ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยぜんぺい ふじした ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
คู่มือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ องค์การบริหารส่วนตำบลต้นมะม่วง
นางสาวรัตมณี อู่ทอง บุคลากร องค์การบริหารส่วนตำบลต้นมะม่วง
2
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
3
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
เป็นเครื่องหมายแห่งเกียรติยศ พระมหากษัตริย์ทรงพระโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทาน แก่ ผู้กระทำความดีความชอบแก่ราชการหรือสาธารณะ การเสนอขอของ รัฐบาล ถือว่าเป็นบำเหน็จความชอบและเป็นเครื่องหมายเชิดชูเกียรติอย่างสูงแก่ผู้ได้รับพระราชทาน
4
เกิดขึ้นครั้งแรก คริสตศักราช 1095 สมัยสงครามครูเสด
ประวัติความเป็นมาของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เกิดขึ้นครั้งแรก คริสตศักราช 1095 สมัยสงครามครูเสด สันตะปาปา ประมุขของคริสตศาสนา ขอร้องให้ให้อัศวินซึ่งแต่ละคนที่มีเครื่องหมายต่าง ๆ กัน ให้ใช้เครื่องหมายอย่างเดียวกันคือ “กางเขน” อันมีความหมายทางศาสนาและแสดงว่าเป็นฝ่ายคริสต์
5
สงครามระหว่างคริสต์กับอิสลาม
ผู้ร่วมสงครามตกลงใช้ “กางเขนแดง” เย็บติดบนเสื้อของตน ในสงครามครั้งต่อ ๆ มา มีการดัดแปลงสีของกางเขน ใช้กางเขนสีขาวปะลงบนเสื่อสีแดง หรือกางเขนสีดำปะบนเสื้อสีขาว ฯลฯ
6
ใช้เครื่องหมายกางเขน ซึ่งหมายถึง
ผู้เข้าร่วมในสงคราม - ขุนศึก - อัศวินของชาติต่าง พระเจ้าแผ่นดินจาก - อังกฤษ - ฝรั่งเศส - เยอรมัน ใช้เครื่องหมายกางเขน ซึ่งหมายถึง ผู้กล้าหาญในสงคราม
7
พระมหากษัตริย์และประเทศชาติ
ค.ศ หลังสงครามศาสนาเสร็จสิ้น คณะอัศวิน ซึ่งส่วนมากมีพระเจ้าแผ่นดินเป็นหัวหน้า เลิกการไปทำสงครามต่างประเทศ รวมตัวกันอยู่ในประเทศของตน ได้เปลี่ยนเป็นข้าราชการบริพารผู้จงรัก พระมหากษัตริย์และประเทศชาติ
8
เครื่องหมายประจำตำแหน่งต่าง ๆ ของอัศวิน
แต่เดิมเป็นกางเขน ภายหลังประดิษฐ์ตกแต่งให้งดงามตามชั้นยศ พระเจ้าแผ่นดินซึ่งเป็นประมุข มอบให้ เป็นเครื่องหมายแสดงตำแหน่ง หรือ - บำเหน็จความชอบ เพราะได้รับพระราชทานจากพระเจ้าแผ่นดิน เครื่องหมายเหล่านี้กลายมาเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์
9
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ของชาวยุโรปที่เก่าแก่ที่สุด คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศโปรตุเกส สร้างขึ้นเพื่อเป็นบำเหน็จความกล้าหาญในสงคราม ระหว่างโปรตุเกส กับ ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ผู้รุกรานประเทศโปรตุเกส เมื่อ ค.ศ.1503 ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาก่อนสร้างสุโขทัยเป็นราชธานีในประวัติศาสตร์ไทย เป็นเครื่องหมายกางเขน
10
ใช้รูปช้างเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ประเทศเดนมาร์ก ใช้รูปช้างเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประเทศเดนมาร์ก มีเครื่องราช อิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดชั้นเดียว ชื่อ “The Ofder of the Elephan” ซึ่งสร้างจำนวนจำกัด ปัจจุบันยังคงนับเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสำหรับพระเจ้าแผ่นดินและพระบรม วงศานุวงศ์ ทรงใช้ประดับในวโรกาสเสด็จออกพระราชพิธีและรัฐพิธีที่สำคัญของประเทศ
11
ประเทศในภาคพื้นเอเชีย
ต่างก็มีเครื่องประดับสำหรับแสดงเกียรติยศ และบำเหน็จความชอบมาแต่โบราณด้วยกันทุกประเทศ แต่ใช้เครื่องหมายอย่างอื่น การใช้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามแบบอย่างประเทศตะวันตก ได้เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรกในเอเชีย
12
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ในภาคพื้นเอเชีย
ประเทศญี่ปุ่นสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลแรกขึ้นชื่อว่า “The Order of the Rising Sun” เมื่อค.ศ.1875 หรือ พ.ศ.2418 ประเทศจีนได้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชื่อ “The Order of Double Dragon” เมื่อ ค.ศ.1881 หรือ พ.ศ.2424 ประเทศไทยได้สถาปนา เครื่องราชเป็นครั้งแรกในรัชกาลที่ 4 เมื่อ พ.ศ หรือ ค.ศ.1857
13
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แบ่งได้ 4 ประเทศ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แบ่งได้ 4 ประเทศ 1. เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ประมุขของรัฐต่างประเทศ คือ เครื่องราช อิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่ง ราชมิตราภรณ์ 2.เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับบำเหน็จความชอบในราชการแผ่นดินมี 8 ชนิด 3.เครื่องราชอิสริยา ภรณ์สำหรับบำเหน็จความชอบในพระองค์พระมหากษัตริย์ 4. เหรียญอิสริยาภรณ์ต่าง ๆ มี 4 ชนิด
14
มีลักษณะเป็นแผ่นทองคำสลักรูปช้าง
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่อยู่ (รัชกาลที่ 4) ทรงสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์เมื่อปี 2400 มีลักษณะเป็นแผ่นทองคำสลักรูปช้าง สำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการที่ออกไปเป็นทูตต่างประเทศ และ
15
พ.ศ. 2412 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรูปลักษณะขึ้นใหม่ รูปลักษณะที่แก้ไขใหม่คือ รูปลักษณะของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระราชทานสืบเนื่องกันมาจนทุกวันนี้คือ มีสกุลช้างเผือก มี 8 ชั้น ดังนี้ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.) ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.) จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.) เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.) เหรียญทองช้างเผือก (ร.ท.ช.) เหรียญเงินช้างเผือก (ร.ง.ช.)
16
พ.ศ.2412 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์สกุลมงกุฎ ต่อมาปี พ.ศ.2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯให้สร้างชั้นสูงสุดเพิ่มขึ้นเสมอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือก รวมเป็น 8 ชั้น มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) ประถมาภรณ์ มงกุฎไทย (ป.ม.) ทวีติยาภรณ์ มงกุฎไทย(ท.ม) ตริตาภรณ์ มงกุฎไทย(ต.ม.) จตุรถาภรณ์ มงกุฎไทย (จ.ม.) เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.). เหรียญทองมงกุฎไทย (ร.ท.ม.) เหรียญเงินมงกุฎไทย (ร.ง.ม.)
17
ประเภทเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แบ่งได้ 4 ประเภท
1. เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ประมุขของรัฐต่างประเทศ คือเครื่องราช อิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ 2. เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับบำเหน็จความชอบในราการแผ่นดิน มี ชนิด คือ (1) เครื่องขัดติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรม ราชวงศ์ (2) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตน์ราชวราภรณ์ (3) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า (4) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิรามาธิบดี (5) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก (6) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (7) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ (8) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ
18
3. เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับบำเหน็จความชอบใน พระองค์พระมหากษัตริย์ มี 3 ชนิด คือ (1) เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (2) เครื่องราชอิสริยาภรณ์วัลลาภรณ์ (3) เครื่องราชอิสริยาภรณ์วชิมาลา 4. เหรียญราชอิสริยาภรณ์ มี 4 ชิด (1) เหรียญสำหรับพระราชทาน บำเหน็จความกล้า (2) เหรียญสำหรับพระราชทานเป็น บำเหน็จในราชการ (3) เหรียญสำหรับพระราชทานเป็น บำเหน็จในพระองค์พระมหา กษัตริย์ (4) เหรียญพระราชทานเป็นที่ระลึก
19
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่เกี่ยวข้องกับ สำนักเลขาธิการคณะมนตรีโดยตรง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ประกอบด้วย ก. สำหรับพระราชทานฝ่ายหน้า มี 3 ชั้น - ชั้นที่ 1 มี 2 ชนิด (1) ปฐมจุจอมเกล้าวิเศษ (ป.จ.ว.) ไม่จำกัดจำนวน (2) ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) มี 30 สำรับ - ชั้นที่ 2 ชนิด คือ (1) ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว. มี 200 สำรับ (2) ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) มี 250 สำรับ - ชั้นที่ 3 มี 3 ชนิด คือ (1) ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.) มี 250 ดวง (2) ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) มี 200 ดวง (3) ตติยานุจุลจอมเกล้า (ต.อ.จ.) มี 100 ดวง ข. สำหรับพระราชทานฝ่ายใน มี 4 ชั้น - ชั้นที่ 1 มีชั้นเดียว คือ ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) มี 20 สำรับ - ชั้นที่ 2 มี 2 ชนิด (1) ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) มี 100 สำรับ (2) ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ. มี 250 ดวง - ชั้นที่ 3 มีชนิดเดียว คือ ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) มี 250 ดวง - ชั้นที่ 4 มีชนิดเดียว คือ จตุตถจุลจอมเกล้า (จ.จ.) มี 150 ดวง
20
การพระราชทานจะเป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
สตรีผู้ได้รับพระราชทานแล้ว และเป็นเอกภรรยาตั้งแต่ชั้น 4 ขึ้นไป ยกเว้นผู้มีฐานันดรตั้งแต่หม่อมหลวง จะใช้คำนำหน้านามว่า “คุณหญิง” ส่วนสตรีที่ได้ยังไม่สมรสจะใช้คำนำหน้านามว่า “คุณ” สตรีที่ได้รับพระราชทานชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) จะคำนำหน้านามว่า “ท่านผู้หญิง”
21
พ.ศ.2412 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก แบ่งเป็น 8 ชั้น ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) ม.ป.ช.บุรุษ ม.ป.ช.สตรี
22
ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) ป.ช.บุรุษ ป.ช.สตรี ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.) ท.ช.บุรุษ ท.ช.สตรี
23
ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
ต.ช.บุรุษ ต.ช.สตรี ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.) จ.ช.สตรี จ.ช.บุรุษ
24
ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)
บ.ช.บุรุษ บ.ช.สตรี ชั้นที่ 6 เหรียญทองช้างเผือก (ร.ท.ช.) ร.ท.ช.บุรุษ ร.ท.ช.สตรี
25
ชั้นที่ 7 เหรียญเงินช้างเผือก (ร.ง.ช.)
ร.ง.ช.บุรุษ ร.ง.ช.สตรี
26
พ.ศ.2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่อยู่
ทรงสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยรวม 8 ชั้น เสมอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) ม.ว.ม.บุรุษ ม.ว.ม.สตรี
27
ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
ป.ม.บุรุษ ป.ม.สตรี ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.) ท.ม.บุรุษ ท.ม.สตรี
28
ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
ต.ม.บุรุษ ต.ม.สตรี ชั้นที่ 4 จตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.) จ.ม.บุรุษ จ.ม.สตรี
29
ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
บ.ม.บุรุษ บ.ม.สตรี ชั้นที่ 6 เหรียญทองมงกุฎไทย (ร.ท.ม.) ร.ท.ม.บุรุษ ร.ท.ม.สตรี
30
ชั้นที่ 7 เหรียญเงินมงกุฎไทย (ร.ง.ม.)
ร.ง.ม.บุรุษ ร.ง.ม.สตรี
31
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
1. พระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก พ.ศ.2484 มาตรา 4 พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประธานของเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะพระราชทานและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มาตรา 5 เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้สำหรับพระราชทานผู้กระทำความดี ความชอบ เป็นประโยชน์แก่ราชการหรือสาธารณชน ตามที่ทรงพระราชดำริเห็นชอบ
32
มาตรา 6 เจ้านายหรือผู้มีเกียรติของต่างประเทศ อาจได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ได้
มาตรา 7 เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้แบ่งเป็น 8 ชั้น ดังนี้ ม.ป.ช.,ป.ช.,ท.ช.,ต.ช.,จ.ช.,บ.ช.,ร.ท.ช., และ ร.ง.ช. มาตรา 9 ผู้ซึ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ตั้งแต่ชั้น 5 ถึงชั้นสูงสุด ให้มีประกาศนียบัตรทรงลงพระปรมาภิไธย และประทับตราระราชลัญฉกร ส่วนที่ผู้รับพระราชทานชั้นที่ 6 และที่ 7 จะประกาศในราชกิจจานุเบกษา
33
มาตรา 10 เมื่อผู้ซึ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้วายชนม์ ผู้รับมรดกจะต้องส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้คืนภายในกำหนดสามสิบวัน ถ้าส่งคืนไม่ได้ด้วยประการใด ๆ กองมรดกต้องรับผิดชอบ มาตรา 11 เมื่อผู้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ได้รับพระราชทานชั้นสูงขึ้น ผู้รับพระราชทานต้องส่งคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นรอง หรือในกรณีที่ทรงเรียกเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้คืนตามความในมาตรา 4 ถ้าผู้รับพระราชทานส่งคืนไม่ได้ด้วยประการใด ๆ ผู้รับพระราชทานจะต้องใช้ราคาเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้น
34
2. พระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่ง มงกุฎไทย พุทธศักราช 2484
มาตรา 4 พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประธานของเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย และทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะพระราชทานและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ มาตรา 5 เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้สำหรับพระราชทานผู้กระทำความดี ความชอบ เป็นประโยชน์แก่ราชการหรือสาธารณชน ตามที่ทรงพระราชดำริเห็นชอบ มาตรา 6 เจ้านายหรือผู้มีเกียรติของต่างประเทศอาจได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้
35
มาตรา 9 ผู้ซึ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ตั้งแต่ชั้น 5 ถึงชั้นสูงสุด ให้มีประกาศนียบัตรทรงลงพระปรมาภิไธย และประทับพระราชลัญฉกร ส่วนผู้ที่ได้รับพระราชทานชั้นที่ 6 และที่ 7 จะได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา 10 เมื่อผู้ซึ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้วายชนม์ ผู้รับมรดกจะต้องส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้คืนภายในกำหนดสามสิบวัน ถ้าส่งคืนไม่ได้ด้วยประการใด ๆ กองมรดกจะต้องรับผิดชอบ มาตรา 11 เมื่อผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ได้รับพระราชทานชั้นสูงขึ้นผู้รับพระราชทานต้องส่งคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นรอง หรือในกรณีที่ทรงเรียกเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้คืนตามความในมาตรา 4 ถ้าผู้รับพระราชทานส่งคืนไม่ได้ด้วยประการใด ๆ ผู้รับพระราชทานจะต้องใช้ราคาเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้น
36
3. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราช อิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ.2536 ข้อ 4 ในระเบียบนี้ “เครื่องราชอิสริยาภรณ์” หมายความว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกหรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎไทย แล้วแต่กรณี “ข้าราชการเมือง” หมายความว่า บุคคลซึ่งเป็นหรือถือว่าเป็นข้าราชการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยข้าราชการการเมือง หรือกฎหมายอื่น
37
“ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู ข้าราชการฝ่ายตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยข้าราชการทหาร ข้าราชการกรุงเทพมหานครว่าด้วยข้าราชการกรุงเทพมหานคร และ ข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นในส่วนที่เกี่ยวข้อง
38
ข้อ 7 เครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นเครื่องหมายแห่งเกียรติยศ ซึ่งพระมหา กษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่ผู้กระทำความดี ความเป็นชอบ เป็นประโยชน์แก่ราชการหรือสาธารณชน โดยการพิจารณาเสนอขอพระราชทานของรัฐบาล เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบ และเครื่องหมายเชิดชูเกียรติยศอย่างสูงแก่ผู้ได้รับพระราชทาน ข้อ 8 ในการพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่บุคคลใดให้พิจารณาโดยรอบคอบว่า บุคคลนั้นได้กระทำความดีความชอบเป็นประโยชน์แก่ราชการหรือสาธารณชนจนถึงขนาดควรได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ โดยมิใช่พิจารณาแต่เพียงตำแหน่ง ระดับ ชั้น ชั้นยศ หรือครบกำหนดระยะเวลาที่จะขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้เท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้บุคคลที่ได้รับพระราชทานรู้สึกภาคภูมิใจในเครื่องราช อิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทานอย่างแท้จริง และเพื่อให้เครื่องราชอิสริยา ภรณ์เป็นเครื่องหมายเชิดชูเกียรติอย่างสูงด้วย การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ใด ชั้นตราใด แก่บุคคลใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในบัญชีท้ายระเบียบนี้
39
ข้อ 9 การเสนอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้เริ่มจากเครื่องราช อิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกสลับกัน โดยเลื่อนชั้นตราตามลำดับจากชั้นล่างสุด จนถึงชั้นสูงสุดตามลำดับ ดังนี้ (1) ชั้นที่ 7 เหรียญเงินมงกุฎไทย (2) ชั้นที่ 7 เหรียญเงินช้างเผือก (3) ชั้นที่ 6 เหรียญทองมงกุฎไทย (4) ชั้นที่ 6 เหรียญเงินช้างเผือก (5) ชั้นที่ 5 แบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (6) ชั้นที่ 5 แบญจมาภรณ์ช้างเผือก
40
(7) ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย
(8) ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (9) ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (10) ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (11) ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (12) ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (13) ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (14) ชั้นที่ 7 ประถมาภรณ์ช้างเผือก
41
(15) ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ
(16) ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก ข้อ 10 บุคคลที่พึงได้รับการพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (1) เป็นผู้มีสัญชาติไทย (2) เป็นผู้ประพฤติดีและปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนด้วยความอุตสาหะ ซื่อสัตย์ และเอาใจใส่ต่อหน้าที่อย่างดียิ่งและ (3) เป็นผู้ไม่เคยมีพระบรมราชานุญาตให้เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
42
ข้อ 11 การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จะเสนอปีติดกันมิได้ เว้นแต่ (1) เป็นการขอพระราชทานตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในบัญชีท้ายระเบียบนี้ต่างบัญชีกัน (2) เป็นการขอพระราชทานตามที่ได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในระเบียบนี้ หรือ (3) เป็นการขอพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบดีเด่น กล่าวคือ ปฏิบัติหน้าที่ฝ่าอันตรายหรือปฏิบัติงานนอกเหนือหน้าที่เพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นงานสำคัญยิ่งและเป็นผลดีแก่ทางราชการหรือสาธารณชน หรือคิดค้นสิ่งหรือวิธีการอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ประเทศชาติได้เป็นผลสำเร็จ โดยให้ระบุความดีความชอบให้เห็นเด่นชัดว่า ได้กระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์ยิ่งประการใด เมื่อใด และได้ผลดีอย่างไร ข้อ 12 การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จะเสนอเลื่อนชั้นตราก่อนครบกำหนดระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้มิได้
43
ข้อ 13 การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จะเสนอขามชั้นตรามิได้ เว้นแต่เป็นกรณีตามข้อ 11(3)
ข้อ 14 การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี ให้ขอพระราชทานในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา เว้นแต่การเสนอขอพระราชทานกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนตามข้อ 28 การเสนอขอพระราชทานสำหรับชาวต่างประเทศตามข้อ 29 และการเสนอขอพระราชทานสำหรับผู้วายชนม์ตามข้อ 30 โดยให้เสนอขอพระราชทานได้ตามคราวแห่งความชอบและเหตุการณ์เป็นกรณี ๆ ไป ข้อ 16 ให้บุคคลดับต่อไปนี้เป็นผู้เสนอรายชื่อผู้ที่สมควรขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (7) ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือปลัดกรุงเทพมหานคร สำหรับผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานตามกฎหมายเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องที่ แล้วแต่กรณี
44
ข้อ 18 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและปลัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งประสงค์จะเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และผู้ปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องที่ในเขตจังหวัดของตน แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งทำหน้าที่รวบรวมตรวจสอบรายชื่อ เอกสาร และหลักฐานต่าง ๆ แล้วพิจารณาคุณสมบัติและกลั่นกรองความดี ความชอบ ตามที่กำหนดในระเบียบนี้ พร้อมทั้งรับรองว่าเป็นบุคคลที่สมควรเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้ แล้วเสนอไปยังปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี ข้อ 19 การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้เป็นไปตามกำหนดระยะเวลาดังต่อไปนี้ (3) ข้าราชการต้องมีระยะเวลารับราชการไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ นับแต่วันเริ่มเข้ารับราชการ จนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน....
45
(4) ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ต้องปฏิบัติงานติดต่อกันมาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 8 ปีบริบูรณ์ นับแต่วันเริ่มจ้างจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอไม่น้อยกว่า 60 วัน (7) ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานตามกฎหมายเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องที่ ต้องดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง หรือหลายตำแหน่งติดต่อกันมาไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ หรือได้ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง หรือหลายตำแหน่งมาแล้วมีเวลารวมกันไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ นับแต่วันที่ได้ดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน ในการนับระยะเวลาตาม (3)(4) และ (6) และการนับระยะเวลาเพื่อเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เลื่อนชั้นตราให้สูงขึ้นตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในบัญชีท้ายระเบียบนี้ หากผู้ขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ถูกลงโทษทางวินัยในปีใด ให้เพิ่มกำหนดระยะเวลาการขอพระราชทานอีก 1 ปี ยกเว้นโทษภาคทัณฑ์
46
ข้อ 20 ผู้ขอรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ผู้ใดถูกกล่าวหาว่า
ข้อ 20 ผู้ขอรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ผู้ใดถูกกล่าวหาว่า (1) กระทำความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงและถูกตั้งกรรมการสอบสวนแล้ว หรือ (2) กระทำความผิดทางอาญา และอยู่ระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวนหรืออยู่ระหว่างการดำเนินคดีอาญาในศาล แม้คดียังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่ความผิดลหุโทษหรือความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว ก่อนการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานในปีใด ให้กระทรวง ทบวง กรม หรือบุคคลตามข้อ 16 แจ้งพฤติการณ์ดังกล่าวให้คณะกรรมการตามข้อ 23 หรือข้อ 24 แล้วแต่กรณีทราบด้วย และคณะกรรมการอาจมีมติให้รอการพิจารณาการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับผู้นั้นไว้ก่อนก็ได้ ข้อ 22 ข้าราชการ ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ....ที่ต้องพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่เพราะเกษียณอายุในปีใด ให้มีสิทธิได้รับการพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในปีที่พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่นั้นด้วย
47
บัญชี 7 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการ ยกเว้นที่ปรากฎในบัญชีอื่น
ลำ ดับ ตำแหน่ง ชั้นเครื่องราชฯ เงื่อนไขและระยะเวลา หมายเหตุ เริ่มขอ เลื่อนถึง ๑ ระดับ ๑ ร.ง.ม. ร.ง.ช. - ขอพระราชทานได้เฉพาะกรณีพิเศษ ๑. ต้องรับราชการติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๕ ปีบริบูรณ์ นับแต่วันเริ่มรับราชการ จนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ไม่น้อยกว่า ๖๐ วัน ๒. ลำดับ ๒ - ๕ ซึ่งกำหนดเวลาเลื่อนชั้นตรา ๕ ปี หมายถึงต้องดำรงตำแหน่งในระดับนั้นๆ รวมเวลาไม่น้อยกว่า ๕ ปีบริบูรณ์ก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาฯ ไม่น้อยกว่า ๖๐ วัน ๒ ระดับ ๒ บ.ม. บ.ช. ๑. เริ่มขอ บ.ม. ๒. ระดับ ๒ ไม่น้อยกว่า ๕ ปีบริบูรณ์ ขอ บ.ช. ๓ ระดับ ๓ จ.ม. จ.ช. ๑. ระดับ ๓ หรือ ๔ เริ่มขอ จ.ม. ๒. ระดับ ๓ หรือ ๔ ไม่น้อยกว่า ๕ ปี บริบูรณ์ขอ จ.ช. ระดับ ๔ ๔ ระดับ ๕ ต.ม. ต.ช. ๑. ระดับ ๕ หรือ ๖ เริ่มขอ ต.ม. ๒. ระดับ ๕ หรือ ๖ ไม่น้อยกว่า ๕ ปี บริบูรณ์ขอ ต.ช. ระดับ ๖ ๕ ระดับ ๗ ท.ม. ท.ช. ๑. ระดับ ๗ หรือ ๘ เริ่มขอ ท.ม. ๒. ระดับ ๗ หรือ ๘ ไม่น้อยกว่า ๕ ปี บริบูรณ์ขอ ท.ช. ระดับ ๘
48
ลำ ดับ ตำแหน่ง ชั้นเครื่องราชฯ เงื่อนไขและระยะเวลา หมายเหตุ เริ่มขอ เลื่อนถึง ๖ ระดับ ๘ - ป.ม. ๑. ได้รับเงินเดือนเต็มขั้นของระดับ ๘ ๒. ดำรงตำแหน่งบังคับบัญชา ๓. ได้ ท.ช. ไม่น้อยกว่า ๕ ปีบริบูรณ์ขอ ป.ม. ๔. ให้ขอได้ปีก่อนปีที่จะเกษียณอายุราชการ หรือในปีที่เกษียณอายุราชการ เท่านั้น - ลำดับ ๗ - ๙ การขอกรณีปีที่เกษียณอายุ ราชการ ตามข้อ ๔ หรือข้อ ๕ แล้วแต่กรณี ให้ขอปีติดกันได้ ๗ ระดับ ๙ ม.ว.ม. ๑. ได้ ท.ช. ไม่น้อยกว่า ๓ ปีบริบูรณ์ขอ ป.ม. ๒. ได้ ป.ม. ไม่น้อยกว่า ๓ ปีบริบูรณ์ขอ ป.ช. ๓. ได้ ป.ช. ไม่น้อยกว่า ๕ ปีบริบูรณ์ขอ ม.ว.ม. ๔. ในปีที่เกษียณอายุราชการให้ขอสูงขึ้นอีก ๑ ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ป.ช. ยกเว้นกรณีลาออก
49
ลำ ดับ ตำแหน่ง ชั้นเครื่องราชฯ เงื่อนไขและระยะเวลา หมายเหตุ เริ่มขอ เลื่อนถึง ๘ ระดับ ๑๐ - ม.ป.ช. ๑. ให้เลื่อนชั้นตราได้ตามลำดับทุกปีจนถึง ป.ม. ๒. ได้ ป.ม. ไม่น้อยกว่า ๓ ปีบริบูรณ์ขอ ป.ช. ๓. ได้ ป.ช. ไม่น้อยกว่า ๓ ปีบริบูรณ์ขอ.ม.ว.ม. ๔. ได้ ม.ว.ม. ไม่น้อยกว่า ๕ ปีบริบูรณ์ขอ ม.ป.ช. ๕. ในปีที่เกษียณอายุราชการให้ขอสูงขึ้นอีก ๑ ชั้นตรา แต่ไม่เกิน ม.ว.ม. ยกเว้นกรณีลาออก ๙ ระดับ ๑๑ ๑. ได้ ป.ม. ไม่น้อยกว่า ๓ ปีบริบูรณ์ขอ ป.ช. ๒. ได้ ป.ช. ไม่น้อยกว่า ๓ ปีบริบูรณ์ขอ ม.ว.ม. ๓. ได้ ม.ว.ม. ไม่น้อยกว่า ๓ ปีบริบูรณ์ขอ ม.ป.ช. ๔. ในปีที่เกษียณอายุราชการให้ขอสูงขึ้นอีก ๑ ชั้นตรา ยกเว้นกรณีลาออก
50
บัญชีแสดงคุณสมบัติของข้าราชการที่เสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี……
เทศบาล……………………. จังหวัด………………..ชั้น เป็นข้าราชการ ตำแหน่ง ลำดับเครื่องราช อิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทานแล้ว วัน เดือน ปี ขอครั้งนี้ หมายเหตุ ลำดับที่ (1) ชื่อตัว-ชื่อสกุล (2) ระดับ (3) วัน เดือน ปี (4) เงินเดือน (5) (ปัจจุบันและอดีตเฉพาะปีที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยา ภรณ์(6) (7) 5 ธ.ค.... (8) (9) เริ่มรับราช การ (10) เป็นระดับ 3 หรือ 5 หรือ 7 เมื่อ (11) ขอรับรองว่ารายละเอียดข้างต้นถูกต้องและเป็นผู้มีคุณสมบัติตามระเบียบว่าด้วยการขอพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ.๒๕๓๖ ข้อ ๘,๑๐,๑๙(๓),๒๑,๒๒ ลงชื่อ ลงชื่อ……………………………… ( ) (…………………………) เจ้าของประวัติ ตำแหน่ง…………………………… ผู้เสนอขอพระราชทาน
51
เป็นระดับ 3 หรือ 5 หรือ 7 เมื่อ ระดับ 5 เมื่อ 16 พ.ค. 46
ลำดับที่ ชื่อ – สกุล ดำรงตำแหน่ง ตำแหน่งปัจจุบันและ อดีดเฉพาะปีที่ได้รับ พระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ หมายเหตุ เริ่มรับราชการ ระดับ ตั้งแต่ วัน เดือน ปี เงินเดือน ปัจจุบัน ที่ได้รับจาก ชั้นสูงสุด ไปชั้นรอง ว/ด/ป (๕ ธ.ค.) ขอ ครั้งนี้ 1 นายประมูล เบญจพันธ์ 6 1 ต.ค.47 11,470 บุคลากร จ.ช. 5 ธ.ค.2546 ต.ม. 2 ก.ย.39 เป็นระดับ 3 หรือ 5 หรือ 7 เมื่อ ระดับ 5 เมื่อ 16 พ.ค. 46 ขอรับรองว่ารายละเอียดข้างต้นถูกต้องและเป็นผู้มีคุณสมบัติตามระเบียบว่าด้วยการขอพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ.๒๕๓๖ ข้อ ๘,๑๐,๑๙(๓),๒๑,๒๒ ลงชื่อ ลงชื่อ……………………………… (นายประมูล เบญจพันธ์) (…………………………) เจ้าของประวัติ ตำแหน่ง…………………………… ผู้เสนอขอพระราชทาน
52
เป็นระดับ 3 หรือ 5 หรือ 7 เมื่อ ระดับ 6 เมื่อ 1 ต.ค. 47
ลำดับที่ ชื่อ – สกุล ดำรงตำแหน่ง ตำแหน่งปัจจุบันและ อดีดเฉพาะปีที่ได้รับ พระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ หมายเหตุ เริ่มรับราชการ ระดับ ตั้งแต่ วัน เดือน ปี เงินเดือน ปัจจุบัน ที่ได้รับจาก ชั้นสูงสุด ไปชั้นรอง ว/ด/ป (๕ ธ.ค.) ขอ ครั้งนี้ 1 นายประมูล เบญจพันธ์ 6 1 ต.ค.47 11,470 บุคลากร จ.ช. 5 ธ.ค.2546 ต.ม. 2 ก.ย.39 เป็นระดับ 3 หรือ 5 หรือ 7 เมื่อ ระดับ 6 เมื่อ 1 ต.ค. 47 ขอรับรองว่ารายละเอียดข้างต้นถูกต้องและเป็นผู้มีคุณสมบัติตามระเบียบว่าด้วยการขอพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ.๒๕๓๖ ข้อ ๘,๑๐,๑๙(๓),๒๑,๒๒ ลงชื่อ ลงชื่อ……………………………… (นายประมูล เบญจพันธ์) (…………………………) เจ้าของประวัติ ตำแหน่ง…………………………… ผู้เสนอขอพระราชทาน
53
พระราชบัญญัติ เหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา พ.ศ.2484
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ “ทหารและตำรวจ” หมายความว่า ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และตำรวจ “ข้าราชการฝ่ายพลเรือน” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนสังกัดกระทรวงกลาโหม ข้าราชการฝ่ายตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ และหมายความรวมถึงพนักงานเทศบาลตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบพนักงานเทศบาลด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่ข้าราชการวิสามัญหรือพนักงานเทศบาลวิสามัญ
54
มาตรา 6 เหรียญจักรมาลาสำหรับพระราชทานแก่ผู้ที่มียศทหารหรือตำรวจตลอดจนว่าที่ยศนั้น ๆ ทั้งต้องเป็นผุ้รับราชการประจำหรือในกองประจำการรวมกันมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 ปี การนับเวลาราชการให้นับตั้งแต่อายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ หรือตั้งแต่วันขึ้นทะเบียนกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารแล้วแต่กรณี มาตรา 8 เหรียญจักรพรรดิมาลาสำหรับพระราชทานแก่ข้าราชการฝ่ายพลเรือน ที่รับราชการมาด้วยความเรียบร้อยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 25 ปี การนับเวลาราชการให้นับโดยคำนวณเวลาราชการทั้งหมดของผู้นั้นรวมกัน แต่ถ้าผู้นั้นเข้ารับราชการก่อนอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ให้นับตั้งแต่อายุครบ 18 ปีบริบูรณ์เป็นต้นไป
55
มาตรา 9 ทหารและตำรวจที่รับราชการมารวมเวลาราชการไม่น้อยกว่า 25 ปี หากไม่เข้าเกณฑ์ที่จะได้รับพระราชทานเหรียญจักรมาลาตามมาตรา 6 ก็ให้ได้รับพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลาตามมาตรา 8 มาตรา 10 ผู้ซึ่งได้รับพระราชทานเหรียญจักรมาลาหรือเหรียญจักรพรรดิมาลา ให้มีประกาศนียบัตรทรงลงพระปรมาภิไธย และประทับตราพระราชลัญฉกร มาตรา 11 พระราชทานเหรียญจักรมาลาหรือเหรียญจักรพรรดิมาลาพระราชทานเป็นกรรมสิทธิ์ เมื่อผู้ได้รับพระราชทานวายชนม์ ให้ทายาทโดยธรรมรักษาไว้เป็นที่ระลึก แต่ถ้าผู้ได้รับพระราชทานก็ดี ทายาทโดยธรรมก็ดี ประพฤติตนไม่สมเกียรติ อาจทรงเรียกคืนได้ ถ้าส่งคืนไม่ได้ด้วยประการ ใด ๆ ภายในกำหนดสามสิบวัน จะต้องใช้ราคาเหรียญนั้น
56
มาตรา 12 เหรียญจักรมาลาหรือเหรียญพรรดิมาลา จะพระราชทานแก่ผู้ใด อย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงเท่านั้น
ในการขอเหรียญจักรมาลาหรือเหรียญจักรพรรดิมา หากผู้นั้นมีความผิดวินัย 5 สถานตามมาตรฐานวินัย จะขอไม่ได้ และ พ.ร.บ.ล้างมลทิน ไม่ครอบคลุมถึง
57
(ลงชื่อ)……………..เจ้าของประวัติ
บัญชีรายการประวัติ ประวัติ นาย นาง นางสาว…………………………………………. ตำแหน่ง………………… เทศบาล…………... จังหวัด………………. สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เกิดวันที่…..เดือน…..……พ.ศ…...ได้รับราชการครบ ๒๕ ปี เมื่อวันที่……เดือน…………พ.ศ.…….สมควรได้รับพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา พ.ศ.๒๔๘๕ โดยมีประวัติรับราชการดังต่อไปนี้ วัน เดือน ปี ที่รับราชการประจำ ตำแหน่ง กรม กระทรวง อายุ เงินเดือน หมายเหตุ ว/ด/ป ที่เริ่มรับราชการ ว/ด/ป ที่ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนของทุกปี (1 ต.ค. และ 1 เม.ย.ของทุกปีตั้งแต่เริ่มรับราชการ) บุคลากร …………………..... 24 ..… 7,170 ..…… ยังรับราชการจนถึงปัจจุบัน (ลงชื่อ)……………..เจ้าของประวัติ หมายเหตุ วัน เดือน ปีที่รับราชการให้เรียงลำดับต่อเนื่องกัน ห้ามเว้นข้าม วัน เดือน ปี ขั้นเงินแดือน ให้ลงตามปีงบประมาณ กรณีลงรายการไม่ครบจะถือว่าขาดคุณสมบัติในการขอพระราชทาน
58
การขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ การขอพระราชทานเพลิงศพ และหีบศพ
หลักเกณฑ์ในการขอพระราชทานเพลิงศพ ผู้มีสิทธิได้รับพระราชทานน้ำหลวง เพลิงหลวง และหีบเพลิง ต้องมีตำแหน่งและชั้นยศ ดังต่อไปนี้ (4) ข้าราชการพลเรือนตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป (6) ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ “เบญจมดิเรกคุณา ภรณ์”(บ.ภ.) และ เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.) ขึ้นไป (9) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล ที่ถึงแก่กรรมในขณะดำรงตำแหน่ง
59
หลักเกณฑ์ในการขอพระราชทานเพลิงศพกรณีพิเศษ
ผู้ที่สมควรได้รับการพิจารณาในการขอพระราชทานเพลิงศพกรณีพิเศษอยู่ในหลักเกณฑ์ดังนี้ (4) ผู้ที่ทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติ เช่น ศิลปินแห่งชาติ นักกิฬาระดับชาติ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตสมาชิกสภาจังหวัด หรืออดีตสมาชิกสภาเทศบาล (5) ผู้ทำคุณประโยชน์ เช่น บริจาคเพื่อการกุศลคิดเป็นมูลค่า ไม่น้อยกว่า 300,000 บาท บริจาคร่างกาย หรืออวัยวะ (6) บิดา มารดาของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ระดับ 6 ขึ้นไป หรือเทียบเท่าขึ้นไป (7) บิดา มารดาของผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ “ตริตาภรณ์ช้างเผือก” (ต.ช.) ขึ้นไป
60
ทะเบียนประวัติข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น
เป็นเอกสารสำคัญที่ข้าราชการทุกคนต้องมีและใช้ประโยชน์ไปตลอดชีวิตของการรับราชการ เป็นเอกสารอ้างอิงและเป็นบันทึกประวัติบุคคลของทางราชการในส่วนที่จำเป็นและมีความสำคัญ โดยจัดทำขึ้นตาม
61
1.ประกาศ ก.จ.จ.,ก.ท.จ.,และ ก.อบต.จังหวัด เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ข้อ 358,388 และ 355 ตามลำดับ ได้กำหนดไว้ว่า “การจัดทำทำเบียนประวัติของข้าราชการและพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ลักษณะ รูปแบบ และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับทะเบียนประวัติ วิธีการบันทึกรายการในทะเบียนประวัติ และการจัดทำแฟ้มทะเบียนประวัติ ให้นำกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดไว้สำหรับข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับใช้โดยอนุโลม
62
2. หนังสือสำนักงาน ก. พ. ที่ สร 1007/ว 28 ลว. 15 กันยายน 2518 เรื่อง ก
2. หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ สร 1007/ว 28 ลว. 15 กันยายน 2518 เรื่อง ก.พ.7 แบบใหม่และแฟ้มประวัติข้าราชการ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ สร 1007/ว 40 ลว. 28 พฤศจิกายน 2518 เรื่องคู่มือการจัดทำ ก.พ.7 แบบใหม่ 3. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการแก้ไข วัน เดือน ปีเกิด ในทะเบียนประวัติข้าราชการ พ.ศ.2548 ข้อ 4 วรรค 2 กำหนดว่า “สำหรับราชการส่วนท้องถิ่น องค์อิสระตามรัฐธรรมนูญ หน่วยงานอื่นซึ่งมิได้สังกัดฝ่ายบริหาร อาจนำระเบียบนี้ไปใช้ได้โดยอนุโลม
63
ความสำคัญของบัตรประวัติ
1. ต่อตัวเจ้าของประวัติที่จะนำมาใช้ประโยชน์ เช่น เมื่อรับราชการอยู่ใช้ในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน การปรับปรุงตำแหน่ง การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และภายหลังเกษียณอายุราชการ ใช้ในการนับอายุราชการ การคำนวณบำเหน็จบำนาญ เป็นต้น
64
2. และเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานของรัฐ ในการบริหารงานบุคคล การพัฒนาบุคลากร การวางแผนด้านการงบประมาณและการคลัง เช่น การบรรจุแต่งตั้ง การพิจารณาความดีความชอบ การโอนย้าย การวางแผนกำลังพล การวางแผนงบประมาณประจำปี การสรรหาบุคลากรที่ความสามารถในแต่สายอาชีพ ให้เพียงพอและเหมาะสมกับตำแหน่ง การจัดฝึกอบรมเพื่อเพิ่มความรู้ความสามารถบุคลากรในด้านที่ขาดแคลน
65
แฟ้มทะเบียนประวัติ - เป็นแฟ้มที่เก็บบัตรประวัติและเอกสารที่อ้างอิง เกี่ยวข้อง หรือใช้ยืนบันข้อมูลในบัตรประวัติทั้งหมดที่มีความสำคัญ ต้องใช้เอกสารของทางราชการประกอบ เช่น สำเนาหลักฐานการศึกษา ใบเกิด ทะเบียนบ้าน หนังสือสั่งการ ๆ
66
บัตรประวัติมีการบันทึกข้อมูลสำคัญ 2 ส่วน
1. ข้อมูลส่วนตัว ชื่อสกุล ว/ด/ป เกิด คู่สมรส บิดามารดา ประวัติการศึกษา การฝึกอบรม การดูงาน สถานที่เกิด สถานที่อยู่ ภาพถ่าย ลายมือชื่อใต้ภาพถ่าย 2. ข้อมูลการปฏิบัติราชการ หน่วยงานที่สังกัด ตำแหน่ง เลขที่ตำแหน่ง บันทึกการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ความผิดทางวินัย อัตราเงินเดือน บัตรประวัติของ อบจ. มีสีขาว (เหมือนแบบ ก.พ.7) บัตรประวัติเทศบาล มีสีเหลือง และบัตรของอบต. มีสีเขียว ทุกแบบเป็นกระดาษแข็ง หนา 310 แกรม เพื่อความคงทน
67
การจัดทำบัตรประวัติ ให้ส่วนราชการผู้สั่งบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นผู้จัดทำทะเบียนประวัติ - ต้องจัดทำให้แล้วเสร็จภายใน 5 วัน นับจากวันที่มีคำสั่งบรรจุแต่งตั้งให้เข้ารับราชการ และต้องจัดตามจำนวน ดังนี้ เทศบาล และ อบต. จัดทำ 3 ชุด ทุกชุดต้องเหมือนกันทั้งหมด (ทั้ง 3 ชุด ที่จัดทำเป็นต้นฉบับทั้งหมด ไม่ใช่สำเนา) ชุดแรกเก็บไว้ที่หน่วยงานต้นสังกัด ชุดที่ 2 ส่งให้ท้องถิ่นจังหวัด และชุดที่ 3 ส่งให้ สถ. (สำนักงานเลขานุการ ก.) 2. อบจ. จัดทำจำนวน 2 ชุด ชุดแรกเก็บไว้ที่ต้นสังกัด ชุดที่ 2 ส่งให้ สถ. (สำนักงานเลขานุการ ก.จ.)
68
การบันทึกรายการในบัตรประวัติมี 2 ส่วน
1. ส่วนที่ 1 เจ้าของประวัติเป็นผู้เขียนบันทึกประกอบด้วย ตำแหน่ง ชื่อ – สกุล ว/ด/ป เกิด วันเกษียณอายุ สถานที่เกิด ที่อยู่ถาวร ชื่อคู่สมรส ชื่อบิดามารดา ประวัติการศึกษา การฝึกและการอบรม 2. ส่วนที่ 2 พนักงานประวัติเป็นผู้เขียนบันทึก (ปลัด อบจ.,ปลัดเทศบาล และปลัด อบต.) ประกอบด้วย ชื่อหน่วยงานต้นสังกัด อำเภอ จังหวัด เลขที่ตำแหน่ง วันเริ่มรับราชการ บันทึกการเปลี่ยนแปลง คามผิดทางวินัย ตำแหน่งและอัตราเงินเดือน
69
การบันทึกข้อมูลลงในบัตรประวัติ
ข้อมูลที่บันทึกจะต้องมีความสำคัญ เพราะจะเป็นเอกสารอ้างอิงของทางราชการต่อไปในอนาคต จึงมีความสำคัญมาก ดังนั้น ต้องบันทึกไปตามความเป็นจริงตามหลักฐานที่มีอยู่จริง ต้องเขียนบันทึกด้วยปากกาสีดำหรือน้ำเงิน ลายมือตัวบรรจง ชัดเจนและอ่านง่าย
70
ติดรูปถ่าย ขนาด 2 นิ้ว ถ่ายเมื่อ พ.ศ ลายมือชื่อเจ้าของประวัติ แบบประวัติพนักงาน องค์การบริหารส่วนตำบล/เทศบาล สำนัก..ส่วน..ตำแหน่ง... 1.ชื่อ วัน เดือน ปีเกิด..3.เกิดที่อำเภอ ที่อยู่ถาวร เริ่มรับราชการเมื่อ วันเกษียณอายุ..... จังหวัด 7.ชื่อคู่สมรส ชื่อบิดา-มารดา สถานที่ประกอบอาชีพ ที่อยู่ปัจจุบัน 9. ประวัติการศึกษา สถานศึกษา วุฒิที่ได้รับ ตั้งแต่ – ถึง ระบุสาขาวิชาเอก(ถ้ามี)
71
10. ประวัติการดูงาน หรือการฝึกอบรม
10. ประวัติการดูงาน หรือการฝึกอบรม สถานที่ดูงาน วุฒิที่ได้รับ ตั้งแต่ – ถึง 11. บันทึกการเปลี่ยนแปลง พนักงานประวัติ
72
12. ความผิดทางวินัย วัน เดือน ปี เรื่อง โทษ คำสั่ง
73
13. ตำแหน่งและอัตราเงินเดือน
วัน เดือน ปี ตำแหน่ง เงิน ระดับ เดือน ชั้น คำสั่ง พนักงาน ประวัติ
74
เขามีส่วน เลวบ้าง ช่างหัวเขา จงเลือกเอา ส่วนที่ดี เขามีอยู่ เป็นประโยชน์ โลกบ้าง ยังน่าดู ส่วนที่ชั่ว อย่าไปรู้ ของเขาเลย จะหาคน มีดี โดยส่วนเดียว อย่ามัวเที่ยว ค้นหา สหายเอ๋ย เหมือนเที่ยวหา หนวดเต่า ตายเปล่าเลย ฝึกให้เคย มองแต่ดี มีคุณจริง พุทธทาส ภิกขุ
75
องค์การบริหารส่วนตำบลต้นมะม่วง
งานการเจ้าหน้าที่ องค์การบริหารส่วนตำบลต้นมะม่วง เบอร์โทรศัพท์
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.