ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยJarkko Nieminen ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
2
พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559
3
คุณรู้หรือไม่? ถ้าคุณตกเป็น “เหยื่ออาชญากรรม”โดยที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทํา ความผิด หรือต้องกลายเป็น “แพะ” ติดคุกทั้ง ๆ ที่คุณไม่มีความผิด คุณสามารถ ขอรับการเยียวยาจากรัฐได้ ซึ่งสิทธิที่คุณจะได้รับตามกฎหมายก็คือพระราชบัญญัติ ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จําเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559)
4
แล้วทำไมรัฐต้องมาจ่ายค่าเสียหายให้เราด้วย?
คําตอบ : เพราะรัฐมีหน้าที่รับผิดชอบในการคุ้มครองความปลอดภัย ให้กับประชาชน
5
สาระสําคัญ ของพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่าย
แก่จําเลยในคดีอาญา พ.ศ (และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559) คุ้มครอง บุคคล 2 ประเภท ผู้เสียหาย คือ บุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการกระทําผิดอาญาของผู้อื่น โดยไม่มี ส่วนเกี่ยวข้องสามารถขอรับค่าตอบแทนจากรัฐในกรณีดังต่อไปนี้ 1 ได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย จิตใจ หรือถึงแก่ความตายเนื่องจากถูกทําร้ายร่างกาย ถูกทําให้เสียชีวิต ถูกลูกหลง ถูกทําให้แท้งลูก ถูกข่มขืน ถูกกระทําอนาจาร ถูกข่มขืนใจ ถูกหน่วงเหนี่ยว กักขัง ถูกลักทรัพย์ ถูกวิ่งราวทรัพย์ ถูกกรรโชก ถูกรีดเอาทรัพย์ ถูกชิงทรัพย์ ถูกปล้นทรัพย์ หรือบุกรุก (ความผิดตามรายการที่ระบุไว้ท้ายพระราชบัญญัติ) ได้รับบาดเจ็บสาหัสหรือตาย จากการกระทําโดยประมาทของผู้อื่น เด็ก คนชรา คนป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และถูกทอดทิ้ง (*ตามความผิดตามรายการที่ระบุไว้ท้ายพระราชบัญญัติ)
6
สิทธิการได้รับเงินช่วยเหลือของผู้เสียหายในคดีอาญา
กรณีทั่วไป ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล จ่ายเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 40,000 บาท ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ จ่ายเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 20,000 บาท ค่าขาดประโยชน์ทํามาหาได้ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ จ่ายตามค่าแรงขั้นต่ำของจังหวัดที่ทํางาน แต่จ่ายเป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี ค่าตอบแทนความเสียหายอื่น ๆ พิจารณาจ่ายเป็นเงินตามจํานวนที่คณะกรรมการพิจารณา ค่าห้องและค่าอาหารในการเข้ารับการรักษาพยาบาล จ่ายไม่เกินวันละ 1,000 บาท
7
สิทธิการได้รับเงินช่วยเหลือของผู้เสียหายในคดีอาญา (ต่อ)
กรณีเสียชีวิต ค่าตอบแทนกรณีถึงแก่ความตาย จ่ายตั้งแต่ 30,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ค่าจัดการงานศพ จ่าย 20,000 บาท ค่าขาดอุปการะเลี้ยงดู จ่ายไม่เกิน 40,000 บาท ค่าเสียหายอื่น จ่ายตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร เช่น ค่าเยียวยาฟื้นฟูจิตใจให้แก่ทายาท แต่ไม่เกิน 40,000 บาท
8
ตัวอย่างการช่วยเหลือของผู้เสียหายในคดีอาญา
กรณีกลุ่มวัยรุ่นรุมทำร้ายและใช้ไขควง แทงศีรษะผู้เสียหายเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย
9
นักเรียนยิงกันบนรถเมล์สาย 59 ผู้โดยสารเคราะห์ร้ายตายคาที่2ศพ
ตัวอย่างการช่วยเหลือของผู้เสียหายในคดีอาญา (ต่อ) นักเรียนยิงกันบนรถเมล์สาย 59 ผู้โดยสารเคราะห์ร้ายตายคาที่2ศพ
10
ตัวอย่างการช่วยเหลือของผู้เสียหายในคดีอาญา (ต่อ)
นักเลงยกพวกตีกันในงานคอนเสิร์ต เป็นเหตุให้ผู้ไปชมคอนเสิร์ตได้รับบาดเจ็บนับร้อยคน
11
มาตรฐานและระยะเวลาการให้บริการผู้เสียหายในคดีอาญา 3 ขั้นตอน ระยะเวลา 52 วัน
ขั้นตอนที่ 1 รับคำขอ ขั้นตอนที่ 2 พิจารณา ขั้นตอนที่ 3 จัดทำคำวินิจฉัย 1 วัน 44 วัน 7 วัน - จัดทำคำขอตามแบบ สชง.1/01 หรือ สชง.1/03 (กรณีผู้เสียหาย) - สอบปากคำ - ตรวจสอบเอกสารประกอบคำขอ - ลงระบบ - รวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม - สรุปข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และวิเคราะห์ข้อมูล - สรุป/ทำความเห็นเสนอ เลขานุการคณะอนุกรรมการหรือคณะกรรมการเพื่อจัดทำความเห็น - ประชุมคณะอนุกรรมการฯ หรือคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณามีคำวินิจฉัย - จัดทำคำวินิจฉัยตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมฯ หรือคณะกรรมการฯ - เสนอผู้มีอำนาจลงนาม
12
จําเลย คือ บุคคล ซึ่งถูกพนักงานอัยการฟ้องต่อศาลว่าได้กระทําความผิดอาญา
และถูกจําคุกในระหว่างพิจารณาคดี ต่อมาได้มีการถอนฟ้องหรือศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุด ให้ยกฟ้องว่าจําเลยไม่มีความผิดหรือที่เรียกว่า “แพะ” 2
13
สิทธิการได้รับเงินช่วยเหลือของจําเลยในคดีอาญา
กรณีทั่วไป ค่าทดแทนจากการถูกคุมขัง จ่ายอัตราวันละ 200 หรือ 500 บาท (คํานวณจากวันที่ถูกคุมขังตามอัตราที่กฎหมายกําหนด) ค่าใช้จ่ายที่จําเป็นในการรักษาพยาบาล จ่ายเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 40,000 บาท ซึ่งเป็นผลมาจากการถูกดําเนินคดี ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ จ่ายเท่าท่ีจ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท
14
สิทธิการได้รับเงินช่วยเหลือของจําเลยในคดีอาญา (ต่อ)
กรณีทั่วไป (ต่อ) ค่าขาดประโยชน์ทํามาหาได้ในระหว่างถูกดําเนินคดี นับแต่วันที่ไม่สามารถ ประกอบการงานได้ตามปกติ จ่ายตามค่าแรงขั้นต่ำของจังหวัดที่ทํางานนั้น ๆ ค่าใช้จ่ายที่จําเป็นในการดําเนินคดี - ค่าทนายความ จ่ายเท่าที่จ่ายจริงตามแต่ละประเภทคดีที่กฎหมายกำหนด - ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการดําเนินคดี จ่ายเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท ค่าห้องและอาหารในการเข้ารับการรักษาพยาบาล จ่ายไม่เกินวันละ 1,000 บาท
15
อ สิทธิการได้รับเงินช่วยเหลือของจําเลยในคดีอาญา (ต่อ) กรณีเสียชีวิต
ค่าทดแทน จ่าย 100,000 บาท ค่าจัดการงานศพ จ่าย 20,000 บาท ค่าขาดอุปการะเลี้ยงดู จ่ายไม่เกิน 40,000 บาท ค่าเสียหายอื่น จ่ายตามที่คณะกรรมการฯ เห็นสมควร เช่น ค่าเยียวยาฟื้นฟูจิตใจให้แก่ทายาท แต่ไม่เกิน 40,000 บาท อ
16
กรณีมีผู้ตกเป็นจำเลยหรือแพะในคดีฆาตกรรมนางสาวเชอรี่แอน ดันแคน
กรณีตัวอย่างจำเลยในคดีอาญา หรือ แพะ กรณีมีผู้ตกเป็นจำเลยหรือแพะในคดีฆาตกรรมนางสาวเชอรี่แอน ดันแคน
17
มาตรฐานและระยะเวลาการให้บริการจำเลยในคดีอาญา 3 ขั้นตอน ระยะเวลา 63 วัน
ขั้นตอนที่ 1 รับคำขอ ขั้นตอนที่ 2 พิจารณา ขั้นตอนที่ 3 จัดทำคำวินิจฉัย 1 วัน 55 วัน 7 วัน - จัดทำคำขอตามแบบ สชง.1/02 หรือ สชง.1/04 (กรณีจำเลย) - สอบปากคำ - ตรวจสอบเอกสารประกอบคำขอ - ลงระบบ - รวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม - สรุปข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และวิเคราะห์ข้อมูล - สรุป/ทำความเห็นเสนอเลขานุการคณะอนุกรรมการ เพื่อจัดทำความเห็น - ประชุมคณะอนุกรรมการฯ เพื่อพิจารณากลั่นกรองเสนอคณะกรรมการ - ประชุมคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณามีคำวินิจฉัย - จัดทำคำวินิจฉัยตามมติที่ประชุมคณะกรรมการฯ - เสนอผู้มีอำนาจลงนาม
18
เจ้าหน้าที่สถานพินิจ และคุ้มครองเด็กและเยาวชน
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่แจ้งสิทธิแก่ผู้เสียหายและจําเลยในคดีอาญา ตำรวจ เจ้าหน้าที่สถานพินิจ และคุ้มครองเด็กและเยาวชน เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ อ
19
อ สถานที่ยื่นเรื่องคําขอรับค่าตอบแทนผู้เสียหายในคดีอาญา
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ สํานักงานคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ พื้นที่ 1-4 คลินิกยุติธรรมในสํานักงานยุติธรรมจังหวัดและสาขาทั่วประเทศ สถานีตํารวจทุกแห่งทั่วประเทศ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ อ * ผู้เสียหายต้องยื่นคําขอภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รู้ถึงการกระทำผิด
20
อ สถานที่ยื่นเรื่องคําขอรับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จําเลยในคดีอาญา
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ สํานักงานคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ พื้นที่ 1-4 คลินิกยุติธรรมในสํานักงานยุติธรรมจังหวัดและสาขาทั่วประเทศ เรือนจำและทัณฑสถานทั่วประเทศ สถานพินิจทั่วประเทศ อ * จําเลยต้องยื่นคําขอภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้อง หรือมีคำพิพากษาถึงที่สุด
21
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ พื้นที่ 1- 4 คลินิกยุติธรรมในสำนักงานยุติธรรมจังหวัดและสาขาทั่วประเทศ สายด่วนคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ โทร กด 77 Line ID : rlpdconsultation ข้อมูลเพิ่มเติม แอปพลิเคชัน RLPD Service ชมภาพยนตร์แอนิเมชั่น
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.