลที่รับผิดชอบด้านการเชือดเป็นผู้อนุมัติ 3. การใช้เครื่องทำให้สัตว์สลบไฟฟ้าสำหรับสัตว์ปีกควรเป็นชนิดใช้น้ำ (water stunner) เท่านั้น 4. การใช้เครื่องทำให้สัตว์ที่อนุมัติสลบควรเป็นชนิดใช้กับหัว (head only stunner) เท่านั้น โดยการติดอิเลคโทรดทั้งสองขั้วไว้ที่หัวสัตว์
29
Water stunner
30
เครื่องทำให้สลบชนิดกล
1. เครื่องทำให้สลบชนิดกล (mechanical stunner) ควรใช้กับวัวควายเท่านั้น 2. อนุญาตให้ใช้เครื่องทำให้สลบที่ไม่เป็นชนิดเจาะ (non penetrative) เช่น แบบหัวเห็ด (mushroom head) 3. เครื่องมือไม่ควรเจาะผ่านหรือทำให้กะโหลกสัตว์แตก ทั้งนี้เพื่อไม่ให้การทำให้สัตว์บาดเจ็บนั้น กลายเป็นการบาดเจ็บถาวร
31
Mushroom Head
32
นะยิสและการชำระล้างนะยิส
33
ข้อกำหนดเกี่ยวกับเรื่องนะยิส และวิธีชำระล้าง
นะยิส คือ สิ่งสกปรก โสโครก ปฏิกูลและอื่นๆ อันเป็นที่รังเกียจโดยบทบัญญัติศาสนาอิสลามกำหนดไว้ เช่น โลหิต น้ำเหลือง น้ำหนอง อาเจียน สุนัข สุกร ซากสัตว์ที่ไม่ได้เชือด อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำนมของสัตว์ที่ห้ามรับประทาน และของเหลวที่ทำให้มึนเมา เป็นต้น 4/27/2019 33 จากภาคผนวก ค ในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ: อาหารฮาลาล (2550)
34
จากภาคผนวก ค ในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ: อาหารฮาลาล (2550)
นะยิสมี 3 ชนิด คือ ชนิดที่ 1 นะยิสชนิดเบา (มู่คอฟฟาฟะห์) ปัสสาวะของเด็กผู้ชายซึ่งอายุไม่ถึง 2 ขวบ ชนิดที่ 2 นะยิสชนิดปานกลาง (มู่ต้าวัสซิเต๊าะห์) โลหิต น้ำหนอง น้ำเหลือง อาเจียน อุจจาระ ปัสสาวะ ซากสัตว์ และน้ำนมของสัตว์ที่ห้ามบริโภค ชนิดที่ 3 นะยิสชนิดหนัก (มูฆอลล่าเซาะห์) สุกร สุนัข หรือสัตว์ที่เกิดมาด้วยการผสมพันธุ์กับสุนัข หรือสุกร และทุกสิ่งอันเนื่องมาจากสัตว์ดังกล่าว 4/27/2019 34 จากภาคผนวก ค ในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ: อาหารฮาลาล (2550)
35
จากภาคผนวก ค ในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ: อาหารฮาลาล (2550)
วิธีชำระล้างนะยิส ชนิดที่ 1 นะยิสชนิดเบา ปัสสาวะของเด็กผู้ชายซึ่งอายุไม่ถึง 2 ขวบ ไม่ได้กินหรือดื่มสิ่งอื่นใดที่ทำให้อิ่ม นอกจากน้ำนม วิธีล้างนะยิสชนิดเบา ชำระนะยิสออกให้หมดเสียก่อน แล้วใช้น้ำพรมบนรอยที่เปื้อนนะยิสนั้นให้ทั่ว โดยไม่จำเป็นต้องให้น้ำไหลผ่านก็ใช้ได้ 4/27/2019 35 จากภาคผนวก ค ในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ: อาหารฮาลาล (2550)
36
ชนิดที่ 2 นะยิสชนิดปานกลาง
โลหิต น้ำหนอง น้ำเหลือง อาเจียน อุจจาระ ปัสสาวะ ซากสัตว์ (นอกจากมนุษย์ ปลา และตั๊กแตน) และน้ำนมของสัตว์ที่ห้ามบริโภคเหล่านี้ วิธีล้างนะยิสชนิดปานกลาง ชำระนะยิสออกให้หมดเสียก่อน แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดให้ไหลผ่านอย่างน้อย 1 ครั้งเพื่อให้สี กลิ่น รส หมดไป ในทางที่ดีให้ล้างเพิ่มเป็น 3 ครั้ง หมายเหตุ “น้ำสะอาดให้ไหลผ่านอย่างน้อย 1 ครั้ง” หมายถึง การล้างทั่วถึงทุกส่วนที่เปรอะเปื้อนนะยิสโดยต้องทำให้สี กลิ่น รส ของนะยิสนั้นหมดไป 4/27/2019 36
37
ชนิดที่ 3 นะยิสชนิดหนัก
สุกร สุนัข หรือสัตว์ที่เกิดมาด้วยการผสมพันธุ์กับสุนัข หรือสุกร และทุกสิ่งอันเนื่องมาจากสัตว์ดังกล่าว วิธีล้างนะยิสชนิดหนัก ชำระนะยิสออกให้หมดเสียก่อน แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดให้ไหลผ่าน 7 ครั้ง แต่ 1 ใน 7 ครั้งนั้น ต้องเป็นน้ำดินที่สะอาดตามบทบัญญัติศาสนาอิสลามและมีสภาพขุ่นแขวนลอย หรือน้ำดินสอพอง แนะนำให้ใช้น้ำดินล้างในครั้งแรก 4/27/2019 37 หมายเหตุ “น้ำสะอาดให้ไหลผ่าน 7 ครั้ง” การปฏิบัติแต่ละครั้งให้ดำเนินการในลักษณะเช่นเดียวกัน
38
นยิสที่สำคัญ 7 ชนิด * * สุนัขและสุกร สุราและของมึนเมา
ซากสัตว์ : สัตว์ที่ตายโดยไม่ได้เชือดตามหลักการอิสลาม ยกเว้น ปลาและตั๊กแตน เลือดที่หลั่งริน น้ำเหลือง น้ำหนอง ยกเว้น อวัยวะ เช่น ตับและม้าม * * 4/27/2019 38
39
* ปัสสาวะและอุจจาระของมนุษย์และสัตว์
นะยิสที่สำคัญ * ปัสสาวะและอุจจาระของมนุษย์และสัตว์ ส่วนที่แยกออกจากสัตว์ขณะที่สัตว์ยังมีชีวิต ยกเว้น ผมและขน นมสัตว์ที่เนื้อไม่อนุญาตให้รับประทาน เช่น นมลา นมแมว 4/27/2019 39
40
การเตรียมอาหารฮาลาล วัตถุดิบปราศจากสิ่งที่ไม่ฮาลาล
วัตถุดิบปราศจากนะยิส อุปกรณ์ สถานที่ปราศจากนะยิส แยกเตรียมอาหารที่ฮาลาล/ไม่ฮาลาล
41
การผลิตอาหารฮาลาล การผลิตอาหาร การขนส่ง/รับวัตถุดิบ การเชือดสัตว์
การเก็บรักษาวัตถุดิบ การเตรียม/ล้างวัตถุดิบ ผู้บริโภค การผลิตอาหาร ร้านค้าส่ง/ปลีกซุปเปอร์มาร์เก็ต การขนส่งผลิตภัณฑ์ การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ 4/27/2019 41
42
วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ที่ควรระวัง
43
สารเพิ่มความหนืด ผลิตภัณฑ์จากพืช (ไม่มีปัญหา)
เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากยาง และน้ำเมือกจากพืช ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากแป้ง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสาหร่ายทะเล ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (อาจจะมีปัญหา)
44
สารเพิ่มความหนืดที่ต้องระวัง
เจลาติน เนื่องจากส่วนใหญ่ทำจากสุกร จึงต้องตรวจสอบว่าทำจากอะไร หากจากสัตว์ต้องดูว่าเป็นสัตว์ที่อนุมัติเชือดถูกต้องหรือไม่ มาร์ชเมลโล่ ซึ่งมักจะผสมเจลาติน กลีเซอรีน อาจจะผลิตมาจากไขมันสัตว์
45
เจลาติน ส่วนใหญ่มาจากหนังหมู ต้องระวัง
46
วัตถุดิบที่ใช้แทนเจลาตินได้
อะคาเซีย Tragacanth
47
วัตถุดิบที่ใช้แทนเจลาตินได้
กัวกัม แซนแทนกัม เปคติน
48
วุ้น ทำจากสาหร่ายสีแดง
คาราจีแนน เป็นสาหร่ายทะเล ส่วนใหญ่ใช้แทนเจลาติน
49
เลือดและผลิตภัณฑ์จากเลือด
เอ็นไซม์
50
เหล้า เบียร์ ไวน์ สิ่งที่มึนเมา และ แอลกอฮอล์
51
วัตถุดิบที่ต้องสังสัย (ควรหลีกเลี่ยง)
ยีสต์ ไขมันเนย เนยแข็ง กลีเซอรีน ไขมันสัตว์ คอลลาเจน กลีเซอไรด์ ไกลโคเจน
52
วัตถุดิบที่ต้องสงสัย
ฮอร์โมน ซูริมิ คอเลสเตอรอล กรดไขมันต่างๆ โปรตีนต่างๆ เช่น อัลบูมิน
53
สิ่งที่ควรระมัดระวังในการผลิตอาหารฮาลาล
สัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์: ต้องห้าม? กระบวนการเชือดสัตว์ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม? แหล่งของวัตถุดิบ/ส่วนประกอบ: นยิส/หะรอม? กระบวนการผลิตวัตถุดิบ: ใช้สารปนเปื้อนตามหลักการศาสนาอิสลาม? 4/27/2019
54
สิ่งที่ต้องระมัดระวัง
ระหว่างกระบวนการผลิต: มีสิ่งปนเปื้อนจากภายนอก/สิ่งแวดล้อม? การใช้เครื่องมือ: ใช้ร่วมกับอาหารหะรอม? การเก็บรักษาวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์: มีการปนเปื้อนจากสัตว์, มูลสัตว์และสารปนเปื้อนอื่นๆ? การขนส่ง: มีการปนเปื้อนระหว่างการขนส่ง? 4/27/2019
55
ปัญหาที่พบบ่อยในการผลิตอาหารฮาลาล
ผู้ประกอบการไม่เข้าใจในหลักการเรื่องอาหารฮาลาลตามบทบัญญัติทางศาสนาอิสลาม ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องอาหารเชิงวิทยาศาสตร์ -> การเลือกใช้วัตถุดิบที่ไม่ถูกต้อง การใช้วัตถุดิบที่ไม่อนุญาตเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์ที่ไม่อนุญาต วัตถุดิบที่มีกลีเซอรีนจากไขสัตว์ที่ไม่อนุญาตเป็นส่วนผสม 4/27/2019
56
ปัญหาที่พบบ่อยในการผลิตอาหารฮาลาล
การใช้สิ่งที่ไม่อนุญาตในการสกัดวัตถุดิบ เช่น การใช้บริวเวอร์ยีสต์ในการเลี้ยงหัวเชื้อแบคทีเรีย (starter culture) การใช้วัตถุดิบที่ไม่ทราบแหล่งที่มาที่แน่ชัด* การใช้ถั่วเหลืองหรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองที่มีการดัดแปลงพันธุกรรมในการผลิตอาหาร 4/27/2019
57
ประโยชน์ที่ได้รับ ผู้ผลิตอาหารฮาลาล
ผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับของตลาดสากล (ฮาลาล/ทั่วไป) ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสูง สร้างเครดิตให้องค์กร โอกาสการเรียกคืนสินค้าลดลง ยอดขายเพิ่ม มีส่วนส่งเสริมด้านศาสนาและวัฒนธรรม
58
มีผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลมีคุณภาพดี สะอาด ปลอดภัยบริโภค
ประโยชน์ที่ได้รับ ผู้บริโภคมุสลิม/ทั่วไป มีผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลมีคุณภาพดี สะอาด ปลอดภัยบริโภค มั่นใจในผลิตภัณฑ์ คุณภาพชีวิตดีขึ้น ปลอดภัยทางจิตวิญญาณ
59
ระเบียบการขอรับรองฮาลาล และขออนุญาตใช้เครื่องหมายฮาลาล
60
การออกประกาศและการให้การรับรองฮาลาล
การออกประกาศและให้การรับรองฮาลาล เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด โดยแต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาลเพื่อปฏิบัติตามนโยบายการรับรองฮาลาลของคณะกรรมการกลางฯ หรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และกำหนดมาตรการในการตรวจรับรอง
61
ระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยว่าด้วยการดำเนินกิจการฮาลาล พ
ระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยว่าด้วยการดำเนินกิจการฮาลาล พ.ศ. 2552 ที่ปรึกษา หมายถึง มุสลิมที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการ เพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ฮาลาลแก่ผู้ประกอบการ ที่ปรึกษาพิเศษ หมายถึง เป็นผู้ที่ให้คำปรึกษา เกี่ยวกับผู้ประกอบการโรงเชือดสัตว์ทุกชนิดหรือการแปรรูปเนื้อสัตว์หรือชิ้นส่วนของสัตว์ (ไม่ใช่แปรรูปสัตว์น้ำ) และครัวฮาลาล
62
ระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยว่าด้วยการดำเนินกิจการฮาลาล พ
ระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยว่าด้วยการดำเนินกิจการฮาลาล พ.ศ (ต่อ) ผู้ประกอบกิจการฮาลาล จะต้องเรียนรู้ และเข้าใจกระบวนการผลิตและการบริการตามบทบัญญัติศาสนาอิสลาม เป็นหน้าที่ของฝ่ายกิจการฮาลาล ที่ต้องให้การอบรมแก่ผู้ประกอบการอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
63
ประเภทของการรับรองฮาลาล
64
กิจการใดบ้างที่ต้องขอรับรองฮาลาล
ผลิตภัณฑ์อุปโภค บริโภค การเชือดสัตว์ การบริการอาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ฮาลาลหรือเนื้อสัตว์ฮาลาลที่นำเข้าจากต่างประเทศ
65
หลักทั่วไปสำหรับผู้ประกอบกิจการฮาลาล
ต้องมีผู้ประกอบอาหารหรือควบคุมการผลิตอาหารที่เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม สถานที่ที่ผลิตจะต้องเฉพาะไม่ปะปนกับสถานที่ที่ใช้ประกอบอาหารอื่น หรือสิ่งต้องห้ามตามบัญญัติศาสนาอิสลาม วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบอาหารหรือบริการต้องถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม
66
การเก็บรักษา การขนส่ง การจำหน่ายต้องไม่ปะปนกับสิ่งต้องห้ามตามหลักศาสนาอิสลาม
การทำความสะอาดภาชนะที่ใช้ประกอบอาหารหรือบริการต้องแยกไม่ปะปนกับภาชนะอื่นที่ใช้กับสิ่งต้องห้ามตามหลักศาสนาอิสลาม
67
ผู้ประกอบกิจการเชือดสัตว์ ควรปฏิบัติอย่างไร
ผู้ประกอบกิจการเชือดสัตว์ ควรปฏิบัติอย่างไร ผู้เชือดเป็นอิสลาม ปฏิบัติตามหลักการการเชือดสัตว์ตามหลักศาสนาอย่างเคร่งครัด การลำเลียง การขนส่ง การจำหน่าย สัตว์ที่เชือดต้องไม่ปะปนสิ่งหะรอม
68
ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์นำเข้าจากต่างประเทศ
ต้องมีหนังสือรับรองฮาลาล ของสินค้า ที่นำเข้าจากประเทศผู้ผลิต หากไม่มีหนังสือรับรองฮาลาลหรือมีความไม่น่าเชื่อถือ ให้มีการตรวจสอบตามขั้นตอน ณ แหล่งผลิตโดยตรง
69
กระบวนการขอรับรองฮาลาล และขออนุญาตใช้เครื่องหมายฮาลาล
1. ขั้นเตรียมการ * ผู้ประกอบการศึกษาระเบียบกฎเกณฑ์การผลิตอาหารฮาลาล * ผู้ประกอบการดำเนินการผลิตอาหาร * เตรียมเอกสาร * เตรียมตัวอย่างผลิตภัณฑ์
70
2. ขั้นยื่นขอและพิจารณาคำขอ
ยื่นขอต่อ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เอกสาร - สำเนาจดทะเบียนนิติบุคคล - สำเนาใบอนุญาตตั้งโรงงานแบบ รง.2 หรือ รง.4 - สำเนาใบอนุญาตผลิตอาหาร อ.1 - แบบใบแจ้งรายละเอียดของอาหารสำเร็จรูป - สำเนาการจดทะเบียนการค้า - สำเนาเอกสารสรุปผลการตรวจวิเคราะห์จาก อย. - หนังสือรับรองรายละเอียด วัตถุดิบ กรรมวิธีการผลิต - รายชื่อผลิตภัณฑ์ - แผนที่โรงงาน สถานที่ผลิตโดยสังเขป - ผลิตภัณฑ์ตัวอย่างเพื่อประกอบการพิจารณา
71
3. ขั้นตอนการตรวจโรงงาน/สถานประกอบการ
คณะผู้ตรวจโรงงาน ไปตรวจโรงงานตามที่นัดหมาย คณะผู้ตรวจ ประกอบด้วย นักวิชาการศาสนา ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านวิทยาศาสตร์ และผู้มีประสบการณ์ด้านการผลิต
72
4. ขั้นตอนการพิจารณาผลการตรวจสอบและให้หนังสือรับรอง
คณะกรรมการตรวจรับรอง ประชุมร่วมกับคณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาล เพื่อพิจารณาผลการตรวจ แจ้งผลการพิจารณาให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เพื่อให้หนังสือรับรองฮาลาล ผู้ประกอบการชำระค่าธรรมเนียม พร้อมรับหนังสือรับรองฮาลาล ซึ่งมีอายุ 1 ปี
73
5. ขั้นตอนการติดตามและประเมินผล
ให้มี ผู้ตรวจการอาหารฮาลาล เพื่อตรวจผลิตภัณฑ์อาหารในตลาด ฝ่ายกิจการฮาลาล ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต สถานประกอบการ โดยไม่นัดล่วงหน้า ฝ่ายกิจการฮาลาลรายงานผลการตรวจสอบแก่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
74
ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียม
ผู้ประกอบการจะต้องชำระค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบ ตามอัตราที่กำหนด หนังสือรับรองฮาลาล จะมีอายุการใช้งาน 1 ปี
75
ค่าธรรมเนียม การตรวจรับรองฮาลาล (ปี 2552)
กรณีขอใหม่/ขอต่ออายุ บาท (ขึ้นกับขนาดของกิจการ) * ค่าเดินทาง สำหรับไปตรวจรับรองฮาลาล 2500 บาท
76
ขนาดของกิจการ กิจการขนาดเล็ก มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 10 ล้าน พนักงานไม่เกิน 50 คน กิจการขนาดกลาง ทุนจดทะเบียน ล้าน พนักงานไม่เกิน 150 คน กิจการขนาดใหญ่ ทุนจดทะเบียน มากกว่า 80 ล้าน พนักงานมากกว่า 150 คน
77
หนังสือรับรองฮาลาล และหนังสือสำคัญให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล
หนังสือรับรองฮาลาล ฉบับละ บาท หนังสือสำคัญให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล รายการละ 500 บาท หนังสือรับรองฮาลาล ฉบับภาษาอังกฤษ/ภาษาอารบิค ฉบับละ 1000 บาท
78
ค่าประกันการรับรอง เงินประกันการรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาล บาท ขึ้นกับขนาดของกิจการ
79
วัสลาม
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.