ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยCornelia Peeters ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
ความสำคัญและประเภทของการกำหนดและพัฒนารูปแบบของร้านค้า รายวิชา RTL การกำหนดและพัฒนารูปแบบของร้านค้า บรรยายโดยอาจารย์อนุช นามภิญโญ วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
2
ความสัมพันธ์ของการกำหนดและพัฒนารูปแบบของร้านค้า (Store Concept Setting and Development )
การกำหนดและพัฒนารูปแบบของร้านค้าเป็นลักษณะหนึ่งของการส่งเสริมการตลาดและการส่งเสริมนี้ก็เป็นหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของการตลาด หน้าที่ของการตลาด หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าส่วนผสมของการตลาด ( Marketing Mix ) ประกอบไปด้วยการดำเนินงานตามนโยบายต่างๆดังนี้ 1. นโยบายด้านผลิตภัณฑ์ Product Policy 2. นโยบายด้านราคา Pricing Policy 3. นโยบายด้านการจัดจำหน่าย Place or Channel of Distribution Policy 4. นโยบายด้านการส่งเสริมการตลาด Promotion Policy
3
ความหมายของการกำหนดและพัฒนารูปแบบของร้านค้า (Store Concept Setting and Development )
การจัดสินค้าและวัสดุตกแต่งอื่นๆ อย่างมีศิลปะ เพื่อนำไปสู่การขายและบริการ การกำหนดและพัฒนารูปแบบของร้านค้านี้ต้องจัดให้ดึงดูดสายตาและก่อให้เกิดการกระทำเพื่อประโยชน์ของการขาย
4
ความหมายของการกำหนดและพัฒนารูปแบบของร้านค้า (Store Concept Setting and Development )
การขายโดยจัดแสดงให้ผู้ชมได้เห็นสินค้าจริงๆ (visual selling) ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับเป็นพนักงานที่ทำหน้าที่ขายโดยไม่ส่งเสียง (silent salesperson ) โดยร้านทั่วไปอาจแบ่งออกเป็นการจัดแสดงสินค้าในตู้โชว์ (Window Display) หรือการจัดแสดงสินค้าภายในร้าน (Interior Display)
13
วัตถุประสงค์ของการกำหนดและพัฒนารูปแบบร้านค้า
เพื่อดึงดูดความสนใจ เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจซื้อ เพื่อให้แข่งขันได้ เพื่อให้ผู้ซื้อเกิดความมั่นใจ เพื่อให้เกิดการตัดสินใจซื้อ โดยยึดหลัก หยุด ดู ซื้อ
14
ปรัชญาการกำหนดและพัฒนารูปแบบร้านค้า
1. ใช้ศิลปะเพื่อการค้า 2. สร้างสรรค์ด้วยการประดิษฐ์ 3. ออกแบบให้ส่งเสริมการขาย ลักษณะร่วมของแนวคิดการกำหนดและพัฒนารูปแบบร้านค้า 1. ทำให้หน้าซื้อทางสายตา 2. การทำหน้าที่พนักงานขาย 3. ใช้ศิลปะ 4. ความสำเร็จที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้า 5. การเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
15
การกำหนดและพัฒนารูปแบบของร้านค้าช่วยให้เกิดการขาย
การกำหนดและพัฒนารูปแบบของร้านค้าจะก่อให้เกิดการขายเป็นขั้นๆ ดังนี้ 1. ดึงดูดสายตาของผู้ที่สัญจรไปมา ( Attract Attention ) 2. กระตุ้นให้เกิดความสนใจ ( Arouse Interest ) 3. สร้างความต้องการ ( Create Desire ) 4. สร้างความเชื่อมั่น ( Win Confidence ) 5. ตัดสินใจซื้อ ( Cause decision to buy )
16
ลักษณะของการกำหนดและพัฒนารูปแบบของร้านค้าที่ดี
1. เผยแพร่ร้านค้า ( Publicize the business ) 2. เผยแพร่สินค้า ( Publicize the product ) 3. สร้างรากฐานเพื่อการขายในอนาคต ( Lays a foundation for future sales ) 4. สร้างชื่อเสียง ( Builds prestige ) 5. ให้ความรู้แก่สาธารณชน ( Educates the public )
17
ลักษณะของการกำหนดและพัฒนารูปแบบของร้านค้าที่ดี
6. สร้างค่าความนิยมแก่สาธารณชน ( Builds up goodwill of the public ) 7. จัดแสดงต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน ( offers the public useful, practical demonstrations ) 8. เพื่อให้สาธารณชนมีความคุ้นเคยกับกิจการของร้าน ( Familiarizes the public with the operations of the business ) 9. ส่งเสริมกิจกรรมที่อยู่ในความนิยม ( Supports popular Trends ) 10. สร้างความกลมกลืนระหว่างธุรกิจกับความสวยงาม ( Harmonize pure business interest with esthetics )
18
ประโยชน์และวัตถุประสงค์การกำหนดและพัฒนารูปแบบของร้านค้า
1. เพื่อขายสินค้า ( To sell merchandise ) 2. เพื่อเพิ่มยอดขายของสินค้าที่ซื้อเนื่องจากมีสิ่งเร้าใจ ( To increase the sale of impulse items ) 3. เพื่อแสดงสินค้า ( To show merchandise ) 4. เพื่อแสดงสินค้าที่มีความสัมพันธ์กัน ( To show related merchandise ) 5. เพื่อแสดงวิธีใช้ ( To show how merchandise is used ) 6. เพื่อแสดงสินค้าในโอกาสพิเศษต่างๆ ( To feature special occasion merchandise ) 7. เพื่อสร้างและสะท้อนภาพพจน์ของร้านค้า ( To create and reflect the store’s image ) 8. เพื่อสร้างความนิยม ( To build goodwill )
19
ความสัมพันธ์กับหน้าที่อื่นของการกำหนดและพัฒนารูปแบบร้านค้า
1. การผลิต 2. การโฆษณา 3. การตั้งราคาและการส่งเสริมการขาย 4. คลังสินค้า
20
ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดและพัฒนารูปแบบร้านค้า
1. การตลาด 2. นิเทศศาสตร์ 3. พาณิชย์ศิลป 4. ศาสตร์อื่นๆ
21
ลักษณะการทำงาน 1. ต้องมีนโยบายในการทำงาน 2. มีการออกแบบและสร้างสรรค์ 3. ต้องวางแผน 4. รู้จักเลือก 5. ทำงานตามกำหนดเวลา 6. เป็นงานช่าง 8. มีระบบและระเบียบ
22
คุณสมบัติของผู้กำหนดและพัฒนารูปแบบร้านค้า
1. เป็นศิลปินที่มีหัวใจนักขาย 2. มีความคิดสร้างสรรค์ 3. มีใจรักและสนุกกับงาน 4. เป็นสารพัดช่าง 5. มีระเบียบวินัย 6. ประสานงานได้ดี
23
ประเภทของการกำหนดและพัฒนารูปแบบร้านค้า
สามารถแบ่งประเภทของการกำหนดและพัฒนารูปแบบร้านค้า ตามคุณลักษณะต่างๆ ได้หลายวิธี เช่น การแบ่งประเภทตามวัตถุประสงค์ การมีส่วนร่วมของลูกค้า พื้นที่การจัดสินค้าที่จัดแสดงและโอกาสในการจัด จะทำให้มองเห็นทางเลือกและการเลือกใช้ประเภทของการจัดแสดงให้เหมาะสมกับสถานการณ์
24
การแบ่งประเภทตามวัตถุประสงค์
1.การกำหนดและพัฒนารูปแบบร้านค้าเพื่อส่งเสริมการขาย 2.การกำหนดและพัฒนารูปแบบร้านค้าเพื่อสร้างภาพพจน์
25
การแบ่งประเภทตามสินค้าที่จัดแสดง
1. การจัดแสดงสินค้าอุปโภคบริโภค 2. การจัดแสดงสินค้าอุตสาหกรรม 3. การจัดแสดงสินค้าพิเศษ 4. สินค้าบริการ
26
การแบ่งประเภทตามจำนวนชนิดและความเกี่ยวโยงของสินค้า
1. การจัดแสดงสินค้าอย่างเดียว 2. การจัดแสดงสินค้าหลากหลายในแนวสินค้าเดียวกัน 3. การจัดแสดงสินค้าที่มีความสัมพันธ์กัน 4. การจัดแสดงสินค้าหลายประเภทที่ไม่เกี่ยวข้องกัน
27
การแบ่งประเภทตามพื้นที่การจัด
1. การจัดสินค้าหน้าร้าน 2. การจัดแสดงสินค้าภายในร้าน 3. การจัดแสดงสินค้าภายนอกร้าน
28
การแบ่งตามลักษณะการเข้าถึงสินค้า
1. การจัดแสดงสินค้าแบบเปิด 2. การจัดแสดงสินค้าแบบปิด 3. การจัดแสดงสินค้ากึ่งเปิดกึ่งปิด
29
การแบ่งตามลักษณะการมีส่วนร่วม
1. การจัดแสดงสินค้าโดยเน้นพนักงานขาย 2. การจัดแสดงสินค้าแบบสาธิต 3. การจัดแสดงสินค้าแบบลูกค้า มีส่วนร่วมในตัวสินค้า 4. การจัดสินค้าแบบลูกค้าบริการตนเอง 5. การจัดแสดง ณ.จุดซื้อ 6. เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ
30
การแบ่งตามโอกาสในการจัด
1. การจัดแสดงสินค้าตามปกติ 2. การจัดแสดงสินค้าตามเทศกาล 3. การจัดแสดงสินค้าในวาระพิเศษ 4. นิทรรศการ 5. งานแสดงสินค้า 6. การเยี่ยมสถานประกอบการ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.