ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บทที่ 1 เรื่องไฟฟ้า สื่อเทคโนโลยีประกอบการสอน โดย
สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดย นางสุพรรษา ทิพย์สิงห์
2
1. การผลิตกระแสไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า (Electric current)
เกิดจากการเคลื่อนที่ของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเป็นกระแสต่อเนื่องกันตัวนำแต่ละชนิดจะเกิดการนำด้วยประจุไฟฟ้าที่แตกต่างกัน กระแสไหลเกิดจากการไหลของอิเล็กตรอน โดยจะเคลื่อนที่จากขั้วลบไปหาขั้วบวกเสมอ
3
ชนิดของกระแสไฟฟ้า 1. ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current) เป็นกระแสที่มีทิศทางการไหลของอิเล็กตรอนทิศทางเดียว จากขั้วลบไปยังขั้วบวก 2. ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current) เป็นกระแสที่มีทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้ากลับไป-มาอย่างรวดเร็ว
4
มีแหล่งกำเนิดอยู่ 5 แหล่งกำเนิด ดังนี้
แหล่งกำเนิดกระแสไฟฟ้า มีแหล่งกำเนิดอยู่ 5 แหล่งกำเนิด ดังนี้ เซลล์ไฟฟ้าเคมี เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมี มีอยู่ 2 ประเภทคือ
5
1.เซลล์ไฟฟ้าเคมี - เซลล์ปฐมภูมิ ที่สามารถนำมาใช้งานได้เลย เช่น
- เซลล์ทุติยภูมิ เมื่อนำมาใช้งานต้องประจุไฟก่อน นำไปใช้งาน เช่น แบตเตอรี่
6
1.2 กระแสไฟฟ้าจากการเหนี่ยวนำ
ไดนาโม คือ เครื่องกลที่เปลี่ยนรูปพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้าเมื่อเคลื่อนขดลวดตัวนำตัดสนามแม่เหล็ก เช่น ไฟฟ้าจากพลังน้ำจากเขื่อนโดยพลังงานกลจะหมุนขดลวดตัดกับสนามแม่เหล็กทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้น
7
ปัจจัยที่มีผลที่มีต่อปริมาณกระแสไฟฟ้า
จำนวนรอบของขดลวดตัวนำ กำลังขั้วของแท่งแม่เหล็ก ความเร็วของการเคลื่อนที่ของขดลวดตัวนำหรือแท่งแม่เหล็ก พื้นที่หน้าตัดของขดลวดตัวนำ
8
ไดนาโม มี 2 ชนิด 1. ไดนาโมกระแสตรง มีวงแหวนเดียวโดยแบ่งเป็น 2 ซีกไม่ติดกัน แต่ละซีกต่อกับปลายขดลวดตัวนำ เรียกว่า แหวนแยกหรือคอมมิวเทเตอร์ 2. ไดนาโมกระแสสลับ มีวงแหวน 2 วง สัมผัสอยู่กับแปรงที่ต่อไปยังวงจรภายนอก
9
3. คู่ควบความร้อน เมื่อปลายทั้ง 2 ข้างของสารตัวนำมีอุณหภูมิแตกต่างกันจะทำให้เกิดกระแสไฟในสารตัวนำได้
10
เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนรูปพลังงานแสง
4. เซลล์สุริยะ เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนรูปพลังงานแสง เป็นพลังงานไฟฟ้า
11
เช่น ใช้ใน เครื่องคิดเลข นาฬิกาข้อมือ ดาวเทียม สถานีอวกาศ
ประโยชน์ ในปัจจุบัน เช่น ใช้ใน เครื่องคิดเลข นาฬิกาข้อมือ ดาวเทียม สถานีอวกาศ
12
5.สิ่งมีชีวิต เมื่อเกิดความต่างศักย์ไฟฟ้าขึ้นบนร่างกายของสิ่งมีชีวิต
สามารถทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลได้ ความต่างศักย์ที่เกิดขึ้นในร่างกายมนุษย์วงการแพทย์นำหลักการนี้ ไปใช้ในการสร้างเครื่องวัดการเต้น ของหัวใจ ที่เรียกว่า อิเล็กโทรคาร์ดิโอกราฟ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.