งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การผลิตซ้ำมายาคติ เกี่ยวกับเพศอื่นๆ ในระบบการศึกษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การผลิตซ้ำมายาคติ เกี่ยวกับเพศอื่นๆ ในระบบการศึกษา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การผลิตซ้ำมายาคติ เกี่ยวกับเพศอื่นๆ ในระบบการศึกษา
วิจิตร ว่องวารีทิพย์

2 รัฐ : โลกทรรศน์ พลเมือง กับ การศึกษา
สถาบันการศึกษา โรงเรียน คือ ตัวแทนของรัฐ รัฐต้องการอะไร? พลเมืองที่เชื่องๆ เซื่องๆ พลเมืองที่เป็น “แม่พันธุ์” “พ่อพันธุ์” ที่ดี ใช้เครื่องมือต่างๆ เหมือน “บล็อค” ที่มาหล่อหลอม พลเมืองอันน่าพีงปรารถนาประเภทหนึ่ง

3 อำนาจรัฐ ทำงานอย่างไร ใน ระบบการศึกษา?
ทำงานผ่านสถานศึกษา หลักสูตร (curriculum) ตำราเรียน (textbook) - ในนามของ “ความรู้” มี “expert” มาเป็นผู้ “ออกแบบ” เนื้อหา การเรียนการสอน (pedagogy) เทคนิคการถ่ายทอดความรู้ การปฏิบัติในห้องเรียน (performance) ปฏิบัติการหลังเรียน ผ่านการประเมินผล เช่น การสอบ ONET “ระเบียบวินัย” และ ข้อห้ามในสถานศึกษา ซึ่งมักขัดแย้งกับสิทธิพื้นฐาน และส่วนใหญ่ไม่มีเขียนไว้จริงๆ นโยบายการศึกษา ระดับประเทศ

4 นโยบายการศึกษา ที่ทำงานผ่านสถานศึกษา
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๕๑ (กำหนดมาจาก คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศธ.) ตำราเรียน (โดย สนพ.ต่างๆ) ทั้งหมดมี ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ การทดสอบระดับชาติ การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน โดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.)

5 หลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
มี ๕ สาระการเรียนรู้ สาระที่ ๑ การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ มาตรฐาน พ.๑.๑ เข้าใจธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ปัญหาคือ กรอบคิดสองเพศ คือ ธรรมชาติ ; เพศอื่นๆ ล่ะ? intersex?

6 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่ ๒ ชีวิตและครอบครัว มาตรฐาน พ.๒.๑ เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง ครอบครัว เพศศึกษา และมีทักษะในการดำเนินชีวิต ป.๒ ระบุพฤติกรรมที่เหมาะสมกับเพศ (ความเป็นสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี) ป.๔ พฤติกรรมที่เหมาะสมกับเพศของตนตามวัฒนธรรมไทย ป.๕ การวางตัวที่เหมาะสมกับเพศของตนตามวัฒนธรรมไทย ลักษณะของ ครอบครัวที่อบอุ่นตามวัฒนธรรมไทย (คค.ขยาย การนับถือญาติ) ม.๑ ทักษะการปฏิเสธเพื่อป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศ ม.๑ พูดถึงพัฒนาการทางเพศ และการเบี่ยงเบนทางเพศ ม.๒ ความสำคัญของความเสมอภาคทางเพศ ปัญหาทางเพศ (??)

7 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่ ๓ การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล ปัญหาคือ ถ้าไม่รักการเล่นกีฬา จะตกวิชานี้ไหม? ป.๕ และ ม.๒ มีการพูดถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในการเล่นเกมและกีฬา ม.๒ วิเคราะห์ความแตกต่างนั้นๆ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายและเล่นกีฬา

8 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่ ๔ การเสริมสร้างสุขภาพ สมรรถภาพ และการป้องกันโรค ที่น่าสนใจคือ ม.๒ มีตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้เรื่อง “การเลือกใช้บริการทางสุขภาพอย่างมีเหตุผล” มีตัวชี้วัด “อธิบายลักษณะอาการเบื้องต้นของผู้มีปัญหาสุขภาพจิต” (ในอภิธานศัพท์ก็ไม่มีนิยามคำนี้ด้วย ตีความกันไปต่างๆ นานา)

9 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่ ๕ ความปลอดภัยในชีวิต ปัญหา: ไม่มีเรื่องความรุนแรงทางเพศ ทั้งๆ ที่ กะเทยและ ญรญ จำนวนมากถูกกระทำเพราะอคติที่คนมีต่อคนกลุ่มนี้ คนเหล่านี้มีชีวิตอยู่ด้วยความรู้สึกไม่ปลอดภัยในชีวิต ทั้งจากเพศชายทั่วไป ครอบครัวตนเอง และเจ้าหน้าที่รัฐ (ตร. ทหาร) การล่วงละเมิดทางเพศมีเนื้อหาแค่ในสาระที่ ๒ ชีวิตและครอบครัว ถ้าคนเชื่อข้อมูลในสุขศึกษาว่า เป็นความจริง อาจเป็นสาเหตุของ hate crime

10 อภิธานศัพท์ ใน หลักสูตรแกนกลางฯ
“พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ” ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Sex Abuse ความหมาย: การประพฤติปฏิบัติใดๆ ที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติทางเพศของตนเอง เช่น มีจิตใจรักชอบในเพศเดียวกัน การแต่งตัวหรือแสดงกิริยาเป็นเพศตรงข้าม  “ล่วงละเมิดทางเพศ” ความหมาย: การใช้คำพูด การจับ จูบ ลูบ คลำ และหรือการร่วมเพศ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากฝ่ายตรงข้าม โดยเฉพาะกับผู้เยาว์

11

12

13


ดาวน์โหลด ppt การผลิตซ้ำมายาคติ เกี่ยวกับเพศอื่นๆ ในระบบการศึกษา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google