งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงถึง 11

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงถึง 11"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงถึง 11
ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงถึง 11.2% ในปี 2006 และมีอุปสงค์ต่อพลังงานสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จีนบริโภคน้ำมันเพิ่มขึ้น 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็น 38% ของการเจริญเติบโตของอุปสงค์น้ำมันโลก การผลิตและการใช้ จีนกลายเป็นผู้นำเข้าน้ำมันตั้งแต่ปี 1993 ปัจจุบันจีนมีการผลิตน้ำมันประมาณ 3.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน และบริโภคน้ำมันประมาณ 7.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งทำให้จีนกลายเป็นผู้นำเข้าน้ำมันอันดับ 3 ของโลกรองจากสหรัฐและญี่ปุ่น และจีนกลายเป็นตัวแปรสำคัญต่อตลาดน้ำมันโลกในปัจจุบัน

2 จีนในฐานะผู้ขับเคลื่อน เศรษฐกิจและความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิง
ของภูมิภาค

3 ธุรกิจน้ำมันและการกลั่น
การเปิดประเทศ และการเข้าเป็นสมาชิก WTO ในปี 2001 ทำให้จีนต้องทำการปรับภาษี และการนำเข้าพลังงานเพื่อช่วยให้จีนมีความสามารถทางการแข่งขันในการค้าน้ำมันสำเร็จรูปมากขึ้น อุตสาหกรรมปิโตรเลียมของจีนก็มีการปรับเปลี่ยนไปด้วย ปัจจุบันบริษัท China National Petroleum Corporation (CNPC) และ China Petroleum and Chemical Corporation (Sinopec) เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีความสำคัญที่สุดในภาคน้ำมันและก๊าซของประเทศ บริษัท CNPC และ Sinopec มีบริษัทลูกในท้องถิ่นมากมาย ซึ่งทำการสำรวจ ผลิต ขนส่งน้ำมัน และกลั่นน้ำมัน เมื่อไม่นานมานี้ ทั้งสองบริษัทได้มีการออก IPOs เพื่อระดมทุนด้วย

4 จีนมีกำลังการกลั่น 6.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยบริษัททั้งสองมีสัดส่วนการกลั่นประมาณ 90% ของการผลิตทั้งประเทศ เนื่องจากจีนมีอัตราการเจริญเติบทางเศรษฐกิจและความต้องการน้ำมันที่สูงขึ้นมาก ภาคการกลั่นได้ขยายตัวและมีการก่อสร้างโรงกลั่นใหม่ซึ่งจะทำให้จีนมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นอีก 1.8 ล้านบาร์เรลในปี 2008

5 ภาคขนส่งและสิ่งแวดล้อม
จีนยังมีการใช้ยานพาหนะน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งประเทศ อย่างไรก็ตาม การใช้ยานพาหนะกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ ซึ่งก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ และปัญหาการจราจรติดขัด ในปักกิ่งได้มีการยกเลิกการใช้รถประจำทางเก่าจำนวน 2,850 คัน รถแท็กซี่ 5,000 คัน และรถอื่นๆที่ก่อมลภาวะ นอกจากนี้จีนได้นำรถประจำทางที่ใช้ก๊าซธรรมชาติมาใช้กว่า 4,000 คัน จีนได้ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยมีองค์กรที่ชื่อว่า State Environmental Protection Agency (SEPA) ทำหน้าที่กำกับดูแล

6 SEPA ได้กำหนดมาตรฐานการใช้น้ำมัน ในสิ้นปี 2009 ดังนี้
ให้ใช้น้ำมันเกรด RON 97 แทน RON 95 ลดปริมาณการปล่อยซัลเฟอร์ โดยปล่อยได้ไม่เกิน 150 ppm จำกัดปริมาณแมงกานีสให้ไม่เกิน 16 mg/l ลดการปล่อยเบนซีนลงเหลือ 1% ลดการปล่อยโอเลฟินส์ลงเหลือ 30% จำกัดความกดดันไอในช่วงฤดูร้อนให้ไม่เกิน 72 kPa

7 จากการการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้พบว่า กรุงปักกิ่งมีสภาพอากาศที่ไม่ดี ผลการศึกษาดังกล่าวทำให้คณะทำงานระหว่างประเทศทางด้านวิทยาศาสตร์ และเจ้าหน้าที่รัฐ ได้ร่วมกันปรับปรุงสภาพอากาศให้อยู่ในระดับที่ดีขึ้น เพื่อการแข่ง Olympics 2008 โดยมีจุดประสงค์มุ่งเน้นไปที่การตรวจสอบระดับ Sulphur dioxide, Nitrogen dioxide และโอโซนระดับพื้นดิน ให้ผ่านมาตรฐานของ WHO และอยู่ในระดับเทียบเคียงกับเมืองใหญ่ในประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านยานพาหนะ และการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง จะช่วยให้ จีนสามารถลดปัญหามลภาวะทางอากาศในเมืองใหญ่ได้ จาก Asian Clean Fuels Association Vol. 5 Issue 7 – August 2007

8

9 อยู่อย่างไร...เมื่อน้ำมันแพง
"ประเสริฐ บุญสัมพันธ์" อยู่อย่างไร...เมื่อน้ำมันแพง

10 ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท
ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. "แอลพีจีกลายเป็นสินค้าทางการเมือง" ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้พลังงานโดยรวมประมาณ ล้านบาร์เรลต่อวัน ในส่วนนี้เป็นพลังงานนำเข้าประมาณ 60% คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 1 ล้านล้านบาท หรือ 10% ของจีดีพี (ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) ที่มีมูลค่าประมาณ 7-8 ล้านล้านบาท เฉพาะน้ำมันมีมูลค่าการนำเข้าสูงถึง 8-9 แสนล้านบาท เพราะสัดส่วนการใช้พลังงานของไทย น้ำมันมีการใช้สูงสุดคิดเป็น 40% ของการใช้พลังงานทั้งหมด เป็นการใช้ก๊าซธรรมชาติ 30% ถ่านหิน 20% ที่เหลือพลังงานน้ำและเชื้อเพลิงชนิดอื่น ดังนั้น เมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกแพงขึ้นย่อมส่งผลกระทบต่อไทย โดยเฉพาะในภาคที่มีการใช้น้ำมันจำนวนมาก นั่นคือภาคการขนส่ง และภาคอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการใช้น้ำมันสูงสุดถึงภาคละ 30% ตามมาด้วยภาคที่อยู่อาศัยที่มีการใช้ประมาณ 20%

11 ที่ผ่านมาประเทศไทยพยายามลดการพึ่งพาน้ำมัน ด้วยการพัฒนาก๊าซธรรมชาติ พัฒนาพลังงานทางเลือก และพลังงานทดแทน ด้วยการนำของเหลือใช้ หรือแม้แต่ของเสียมาเปลี่ยนเป็นพลังงาน แต่สิ่งที่จะช่วยได้มากคือ การบริหารดีมานด์ไซซ์ (ความต้องการใช้) ให้มีการใช้พลังงานอย่างประหยัดและคุ้มค่า อาจจะทำได้ในหลายมิติ ทั้งการเลือกเชื้อเพลิง และชนิดของพลังงานที่ใช้ รวมถึงการปรับเปลี่ยนเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา โชคดีที่มีเงินบาทเข้ามาช่วย ทำให้ได้รับผลกระทบน้อย ทุก 1 บาทที่แข็งค่าขึ้น ถ้าคำนวณจากฐานราคาน้ำมันดิบที่ระดับ เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จะช่วยให้ต้นทุนการผลิตน้ำมันลดลงได้ประมาณ 50 สตางค์ต่อลิตร ทำให้ช่วยผ่อนคลายผลกระทบได้ แต่ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ต้องบริหารจัดการไม่ให้ค่าเงินแข็งค่าจนเกินไป เพราะจะกระทบกับการส่งออก

12 สำหรับฐานราคาน้ำมันในปี 2550 นี้ ราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ระดับ เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันสำเร็จรูปทั้งเบนซินและดีเซลอยู่ที่ระดับ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล บวกลบเล็กน้อย สะท้อนไปยังราคาขายปลีกของเบนซิน 95 ให้สูงถึง บาทต่อลิตร ดีเซล 28 บาทต่อลิตร แต่ถ้าค่าเงินบาทเปลี่ยนแปลงไป ราคาน้ำมันก็เปลี่ยนไป อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีแก๊สโซฮอล์ให้เลือกใช้ซึ่งมีราคาถูกกว่าเบนซิน 4 บาทต่อลิตร และไบโอดีเซลถูกกว่าดีเซล 1 บาทต่อลิตร โดยรัฐบาลใช้กลไกของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าอุดหนุน ทำให้ปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นมาก โดยในปีหน้ามองว่า เบนซิน 95 จะไม่มีใครขายแล้ว รถยนต์จะหาเติมไม่ได้ หรือหาได้ลำบากมากขึ้นทุกวัน

13 ส่วนแอลพีจี (ก๊าซหุงต้ม) รัฐบาลไม่อุดหนุนแล้ว ตัดท่อน้ำเลี้ยง เพราะจะทุ่มไปที่แก๊สโซฮอล์ ต่อไปก็จะโปรโมตไบโอดีเซล โดยใช้เงินกองทุนน้ำมันมาอุดหนุน แต่รัฐบาลก็จะพยายามรักษาความสมดุลในการอุดหนุนไบโอดีเซลกับแก๊สโซฮอล์ เพราะถ้าเกิดวิกฤตจะได้มีเงินเหลือพอที่จะทำอะไรได้บ้าง ซึ่งก็ต้องมาจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนั้น การเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯเป็นเรื่องจำเป็น ต้องคงไว้ แต่จะเก็บมากหรือเก็บน้อยก็แล้วแต่ แม้ว่ารัฐบาลจะยกเลิกการอุดหนุนในส่วนของกองทุนน้ำมันฯแล้ว แต่ก็ยังคงควบคุมราคาขายแอลพีจีหน้าโรงกลั่นไว้ที่ประมาณ 320 เหรียญสหรัฐต่อตัน ขณะที่ราคาตลาดโลกไปถึง 800 เหรียญต่อตันแล้ว มีส่วนต่างถึง 500 เหรียญ หรือประมาณ บาทต่อกิโลกรัม ทั้งที่ต้นทุนในการผลิตเพิ่มขึ้นมากเพราะอ้างอิงกับราคาน้ำมัน โดยเมื่อ 5-6 ปีที่ผ่านมาราคาน้ำมันอยู่ที่ระดับประมาณ 20 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลเท่านั้น ตอนนี้เพิ่มขึ้นเป็น 90 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่าตัว

14 แต่รัฐบาลกำหนดราคาไว้ที่ 320 เหรียญเท่านั้น ซึ่งแม้ว่าในช่วงที่ผ่านมา ราคาแอลพีจีจะมีขึ้นลงบ้าง แต่ก็คงไม่กลับไปที่ระดับ เหรียญแล้ว การไปกำหนดราคาดังกล่าว ทำให้แอลพีจีกลายเป็นของราคาถูก ทำให้โครงสร้างการใช้บิดเบือนไปมาก ภาคอุตสาหกรรมก็หันมาใช้แอลพีจีแทนน้ำมันเตา ภาคขนส่งก็หันมาใช้แอลพีจีแทนน้ำมัน ส่งผลให้ดีมานด์เพิ่มขึ้นมาก แต่การผลิตกลับไม่เพิ่ม เพราะไม่มีแรงจูงใจ เดิมที่เคยส่งออกได้เพื่อนำราคาที่ได้มาเกลี่ยกับราคาขายในประเทศ พอดีมานด์เพิ่มขึ้นก็กินในส่วนส่งออก ดังนั้น ปีหน้าเป็นต้นไปคงจะเริ่มเห็นผลว่าไม่มีเหลือให้ส่งออกแล้ว ถ้าปริมาณการใช้ไม่หยุด ในที่สุดก็ต้องนำเข้าในราคา 800 เหรียญ บวกกับค่าขนส่งอีก 40 เหรียญ

15 ปัญหาการใช้พลังงานของไทย น่าเป็นห่วงทั้งเรื่องน้ำมัน และแอลพีจี โดยเฉพาะแอลพีจีที่มีโครงสร้างการใช้บิดเบือนไปมาก จากตรึงราคา กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ถูกปล่อยมาหลายปี ยาวนานมาก คิดว่าคงจะแก้ไขไม่ได้ และไม่รู้ว่าใครจะมาแก้ เพราะแอลพีจีกลายเป็นสินค้าทางการเมือง ถ้าจะแก้ก็ต้องขึ้นราคาอีก บาทต่อกิโลกรัม ใครจะอยากแก้สิ่งที่เป็นปัญหา หากปล่อยไว้โรงงานที่จะสร้างใหม่ก็คงไม่สร้าง เพราะไม่คุ้มทุน ให้นำเข้าก็ต้องซื้อแพงมาขายถูก ใครจะอยากทำ สุดท้ายก็ต้อง ปตท.

16 สุรงค์ บูลกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ การค้าระหว่างประเทศ ปตท
สุรงค์ บูลกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ การค้าระหว่างประเทศ ปตท. "7ปัจจัย กระทบราคาน้ำมัน" ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นในปีนี้ มาจากหลายปัจจัย เริ่มจากในช่วงไตรมาส 1 จีนได้มีการซื้อน้ำมันดิบเพื่อเก็บสำรอง ในช่วงไตรมาส 2 โรงกลั่นน้ำมันหลายแห่งหยุดซ่อมบำรุง ทั้งในสหรัฐอเมริกาและเอเชีย ทำให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มสูงขึ้นมาก ประกอบกับมีความต้องการใช้น้ำมันเบนซินในสหรัฐเพิ่มขึ้นมากในช่วงฤดูร้อน ทำให้ราคาน้ำมันเบนซินสูงขึ้นอย่างชัดเจน หลังจากนั้นก็มีพายุเข้ามาอีกให้มีการคาดการณ์ราคาน้ำมันสูงขึ้นมาก ยิ่งมีกองทุนเก็งกำไร (เฮดจ์ฟันด์) เข้ามาเก็งกำไร จากสถานการณ์ที่อิหร่านเริ่มท้าทายสหรัฐ ราคาก็ยิ่งสูงขึ้นมาก

17 ถ้ามองถึงการใช้น้ำมันของทั่วโลก ปัจจุบันมีการใช้อยู่ในระดับ 85 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาจากนอกกลุ่มโอเปค 50 ล้านบาร์เรลต่อวัน และกลุ่มโอเปคประมาณ 30 ล้านบาร์เรลต่อวัน ที่น่าเป็นห่วงคือในปี 2008 (2551) ปริมาณความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 1.3% แต่ซัพพลายมีการเพิ่มขึ้นอย่างจำกัด เพราะไม่สามารถจัดหาน้ำมันได้พอกับความต้องการในโลก กล่าวคือ ความต้องการใช้ทุก 2 บาร์เรล จะสามารถจัดหาได้แค่ 1 บาร์เรลเท่านั้น สำหรับประเทศที่มีการใช้น้ำมันในสัดส่วนสูงสุด คือสหรัฐฯ มีการใช้ประมาณ 26 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเอเชียมีใช้ประมาณ 25 ล้านบาร์เรลต่อวัน ยุโรปการใช้น้ำมันประมาณ 15 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2012 ปริมาณการใช้น้ำมันในเอเชียจะสูงกว่าปริมาณการใช้ของสหรัฐ จากความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นมากของจีน และอินเดีย นอกจากนี้แม้แต่ปริมาณความต้องการใช้น้ำมันของประเทศแถบตะวันออกกลางเองก็เพิ่มขึ้นมาก ปัจจุบันมีการใช้น้ำมันถึง 8 ล้านบาร์เรล จากที่ผลิตได้ประมาณ 14 ล้านบาร์เรล

18 ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาน้ำมัน มี 7 ปัจจัยพื้นฐาน ประกอบด้วย
1.ปริมาณสำรองน้ำมันของโลก โดยเฉพาะปริมาณสำรองในสหรัฐ เป็นสิ่งบ่งบอกราคา เช่น ในเดือนกันยายนที่ผ่านมาปริมาณ สำรองลดต่ำ ราคาน้ำมันก็เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะราคาเบนซินจะ สะท้อนตามปริมาณสำรองในสหรัฐ เพราะมีการใช้มาก ส่วน ราคาดีเซลนั้นจะขึ้นอยู่กับตลาดยุโรป เพราะมีการใช้ดีเซลเกือบ 50% ของปริมาณการใช้ทั้งหมด การที่สำรองดีเซลในยุโรป ลดลง เป็นเหตุผลที่ทำให้ราคาดีเซลเพิ่มขึ้นเกิน 100 เหรียญ ทำให้ดีเซลทั่วโลกไหลเข้ายุโรป แม้แต่ในเกาหลีที่ต้องขนส่งไกล มาก เพราะราคาดีเซลในยุโรปสูงมาก ในประเทศอิตาลีสูงถึง 111 เหรียญ ขณะที่ราคาในสิงคโปร์แค่ 106 เหรียญ เมื่อมี ส่วนต่างของราคา น้ำมันก็ไหลไปตามราคาที่สูง ทำให้การ เคลื่อนไหวของน้ำมันเปลี่ยนไป

19 2. สภาพภูมิอากาศ อากาศหนาวทำให้การใช้พลังงานสูงขึ้นมาก มีเรื่อง
ของพายุเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็จะส่งผลต่อราคาน้ำมัน 3. ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญ ขณะนี้ผู้ผลิต น้ำมันอยากได้ราคาน้ำมันที่อิงกับยูโร โดยอยากได้ราคาน้ำมันใน ระดับ 60 ยูโรต่อบาร์เรล ไม่ใช่ 60 เหรียญต่อบาร์เรล ตราบใดที่ ยูโรแข็งค่าแล้วดอลลาร์อ่อน ราคาน้ำมันก็เพิ่มขึ้น แต่ถ้าดอลลาร์มี เสถียรภาพพอ ราคาน้ำมันก็จะเริ่มมีเสถียรภาพตาม 4. ภาวะเศรษฐกิจ จากปัญหาซับไพรม์ในสหรัฐ ทำให้เงินลงทุนเริ่ม ไหลกลับเข้ามาที่น้ำมัน เพราะคนมั่นใจว่าราคาน้ำมันจะไม่ลดลง ถ้ามองการเติบโตของเศรษฐกิจ สหรัฐ จีน ยุโรป และอินเดียจะเป็น ตัวขับเคลื่อนราคาน้ำมัน แต่ที่น่ากลัวคือ รัสเซีย จีน และอินเดีย มี การเติบโตทางเศรษฐกิจถึง 7%, 10.5%, และ 7.2% ตามลำดับ ซึ่งประเทศเหล่านี้มีการใช้น้ำมันจำนวนมาก

20 5. สถานการณ์ความไม่สงบในประเทศผู้ผลิตและผู้ส่งออกน้ำมัน เช่น
ไนจีเรีย อิหร่าน และอิรัก ซึ่งจะส่งผลต่อจิตวิทยาทำให้ราคาน้ำมัน สูงขึ้น 6. กลุ่มโอเปคไม่เพิ่มกำลังการผลิต โดยกลุ่มโอเปคมีแนวโน้มที่จะ รักษาเสถียรภาพราคาน้ำมัน ซึ่งก็ต้องติดตามการประชุมในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ต่อไปว่าจะมีผลกระทบกับราคาน้ำมันอย่างไร เฮดจ์ฟันด์ มีส่วนทำให้ราคาน้ำมันในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เปลี่ยนแปลงไปมาก ปัจจุบันผู้ซื้อน้ำมันเป็นผู้ใช้น้ำมันน้อยมาก แม้แต่ธนาคารเองก็มาลงทุนซื้อขายน้ำมันค่อนข้างมาก ทำให้ราคา ผันผวน ปีที่ผ่านมาเน็ตบาย ช่วงนี้เริ่มมีการเทขาย เพราะใกล้เข้าสู่ ช่วงคริสต์มาส ทำให้ราคาน้ำมันเริ่มลดลงในช่วงนี้

21 ถ้าถามถึงแนวโน้มราคาน้ำมันคงจะคาดการณ์ลำบาก แต่ก็มีนักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญหลายสำนักประเมินไว้ พอสรุปได้ว่าในปี 2551 ราคาน้ำมันดูไบน่าจะอยู่ในระดับ 70 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล น้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสอยู่ในระดับประมาณ 75 เหรียญต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันสำเร็จรูป เบนซินคงจะเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 85 เหรียญต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาดีเซลเฉลี่ยอยู่ที่ 103 เหรียญต่อบาร์เรล

22 ทำไมจึงต้องลอยตัวก๊าซหุงต้ม (LPG)
โดย มนูญ ศิริวรรณ

23 การตัดสินใจของกระทรวงพลังงานยกเลิกการอุดหนุนราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคมเป็นต้นไป โดยยอมให้ราคาก๊าซหุงต้มขึ้นราคาไปกิโลกรัมละ 1.20 บาท เพื่อลดเงินอุดหนุนที่กองทุนน้ำมันรับภาระอยู่ ได้ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากหลาฝ่ายเป็นอย่างมากว่าเป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชน และจะเป็นต้นเหตุให้สินค้า โดยเฉพาะอาหาร ต้องขึ้นราคา ถึงขนาดบางพรรคการเมืองนำไปเป็นประเด็นทางการเมือง โฆษณาว่าถ้าพรรคการเมืองพรรคนั้นได้เข้ามาเป็นรัฐบาลจะลดราคาก๊าซหุงต้มลงมา โดยใช้เงินอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันตามเดิม เพื่อความเข้าใจของประชาชนในเรื่องนี้อย่างชัดแจ้ง อยากทำความเข้าใจในเรื่องการอุดหนุนราคาก๊าซหุงต้มให้ถูกกว่าราคาในตลาดโลก ว่ามีความเป็นมาและวัตถุประสงค์อย่างไร

24 ราคาก๊าซหุงต้มในประเทศไทย อยู่ในระบบควบคุมราคาโดยรัฐมาเป็นเวลานานหลายสิบปี ทั้งนี้ด้วยเหตุผล 2 ประการคือ 1. ก๊าซหุงต้ม (LPG) ถือเป็นเชื้อเพลิงที่ใช้ในครัวเรือนและใช้ประกอบ อาหาร ซึ่งรัฐไม่ต้องการให้มีราคาแพงจนเกินไป 2. ก๊าซหุงต้ม (LPG) ได้มาจากการกลั่นน้ำมันของโรงกลั่นในประเทศ และจากโรงแยกก๊าซที่นำเอาก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยขึ้นมา ใช้ จึงควรมีราคาถูกเพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์จากทรัพยากร ธรรมชาติของเราเอง ด้วยเหตุผลทั้ง 2 ประการดังกล่าวข้างต้น การกำหนดราคา ก๊าซหุงต้มหน้าโรงกลั่น (Ex. Refinery) หรือโรงแยกก๊าซ จึงไม่ได้อิงราคา LPG ในตลาดโลกเหมือนอย่างราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นซึ่งอิงราคาน้ำมันในตลาดโลก (ราคาหน้าโรงกลั่นที่สิงคโปร์) อย่างแท้จริง จากการตั้งราคาหน้าโรงกลั่นดังกล่าวทำให้ราคา LPG ในประเทศมีราคาถูกกว่าราคาที่ควรจะเป็นมาโดยตลอด

25 ซ้ำร้ายรัฐบาลยังได้ใช้เงินกองทุนน้ำมันมาอุดหนุนให้ราคาถูกกว่าราคาหน้าโรงกลั่นเข้าไปอีก ถือเป็นการอุดหนุนราคา LPG ถึง 2 เด้งคือ 1. ตั้งราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นต่ำกว่าราคาในตลาดโลก ทั้งๆ ที่ราคาใน ตลาดโลกขึ้นไปตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา แต่ราคา LPG หน้าโรงกลั่นในประเทศไทยมีการปรับขึ้นน้อยมาก ทำให้ราคาหน้าโรง กลั่นในปัจจุบันต่ำกว่าราคา LPG ในตลาดโลกมากกว่า 100% (320 เหรียญสหรัฐต่อตัน เทียบกับหน้าโรงกลั่นในซาอุดีอาระเบีย ซึ่ง เป็นตลาดซื้อขาย LPG ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เหรียญสหรัฐ ต่อตัน) เป็นการบีบให้โรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทยต้องขาย LPG ในราคาต่ำมากเมื่อเทียบกับราคาในตลาดโลก เสมือนหนึ่งให้โรงกลั่น ต้องอุดหนุนราคา LPG ในประเทศโดยรัฐบาลไม่ต้องควักเงินเอง 2. ใช้เงินกองทุนสนับสนุนราคาขายปลีก LPG ให้ต่ำลงอีกกิโลกรัมละ 1.20 บาท (อัตราล่าสุดก่อนยกเลิกในวันที่ 1 ธันวาคม 2550) โดยใช้ ระบบเก็บเงินเข้ากองทุนจากผู้ใช้น้ำมันเบนซินและดีเซลไปอุดหนุน ราคา LPG ให้ถูกลง

26 การอุดหนุนดังกล่าวทั้ง 2 วิธีคงไม่มีปัญหามากนักถ้ารัฐบาลหรือนักการเมืองที่เข้ามาคุมนโยบายด้านพลังงานจะกระทำอย่างมีเหตุผล โดยไม่หวังผลทางการเมืองมากจนเกินไป และมีการปรับราคาและเงินอุดหนุนให้เป็นไปตามราคาในตลาดโลกอย่างเหมาะสม คืออิงราคาในตลาดโลกบ้างถึงแม้จะไม่ 100% ก็ตาม ปัญหาที่ตามมาจากการใช้นโยบายที่สวนทางกับราคาในตลาดโลกดังกล่าว ทำให้เกิดความไม่สมดุลในโครงสร้างการใช้พลังงานของประเทศ คือ 1. ในขณะที่ราคาน้ำมันในประเทศซึ่งเป็นระบบลอยตัวตามราคาใน ตลาดโลกมีการปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ (เฉพาะในปีนี้ก็เพิ่มขึ้นจากปีที่ แล้วมากกว่า 20%) แต่ราคา LPG ไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นเลย ทำให้มี การดัดแปลงสภาพรถให้หันมาใช้ LPG มากขึ้น โดยเฉพาะรถ แท็กซี่และรถบ้าน (รถส่วนตัวที่ใช้เบนซิน) ตัวเลขจากกระทรวง พลังงานแสดงว่าการใช้ LPG ในภาคคมนาคม/ขนส่งเพิ่มขึ้นถึง 51% ในปีที่แล้วและปีนี้ก็เพิ่มขึ้นอีก 29%

27 ถ้าการขยายตัวยังคงเป็นไปในลักษณะดังกล่าว ในอีก 2 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะเปลี่ยนจากผู้ส่งออก LPG เป็นผู้นำเข้า LPG เพราะ LPG ที่ผลิตได้ในประเทศทั้งจากโรงกลั่นน้ำมันและจากก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย (ความจริงปัจจุบันไทยก็ต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากพม่ามาใช้อยู่แล้ว) ไม่เพียงพอต่อความต้องการ คำถามคือ แล้วใครจะยอมขายก๊าซ LPG ให้เราในราคาที่รัฐบาลตั้งเอาไว้ ถ้าเป็นอย่างนั้นแสดงว่าเราต้องใช้เงินกองทุนน้ำมันจำนวนมหาศาลมาอุดหนุนราคา LPG ทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ ประกอบกับโครงสร้างที่บิดเบือนดังกล่าว (กดราคา LPG ให้ต่ำกว่าความเป็นจริง) ทำให้การใช้เชื้อเพลิง LPG เป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เพราะในเมื่อมีเชื้อเพลิงราคาถูกใช้ประชาชนผู้บริโภคย่อมจะใช้อย่างไม่ประหยัด (พิสูจน์แล้วจากกรณีรัฐบาลตรึงราคาดีเซลเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ทำให้ปริมาณการใช้ดีเซลของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งๆ ที่ความต้องการน้ำมันโดยรวมไม่ได้เพิ่มมากนัก)

28 ความจริงก็คือ ไทยเป็นประเทศผู้นำเข้าพลังงาน เราต้องจ่ายเงินมหาศาลปีละ 7-8 แสนล้านบาท ในการนำเข้าน้ำมันมาใช้ในประเทศ เราขายพืชผลทางการเกษตรทุกชนิด เช่น ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ฯลฯ ทั้งปีแต่ใช้ซื้อน้ำมันมาใช้ได้เพียง 4-5 เดือนเท่านั้น ดังนั้นการประหยัดพลังงานจึงเป็นวาระแห่งชาติที่ทุกรัฐบาลต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก 2. นอกจากความไม่สมดุลเรื่องโครงสร้างการใช้พลังงานเพราะตั้งราคา LPG ถูกจนเกินไปแล้ว การเก็บเงินเข้ากองทุนจากผู้ใช้น้ำมันไปสนับสนุนราคา LPG นั้น ถือว่าไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง เพราะผู้ใช้น้ำมันเบนซินและดีเซลนั้นไม่ได้เป็นผู้ร่ำรวย แต่มีเกษตรกรและคนรายได้ต่ำ จำนวนมากที่ต้องใช้เติมรถมอเตอร์ไซค์หรือเครื่องสูบน้ำ และคนในชนบทซึ่งมีรายได้ต่ำก็ไม่ได้ใช้ LPG เป็นเชื้อเพลิงในการทำอาหาร แต่ใช้ถ่านหรือฟืนหรือเชื้อเพลิงอื่น แต่คนเหล่านี้ต้องแบกภาระเงินเก็บเข้ากองทุนน้ำมันเพื่อมาอุดหนุนราคา LPG ให้คนเมืองซึ่งมีรายได้สูงกว่า รวมทั้งคนรวยที่ใช้รถคันใหญ่ๆ ไม่ประหยัด แต่นำรถไปติดตั้ง LPGทำให้ได้ใช้เชื้อเพลิงเติมรถยนต์ในราคาถูกโดยการอุดหนุนของคนจนที่มีรายได้ต่ำ

29 เหตุผลดังกล่าวทั้ง 2 ข้อ คงพอทำให้ประชาชนทั่วไปมีความเข้าใจมากขึ้นถึงความจำเป็นที่จะต้องปรับโครงสร้างราคา LPG ให้มีความเป็นธรรมและสอดคล้องกับความเป็นจริงมากขึ้น จริงๆ แล้วการดำเนินการขั้นต้นคือการยกเลิกการอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันนั้น ยังไม่ใช่การลอยตัวราคา LPG อย่างที่พูดกันแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นบันไดขั้นแรกในการนำไปสู่ระบบกึ่งลอยตัวเท่านั้น ซึ่งเพียงขั้นแรกก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเสียแล้ว ทำให้ผู้เขียนค่อนข้างหนักใจแทนกระทรวงพลังงานว่าจะปฏิบัติการขั้นต่อไป ซึ่งมีขั้นตอนที่ 2-6 ให้สำเร็จได้อย่างไร โดยเฉพาะภายใต้รัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งจะต้องคำนึงถึงคะแนนนิยม (Popularity) เป็นสำคัญ แต่ยังไงก็ตามก็คงต้องให้กำลังใจกระทรวงพลังงานให้เดินหน้าเพื่อความถูกต้องต่อไป

30


ดาวน์โหลด ppt ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงถึง 11

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google